โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษ

ดัชนี กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษ

แนนท์วิชในอังกฤษที่ก่อตั้งตามบทบัญญัติในกฎหมายประชาสงเคราะห์มาตั้งแต่ราว ค.ศ. 1780 กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษ (English Poor Laws) กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษเป็นระบบการบรรเทาทุกข์คนยากจนที่มีผลใช้บังคับในอังกฤษและเวลส์ ที่วิวัฒนาการมาจากกฎหมายของยุคกลางตอนปลายและของสมัยทิวดอร์ก่อนที่จะนำมาประมวลเป็นกฎหมายในระหว่างปี ค.ศ. 1587 ถึงปี ค.ศ. 1598 ระบบกฎหมายประชาสงเคราะห์ใช้กันมาจนกระทั่งเมื่อเกิดระบบรัฐสวัสดิการขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษเริ่มใช้กันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1536 เมื่อพระราชบัญญัติเพื่อแก้ปัญหา “คนยากจนผู้ทุพพลภาพ” (impotent poor) ผู้ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือไม่อาจจะทำงานตามปกติได้เช่นผู้สูงอายุหรือเด็กหรือผู้เจ็บป่วย แต่อันที่จริงแล้วอังกฤษมีกฎหมายที่เก่ากว่านั้นที่เป็นพระราชบัญญัติที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยทิวดอร์เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยคนจรจัดและขอทาน ประวัติของกฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและเวลส์มักจะเป็นสองฉบับ “กฎหมายประชาสงเคราะห์ฉบับเดิม” ที่ได้รับการอนุมัติในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 “กฎหมายประชาสงเคราะห์ฉบับใหม่” ที่ได้รับการอนุมัติในปี ค.ศ. 1834 ที่เป็นฉบับที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการบรรเทาทุกข์คนยากจนที่ใช้กันอยู่เป็นอันมาก กฎหมายฉบับหลังเปลี่ยนระบบกฎหมายประชาสงเคราะห์จากระบบที่บริหารกันอย่างไม่มีแบบมีแผนโดยเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นมาเป็นระบบที่บริหารจากศูนย์กลาง ที่ก่อให้เกิดการก่อตั้งเคหสงเคราะห์และโรงทำงานกันขึ้นอย่างขนานใหญ่โดยสหภาพกฎหมายประชาสงเคราะห์ ระบบกฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษมิได้รับการยกเลิกอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปี ค.ศ. 1967 เมื่อเนื้อหาบางอย่างยังคงระบุอยู่ในพระราชบัญญัติเพื่อการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มีความจำเป็น ค.ศ. 1948(National Assistance Act 1948 ระบบกฎหมายประชาสงเคราะห์เริ่มขาดประสิทธิภาพเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จากสาเหตุหลายประการเช่นการเริ่มใช้ พระราชบัญญัติเพื่อการปฏิรูประบบประชาสงเคราะห์ของอังกฤษ (Liberal welfare reforms) และความช่วยเหลือที่เพิ่มขึ้นจากหน่วยงานอื่นๆ ของเอกชนและกลุ่มสหภาพแรงงานต่างๆ ที่ก่อตั้งขึ้น และรวมทั้งการปฏิรูปที่เกิดขึ้นบางครั้งที่ละเลยบทบัญญัติของระบบกฎหมายประชาสงเคราะห์ที่ยังคงมีอยู.

15 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2079พ.ศ. 2130พ.ศ. 2141พ.ศ. 2323พ.ศ. 2377พ.ศ. 2510รัฐสวัสดิการสมัยทิวดอร์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษสหภาพแรงงานสงครามโลกครั้งที่สองอินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์ประเทศอังกฤษโรงทำงานเจสตอร์

พ.ศ. 2079

ทธศักราช 2079 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและพ.ศ. 2079 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2130

ทธศักราช 2130 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและพ.ศ. 2130 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2141

ทธศักราช 2141 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและพ.ศ. 2141 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2323

ทธศักราช 2323 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและพ.ศ. 2323 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2377

ทธศักราช 2377 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1834.

ใหม่!!: กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและพ.ศ. 2377 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2510

ทธศักราช 2510 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1967 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและพ.ศ. 2510 · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสวัสดิการ

รัฐสวัสดิการ (welfare state) คือ มโนทัศน์การปกครองซึ่งรัฐมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจและสังคมของพลเมือง โดยอาศัยหลักความเสมอภาคของโอกาส การกระจายความมั่งคั่งอย่างชอบธรรม และความรับผิดชอบต่อสาธารณะแก่ผู้ไม่สามารถจัดหาขั้นต่ำสำหรับชีวิตที่ดีได้ กลุ่มประเทศนอร์ดิก เช่น ไอซ์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์กและฟินแลนด์ รวมอยู่ในรัฐสวัสดิการสมัยใหม่ รัฐสวัสดิการเกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนเงินทุนจากรัฐสู่บริการที่จัดให้ (เช่น สาธารณสุข การศึกษา) ตลอดจนสู่ปัจเจกบุคคลโดยตรง ("ผลประโยชน์") รัฐสวัสดิการจัดหาเงินทุนจากการเก็บภาษีแบบแบ่งความมั่งคั่ง (redistributionist taxation) และมักเรียกว่าเป็น "เศรษฐกิจแบบผสม" ประเภทหนึ่ง การเก็บภาษีดังกล่าวปกติรวมการเก็บภาษีเงินได้จากผู้มีรายได้สูงมากกว่าผู้มีรายได้ต่ำ เรียก ภาษีอัตราก้าวหน้า ซึ่งช่วยลดช่องว่างรายได้ระหว่างคนรวยและคนจน| Arthur Cecil PigouAndrew Berg and Jonathan D. Ostry, 2011, " IMF Staff Discussion Note SDN/11/08, International Monetary Fund.

ใหม่!!: กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและรัฐสวัสดิการ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยทิวดอร์

มัยทิวดอร์ (Tudor period) มักจะกล่าวถึงช่วงระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1485 ถึงปี ค.ศ. 1603 โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อังกฤษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตรงกับราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษ โดยมีพระเจ้าเฮนรีที่ 7เป็นปฐมกษัตริย์ สมัยทิวดอร์เรียกอย่างกว้างๆ ที่รวมรัชสมัยของพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แต่รัชสมัยของพระราชินีนาถเอลิซาเบธก็ถือว่าอีกสมัยหนึ่งต่างหากที่เป็นสมัยเอลิซ.

ใหม่!!: กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและสมัยทิวดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England หรือ Virgin Queen หรือ Gloriana หรือ Good Queen Bess -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า "ราชินีพรหมจารี" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ผู้ประสูติที่พระราชวังกรีนิช เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ บุลิน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สวรรคตราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีและสมเด็จพระราชินีเจน ซีมัวร์ พระมเหสีองค์ที่ 3 เมื่อเสด็จสวรรคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงมอบราชบัลลังก์แก่เลดีเจน เกรย์ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาสองพระองค์ออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ในที่สุดเจ้าหญิงแมรีก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ผู้ทรงเป็นโรมันคาทอลิก ในรัชสมัยของราชินีนาถแมรีเจ้าหญิงอลิซาเบธทรงถูกจำขังอยู่ปีหนึ่งในข้อสงสัยว่าทรงมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายก่อการโปรเตสแตนต์ หลังจากเสด็จสวรรคตของพระเชษฐภคินีสมเด็จพระราชินีนาถแมรี เจ้าหญิงอลิซาเบธก็เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะปกครองโดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในกลุ่มที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่นำโดยวิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันโปรเตสแตนต์อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “ประมุขสูงสุด” (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น “นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์” ในปัจจุบัน ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อมีพระชนมายุสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น “พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” และเกิดลัทธินิยมของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัย ในด้านการปกครองพระราชินีนาถอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินีStarkey, 5.

ใหม่!!: กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพแรงงาน

หภาพแรงงาน (Labour Union หรือ Labor Union) คือการรวมตัวกันของกลุ่มลูกจ้างโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้มีการดำเนินการตาม หรือเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อประมาณหลายปีที่แล้ว สหภาพแรงงานได้ถือกำเนิดขึ้นและได้พัฒนาไปในรูปแบบที่แตกต่างกัน เนื่องจากบริบททางการเมืองและเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ดังนี้จึงส่งผลให้วัตถุประสงค์ และกิจกรรมหลักของสหภาพแรงงานจึงแตกต่างกันไปด้วย อย่างไรก็ตามอาจสรุปหน้าที่หลักของสหภาพแรงงานได้ดังนี้.

ใหม่!!: กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและสหภาพแรงงาน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์

Internet Archive (Bibliotheca Alexandrina) อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์ (Internet Archive) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ทั่วไปในลักษณะของห้องสมุดดิจิตัล โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ เพรซีดีโอ ในซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา โดยมีศูนย์ข้อมูลอยู่ที่ ซานฟรานซิสโก เรดวูดซิตี และ เมาน์เทนวิว โดยข้อมูลที่เก็บไว้ได้แก่ภาพหน้าจอของเว็บไซต์ในแต่ละช่วงเวลา และข้อมูลของเว็บไซต์นั้น.

ใหม่!!: กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและอินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

โรงทำงาน

แนนท์วิชในอังกฤษที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ราว ค.ศ. 1780 เคหสงเคราะห์และโรงทำงาน หรือ โรงทำงาน (Workhouse) ภายใต้ระบบกฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและเวลส์, สกอตแลนด์ and ไอร์แลนด์ “เคหสงเคราะห์และโรงทำงาน” คือสถานที่พำนักอาศัยและประกอบอาชีพสำหรับประชาชนผู้ที่ไม่สามารถหาเลี้ยงตนเองได้ คำอ้างอิงถึงเคหสงเคราะห์และโรงทำงานเป็นครั้งแรกที่สุดใน “พจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซฟอร์ด” มีมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและโรงทำงาน · ดูเพิ่มเติม »

เจสตอร์

JSTOR (ออกเสียงว่า เจสตอร์ ย่อมาจาก Journal Storage แปลว่า หน่วยเก็บวารสาร) เป็นห้องสมุดดิจิทัลที่ตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: กฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษและเจสตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

English Poor LawEnglish Poor LawsPoor lawPoor lawsกฎหมายประชาสงเคราะห์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »