สารบัญ
23 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาอิหร่านภาษาบาลูจิภาษาบูโครีภาษาพาร์เทียนภาษามาซันดารานีภาษายิวซิราซีภาษายูฮูรีภาษาลากีภาษาลูรีภาษาอัสเตียนีภาษาอายมักภาษาฮาซารากีภาษาดารีภาษาคาลาซภาษาคิเลกิภาษาตัตภาษาซังกิซารีภาษาเมเดียภาษาเคิร์ดภาษาเคิร์ดเหนือภาษาเปอร์เซียกลางภาษาเปอร์เซียคูเซสถานภาษาเปอร์เซียโบราณ
กลุ่มภาษาอิหร่าน
การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ของผุ้พูดกลุ่มภาษาอิหร่าน กลุ่มภาษาอิหร่านเป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านที่อยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ภาษาอเวสตะถือเป็นภาษาที่เก่าที่สุดของกลุ่มนี้ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร กลุ่มภาษานี้มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 150 - 200 ล้านคน ภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาเปอร์เซีย (ประมาณ 70 ล้านคน) ภาษาพาซตู (ประมาณ 40 ล้านคน) ภาษาเคิร์ด (35 ล้านคน) และภาษาบาโลชิ (ประมาณ 7 ล้านคน).
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและกลุ่มภาษาอิหร่าน
ภาษาบาลูจิ
ษาบาลูจิ (Balochi language) เป็นภาษาที่พูดทางตะวันตกเฉียงเหนือในอิหร่าน เป็นภาษาหลักของชาวบาลูจิในบาลูจิสถานซึ่งอยู่ในปากีสถานตะวันตก อิหร่านตะวันออก และอัฟกานิสถานตอนใต้ เป็นภาษาราชการ 1 ใน 9 ภาษาของปากีสถาน.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาบาลูจิ
ภาษาบูโครี
ภาษาบูโครี เป็นภาษาตระกูลอินโด-อิหร่าน ชื่ออื่นของภาษานี้คือภาษาทาจิก-เปอร์เซียของชาวยิว เป็นภาษาของชาวยิวในบูคาราน ภาษาบูโครีได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียคลาสสิก โดยมีคำยืมจากภาษาฮีบรูเป็นจำนวนมาก รวมทั้งคำยืมจากภาษาในบริเวณข้างเคียงเช่น ภาษารัสเซียและภาษาอุซเบก เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกับชาวทาจิก ปัจจุบันมีชาวยิวที่พูดภาษานี้ 10,000 คนในอุซเบกิสถาน และมีอยู่ในอิสราเอลราว 50,000 คน เขียนด้วยอักษรฮีบรู สถานีวิทยุ Kol Israel (קול ישראל) กระจายเสียงด้วยภาษาบูโครี บูโครี บูโครี บูโครี.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาบูโครี
ภาษาพาร์เทียน
ภาษาพาร์เทียน เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือโบราณที่ตายแล้ว จุดกำเนิดของภาษาอยู่ที่พาร์เทีย (ในอิหร่าน) และเป็นภาษาราชการ ในจักรวรรดิ่พาร์เทีย ยุคราชวงศ์อาร์ซาคิด (พ.ศ.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาพาร์เทียน
ภาษามาซันดารานี
ษามาซันดารานี หรือภาษาตาบารี เป็นภาษากลุ่มอิหร่านสาขาตะวันตกเฉียงเหนือ มีผู้พูดในจังหวัดมาซันดารานี ประเทศอิหร่าน ไม่อาจเข้าใจกันได้กับภาษาเปอร์เซีย ภาษามาซันดารานีใกล้เคียงกับภาษาคิเลกิ โดยมีคำศัพท์ใกล้คียงกัน ภาษามาซันดารานีได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่นเช่นภาษาอาหรับและภาษาตุรกีด้วย มีผู้พูดน้อยกว่า 3 ล้านคนใน..
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษามาซันดารานี
ภาษายิวซิราซี
ษายิวซิราซี (Judeo-Shirazi) เป็นสำเนียงของภาษาเปอร์เซียซึ่งพูดโดยชาวเปอร์เซียเชื้อสายยิว ที่อาศัยอยู่ในชีราชและบริเวณใกล้เคียงทางตะวันออกของอิหร่าน มีความแตกต่างของสำเนียงในบริเวณต่างๆกัน สามารถเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาเปอร์เซียในอิหร่าน.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษายิวซิราซี
ภาษายูฮูรี
ษายูฮูรี(Juhuri) หรือภาษาตัตของชาวยิว (Judæo-Tat) หรือ ภาษายูวูรี (Juwuri; çuhuri / жугьури / ז'אוּהאוּראִ) เป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาตัต และเป็นภาษาพื้นเมืองในบริเวณตะวันออกของเทือกเขาคอเคซัสโดยเฉพาะอาเซอร์ไบจานและดาเกสถาน รวมทั้งในอิสราเอล ภาษานี้ใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซีย อยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้ ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ภาษาที่ใกล้เคียงกันคือภาษาตัตของชาวมุสลิมในอาเซอร์ไบจาน คำว่ายูฮูรีและยูฮูโรแปลตรงตัวหมายถึงของยิว และชาวยิว ภาษายูฮูรีนี้มีลักษณะของกลุ่มภาษาเซมิติกปนอยู่มาก มีเสียง "ayin" (ע) ซึ่งภาษาในบริเวณนั้นไม่มีเสียงนี้.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษายูฮูรี
ภาษาลากี
ษาลากี (Laki) หรือภาษาเลกี (Leki) (لهکی) เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ แม้ว่าจะจัดอยู่ในกลุ่มของสำเนียงใต้ของภาษาเคิร์ด ใน Ethnologue จัดให้ภาษานี้เป็นกลุ่มย่อยของภาษาเคิร์ด โดยอ้างว่า มีรากศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาลูริช 78% และภาษาเปอร์เซีย 70% ใช้พูดในบริเวณซากรอสตอนกลางของอิหร่าน และบางส่วนของอิรัก ผู้พูดภาษานี้เรียกว่าชาวลาก.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาลากี
ภาษาลูรี
ภาษาลูรี (ภาษาเปอร์เซีย لُری, สัทอักษร: /loriː/, /luriː/) เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้ ใช้พูดโดยชาวลูร์ซและชาวแบกเทรียในจังหวัดโลเรสถาน อีแลม ชาฮัร มาฮาลและแบกเทียรีโกกิลุเยห์และบูเยอร์ อะห์หมัด และบางส่วนของคุเซสถานและฮามาดาน ประเทศอิหร่าน เป็นลูกหลานของภาษาเปอร์เซียกลางและมีรากศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซีย ภาษาลูรีเป็นภาษาที่เชื่อมต่อระหว่างภาษาเปอร์เซียกับภาษาเคิร์ดสำเนียงต่างๆ ภาษาลูรีแบ่งเป็นสามสำเนียงคือสำเนียงโลริสถาน สำเนียงแบกเทรีย และสำเนียงโลรีใต้ แม้ว่าภาษาลูรีจะเป็นภาษาเอกเทศ แต่ก็มีความเห็นอย่างอื่นอีก และมีนักวิชาการจำนวนหนึ่งเสนอให้แบ่งภาษาลูรีเป็นหลายภาษา ทั้งนี้ มีลักษณะร่วมกันมากระหว่างภาษาเคิร์ดใต้กับสำเนียงแบกเทรีย บางครั้งจึงถือว่าสำเนียงแบกเทรียเป็นภาษาเชื่อมต่อระหว่างภาษาเคิร์ดกับภาษาเปอร์เซีย ลูรี.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาลูรี
ภาษาอัสเตียนี
ษาอัสเตียนี (Ashtiani dialect) เป็นสำเนียงหนึ่งของสำเนียงอิหร่านกลาง ใช้พูดในอัศเตียนและตาเฟรชในอิหร่าน ใกล้เคียงกับภาษาวาฟซีมาก ผู้พูดส่วนใหญ่เป็นมุสลิมและพูดภาษาเปอร์เซียได้ด้ว.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาอัสเตียนี
ภาษาอายมัก
ภาษาอายมัก เป็นสำเนียงของภาษาเปอร์เซีย ในอัฟกานิสถาน มีผู้พูดอยู่ทางตะวันตกของฮาซารายัต ในอัฟกานิสถาน อิหร่านตะวันออกและในทาจิกิสถาน หมวดหมู่:ภาษาในประเทศอัฟกานิสถาน หมวดหมู่:ภาษาในประเทศอิหร่าน หมวดหมู่:ภาษาในประเทศทาจิกิสถาน.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาอายมัก
ภาษาฮาซารากี
ษาฮาซารากี เป็นสำเนียงของภาษาเปอร์เซีย ความแตกต่างหลักเมื่อเทียบกับภาษาเปอร์เซียมาตรฐานที่ใช้พูดในอิหร่านและอัฟกานิสถานคือ มีคำยืมจากภาษามองโกเลียและภาษากลุ่มเตอร์กิกเป็นจำนวนมาก ใช้พูดโดยชาวฮาซาราในอัฟกานิสถานตอนกลาง และบางส่วนของปากีสถาน และผู้อพยพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิหร่าน คาดว่ามีผู้พูด 2 ล้านคน.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาฮาซารากี
ภาษาดารี
ษาดารี (Dari; ภาษาเปอร์เซีย: دری Darī, ออกเสียง) หรือ ภาษาเปอร์เซียดารี (Dari Persian; ภาษาเปอร์เซีย: فارسی دری - Fārsīy e Darī) หรือ ภาษาเปอร์เซียตะวันออก เป็นชื่อที่ใช้เรียกภาษาเปอร์เซียสำเนียงหนึ่งที่ใช้พูดในอัฟกานิสถาน และเป็นชื่อทางการที่รัฐบาลอัฟกานิสถานใช้ในรัฐธรรมนูญ ภาษาดารีเป็นภาษาราชการในอัฟกานิสถานรองจากภาษาพัชโต และใช้เป็นภาษากลางในอัฟกานิสถาน.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาดารี
ภาษาคาลาซ
ษาคาลาซ เป็นภาษาที่ใช้พูดในอัฟกานิสถานและอิหร่าน อยู่ในภาษากลุ่มเตอร์กิก มีผู้พูด 42,000 เมื่อ..
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาคาลาซ
ภาษาคิเลกิ
ษาคิเลกิ (گیلکی ในภาษาเปอร์เซีย Gileki ในภาษาอังกฤษ) เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้พูดในจังหวัดกิลันและจังหวัดมาซันดารันในอิหร่าน แบ่งเป็น 4 สำเนียงคือ สำเนียงตะวันตก ตะวันออก ตาบารี และกาเลชิ ใกล้เคียงกับภาษามาซันดารานี สำเนียงตะวันตกและตะวันออกของภาษานี้แบ่งแยกโดยแม่น้ำเวฟิด รุด มีผู้พูดมากกว่า 3 ล้านคนเมื่อ..
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาคิเลกิ
ภาษาตัต
ษาตัต (Tat language) หรือภาษาตาติ เป็นภาษาในภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้ พูดโดยชาวตัตในสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานและรัสเซีย รูปแบบการเขียนใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซียกลางหรือปะห์ลาวี มีสำเนียงที่เป็นของชาวยิวเรียกภาษายูฮูรี ซึ่งมาจากภาษาตัต ชาวตัตกล่าวว่าพวกเขาเป็นลูกหลานเปอร์เซียยุคซัสซาน.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาตัต
ภาษาซังกิซารี
ษาซังกิซารี (Sangisari) หรือภาษาซังซารี (Sangsari) เป็นภาษากลุ่มอิหร่าน ที่ใช้พูดในจังหวัดเซมนัน ทางใต้ของอิหร่าน ภาษานี้ได้รวมอยู่ในภาษากลุ่มเซมมานี ในภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ มีผู้พูด 36,000 คน.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาซังกิซารี
ภาษาเมเดีย
ษาเมเดีย เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตก อยู่ในสาขาตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดียวกับภาษาพาร์เทียน ภาษาบาโลชิ ภาษาเคิร์ด และอื่นๆ เป็นภาษาของเผ่าเมเดีย ซึ่งมีการติดต่อกับชาวเปอร์เซียอย่างใกล้ชิด คำในภาษาเมเดียพบได้ทั่วไปในภาษาเปอร์เซียโบราณและภาษาของชาวอารยัน ตัวอย่างเช่น.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาเมเดีย
ภาษาเคิร์ด
ษาเคิร์ด (کوردی คูร์ดี) มีผู้พูดราว 31 ล้านคน ในอิรัก (รวมทั้งในเขตปกครองตนเองของชาวเคิร์ด) อิหร่าน ตุรกี ซีเรีย เลบานอน จัดอยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ ตระกูลอินโด-ยุโรป ภาษาที่ใกล้เคียงคือ ภาษาบาโลชิ ภาษาคิเลกิ และภาษาตาเลียส ภาษาเปอร์เซียที่อยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้จัดเป็นภาษาใกล้เคียงด้วยแต่มีความแตกต่างมากกว่า 3 ภาษาข้างต้น.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาเคิร์ด
ภาษาเคิร์ดเหนือ
ษาเคิร์ดเหนือ หรือ ภาษากุรมันชี (Kurmanji, ภาษากุรมันชี: Bahdînî) เป็นสำเนียงของภาษาเคิร์ดที่มีผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในตุรกีและซีเรีย รวมทั้งประเทศในอดีตสหภาพโซเวียตและเลบานอน มีในอิรักและอิหร่านเป็นส่วนน้อ.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาเคิร์ดเหนือ
ภาษาเปอร์เซียกลาง
ษาเปอร์เซียกลางหรือภาษาปะห์ลาวี เป็นภาษากลุ่มอิหร่าน ใช้พูดในยุคซัสซาเนียน พัฒนามาจากภาษาเปอร์เซียโบราณ เขียนด้วยอักษรปะห์ลาวี.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาเปอร์เซียกลาง
ภาษาเปอร์เซียคูเซสถาน
ภาษาเปอร์เซียคูเซสถาน (Khuzestani Persian) เป็นสำเนียงของภาษาเปอร์เซียที่ใช้พูดในคูเซสถาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่าน โดยทั่วไปไม่สามารถเข้าใจกันได้กับภาษาเปอร์เซียมาตรฐาน มีความแตกต่างกันระหว่างสำเนียงทางเหนือและทางใต้ แบ่งย่อยได้อีกหลายสำเนียง ปเอร์เซียคูเซสถาน หมวดหมู่:ภาษาเปอร์เซีย.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาเปอร์เซียคูเซสถาน
ภาษาเปอร์เซียโบราณ
ร่างของคอลัมน์แรกของจารึกเบอิสตุน ภาษาเปอร์เซียโบราณ (Old Persian) เป็นภาษาในจารึกซึ่งค้นพบในบริเวณที่ตั้งของประเทศอิหร่านในปัจจุบัน มีอายุราว 600-500 กว่าปีก่อนคริสตกาล ภาษานี้มีอายุไล่เลี่ยกับภาษาบาลีในอินเดีย และมีลักษณะโครงสร้างทางภาษาที่คล้ายกันมาก เปอร์เซียโบราณเป็นภาษาของชาวอิหร่านที่พัฒนาขึ้นในสมัยกลาง วิวัฒนาการมาจากภาษาอเวสตะซึ่งเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของชาวอิหร่านโบราณ.
ดู กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกและภาษาเปอร์เซียโบราณ