สารบัญ
พ.ศ. 2559
ทธศักราช 2559 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2016 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ และเป็น.
การระบาดของไวรัสซิกา
ต้นปี 2559 กำลังมีการระบาดครั้งกว้างขวางที่สุดของไวรัสซิกาในประวัติศาสตร์ในทวีปอเมริกา การระบาดเริ่มในเดือนเมษายน 2558 ในประเทศบราซิล แล้วลามไปประเทศอื่นในอเมริกาใต้ อเมริกากลาง และแคริบเบียน ในเดือนมกราคม 2559 องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ไวรัสน่าจะลามไปทั่วทวีปอเมริกาส่วนใหญ่เมื่อสิ้นปี ต่อมา ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 องค์การอนามัยโลกแถลงว่า การระบาดของไวรัสเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่เป็นปัญหาระหว่างประเทศ (public health emergency of international concern) ส่วนใหญ่ไวรัสแพร่โดยยุง Aedes aegypti (ยุงลายบ้าน) ที่พบทั่วไปตลอดเขตร้อนและทวีปอเมริกากึ่งเขตร้อน แต่ยังแพร่โดย Aedes albopictus (ยุงลายสวน) ที่ปัจจุบันมีอาศัยอยู่ถึงพื้นที่เกรตเลกส์ของสหรัฐ การติดเชื้อไวรัสซิกาส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ทำให้ประมาณจำนวนการติดเชื้อไวรัสซิกาได้ยาก ผู้ป่วยประมาณหนึ่งในห้าจะมีการเจ็บป่วยเล็กน้อยเรียก ไข้ซิกา ซึ่งทำให้เกิดอาการอย่างไข้และผื่น ทว่า การติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์มีความเชื่อมโยงที่สงสัยกับภาวะหัวเล็กเกินในทารกแรกเกิดจากการส่งผ่านมารดาสู่เด็ก และในผู้ป่วยน้อยราย ทำให้เกิดกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร หลายประเทศออกคำเตือนท่องเที่ยว.
ดู ไวรัสซิกาและการระบาดของไวรัสซิกา
คริสต์ศตวรรษที่ 21
ริสต์ศตวรรษที่ 21 คือคริสต์ศตวรรษแรกของคริสต์สหัสวรรษที่ 3 และเป็นคริสต์ศตวรรษปัจจุบัน เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม..
ดู ไวรัสซิกาและคริสต์ศตวรรษที่ 21
โอลิมปิกฤดูร้อน 2016
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 (Jogos Olímpicos de Verão de 2016) หรือชื่อที่เป็นทางการ กีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 28 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ รีโอ 2016 เป็นมหกรรมกีฬานานาชาติที่สำคัญในประเพณีโอลิมปิก ซึ่งจัดในที่นครรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 ถึง 21 สิงหาคม..
ดู ไวรัสซิกาและโอลิมปิกฤดูร้อน 2016
ไข้ซิกา
้ซิกา หรือโรคไวรัสซิกา เป็นโรคติดเชื้ออย่างหนึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสซิกา ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อยคล้ายกับไข้เดงกี อาการมักคงอยู่ไม่เกินเจ็ดวัน โดยอาการเหล่านี้เช่น ไข้ ตาแดง ปวดข้อ ปวดหัว ผื่นแดง เป็นต้น ยังไม่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคนี้ ภาวะนี้สัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการกิลแลงบาร์เรอีกด้วย ไข้ซิกาติดต่อผ่านทางการถูกยุง Aedes เช่น ยุงลาย กัด เป็นส่วนใหญ่ และยังอาจติดต่อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์และการถ่ายเลือดได้ด้วย เชื้ออาจติดต่อผ่านทางมารดาไปยังทารกและทำให้ทารกมีศีรษะเล็กได้ การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจหา RNA ของไวรัสในเลือด ปัสสาวะ หรือน้ำลายจากผู้ป่วย การป้องกันทำได้โดยการลดโอกาสการถูกยุงกัดในพื้นที่ที่มีการระบาด ทำได้โดยการใช้สารไล่แมลง การปกคลุมร่างกาย การใช้มุ้ง และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเช่นในน้ำนิ่ง ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ได้ผลดี บุคลากรทางสาธารณสุขเริ่มให้คำแนะนำแก่คู่สามีภรรยาในพื้นที่ระบาดว่าให้ชะลอการมีบุตรออกไปก่อน และแนะนำให้สตรีมีครรภ์งดการเดินทางไปยังพื้นที่ระบาด การรักษาทำได้ด้วยวิธีรักษาประคับประคอง ยังไม่มีการรักษาจำเพาะที่มีประโยชน์ ส่วนใหญ่ใช้ยาแก้ปวดลดไข้เข่นพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการ ส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ไวรัสนี้ถูกแยกได้สำเร็จครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.