โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไบต์

ดัชนี ไบต์

ต์ (byte) เป็นคำที่ใช้เรียกจำนวนบิตที่มากขึ้น แต่ก็ไม่มีขนาดเป็นมาตรฐานตายตัว บนเครื่องคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรม IA-32 จำนวน 16 บิตจะเรียกว่าเวิร์ด ในขณะที่ 32 บิตเรียกว่า ดับเบิลเวิร์ด (double word) หรือ dword ในขณะที่สถาปัตยกรรมอื่น ๆ หนึ่งเวิร์ดมีค่าเท่ากับ 32 บิต, 64 บิต หรือค่าอื่น ๆ ซึ่งหน่วยประมวลผลกลาง จะทำการประมวลผลกับเวิร์ดได้สะดวกที่สุด ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น นิยมวัดเป็นกิโลไบต์ (Kilobyte) เมกะไบต์ (Megabyte) จิกะไบต์ (Gigabyte) และเทระไบต์ (Terabyte) ซึ่งแต่ละหน่วยวัดมีค่าตัวคูณต่างกัน 1,024 หรือ 210 หน่วย แต่มนุษย์จะประมาณค่าตัวคูณไว้ที่ 1,000 หน่วยเพื่อความสะดวกในการคำนวณ หน่วยวัดแต่ละหน่วยสามารถสรุปได้ดังนี้ นอกจากนี้ยังมี เพตะไบต์ (Petabyte) เอกซะไบต์ (Exabyte) เซตตะไบต์ (Zettabyte) และยอตตะไบต์ (Yottabyte) ซึ่งมีค่าตัวคูณ 1,024 หน่วยถัดจากเทระไบต์เป็นต้นไป แต่ยังไม่มีสื่อบันทึกข้อมูลใดสามารถเก็บข้อมูลได้มากขนาดนั้นในปัจจุบัน ปัจจุบันนี้ เพื่อลดความสับสนระหว่างค่าตัวคูณ 1,024 (210) หน่วยและ 1,000 (103) หน่วย ทาง SI จึงได้มีหน่วยสำหรับฐาน 2 แยกออกมา เช่นจากกิโลไบต์ เป็น กิบิไบต์แทน.

43 ความสัมพันธ์: บลูเรย์ชนิดข้อมูลแบบบูลกระแสข้อมูลบิตกรณีพิพาทกุญแจเข้ารหัสเอเอซีเอสกิโลไบต์ภาษาซีภาษาเบรนฟักยอตตะไบต์ยูนิโคดรายชื่อส่วนหัวของเอชทีทีพีสื่อที่มนุษย์สามารถอ่านได้หอดูดาวอาเรซีโบหน่วยอัตราข้อมูลอันดับของขนาด (ข้อมูล)องศา (มุม)ฮาร์ดดิสก์จิกะไบต์ถังรีไซเคิล (วินโดวส์)ข้อมูล (คอมพิวเตอร์)ดีดีอาร์ เอสดีแรมแพริตีบิตแรมแร็กนาร็อกออนไลน์สอง: เลจเจนด์ออฟเดอะเซคันด์แถวลำดับไฟล์ศูนย์ไบต์ไฟล์คอมพิวเตอร์ไวรัส AntiCADไวรัส Trivialเพตะไบต์เมกะเมกะไบต์เลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองเวิร์ด (หน่วยสารสนเทศ)เอบีซี (ไวรัสคอมพิวเตอร์)เอฟทีพีเอกซะไบต์เทระเทระไบต์เซตตะไบต์−1Memory hole (วิทยาการคอมพิวเตอร์)Varchar4

บลูเรย์

นบลูเรย์ (Blu-ray Disc) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบของจานแสงสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของจานบลูเรย์มาจากช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดีที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm โดยในอดีตมีคู่แข่งอย่าง HD DVD หรือ high definition optical disc format war ผลิตโดย Toshiba และเลิกผลิตเครื่องเล่น HD DVD ไปในเดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: ไบต์และบลูเรย์ · ดูเพิ่มเติม »

ชนิดข้อมูลแบบบูล

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชนิดข้อมูลแบบบูล (Boolean data type) หรือ ชนิดข้อมูลแบบตรรกะ เป็นชนิดข้อมูลแบบหนึ่ง เก็บค่าได้เพียง 2 ค่าคือ ค่าจริงและค่าเท็จ ใช้ในการเก็บค่าความจริงและดำเนินการแบบพีชคณิตบูลีน ชื่อบูลนี้มาจากจอร์จ บูลซึ่งได้นิยามระบบพีชคณิตบูลีนขึ้น.

ใหม่!!: ไบต์และชนิดข้อมูลแบบบูล · ดูเพิ่มเติม »

กระแสข้อมูลบิต

กระแสข้อมูลบิต (bit stream, bitstream) คือข้อมูลบิตจำนวนหนึ่งที่ส่งผ่านไปตามอนุกรมเวลาหรือตามลำดับ มีการใช้งานอย่างกว้างขวางในทางโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ เช่นลำดับชั้นดิจิทัลแบบประสานเวลา (Synchronous Digital Hierarchy: SDH) จะส่งข้อมูลบิตโดยประสานเวลาให้พร้อมกัน นอกจากนี้กระแสข้อมูลไบต์ คือกระแสข้อมูลบิตที่ถูกจัดกลุ่มให้เป็นไบต์ ซึ่งโดยปกติคือ 8 บิต อาจจัดได้ว่าเป็นกรณีพิเศษของกระแสข้อมูลบิต เมื่อกระแสข้อมูลบิตถูกบันทึกลงบนสื่อสำรองข้อมูลของคอมพิวเตอร์ กระแสข้อมูลบิตจะกลายเป็นไฟล.

ใหม่!!: ไบต์และกระแสข้อมูลบิต · ดูเพิ่มเติม »

กรณีพิพาทกุญแจเข้ารหัสเอเอซีเอส

deadurl.

ใหม่!!: ไบต์และกรณีพิพาทกุญแจเข้ารหัสเอเอซีเอส · ดูเพิ่มเติม »

กิโลไบต์

กิโลไบต์ (Kilobyte) ใช้ตัวย่อว่า kB มีค่าเท่ากับ 10,000 ไบต์ (SI prefix) เช่น ถ้าพูดว่า คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำ 100 กิโลไบต์ หมายความว่า มีเนื้อที่ในหน่วยความจำ 100,000 ไบต์ มีความจุประมาณ รูปถ่ายคุณภาพระดับกลาง.

ใหม่!!: ไบต์และกิโลไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซี

ษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมและมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์ ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์) และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อม..

ใหม่!!: ไบต์และภาษาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบรนฟัก

ษาเบรนฟัก คือภาษาโปรแกรมเชิงความลับที่มีจุดเด่นในเรื่องการทำซอร์สโค้ดและคอมไพเลอร์ให้เล็กที่สุด ออกแบบขึ้นเพื่อท้าทายและสร้างความสับสนให้โปรแกรมเมอร์ แต่ไม่เหมาะสำหรับใช้งานในทางปฏิบัติ ชื่อของภาษาเบรนฟักในภาษาอังกฤษมักจะถูกปิดบังให้เป็น brainf*ck หรือ brainfsck เพื่อหลีกเลี่ยงคำว่า fuck ที่มักถือกันว่าเป็นคำหยาบ และจะไม่มีการเน้นอักษรตัวใหญ่ที่ตัว b เมื่อไม่ใช่ต้นประโยค ถึงแม้จะเป็นชื่อเฉพาะก็ตาม.

ใหม่!!: ไบต์และภาษาเบรนฟัก · ดูเพิ่มเติม »

ยอตตะไบต์

อตตะไบต์ (Yottabyte) หรือ ยอตตาไบต์ ใช้ตัวย่อว่า YB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์ ยอตตะไบต์ มีขนาดอ้างอิงคร่าวๆ คือ.

ใหม่!!: ไบต์และยอตตะไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิโคด

The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2).

ใหม่!!: ไบต์และยูนิโคด · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อส่วนหัวของเอชทีทีพี

วนหัวของเอชทีทีพี เป็นส่วนประกอบหลักของการร้องขอบนเอชทีทีพี และเป็นส่วนที่สำคัญสำหรับการตอบรับเอชทีทีพีด้วย ส่วนหัวเหล่านี้เป็นการกำหนดลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของข้อมูลที่ร้องขอ หรือข้อมูลที่ถูกจัดสรรให้ ส่วนหัวของเอชทีทีพีแยกออกจากส่วนของเนื้อหาด้วยบรรทัดว่างหนึ่งบรรทัด ข้อมูลส่วนหัวอาจเป็นสายอักขระที่แทบจะไม่มีกฎเกณฑ์ แต่ก็มีส่วนหัวบางตัวที่เป็นที่ยอมรับและเข้าใจโดยทั่วไป.

ใหม่!!: ไบต์และรายชื่อส่วนหัวของเอชทีทีพี · ดูเพิ่มเติม »

สื่อที่มนุษย์สามารถอ่านได้

รหัสแท่งอันแสดงข้อมูลที่ทั้งมนุษย์และเครื่องสามารถอ่านได้ สื่อหรือรูปแบบที่มนุษย์สามารถอ่านได้ หมายถึงตัวแทนของข้อมูลหรือสารสนเทศที่มนุษย์สามารถอ่านได้โดยธรรมชาติ ในทางคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ มนุษย์สามารถอ่านได้ มักจะเข้ารหัสเป็นข้อความแอสกีหรือยูนิโคด (เป็นตัวหนังสือ) มากกว่าที่จะแสดงแทนด้วยเลขฐานสอง ข้อมูลแทบจะทั้งหมดสามารถแจงส่วนได้ด้วยเครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์ ที่ติดตั้งหรือสร้างชุดคำสั่งที่เหมาะสม ซึ่งเหตุผลต่าง ๆ ที่เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์เลือกรูปแบบเลขฐานสองเหนือกว่ารูปแบบข้อความ มุ่งไปที่ปัญหาต่าง ๆ ของพื้นที่ว่างของหน่วยเก็บ เนื่องจากการแทนเลขฐานสองตามปกติจะใช้พื้นที่เพียงไม่กี่ไบต์ และประสิทธิภาพของการเข้าถึง (อินพุตและเอาต์พุต) โดยไม่ต้องผ่านการแปลงหรือแจงส่วนซ้ำ ในบริบทส่วนใหญ่ อีกทางหนึ่งของตัวแทนที่มนุษย์สามารถอ่านได้ก็คือ สื่อหรือรูปแบบของข้อมูลที่ เครื่องสามารถอ่านได้ ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เชิงกล หรือเชิงแสง หรือคอมพิวเตอร์ อ่านข้อมูลได้เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น รหัสผลิตภัณฑ์สากล (Universal Product Code: UPC) เป็นรหัสแท่งที่มนุษย์อ่านเข้าใจได้ยาก แต่ถ้าอ่านด้วยอุปกรณ์ที่ถูกต้องจะได้ผลดีและน่าเชื่อถือมาก แต่ในขณะเดียวกันสายอักขระของตัวเลขที่ประกอบอยู่บนฉลากมีเพื่อให้มนุษย์สามารถอ่านสารสนเทศของรหัสแท่งนั้น ในบางเขตอำนาจศาล ฉลากรหัสแท่งที่ใช้ในการค้าปลีกจะต้องแสดงราคาที่มนุษย์สามารถอ่านได้บนสินค้านั้น เมื่อภาษามาร์กอัปเชิงโครงสร้างอย่างสูงและเป็นมาตรฐานเกิดขึ้น เช่นเอกซ์เอ็มแอล (XML) หน่วยเก็บข้อมูลมีราคาถูกลง และเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลเร็วขึ้นแต่ถูกลง ทำให้ความสามารถในการอ่านได้ของมนุษย์และเครื่อง เรียกได้ว่าแทบจะไม่แตกต่างกันอย่างในอดีต นอกจากนี้ ตัวแทนข้อมูลเชิงโครงสร้างสามารถบีบอัดได้อย่างมีประสิทธิผลมาก สำหรับการส่งผ่านหรือการเก็บบันทึก องค์การหลายองค์การได้กำหนดนิยามข้อมูลที่มนุษย์สามารถอ่านได้กับข้อมูลที่เครื่องสามารถอ่านได้ และวิธีการที่จะนำมาใช้ในสาขาที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร เช่น สหภาพไปรษณีย์สากล บ่อยครั้งที่ศัพท์ มนุษย์สามารถอ่านได้ นำไปใช้อธิบายถึงชื่อหรือสายอักขระขนาดสั้น ที่ง่ายต่อการเข้าใจและการจดจำมากกว่าสัญกรณ์วากยสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและขนาดยาว เช่น สายอักขระยูอาร์แอล (URL).

ใหม่!!: ไบต์และสื่อที่มนุษย์สามารถอ่านได้ · ดูเพิ่มเติม »

หอดูดาวอาเรซีโบ

ทางอากาศของหอดูดาวอาเรซีโบ หอดูดาวอาเรซีโบ (Observatorio de Arecibo; Arecibo Observatory) เป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองอาเรซีโบทางตอนเหนือของปวยร์โตรีโก ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ร่วมกับมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation, NSF) ของสหรัฐอเมริกา ภายใต้หน่วยงานที่ชื่อว่า "ศูนย์ดาราศาสตร์และชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์แห่งชาติ" (National Astronomy and Ionosphere Center, NAIC) กล้องโทรทรรศน์วิทยุที่นี่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ยาว 305 เมตร เป็นกล้องโทรทรรศน์เดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยสร้างขึ้นมา โครงการก่อสร้างเริ่มต้นนำเสนอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 โดยศาสตราจารย์ วิลเลียมส์ อี.

ใหม่!!: ไบต์และหอดูดาวอาเรซีโบ · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยอัตราข้อมูล

ในสาขาโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์, อัตราบิต หรือ จำนวนบิตข้อมูลที่ถูกส่งในหนึ่งหน่วยเวลา สามารถวัดได้ในหน่วยของ บิตต่อวินาที, ไบต์ต่อวินาที และยังนิยมเติมคำอุปสรรคของระบบเอสไอไว้ด้านหน้า ซึ่งจะทำให้มีความหลากหลายของหน่วยอัตราข้อมูล (data rate units) ในการวัดดังนี้.

ใหม่!!: ไบต์และหน่วยอัตราข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (ข้อมูล)

หมวดหมู่:อันดับของขนาด หมวดหมู่:ข้อมูล.

ใหม่!!: ไบต์และอันดับของขนาด (ข้อมูล) · ดูเพิ่มเติม »

องศา (มุม)

องศา (degree) หรือในชื่อเต็มคือ ดีกรีของส่วนโค้ง (degree of arc, arcdegree) คือหน่วยวัดมุมชนิดหนึ่งบนระนาบสองมิติ หนึ่งองศา แทนการกวาดมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมไปได้ 1 ส่วนใน 360 ส่วน และเมื่อมุมนั้นอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียน องศาจะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งต่างๆ บนวงกลมใหญ่ของทรงกลม อย่างที่มีการใช้อ้างอิงตำแหน่งบนโลก ดาวอังคาร หรือทรงกลมท้องฟ้า เป็นต้น สัญลักษณ์วงกลมเล็ก ° ใช้แทนหน่วยองศาในการเขียน และเป็นหน่วยเดียวที่ไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างตัวเลขกับสัญลักษณ์ เช่น 15° แทนมุมขนาด 15 อง.

ใหม่!!: ไบต์และองศา (มุม) · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์ดดิสก์

ร์ดดิสก์ชนิดต่าง ๆ ฮาร์ดดิสก์ หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (hard disk drive) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA), แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง ฮาร์ดดิสก์ SSD โดยในปี 2008 ได้มีการพัฒนาเป็น Hybrid drive และ โซลิดสเตตไดรฟ.

ใหม่!!: ไบต์และฮาร์ดดิสก์ · ดูเพิ่มเติม »

จิกะไบต์

กิกะไบต์, (สืบค้นคำว่า gigabyte)อ่านได้ทั้งสองแบบ อ้างอิงจาก และ หรือ จิกะไบต์ (gigabyte) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์ กิกะไบต์ มีขนาดอ้างอิงหลัก ๆ ได้สองอย่างคือ.

ใหม่!!: ไบต์และจิกะไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

ถังรีไซเคิล (วินโดวส์)

รีไซเคิลบินใน Windows Vista ภายในระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ รีไซเคิลบิน (Recycle Bin) เป็นที่เก็บที่สุดท้ายของไฟล์ที่ถูกสั่งลบ ก่อนการลบอย่างถาวรจากอุปกรณ์เก็บข้อมูล.

ใหม่!!: ไบต์และถังรีไซเคิล (วินโดวส์) · ดูเพิ่มเติม »

ข้อมูล (คอมพิวเตอร์)

้อมูล คือลำดับของสัญลักษณ์ใด ๆ ที่มีความหมายโดยการปฏิบัติการเฉพาะเพื่อตีความ '''ข้อมูลดิจิทัล'''คือปริมาณ อักขระ หรือสัญลักษณ์ในการดำเนินการอันกระทำโดยคอมพิวเตอร์ เก็บและบันทึกลงในสื่อแม่เหล็ก เชิงแสง หรือเชิงกลเป็นต้น และส่งผ่านในรูปแบบสัญญาณไฟฟ้า โปรแกรมคือกลุ่มข้อมูลที่ประกอบด้วยอนุกรมของชุดคำสั่งซอฟต์แวร์ที่ลงรหัสไว้ สำหรับควบคุมการดำเนินการของคอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรอื่น องค์ประกอบของหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ทางกายภาพ ประกอบด้วยเลขที่อยู่และหน่วยเก็บข้อมูลไบต์หรือเวิร์ด ข้อมูลดิจิทัลมักจะถูกเก็บในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เช่นตารางหรือฐานข้อมูลเอสคิวแอล และโดยทั่วไปสามารถแทนด้วยข้อมูลคู่กุญแจ-ค่าแบบนามธรรม ข้อมูลสามารถถูกจัดการให้เป็นโครงสร้างข้อมูลได้หลายชนิด อาทิ แถวลำดับ กราฟ วัตถุ ฯลฯ และโครงสร้างข้อมูลสามารถเก็บข้อมูลได้หลายประเภท เช่น จำนวนตัวเลข สายอักขระ หรือแม้แต่โครงสร้างข้อมูลอื่น ข้อมูลถูกส่งผ่านเข้าและออกคอมพิวเตอร์ผ่านทางอุปกรณ์รอบข้าง ในการใช้คำอีกทางหนึ่ง ไฟล์ฐานสอง (ซึ่งมนุษย์อ่านไม่ได้) บางครั้งก็ถูกเรียกว่า "ข้อมูล" เพื่อให้แตกต่างจาก "ข้อความ" ที่มนุษย์อ่านได้ มีการประมาณการไว้ว่า ปริมาณของข้อมูลดิจิทัลใน..

ใหม่!!: ไบต์และข้อมูล (คอมพิวเตอร์) · ดูเพิ่มเติม »

ดีดีอาร์ เอสดีแรม

หน้าตาของหน่วยความจำ DDR-266 ทั่วไปซึ่งมี 184 พินแบบ DIMM หน่วยความจำ Corsair DDR-400 และมีแผ่นกระจายความร้อนติดตั้งอยู่ หน่วยความจำเข้าถึงข้อมูลโดยสุ่มแบบพลวัตซิงโครนัสที่มีอัตราข้อมูลสองเท่า (Double data rate synchronous dynamic random-access memory, DDR SDRAM) หรือ ดีดีอาร์ เอสดีแรม นิยมเรียกว่า ดีดีอาร์แรม คือชื่อเรียกระดับชั้นของหน่วยความจำที่มีลักษณะเป็นวงจรรวม และถูกใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ในบางครั้งการเรียก DDR SDRAM ก็หมายถึง DDR1 SDRAM ซึ่งในปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย DDR2 SDRAM และ DDR3 SDRAM ซึ่งมีความเร็วสูงกว่า แต่สามารถกล่าวรวมได้ว่าแรมต่างๆ ที่กล่าวมานั้นเป็นประเภทเดียวกันนั่นคือ ดีดีอาร์ เอสดีแรม แต่แรมทั้งสามชนิดนั้นไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ กล่าวคือในแผงหลัก (motherboards) ที่รองรับ DDR1 SDRAM ก็จะไม่รองรับแรม 2 ชนิดที่เหลือ เมื่อเปรียบเทียบกับ SDR (single data rate) หรือ SDRAM ที่มีอัตราข้อมูลปกติ (เท่าเดียว) นั้น DDR จะมีอัตราข้อมูลสูงกว่าอันเนื่องจากมีการส่งข้อมูลสองครั้งต่อหนึ่งจังหวะสัญญาณนาฬิกา (ทั้งขาขึ้น และขาลง) ต่างกับ SDR ที่จะส่งข้อมูลเพียงครั้งเดียวต่อหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้แม้ว่าความถี่สัญญาณนาฬิกาจะเท่ากันแต่ DDR ก็สามารถส่งข้อมูลมากกว่าเป็นสองเท่า และนี่ก็เป็นที่มาของคำว่า "อัตราข้อมูลสองเท่า" (DDR) ที่อยู่ในชื่อของหน่วยความจำชนิดนี้นั่นเอง อีกทั้งการรักษาความถี่สัญญาณนาฬิกาให้ต่ำยังจะช่วยรักษาความสมบูรณ์ของสัญญาณอีกด้วย ด้วยการส่งข้อมูล 64 บิตต่อครั้ง ทำให้ DDR SDRAM มีอัตราการการส่งข้อมูลสูงสุดเท่ากับ (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) × 2 (ส่งข้อมูล 2 ครั้งต่อรอบ) × 64 (จำนวนบิตของข้อมูลที่ถูกส่งต่อครั้ง) / 8 (แปลงหน่วยบิตเป็นหน่วยไบต์) จะเห็นว่าสำหรับ DDR SRAM ที่มีความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ 100 MHz จะมีอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดถึง 1600 MB/s.

ใหม่!!: ไบต์และดีดีอาร์ เอสดีแรม · ดูเพิ่มเติม »

แพริตีบิต

แพริตีบิต หรือ บิตภาวะคู่หรือคี่ (parity bit) หรืออาจเรียกเพียงแค่ แพริตี หมายถึงบิตที่เพิ่มเข้าไปในข้อมูล โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องนำไปต่อท้ายหรือขึ้นต้น เพื่อทำให้แน่ใจว่าบิตที่เป็นค่า 1 ในข้อมูลมีจำนวนเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ การใช้แพริตีบิตเป็นวิธีที่ง่ายอย่างหนึ่งในการตรวจจับและแก้ไขความผิดพลาด แพริตีบิตมีสองชนิดคือ แพริตีบิตคู่ (even parity bit) กับ แพริตีบิตคี่ (odd parity bit) ตามข้อมูลในเลขฐานสอง.

ใหม่!!: ไบต์และแพริตีบิต · ดูเพิ่มเติม »

แรม

แรมแบบ DDR SDRAM แรม หรือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (random access memory: RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่าง ๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร โดยคำว่าเข้าถึงโดยสุ่มหมายความว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลแต่ละตำแหน่งได้เร็วซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดของความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น (หน่วยความจำชั่วคราว).

ใหม่!!: ไบต์และแรม · ดูเพิ่มเติม »

แร็กนาร็อกออนไลน์สอง: เลจเจนด์ออฟเดอะเซคันด์

แร็กนาร็อกออนไลน์สอง: เลจเจนด์ออฟเดอะเซคันด์ (라그나로크 온라인 2: Legend of the Second) เป็นการกลับมาทำใหม่จาก แร็กนาร็อกออนไลน์ 2: เดอะเกตออฟเดอะเวิลด์ (라그나로크 온라인 2: The Gate of the World) เป็นเกมส์ออนไลน์ที่ผลิตโดยบริษัทกราวิตีและได้รับอิทธิพลมาจากเกมส์แร็กนาร็อกออนไลน.

ใหม่!!: ไบต์และแร็กนาร็อกออนไลน์สอง: เลจเจนด์ออฟเดอะเซคันด์ · ดูเพิ่มเติม »

แถวลำดับ

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แถวลำดับ (array) คือโครงสร้างข้อมูลที่เป็นรายการอย่างหนึ่ง ข้อมูล (value) จะถูกเก็บบนหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ แบบอยู่ติดกันไปเรื่อย ๆ การเข้าถึงข้อมูลสามารถกระทำได้ผ่านดัชนี (index) หรืออาจเรียกว่า คีย์ โดยดัชนีจะเป็นจำนวนเต็มซึ่งบอกถึงลำดับที่ของข้อมูลในแถวลำดับ นอกจากนี้ ค่าของดัชนียังไปจับคู่กับที่อยู่หน่วยความจำ ผ่านสูตรคณิตศาสตร์ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ตัวอย่างเช่นแถวลำดับที่มีข้อมูล 10 ตัว โดยมีดัชนีตั้งแต่ 0 ถึง 9 สมมุติให้ข้อมูลแต่ละตัวใช้หน่วยความจำ 4 ไบต์ และแถวลำดับนี้มีที่อยู่ในหน่วยความจำคือ 2000 จะได้ว่าที่อยู่หน่วยความจำของข้อมูลตัวที่ i คือ 2000 + 4i แถวลำดับยังสามารถขยายมิติไปเป็นสองมิติหรือมากกว่านั้นได้ เนื่องจากรูปแบบของแถวลำดับสองมิติมีรูปร่างเป็นตาราง คล้ายกับเมตริกซ์ บางทีจึงอาจเรียกแถวลำดับสองมิติว่าเมตริกซ์หรือตาราง (สำหรับตารางโดยส่วนมากแล้วจะหมายความถึงตาราง lookup) เช่นเดียวกับแถวลำดับมิติเดียวที่บางครั้งก็อาจเรียกว่าเวกเตอร์หรือทูเพิล แถวลำดับถือได้ว่าเป็นโครงสร้างข้อมูลที่ถือกำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับการเขียนโปรแกรม และสำคัญมากในการเขียนโปรแกรมเช่นเดียวกัน และแทบจะไม่มีโปรแกรมใดเลยที่ไม่ใช้แถวลำดับ โดยแถวลำดับนี้ยังนำไปอิมพลีเมนต์โครงสร้างข้อมูลอื่นอีกมากมายเช่นรายการหรือสายอักขระ แม้แต่หน่วยเก็บข้อมูลที่มีที่อยู่หน่วยความจำก็อาจจะมองหน่วยเก็บข้อมูลเป็นแถวลำดับขนาดยักษ์ก็ได้.

ใหม่!!: ไบต์และแถวลำดับ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟล์ศูนย์ไบต์

ไฟล์ศูนย์ไบต์ คือไฟล์คอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้บรรจุข้อมูลอะไร หมายความว่ามีขนาดของไฟล์เท่ากับศูนย์ไบต์ โปรแกรมประยุกต์ส่วนใหญ่ไม่สามารถโหลดหรือใช้ไฟล์ศูนย์ไบต์ได้ ถึงแม้ว่าไฟล์ไฟล์หนึ่งจะถูกอธิบายว่าเป็นเอกสารจากโปรแกรมประมวลคำที่ไม่มีตัวหนังสือ หรือไฟล์ภาพที่มีมิติกว้างศูนย์ยาวศูนย์ หรือไฟล์เสียงที่มีความยาวศูนย์วินาที ก็ยังมีข้อมูลเมทาดาตาที่ใช้ระบุรูปแบบไฟล์และอธิบายสมบัติพื้นฐานของไฟล์เก็บอยู่ ซึ่งจะทำให้เกิดไฟล์ที่มีขนาดมากกว่าศูนย์ไบต์ ส่วนรูปแบบที่เรียบง่ายมาก ๆ บางรูปแบบไม่ได้ใช้เมทาดาตา เช่นไฟล์ข้อความแอสกี เช่นนี้สามารถมีขนาดเป็นศูนย์ไบต์ได้ ในบางกรณี ไฟล์ศูนย์ไบต์สามารถใช้แสดงสารสนเทศได้อย่างเมทาดาตาของไฟล์ (ตัวอย่างเช่น ชื่อไฟล์ที่แสดงข้อความชี้แจงแก่ผู้ใช้ขณะที่ดูรายการในไดเรกทอรี อาทิ documents-have-been-moved-to-partition-D.txt ฯลฯ) หรือใช้วางในไดเรกทอรีเพื่อทำให้แน่ใจว่าไดเรกทอรีนั้นจะไม่ว่างเปล่า เพราะเครื่องมือบางชนิดเช่นซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลและซอฟต์แวร์ควบคุมการแก้ไขปรับปรุง จะละเว้นไดเรกทอรีว่างในการประมวลผล มีหลายวิธีที่จะสร้างไฟล์ศูนย์ไบต์ขึ้นมาเองได้ ตัวอย่างเช่น การบันทึกเนื้อหาว่างในโปรแกรมแก้ไขข้อความ หรือการใช้โปรแกรมอรรถประโยชน์ที่มีมากับระบบปฏิบัติการ หรือเขียนโปรแกรมให้สร้างไฟล์นั้นขึ้นมา ไฟล์ศูนย์ไบต์อาจเกิดขึ้นได้ขณะที่โปรแกรมสร้างไฟล์ขึ้นมาแต่หยุดทำงาน หรือถูกรบกวนก่อนเขียนข้อมูลเสร็จ เนื่องจากข้อมูลที่จะเขียนนั้นเก็บชั่วคราว (cache) อยู่ในหน่วยความจำและจะถ่ายเท (flush) ลงดิสก์ในภายหลัง โปรแกรมที่ไม่ได้ถ่ายเทข้อมูลลงดิสก์หรือหยุดทำงานกะทันหันอาจส่งผลให้ไฟล์มีขนาดเป็นศูนย์ไบต์ เมื่อไฟล์ศูนย์ไบต์ถูกสร้างขึ้น ระบบไฟล์จะไม่บันทึกเนื้อหาของไฟล์ลงหน่วยเก็บ เพียงแต่จะปรับปรุงตารางดัชนีของมันเท่านั้น หมวดหมู่:ไฟล์คอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:ความไม่มี.

ใหม่!!: ไบต์และไฟล์ศูนย์ไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟล์คอมพิวเตอร์

ฟล์ (file) หรือ แฟ้ม ในทางคอมพิวเตอร์หมายถึงกลุ่มระเบียนสารสนเทศใด ๆ หรือทรัพยากรสำหรับเก็บบันทึกสารสนเทศ ซึ่งสามารถใช้งานได้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และโดยปกติจะอยู่บนหน่วยเก็บบันทึกถาวรบางชนิด ซึ่งไฟล์นั้นคงทนถาวรในแง่ว่า ยังคงใช้งานได้สำหรับโปรแกรมอื่นหลังจากโปรแกรมปัจจุบันใช้งานเสร็จสิ้น ไฟล์คอมพิวเตอร์ถือได้ว่าเป็นของทันสมัยคู่กับเอกสารกระดาษ ซึ่งแต่เดิมจะถูกเก็บไว้ในตู้แฟ้มเอกสารของสำนักงานและห้องสมุด จึงเป็นที่มาของคำนี้ ไฟล์อาจเรียกได้หลายชื่อเช่น แฟ้มข้อมูล, แฟ้มอิเล็กทรอนิกส์, แฟ้มคอมพิวเตอร์, แฟ้มดิจิทัล, ไฟล์ข้อมูล, ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์, ไฟล์คอมพิวเตอร์, คอมพิวเตอร์ไฟล์, เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ.

ใหม่!!: ไบต์และไฟล์คอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัส AntiCAD

AntiCAD เป็นไวรัสประเภทไวรัสติดไฟล์ นามสกุล.COM แล.EXE ในระบบปฏิบัติการดอส ซึ่งพัฒนามาจากไวรัส Jerusalem มีขนาดตั้งแต่ 2454 จนถึง 4096 ไบต์ ไวรัสรุ่นขนาด 4096 ไบต์สามารถติดบูตเซกเตอร์ของแผ่นดิสก์และมาสเตอร์บูตเรคคอร์ดของฮาร์ดดิสก์ได้ด้วย เป็นไวรัสที่เคยระบาดมากในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2530 เหตุที่ไวรัสมีชื่อว่า AntiCAD เนื่องจากไวรัสจะเริ่มทำงานเมื่อผู้ใช้เรียกโปรแกรม ACAD.EXE ของออโตแ.

ใหม่!!: ไบต์และไวรัส AntiCAD · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัส Trivial

Trivial เป็นไวรัสประเภทไวรัสติดไฟล์ กลุ่มหนึ่งซึ่งมีการเขียนแบบง่าย ๆ ขนาดเล็ก มีตั้งแต่ขนาดเล็กสุดคือ 22 ไบท์ จนถึงขนาดใหญ่เป็นร้อยไบต์ (แต่เกือบทั้งหมดเป็นข้อความ ส่วนตัวโปรแกรมจริง ๆ ยังคงมีขนาดเล็กพอ ๆ กัน).

ใหม่!!: ไบต์และไวรัส Trivial · ดูเพิ่มเติม »

เพตะไบต์

ตะไบต์ (Petabyte) หรือ เพตาไบต์ หรือ พีตะไบต์ ใช้ตัวย่อว่า PB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์ เพตะไบต์ มีขนาดอ้างอิงคร่าว ๆ คือ.

ใหม่!!: ไบต์และเพตะไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

เมกะ

มกะ (Mega, สัญลักษณ์ M) เป็นคำนำหน้าหน่วยที่ใช้ในระบบเมตริก ที่เรียกกันว่า คำอุปสรรคเอสไอ แสดงถึงค่าหนึ่งล้าน (106 หรือ 1000000) คำดังกล่าวเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในระบบเอสไอตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ไบต์และเมกะ · ดูเพิ่มเติม »

เมกะไบต์

มกะไบต์ (megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg เนื่องจากความไม่สม่ำเสมอในการใช้อุปสรรคฐานสองในการนิยามและการใช้งาน ฉะนั้น ค่าแม่นตรงของกิโลไบต์ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปอาจเป็นค่าใดค่าหนึ่งจากค่าดังต่อไปนี้:-.

ใหม่!!: ไบต์และเมกะไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

เลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสอง

ตารางการเปรียบเทียบระหว่างเลขฐานสิบกับบีซีดี เลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสอง หรือ บีซีดี (Binary-coded decimal: BCD) เป็นระบบเลขที่ใช้เลขฐานสองจำนวนอย่างน้อย 4 บิตแทนเลขฐานสิบ 0 ถึง 9 ในแต่ละหลัก เพื่อความสะดวกในการแสดงผลจากการคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง เลขฐานสิบ 127 จะสามารถแปลงเป็นบีซีดีได้เป็น 0001 0010 0111 เป็นต้น โดยพื้นฐานแล้วบีซีดีจะต้องมีบิตอย่างน้อย 4 บิตจึงจะแสดงผลออกมาได้ครบทั้ง 0-9 แต่ในทางปฏิบัติแล้วเมื่อนำบีซีดีไปคำนวณ เช่นการบวกหรือการลบ อาจจะต้องมีบิตอื่นเพิ่ม เพื่อใช้ในการทดเลขหรือการกำหนดเครื่องหมาย และเนื่องจากบีซีดีเป็นระบบเลขที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก เลขในแต่ละบิตจึงสามารถเก็บอยู่ในหน่วยความจำได้.

ใหม่!!: ไบต์และเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสอง · ดูเพิ่มเติม »

เวิร์ด (หน่วยสารสนเทศ)

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ เวิร์ด (word) หมายถึง เนื้อที่ที่คอมพิวเตอร์จัด​ไว้​สำ​หรับเก็บข้อมูล​ ไม่น้อยกว่า 1 ​ตัวอักษรตามรหัสแอสกี หรือไม่น้อยกว่า 8 บิต ขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ที่เข้ากันได้กับสถาปัตยกรรมของไอบีเอ็ม (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป) 1 เวิร์ดจะมีขนาด 16 บิต (2 ไบต์) เวิร์ดมีประโยชน์ในการช่วยการประมวลผลของซีพียู โดยใช้เป็นขนาดชุดคำสั่งของการนำเข้าสู่ซีพียู (fetch) และการอ้างอิงตำแหน่งในหน่วยความจำ บางครั้งเราอาจเห็นหน่วย สองเวิร์ด (Dword - Double word) และ สี่เวิร์ด (Qword - Quadruple word) ซึ่งมีขนาดเป็นสองเท่าและสี่เท่าของเวิร์ด ตามลำดับ ในการเขียนโปรแกรมบางภาษา เช่น ภาษาแอสเซมบลี ภาษาซี เป็นต้น.

ใหม่!!: ไบต์และเวิร์ด (หน่วยสารสนเทศ) · ดูเพิ่มเติม »

เอบีซี (ไวรัสคอมพิวเตอร์)

อบีซี (ABC) เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ประเภทไวรัสติดไฟล์ พบการเริ่มระบาดเมื่อเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: ไบต์และเอบีซี (ไวรัสคอมพิวเตอร์) · ดูเพิ่มเติม »

เอฟทีพี

อฟทีพี หรือ เกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้ม (FTP: File Transfer Protocol) เป็นโพรโทคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนและจัดการไฟล์บนเครือข่ายทีซีพี/ไอพีเช่นอินเทอร์เน็ต เอฟทีพีถูกสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบระบบรับ-ให้บริการ (client-server) และใช้การเชื่อมต่อสำหรับส่วนข้อมูลและส่วนควบคุมแยกกันระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย โปรแกรมประยุกต์เอฟทีพีเริ่มแรกโต้ตอบกันด้วยเครื่องมือรายคำสั่ง สั่งการด้วยไวยากรณ์ที่เป็นมาตรฐาน แต่ก็มีการพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ขึ้นมาสำหรับระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปที่ใช้กันทุกวันนี้ เอฟทีพียังถูกใช้เป็นส่วนประกอบของโปรแกรมประยุกต์อื่นเพื่อส่งผ่านไฟล์โดยอัตโนมัติสำหรับการทำงานภายในโปรแกรม เราสามารถใช้เอฟทีพีผ่านทางการพิสูจน์ตัวจริงด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน หรือเข้าถึงด้วยผู้ใช้นิรนาม นอกจากนี้ยังมีทีเอฟทีพี (Trivial File Transfer Protocol) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเอฟทีพีที่ลดความซับซ้อนลง แต่ไม่สามารถควบคุมให้ทำงานประสานกันได้ และไม่มีการพิสูจน์ตัวจริง.

ใหม่!!: ไบต์และเอฟทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอกซะไบต์

อกซะไบต์ (Exabyte) หรือ เอกซาไบต์ ใช้ตัวย่อว่า EB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์ เอกซะไบต์ มีขนาดอ้างอิงคร่าวๆ คือ.

ใหม่!!: ไบต์และเอกซะไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

เทระ

ทระ (Tera) เป็นคำนำหน้าหน่วยในระบบเมตริก แสดงถึงค่าหนึ่งล้านล้าน (1012 หรือ 1000000000000) มีสัญลักษณ์คือ T.

ใหม่!!: ไบต์และเทระ · ดูเพิ่มเติม »

เทระไบต์

ทระไบต์ (Terabyte) หรือ เทราไบต์ ใช้ตัวย่อว่า TB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์ เทระไบต์ มีขนาดอ้างอิงคร่าวๆ คือ.

ใหม่!!: ไบต์และเทระไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

เซตตะไบต์

ซตตะไบต์ (Zettabyte) หรือ เซตตาไบต์ ใช้ตัวย่อว่า ZB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์ เซตตะไบต์ มีขนาดอ้างอิงคร่าวๆ คือ.

ใหม่!!: ไบต์และเซตตะไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

−1

−1 (ลบหนึ่ง) เป็นจำนวนเต็มลบมากสุด ที่มากกว่า −2 แต่น้อยกว่า 0 −1 เป็นตัวผกผันการบวกของ 1 หมายความว่า เมื่อจำนวนนี้บวกกับ 1 แล้วจะได้เอกลักษณ์การบวกนั่นคือ 0 −1 สัมพันธ์กับเอกลักษณ์ของออยเลอร์นั่นคือ e^.

ใหม่!!: ไบต์และ−1 · ดูเพิ่มเติม »

Memory hole (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

Memory hole หรือ Hole ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์หมายถึง พื้นที่ว่างส่วนหนึ่งที่ติดต่อกันในหน่วยความจำ ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนตำแหน่งที่ว่างเหล่านั้นจะถูกจัดสรรโดยระบบปฏิบัติการ หรืออาจหมายถึงตำแหน่งที่ว่างที่ไม่ได้ถูกใช้เป็นหน่วยความจำอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น Hole ขนาด 640 กิโลไบต์ถึง 1 เมกะไบต์จะถูกจับจองโดยหน่วยประมวลผลกลางในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีสถาปัตยกรรมแบบ 286 เพื่อใช้ในการรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ภายนอก (เห็นได้ชัดที่สุดจากแรมของการ์ดวิดีโอ) คอมพิวเตอร์บางเครื่องก็กำหนด Hole ให้มีขนาดใหญ่ถึง 16 เมกะไบต์ก็มี หมวดหมู่:วิทยาการคอมพิวเตอร์.

ใหม่!!: ไบต์และMemory hole (วิทยาการคอมพิวเตอร์) · ดูเพิ่มเติม »

Varchar

Variable Character Field หรือ varchar (อ่านว่า วาร์คาร์ หรือ วาร์ชาร์) หมายถึงกลุ่มข้อมูลตัวอักขระที่ไม่สามารถระบุความยาวได้ คำนี้มักใช้เป็นชนิดข้อมูลในระบบจัดการฐานข้อมูล ชนิดข้อมูลประเภท varchar สามารถเก็บข้อมูลตัวอักขระขนาดเท่าใดก็ได้ที่ไม่เกินความยาวที่จำกัดไว้ การจำกัดความยาวก็แตกต่างกันออกไปในแต่ละฐานข้อมูล เช่น MySQL จำกัดไว้ที่ 255 ไบต์ สำหรับรุ่นที่ 5 หรือต่ำกว่า และจำกัดไว้ที่ 65,535 ไบต์ สำหรับรุ่นที่ 5.1 ขึ้นไป Oracle 9i อยู่ที่ 4000 ไบต์ และ SQL Server 2005 อยู่ที่ 8000 ไบต์ เป็นต้น varchar เป็นชนิดข้อมูลที่เป็นที่นิยมใช้ในหลายระบบฐานข้อมูล เนื่องจาก varchar จะเก็บข้อมูลบนเนื้อที่ที่เท่ากับความยาวของสายอักขระเท่านั้น ไม่เก็บอักขระว่างในส่วนที่ไม่ได้ใช้ ซึ่งสามารถช่วยลดขนาดรวมของฐานข้อมูลได้ ไม่เหมือนชนิดข้อมูล char ที่เก็บอักขระตามจำนวนเสมอ รวมทั้งอักขระว่าง ไม่ว่าจะมีข้อมูลครบจำนวนที่จำกัดไว้หรือไม.

ใหม่!!: ไบต์และVarchar · ดูเพิ่มเติม »

4

4 (สี่) เป็นจำนวน ตัวเลข และเป็นชื่อของสัญลักษณ์ภาพ เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 3 (สาม) และอยู่ก่อนหน้า 5 (ห้า).

ใหม่!!: ไบต์และ4 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Byteไบท์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »