สารบัญ
75 ความสัมพันธ์: ชบาเมเปิลบัวสวรรค์ชุมเห็ดเทศช้างพุ่มไม้แอฟริกาพยับหมอกพวงร้อยพิมเสน (พืช)พุดสามสีพุดดงกระดุมเงินกาฝากการเปลี่ยนสีของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วงกุหลาบญี่ปุ่นฝางภูมิทัศน์ประหยัดพลังงานมะลิมะตาดรั้วต้นไม้รามใหญ่ละหุ่งลูพินวงศ์จิ้งเหลนน้อยหางยาววงศ์ค่าหดวงศ์ตีนเป็ดวงศ์นกแต้วแร้ววงศ์โคลงเคลงสบู่แดงสกุลส้มสกุลโพสะแลสางห่าสางห่า (สกุล)สเตปป์หมากผู้หมากเมียหนามแดง (พืช)หนุมานนั่งแท่นอาเคเชียอินถวาน้อยผักหวานบ้านจันผาจั๋งญี่ปุ่นจำปีแขกจิงโจ้แดงทอมสันส์กาเซลล์ทันดราขลู่ขี้ครอกข้าวตอกพระร่วง (พืช)ครามป่าคะน้าเม็กซิโก... ขยายดัชนี (25 มากกว่า) »
ชบาเมเปิล
มเปิล (cranberry hibiscus, African rosemallow) เป็นพืชในวงศ์ชบา (Malvaceae) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา เป็นไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีสีแดงถึงสีแดงอมม่วง มีขน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปนิ้วมือ เว้าลึกเป็น 4 แฉก คล้ายใบเมเปิล ออกเรียงสลับ ก้านใบยาว ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวหรือคู่ตามซอกใบ โคนดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอกสีส้ม 5 กลีบ มีใบประดับรูปใบหอก ใจกลางดอกมีสีม่วงเข้มถึงดำ กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก สีแดงถึงแดงอมม่วง มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมกันเป็นหลอด ล้อมรอบด้วยเกสรตัวเมีย ปลายเกสรตัวเมียแยกเป็น 5 แฉก โผล่พ้นหลอดเกสรตัวผู้ ดอกจะบานช่วงเช้า และหุบตอนสาย ผลค่อนข้างกลม ยอดแหลม มีสัน มีกลีบเลี้ยงหุ้มผลไว้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือปักชำกิ่ง ชบาเมเปิลนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ใบและรากสามารถรับประทานได้ ดอกนำมาทำเป็นเครื่องดื่มได้เช่นเดียวกับกระเจี๊ยบแดง.
บัวสวรรค์
ัวสวรรค์ หรือ กัตตาเวียเต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..
ชุมเห็ดเทศ
มเห็ดเทศ เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูง 2-3 เมตร ก้านใบนั้นยาว ในก้านหนึ่งนั้นจะมีใบแตกออกเป็น 2 ทาง มีลักษณะคล้ายใบมะยม แต่จะโตและยาวกว่าประมาณ 10-12 ซม.
ช้างพุ่มไม้แอฟริกา
้างพุ่มไม้แอฟริกา หรือ ช้างสะวันนาแอฟริกา (African bush elephant, African savanna elephant) หรือที่นิยมเรียกกันว่า ช้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน เป็นช้างชนิดหนึ่งที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ช้างพุ่มไม้แอฟริกา นับเป็นช้างขนาดใหญ่ที่สุด และถือเป็นสัตว์บกและสัตว์กินพืชที่ใหญ่และหนักที่สุดในโลกอีกด้วย ช้างพุ่มไม้แอฟริกา เดิมเคยถูกจัดเป็นชนิดเดียวกับช้างป่าแอฟริกา (L.
ดู ไม้พุ่มและช้างพุ่มไม้แอฟริกา
พยับหมอก
ับหมอก (cape leadwort, white plumbago) หรือ เจตมูลเพลิงฝรั่ง เป็นพืชในวงศ์ Plumbaginaceae มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาใต้ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบเรียวแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวสด ผิวใบด้านล่างมีขนอ่อน สากระคายมือ ดอกสีขาวปนฟ้าอมเทา ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง กลางกลีบดอกคล้ายกับเป็นร่อง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก มีรยางค์เล็ก ๆ ยื่นออกมา ปลายแยกเป็น 5 แฉก เมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร พยับหมอกนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ทุกส่วนของพยับหมอกมีสารพลัมบาจิน (plumbagin) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์ ต้านมะเร็งและบำรุงหัวใจ แต่หากถูกผิวหนังจะทำให้พุพอง.
พวงร้อย
วงร้อยเต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..
พิมเสน (พืช)
น้ำมันพิมเสน (''Pogostemon cablin'') พิมเสน (patchouli, patchouly, pachouli) เป็นพืชในวงศ์กะเพรา (Lamiaceae) มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เป็นไม้พุ่มสูง 50-100 เซนติเมตร ลำต้นตรงมีขนปกคลุมและมีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่หรือรูปไข่กว้าง ออกตรงกันข้าม ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบแหลมหรือสอบ ขอบใบจักเป็นซี่ฟันแกมจักมน มีขนปกคลุมทั้งด้านบนและด้านล่าง ดอกขนาดเล็กสีม่วงขาว ออกเป็นช่อตามซอกใบและที่ยอด กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นปาก ปากบนมี 3 หยัก ปากล่างเรียบ เกสรตัวผู้มี 4 อัน ก้านเกสรตัวเมียแยกเป็นแฉกสั้น ๆ 2 แฉก ผลรูปรีแข็ง มีขนาดเล็ก ผิวเรียบ เมื่อกลั่นพิมเสนด้วยไอน้ำ จะได้น้ำมันพิมเสน (patchouli oil) ซึ่งมีสารสำคัญคือ แพทชูลอล (patchoulol) และนอร์แพทชูเลนอล (norpatchoulenol) ใช้ในงานสุคนธบำบัด เป็นส่วนผสมในน้ำหอม สารระงับกลิ่นกายและยาไล่แมลง ใบของพิมเสนมีสรรพคุณแก้ปวดประจำเดือน แก้ปวดศีรษะ ลดไข้.
พุดสามสี
มสี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Brunfelsia hopeana Benth.) เป็นไม้พุ่มนำเข้ามาจากต่างประเทศ บางทีเรียกกันว่า ต้นจัสมิน (jasmine) หรือ พุดสองสี พุดสามสี สามราศรี, พุดสี, พุทธชาดม่วง.
พุดดง
ง หรือ เข็มบุษบา เป็นพืชในสกุลพุดชมพู (Kopsia) กระจายพันธุ์ทางตอนใต้ของจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงออสเตรเลีย ลักษณะเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 15 เมตร ใบรูปรี รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร ปลายแหลมยาว โคนรูปลิ่มหรือแหลม ก้านใบยาว 0.3-1 เซนติเมตร ช่อดอกยาว 4-15 เซนติเมตร เกลี้ยงหรือมีขนละเอียด ก้านดอกยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม ยาว 2-6 มิลลิเมตร ดอกมีสีขาว ปากหลอดกลีบสีชมพู มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ หลอดกลีบยาว 2-3.5 เซนติเมตร กลีบดอกรูปรี รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 0.7-2 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ติดเหนือกึ่งกลางหลอดกลีบดอก อับเรณูยาว 1.2-1.7 มิลลิเมตร ก้านเกสรเพศเมียยาว 2-2.5 เซนติเมตร รวมยอดเกสร ผลออกเป็นคู่แต่มักเจริญเพียงผลเดียว รูปรีเบี้ยว ยาว 1.5-4 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดแข็ง เมื่อสุกมีสีดำอมน้ำเงิน พุดดงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เปลือกต้นใช้เป็นยาสวนทวารหนัก ใบและผลใช้รักษาอาการเจ็บคอและทอนซิลอัก.
กระดุมเงิน
กระดุมเงิน เป็นไม้พุ่มคลุมดิน สูงไม่เกิน 50 ซม.
กาฝาก
กาฝาก เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ในวงศ์ Loranthaceae อันดับ Santalales สกุล Loranthaceae ชื่อไทยว่า "กาฝากของส้มโอ" ชื่อท้องถิ่น เดี้ยงแปงซ่าง(เมี่ยน)มักอาศัยเกาะขึ้นกับพืชอื่น และแย่งอาหารจากพืชที่เกาะอยู่และ บางชนิดก็แย่งอาหารจากพวกกาฝากด้วยกันพืช กาฝากต้องพึ่งพาต้นไม้อื่นในการดำรงชีวิต เพราะมันไม่สามารถเกาะอยู่บนต้นไม้อื่นเฉยๆแบบกล้วยไม้ ว่านไก่แดง หรือนมตำเรีย ซึ่งเป็นพืชอิงอาศัย (epiphyte) แต่มันจะต้องแทงรากเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของต้นไม้อื่นนั้น เพื่อแย่งเอามาเป็นอาหารของมัน เพราะกาฝากเป็นพืชเบียน (parasite) บนคาคบไม้ จึงแตกต่างจากกล้วยไม้และพืชอิงอาศัยอื่น.
การเปลี่ยนสีของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วง
ใบต้นเมเปิลญี่ปุ่น (22 พฤศจิกายน พ.ศ 2549) ใบของต้นเมเปิล การเปลี่ยนสีของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วง เป็นปรากฏการณ์ผลกระทบที่เกิดกับใบไม้ของต้นไม้หรือไม้พุ่มผลัดใบที่โดยปกติแล้วมีสีเขียว เปลี่ยนสีกลายเป็นสีเหลืองถึงแดงโดยใช้เวลาไม่กี่สัปดาห์ในฤดูใบไม้ร่วง ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า fall colors และ autumn colors.
ดู ไม้พุ่มและการเปลี่ยนสีของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วง
กุหลาบญี่ปุ่น
กุหลาบญี่ปุ่น เป็นสปีชีส์หนึ่งของตระกูลกุหลาบ มีถิ่นกำเนิดบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชีย ในพื้นที่ของประเทศจีน, เกาหลี และ ญี่ปุ่น ถือเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดฮกไกโด โดยมักจะเติบโตอยู่ตามชายฝั่งหรือเนินทราย แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรจะสับสนกับ Rosa multiflora ซึ่งเป็นดอกกุหลาบที่มีอีกฉายาว่า "กุหลาบญี่ปุ่น".
ฝาง
ฝาง (Caesalpinia sappan, suō, 苏木 (植物)) เป็นพืชสมุนไพรที่อยู่ในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Caesalpinia sappan Linn ฝางจัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง พบได้ตลอดเขตร้อนในอินเดีย ศรีลังกา พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ สำหรับประเทศไทยจะพบในพื้นที่ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเขาหินปูนแห้งแล้ง นอกจากนี้ยังพบบริเวณป่าดงดิบอีกด้วย ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ทวีปอเมริกาใต้ ส่วนที่ใช้ทำสมุนไพรคือ แก่นไม้ของฝาง สรรพคุณทางสมุนไพรของฝางมีมากมาย เช่น บำรุงโลหิต ขับเสมหะ แก้อาการร้อนใน เป็นต้น และเมื่อนำส่วนต่าง ๆ ของฝางไปสกัดแล้วพบว่าให้สารเคมีที่มีประโยชน์ทางการแพทย์หลายชนิดอีกด้วย สืบค้นวันที่ 2 มีนาคม..
ภูมิทัศน์ประหยัดพลังงาน
ูมิทัศน์ประหยัดพลังงาน (อังกฤษ: Energy-efficient landscaping) เป็นงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมประเภทหนึ่งที่มีความมุ่งหมายเพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งมีข้อแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างพลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุและการก่อสร้างงานภูมิทัศน์และพลังงานที่ใช้ในระหว่างการใช้งานและการดูแลรักษา เทคนิคในการออกแบบรวมถึง.
ดู ไม้พุ่มและภูมิทัศน์ประหยัดพลังงาน
มะลิ
มะลิ เป็นไม้พุ่มหรือไม้เถาในวงศ์มะลิ มีประมาณ 200 ชนิด มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในแถบทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ลักษณะดอกและกลิ่นมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดหรือพัน.
มะตาด
มะตาด เป็นพืชในสกุลส้าน มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย บังกลาเทศ และทางตะวันออกของศรีลังกาจรดทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน (มณฑลยูนนาน) และเวียดนาม และทางตอนใต้ของไทยถึงมาเลเซีย และอินโดนีเซียGermplasm Resources Information Network: มะตาดมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกดังนี้: ส้มปรุ ส้านกว้าง ส้านท่า ส้านใหญ่ (สุราษฎร์ธานี) ส้านป้าว (เชียงใหม่) แส้น (ตรัง, สงขลา).
รั้วต้นไม้
เยอรมนี อังกฤษ ซึ่งตัดแต่งไว้ให้มีลักษณะคล้ายเขาวงกต รั้วต้นไม้ (hedge) เป็นแนวของไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นที่ปลูกไว้ชิดๆ กัน ซึ่งถูกดัดหรือตัดแต่งโดยเฉพาะให้มีลักษณะเป็นแนวกั้นคล้ายกำแพง, ปกติมักจะทำไว้ตามขอบไร่นาเพื่อแบ่งแยกอาณาบริเวณ และช่วยบังลมพายุที่จะทำลายพืชผล, หรือกั้นระหว่างแนวบ้านเรือนกับถนนเพื่อเพิ่มความร่มรื่น ดักฝุ่นละออง และลดเสียงรบกวน, บางครั้งก็นำมาใช้เป็นองค์ประกอบร่วมในการจัดสวนเพื่อเพิ่มความสวยงาม ซึ่งมักจะตัดแต่งให้มีรูปร่างแปลกตาเป็นพิเศษอีกด้วย หมวดหมู่:พืชกรรมสวนและการทำสวน.
รามใหญ่
รามใหญ่ (Thunb) มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า กระดูกไก่ ก้างปลา ก้างปลาเขา เหมือด อ้ายรามใบใหญ่ มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศไทยพบตามริมชายฝั่งแม่น้ำ ด้านในของป่าชายเลน ที่มีอิทธิพลของน้ำขึ้น-น้ำลง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ชอบความชื้นสูง แสงแดดปานกลาง.
ละหุ่ง
ละหุ่ง เป็นพืชในวงศ์ยางพารา (Euphorbiaceae) และเป็นพืชชนิดเดียวในสกุล Ricinus มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนและแอฟริกาตะวันออก.
ลูพิน
''Lupinus polyphyllus '' ลูพิน (Lupin หรือ lupine) เป็นพืชดอกที่อยู่ในสกุลลูพินนัส (Lupinus) ในวงศ์ถั่วที่มีด้วยกันทั้งหมดราว 200 ถึง 600 สปีชีส์ขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูล มีศูนย์กลางอยู่ในอเมริกาใต้, ทางตะวันตกของอเมริกาเหนือ, บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน และ แอฟริกา ลูพินส่วนใหญ่เป็นพืชยืนต้นสูงราว 0.3 ถึง 1.5 เมตร แต่บางชนิตก็เป็นพืชปีเดียว และบางชนิดก็เป็นไม้พุ่มที่สูงถึง 3 เมตร (ลูพินพุ่ม) และมีอยู่สปีชีส์หนึ่งจากเม็กซิโกที่สูงถึง 8 เมตรและมีลำต้นที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร ใบมีลักษณะเด่นที่จำได้ง่ายสีเขียวออกไปทางเขียวอมเทาเล็กน้อย บางสปีชีส์ก็มีขนหนาสีเงินบนใบ ใบมีลักษณะเหมือนใบปาล์มที่แยกออกเป็น 5 ถึง 28 แฉก แต่บางสปีชีส์ก็ไม่มีแฉกเช่นที่พบทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ทรงดอกเหมือนข้าวโพดที่เป็นดอกเหมือนดอกถั่วกระจายออกไปรอบแกนกลางแต่ละดอกก็ยาวราว 1 ถึง 2 เซนติเมตร เมล็ดออกจากฝักแต่ละฝักก็มีหลายเมล็ด ลูพินก็เช่นเดียวกับพืชวงศ์ถั่วอื่นๆ ที่สามารถเปลี่ยนไนโตรเจนจากบรรยากาศให้เป็นไนโตรเจนให้เป็นแอมโมเนียได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มปุ๋ยให้แก่พืชอื่นสกุลลูพินนัสมีไรโซเบียมแบบที่เรียกว่า Bradyrhizobium ลูพินเป็นทั้งดอกไม้ป่าและไม้บ้าน โครงสร้างของพุ่มและดอกมีลักษณะเด่นเหมาะแก่การปลูกตกแต่งสวน สีก็มีแทบทุกสีที่รวมทั้งเหลือง ชมพู แดง ม่วงน้ำเงิน ม่วงแดง และขาว.
วงศ์จิ้งเหลนน้อยหางยาว
วงศ์จิ้งเหลนน้อยหางยาว หรือ วงศ์สางห่า (Wall lizard, True lizard, Old world runner, Lacertid lizard) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Squamata หรืองูและกิ้งก่า ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lacertidae มีลักษณะโดยรวม คือ ทุกชนิดของวงศ์นี้มีขา เกล็ดปกคลุมลำตัวมีขนาดแตกต่างกัน เกล็ดปกคลุมลำตัวด้านหลังและทางด้านข้างแปรผันตั้งแต่มีขนาดใหญ่และเรียบและเรียงซ้อนตัวเหลื่อมกันหรือมีขนาดเล็กเป็นตุ่มและมีสัน เกล็ดด้านท้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ และเรียงตัวต่อเนื่องกันหรือเรียงตัวซ้อนเหลื่อมกัน ไม่มีกระดูกในชั้นหนัง กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์ควาวิเคิลเป็นรูปโค้งและกระดูกไหปลาร้าเป็นรูปหักมุม หางยาว สามารถปล่อยหางหลุดจากลำตัวได้เพื่อหลบหนีศัตรู พื้นผิวด้านบนของลิ้นเป็นตุ่มยาว ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับร่องที่ขอบด้านในของกระดูกขากรรไกร กระดูกเทอรีกอยด์มีฟันหรือไม่มีฟัน เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดเล็ก ตั้งแต่ 4 เซนติเมตรจนถึงมีขนาดใหญ่สุดไม่เกิน 12 เซนติเมตร ส่วนมากอาศัยและหากินบนพื้นดินในเวลากลางวัน หรือไม่ก็อาศัยในไม้พุ่มหรือต้นไม้ในระดับเตี้ย ๆ ส่วนมากกินแมลงเป็นอาหาร บางชนิดกินเมล็ดพืชเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ ๆ ที่เป็นโลกเก่า คือ ทวีปยุโรป, แอฟริกา และเอเชีย จนถึงอินเดียตะวันออก มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับกิ้งก่าในวงศ์ Teiidae ที่พบในโลกใหม่ เนื่องจากมีนิเวศวิทยา, พฤติกรรม ตลอดจนแบบแผนการสืบพันธุ์คล้ายคลึงกัน พบประมาณ 220 ชนิด แบ่งออกได้เป็น 37 สกุล (ขณะที่บางข้อมูลระบุว่า 27 สกุล หรือแม้แต่ 5 สกุล).
ดู ไม้พุ่มและวงศ์จิ้งเหลนน้อยหางยาว
วงศ์ค่าหด
วงศ์ค่าหด หรือ Juglandaceae เป็นวงศ์ของไม้ยืนต้น บางส่วนเป็นไม้พุ่มอยู่ในอันดับ Fagales ส่วนใหญ่เป็นพืชท้องถิ่นในทวีปอเมริกา ยูเรเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
วงศ์ตีนเป็ด
วงศ์ตีนเป็ด หรือ วงศ์ไม้ลั่นทม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Apocynaceae) เป็นชื่อวงศ์พรรณไม้ของพืชตระกูล ลั่นทม ลีลาวดี ตีนเป็ด ลักษณะเด่นคือทุกส่วนของต้นพืชมีน้ำยางขาวมี ใบเป็นเดี่ยวติดตรงข้ามหรือติดเป็นวงรอบข้อ ขอบใบเรียบเส้นแขนงใบเป็นร่างแห กลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้มี 5 อันติดบนท่อกลีบดอก มีเกสรเพศเมีย 2 อันเชื่อมติดกัน รังไข่ติดเหนือวงกลีบ รังไข่มี 2 ช่อง ผลเป็นฝักคู่ หรือเดี่ยวแตกตามแนวเดียว เมล็ดมีขนเป็นกระจุกที่ปลาย ในวงศ์นี้เป็นไม้หวงห้าม 4 สกุล คือ สกุลตีนเป็ด สกุลไยลูตง สกุลโมกหลวง และสกุลโมกมัน ไม้ตีนเป็ด จัดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม..
วงศ์นกแต้วแร้ว
วงศ์นกแต้วแร้ว หรือ วงศ์นกแต้วแล้ว (Pittas) เป็นวงศ์ของนกที่มีขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในอันดับ Passeriformes เช่นเดียวกับนกกระจอก (Passeridae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pittidae โดยทั่วไปแล้ว นกแต้วแร้วจะมีลำตัวอ้วนสั้น มีสีสันฉูดฉาดสะดุดตาหลายสี เช่น น้ำเงิน, เขียว, แดง, น้ำตาล หรือเหลือง รวมอยู่ในตัวเดียวกัน คอและหางสั้น ขายาว มักกระโดดหรือวิ่งบนพื้นดิน เป็นนกที่ขี้อาย ขี้ตื่นตกใจ มีพฤติกรรมชอบอยู่ลำพังตัวเดียวหรือเป็นคู่ หากจะบินก็จะบินเป็นระยะสั้น ๆ หรือเตี้ย ๆ ในบริเวณที่เป็นที่อยู่อาศัย โดยมักจะอาศัยอยู่ในพุ่มไม้ นกแต้วแร้วมักอาศัยอยู่ในป่าที่มีความชุ่มชื้นหรือใกล้แหล่งน้ำ ด้วยหากินที่อยู่ในบริเวณนั้น เช่น หอยทาก, ไส้เดือนดิน หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลาน เป็นอาหาร โดยทั่วไปแล้วจะมีขนาดลำตัวประมาณ 15–25 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 42–218 กรัม พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันออก และโอเชียเนีย วางไข่ครั้งละ 6 ฟองบนต้นไม้หรือพุ่มไม้ หรือบางครั้งก็บนพื้นดิน พ่อแม่นกจะช่วยกันดูแลลูกอ่อน โดยรังจะสานจากกิ่งไม้หรือใบไม้ หรือฟางที่หาได้ มีหลายชนิดที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐาน ลูกนกเมื่ออยู่รัง พ่อแม่นกจะช่วยกันดูแลและคาบอาหารมาให้ ส่วนมากเป็นแมลง บางครั้งอาจจะเป็นแมง เช่น ตะขาบ หรือสัตว์อย่างอื่น เช่น ไส้เดือนดิน แล้วแต่จะหาได้ ลูกนกเมื่อจะถ่าย จะหันก้นออกนอกรังแล้วขับถ่ายมูลออกมา ซึ่งถูกห่อหุ้มอยู่ในถุงขนาดใหญ่ พ่อแม่นกต้องคาบไปทิ้งให้ไกลจากรัง เพราะกลิ่นจากมูลลูกนกจะเป็นสิ่งที่บอกที่อยู่ให้แก่สัตว์นักล่าได้ เดิมได้รับการอนุกรมวิธานออกเพียงสกุลเดียว คือ Pitta แต่ปัจจุบันได้แยกออกเป็น 3 สกุล (ดูในตาราง) ทั้งหมดราว 31 ชนิด สำหรับนกแต้วแร้วในประเทศไทยนั้น พบทั้งหมด 12 ชนิด เช่น นกแต้วแร้วธรรมดา หรือนกแต้วแร้วสีฟ้า (Pitta moluccensis), นกแต้วแร้วป่าโกงกาง หรือนกแต้วแร้วป่าชายเลน (P.
วงศ์โคลงเคลง
วงศ์โคลงเคลง เป็นชื่อวงศ์พรรณไม้ จำพวก โคลงเคลง จุกนารี และแปร้น้ำเงิน ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ ใบเป็นใบเดี่ยวติดตรงข้าม กลีบดอกเด่นชัด รังไข่เชื่อมติดกับฐานดอก มีระยางค์ยื่นออกมาตรงโคนอับเรณู.
สบู่แดง
ู่แดง (bellyache bush) หรือ ละหุ่งแดง หรือ สบู่เลือด เป็นไม้ประดับในวงศ์ยางพารา (Euphorbiaceae) มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง.
สกุลส้ม
กุลส้ม (Citrus) อยู่ในวงศ์ Rutaceae มีต้นกำเนิดในเขตร้อนและเขตร้อนชื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 5-15 เมตร มีหนามที่ต้น มีใบแบบสลับและเป็นไม้ไม่ผลัดใบ ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อดอกขนาดเล็ก แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 ซม.
สกุลโพ
กุลโพ-ไทร-มะเดื่อ เป็นสกุลของไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Ficus บางชนิดอาจขึ้นเป็นไม้พุ่มหรือไม้เถา ขึ้นบนดินหรือกึ่งอิงอาศัย โดยมีรากเกาะอาศัยต้นไม้อื่นแล้วเจริญโอบรัดต้นไม้ที่เกาะลักษณะคล้ายกาฝาก แยกเพศร่วมต้นหรือต่างต้น ส่วนต่าง ๆ มีน้ำยาง หูใบหุ้มตาใบชัดเจน กิ่งมีรอยแผลหูใบเป็นวงรอบข้อ ใบเดี่ยว ส่วนมากเรียงเวียนหรือเรียงสลับในระนาบเดียวกัน เแผ่นใบด้านล่างส่วนมากมีต่อมไขตามโคนเส้นใบใกล้ฐานใบ บางครั้งมีซิสโทลิท ดอกขนาดเล็กจำนวนมากเรียงแน่นอยู่ภายในฐานรองดอกที่โอบหุ้มดอกทั้งหมดไว้ภายใน หรือ ซิทโอเนียม หรือฟิก โดยมีช่องเปิด ส่วนใหญ่มีใบประดับที่โคน ดอกเพศผู้ กลีบรวมส่วนมากมี 2-6 กลีบ แยกกันหรือติดกัน หรือไม่มีกลีบรวม เกสรเพศผู้ 1-5 อัน ดอกเพศเมียก้านยาว กลีบรวมส่วนมากมี 3-5 กลีบ แยกกันหรือติดกัน ยอดเกสรเพศเมีย 2 อัน แยกกันหรือติดกัน ดอกที่เป็นหมันเป็นปม ก้านเกสรเพศเมียสั้น เป็นที่อยู่ของแมลงขนาดเล็ก บางชนิดมีดอกแบบไม่มีเพศ คือไม่มีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย ลักษณะเฉพาะนี้มีความสัมพันธ์กับแมลงในลักษณะพึ่งพากัน ชนิดของแมลงมีความเฉพาะกับไทรแต่ละชนิด ผลขนาดเล็ก คล้ายผลมีผนังชั้นในแข็งหรือผลแห้งเมล็ดล่อน เมล็ดมีเอนโดสเปิร์ม ผลของมะเดื่อ (''F.
สะแล
แล เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกอยู่ในวงศ์ขนุน และเป็นไม้พุ่มพื้นถิ่นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบในเขตป่าดิบชื้นหรือป่าดิบแล้ง.
สางห่า
ในที่เลี้ยง สางห่า หรือ จิ้งเหลนน้อยหางยาว เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่จัดอยู่ในอันดับ Squamata เช่นเดียวกับงูและกิ้งก่า จัดอยู่ในวงศ์จิ้งเหลนน้อยหางยาว (Lacertidae).
สางห่า (สกุล)
งห่า หรือ จิ้งเหลนน้อยหางยาว เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์ Lacertidae หรือ สางห่า ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Takydromus ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า ταχυδρόμος (takhudromos), "วิ่งเร็ว" และ ταχύς (takhus), "เร็ว" + δρόμος (dromos), "สนามแข่ง, แข่งขัน" มีลักษณะทั่วไปมีลำตัวเรียวยาวและเพรียวผอม มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนหางที่มีความยาวมากกว่าความยาวลำตัวตั้งแต่ปลายจมูกจรดรูทวาร 2–5 เท่า สามารถปล่อยหางให้หลุดจากลำตัวได้เพื่อหลบหลีกศัตรูตามธรรมชาติ โดยตำแหน่งที่ปล่อยหางอยู่ทางด้านหน้าของก้านกระดูกทางด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนหางทุกปล้อง มีเล็บนิ้วตีนทุกเล็บยาวและงุ้มลงด้านล่าง เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางวัน โดยมักหากินตามพื้นดินหรือไม่ก็ไม้พุ่มหรือต้นไม้เตี้ย ๆ มีความรวดเร็วในการเคลื่อนไหวมาก จึงมักไม่พบเห็นตัวง่าย ๆ กระจายพันธุ์ในหลายประเทศของทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว.
สเตปป์
ทุ่งหญ้าสเตปป์ในมองโกเลีย สเตปป์ในอุซเบกิสถาน ทุ่งหญ้าสเตปป์ (Steppe) คือลักษณะทางภูมิศาสตร์ “ทุ่งหญ้าสเตปป์” เป็นบริเวณที่มีลักษณะทางสภาวะอากาศและภูมิภาคที่เป็นเอกลักษณ์ที่ประกอบด้วยที่ราบที่เป็นทุ่งหญ้ากว้างที่ไม่มีต้นไม้ นอกจากบริเวณริมแม่น้ำหรือทะเลสาบ ทุ่งหญ้าแพรรี (prairie) (โดยเฉพาะทุ่งหญ้าเตี้ยแพรรี) อาจจะถือว่าเป็นทุ่งหญ้าสเตปป์ ภูมิภาคของทุ่งหญ้าสเตปป์อาจจะเป็นพื้นที่กึ่งทะเลทราย หรือปกคลุมด้วย หญ้า หรือพุ่มไม้ หรือทั้งสองอย่างขึ้นอยู่กับฤดูและละติจูด “สเตปป์” อาจจะใช้หมายถึงสภาพภูมิอากาศที่พบในบริเวณที่แห้งจนไม่สามารถมีป่าได้ แต่ก็ไม่แห้งจนกระทั่งเป็นทะเลทราย “สเตปป์” เป็นลักษณะอากาศแบบภูมิอากาศภาคพื้นทวีป (continental climate) และภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง (semi-arid climate) อุณภูมิสูงสุดในฤูดูร้อนอาจจะสูงถึง 40 °C (104 °F) และต่ำสุดในฤดูหนาวอาจจะลดลงถึง -40 °C (-40 °F) นอกจากความแตกต่างกันมากของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวแล้ว ก็ยังมีความแตกต่างกันมากระหว่างอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืน ทางบริเวณที่สูงของมองโกเลียอุณหภูมิตอนกลางวันอาจจะสูงถึง 30 °C (86 °F) แต่กลางคืนอาจจะลดต่ำลงต่ำกว่าศูนย์ °C (sub 32 °F) ทุ่งหญ้าสเตปป์ในช่วงละติจูดตอนกลางมีลักษณะที่หน้าร้อนจะร้อนจัดและหน้าหนาวจะหนาวจัด โดยมีปริมาณฝนหรือหิมะตกเฉลี่ยราว 250-500 มิลลิเมตร (10-20 นิ้ว) ต่อปี คำว่า “steppe” มาจากภาษารัสเซียว่า “степь” ที่แปลว่า “ดินแดนที่ราบและแห้ง”.
หมากผู้หมากเมีย
หมากผู้หมากเมีย เป็นพืชในวงศ์หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagaceae) กระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงเกาะนิวกินี เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 3-4 เมตร ลำต้นกลมเป็นลำเดี่ยวหรือเป็นกอ เมื่อโตเต็มที่จะมีเนื้อไม้ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงเวียนสลับรอบต้น แผ่นใบมีหลายแบบ ทั้งใบรูปใบหอก รูปหอกกลับ รูปแถบ ปลายใบเรียวแหลมมีสีสันแตกต่างกัน ทั้งสีเขียว เขียวขอบขาว แดงเข้มหรือแดงอมน้ำตาล ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงที่ซอกใบใกล้ปลายยอด มีดอกย่อยสีขาวครีมหรือขาวอมแดงเรื่อจำนวนมาก บานตอนกลางคืนและมีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 6 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ผลกลมสีแดง เนื้อนุ่ม ภายในมีเมล็ดรูปโค้ง หมากผู้หมากเมียนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ชาวฮาวายเรียกพืชชนิดนี้ว่า "ติ" (Ti plant) ถือเป็นไม้มงคล มีสรรพคุณลดไข้ คลายกล้ามเนื้อ ลดอาการคัดจมูก รากนำมาทำเป็นขนมหรือหมักเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ ส่วนใบใช้ห่ออาหาร.
หนามแดง (พืช)
หนามแดง (Maytenus marcanii) เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Celastraceae สูงประมาณสามถึงสี่เมตร ลำต้นตรง มีหนามตามกิ่ง ลักษณะใบเป็นใบเดียว กว้างราวสองถึงสี่เซนติเมตร และยาวสี่ถึงเก้าเซนติเมตร ดอกสีขาวนวล ออกตามปลายกิ่งและซอกใบ ผลเมื่อแก่มีสีแดงเข้มถึงสีม่วง เมื่อบีบแตกจะมีสีแดงเข้มติดมือแต่สามารถล้างออกได้ ต้นหนามแดงนั้นจัดเป็นพืชสมุนไพร รากหนามแดงมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ส่วนแก่นสามารถใช้เป็นยาบำรุงร่างก.
หนุมานนั่งแท่น
หนุมานนั่งแท่น (Buddha belly plant, bottleplant shrub, ชื่อวิทยาศาสตร์: Jatropha podagrica) เป็นไม้ประดับในวงศ์ยางพารา (Euphorbiaceae) มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลาง.
อาเคเชีย
''Acacia drepanolobium'' ''Acacia sp.'' อาเคเชีย (Acacia) เป็นไม้สกุลของไม้พุ่มหรือไม้ต้นที่อยู่ในวงศ์ย่อย Mimosoideae ของวงศ์ถั่ว บันทึกเป็นครั้งแรกในแอฟริกาโดยนักชีววิทยาชาวสวีเดนคาโรลัส ลินเนียส ในปี..
อินถวาน้อย
อินถวาน้อย เป็นพืชในสกุลพุดน้ำ (Kailarsenia) เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศไทย ลักษณะเป็นไม้พุ่มสูงได้ถึง 2 เมตร แตกกิ่งก้านหนาแน่น มีขนสั้น ๆ ตามส่วนต่าง ๆ ใบเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 3-4 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบเรียว ก้านใบยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ดอกรูประฆังออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกสั้นมาก มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยงอย่างละ 5 กลีบ ฐานรองดอกมี 5 สัน หลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.3 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ 5 อัน อับเรณูรูปแถบ ก้านเกสรเพศเมียรูปกระบอง ผลสดรูปรี มีสันตามยาว 5 สัน ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก.
ผักหวานบ้าน
ผักหวานบ้าน ภาษากะเหรี่ยงเรียก ตาเชอเด๊าะ เป็นผักพื้นเมืองที่เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง แตกกิ่งโน้มลงด้านล่าง ใบเดี่ยว ก้านใบสั้น ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ก้านดอกห้อยลง ดอกแยกเพศ กลีบรวมอวบน้ำ ใบผักหวานบ้านนั้นมีส่วนที่คล้ายใบมะยม แต่ว่าแตกต่างจากใบมะยมตรงที่ผักหวานบ้านจะมีนวลสีขาว ๆ บนหน้าใบ ผักหวานบ้านเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก นอกจากนั้น สารสกัดด้วยเอทานอลยังมีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที สามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้ ชาวกะเหรี่ยงนำยอดอ่อนและใบอ่อนลวกหรือต้ม รับประทานกับน้ำพริก หรือใส่ในแกงปลาแห้ง.
จันผา
ันผา หรือ จันทร์ผา เป็นไม้ประดับที่มีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย อยู่แถบตามป่าเขา มีความสูงประมาณ 5 - 7 ฟุต ลำต้นมีความแข็งแรงมาก จะมีการแตกใบตรงบริเวณยอด ใบมีสีเขียวเข้ม ลักษณะเป็นรูปหอก ขนาดใบเรียวและยาว ปลายใบจะมีรูปแบบแหลมใบยาวประมาณ 45-50 cm และมีความกว้างที่ประมาณ 4-5 cm ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกประดับไว้ที่สนามหญ้าและใช้ตกแต่งร่วมกับสวนหินจันทร์ผานั้นมีหลายชื่อ บ้างก็เรียกว่า "จันทร์แดง" หรือ "ลักจั่น" ชอบขึ้นบริเวณหน้าผ.
จั๋งญี่ปุ่น
ั๋งญี่ปุ่น (lady palm หรือ Bamboo palm) เป็นไม้พุ่มสูง 10-15 ฟุต ลำต้นมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2 นิ้ว มีการแตกหน่อ มองดูเป็นกอเหมือนกอไผ่ ลำต้นแข็งเหนียว คล้ายหวาย มีแผ่นใบหยาบ ๆ สีน้ำตาลเข้มคลุมบาง ๆ ใบเป็นใบประกอบ รูปฝ่ามือ มีใบย่อย 8-10 ใบ สีเขียวเป็นมัน แผ่เป็นครึ่งวงกลม ก้านใบเรียบเป็นมัน ปลายใบทู่ ดอกช่อ ออกตามซอกใบบริเวณปลายยอด แยกเป็นช่อดอกตัวผู้และช่อดอกตัวเมีย แยกคนละต้น ผลขนาดเล็กกลม สีเขียวอ่อนอมเหลือง เมล็ดมี 1 เมล็ดใน 1 ผล การขยายพันธุ์เพาะเมล็ด แยกหน่อ ใช้จัดสวนหย่อม หรือปลูกเป็นกอเดี่ยวตามมุมอาคารที่ไม่มีชายคา ปลูกเป็นไม้ประธานในการจัดสวน ใช้ประดับอาคารหรือที่ได้รับแสงรำไร.
จำปีแขก
ำปีแขก หรือ จำปาแขก (Banana Shrub, Port Wine Magnolia, Dwarf Chempaka) เป็นไม้พุ่มที่มีขนสีน้ำตาลอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะตามกิ่งก้าน และดอกตูมออกออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ มีขนคลุมทางด้านนอก กลีบดอก 2 วง วงละ 3 กลีบ สีขาวนวล กลีบหนาแข็ง ยาว 2 - 3 ซม.
จิงโจ้แดง
งโจ้แดง (Red kangaroo) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง (Marsupialia) ชนิดหนึ่ง จำพวกจิงโจ้.
ทอมสันส์กาเซลล์
ทอมสันส์กาเซลล์ (Thomson’s gazelle) เป็นกาเซลล์ชนิดหนึ่งในวงศ์ Antilopinae ในวงศ์ใหญ่ Bovidae โดยได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่โจเซฟ ทอมสัน นักสำรวจชาวสกอต ทอมสันส์กาเซลล์จัดเป็นแอนทิโลปขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร หางยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีความสูงจากพื้นถึงไหล่ประมาณ 70 เซนติเมตร ขนเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองมีแถบสีดำพาดอยู่ทั้งสองข้างของลำตัว ขนที่บริเวณท้องเป็นสีขาว หางมีสีดำ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่เขาของตัวเมียจะเล็กและสั้นกว่าตัวผู้ น้ำหนักเต็มที่อยู่ที่ประมาณ 20-40 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในบริเวณภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกา เช่น เคนยา, แทนซาเนีย มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นฝูงขนาดใหญ่ตามทุ่งหญ้าที่หญ้าไม่สูงมากนักหรืออยู่ตามทุ่งโล่งที่มีพุ่มไม้ขึ้นกระจัดกระจาย เป็นสัตว์ที่ปราดเปรียวโดยสามารถวิ่งได้เร็วถึง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อแรกเกิด ลูกทอมสันส์กาเซลล์จะหมอบซ่อนตัวอยู่ในพงหญ้า โดยแม่จะแวะมาให้นมเป็นระยะ ประมาณ 5-6 วัน จนกว่าจะแข็งแรงพอที่จะวิ่งตามฝูงได้ และจะเริ่มผสมพันธุ์เมื่ออายุได้ประมาณ 8-9 เดือน มีระยะตั้งท้องนาน 5.5-6 เดือน ออกลูกได้ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ตัว ทอมสันส์กาเซลล์มีนิสัยการกินแบบเดียวกับสัตว์ในวงศ์ Bovinae มากกว่าการกินใบไม้พุ่มแบบสัตว์ในวงศ์ Caprinae มีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารหยาบเป็นเนื้อสูง ในธรรมชาติ ทอมสันส์กาเซลล์จะตกเป็นเหยื่อของสัตว์กินเนื้ออยู่เสมอ ๆ เช่น สิงโต, เสือดาว, เสือชีตาห์ หรือไฮยีนา เป็นต้น ในประเทศไทย ทอมสันส์กาเซลล์กำลังจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ จากการสนับสนุนโดยกรมปศุสัตว์ให้เกษตรกรได้เลี้ยง.
ทันดรา
ทันดราในกรีนแลนด์ ในทางภูมิศาสตร์กายภาพ ทันดรา หรือ ทุนดรา (tundra) เป็นชีวนิเวศชนิดหนึ่งที่การเติบโตของไม้ต้นถูกจำกัดด้วยอุณหภูมิต่ำและฤดูกาลเติบโตสั้น มีทันดราอยู่สามชนิด ทันดราอาร์กติก ทันดราแบบแอลป์ และทันดราแอนตาร์กติก ในทุนดรา พืชพรรณประกอบด้วยไม้พุ่มแคระ กก มอสและไลเคน มีไม้ต้นเติบโตประปรายในบริเวณทันดราบางแห่ง เขตรอยต่อระหว่างทันดราและป่าเรียก ระดับปลอดไม้ต้น (tree line หรือ timberline).
ขลู่
ลู่ (ชื่อสามัญ:Indian Marsh Fleabane ชื่อวิทยาศาสตร์:Pluchea indica (L.) Less.) เป็นพืชที่พบมากในประเทศเขตร้อน เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย จีนและฟิลิปินส์ เป็นต้น ชอบขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะ ขยายพันธุ์โดยการปักชำ เป็นพืชที่ปลูกค่อนข้างง่าย ขึ้นได้ในดินแทบจะทุกชนิด ขลู่มีชื่อพื้นบ้านว่า หนาดวัว หนาดงิ้ว หนวดวัวหรือหนวดงิ้ว(อุดรธานี) ขลู คลู(ภาคใต้) เพี้ยฟาน(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ขี้ป้าน(แม่ฮ่องสอน).
ขี้ครอก
ี้ครอก (Caesar weed, Hibiscus burr, Jute africain) ชื่ออื่นๆของขี้ครอก คือ ขมดง ชบาป่า บอเทอ ปะเทาะ ปอเส้ง ปูลุ เส้ง หญ้าผมยุ้ง หญ้าอียู หญ้าหัวยุ่ง นางนวล จัดอยู่ในวงศ์ Malvaceae ขี้ครอกเป็นพืชมีพิษ หนามมีขนทำให้ระคายเคือง ทุกส่วนของลำต้นถ้ารับประทานเป็นพิษต่อหัวใจทำให้หมดความรู้สึก ขี้ครอกเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 - 2 เมตร เปลือกเหนียว ลำต้นสีเขียวแกมเทา มีขนรูปดาวปกคลุมตลอดลำต้น ยอดอ่อน ใบและก้านใบ ใบ เป็นใบเดี่ยวมีการเกาะติดของใบบนต้นเรียงตัวแบบสลับ ใบรูปไข่ ปลายใบเว้าเป็น 3 พู ปลายแต่ละพูมนหรือแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย แผ่นใบเป็นคลื่นมีขนสากมือ มีหูใบ 1 คู่ รูปรี ดอกเดี่ยว เกิดที่ซอกใบ สีชมพูแกมม่วง กลีบดอกรูปไข่กลับ 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบประดับ 5 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมากสีชมพูม่วง ก้านชูสีขาวนวลรวมกันเป็นหลอดหุ้มเกสรเพศเมียไว้ ปลายเกสรแยกเป็น 10 ก้านสั้นๆ ส่วนปลายเป็นตุ่ม ผล ทรงกลมแป้นแบ่งเป็น 5 พู ผิวผลมีหนามแข็งสั้นและมีน้ำเหนียวติด เมล็ด รูปไตสีน้ำตาล มีพูละ 1 เมล็.
ข้าวตอกพระร่วง (พืช)
้าวตอกพระร่วง (Chinese privet) เป็นพืชในวงศ์มะลิ (Oleaceae) มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน เป็นไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมรูปรี ยาว 2-7 เซนติเมตร ปลายใบมน ก้านใบสั้น ชนิดที่เป็นพันธุ์ด่างจะมีขอบใบสีขาว กลางใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวอ่อน ดอกขนาดเล็กสีขาว มีกลิ่นหอม ผลกลมถึงรูปไข่ เมื่อสุกมีสีม่วงดำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับหรือบอนไซ ใบและผลของข้าวตอกพระร่วงมีพิษ และละอองเกสรอาจก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้ พื้นที่หลายแห่งทั่วโลกจัดพืชชนิดนี้เป็นพืชรุกราน.
ดู ไม้พุ่มและข้าวตอกพระร่วง (พืช)
ครามป่า
รามป่า เป็นพืชในวงศ์ถั่ว เป็นไม้พุ่มมีขนปกคลุมตามลำต้นและกิ่งก้าน มีใบประกอบ มีดอกเป็นช่อ กลีบดอกสีม่วงอ่อน ผลเป็นฝักทรงกระบอก มีเมล็ด 8-10 เมล็ด ขนเมื่อถูกร่างกายทำให้เป็นผื่นแดง.
คะน้าเม็กซิโก
ตามัลที่ผสมใบคะน้าเม็กซิโก จากรัฐตาบัสโก คะน้าเม็กซิโก, ผักโขมต้น หรือ ชายา (chaya) เป็นไม้พุ่มหลายปีชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์เดียวกับยางพาราและสบู่ดำ เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรยูกาตันของประเทศเม็กซิโก มีลำต้นอวบน้ำซึ่งจะคายน้ำยางขาวออกมาเมื่อถูกตัด ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ โตเร็ว สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร แต่มักถูกลิดกิ่งก้านออกให้สูงประมาณ 2 เมตรเพื่อให้เด็ดใบมาใช้ประโยชน์ง่ายขึ้น ใบกว้าง มีแฉกตั้งแต่ 3 แฉกขึ้นไป คะน้าเม็กซิโกเป็นผักกินใบยอดนิยมชนิดหนึ่งในตำรับอาหารเม็กซิโก กัวเตมาลา และอเมริกากลาง (บริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากตำรับอาหารมายา) คะน้าเม็กซิโกเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน, วิตามิน, แคลเซียม, โพแทสเซียม และเหล็ก และยังเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ของสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จริงแล้ว ใบคะน้าเม็กซิโกยังมีระดับสารอาหารสูงกว่าผักใบเขียวชนิดใด ๆ ที่ปลูกบนดินถึง 2-3 เท่าอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ใบคะน้าเม็กซิโกดิบนั้นมีพิษเนื่องจากมีสารกลูโคไซด์ซึ่งจะปลดปล่อยสารพิษจำพวกไซยาไนด์ออกมา จึงจำเป็นต้องทำให้สุกก่อนรับประทาน โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาทีในการทำให้สุกเพื่อลดฤทธิ์ของสารที่เป็นพิษให้อยู่ในระดับปลอดภัย การต้มในภาชนะอะลูมิเนียมอาจทำให้น้ำต้มเป็นพิษและก่อให้เกิดอาการท้องร่วงได้ คะน้าเม็กซิโกสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง วิธีปรุงดั้งเดิมอย่างหนึ่งในเม็กซิโกและอเมริกากลางจะนำใบไปแช่น้ำแล้วต้มไฟอ่อนประมาณ 20 นาที จากนั้นเสิร์ฟกับน้ำมันหรือเนย นอกจากนี้ยังมีการนำใบที่หั่นและทำให้สุกแล้วไปคลุกข้าวรับประทานกับอาหารรสจัด, นวดผสมกับมันฝรั่งบดแล้วทอด, นวดผสมกับแป้งข้าวโพดแล้วจี่เป็นตอร์ตียาหรือนึ่งเป็นตามัล, ผสมกับมะเขือเทศ หัวหอม ผักชี และพริกหั่นลูกเต๋าทำเป็นเครื่องจิ้ม หรือนำใบอ่อนและยอดอ่อนที่หนานุ่มไปต้มแล้วปรุงรับประทานอย่างผักโขม เป็นต้น.
คุย (พืช)
() เป็นพืชในวงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae) มีถิ่นกำเนิดในอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
คนทีสอ
นทีสอ เป็นสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์ต่างๆ มากมาย สมุนไพรชนิดนี้มีชื่อเรียกตามตำรายาไทย ภาคเหนือเรียก คนทีสอขาว จังหวัดเชียงใหม่เรียก ผีเสื้อน้อย ดอกสมุทร จังหวัดสตูลเรียก คุนตีสอ ภาคกลางเรียก ดินสอ จังหวัดเลยเรียก ผีเสื้อ จังหวัดตากเรียก มุดเพิ่ง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียก ลีสอ.
ปอบิด
ปอบิด (East Indian screw tree) มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามพื้นที่ปลูก มะบิด (ภาคเหนือ) ปอทับ (เชียงใหม่) ช้อ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ข้าวจี่ (ลาว) ห้วยเลาะมั่ว (จีนแต้จิ๋ว) หั่วลั่งหมา (จีนกลาง) นาคพต มะปิด ในตำรายาไทยสามารถใช้เป็นพืชสมุนไพรสำหรับรักษาโรคได้หลายชน.
ปัตตาเวีย (พืช)
ปัตตาเวีย (Peregrina, Spicy Jatropha) เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae เป็นไม้พุ่ม ทรงพุ่มค่อนข้างสูงโปร่ง เปลือกสีเปลือกต้นสีน้ำตาลเทา กิ่งอ่อนสีน้ำตาลแดง มีจุดหายใจสีน้ำตาลประทั่วไปที่ลำต้นและกิ่ง แตกกิ่งก้านมากและมักโค้งลงสู่พื้นดิน การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเวียน ก้านใบยาว ใบเดี่ยวทรงรีถึงรีแกมไข่กลับ ปลายใบแหลมเรียวยาวคล้ายหาง โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ผิวใบด้านล่างสีเขียวอมแดง ปลายใบโค้งมนมีติ่งหาง โคนใบสอบเรียวมีหนามอ่อนเกาะติดอยู่ประมาณ 4-6 อัน ดอกสีแดง ชมพู ชมพูม่วง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกออกเป็นช่อที่บริเวณปลายกิ่ง ก้านช่อยาว ดอกทยอยบาน ผลรูปไข่ มีสามพู เมื่อสุกสีแดงสด เมื่อแก่แห้งแล้วแตกดีดเมล็ดออกจากผล เมล็ดขนาดเล็กสีน้ำตาล ปัตตาเวียแดง ปัตตาเวียเป็นพืชมีพิษ ยางเมื่อถูกผิวหนังทำให้บวมแดง เป็นแผลพุพอง เข้าตาทำให้ตาบอด ผลถ้ารับประทานเข้าไปทำให้อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด นิยมใช้เป็นไม้ประดับในพื้นที่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน หรือได้รับแสงเต็มที่ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง และการเพาะเมล็.
ป่านศรนารายณ์
ป่านศรนารายณ์ (Caribbean agave) เป็นพืชในสกุลอะกาเว (Agave) มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลาง เป็นไม้พุ่มอายุหลายปี ลำเดี่ยวสั้น ใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปแถบ อวบน้ำ เป็นกระจุกที่โคนต้น ช่อดอกออกที่ปลายยอดแบบช่อแยกแขนง ก้านช่อดอกยาว 4-6 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 15-20 ซม.
นกกะปูด
นกกะปูด (Coucals, Crow pheasants) เป็นนกสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Centropodinae ในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) โดยใช้ชื่อสกุลว่า Centropus แต่มิใช่นกปรสิตเหมือนนกชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน โดยเป็นนกเพียงวงศ์เดียวและสกุลเดียว นกกะปูด จัดเป็นนกขนาดกลาง มีลำตัวเพรียวยาว ลักษณะคล้ายกา มีความยาวประมาณ 35.50 เซนติเมตร ปากสีดำแหลมสั้นหนาแข็งแรง ตาสีแดง หัวและคอ และลำตัวสีดำ ปีกสั้นสีน้ำตาลแดง ขายาวสีดำ นิ้วตีนและเล็บยาวแข็งแรง สามารถจับเหยื่อ เกาะยึดเหนียวไต่แทรกไปตามพงหญ้า, ต้นไม้ หรือ พุ่มไม้หนาทึบได้อย่างคล่องแคล่ว หางยาวประมาณ 15–25 เซนติเมตร หนังหนาเหนียวสีดำ นกกะปูด ได้ชื่อมาจากเสียงร้อง "ปูด ๆ ๆ ๆ ๆ" อันเป็นเอกลักษณ์ มักอาศัยอยู่ในพุ่มไม้ใกล้ชายน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ มีพฤติกรรมออกกินในตอนเช้าและตอนเย็น เมื่อตกใจแทนที่จะบินหนีเหมือนนกชนิดอื่น แต่กลับวิ่งหัวซุกหัวซุนเข้าซ่อนเร้นอยู่ในพุ่มไม้รกใกล้ ๆ บริเวณนั้น เมื่อจวนตัวจึงบินหนี นกกะปูดกินอาหารได้แก่ กบ, เขียด, หนู, อึ่งอ่าง, ปู, กุ้ง, หอย และปลา โดยหากินตามท้องนาหรือชายน้ำ แต่อาหารที่ชอบที่สุด คือ งู ทำรังอยู่ตามพงหญ้ารกตามริมน้ำ เช่น อ้อ หรือแขม วางไข่ครั้งหนึ่งราว 2 ถึง 6 ฟอง ตัวผู้กับตัวเมียจะผลัดเปลี่ยนกันฟักไข่ นกกะปูด กระจายพันธุ์ในเขตร้อนทั่วไปทั้งทวีปเอเชียและแอฟริกา แบ่งออกเป็น 30 ชนิด ได้แก.
นกกีวีสีน้ำตาล
นกกีวีสีน้ำตาล หรือ นกกีวีสีน้ำตาลใต้ หรือ นกกีวีธรรมดา (Brown kiwi, Southern brown kiwi, Common kiwi) เป็นนกกีวีชนิดหนึ่ง จัดเป็นนกกีวีชนิดที่รู้จักกันมากที่สุด มีรูปร่างลักษณะทั่วไปเหมือนกับนกกีวีสีน้ำตาลเกาะเหนือ (A.
นกแต้วแร้วป่าโกงกาง
นกแต้วแร้วป่าโกงกาง หรือ นกแต้วแร้วป่าชายเลน (Mangrove pitta) เป็นนกแต้วแร้วชนิดหนึ่ง เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของนกแต้วแร้วธรรมดา (P.
ดู ไม้พุ่มและนกแต้วแร้วป่าโกงกาง
นกเลขานุการ
ำหรับ Sagittarius ความหมายอื่น ดูที่: ราศีธนู และกลุ่มดาวคนยิงธนู นกเลขานุการ หรือ นกเลขานุการินี (Secretarybird, Secretary bird) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดและแพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา จัดอยู่ในอันดับ Accipitriformes อันเป็นอันดับเดียวกับอินทรี, เหยี่ยว และแร้ง และจัดเป็นเพียงชนิดเดียวและสกุลเดียว ในวงศ์ Sagittariidae เท่านั้น นกเลขานุการเป็นนกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีน้ำหนักประมาณ 4 กิโลกรัม และมีความสูงกว่า 1 เมตร (ประมาณ 1.2-1.3 เมตร) เมื่อสยายปีกกว้างได้ถึง 2 เมตร ซึ่งชื่อ "นกเลขานุการ" แปลตรงตัวมาจากภาษาอังกฤษ คือ "Secretary bird" ซึ่งชื่อนี้ได้ดัดแปลงมาจากภาษาอาหรับคำว่า "saqr-et-tair" ซึ่งมีความหมายว่า "นกนักล่า" และต่อมาได้เพี้ยนจนกลายเป็น "Secretary" อย่างในปัจจุบัน แต่บางข้อมูลก็ระบุว่ามาจากขนหลังหัวที่เป็นซี่ ๆ ชี้ตั้งขึ้นเห็นได้ชัดเจน ซึ่งเหมือนขนนกที่ชาวตะวันตกในศตวรรษก่อนใช้ทัดหูและใช้แทนปากกา นกเลขานุการ มีลักษณะทั่วไปคล้ายอินทรี แต่มีส่วนขาที่ยาวมาก เป็นนกที่วิ่งและหากินตามพื้นดิน โดยไม่ค่อยบิน มีพฤติกรรมมักหากินอยู่เป็นคู่ตามทุ่งหญ้าและพุ่มไม้ต่าง ๆ โดย อาหาร คือ แมลงขนาดใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั๊กแตน, หนูชนิดต่าง ๆ นกที่ทำรังบนพื้นดินรวมทั้งไข่นก และสัตว์เลื้อยคลาน และมีรายงานว่าสามารถล้มสัตว์ขนาดใหญ่ อย่างแอนทิโลปขนาดเล็กหรือที่เป็นลูกอ่อนได้ด้วย ทั้งนี้ นกเลขานุการจะสร้างรังขนาดใหญ่บนต้นไม้ พบแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของทะเลทรายสะฮาราลงไป ซึ่งปัจจุบันจะพบได้ตามเขตอนุรักษ์และอุทยานแห่งชาติต่าง.
นางแย้ม
นางแย้ม เป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อน พบทั่วไปตามป่าของประเทศไท.
น้อยโหน่ง
น้อยโหน่ง (อังกฤษ: Custard-apple, Bullock's-heart) ผลไม้ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Annona reticulata อยู่ในวงศ์กระดังงา สกุลเดียวกับ น้อยหน่า (A.
แพรรี
แพรรี อุทยานแห่งชาติแบดแลนด์ รัฐเซาท์ดาโคตา สหรัฐ เป็นบริเวณทุ่งหญ้าผสมซึ่งมีหญ้าสูงบ้างและหญ้าเตี้ยบ้าง แพรรี (prairie) เป็นระบบนิเวศที่นักนิเวศวิทยาถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวนิเวศทุ่งหญ้า สะวันนา และป่าละเมาะเขตอบอุ่น โดยยึดภูมิอากาศเขตอบอุ่น ปริมาณฝนตกปานกลาง และประกอบด้วยหญ้า ไม้ล้มลุก และไม้พุ่มเป็นพืชพรรณชนิดหลัก ไม่ใช่ไม้ต้น บริเวณทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นรวมทั้งปัมปัสในอาร์เจนตินา บราซิลทางใต้ และอุรุกวัย ตลอดจนสเตปป์ของยูเรเชีย บริเวณที่เรียก "แพรรี" มักอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ คำนี้ครอบคลุมบริเวณที่เรียกที่ลุ่มในแผ่นดิน (Interior Lowlands) ของแคนาดา สหรัฐ และเม็กซิโก ซึ่งรวมเกรตเพลนส์ทั้งหมด ตลอดจนดินแดนที่ชื้นกว่าและมีเขามากกว่าทางทิศตะวันออก ในสหรัฐ บริเวณที่ประกอบเป็นรัฐนอร์ทดาโคตา เซาท์ดาโคตา เนบรัสกา แคนซัส และโอกลาโฮมาส่วนใหญ่หรือทั้งหมด และบริเวณกว้างของรัฐมอนแทนา ไวโอมิง โคโลราโด นิวเม็กซิโก เท็กซัส มิสซูรี ไอโอวา อิลลินอยส์ อินดีแอนา วิสคอนซิน และมินนิโซตาทางตะวันตกและใต้ หุบเขากลาง (Central Valley) รัฐแคลิฟอร์เนียก็เป็นแพรรีเหมือนกัน แพรรีแคนาดากินพื้นที่กว้างขวางของรัฐแมนิโทบา ซัสแคตเชวัน และแอลเบอร์ตา.
แมสติก
งแมสติก ต้นพิสตาชีโอป่า (''Pistacia lentiscus'') แมสติก (mastic) หรือ มาตะกี่ เป็นยางไม้ที่ได้จากต้นพิสตาชีโอป่า ซึ่งเป็นไม้พุ่มถึงยืนต้นขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนกคู่รูปไข่ เรียงสลับกัน ดอกออกตรงซอกใบ เป็นช่อสีแดง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ต่างต้นกัน ผลรูปไข่กลับ มีเนื้อ ข้างในมีเมล็ดเดียว เมื่อสุกสีแดงปนส้ม พบมากในแถบบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อลำต้นของพืชชนิดนี้แตกออกจะมียางไหลออกมา เมื่อแห้งจะมีสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองอมเขียว โปร่งใสมันวาว และเปร.
แย้เส้น
แย้เส้น หรือ แย้ธรรมดา (Common butterfly lizard) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกแย้ (Leiolepidinae) มีลำตัวแบนราบ ไม่มีหนามสันหลัง ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเขียว บนหลังมีจุดสีเทาเหลืองเรียงชิดต่อกัน ตั้งแต่บริเวณโคนหางตามแนวความยาวของลำตัวไปที่บริเวณท้ายทอย บนหลังมีจุดเล็ก ๆ เรียงห่างกันระหว่างเส้น โคนหางแบนและแผ่แบนออกข้าง ตัวผู้มีเขี้ยวขนาดเล็ก ส่วนตัวเมียไม่มีเขี้ยว ตัวผู้มีสีสันและลวดลายสวยกว่าตัวเมีย ลำตัวยาวประมาณ 11.5 เซนติเมตร ส่วนหางยาว 23.8 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตามพื้นดินที่เป็นที่ดอนแห้ง ไม่มีน้ำท่วมขัง หรือมีไม้พุ่มเตี้ย ๆ หรือหญ้าขึ้นแซม หรือป่าโปร่ง ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ยกเว้นสิงคโปร์ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค รวมถึงพบบนเกาะต่าง ๆ ด้วย เช่น เกาะกลางในพื้นที่เทศบาลเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ โดยจะขุดรูลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร เรียกว่า "แปว" อาศัยอยู่ จัดแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่วิ่งได้เร็วมาก โดยจะอาศัยอยู่ในรูไม่โผล่หน้ามาให้เห็น พฤติกรรมในการเข้าออกรูสามารถนำไปพยากรณ์การตกของฝนได้ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น เพราะเป็นสัตว์ที่จะอาศัยอยู่ในที่แห้ง จึงไวต่อสภาพอากาศ ออกหากินเวลากลางวันที่มีอากาศแจ่มใสแดดไม่จัด ในช่วงแดดจัดจะพักผ่อนอยู่ในรู อาหารหลัก ได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ อาศัยอยู่รูละตัวอาจจะอยู่ใกล้ ๆ กัน มีการผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนจนถึงฤดูฝน และวางไข่หมกดินครั้งละ 6-8 ฟอง ไข่มีลักษณะยาวรี สีขาว เปลือกเหนียวนิ่ม และเริ่มวางไข่ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อนประมาณ 5-6 วัน ลูกวัยอ่อนต้องพึงพาอาศัยแม่ในการเลี้ยงดู แย้เส้น หรือแย้ธรรมดา เป็นแย้ชนิดที่พบได้ทั่วไปและเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เป็นสัตว์ที่มีการบริโภคกันในท้องถิ่นในบางพื้นที่ เช่น ภาคอีสาน โดยนำไปปรุง เช่น ย่าง หรือผัดเผ็.
ใบเงินใบทอง
ใบเงินใบทอง (caricature plant, gold leaves) เป็นพืชในวงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae) นิยมปลูกเป็นไม้ประดับและไม้มงคล.
ไม้ล้มลุก
อกเวอโรนิคา ลองกิโฟเลีย (Veronica longifolia) ซึ่งเป็นพืชโตชั่วฤดูชนิดหนึ่ง ไม้ล้มลุก (Herbaceous plant ในภาษาพฤกษศาสตร์เรียกสั้นๆ ว่า “Herb”) เป็นพืชที่ใบและก้านตายราบลงไปถึงดินเมื่อสิ้นฤดูการปลูก พืชโตชั่วฤดูอาจจะเป็นพืชปีเดียว, พืชสองปี หรือไม้ล้มลุกหลายปีก็ได้ พืชโตชั่วฤดูที่เป็นพืชปีเดียวจะตายโดยไม่ฟื้นเมื่อสิ้นฤดูการปลูก หรือเมื่อออกดอกและผลแล้วก็จะปลูกจากเมล็ดได้อีกในฤดูการปลูกของปีต่อมา ไม้ล้มลุกหลายปีและพืชสองปีจะมีก้านที่ตายราบลงเมื่อสิ้นฤดูการปลูกแต่บางส่วนที่ติดดินของยังคงมีเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ต่อไปในฤดูที่จะมาถึง (ในกรณีพืชสองปีก็จะมีชีวิตอยู่จนถึงฤดูการปลูกในปีต่อมาก่อนที่จะออกดอกและตาย) ส่วนที่จะโตขึ้นใหม่ในฤดูการปลูกในปีถัดมาจะก่อตัวขึ้นบนดินหรือใต้ดินที่รวมทั้วราก หัว ไรโซม หรือ หน่อ หรือกิ่งใต้ดินแบบต่างๆ ตัวอย่างของพืชโตชั่วฤดูที่เป็นพืชสองปีก็ได้แก่แครอท และ พาร์สนิพ ไม้ล้มลุกหลายปีก็ได้แก่โบตั๋น, ฮอสตา, สะระแหน่ และ เฟิร์นเกือบทุกชนิด ในทางตรงกันข้ามพืชที่ไม่ใช่ไม้ล้มลุกหลายปีจะเป็นไม้แข็ง (woody plant) ที่มีกิ่งเหนือดินที่ยังมีชีวิตอยู่ระหว่างช่วงที่หยุดเจริญเติบโต และแตกหน่อในฤดูการปลูกในปีต่อมาจากกิ่งที่อยู่เหนือดินซึ่งรวมทั้งต้นไม้ ไม้พุ่ม และ ไม้เถา ลักษณะการเติบโตเช่นที่กล่าวนี้เกิดขึ้นในบริเวณภูมิภาคที่อากาศเย็นและมีสี่ฤดูที่ฤดูการปลูกจะอยู่ในช่วงระหว่างฤดูใบไม้ผลิจนถึงฤดูร้อน.
ไผ่กวนอิม
ผ่กวนอิม (Ribbon dracaena, Lucky bamboo, Belgian evergreen, Ribbon plant) เป็นไม้ประดับประเภทไม้พุ่มที่ได้รับความนิยมในการปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรก ไผ่กวนอิม มีถิ่นกำเนิดในป่าดิบชื้นของประเทศแคเมอรูนและคองโก มีลักษณะลำต้นขนาดเล็ก เนื้อไม้อ่อน ลำต้นตรงเล็ก เป็นข้อ ๆ สีเขียว ไม่มีกิ่งก้านสาขา มีการเจริญเติบโตจากการยืดตัวของข้อใบ เป็นใบเดี่ยวแตกออกจากส่วนยอดของลำต้น มีกาบใบห่อหุ้มลำต้นสลับกันเป็นชั้น ๆ ตามข้อของลำต้น ส่วนใบแคบเรียวยาวปลายใบแหลม โคนใบสอบลงมาถึงกาบใบ ใบมีสีเขียวและสีขาวพาดยาวตามใบ ใบค่อนข้างป้อม ปลายแหลม ก้านยาวโคนใบเป็นกาบใบหุ้มรอบลำ โตเต็มที่สูงได้ถึง 1.5 เมตร ขนาดกว้างของใบ 2–3 เซนติเมตร ยาว 6–8 เซนติเมตร ไผ่กวนอิม เป็นที่นิยมในการเลี้ยงปลูก รวมถึงบูชาพระหรือเจ้าที่ โดยมีความเชื่อในเรื่องโชคลาภว่า จะนำพาในเรื่องความมั่งคั่ง โดยเป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถปลูกเลี้ยงในกระถางดินเผา หรือแม้แต่จะนำต้นไปแช่น้ำในแจกันก็ได้ นอกจากนี้ ไผ่กวนอิมนั้นยังสามารถช่วยบำบัดสารเคมีในกลุ่ม BTEX ได้ ตัวอย่างเช่น ไผ่กวนอิมสามารถลดความเป็นพิษของเบนซีนได้.
เกาะแคโรไลน์
กาะแคโรไลน์ (Caroline Island) หรือ แคโรไลน์อะทอลล์ (Caroline Atoll) บ้างเรียก เกาะมิลเลนเนียม (Millennium Island) และ เกาะเบสซีซา (Beccisa Island) เป็นเกาะปะการังวงแหวนไร้คนอาศัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะไลน์ใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง ชาวยุโรปพบเกาะนี้ครั้งแรกเมื่อประมาณ..
เมเปิล
มเปิล หรือ ก่วมลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้ ดร.ก่องการดา ชยามฤต กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (Acer มาจากภาษาละตินแปลว่า: แหลม,คม หมายถึงปลายแหลมของใบ) คือสกุลของต้นไม้หรือพุ่มไม้ ซึ่งแบ่งได้หลายประเภทในวงศ์เดียวกัน มีประมาณ 125 สปีชีส์ ส่วนมากเป็นพืชในแถบเอเชีย แต่ก็มีบ้างในแถบยุโรป,ตอนเหนือของทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกาเหนือ มันถูกจัดเข้าสู่สกุลครั้งแรกโดย โจเชฟ ปีตตอง เดอ ตัวเนฟอร์ต (Joseph Pitton de Tournefort) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี..
เรือนส้ม
รือนส้ม (Orangery) คือสิ่งก่อสร้างที่มักจะพบภายในบริเวณเนื้อที่ของคฤหาสน์หรือวังใหญ่โตของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 19 ที่เป็นการเสริมสร้างให้สิ่งก่อสร้างทั้งหมดมีลักษณะเป็นแบบคลาสสิก เรือนส้มมีลักษณะคล้ายกับเรือนกระจก หรือ เรือนคอนเซอเวอทรี (Conservatory) ชื่อของสิ่งก่อสร้างสะท้อนถึงที่มาที่เดิมเป็นสิ่งก่อสร้างใช้เป็นเรือนสำหรับปลูกพืชตระกูลส้ม ที่มักจะปลูกในกระถางที่จะเลื่อนเข้ามาเก็บไว้ในเรือนในช่วงฤดูหนาวเพื่อให้รอดจากความหนาวเย็นและการแข็งตัวจากภาวะอากาศภายนอก และก็มิได้หวังที่จะได้ดอกหรือผล เรือนส้มเป็นเรือนที่ช่วยยืดการมีพรรณไม้นอกฤดูของเวลาที่ปกติแล้วภายนอกจะมีก็แต่ต้นไม้ที่ปราศจากใบ เพราะไม้ภายในเรือนจะได้รับการปกป้องจากภาวะอากาศและยังคงมีความอบอุ่นที่ได้รับจากกำแพงที่ทำด้วยอิฐที่อมความร้อน ร้อยปีหลังจากที่มีการปลูกต้นส้ม และ มะนาว ก็เริ่มมีการปลูกพันธุ์ไม้ชนิดอื่นที่ไม่สามารถทนอากาศในฤดูหนาวภายนอกได้ที่รวมทั้งไม้พุ่ม และ ไม้ต่างแดน (Exotic plants) กันในเรือนส้ม ที่มีการใช้เตาทำความร้อนเพื่อสร้างความอบอุ่นภายในเรือนระหว่างฤดูหนาวที่มีอากาศเยือกเย็นทางตอนเหนือของยุโรป เรือนส้มเริ่มขึ้นในสมัยการสร้างสวนเรอเนสซองซ์ในอิตาลี เมื่อเทคนิคการทำกระจกมีความก้าวหน้าขึ้นจนสามารถที่จะสร้างกระจกที่มีขนาดใหญ่และใสขึ้นกว่าเดิมได้ ทางตอนเหนือของยุโรปเนเธอร์แลนด์เป็นผู้นำในการวิวัฒนาการการสร้างกระจกขนาดใหญ่สำหรับสร้างหน้าต่าง/ผนังเรือนส้ม ภาพพิมพ์เรือนส้มในคู่มือของดัตช์แสดงภาพเรือนส้มที่มีหลังคาทึบทั้งแบบคานและโค้ง และจะมีเตาสำหรับทำความร้อน แทนที่จะเป็นการก่อกองไฟ ไม่นานนักเรือนส้มก็กลายเป็นสัญลักษณ์แสดงฐานะในบรรดาผู้มีฐานะมั่งคั่ง ส่วนหลังคากระจกของเรือนส้มที่ช่วยเพิ่มแสงแดดที่ส่องเข้ามาในอาคารเป็นวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรือนส้มที่คฤหาสน์เดอแรมพาร์คในกลอสเตอร์เชอร์ที่เดิมสร้างราวปี..
เหงือกปลาหมอ
หงือกปลาหมอ (Sea holly; ชื่อวิทยาศาสตร์ Acanthus ebracteatus; ชื่อท้องถิ่น: แก้มหมอ, แก้มหมอเล, จะเกร็ง, นางเกร็ง, อีเกร็ง, เหงือกปลาหมอน้ำเงิน) เป็นพรรณไม้ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นอยู่บริเวณชายฝั่งแม่น้ำลำคลอง อยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกเหนือปากคลองมหาวงษ์และโรงเรียนนายเรือ ประโยชน์ของเหงือกปลาหมอนั้น เป็นสมุนไพรใกล้ตัวหรืออาจจะเรียกว่าสมุนไพรชายน้ำ/สมุนไพรชายเลนก็ได้ ช่วยรักษาโรคได้มากมายหลายชน.
เฮเซลนัต
ผลเฮเซลนัตสุก เฮเซลนัต (hazelnut) เป็นผลไม้ที่ได้จากพืชในสกุล Corylus โดยเฉพาะชนิด Corylus avellana ซึ่งอยู่ในวงศ์กำลังเสือโคร่ง (Betulaceae) มีถิ่นกำเนิดในยุโรปและเอเชียตะวันตก พืชชนิดนี้เป็นไม้พุ่มผลัดใบ สูง 3-8 เมตร ใบเป็นรูปกลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีขนที่ผิวใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ออกเป็นช่อแบบหางกระรอก ดอกเพศผู้มีสีเหลืองอ่อน ยาว 5-12 เซนติเมตร ส่วนดอกเพศเมียมีสีแดงสด มีขนาดเล็กมาก ผลออกเป็นกลุ่มมีเปลือกแข็ง ทรงกลมถึงรี ยาว 15-20 มิลลิเมตร กว้าง 12-20 มิลลิเมตร สีน้ำตาลเหลือง เมื่อสุกจะแตกออก ในเฮเซลนัตอุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันไม่อิ่มตัว มีโฟเลตสูงที่สุดในบรรดาผลไม้เปลือกแข็งทั้งหมด เป็นส่วนผสมหลักในขนมพราลีน (praline) นอกจากนี้ยังมีผสมในช็อคโกแลตและเครื่องดื่มต่าง ๆ น้ำมันเฮเซลนัตมีประโยชน์หลายอย่าง มีใช้ในงานสุคนธบำบัด ผสมในเครื่องสำอาง และใช้เป็นน้ำมันประกอบอาหาร ตุรกีเป็นประเทศผู้ส่งออกเฮเซลนัตมากที่สุดในโลก คิดเป็น 75 เปอร์เซ็นต์ของตลาดทั่วโลกWorld Hazelnut Situation and Outlook, USDA 2004 รองลงมาคืออิตาลี สหรัฐอเมริกา อาเซอร์ไบจาน และจอร์เจี.
เจตมูลเพลิงขาว
ตมูลเพลิงขาว (Ceylon Leadwort, doctorbush) หรือ ปิดปิวขาว (ภาคเหนือ) เป็นพืชในวงศ์ Plumbaginaceae มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ เป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 1-3 เมตร กิ่งก้านมักทอดยาว ใบรูปไข่ ยาว 3-13 ซม.
เทียนหยด
ทียนหยด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Duranta repens L.; Duranta erecta L.; ชื่อสามัญ: Sky flower; Golden dew drop; Pigeon berry; Duranta; ชื่อวงศ์: VERBENACEAE) มีชื่อพื้นเมืองหลายชื่อ ได้แก่ เครือ (แพร่); พวงม่วง; ฟองสมุทร; เทียนไข (กรุงเทพฯ); สาวบ่อลด (เชียงใหม่)เป็นไม้พุ่มใบเป็นใบเดี่ยวรูปมนรีเรียว สอบไปทางปลาย ขอบใบเป็นหยักห่างๆออกดอกเป็นช่อห้อยตามปลายยอด ดอกมีสีม่วงมีกลีบดอก 5 กลีบ สามารถติดผลเป็นเม็ดกลมขนาดเล็กสีเหลืองคล้ายหยดเทียน ใช้ในการปลูกประดับทั่วไป เทียนหยดเป็นพืชที่มีพิษ โดย ผลสีส้มของเทียนหยด เป็นสารประกอบโปรตีนที่มีพิษ ไม่ควรรับประทาน หากรับประทานเข้าไปแล้วเคี้ยว อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ (แต่ถ้าหากรับประทานเข้าไปแล้วไม่เคี้ยว จะไม่ก่อให้เกิดอันตราย) ภาพ:thianyot-thai.jpg|เทียนหยดไทย ภาพ:thianyot.jpg|เทียนหยดญี่ปุ่น.
เดอะซิมส์ 2
อะซิมส์ 2 (The Sims 2) เป็นเกมคอมพิวเตอร์ประเภทแบบจำลองชีวิตคน (Strategic Life Simulation Computer Game) เป็นเกมส์ภาคต่อจากเกมส์ เดอะซิมส์ ภาคแรก พัฒนาโดย แมกซิส และจัดจำหน่ายโดยบริษัทอิเล็กโทรนิคอาร์ต (EA Games) เป็นเกมส์จำลองเช่นเดียวกับภาคแรกซึ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.