สารบัญ
8 ความสัมพันธ์: การทุจริตทางการเมืองฝูงชนวุ่นวายระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมากราชาธิปไตยอภิชนาธิปไตยทรราชคณาธิปไตยประชาธิปไตย
การทุจริตทางการเมือง
การทุจริตทางการเมือง (political corruption, ภาษาปากในภาษาไทยเรียกทับศัพท์ว่า "คอร์รัปชัน") คือการใช้ตำแหน่งหรืออำนาจทางราชการและการเมือง หรือในองค์กรของเอกชน เพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ หรือการฉ้อโกงเอาเงินสาธารณะมาเป็นของตนและพรรคพวก หรือหาประโยชน์อื่นๆ ซึ่งการทุจริตนี้อาจมิใช่เป็นตัวเงิน วิธีการที่ใช้อาจจะผิดกฎหมายหรือไม่ผิดก็ได้ แต่เป็นพฤติกรรมซึ่งสาธารณชนจะไม่พอใจหรือผิดจากจารีตประเพณีนิยม เนื่องจากเป็นการกระทำที่ขัดกับความคาดหวังของสาธารณชน เรื่องมาตรฐานจริยธรรมและพฤติกรรมที่ดีของบุคคลสาธารณะ (ข้าราชการและนักการเมืองหรือองค์กรเอกชน) คำจำกัดความส่วนหลังนี้ เขียนไว้เพื่อเปิดช่องให้มีการตีความพฤติกรรมการทุจริตที่อาจจะแตกต่างกันในแต่ละสังคม หรือแม้แต่ในสังคมเดียวกัน.
ดู กฎหมู่และการทุจริตทางการเมือง
ฝูงชนวุ่นวาย
220x220px ฝูงชนวุ่นวาย หรือ ม็อบ (mob) หมายถึง การรวมตัวกันของผู้คนอย่างไร้ระเบียบ ซึ่งในทางพฤตินัยมักเกิดขึ้นเพราะความกริ้วโกรธหรือไม่พึงพอใจ และบางครั้งก็เป็นส่วนหนึ่งของการจลาจล อันจะเรียกว่าฝูงชนวุ่นวายได้นั้น มักถือเอาจำนวนผู้รวมตัวกันว่ามากกว่าสิบคนขึ้นไป ในทางสังคมศาสตร์ คำว่า "ฝูงชุนวุ่นวาย" นั้นมีความหมายแค่เพียงตามตัวอักษรเช่นนั้นเท่านั้น แต่คนทั่วไปมักเข้าใจว่าเป็นการรวมตัวกันเพื่อประท้วง เรียกร้อง หรือกระทำการใด ๆ อันไม่ค่อยสงบเรียบร้อยนักเป็นต้น คำว่า "mob" ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากศัพท์ภาษาละตินว่า "mobile vulgus" หมายความว่า ฝูงชนวุ่นวาย หมวดหมู่:นิติศาสตร์ หมวดหมู่:รัฐศาสตร์ หมวดหมู่:สังคมศาสตร์ de:Mob (Personen) en:Crowd fr:Foule he:המון hr:Rulja ja:集団 pl:Tłum ru:Толпа sk:Dav sv:Massa (sociologi).
ระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก
ระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก ทรราชย์เสียงข้างมาก หรือ ทรราชย์โดยเสียงส่วนใหญ่ (Tyranny of the majority) เป็นคำใช้อภิปรายระบอบประชาธิปไตยและการถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ โดยบรรยายถึงกรณีที่การตัดสินใจของเสียงข้างมากยึดผลประโยชน์ของตนเหนือผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มเสียงข้างน้อยมากจนกลายเป็นการบีบบังคับ (opression) เปรียบได้กับทรราชย์หรือระบบใช้อำนาจเด็ดขาด มีการนำหลักเกินกึ่งหนึ่ง (supermajority) การจำกัดอำนาจของสภานิติบัญญัติโดยรัฐธรรมนูญ และการริเริ่มบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมืองมาใช้ตอบโต้ปัญหาที่รับรู้ดังกล่าวA Przeworski, JM Maravall, I NetLibrary (2003) p.223 การแยกใช้อำนาจถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นภายในรัฐบาลด้ว.
ดู กฎหมู่และระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก
ราชาธิปไตย
ราชาธิปไตย คือ การที่มีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ แบ่งออกตามขอบเขต พระราชอำนาจเป็น.
อภิชนาธิปไตย
อภิชนาธิปไตย (ἀριστοκρατία aristokratía, มาจากคำว่า ἄριστος aristos "ที่ดีเลิศ" และ κράτος kratos "อำนาจ", aristocracy) เป็นระบอบการปกครองซึ่งอำนาจเป็นของพลเมืองอภิชนระดับล่าง คำว่า aristocracy มาจากภาษากรีก aristokratia หมายถึง "การปกครองโดยคนที่ดีที่สุด" (rule of the best) ณ เวลาที่คำดังกล่าวถือกำเนิดในกรีซโบราณ อภิชนาธิปไตยเข้าใจว่าเป็นการปกครองโดยพลเมืองเบื้องสูง และมักถูกเปรียบเชิงสนับสนุนราชาธิปไตย ในภายหลัง อภิชนาธิปไตยมักถูกมองว่าปกครองโดยคนกลุ่มน้อยที่มีอภิสิทธิ์ และตรงข้ามกับประชาธิปไต.
ทรราช
ทรราช () ความหมายดั้งเดิมในสมัยกรีกโบราณ หมายถึง บุคคลที่ได้ล้มล้างรัฐบาลที่ถูกต้องโดยชอบธรรมของรัฐ แล้วสถาปนาตนเองเป็นผู้ปกครองแบบเผด็จการแทนที่ โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในชนชั้นชาวนาและพ่อค้า สำหรับเพลโต และ อาริสโตเติลนั้นได้ให้ความหมาย ทรราชย์ ไว้ว่า "การปกครองของคนๆ เดียวในรูปแบบของราชาธิปไตยที่ขาดคุณธรรม จริยธรรม ใช้อำนาจในทางที่ผิดหรือฉ้อฉลในอำนาจ มีเป้าหมายมุ่งประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ละเลยการให้ความใส่ใจต่อความทุกข์ยาก เดือดร้อน และประโยชน์สุขของสังคมโดยรวมของผู้ใต้การปกครอง".
คณาธิปไตย
ณาธิปไตย (oligarchy, ὀλιγαρχία (oligarkhía)) เป็นรูปแบบโครงสร้างอำนาจซึ่งอำนาจอยู่กับกลุ่มบุคคลจำนวนน้อยอย่างชะงัด บุคคลเหล่านี้อาจมีเชื้อเจ้า มั่งมี มีความสัมพันธ์ทางครอบครัว หมู่คณะหรือควบคุมทางทหาร รัฐเช่นนี้มักถูกควบคุมโดยไม่กี่ตระกูลที่มีชื่อเสียงซึ่งส่งผ่านอิทธิพลของตระกูลจากรุ่นสู่รุ่น ตลอดประวัติศาสตร์ คณาธิปไตยในบางประเทศได้เป็นทรราช ต้องอาศัยภาระจำยอมของสาธารณะจึงจะอยู่ได้ แม้คณาธิปไตยในประเทศอื่นจะค่อนข้างผ่อนปรน อริสโตเติลริเริ่มการใช้คำนี้เป็นคำไวพจน์ของการปกครองโดยคนรวย ซึ่งคำที่ถูกต้อง คือ ธนาธิปไตย (plutocracy) แต่คณาธิปไตยไม่จำเป็นต้องเป็นการปกครองด้วยความมั่งมีเสมอไป ด้วยผู้ปกครองในระบอบคณาธิปไตยเป็นกลุ่มมีเอกสิทธิได้ง่าย ๆ และไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงทางสายเลือดดังเช่นในราชาธิปไตย บางนครรัฐในสมัยกรีกโบราณปกครองแบบคณาธิปไต.
ประชาธิปไตย
รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Mob ruleOchlocracyการปกครองโดยฝูงชน