โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กัณหา เคียงศิริ

ดัชนี กัณหา เคียงศิริ

กัณหา เคียงศิริ (26 กุมภาพันธ์ 2454 - 23 มิถุนายน 2542) นักเขียนหญิงที่มีชื่อเสียงของไทย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปีพ.ศ. 2529 มีนามปากกาว่า ก.สุรางคนางค์ กัณหา เคียงศิริ เดิมชื่อ ชื้น วรรธนะภัฎ เขียนในแนวสัจนิยม ยึดถือความสมจริง มีผลงานเขียน 200 เรื่อง คือ นวนิยายเรื่องสั้น 100 เรื่อง นวนิยายเรื่องยาว 45 เรื่อง เรื่องแปล 1 เรื่อง บทละคร 3 เรื่อง บทร้อยกรอง 1 ชิ้น และสารคดีหลายเรื่อง นอกจากเป็นนักเขียนนวนิยายแล้ว ก.สุรางคนางค์ยังเป็นนักเขียนคอลัมน์และนักไขปัญหา เคยเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์"เมืองทอง"รายวัน และผู้อำนวยการ"นารีนารถ"รายสัปดาห์ เจ้าของสำนักพิมพ์รสมาลิน ราชวิถี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย และเบญจมาภรณ์ช้างเผือก ใน ปี..

28 ความสัมพันธ์: บ้านทรายทองพ.ศ. 2454พ.ศ. 2462พ.ศ. 2529พ.ศ. 2542พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพวงร้อยกรุงเทพมหานครกุหลาบแดงภาษาฝรั่งเศสรักประกาศิตรุ่งอรุณวังสวนสุนันทาสกุลไทยสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีสงครามโลกครั้งที่สองหญิงคนชั่วจังหวัดนนทบุรีถนนอ่อนนุชคลองบางกอกใหญ่ปิ่นไพรนามปากกาโรงเรียนราชินีโรงเรียนราชินีบนโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก23 มิถุนายน26 กุมภาพันธ์

บ้านทรายทอง

้านทรายทอง และ พจมาน สว่างวงศ์ เป็นนวนิยายอมตะเรื่องหนึ่งของวงการวรรณกรรมไทย เขียนโดย ก.สุรางคนางค์ (กัณหา เคียงศิริ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2529) นักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียง ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารรายปักษ์ชื่อ "ปิยมิตร" ประมาณปี พ.ศ. 2493 เคยเป็น ละครโทรทัศน์และ ภาพยนตร์ ได้รับความนิยมสูงตลอดมา สวลี ผกาพันธุ์ มีชื่อเสียงจากบทสาวน้อยถักผมเปีย พจมาน สว่างวงศ์ คนแรกในวงการแสดง จากละครเวทีของคณะอัศวินการละคร ของ เสด็จพระองค์ชายใหญ่ (ภาณุพันธุ์) ที่ ศาลาเฉลิมไท..

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและบ้านทรายทอง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2454

ทธศักราช 2454 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1911 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและพ.ศ. 2454 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2462

ทธศักราช 2462 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1919 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและพ.ศ. 2462 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2529

ทธศักราช 2529 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1986 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและพ.ศ. 2529 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2542

ทธศักราช 2542 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1999 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และสหประชาชาติกำหนดให้เป็น ปีสากลแห่งผู้สูงอายุและเป็นปีมหามงคลในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ (พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒).

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและพ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พวงร้อย

วงร้อยเต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและพวงร้อย · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กุหลาบแดง

กุหลาบแดง หรือ กุหลาบดอย เป็นไม้ดอกประเภทกุหลาบพันปีชนิดหนึ่ง ในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) จัดเป็นกุหลาบพันปีอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย มีถิ่นแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่จีนตอนใต้, ญี่ปุ่น และภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามที่โล่งบริเวณป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 800-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ลำต้นเป็นไม้พุ่ม มีความสูงตั้งแต่ 1-3 เมตร ลำต้นและกิ่ง มีขนสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปรี รูปไข่ รูปไข่แกมขอบขนาน รูปไข่กลับ หรือรูปใบหอกกลับ ปลายแหลมหรือมน โคนสอบแคบ มีขนสีน้ำตาล ดอก สีแดงอมส้ม มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงขนาดเล็กโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนสีขาวหรือแดง กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมกันคล้ายรูปแตร ภายในมีจุดประสีแดงเข้ม ปลายแยกเป็นแฉกค่อนข้างกลม ผล มีทรงรูปไข่ มีขนสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดมีจำนวนมาก ขนาดเล็ก มีปีกบาน กุหลาบแดง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในที่สูง ให้ดอกสวยงาม โดยจะออกดอกในช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม.

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและกุหลาบแดง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

รักประกาศิต

รักประกาศิต เป็นนวนิยายเรื่องแรกในนามของ ก. สุรางคนางค์ ตีพิมพ์ครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2509 เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี 2523 ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ สาขานักแสดงสนับสนุนหญิง ในปี..

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและรักประกาศิต · ดูเพิ่มเติม »

รุ่งอรุณ

รุ่งอรุณ (Chinese trumpet vine) เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของประเทศจีนตอนใต้ อยู่ในวงศ์แคหางค่าง และอยู่ในสกุล Campsis เดิมรุ่งอรุณมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bignonia grandiflora Thunb.

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและรุ่งอรุณ · ดูเพิ่มเติม »

วังสวนสุนันทา

วนสุนันทา เป็นเขตพระราชฐานชั้นในของพระราชวังดุสิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระภรรยาเจ้าและเจ้าจอมเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตไปแล้ว โดยพระองค์มีพระราชประสงค์ให้สวนนี้มีลักษณะเป็นสวนป่า จึงโปรดเกล้าฯ ให้หาพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลที่ดีและหาได้ยากนานาชนิดมาปลูกไว้ในสวนแห่งนี้ด้วย ที่มาของชื่อสวนแห่งนี้มาจากชื่อสวนของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งมีชื่อว่า "สุนันทาอุทยาน" และพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พระมเหสีซึ่งเป็นที่รักยิ่งของพระองค์ แต่ทว่าพระองค์เสด็จสวรรคเสียก่อน การก่อสร้างพระตำหนัก และตำหนักในสวนสนันทาจึงมาเริ่มการก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ทรงพระราชดำริว่าสถานที่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในคับแคบ ไม่เหมาะสมจะเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน จึงโปรดให้สร้างพระตำหนักและตึกในบริเวณสวนสุนันทาขึ้นอีกหลายหลัง แล้วโปรดให้เป็นที่ประทับของพระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมและพระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก ซึ่งมีพระตำหนักองค์สำคัญๆ 4 หลังได้แก่ พระตำหนักสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระตำหนักสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี และพระตำหนักพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา แต่ทว่าพระตำหนักสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงนั้นได้มีการหยุดการก่อสร้างเมื่อมีการก่ออาคารมาถึงฐานอันเนื่องมาจากทรงโปรดที่จะประทับที่พระตำหนักพญาไท จึงได้มีการแก้แบบและก่อสร้างเป็นท้องพระโรงมีนามว่า พระที่นั่งนงคราญสโมสร ส่วนสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เสด็จมาประทับที่พระตำหนักในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะเสด็จไปประทับที่วังของพระราชโอรสเป็นการถาวร โดยพระราชทานพระตำหนักเป็นที่ประทับแก่เจ้านายที่อยู่ในความดูแลของพระองค์ จึงทำให้พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เป็นองค์ประธานของสวนสุนันทาจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี..

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและวังสวนสุนันทา · ดูเพิ่มเติม »

สกุลไทย

กุลไทย เป็นนิตยสารสตรีชนิดรายสัปดาห์ ผลิตโดย บริษัท อักษรโสภณ จำกัด ซึ่งดำเนินงานโดย นายประยูร ส่งเสริมสวัสดิ์ และ นายสันติ ส่งเสริมสวัสดิ์ ออกจำหน่ายฉบับแรกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 ความหนา 60 หน้า ราคาเล่มละ 3 บาท นางแบบหน้าปก คือ ปรุง ศิริพร มีบรรณาธิการบริหาร คนแรกคือ นายลมูล อติพยัคฆ์ เป็นนิตยสารที่เป็นที่รู้จักดีในฐานะนิตยสารสำหรับผู้หญิง มีจุดเด่น คือ นวนิยายที่เขียนโดยนักเขียนที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น กฤษณา อโศกสิน, ว.วินิจฉัยกุล, โสภาค สุวรรณ, ศรีฟ้า ลดาวัลย์ รวมถึงเป็นที่ฝึกฝนของนักเขียนใหม่ที่ในขณะนั้นเพิ่งเริ่มต้นงานเขียนของตัวเอง เช่น สมชาย กรุสวนสมบัติ, กนกวลี พจนปกรณ์, ชมัยภร แสงกระจ่าง สกุลไทย วางจำหน่ายฉบับสุดท้ายเมื่อเดือน 31 ตุลาคม..

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและสกุลไทย · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

ลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในวันต่อมา พระนาม เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ โดยมีคำนำหน้าพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ลูกสาวของพี่ชาย) ในรัชกาลที่ 7 และเป็นพระภคินี (ลูกพี่ลูกน้อง) ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และโดยพระชนมายุพระองค์จึงเคยเป็นพระกุลเชษฐ์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ หลังจากเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวร พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเพื่อแบ่งเบาพระราชภาระในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอยู่เป็นนิจ จนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระวัยและทรงสามารถแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้ กอปรกับพระองค์มีพระชนมายุสูงขึ้นจึงเสด็จออกทรงเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารน้อยลง นอกจากนี้ พระองค์ทรงรับสถาบันและองค์กรต่างๆ ทั้งในส่วนที่สืบสานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และโดยส่วนพระองค์เองไว้ในพระอุปถัมภ์มากกว่า 30 แห่ง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 นาฬิกา ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมายุ 85 พรรษา 8 เดือน 3 วัน.

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หญิงคนชั่ว

หญิงคนชั่ว เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายเป็นครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและหญิงคนชั่ว · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนนทบุรี

ังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม..

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและจังหวัดนนทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอ่อนนุช

แผนที่เขตวัฒนา ถนนอ่อนนุชปรากฏอยู่ด้านล่างขวาของภาพในชื่อ Sukhumwit 77 (On Nut) ถนนอ่อนนุช (Thanon On Nut) ซึ่งมีชื่อเดิมว่า ซอยสุขุมวิท 77 เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีระยะทางทั้งหมดประมาณ 12.2 กิโลเมตร แนวถนนขนานไปกับคลองพระโขนงและคลองประเวศบุรีรมย์ แยกจากถนนสุขุมวิทที่ทางแยกอ่อนนุชในท้องที่แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางนางจีนเข้าท้องที่แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง เมื่อถึงซอยอ่อนนุช 9 จึงโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แล้วไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นตัดกับถนนศรีนครินทร์ที่ทางแยกสวนหลวง (ศรีนุช) ไปทางทิศเดิม ข้ามคลองหนองบอนเข้าท้องที่แขวงประเวศ เขตประเวศ ตัดกับถนนพัฒนาการที่ทางแยกต่างระดับอ่อนนุช-พัฒนาการ ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ที่ทางแยกประเวศ ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอกตะวันออก) ที่ทางแยกต่างระดับอ่อนนุช และตัดกับถนนสุขาภิบาล 2 ที่ทางแยกโรงพยาบาลสิรินธร ก่อนไปสิ้นสุดที่สะพานข้ามคลองตาพุก โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนลาดกระบังในท้องที่แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง.

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและถนนอ่อนนุช · ดูเพิ่มเติม »

คลองบางกอกใหญ่

ปากคลองบางกอกใหญ่ บรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกใหญ่ช่วงที่ผ่านวัดอินทารามวรวิหาร (วัดบางยี่เรือนอก) การขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงที่ ๑ ซึ่งทำให้แม่น้ำสายเดิมกลายเป็นคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบัน คลองบางกอกใหญ่ หรือชื่อในอดีตว่า คลองบางหลวง เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อน กล่าวคือบริเวณตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย ตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปจนถึงปากคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบันนั้น ยังเป็นแผ่นดินอยู่ แม่น้ำเจ้าพระยาเดิมจะอ้อมเลี้ยวจากหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคุ้งกว้างมาทะลุออกข้างวัดท้ายตลาด ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. 2077 - 2089) โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดระหว่างคุ้งแม่น้ำทั้งสอง เพื่อย่นระยะทางและอำนวยความสะดวกให้กับบรรดาพ่อค้าทูตานุทูตชาวตะวันตกที่เริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในสมัยนั้น ต่อมาคลองลัดเริ่มกว้างใหญ่ขึ้นกลายเป็นแม่น้ำ ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมก็เล็กลงกลายเป็นคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ ถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ราชสำนักย้ายมาอยู่ที่กรุงธนบุรี คลองบางกอกใหญ่กลายมาเป็นชุมชนของข้าหลวง และโปรดเกล้าให้บรรดาชาวจีนซึ่งได้เคยช่วยเหลือพระองค์มาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ ผู้คนจึงนิยมเรียกกันติดปากว่า "คลองบางข้าหลวง" หรือ "คลองบางหลวง" สืบมาถึงในปัจจุบัน รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร กำหนดให้คลองบางกอกใหญ่เป็นคลองสำคัญซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ปากคลองบางกอกใหญ่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งขวาของป้อมวิไชยประสิทธิ์ ไปสิ้นสุดที่คลองมอญ ตรงข้ามปากคลองชักพระ มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร คลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบันนั้นถือเป็นเส้นทางสัญจรและระบายน้ำ และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างมาก มีศาสนสถานตั้งอยู่อย่างหนาแน่นทั้งสองฝั่ง วัดและมัสยิดริมคลองบางกอกใหญ่ได้แก.

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและคลองบางกอกใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ปิ่นไพร

ปิ่นไพร เป็นแนวละคร ดราม่า สร้างจากบทประพันธ์ของ ก.สุรางคนางค์ ผู้ประพันธ์ บ้านทรายทอง ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกทาง ช่อง 7 เมื่อปี พ.ศ. 2544 เขียนบทโทรทัศน์โดย คฑาหัสต์ บุษปะเกศ, นันทวรรณ รุ่งวงศ์พาณิชย์ กำกับการแสดงโดย จรูญ ธรรมศิลป์ นำแสดงโดย ปิยธิดา วรมุสิก, อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร, ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี, ฉัตรมงคล บำเพ็ญ, สาวิกา ไชยเดช, ณัฏฐริณีย์ กรรณสูต, ดิลก ทองวัฒนา, วีรินท์ เชยอรุณ, โชคชัย เจริญ.

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและปิ่นไพร · ดูเพิ่มเติม »

นามปากกา

นามปากกา หมายถึงนามแฝงของนักเขียน.

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและนามปากกา · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนราชินี

รงเรียนราชินี เป็นโรงเรียนเก่าแก่แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่เลขที่ 444 ถนนมหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้ทรงให้กำเนิดโรงเรียนคือ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2447 ณ ตึกแถวมุมถนนอัษฎางค์และถนนจักรเพชร ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ตึกริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ปากคลองตลาด และมีการเปิดรับนักเรียนกินนอนขึ้นใน..

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและโรงเรียนราชินี · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนราชินีบน

ป็นโรงเรียนหญิงล้วนระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ตั้งอยู่ที่ตึกถนนอัษฎางค์ ผู้ทรงให้กำเนิดโรงเรียนคือ สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร เพื่ออบรมให้เป็นนักเรียนผู้ดีที่ทันสมัย แต่คงความเป็นกุลสตรีที่งดงาม เพรียบพร้อมในทุกๆด้าน โรงเรียนราชินีบนให้เป็นสถานศึกษาที่มีความพร้อมและทันสมัยในทุกๆด้าน มีความสะอาด สงบร่มรื่น ปัจจุบันโรงเรียนมีเนื้อที่15ไร่ 3งาน 74ตารางวา สมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ประทานนาม โรงเรียนว่า “ โรงเรียนราชินีบน ” เมื่อ..

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและโรงเรียนราชินีบน · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์

รงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก

รื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก (The Most Exalted Order of the White Elephant) เป็นตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หนึ่งใน 8 ตระกูลที่สำหรับพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดี ทั้งบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกนี้สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน โดยการพิจารณาเสนอขอพระราชทานของรัฐบาล เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูงแก่ผู้ได้รับพระราชทาน พระราชทานทั้งบุรุษและสตรี หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แล้ว ให้ประกาศรายนามในราชกิจจานุเบกษา ปรกติแล้วจะประกาศในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ของทุกปี แยกเป็น 2 ฉบับ คือชั้นต่ำกว่าสายสะพาย และชั้นสายสะพาย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาให้สร้างขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก · ดูเพิ่มเติม »

23 มิถุนายน

วันที่ 23 มิถุนายน เป็นวันที่ 174 ของปี (วันที่ 175 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 191 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและ23 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

26 กุมภาพันธ์

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 57 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 308 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: กัณหา เคียงศิริและ26 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ก. สุรางคนางค์ก.สุรางคนางค์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »