โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กล่องเสียงอักเสบอุดกั้น

ดัชนี กล่องเสียงอักเสบอุดกั้น

รุป หรือ กล่องเสียงอักเสบอุดกั้น (croup, acute obstructive laryngitis) เป็นการติดเชื้อในระบบหายใจอย่างหนึ่งที่มักเกิดจากไวรัส ภาวะนี้จะทำให้หลอดลมบวม ขัดขวางการหายใจ และทำให้เกิดอาการสำคัญได้แก่ การไอเสียงก้องคล้ายเสียงสุนัขเห่า การมีเสียงฮี้ด (stridor) ขณะหายใจ และเสียงแหบ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการไข้และน้ำมูกไหลร่วมด้วย อาการของโรคมีทั้งเป็นเล็กน้อย ปานกลาง และรุนแรง มักเริ่มเป็นหรือเป็นมากเวลากลางคืน ระยะเวลาของการเจ็บป่วยรวมแล้วประมาณ 1-2 วัน ไวรัสที่เป็นสาเหตุของครุปมีหลายอย่าง ที่พบบ่อยได้แก่เชื้อไวรัสพาราอินฟลูเอนซา และไวรัสอินฟลูเอนซา (หรือเชื้อไข้หวัดใหญ่) แบคทีเรียก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้แต่พบได้น้อยกว่า การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำโดยอาศัยประวัติและผลการตรวจร่างกาย ก่อนวินิจฉัยจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกเอาโรคอื่นที่อันตรายกว่า เช่น ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ หรือสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ ออกไปให้ได้ก่อน การตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น การตรวจเลือด การถ่ายภาพรังสี หรือการเพาะเชื้อ ส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นนัก เชื้อที่เป็นสาเหตุของครุปบางส่วนป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่ และเชื้อคอตีบ การรักษาที่สำคัญคือการให้สเตียรอยด์ครั้งเดียว ซึ่งอาจให้กินหรือให้ฉีดก็ได้ ถ้าอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้ยาเอพิเนฟรีนพ่นแบบฝอยละอองเข้าทางการหายใจ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงบางรายอาจจำเป็นต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล คิดเป็นประมาณ 1-5% ของผู้ป่วยทั้งหมด โรคนี้ค่อนข้างพบได้บ่อย เด็กประมาณ 15% จะเคยป่วยโรคนี้ ช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุดคือระหว่าง 6 เดือน ถึง 5 ปี แต่บางครั้งก็พบได้ในเด็กโตถึงอายุ 15 ปี พบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิงเล็กน้อย มักพบบ่อยในฤดูใบไม้ร่วง ในยุคก่อนที่จะมีการฉีดวัคซีนโรคนี้มักเกิดจากเชื้อคอตีบ และมักเป็นอันตรายถึงชีวิต ปัจจุบันครุปจากเชื้อคอตีบพบได้น้อยมากเนื่องจากมีการให้วัคซีนโรคคอตีบอย่างกว้างขวาง.

16 ความสัมพันธ์: บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องการถ่ายภาพรังสีการตรวจเลือดการติดเชื้อทางเดินหายใจกุมารเวชศาสตร์ฝากล่องเสียงอักเสบวัคซีนโรคคอตีบวัคซีนไข้หวัดใหญ่สเตอรอยด์ท่อลมน้ำมูกไหลแบคทีเรียไวรัสไอ (อาการ)ไข้เอพิเนฟรีน

บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems มีชื่อย่อว่า ICD) เป็นรายละเอียดของโรคและการบาดเจ็บต่าง ๆ จัดพิมพ์เผยแผ่โดย องค์การอนามัยโลก และใช้ข้อมูลเป็นสถิติพยาธิภาวะและอัตราตาย จากทั่วโลก มีการแก้ไขปรับปรุงเป็นช่วง ๆ ปัจจุบันได้ทำการจัดพิมพ์ครั้งที่ 11 แล้ว โรคหรือกลุ่มของโรคที่มีความสัมพันธ์กันจะอธิบายด้วยการวินิจฉัยและมีรหัสกำหนดให้เป็นการเฉพาะตั้งแต่ 4-6 หลัก โดยหลักแรกในหมวดที่ 1-9 จะใช้ตัวเลข 1-9 เมื่อเข้าสู่หมวดที่ 10-26 จะใช้เป็นอักษร A-S นอกจากนี้ หมวด V คือSupplementary section for functioning assessment และหมวด X คือ External Cause แล้วจากนั้นจะแยกออกเป็นหมวดหมู่ในหลักถัดไป.

ใหม่!!: กล่องเสียงอักเสบอุดกั้นและบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายภาพรังสี

การถ่ายภาพรังสี (radiography) เป็นเทคนิกการถ่ายภาพชนิดหนึ่งซึ่งใช้รังสีเอกซ์เพื่อตรวจดูลักษณะโครงสร้างภายในของวัตถุ การประยุกต์ใช้การถ่ายภาพรังสีที่สำคัญ ได้แก่ การถ่ายภาพรังสีทางการแพทย์ และทางอุตสาหกรรม เป็นต้น การถ่ายภาพรังสี (radiography) เป็นเทคนิกการถ่ายภาพชนิดหนึ่งซึ่งใช้รังสีเอกซ์เพื่อตรวจดูลักษณะโครงสร้างภายในของวัตถุ การประยุกต์ใช้การถ่ายภาพรังสีที่สำคัญ ได้แก่ การถ่ายภาพรังสีทางการแพทย์ และทางอุตสาหกรรม เป็นต้น.

ใหม่!!: กล่องเสียงอักเสบอุดกั้นและการถ่ายภาพรังสี · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจเลือด

การเจาะหลอดเลือดดำ การตรวจเลือด คือ การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์จากเลือดซึ่งปกติแล้วได้จากการเก็บสิ่งส่งตรวจโดยการเจาะเก็บเลือดจากหลอดเลือดดำบริเวณแขนหรือปลายนิ้ว การตรวจเลือดใช้สำหรับตรวจสอบสถาวะทางสรีรวิทยาและชีวเคมี เช่น โรค แร่ธาตุ การใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานของอวัยวะต่างๆ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในการทดสอบสารเสพติด ถึงแม้เราจะใช้คำว่า "การตรวจเลือด" แต่การตรวจเลือดโดยทั่วไป (ยกเว้นทางโลหิตวิทยา) เราจะตรวจจากพลาสมาหรือซีรัมแทนของเซลล์เม็ดเลือ.

ใหม่!!: กล่องเสียงอักเสบอุดกั้นและการตรวจเลือด · ดูเพิ่มเติม »

การติดเชื้อทางเดินหายใจ

การติดเชื้อทางเดินหายใจคือโรคติดเชื้อใดๆ ที่เกิดกับทางเดินหายใจ มักแบ่งออกเป็นการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง โดยการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น ปอดอักเสบ มักมีอาการรุนแรงกว่าการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคหวัด หมวดหมู่:ระบบทางเดินหายใจ หมวดหมู่:โรคติดเชื้อ.

ใหม่!!: กล่องเสียงอักเสบอุดกั้นและการติดเชื้อทางเดินหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

กุมารเวชศาสตร์

การตรวจร่างกายเด็ก กุมารเวชศาสตร์ เป็นสาขาวิชาหนึ่งของแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทางการแพทย์แก่ทารก, เด็ก, และวัยรุ่น กล่าวคือตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 14-18 ปีขึ้นกับเกณฑ์ของแต่ละสถานที่และประเทศ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์จะเรียกว่า กุมารแพทย์ (pediatrician) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และแพทย์ประจำบ้านด้านกุมารเวชศาสตร์ แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ ซึ่งในประเทศไทยออกให้โดยแพทยสภา คำว่า pediatrics มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก παῖdh pais แปลว่าเด็ก และ ἰατρός iatros แปลว่าแพทย์หรือผู้รักษา เมื่อรวมกันจึงแปลว่า ผู้ที่รักษาเด็ก สำหรับในภาษาไทย "กุมาร" หมายถึง เด็กเล็ก ซึ่งมาจากภาษาบาลี หมายถึง "เด็กผู้ชาย" หรือ "บุตรชาย".

ใหม่!!: กล่องเสียงอักเสบอุดกั้นและกุมารเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฝากล่องเสียงอักเสบ

ฝากล่องเสียงอักเสบ (epiglottitis) เป็นการอักเสบของฝากล่องเสียง (epiglottis) ซึ่งเป็นแผ่นฝาที่สุดโคนลิ้น มีหน้าที่คอยกั้นไม่ให้อาหารหล่นลงไปยังหลอดลม จากตำแหน่งนี้หากฝากล่องเสียงบวมจะมีการขัดขวางการหายใจ เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ใหม่!!: กล่องเสียงอักเสบอุดกั้นและฝากล่องเสียงอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

วัคซีนโรคคอตีบ

วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ (Diphtheria) เป็นวัคซีนที่ใช้เพื่อต่อต้านเชื้อ Corynebacterium diphtheriae ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคคอตีบ การใช้วัคซีนนี้ในผู้ป่วยทั่วโลกมีจำนวนลดลงกว่า 90% ในช่วงปี 2523 ถึง 2543 การแนะนำสำหรับการให้วัคซีนครั้งแรกคือสามครั้งตามขนาดที่กำหนด โดยวัคซีนจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ประมาณ 95% ทั้งนี้วัคซีนจะสามารถป้องกันโรคได้นานประมาณ 10 ปีซึ่งหลังจากเวลาดังกล่าวก็จำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนกระตุ้น การสร้างภูมิคุมกันโรคอาจเริ่มตั้งแต่เมื่อทารกอายุหกเดือนและการให้วัคซีนครั้งต่อๆ ไปทุกสี่สัปดาห์ วัคซีนโรคคอตีบนี้มีความปลอดภัยมาก ผลข้างเคียงสำคัญนั้นพบได้น้อยมาก แต่ทั้งนี้อาจมีความเจ็บปวดที่ตำแหน่งการฉีดวัคซีนได้ รอยบวมที่ตำแหน่งการฉีดจะเกิดขึ้นนานราวสองสามสัปดาห์ วัคซีนนี้ปลอดภัยต่อผู้ที่ตั้งครรภ์และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง  การให้วัคซีนร่วมที่ใช้เพื่อป้องกันโรคมีหลายวิธี ซึ่งได้แก่ การให้ร่วมกับ tetanus toxoid (หรือที่เรียกว่า วัคซีน dT หรือ DT) และวัคซีนโรคบาดทะยักและวัคซีนโรคไอกรน หรือที่เรียกว่า วัคซีน DPT ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้นับตั้งแต่ปี 2517 ประชากรโลกที่ได้รับวัคซีนมีจำนวนประมาณ 84% โดยเป็นการให้วัคซีนโดยการฉีดยาเข้าทางกล้ามเนื้อ วัคซีนนี้ต้องเก็บในที่เย็นแต่ห้ามแช่แข็ง วัคซีนโรคคอตีบผลิตขึ้นในปี 2466 วัคซีนนี้อยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดในระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ปี 2557 ราคาขายส่งของวัคซีนที่มี tetanus toxoid อยู่ในราว 0.12 ถึง 0.99 เหรียญสหรัฐฯ ในสหรัฐอเมริกามีราคาต่ำกว่า 25 เหรียญสหรัฐฯ.

ใหม่!!: กล่องเสียงอักเสบอุดกั้นและวัคซีนโรคคอตีบ · ดูเพิ่มเติม »

วัคซีนไข้หวัดใหญ่

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ หรือ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี เป็นวัคซีนชนิดหนึ่งมีฤทธิ์สร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ได้ง่ายและบ่อย โดยทั่วไปแล้ววัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปีแต่ละชุดจะประกอบด้วยสารวัคซีนต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 3 ชนิด คือ ชนิด A (H3N2) ตัวหนึ่ง ชนิด A (H1N1) ซึ่งพบบ่อยตามฤดูกาล ตัวหนึ่ง (ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา ได้ถูกแทนที่ด้วยวัคซีนไข้หวัดใหญ่ "สายพันธุ์ใหม่" A H1N1 2009) และชนิด B ตัวหนึ่ง.

ใหม่!!: กล่องเสียงอักเสบอุดกั้นและวัคซีนไข้หวัดใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

สเตอรอยด์

ตอรอยด์ (อังกฤษ: steroid) เป็นลิพิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยที่โครงสร้างคาร์บอนจะเป็นวงแหวน 4 วงเชื่อมต่อกัน ความแตกต่างของชนิดสเตอรอยด์จะผันแปรไปตามฟังก์ชันนัลกรุป (functional group) ที่ติดอยู่กับวงแหวนเหล่านี้ มีสเตอรอยด์แตกต่างกันนับร้อยชนิดที่สามารถตรวจพบในพืชและสัตว์ ตัวอย่างบทบาทสำคัญของสเตอรอยด์ในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่คือ ฮอร์โมน Steroid skeleton. Carbons 18 and above can be absent. ในสรีรวิทยาและการแพทย์ของมนุษย์ สารสเตอรอยด์ที่สำคัญส่วนใหญ่ คือ คอเลสเตอรอล, สเตอรอยด์, ฮอร์โมน และสารตั้งต้น (precursor) และเมแทบอไลต์ คอเลสเตอรอลเป็นสารประกอบประเภท สเตอรอยด์แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ในสัตว์ แต่อย่างไรก็ดี ถ้ามันมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดโรค และภาวะผิดปกติมากมาย เช่น ภาวะผนังเส้นโลหิตแดงหนาและมีความยึดหยุ่นน้อยลง (atherosclerosis) สเตอรอยด์อื่นส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์จาก คอเลสเตอรอลฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมนเพศของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrate) ก็เป็นสเตอรอยด์ที่สร้างจากคอเลสเตอรอล สเตอรอยด์แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: กล่องเสียงอักเสบอุดกั้นและสเตอรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ท่อลม

thumb ท่อลม (pneumatic tube, capsule pipeline, หรือ Pneumatic Tube Transport ย่อว่า PTT) เป็นระบบที่ใช้ส่งกระบอกบรรจุภัณฑ์ไปมาตามท่อโดยใช้อากาศหรือสุญญากาศขับดัน ระบบนี้ใช้ขนส่งของแข็ง ต่างจากท่อทั่วไปที่ใช้ส่งของเหลว สำนักงานต่าง ๆ เริ่มรับมาใช้ในระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กับต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ด้วยจำเป็นต้องขนส่งพัสดุขนาดเล็ก อย่างจดหมาย เอกสาร หรือเงินตรา เป็นการด่วนหรือภายในระยะทางอันสั้น เช่น ในอาคารหรือเมืองเดียวกัน ปัจจุบัน นิยมติดตั้งในโรงพยาบาลที่ซึ่งระบบนี้ได้รับการพัฒนาและเสริมแต่งขึ้นอีกมากในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ผ่านม.

ใหม่!!: กล่องเสียงอักเสบอุดกั้นและท่อลม · ดูเพิ่มเติม »

น้ำมูกไหล

น้ำมูกไหล (Rhinorrhea หรือ Rhinorrhoea) เป็นอาการที่โพรงจมูกเกิดการอุดตันจากเมือกจำนวนหนึ่งและมักจะเกิดได้บ่อย น้ำมูกไหลเป็นอาการทั่วไปที่เกิดจากภูมิแพ้ (เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้) หรืออาจเกิดจากโรคอื่นๆที่เป็นอยู่ อาทิ โรคหวัด หรืออาจมีสาเหตุจากอาการอื่นๆ อาทิ น้ำมูกไหลจากการร้องไห้, ร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทัน, การเสพโคเคนหรือการเลิกใช้สารจำพวกโอปิออยด์เช่นเมทาโดน อาการน้ำมูกไหลไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเสมอไปเนื่องจากไม่ใช่อาการเจ็บป่วยและสามารถหายได้เอง แต่ก็มีวิธีรักษาให้หายอยู่ในกรณีที่มีการอักเสบหรือติดเชื้อ.

ใหม่!!: กล่องเสียงอักเสบอุดกั้นและน้ำมูกไหล · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: กล่องเสียงอักเสบอุดกั้นและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัส

วรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พรีออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology).

ใหม่!!: กล่องเสียงอักเสบอุดกั้นและไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไอ (อาการ)

อาการไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองอย่างหนึ่งของร่างกายที่มีขึ้นเพื่อกำจัดสารคัดหลั่ง สิ่งระคายเคือง สารแปลกปลอมอื่นๆ และจุลชีพออกจากทางเดินหายใจขนาดใหญ่ รีเฟลกซ์การไอประกอบด้วยสามระยะ ได้แก่ การหายใจเข้า การหายใจออกอย่างแรง ต้านกับกล่องเสียงที่ปิดอยู่ และการปล่อยอากาศออกจากปอดอย่างรวดเร็วพร้อมกันกับการเปิดกล่องเสียง ส่วนใหญ่มักทำให้เกิดเสียงไอร่วมด้วยเสมอ การไออาจเกิดจากความตั้งใจของคนคนนั้นเองหรือเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้ตั้งใจก็ได้ หากมีอาการไอบ่อยครั้งมักบ่งชี้ว่ามีสาเหตุจากโรคบางอย่าง ไวรัสและแบคทีเรียหลายชนิดได้รับประโยชน์เชิงวิวัฒนาการจากการกระตุ้นให้โฮสต์มีอาการไอ ซึ่งจะช่วยแพร่กระจายเชื้อไปยังโฮสต์ใหม่ ส่วนใหญ่การไอมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อทางเดินหายใจแต่ก็อาจเกิดจากการสำลัก การสูบบุหรี่ มลพิษทางอากาศ โรคหอบหืด โรคกรดไหลย้อน เสมหะไหลลงคอ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หัวใจล้มเหลว และยาบางชนิดเช่น ACE inhibitor การรักษามักรักษาที่สาเหตุ เช่น เลิกบุหรี่ หยุดใช้ยา ACE inhibitor ผู้ป่วยบางรายอาจมีความกังวลว่าจะเป็นโรคร้ายแรง ซึ่งบางครั้งการให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดความสบายใจก็เป็นการเพียงพอ มักมีการสั่งยาแก้ไออย่าง codeine หรือ dextromethorphan อยู่บ่อยครั้ง แต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลช่วยไม่มากนัก การรักษาอย่างอื่นมักรักษาที่การอักเสบของทางเดินหายใจหรือการกระตุ้นให้มีการขับเสมหะ เนื่องจากการไอเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายที่มีเพื่อป้องกันร่างกาย การยับยั้งอาการไอจึงอาจมีผลเสีย โดยเฉพาะหากอาการไอนั้นเป็นอาการไอแบบมีเสมห.

ใหม่!!: กล่องเสียงอักเสบอุดกั้นและไอ (อาการ) · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: กล่องเสียงอักเสบอุดกั้นและไข้ · ดูเพิ่มเติม »

เอพิเนฟรีน

อพิเนฟรีน (Epinephrine) หรือ อะดรีนาลีน (Adrenaline) หรือศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสภาว่า ฮอร์โมนเนื้อในต่อมหมวกไต เป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง เอพิเนฟรีนและนอร์เอพิเนฟรีนเป็นฮอร์โมนต่างชนิดแต่คล้ายกัน ซึ่งทั้งคู่หลั่งออกมาจากส่วนในของต่อมหมวกไต นอกจากนี้ ทั้งสองยังผลิตที่ปลายเส้นใยประสาทซิมพาเทติก โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางเคมีสำหรับถ่ายทอดพลักผลักดันประสาทไปยังอวัยวะปฏิบัติงาน (effector organ) การสืบค้นทางเภสัชวิทยาของเอพิเนฟรีนมีส่วนสำคัญทำให้เกิดความเข้าใจระบบประสาทอิสระและหน้าที่ของระบบซิมพาเทติก เอพิเนฟรีนยังเป็นยาที่มีประโยชน์สำหรับข้อบ่งใช้ฉุกเฉินหลายประการ แม้มีฤทธิ์ไม่จำเพาะต่อตัวรับอะดรีเนอจิก (adrenergic receptor) และมีการพัฒนายาจำเพาะหลายชนิดซึ่งออกฤทธิ์ต่อแบบชนิดย่อยของตัวรับอะดรีเนอจิกในเวลาต่อมา ในสำนวนพูดทั่วไป คำว่า "อะดรีนาลีน" ใช้หมายความถึง การปลุกฤทธิ์ระบบซิมพาเทติกซึ่งสัมพันธ์กับพลังงานและการเร้าการสนองสู้หรือหนี อิทธิพลของอะดรีนาลีนจำกัดอยู่ในผลทางเมแทบอลิซึมและการขยายหลอดลมต่ออวัยวะซึ่งไม่มีประสาทซิมพาเทติกไปเลี้ยงโดยตรง ในทางเคมี เอพิเนฟรีนเป็นโมโนเอมีนกลุ่มหนึ่ง เรียก แคทีโคลามีน (catecholamine) ผลิตในบางเซลล์ประสาทของระบบประสาทส่วนกลาง และในเซลล์โครมัฟฟิน (chromaffin cell) ของต่อมหมวกไตส่วนในจากกรดอะมิโน ฟีนิลอะลานีนและไทโรซีน.

ใหม่!!: กล่องเสียงอักเสบอุดกั้นและเอพิเนฟรีน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Croupครุปครุปจากเชื้อไวรัส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »