เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กลุ่มเคลื่อนที่หมีใหญ่

ดัชนี กลุ่มเคลื่อนที่หมีใหญ่

กลุ่มเคลื่อนที่หมีใหญ่ (Ursa Major Moving Group) หรือที่รู้จักในชื่อ คอลลินเดอร์ 285 เป็นกลุ่มเคลื่อนที่ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด เป็นกลุ่มของดาวที่มีความเร็วในอวกาศใกล้เคียงกัน และเชื่อว่ามีกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน แกนกลางของกลุ่มนี้อยู่ห่างออกไปประมาณ 80 ปีแสง มีดาวฤกษ์สว่างเป็นสมาชิกอยู่มาก ในบรรดานี้รวมถึงดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ที่อยู่ใน "ก้านกระบวยใหญ่" ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ด้วย (ของไทยเราเรียกว่า ดาวจระเข้) หมวดหมู่:กลุ่มดาวหมีใหญ่ หมวดหมู่:ชุมนุมดาว.

สารบัญ

  1. 4 ความสัมพันธ์: กลุ่มดาวหมีใหญ่จลนศาสตร์ดาวฤกษ์ดาวฤกษ์ปีแสง

กลุ่มดาวหมีใหญ่

กลุ่มดาวหมีใหญ่ เป็นกลุ่มดาวที่มีตำนานเกี่ยวข้องกับคัลลิสโตในเทพนิยายกรีก ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด 7 ดวง ทำให้เกิดดาวเรียงเด่นซึ่งคนไทยเรียกว่า ดาวจระเข้ คนลาว เรียกว่า ดาวหัวช้าง ในสหราชอาณาจักรเรียกว่า คันไถ ในจีนและอเมริกาเหนือ เรียกว่า กระบวยใหญ่ กลุ่มดาวหมีใหญ่ เป็นกลุ่มดาวสำคัญ ช่วยชี้หาดาวเหนือได้ โดยไล่จากขาหน้าขวา (βUMa) ไปทางขาหน้าซ้าย (αUMa) เลยออกไปอีกประมาณ 5 ช่วง นอกจากกลุ่มดาวหมีใหญ่ ยังมีอีกกลุ่มที่ใช้หาดาวเหนือได้คือ กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย หรือดาวค้างคาว สำหรับคนในซีกโลกเหนือ กลุ่มดาวหมีใหญ่เป็นกลุ่มดาวที่มองเห็นได้ตลอดทั้งปีเช่นเดียวกับดาวเหนือ แต่ในทางกลับกันเนื่องจากเป็นกลุ่มดาวที่อยู่ในซีกฟ้าเหนือ ผู้ที่อาศัยอยู่ทางซีกโลกใต้มาก ๆ จะเห็นได้ลำบาก เพราะตำแหน่งดาวบนทรงกลมท้องฟ้า จะอยู่ใต้พื้นโลกเกือบตลอดเวลา สิ่งที่น่ารู้อีกอย่างเกี่ยวกับกลุ่มดาวหมีใหญ่คือ กลุ่มดาวหมีใหญ่มีโลกที่สดใสและเป็นสีชมพูตลอดเวลาเนื่องจากกลุ่มดาวหมีใหญ่มีดาวบีตา(β)ชื่อว่า"มีรัก(Merak)".

ดู กลุ่มเคลื่อนที่หมีใหญ่และกลุ่มดาวหมีใหญ่

จลนศาสตร์ดาวฤกษ์

ลนศาสตร์ดาวฤกษ์ (Steller kinematics) คือการศึกษาการเคลื่อนที่ของกลุ่มดาวโดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้าใจว่าการเคลื่อนที่นั้นเกิดขึ้นมาจากอะไร ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาพลศาสตร์ดาวฤกษ์ (stellar dynamics) ซึ่งจะให้ความสำคัญกับผลกระทบจากแรงโน้มถ่วง การเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์เทียบกับดวงอาทิตย์นั้นให้ข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาจุดกำเนิดและอายุของดาวฤกษ์ รวมถึงโครงสร้างและวิวัฒนาการของดาราจักรโดยรอบ ในทางดาราศาสตร์ เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ถือกำเนิดขึ้นในเมฆโมเลกุล ที่รู้จักในชื่อ แหล่งอนุบาลดาวฤกษ์ (stellar nurseries) ดาวฤกษ์ที่ก่อตัวในเมฆนี้เกิดเป็นกระจุกดาวเปิดที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์สมาชิกหลายพันดวง และจะกระจัดกระจายกันออกไปตามระยะเวลา ดาวฤกษ์ที่แยกตัวออกไปจากแกนกลางของกระจุกดาวจะเรียกชื่อรัหสว่าเป็นสมาชิกของ ชุมนุมดาว (stellar association) ถ้าส่วนที่เหลือของดาวเหล่านี้เคลื่อนที่ไปในดาราจักรด้วยความสัมพันธ์กัน ก็จะเรียกว่า กลุ่มเคลื่อนที่ (moving group).

ดู กลุ่มเคลื่อนที่หมีใหญ่และจลนศาสตร์ดาวฤกษ์

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ดู กลุ่มเคลื่อนที่หมีใหญ่และดาวฤกษ์

ปีแสง

ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร.

ดู กลุ่มเคลื่อนที่หมีใหญ่และปีแสง