โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรณะ (ท่ารำ)

ดัชนี กรณะ (ท่ารำ)

ประติมากรรมสัมฤทธิ์รูปพระศิวะทรงร่ายรำกรณะ ๑๐๘ ท่า กรณะ (สันสกฤต: करण) คือท่ารำฟ้อนรำของชาวอินเดียซึ่งมีทั้งหมด ๑๐๘ ท่า ซึ่งผู้บันทึกคือ ภรตมุนี โดยบันทึกเป็นคัมภีร์นาฏยศาสตร์ คำว่ากรณะ ในภาษาสันสกฤตได้ให้ความหมายไว้ว่า "การทำ".

3 ความสัมพันธ์: พระภรตมุนีภาษาสันสกฤตนาฏยศาสตร์

พระภรตมุนี

ระภรตมุนี (เทวนาครี:भरत मुनि) เป็นมหาฤๅษี (มหรรษี) ผู้แต่งตำราฟ้อนรำ มีชีวิตในช่วงศตวรรษที่ 4 - ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล เป็นครูนาฏศิลปะผู้รวบรวมท่ารำ (กรณะ) ของพระศิวะ ทั้ง ๑๐๘ ท่า พระภรตมุนีผู้รจนาคัมภีร์นาฏยศาสตร์ เป็นประโยชน์แก่การศึกษาการฟ้อนรำในอินเดียและประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นเอเชียอาคเน.

ใหม่!!: กรณะ (ท่ารำ)และพระภรตมุนี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: กรณะ (ท่ารำ)และภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

นาฏยศาสตร์

ทวรูปศิวนาฏราช ศิลปะอินเดียตอนใต้ นาฏยศาสตร์ (สันสกฤต:नाट्य शास्त्र) หรือ นาฏยเวท เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยการฟ้อนรำ คติความเชื่อของชาวอินเดียโบราณถือว่าคัมภีร์นาฏยศาสตร์หรือนาฏยเวทเป็นพระเวทที่ ๕ นอกเนื้อจากไปจากพระเวทเดิม คือ ฤคเวท สามเวท ยชุรเวทและอาถรรพณเวท นาฏยศาสตร์มีกำเนิดขึ้นเนื่องมาจากลิทธิเทวนิยม มีเรื่องราวกล่าวไว้ในคัมภีร์นี้ว่า พระพรหมได้สร้างนาฏยเวทขึ้นนำหลักจากพระเวททั้ง ๔ ที่มีมาก่อน กล่าวคือ นำคำพูดคำเจรจามาจากฤคเวท บทขับร้องมาจากสามเวท กริยาท่าทางจากยชุรเวท อารมณ์ต่างๆ จากอาถรรพณเวท ภรตมุนีได้รับนาฏยเวทจากพระพรหมแล้วนำมาสั่งสอนให้แก่มนุษยโลก.

ใหม่!!: กรณะ (ท่ารำ)และนาฏยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »