โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิ

ดัชนี กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิ

กลุ่มปราสาทตาเมือนตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทที่รวมกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน มาเป็นอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน และกำลังพิจารณาปราสาทกลุ่มราชมรรคาเป็นมรดกโลก ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนธมด้านปราสาทบริวาร 2 หลัง ปราสาทตาเมือนธม ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน และและสมาชิกใหม่คือปราสาทศีขรภูมิ, ปราสาทตาคว.

36 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2473พระพรหมพระพิฆเนศพระวิษณุพระปารวตีพระเจ้าชัยวรมันที่ 7พระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2กรมศิลปากรกลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิกุมภาพันธ์ภาษาเขมรมกราคมมหาวิทยาลัยมหิดลราชมรรคาศิลาแลงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุลหินทรายอักษรธรรมล้านนาอำเภอพนมดงรักอำเภอศีขรภูมิจังหวัดสุรินทร์ทิวเขาพนมดงรักทิศตะวันออกทิศตะวันออกเฉียงใต้ทิศตะวันตกเฉียงเหนือทิศใต้ปราสาทบายนปราสาทศีขรภูมิปราสาทตาควายปราสาทตาเมือนปราสาทตาเมือนธมปราสาทตาเมือนโต๊ดปรางค์นครวัด

พ.ศ. 2473

ทธศักราช 2473 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1930 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและพ.ศ. 2473 · ดูเพิ่มเติม »

พระพรหม

ระพรหม (ब्रह्मा; Brahma; బ్రహ్మ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หรือ ห่าน พระชายา คือ พระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้ ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์ เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากส่วนท้อง และศูทรเกิดจากเท้า ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่างๆอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่างๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลังๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่" โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและพระพรหม · ดูเพิ่มเติม »

พระพิฆเนศ

ระคเณศ (गणेश பிள்ளையார் Ganesha) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ (विघ्नेश) พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศ หรือ พระคณปติ ทรงเป็นเทพในศาสนาฮินดู ทรงเป็นเทพแห่งความสำเร็จ ทั้งยังทรงเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ ทรงเป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง).

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและพระพิฆเนศ · ดูเพิ่มเติม »

พระวิษณุ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. พระวิษณุ (विष्णु วิษฺณุ) หรือที่รู้จักกันในพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระนารายณ์ (नारायण นารายณ) เป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาวฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักรสุทรรศน์ คทาเกาโมทกี แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะบรรทมอยู่บนหลังพญาอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือพระแม่ลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้าง ๆ เสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

พระปารวตี

ปารวตี (पार्वती Pārvatī) หรือ อุมา (उमा Umā) เป็นเทวดาสตรีในศาสนาฮินดู เป็นเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก การอุทิศตน ตลอดจนพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์Suresh Chandra (1998), Encyclopaedia of Hindu Gods and Goddesses,, pp 245-246 ถือกันว่า พระนางเป็นด้านอ่อนโยนและเอาใจใส่ของเทวีศักติ พระนางยังแสดงพระองค์เป็นหลายด้าน เรียกว่า "ปาง" แต่ละปางเป็นที่รู้จักด้วยหลายชื่อหลายเรื่องราวKeller and Ruether (2006), Encyclopedia of Women and Religion in North America, Indiana University Press,, pp 663 พระนาง พร้อมด้วยพระลักษมี เทวีแห่งความมั่งคั่งรุ่งเรือง และพระสรัสวดี เทวีแห่งความรู้ ประกอบกันเป็นองค์สาม (trinity) ของเทวีฮินดู เรียกว่า ตรีเทวี พระนางเป็นพระชายาของพระศิวะ เทพเจ้าผู้ปกปักรักษาสรรพชีวิตและทำลายล้างความชั่วร้ายEdward Balfour,, The Encyclopaedia of India and of Eastern and Southern Asia, pp 153 พระนางเป็นพระธิดาของพระหิมวัต เทพแห่งภูเขา กับพระนางไมนาวติ ผู้เป็นพระชายาH.V. Dehejia, Parvati: Goddess of Love, Mapin,, pp 11 พระนางทรงให้กำเนิดพระคเณศกับพระขันทกุมาร คัมภีร์ปุราณะยังกล่าวว่า พระนางเป็นพระพี่นางหรือน้องนางของพระวิษณุ และของพระคงคาWilliam J. Wilkins,, Hindu Mythology - Vedic and Puranic, Thacker Spink London, pp 295 พระนางกับพระสวามีทรงเป็นเทพศูนย์กลางแห่งไศวนิกาย หรือลัทธิซึ่งถือพระศิวะเป็นใหญ่ ศาสนาฮินดูยังเชื่อว่า พระนางทรงเป็นพลังงานและอำนาจแห่งการสร้างสรรค์ใหม่ของพระสวามี เป็นรากเหง้าของพันธะที่รัดรึงสรรพสิ่งเข้าด้วยกัน และเป็นหนทางแห่งการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณในเทวาลัยฮินดูที่สร้างถวายพระนางและพระสวามี มักใช้โยนี (อวัยวะเพศหญิง) เป็นสัญลักษณ์แทนพระนาง.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและพระปารวตี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ระเจ้าชัยวรมันที่ 7เป็นกษัตริย์ของอาณาจักรเขมรที่ยิ่งใหญ่ (พ.ศ. 1724 - พ.ศ. 1762) ในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน เป็นพระโอรสของพระเจ้าธรนินทรวรมันที่ 2 (ครองราชย์ พ.ศ. 1693 - พ.ศ. 1703) และพระนางศรี ชยราชจุฑามณี พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สถาปนานครธม นครหลวงแห่งสุดท้ายของอาณาจักรเขมร ในประเทศกัมพูชายังมีสระน้ำแห่งหนึ่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงใช้เป็นประจำอีกด้ว.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2

ูรยวรรมันที่ 2 เอกสารไทยบางทีว่า สุริยวรมันที่ 2 (សូរ្យវរ្ម័នទី២ สูรฺยวรฺมันที ๒; Suryavarman II) สิ้นพระชนม์แล้วได้พระนามว่า บรมวิษณุโลก (បរមវិឝ្ណុលោក บรมวิศฺณุโลก) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมร เสวยราชย์ตั้งแต..

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและพระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

กรมศิลปากร

กรมศิลปากร เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีภารกิจคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ จัดการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาต.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและกรมศิลปากร · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิ

กลุ่มปราสาทตาเมือนตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทที่รวมกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน มาเป็นอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน และกำลังพิจารณาปราสาทกลุ่มราชมรรคาเป็นมรดกโลก ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนธมด้านปราสาทบริวาร 2 หลัง ปราสาทตาเมือนธม ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน และและสมาชิกใหม่คือปราสาทศีขรภูมิ, ปราสาทตาคว.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและกลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

กุมภาพันธ์

กุมภาพันธ์ เป็นเดือนที่ 2 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นเดือนที่มีจำนวนวัน 28 หรือ 29 วัน โดยปกติจะมี 28 วัน ยกเว้นปีอธิกสุรทินที่มี 29 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนกุมภาพันธ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกุมภ์ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีมีน แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเล และไปอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำในปลายเดือน.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและกุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเขมร

ษาเขมร (ភាសាខ្មែរ ภาสาแขฺมร เพียซา ขฺมะเอ) ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นหนึ่งในภาษาหลักของภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก และได้รับอิทธิพลหลายๆ ประการมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้เข้ามาผ่านศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ในขณะที่อิทธิพลจากภาษาอื่นๆ โดยมากเป็นคำยืม เช่น จากภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษา และความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์ และภาษาจีนจากการอพยพ ภาษาฝรั่งเศสจากการตกเป็นอาณานิคมช่วงเวลาหนึ่ง และภาษามลายูจากความสัมพันธ์ในอดีตและการที่เคยมีอาณาจักรจามปาในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ภาษาเขมรแปลกไปจากภาษาในประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม) เนื่องจากไม่มีเสียงวรรณยุกต.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและภาษาเขมร · ดูเพิ่มเติม »

มกราคม

มกราคม เป็นเดือนแรกของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนมกราคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีมกร และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกุมภ์ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนมกราคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู และไปอยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเลในปลายเดือน เดือนมกราคมในภาษาอังกฤษ January มาจากเทพเจ้าโรมันนามว่า ยานุส (Janus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งประตูทางผ่าน การเริ่มต้น และการสิ้นสุด ปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคมมีเดือนเพียง 10 เดือน (304 วัน) โดยไม่มีเดือนในช่วงฤดูหนาว ต่อมาได้มีการเพิ่มเดือน 2 เดือน คือ เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ทำให้ 1 ปีมี 12 เดือน ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนมกราคมในปี..

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและมกราคม · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University; ชื่อย่อ: ม.มหิดล / MU) เป็นสถาบันที่มีที่มาจากการเป็นโรงเรียนแพทย์ ณ โรงพยาบาลศิริราช ชื่อว่า โรงเรียนแพทยากร ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและมหาวิทยาลัยมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

ราชมรรคา

ปราสาทตาเมือน (ปราสาทบายกรีม) ปราสาทพระขรรค์ ราชมรรคา (Royal Roads) คือเส้นทางเชื่อมโยงบ้านเมืองชั้นในของ ราชอาณาจักรกัมพุเทศ หรือขอมโบราณ อันเป็นบรรพบุรุษร่วมสายหนึ่งของชาวไทยในปัจจุบัน มีหลักฐานเป็น ถนน สะพาน ปราสาท จารึก ปมปริศน.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและราชมรรคา · ดูเพิ่มเติม »

ศิลาแลง

การตัดอิฐจากศิลาแลง ในประเทศอินเดีย thumb ศิลาแลง หรือ แม่รัง เป็นวัสดุในธรรมชาติอย่างหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับหิน สีแดง ส้ม หรือน้ำตาลเข้ม มีรูพรุนทั่วไป นับเป็นวัสดุที่มีความสำคัญในการก่อสร้างในอดีต เนื่องจากมีความอ่อนนุ่มและมีความแข็งพอสมควร.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและศิลาแลง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

นายพลเอก มหาอำมาตย์เอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม พระองค์ยังทรงเป็นต้นราชสกุลดิศกุล.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ตราจารย์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง นายกองใหญ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (2 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระโสทรกนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน..

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล

หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 — 11 สิงหาคมพ.ศ. 2533) ทรงเป็นพระธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับหม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม: ยมาภัย).

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล · ดูเพิ่มเติม »

หินทราย

250px หินทราย (Sandstone) เป็นหินมีลักษณะ เนื้อหยาบ จับดูระคายมือ เพราะประกอบด้วยเม็ดทรายขนาดแตกต่างกัน (1/16 – 2 มม.) เม็ดแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่ควอร์ตซ์ แต่อาจมีแร่อื่นและเศษหินดินปะปนอยู่ด้วย เพราะมีวัตถุประสารมีความแข็งมากสามารถขูดเหล็กเป็นรอยได้ มีสีต่าง ๆ เช่น แดง น้ำตาล เทา เขียว เหลืองอ่อน อาจแสดงรอยชั้นให้เห็น มีซากดึกดำบรรพ์ เกิดจากการรวมตัวกันของเม็ดทราย ประกอบด้วยควอร์ตซ์เป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่แมกเนไทต์และไมกาปะปนอยู่ วัตถุประสาร (ซีเมนต์) ส่วนมากเป็นพวกซิลิกา (ควอร์ตซ์ หรือ เชิร์ต) แคลไซด์ โดโลไมต์ เหล็กออกไซด์ ซึ่งมักทำให้หินมีสีเหลือง น้ำตาล แดง ในประเทศไทย พบมากทางภาคอีสาน จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี และทางภาคใต้บางแห่ง.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและหินทราย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรธรรมล้านนา

ป้ายชื่อวัดหม้อคำตวง ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เขียนด้วยอักษรธรรมล้านนา'''ถอดเป็นอักษรไทย:''' "วัดหฺมฺ้อฅำทฺวง์"'''คำอ่าน:''' "วัดหม้อคำตวง" อักษรธรรมล้านนา หรือ ตัวเมือง (210px อักขรธัมม์ล้านนา รฤ ตัวเมือง; ᦒᧄ, ธรรม, "คัมภีร์") หรือ อักษรยวน ภาษาไทยกลางในอดีตเรียกว่า ไทยเฉียง เป็นอักษรที่ใช้ในสามภาษา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นเหนือ, ภาษาไทลื้อและภาษาเขิน นอกเหนือจากนี้ อักษรล้านนายังใช้กับลาวธรรม (หรือลาวเก่า) และภาษาถิ่นอื่นในคัมภีร์ใบลานพุทธและสมุดบันทึก อักษรนี้ยังเรียก อักษรธรรมหรืออักษรยวน ภาษาไทยถิ่นเหนือเป็นภาษาใกล้ชิดกับภาษาไทยและเป็นสมาชิกของตระกูลภาษาเชียงแสน มีผู้พูดเกือบ 6,000,000 คนในภาคเหนือของประเทศไทย และหลายพันคนในประเทศลาว ซึ่งมีจำนวนน้อยที่รู้อักษรล้านนา อักษรนี้ยังใช้อยู่ในพระสงฆ์อายุมาก ภาษาไทยถิ่นเหนือมีหกวรรณยุกต์ ขณะที่ภาษาไทยมีห้าวรรณยุกต์ ทำให้การถอดเสียงเป็นอักษรไทยมีปัญหา มีความสนใจในอักษรล้านนาขึ้นมาอีกบ้างในหมู่คนหนุ่มสาว แต่ความยุ่งยากเพิ่มขึ้น คือ แบบภาษาพูดสมัยใหม่ ที่เรียก คำเมือง ออกเสียงต่างจากแบบเก.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและอักษรธรรมล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพนมดงรัก

นมดงรัก เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุรินทร.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและอำเภอพนมดงรัก · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอศีขรภูมิ

ีขรภูมิ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุรินทร.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและอำเภอศีขรภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุรินทร์

รินทร์ (เขมรถิ่นไทย: ซเร็น) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรือ "อีสานใต้" มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงช้าง การทอผ้าไหม ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์และภาษา เช่น เขมร กูยและลาวหรือไทยอีสาน มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 24.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและจังหวัดสุรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขาพนมดงรัก

ทิวเขาพนมดงรัก (เขมร: ជួរភ្នំដងរែក, Chuor Phnom Dângrêk; ทิวเขาพนมดงรัก,, ลาว: Sayphou Damlek) มีความหมายว่า "ภูเขาไม้คาน" ในภาษาเขมร เป็นภูเขาที่ทอดตัวในแนวตะวันออก-ตะวันออก เป็นพรมแดนกั้นระหว่าง ประเทศไทย และประเทศกัมพู.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและทิวเขาพนมดงรัก · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันออก

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศตะวันออก (E) อยู่ทางขวา ทิศตะวันออก หรือ ทิศบูรพา เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันตก ขวามือของทิศเหนือ และซ้ายมือของทิศใต้ โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันออกอยู่ด้านขวามือของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางซ้ายมือของแผนที่ดาว ทิศตะวันออกเป็นทิศที่โลกหมุนไป ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกพอดีในวันวิษุวัต.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและทิศตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันออกเฉียงใต้

ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ทิศอาคเนย์, อาคเณย์ เป็นหนึ่งในทิศรองทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันตกเฉียงใต้ ขวามือของทิศใต้ และซ้ายมือของทิศตะวันออก โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันออกเฉียงใต้อยู่ด้านมุมขวาของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางมุมซ้ายของแผนที่ดาว.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและทิศตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หรือ ทิศพายัพ เป็นหนึ่งในทิศรองทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขวามือของทิศเหนือ และซ้ายมือของทิศตะวันตก โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ด้านมุมบนซ้ายของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางมุมบนขวาของแผนที่ดาว.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทิศใต้

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศใต้ (S) อยู่ด้านล่าง ทิศใต้ หรือ ทิศทักษิณ เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศเหนือ ขวามือของทิศตะวันออก และซ้ายมือของทิศตะวันตก โดยมากทิศใต้จะกำหนดให้อยู่ด้านล่างของแผนที่ อาจเขียนย่อด้วยอักษร ต หรืออักษร S ทิศใต้จริงเป็นทิศทางที่แกนหมุนของโลกชี้ไป ตรงกับขั้วโลกใต้ซึ่งอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ หมวดหมู่:การกำหนดทิศทาง.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและทิศใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทบายน

หอสูง รูปหน้าบริเวณศูนย์กลางของปราสาทหินบายน หอใจกลางปราสาทบายนที่มีจำนวนหน้ามากกว่าบริเวณอื่น รูปสลักนูนต่ำหินทราย นางอัปสรร่ายรำ ปราสาทบายน (ប្រាសាទបាយ័ន) เป็นปราสาทหินของอาณาจักรเขมร อยู่ในบริเวณของใจกลางนครธม สร้างขึ้นเป็นวัดประจำสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก่อสร้างในราวปี พ.ศ. 1724-พ.ศ. 1763 หลังจากที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7ทรงได้ชัยชนะจากการขับไล่กองทัพอาณาจักรจามปา นับเป็นศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความซับซ้อนทั้งในแง่โครงสร้างและความหมาย เนื่องจากผ่านความเปลี่ยนแปลงด้านศาสนาและความเชื่อมาตั้งแต่คราวนับถือเทพเจ้าฮินดู และพุทธศาสนา อาคารมีลักษณะพิเศษ เนื่องจากส่วนของหอเป็นรูปหน้าหันสี่ทิศ จำนวน 49 หอ ปัจจุบันคงเหลือเพียง 37 หอ ลักษณะโดยทั่วไปจะมี 4 หน้า 4 ทิศ แต่บางหออาจมี 3 หรือ 2 แต่บริเวณศูนย์กลางของกลุ่มอาคาร จะมีหลายหน้า ซึ่งนักท่องเที่ยวมักจะพยายามนับว่ามีกี่หน้า ลักษณทางสถาปัตยกรรมของบายนก็เช่นเดียวกับเรื่องความเชื่อ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงมาในหลาย ๆ สมัย กษัตริย์ในยุคหลัง ๆ พบว่าเป็นการง่ายกว่าที่จะปรับปรุงวัดแห่งนี้ แทนที่จะรื้อสร้างใหม่เช่นที่ทำกัน และใช้เป็นวัดประจำสมัยต่อเนื่องกันม.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและปราสาทบายน · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทศีขรภูมิ

ปราสาทศีขรภูมิ หรือ ปราสาทระแงง ตั้งอยู่ข้างวัดบ้านปราสาท บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทหลังนี้เป็นปราสาทที่งดงามที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระธิดาทั้ง 3 (มี หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล เป็นต้น) ได้เดินทางมาเยือนเมื่อ มกราคม - กุมภาพันธ์ 2472 (นับอย่างใหม่ต้องปี พ.ศ. 2473) และได้ถูกรวมเข้ากันกับอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูม.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและปราสาทศีขรภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทตาควาย

ปราสาทตาควาย หรือปราสาทตาวาย หรือในภาษาเขมรเรียกว่า ปราสาทกรอเบย (ប្រាសាទ​តា​ក្របី​ บฺราสาท​ตา​กฺรบี​) ตั้งอยู่บริเวณช่องตาควาย ในเขตบ้านไทยนิยมพัฒนา หมู่ 17 ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทหินศิลาแลง ตั้งทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทตาเมือนธม ห่างไปประมาณ 12 กิโลเมตร ปราสาทตาควายตั้งอยู่บนสันเขาห่างจากหน้าผาสูงประมาณ 10 เมตร ของเทือกเขาพนมดงรัก เป็นปราสาทจตุรมุข ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ผังของปราสาทเป็นรูปกากบาท ส่วนฐานต่ำ ส่วนล่างสุดก่อด้วยศิลาแลง ส่วนบนก่อด้วยศิลาทรายทั้งหมด หลังคาห้องครรภคฤหะ ก่อเป็นทรงพุ่มยอดปรางค์ ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 5 ชั้น ส่วนหลังคามุขก่อเป็นรูปประทุน จรดหน้าบันทั้ง 4 ด้าน ภายในห้องมีประติมากรรม ลักษณะคล้ายสวายยัมภูวลึงค์ 1 ชิ้น นักประวัติศาสตร์คาดการณ์จากรูปทรงของตัวปราสาท ว่าปราสาทนี้น่าจะสร้างในช่วงปลายสมัยนครวัด ต่อตอนต้นสมัยบายน ระหว่างรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปราสาทตาวายตั้งอยู่บนพื้นที่ค่อนข้างห่างไกล ต้องเดินเท้าเป็นระยะ 3-4 กิโลเมตร.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและปราสาทตาควาย · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทตาเมือน

ปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือน (Prasat Ta Muen, Prasat Ta Moen) หรือ ปราสาทบายกรีม ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลบ้านตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดเล็กที่สุดในอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือน อย่ห่างจากปราสาทตาเมือนโต๊ด ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 390 เมตร เป็นปราสาทที่เล็กที่สุด ก่อด้วยศิลาแลง มีลักษณะเป็นห้องยาว เชื่อว่าเป็นธรรมศาลา หรือที่พักสำหรับคนเดินทาง.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและปราสาทตาเมือน · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทตาเมือนธม

ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนธม (ប្រាសាទតាមាន់ធំ. ตาม็วนธม - ตาไก่ใหญ่) ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลังเรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือนธม เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม (ธม เป็นภาษาเขมร แปลว่า ใหญ่) ตัวปราสาทอยู่บนเนินเขาสร้างคร่อมโขดหินธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์ในรูปของสยัมภูศิวลึงค์ และเป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรม ตัวปราสาทตาเมือนธม หันหน้าไปทางทิศใต้ ผิดแผกจากแห่งอื่นซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก รับกับเส้นทางที่มาจากเขมรต่ำผ่านมาทางช่องทางตาเมือนนี้ ปราสาทตาเมือนธมประกอบด้วยปราสาทประธาน มีอาคารอื่น คือปรางค์ก่อด้วยหินทรายสองหลัง อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือของปราสาทประธาน มีบรรณาลัยศิลาแลงสองหลัง และนอกระเบียงคดทางทิศเหนือ มีสระน้ำขนาดเล็กสองสระ ปราสาทแห่งนี้อยู่ใกล้เขตชายแดนเขมรมากที่สุด การเที่ยวชมจึงควรอยู่เฉพาะภายในเขตปราสาทเท่านั้น ไม่ควรเดินออกไปไกลจากแนวต้นไม้รอบปราสาทเพราะพื้นที่นี้ยังไม่ปลอดภัยนัก.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและปราสาทตาเมือนธม · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทตาเมือนโต๊ด

ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาเมือนโต๊ด (​ប្រាសាទតាមាន់តូច. ตาม็วนโตจ - ตาไก่เล็ก) ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทหลังหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือนโต๊ดอยู่ห่างจากปราสาทตาเมือนธมไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 750 เมตร และอยู่ห่างจากปราสาทตาเมือนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 390 เมตร ก่อด้วยศิลาแลง มีกำแพงล้อมรอบและมีสระน้ำขนาดเล็กอยู่ทางทิศเหนือหนึ่งสระ เชื่อกันว่าปราสาทแห่งนี้เป็นอโรคยศาลหรือสถานรักษาพยาบาลของชุมชนหรือตามรายทางที่เป็นเส้นทางคมนาคม ซึ่งนิยมสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและปราสาทตาเมือนโต๊ด · ดูเพิ่มเติม »

ปรางค์

นครวัด กัมพูชา ปรางค์ หรือ พระปรางค์ เป็นสิ่งก่อสร้างประเภทหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมไทย เป็นหลักประธานในวัดเช่นเดียวกับพระเจดีย์ แต่เดิมถือว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบลักษณะเฉพาะของขอม โดยมีคติความเชื่อในศาสนาฮินดู ว่าเป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมร.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและปรางค์ · ดูเพิ่มเติม »

นครวัด

นครวัด (អង្គរវត្ត) เป็นหมู่ปราสาทในประเทศกัมพูชาและเป็นศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่รวมกว่า 162.6 เฮกเตอร์ (1.6 ล้านตารางเมตร ซึ่งเท่ากับ 402 เอเคอร์) แรกเริ่มนั้นสร้างขึ้นเป็นเทวลัยในศาสนาฮินดูเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุ ก่อนจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงกลายเป็นวัดในศาสนาพุทธในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 นครวัดสร้างขึ้นในช่วงต้นของคริสศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2 แห่งเมืองยโสธรปุระ (ในปัจจุบันคือเมืองพระนคร) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิเขมร สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเทวลัยประจำรัฐและเป็นสุสานฝังพระศพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการนับถือในลัทธิไศวนิกายของกษัตริย์องค์ก่อนๆ เหตุเพราะนครวัดนั้นสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุแทนที่จะเป็นพระศิวะ และเนื่องจากเป็นปราสาทที่ได้รับการอนุรักษ์ดีที่สุดในบริเวณที่ตั้งโดยรอบ นครวัดจึงเป็นปราสาทเพียงแห่งเดียวที่ยังคงความเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่มีความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง โดยนครวัดถือจุดสูงสุดของรูปแบบการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรแบบดั้งเดิม และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา มีการปรากฏอยู่บนธงชาติ และได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชาที่มีความสำคัญที่สุดในหมู่นักท่องเที่ยว นครวัดได้รวมเอาการวางผังพื้นฐานในสถาปัตยกรรมเขมรสองแบบมาใช้ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งก็ได้แก่ ผังการสร้างปราสาทให้เสมือนภูเขา (ปราสาทบนฐานชั้น) และการสร้างปราสาทแบบมีระเบียงคดที่มีภาพสลัก การสร้างปราสาทรูปแบบนี้ได้สื่อถึงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นสถานที่ที่สถิตของเทพเทวัญในปกรณัมของศาสนาฮินดู ด้านนอกมีคูน้ำและกำแพงล้อม ความยาวรวมกว่า 3.6 กิโลเมตร โดยตัวปราสาทประกอบด้วยระเบียงคดสี่เหลี่ยมที่มีภาพสลักทั้งหมดสามชั้น แต่ละชั้นตั้งอยู่สูงกว่าชั้นล่าง ตรงกลางของปราสาทคือพระปรางค์ที่มีทั้งหมด 5 ยอด นครวัดมีความแตกต่างจากปราสาทในพระนครปราสาทอื่นๆ เนื่องจากมีการหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งนักวิชาการต่างก็มีความเห็นที่แตกต่างออกไปในเรื่องนัยยะของการสร้างในลักษณะนี้ นครวัดยังได้รับการยกย่องในด้านความงามและความกลมกลืนของตัวสถาปัตยกรรม อาทิ ภาพสลักนูนต่ำที่ใหญ่โต รวมถึงภาพเทวดาที่มีการตกแต่งตามผนังเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิและนครวัด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือนอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทหินบ้านพลวง ศรีขรภูมิ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »