สารบัญ
9 ความสัมพันธ์: การติดเชื้อฉวยโอกาสภาวะภูมิต้านตนเองภูมิคุ้มกันบกพร่องระบบภูมิคุ้มกันวัณโรคต่อมน้ำเหลืองโตปอดบวมน้ำหนักลดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- สาธารณสุขในประเทศไทย
การติดเชื้อฉวยโอกาส
การติดเชื้อฉวยโอกาสคือการติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อก่อโรคโดยเฉพาะเชื้อก่อโรคฉวยโอกาส เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา โปรโตซัว ซึ่งปกติไม่ทำให้เกิดโรคในคนที่มีสุขภาพปกติ แต่ทำให้เกิดโรคในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็น "โอกาส" ให้เชื้อฉวยโอกาสเข้าก่อโรคได้.
ดู กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมที่เริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่และการติดเชื้อฉวยโอกาส
ภาวะภูมิต้านตนเอง
วะภูมิต้านตนเอง (autoimmunity) เกิดจากความล้มเหลวของระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายไม่สามารถรับรู้ได้ว่าส่วนหนึ่งๆ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายตัวเอง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีการตอบสนองต่อเซลล์และเนื้อเยื่อของตัวเอง โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางภูมิคุ้มกันเช่นนี้เรียกว่าโรคภูมิต้านตนเอง.
ดู กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมที่เริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่และภาวะภูมิต้านตนเอง
ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ูมิคุ้มกันบกพร่อง (immunodeficiency หรือ immune deficiency) ในทางการแพทย์ถือว่า เป็นภาวะที่ความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับโรคติดเชื้อลดลงหรือขาดไป ซึ่งส่วนมากพบเป็นแบบทุติยภูมิ หรือเกิดขึ้นภายหลัง (acquired หรือ secondary) แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะนี้มาตั้งแต่กำเนิด หรือเรียกว่าภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบปฐมภูมิ (primary immunodeficiency) ในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะจะได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อลดการต่อต้านอวัยวะปลูกถ่ายเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันมากเกินจนต่อต้านร่างกายตนเอง สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีโอกาสติดเชื้อจากการติดเชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infection) เพิ่มนอกเหนือไปจากการติดเชื้อทั่วไปที่เกิดขึ้นกับทุกคน.
ดู กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมที่เริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่และภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายตรวจจับได้เรียกว่า แอนติเจน (antigen) แอนติเจนที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า อิมมูโนเจน (immunogen) สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรค (pathogen) เพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที.
ดู กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมที่เริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่และระบบภูมิคุ้มกัน
วัณโรค
วัณโรค (Tuberculosis) หรือ MTB หรือ TB (ย่อจาก tubercle bacillus) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อย และถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยในหลายกรณี ที่เกิดจากไมโคแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ ตามปกติคือ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคโดยปกติก่อให้เกิดอาการป่วยที่ปอด แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของร่างกายได้ วัณโรคแพร่ผ่านอากาศเมื่อผู้ที่มีการติดเชื้อ MTB มีฤทธิ์ไอ จาม หรือส่งผ่านน้ำลายผ่านอากาศ การติดเชื้อในมนุษย์ส่วนมากส่งผลให้เกิดไร้อาการโรค การติดเชื้อแฝง และราวหนึ่งในสิบของการติดเชื้อแฝงท้ายที่สุดพัฒนาไปเป็นโรคมีฤทธิ์ ซึ่ง หากไม่ได้รับการรักษา ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากกว่า 50% อาการตรงต้นแบบมีไอเรื้อรังร่วมกับเสมหะมีเลือดปน ไข้ เหงื่อออกกลางคืน และน้ำหนักลด การติดเชื้อในอวัยวะอื่นก่อให้เกิดอาการอีกมากมาย การวินิจฉัยต้องอาศัยรังสีวิทยา (โดยมากคือ การเอ็กซ์เรย์อก) การทดสอบโรคบนผิวหนัง การตรวจเลือด เช่นเดียวกับการตรวจโดยทางกล้องจุลทรรศน์และการเพาะเชื้อจุลชีววิทยาต่อของเหลวในร่างกาย การรักษานั้นยากและต้องอาศัยการปฏิชีวนะยาวหลายคอร์ส คาดกันว่าหนึ่งในสามของประชากรโลกติดเชื้อ M.
ดู กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมที่เริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่และวัณโรค
ต่อมน้ำเหลืองโต
รคปุ่มน้ำเหลือง (lymphadenopathy) โรคต่อม (adenopathy) เป็นโรคอย่างหนึ่งของต่อมน้ำเหลือง ทำให้มีความผิดปกติไปของขนาด จำนวน หรือความแข็งของต่อม ซึ่งส่วนใหญ่จะทำให้ต่อมมีขนาดโตขึ้นด้วย จึงนิยมเรียกว่า ต่อมน้ำเหลืองโต สาเหตุที่พบบ่อยคือเกิดจากการอักเสบ เรียกว่า ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (lymphadenitis) ในทางการแพทย์แล้ว มักไม่นิยมให้ความสำคัญกับการพยายามแยกแยะว่าโรคของต่อมน้ำเหลืองนี้เป็นต่อมน้ำเหลืองโตหรือเป็นต่อมน้ำเหลืองอักเสบ บางครั้งจึงถูกถือว่าเป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน ต่อมน้ำเหลืองโตเป็นอาการแสดงที่พบได้บ่อย และไม่มีความจำเพาะต่อโรคใดๆ เป็นพิเศษ สาเหตุที่พบบ่อยคือการติดเชื้อ (ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่การติดเชื้อเล็กน้อย เช่น หวัด ไปจนถึงการติดเชื้อรุนแรง เช่น เอชไอวี) โรคภูมิต้านตนเอง และมะเร็ง นอกจากนี้ยังอาจไม่มีสาเหตุ และหายเองได้.
ดู กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมที่เริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่และต่อมน้ำเหลืองโต
ปอดบวม
รคปอดบวม (pneumonia) หรือ โรคปอดอักเสบ (pneumonitis) เป็นโรคของระบบหายใจอย่างหนึ่งซึ่งมีการอักเสบของปอด โดยเฉพาะของถุงลม ทำให้มีไข้ มีอาการทางปอด มีการสูญเสียของพื้นที่แลกเปลี่ยนก๊าซ ซึ่งเห็นได้จากการเอกซเรย์ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ เชื้อแบคทีเรียชื่อ "นิวโมคอคคัส" (Pneumococcal Disease) เป็นสาเหตุหลัก http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/31524 แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่นได้รับสารเคมีหรือการกระทบกระเทีอนทางกายภาพได้เช่นกัน ผู้ป่วยโรคปอดบวมจะมีอาการโดยทั่วไปได้แก่ ไอ เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และหายใจหอบ การวินิจฉัยจะกระทำโดยการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดและการตรวจเสมหะ ปอดบวมบางชนิดมีวัคซีนป้องกัน ส่วนวิธีการรักษาจะขึ้นกับสาเหตุของโรค เช่น โรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียจะรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ ในอดีตปอดบวมเป็นโรคที่ร้ายแรงมากจนเคยมีคำกล่าวว่าปอดบวมเป็น "นายของสาเหตุการตายของมนุษย์" (ศตวรรษที่ 19 วิลเลียม ออสเลอร์) แต่หลังจากที่มีการคิดค้นการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและวัคซีนในศตวรรษที่ 20 ทำให้ผลการรักษาปอดบวมดีขึ้นมาก อย่างไรก็ดีปอดบวมยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยอายุน้อย และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยในโลกที่สามด้ว.
ดู กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมที่เริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่และปอดบวม
น้ำหนักลด
น้ำหนักลด ในบริบททางการแพทย์ สุขภาพหรือสมรรถภาพทางกาย คือการลดลงของมวลกายรวม อันเนื่องมาจากการลดลงของของไหล ไขมันร่างกายหรือเนื้อเยื่อไขมัน และ/หรือ มวลกล้ามเนื้อไขมัน (lean mass) โดยเฉลี่ย ซึ่งกล้ามเนื้อไขมันนั้นคือ แหล่งแร่ธาตุกระดูก กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอื่น น้ำหนักลดสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่เจตนาเนื่องจากโรคเบื้องหลังหรือสามารถเกิดขึ้นจากความพยายามอย่างตั้งใจเพื่อปรังปรุงน้ำหนักเกินแท้จริงหรือน้ำหนักเกินรับมา หรือโรคอ้วน.
ดู กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมที่เริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่และน้ำหนักลด
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมอง(และไขสันหลัง)อักเสบ (meningitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อที่อยู่รอบสมองและไขสันหลังซึ่งเรียกรวมว่าเยื่อหุ้มสมอง การอักเสบนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือจุลชีพอื่นๆ และบางครั้งเกิดจากยาบางชนิด เป็นภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเนื่องจากเป็นการอักเสบที่อยู่ใกล้เนื้อสมองและไขสันหลัง ดังนั้นจึงเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ อาการที่พบบ่อยได้แก่อาการปวดศีรษะและคอแข็งเกร็งพร้อมกับมีไข้ สับสนหรือซึมลง อาเจียน ทนแสงจ้าหรือเสียงดังไม่ได้ บางครั้งอาจมีเพียงอาการแบบไม่จำเพาะเจาะจง เช่น อาการไม่สบายตัวหรือง่วงซึมได้โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หากมีผื่นร่วมด้วยอาจบ่งชี้ถึงสาเหตุเฉพาะบางอย่างของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย''เมนิงโกคอคคัส'' ซึ่งมีผื่นที่มีลักษณะเฉพาะ แพทย์อาจเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อวินิจฉัยหรือแยกโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำโดยใช้เข็มเจาะเข้าช่องสันหลังเพื่อนำเอาน้ำหล่อสมองไขสันหลังออกมาตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาโดยทั่วไปทำโดยให้ยาปฏิชีวนะอย่างทันท่วงที บางครั้งอาจมีการใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบรุนแรง เยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่รุนแรง เช่น หูหนวก โรคลมชัก โพรงสมองคั่งน้ำ และสติปัญญาเสื่อมถ่อย โดยเฉพาะหากรักษาไม่ทันท่วงที เยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิดอาจสามารถป้องกันได้ด้วยการให้วัคซีน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อเมนิงโกคอคคัส, ''ฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา'' ชนิดบี, ''นิวโมคอคคัส'' หรือไวรัสคางทูม เป็นต้น.
ดู กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมที่เริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ดูเพิ่มเติม
ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมที่เริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่
- ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
สาธารณสุขในประเทศไทย
- กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)
- กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมที่เริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่
- ฟ้าหลัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2556
- สาธารณสุขในประเทศไทย
- โรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา
หรือที่รู้จักกันในชื่อ "Adult onset" immunodeficiency syndromeAdult-onset immunodeficiency diseaseAdult-onset immunodeficiency syndromeโรคใหม่อาการคล้ายเอดส์โรคใหม่คล้ายเอดส์