โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กฤษดา สุโกศล แคลปป์

ดัชนี กฤษดา สุโกศล แคลปป์

กฤษดา สุโกศล แคลปป์ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ น้อย วงพรู (ชื่อเล่น: น้อย) เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2513 เป็นนักร้องนำวงพรู นักแสดงชาวไทย นอกเหนือจากผลงานการแสดงเขายังเป็นผู้บริหารกิจการโรงแรม เดอะ สยามร่วมกับครอบครัว กมลา สุโกศล หลังห่างหายไปถึงสิบสองปี น้อยก็กลับมาในฐานะศิลปินเดี่ยว โดยได้ศิลปินมาช่วยแต่งเพลงอย่าง บอย โกสิยพงษ์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข และ ตรัย ภูมิรัตน.

28 ความสัมพันธ์: บอย โกสิยพงษ์พ.ศ. 2513พรูกมล สุโกศล แคลปป์กมลา สุโกศลภาพยนตร์ไทยมานุษยวิทยารางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมรางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิงรางวัลสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติละครเวทีหลวงพี่เท่ง 3หัวใจทรนงอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุขอันธพาลทวารยังหวานอยู่ขุนพันธ์ณ ขณะรักความสุขของกะทิ (ภาพยนตร์)คนกราบหมาตรัย ภูมิรัตนประเทศไทยนักร้องนักแสดงนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)Mary is happy, Mary is happy13 เกมสยอง26 ธันวาคม

บอย โกสิยพงษ์

อย โกสิยพงษ์ (5 กันยายน พ.ศ. 2510 —) ชื่อจริง ชีวิน โกสิยพงษ์ เป็นนักแต่งเพลง นักร้อง และโปรดิวเซอร์ผลิตเพลงแนว R&B อดีตผู้บริหารค่ายเพลง เบเกอรี่มิวสิค ปัจจุบันเป็นผู้บริหารค่ายเพลงเลิฟอีส ในต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2558.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และบอย โกสิยพงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2513

ทธศักราช 2513 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1970 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และพ.ศ. 2513 · ดูเพิ่มเติม »

พรู

รู วงดนตรีสังกัดเบเกอรี่มิวสิก เกิดจากการรวมตัวของของน้อย สุกี้ และคณิน ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมเล่นดนตรีกันตั้งแต่เด็ก ๆ โดยเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวงพรูคือความอิสระทางความคิด ที่สมาชิกแต่ละคนจะมีวิธีในการสื่อสารความคิดของตัวเองสู่สาธารณะอย่างอิสรเสรี เอกลักษณ์ที่สำคัญของพรูอีกประการหนึ่งคือ ลีลาการแสดงสดของวงพรูบนเวทีเป็นที่กล่าวขวัญมาก โดยเฉพาะกับนักร้องนำอย่างกฤษฎา ที่มักจะประยุกต์การเต้นประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแจ๊สหรือบัลเลต์เข้ามาใส่ไว้ในบทเพลง ทำให้การแสดงโชว์ของพรูในแต่ละครั้งมีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และพรู · ดูเพิ่มเติม »

กมล สุโกศล แคลปป์

กมล สุโกศล แคลปป์ (สุกี้) เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 เป็นนักดนตรีชาวไทย นักกีตาร์วงพรู และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเบเกอรี่มิวสิก และเลิฟอี.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และกมล สุโกศล แคลปป์ · ดูเพิ่มเติม »

กมลา สุโกศล

กมลา สุโกศล (ซ้าย) กับ มาริสา สุโกศล หนุนภักดี ในคอนเสิร์ต B.Day Bakery Music Independent Day ที่จังหวัดเชียงใหม่ กมลา สุโกศล (พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 -) นักธุรกิจ ประธานกรรรมการบริหารกลุ่ม โรงแรมเดอะสุโกศล และเป็นนักร้องดนตรีแจ๊ส รู้จักการทั่วไปจากการร้องเพลง Live And Learn กมลา สุโกศล เป็นบุตรสาวของกมล สุโกศล ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท กมลสุโกศล นักธุรกิจผู้ก่อตั้งกลุ่มธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ ประกันภัย "กมล สุโกศล" สมรสกับ Terrence H. Clapp ชาวอเมริกัน ปัจจุบันแยกทางกันแล้ว มีบุตร-ธิดา 4 คน คือ.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และกมลา สุโกศล · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์ไทย

นตร์ไทย มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกถ่ายทำในเมืองไทย คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ ผู้สร้าง คือ บริษัทภาพยนตร์ ยูนิเวอร์ซัล ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย"" เว็บไซต์ rimpingfunds.com พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น เป็นภาพยนตร์ขนาด 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ ไม่มีเสียง ได้รับการยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย ในช่วงหลัง พ.ศ. 2490 ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟูของภาพยนตร์ไทย สตูดิโอถ่ายทำและภาพยนตร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นประเทศไทยเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นช่วงซบเซาของภาพยนตร์ไทย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง กิจการภาพยนตร์ในประเทศไทยค่อย ๆ ฟื้นคืนกลับมา ได้เปลี่ยนไปสร้างเป็นภาพยนตร์ขนาด 16 มิลลิเมตรแทน และเมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขัน ภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม ในช่วงเวลาระหว่างปี..

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และภาพยนตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

มานุษยวิทยา

มานุษยวิทยา (anthropology) คือ วิชาที่เกี่ยวกับมนุษย์ มานุษยวิทยา เกิดจาก วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และมานุษยวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง

รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง (Bangkok Critics Assembly) เป็นรางวัลที่มอบให้แก่บุคคลในวงการผลิตภาพยนตร์ของไทย ที่มีผลงานดีเด่นที่สุดในสาขาต่างๆ ในแต่ละปี โดยได้จัดให้มีพิธีมอบรางวัลนี้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2534 โดยชมรมวิจารณ์บันเทิง ซึ่งประกอบด้วยนักวิจารณ์ภาพยนตร์จากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ มีประธานชมรมคือ นายนคร วีระประวัติ การประกาศผลรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ออกแบบเป็นรูปปิรามิดบนฐานกลมและสี่เหลี่ยม มีความหมายว่าเป็น ปลายปากก.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และรางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ

รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ หรือ รางวัลสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ เป็นรางวัลที่มอบให้แก่บุคคลในวงการผลิตภาพยนตร์ไทย ที่มีผลงานดีเด่นที่สุดในสาขาต่างๆ ในแต่ละปี โดยได้จัดให้มีพิธีมอบรางวัลนี้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2522 จัดโดยสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย ด้วยความร่วมมือกับอีก 5 องค์กร คือ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย สมาคมนักประชาสัมพันธ์ ชมรมวิทยุ ชมรมนักแสดงประกอบ พิธีประกาศผลรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำครั้งที่ 1 ประจำปี 2521 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร โดยนายประกอบ หุตะสิงห์ องคมนตรีผู้แทนพระองค์เป็นประธานมอบรางวัล โดยรางวัลที่มอบเป็นรูปหัวเรือสุพรรณหงส์ สมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย จัดงานนี้จนถึงครั้งที่ 7 ประจำปี 2530 เมื่อปี พ.ศ. 2531 จึงได้เปลี่ยนองค์กรผู้จัดงานเป็น สมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ จัดงานเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2535 ประจำปี 2534 ใช้ชื่อว่า รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ หรือ รางวัลสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ (เรียกตามชื่อองค์กรที่จัดงาน) และได้ออกแบบรางวัลที่มอบใหม.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และรางวัลสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ละครเวที

ภาพวาด การแสดงละครเวทีเรื่อง Romeo and Juliet ละครเวทีละครเพลงซึ่งเน้นการร้องมากกว่า คาดกันว่าละครเวทีมีมาตั้งแต่สมัยกรีก อริสโตเติลบันทึกไว้ว่าละครของกรีก เริ่มต้น จุดเด่นของละครเวทีคือ การสื่อสารระหว่างผู้ชมกับนักแสดง การสื่อสารระหว่างผู้ชมและนักแสดงเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน วอลเตอร์ เคอร์ นักวิจารณ์ชาวอเมริกันพูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "ความสัมพันธ์ระหว่างคนดูกับนักแสดงเช่นนี้ไม่มีในภาพยนตร์ เพราะภาพยนตร์เป็นสิ่งที่สร้างมาสำเร็จรูปแล้ว มันไม่สามารถตอบสนองเราได้ เพราะนักแสดงในภาพยนตร์ไม่สามารถได้ยินเรา รู้สึกถึงตัวตนของเราและไม่ว่าเราจะมีปฏิกิริยาอย่างไรก็ไม่มีผลใดๆ" องค์ประกอบของละครเวที คือ การแสดงสดบนเวที ที่มีฉาก แสง เสียง ประกอบ และบทละคร คือ ส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำละครทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งละครเวที เพราะมันคือ ตัวกำหนดองค์ประกอบอื่นๆ ทุกอย่างในละคร ไม่ว่าจะเป็น โครงของเรื่อง) ของนักแสดงด้วย หมวดหมู่:ศิลปะการแสดง.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และละครเวที · ดูเพิ่มเติม »

หลวงพี่เท่ง 3

หลวงพี่เท่ง 3 รุ่นฮาเขย่าโลก (อังกฤษ: Holy Man 3) เป็นภาพยนตร์ภาค 3 ของชุด "หลวงพี่เท่ง" ออกฉายเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553 กำกับโดย บำเรอ ผ่องอินทรกุล (โน้ต เชิญยิ้ม) โดยผู้แสดงเป็นหลวงพี่ในภาคนี้ คือ กฤษดา สุโกศล แคลปป์ หรือ น้อย วงพรู นักเรียนนอกและนักร้องชื่อดังที่หันหน้าเข้าสู่ร่มเงาแห่งพุทธศาสนาเพื่อกล่อมเกลาจิตใจที่ว้าวุ่น และหลีกหนีจากปัญหา โดยมีนิสัยเป็นคนขวางโลกนิดๆ แต่ก็มีความเข้าใจในหลักสัจธรรมหลายอย่าง ภาพยนตร์ทำรายได้รวม 38 ล้านบาท.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และหลวงพี่เท่ง 3 · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจทรนง

หัวใจทรนง หรือ The Adventure of Iron Pussy เป็นภาพยนตร์ตลก-แอ็คชั่น ที่กำกับและเขียนบทโดยอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล และไมเคิล เชาวนาศัย เป็นภาพยนตร์ย้อนยุคที่ต้องการบรรยากาศของภาพยนตร์แอ็คชั่น ในยุคทศวรรษ 1970 ที่ตัวเอกเป็นสายลับหญิง โดยมีเพชรา เชาวราษฎร์เป็นต้นแบบ ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างด้วยงบประมาณจำกัด จึงถ่ายทำด้วยกล้องดิจิตัลวิดีโอ Hi8 เพื่อให้ได้ภาพแตกเป็นเกรนเมื่อฉายบนจอภาพยนตร์ เหมือนถ่ายทำด้วยกล้องฟิล์ม 16 ม.ม. แบบในสมัยก่อน และใช้เสียงพากย์ของนักพากย์อาชีพ คือ รอง เค้ามูลคดี เบญญาภา เลิศสุริยา และทีมพากษ์ ให้กลิ่นอายของละครวิทยุ ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 และได้ฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติรอตเตอร์ดัม และในเทศกาลภาพยนตร์เฉพาะกลุ่มเกย์และเลสเบียน จำนวนหนึ่ง.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และหัวใจทรนง · ดูเพิ่มเติม »

อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข

อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข (ชื่อเล่นว่า แสตมป์ (Stamp) แสตมป์ อภิวัชร์ เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 เป็นนักร้อง นักดนตรี และนักแต่งเพลง แสตมป์ เป็นชาวกรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาให้ความสนใจด้านดนตรีตั้งแต่วัยเยาว์ โดยเล่นคีย์บอร์ดและกีตาร์ ในระหว่างการเรียนในมหาวิทยาลัย เขาได้มีโอกาสประพันธ์เพลงประกอบละคอนถาปัดเรื่องเดชไอด้วนร่วมกับเพื่อนตั้งเป็นวงดนตรี ซึ่งเป็นละคอนปีที่มีเพลงประกอบเพราะๆมากมาย และส่งไปทางสถานีวิทยุคลื่น 104.5 (แฟตเรดิโอ) เขาจึงพลิกผันเข้าสู่วงการดนตรีนับแต่นั้น และได้ร่วมวงกล้วยไทยวงแนวนูเมทัลในตำแหน่งมือกีต้าร์ และต่อมาได้ย้ายไปอยู่วงเซเว่นธ์ซีนในฐานะนักร้องนำสังกัดค่ายเลิฟอีส และออกอัลบั้มแรกในชื่อเดียวกับวง ในปี พ.ศ. 2548 นอกจากงานด้านการร้องเพลงและเล่นดนตรีแล้ว อภิวัชร์ยังมีความสามารถในด้านการแต่งเพลงโดยแต่งเพลงให้กับนักร้องและโฆษณาหลายรายการ และมีผลงานอัลบั้มเดี่ยวอัลบั้มแรกคือ มิลเลียนเวส์ทูไรท์พาร์ต 1 ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2551 และได้จัดคอนเสิร์ต แสตมป์เกรียนเดย์ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 อีกด้ว.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข · ดูเพิ่มเติม »

อันธพาล

อันธพาล (Gangster) ภาพยนตร์ไทยแนวอาชญากรรม ออกฉายในปี พ.ศ. 2555 กำกับโดย ก้องเกียรติ โขมศิร.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และอันธพาล · ดูเพิ่มเติม »

ทวารยังหวานอยู่

ทวารยังหวานอยู่ ออกฉายเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2547 กำกับโดย พรชัย หงษ์รัตนาภรณ์ อยู่ในค่ายของ อาร์ เอส.ฟิล์ม และ บริษัท ถ่ายสะดวก จำกัด นำแสดงโดย กฤษดา สุโกศล แคลปป์ หรือ น้อย วงพรู รับบท เบ๊, นันทกา วรวณิชชานันท์ รับบท ต้น, นิพนธ์ ชัยศิริกุล รับบท ไอ้หูดำ, นพดล ทวีทำนุสิน รับบท เหมียว และ ภคภัทร บุญสมธรรม รับบท อู๋.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และทวารยังหวานอยู่ · ดูเพิ่มเติม »

ขุนพันธ์

นพันธ์ เป็นภาพยนตร์ไทยที่เข้าฉายในปี..

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และขุนพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ณ ขณะรัก

ณ ขณะรัก หรือชื่ออื่นว่า อะโมเมนต์อินจูน (A Moment in June) เป็นภาพยนตร์ไทย ออกฉายในประเทศไทยเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ผลงานกำกับของ ณัฐพล วงศ์ตรีเนตรกุล นำแสดงโดย ชาคริต แย้มนาม, กฤษดา สุโกศล แคลปป์, เดือนเต็ม สาลิตุล, สินิทธา บุญยศักดิ์, นภัสกร มิตรเอม, สุเชาว์ พงษ์วิไล, มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ และ ฮิโระ ซะโนะ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับเกียรติให้ฉายเปิดเทศกาลและฉายอย่างเป็นทางการครั้งแรกของโลกที่ “เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 13” ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อเดือนตุลาคม 2551 เนื้อหาของเรื่องเป็นเรื่องราวความรักและความสัมพันธ์ที่เคยพลาดของคน 6 คนที่ผ่านบทเพลงที่ทำให้พวกเขามาพบกัน โดยเป็นเหตุการณ์ 2 ห้วงเวลาในปี 2515 และ 2542 มีเพลงประกอบภาพยนตร์คือ เพลง "ความคิด" เนื้อร้อง-ทำนอง-ขับร้อง อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข ภาพยนตร์ทำรายได้ 5.62 ล้านบาท.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และณ ขณะรัก · ดูเพิ่มเติม »

ความสุขของกะทิ (ภาพยนตร์)

วามสุขของกะทิ เป็นภาพยนตร์ไทย ออกฉายวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552 ที่สร้างจากนวนิยายของ งามพรรณ เวชชาชีวะ เรื่อง ความสุขของกะทิ วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือรางวัลซีไรต์ ปี 2549 กำกับภาพยนตร์โดย เจนไวย์ ทองดีนอก และมี คุณจาตุศม เตชะรัตนประเสริฐ และ คุณสุฐิตา เรืองรองหิรัญญา รับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ ส่วนนักแสดงที่รับบทเป็น หนูกะทิ ตัวเอกของเรื่องคือ น้องพลอย-ธนิดา คงมีสุข ที่ผ่านการคัดเลือกนักแสดงจากทั้งทีมงานผู้กำกับ “เจนไวย์ ทองดีนอก” และเจ้าของบทประพันธ์ กฤษดา จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด พูดถึงภาพยนตร์ว่า "หนังนำเสนอให้เห็นความผูกพันและความรักของครอบครัว ในขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมไทย ทั้งเก่าและใหม่ผ่านทางเรื่องเล่าที่ราบรื่น กลมกลืน ซึ่งหาดูได้ยากในภาพยนตร์ไทย จึงเป็นของแปลกใหม่" ทั้ง "การนำเสนอนั้น ทั้งการถ่ายภาพ (และจัดแสง) การตัดต่อ และงานออกแบบ อยู่ในขั้นดีถึงดีมากทั้งหมด" ความสุขของกะทิ ออกฉายด้วยจำนวนโรงฉาย 69 โรง ในสัปดาห์แรกด้วยรายได้ 5.8 ล้านบาท ภาพยนตร์ทำรายได้รวม 10.95 ล้านบาท.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และความสุขของกะทิ (ภาพยนตร์) · ดูเพิ่มเติม »

คนกราบหมา

นกราบหมา (My Teacher Eats Biscuits) เป็นภาพยนตร์ตลกร้ายแนวทดลอง ที่เขียนบทและกำกับโดย อิ๋ง เค นำแสดงโดยกฤษดา สุโกศล และธาริณี เกรแฮม และถูกห้ามฉายในประเทศไทย คนกราบหมา เป็นภาพยนตร์ความยาว 2 ชั่วโมง ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 ม.ม. โดยใช้ทุนส่วนตัว เป็นหนังตลกร้ายว่าด้วยลัทธิประหลาดที่ผู้คนพากันกราบไหว้หมา ภาพยนตร์มีกำหนดฉายครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพ ครั้งที่ 1 (Bangkok Film Festival) ปี..

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และคนกราบหมา · ดูเพิ่มเติม »

ตรัย ภูมิรัตน

ตรัย ภูมิรัตน (ชื่อเล่น: บอย) เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง มีผลงานอัลบั้มแรก Friday I'm in love กับวงฟรายเดย์ สังกัดมิวสิกบักส์ ต่อมาได้ตั้งบริษัท Playground มีผลงานในชื่อวง 2 Days ago kids กับอัลบั้ม Time machine ต่อด้วย อัลบั้ม Magic Moment ในนามวงฟรายเดย์ โดยที่เพลงดังอย่าง กลับมา, นิดหนึ่งพอ, เปลี่ยนไปทุกอย่าง, ชั่วโมงต้องมนต์ และเป็นที่รู้จักกันในนาม บอย Friday และได้ร่วมงานกับ เบเกอรี่ มิวสิก โดยทำงานประพันธ์เพลงในนาม Zentrady อาทิเช่นเพลง เผลอ, ความลับ, รักที่เพิ่งผ่านพ้นไป ฯลฯ และต่อมาได้ออกผลงานเดี่ยว ในสังกัด เบเกอรี่มิวสิก โดยใช้ชื่ออัลบั้ม My Diary Original Soundtrack และอัลบั้มบุคคลที่ 3 และแต่งเพลง รักเธอไปก่อน ของ เครสเชนโด้ ในปี..

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และตรัย ภูมิรัตน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นักร้อง

นักร้อง (Singer)อาชีพของคนขายเสียง อาชีพให้บริการความสุขด้วยเสียงเพลงเช่น อคูสติก ป๊อป ร็อค แจ๊ส เบส เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันแนวเพลงต่าง ๆ มีมากขึ้น ตอบสนองความต้องการของผู้ฟังแต่ละกลุ่ม อาชีพนักร้องจึงเป็นอาชีพในฝันของคนยุคใหม่ เนื่องจากอาชีพนักร้องเป็นอาชีพที่สามารถสร้างได้อย่างมหาศาล เป็นผู้มีชื่อเสียงในสังคม และมีผู้คนชื่นชมมาก ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพนักร้อง 1.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และนักร้อง · ดูเพิ่มเติม »

นักแสดง

กเบื้องหลังการถ่ายทำละคร นักแสดงกำลังซ้อมการแสดง นักแสดง คือ บุคคลที่ประกอบอาชีพเป็นผู้แสดง เช่น ศิลปิน, นักรำ, นักเต้น, นักดนตรี ซึ่งแสดง ท่าทาง ร้องกล่าว พากย์ แสดงตามบทเพื่อเผยแพร่ต่อผู้ชม และอื่นอื่น ซึ่งเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ตามหลักทั่วไป กล่าวคือ เป็นผู้ที่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์งานขึ้นมา นักแสดงนั้น ไม่จำกัดว่าจะเป็นบุคคลเพศ, อาชีพ, หรือ อายุเท่าไร แต่จำเป็นต้องมีความสามารถทางด้านการการแสดงออกทางสีหน้า อารมณ์และองค์ประกอบอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยมาก คำว่า นักแสดง มักจะใช้เรียกว่า ดารา เสมอไป.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และนักแสดง · ดูเพิ่มเติม »

นิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)

นิวยอร์ก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

Mary is happy, Mary is happy

Mary is happy, Mary is happy เป็นภาพยนตร์ไทย เขียนบทและกำกับโดยนวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ โดยนำเรื่องราวจากทวิตเตอร์ของผู้ใช้ @marylony จำนวน 410 ทวีต มาสร้างเป็นภาพยนตร์ นำแสดงโดย พัชชา พูนพิริยะ และชนนิกานต์ เนตรจุ้ย เข้าฉายเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2556 เฉพาะโรงภาพยนตร์เฮาส์ ลิโด เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ รัชดาภิเษก เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต และ อีจีวี เทสโก้ โลตัส เอกซ์ตรา ขอนแก่น ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 23 จำนวน 10 สาขา และได้รับรางวัล 4 สาขา ได้แก่ นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ลำดับภาพยอดเยี่ยม และถ่ายภาพยอดเยี่ยม.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และMary is happy, Mary is happy · ดูเพิ่มเติม »

13 เกมสยอง

13 เกมสยอง (ชื่ออังกฤษ: 13 Beloved) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวระทึกขวัญ ที่ออกฉายเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2549 กำกับโดย ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล นำแสดงโดย กฤษดา สุโกศล, อชิตะ สิกขมานา, ศรัณยู วงษ์กระจ่าง และ อเล็กซานเดอร์ ไซมอน เรนเดลล์ 13 เกมสยอง เป็นภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากเรื่อง "13th Quiz Show" ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือการ์ตูน "รวมเรื่องสั้นจิตหลุด" (My Mania) ของ เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ นักเขียนการ์ตูนชาวไทย สำหรับรางวัลที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคือ รางวัลสาขาผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม โดย กฤษดา สุโกศล จากรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2549 มีการสร้างภาพยนตร์ภาคก่อนหน้าของ 13 เกมสยอง เป็นหนังสั้น ชื่อเรื่อง 11 (หรือ Earthcore), 12 Begin และภาคต่อ ชื่อเรื่อง 14 Beyond ภาพยนตร์ได้รับการซื้อลิขสิทธิ์ไปสร้างภาพยนตร์ฮอลลีวูด ชื่อเรื่อง 13 Sins กำกับโดย แดเนียล สแตมม์ ผู้กำกับชาวเยอรมัน.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และ13 เกมสยอง · ดูเพิ่มเติม »

26 ธันวาคม

วันที่ 26 ธันวาคม เป็นวันที่ 360 ของปี (วันที่ 361 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 5 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: กฤษดา สุโกศล แคลปป์และ26 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Krissada Terrenceกฤษฎา สุโกศล แคลปป์กฤษดา สุโกศลน้อย วงพรู

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »