เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ไนอาซิน

ดัชนี ไนอาซิน

นอาซิน หรือ ไนอะซิน (niacin) หรือ กรดนิโคตินิก (nicotinic acid) หรือ วิตามินบี3 (vitamin B3) เป็นวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ ซึ่งจำเป็นใน Lipid Metabolism,Tissue respiration และ Glycogenolysis Nicotinic Acid ในปริมาณสูง ๆ จึงสามารถลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยฤทธิ์ของยาจะทำให้ระดับ Triacylglycerol ใน Plasma และ VLDL ลดลงภายใน 1-4 วัน ส่วนฤทธิ์ในการลดระดับโคเลสเตอรอลและ LDL นั้น 5-7 วันจึงจะเห็นผล และนอกจากนั้น Nicotinic Acid ยังสามารถเพิ่ม HDL อีกด้วย จากการทดลองผลการลดระดับไขมันในเลือดจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดหลังรับประทานยา 5-7 สัปดาห์ ยาส่วนเกินที่รับประทานเข้าไปจะขับออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ ซึ่งร่างกายมนุษย์มีความต้องการวิตามินชนิดนี้วันละ 13-19 มิลลิกรัม, วันที่สืบค้น 24 เมษายน 2559 จาก www.pikool.com.

สารบัญ

  1. 32 ความสัมพันธ์: ATC รหัส C04กรดโฟลิกการศึกษาควบคุมด้วยยาหลอกภาวะกรดยูริกเกินในเลือดมะเฟืองมะเดื่อยอยาลดไขมันในเส้นเลือดรายชื่อสารประกอบอินทรีย์วิตามินวิตามินบี6สไปรูลินา (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)อะลูมิเนียม นิโคติเนทอะคิพิม็อกซ์อีโทไฟเบรตอีเซทิไมบ์ผักจินดาคอเลสเซเวแลมปลาแซลมอนนิโคตินิล แอลกอฮอล์น้ำเต้าหู้แมคาเดเมียโรคอัลไซเมอร์โรคเกาต์โลวาสแตตินไนโคฟูราโนสไนเซอริทรอลเมแทบอลิซึมเอสซีเอช-48461เจ็มไฟโบรซิลICD-10 บทที่ 4: โรคของต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึมMurashige and Skoog medium

ATC รหัส C04

วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) C ระบบหัวใจและหลอดเลือ.

ดู ไนอาซินและATC รหัส C04

กรดโฟลิก

ฟเลต หรืออีกรูปแบบหนึ่งที่รู้จักคือ กรดโฟลิก และ วิตามินบี9 (folate, folic acid, vitamin B9) เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง มีปริมาณที่แนะนำต่อวันอยู่ที่ 400 ไมโครกรัม และมักใช้เป็นอาหารเสริมในช่วงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารก (ซึ่งรวมการไม่มีสมองใหญ่ สมองโป่ง กระดูกสันหลังโหว่) --> และยังใช้รักษาภาวะเลือดจางจากการขาดกรดโฟลิก กว่า 50 ประเทศเสริมกรดโฟลิกในอาหารเพื่อเป็นมาตรการลดอัตรา NTDs ในประชากร การเสริมกรดโฟลิกในอาหารเป็นประจำสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจเล็กน้อย เป็นวิตามินที่สามารถใช้ทานหรือฉีดก็ได้ ยาไม่มีผลข้างเคียงที่สามัญ ยังไม่ชัดเจนว่าการทานในขนาดสูงเป็นระยะเวลายาวนานมีปัญหาหรือไม่ แต่การใช้ขนาดสูงสามารถอำพรางการขาดวิตามินบี12ได้ --> โฟเลตเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อผลิต DNA RNA และกระบวนการสร้างและย่อยสลายกรดอะมิโนซึ่งจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์ เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถสร้างกรดโฟลิก ดังนั้นจำต้องได้จากอาหาร การไม่ได้โฟเลตเพียงพอก็จะทำให้เกิดภาวะขาดโฟเลต --> ซึ่งอาจมีผลเป็นภาวะเลือดจางที่มีเม็ดเลือดขนาดใหญ่ (megaloblastic) เป็นจำนวนน้อย --> อาการอาจรวมความล้า หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ทัน แผลบนลิ้นไม่หาย สีผิวหรือผมเปลี่ยน --> การขาดในช่วงตั้งครรภ์เบื้องต้นเชื่อว่าเป็นเหตุของภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารกเกินครึ่ง การขาดในเด็กอาจเกิดภายในเดือนเดียวที่ทานอาหารไม่ดี ในผู้ใหญ่ระดับโฟเลตทั้งหมดในร่างกายอยู่ที่ระหว่าง 10,000-30,000 ไมโครกรัม (µg) โดยมีระดับในเลือดเกิน 7 nmol/L (3 ng/mL) กรดนี้ค้นพบในระหว่างปี..

ดู ไนอาซินและกรดโฟลิก

การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก

หลอกที่ใช้ในงานวิจัยและการปฏิบัติจริง การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก (Placebo-controlled studies) หรือ การศึกษาควบคุมด้วยการรักษาหลอก เป็นวิธีการทดสอบการรักษาทางการแพทย์ ที่นอกจากจะมีกลุ่มบุคคลที่ได้รับการรักษาที่เป็นประเด็น ก็ยังมีกลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาหลอก (placebo) ที่ออกแบบไม่ให้มีผลอะไร การรักษาหลอกมักจะใช้ในการทดลองแบบอำพราง ที่คนไข้ไม่รู้ว่าตนกำลังได้รับการรักษาแบบจริงหรือหลอก บ่อยครั้งจะมีกลุ่มอีกลุ่มหนึ่ง (natural history) ที่ไม่ได้รับการรักษาอะไรเลย จุดมุ่งหมายของกลุ่มรักษาหลอกก็เพื่อที่จะแก้ปรากฏการณ์ยาหลอก (placebo effect) ซึ่งหมายถึงผลจากกระบวนการรักษาที่ไม่ได้เกิดจากการรักษาที่เป็นประเด็น เป็นผลที่อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ รวมทั้งการรู้ว่ากำลังได้รับการรักษา ความใส่ใจจากแพทย์พยาบาล และความคาดหวังถึงประสิทธิผลการรักษาของผู้ทำงานวิจัย และถ้าไม่มีกลุ่มรักษาหลอกเพื่อใช้เปรียบเทียบ ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่า การรักษามีผลอะไรจริง ๆ หรือไม่ เพราะคนไข้บ่อยครั้งจะดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาแบบหลอก การรักษาแบบหลอกอาจมีหลายแบบรวมทั้ง ยาที่มีแต่น้ำตาล การผ่าตัดที่ไม่ทำอะไรที่ได้ผลจริง ๆ (เช่น เพียงแต่ผ่า และบางครั้งจับหรือจัดการอวัยวะเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ) หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ (เช่น การใช้เครื่องอัลตราซาวนด์) ที่ไม่ได้เปิดจริง ๆ นอกจากนั้นแล้ว เพราะเหตุที่ร่างกายสามารถดีขึ้นได้โดยธรรมชาติ หรือเพราะผลทางสถิติอื่น ๆ เช่น regression to the mean (คือโรคที่อาการหนักมากมักจะดีขึ้น) คนไข้เป็นจำนวนมากจะดีขึ้นแม้ว่าจะไม่ได้รับการรักษาโดยประการทั้งปวง ดังนั้น คำถามที่เป็นประเด็นเมื่อประเมินการรักษาไม่ใช่ "การรักษาได้ผลหรือไม่" แต่เป็น "การรักษาได้ผลดีกว่าการรักษาหลอก หรือเมื่อไม่ได้การรักษาอะไรเลยหรือไม่" นักวิจัยที่ทำการทดลองทางคลินิกในยุคต้น ๆ คนหนึ่งเขียนไว้ว่า "จุดประสงค์แรกของการทดสอบการรักษาก็คือเพื่อสืบหาว่า คนไข้ที่ได้รับการรักษาที่กำลังสืบสวนหายได้เร็วกว่า ได้สมบูรณ์กว่า ได้บ่อยครั้งกว่า ที่จะเป็นเมื่อไม่ได้" หรือกล่าวโดยกว้าง ๆ ก็คือ จุดมุ่งหมายของการทดลองทางคลินิกก็เพื่อจะกำหนดว่า การรักษาอะไร ทำอย่างไร ต่อคนไข้ประเภทไหน ในสภาวะอะไร ที่ได้ผลดีที่สุด ดังนั้น การใช้การรักษาหลอกเป็นองค์ควบคุมมาตรฐานในการทดลองทางคลินิกโดยมาก ซึ่งพยายามทำการประเมินเชิงปริมาณ (quantitative assessment) ของประสิทธิผลของยาหรือการรักษา การตรวจสอบหรือการทดลองทางคลินิกอย่างที่ว่า เรียกว่า การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก (placebo-controlled study) โดยมีกลุ่มควบคุมเป็นแบบลบ (คือเป็นกลุ่มที่ไม่ควรได้ผล) ส่วนงานศึกษาที่ควบคุมโดยการรักษาที่เคยตรวจสอบมาก่อนแล้ว จะเรียกว่า positive-control study เพราะว่า กลุ่มควบคุมเป็นแบบบวก (คือควรจะได้ผลดังที่เคยพบมาก่อนแล้ว) องค์กรควบคุมของรัฐจะอนุมัติยาก็ต่อเมื่อมีการตรวจสอบที่ไม่ใช่เพียงแค่แสดงว่ามีผลต่อคนไข้ แต่ว่าผลต่างที่ได้มีมากกว่าที่ได้จากการรักษาหลอก (คือมีผลต่อคนไข้จำนวนมากกว่า มีผลต่อคนไข้ในระดับสูงกว่า หรือทั้งสอง).

ดู ไนอาซินและการศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก

ภาวะกรดยูริกเกินในเลือด

วะกรดยูริกเกินในเลือด (Hyperuricemia) เป็นภาวะที่กรดยูริกสูงเกินในเลือด ในระดับ pH ปกติของน้ำในร่างกาย กรดยูริกโดยมากจะอยู่ในรูปแบบของยูเรตซึ่งเป็นไอออน ปริมาณของยูเรตในร่างกายจะขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างปริมาณพิวรีนที่ได้จากอาหาร ปริมาณยูเรตที่สังเคราะห์ภายในร่างกาย (เช่น ในการผันเวียนของเซลล์) และปริมาณของยูเรตที่ถ่ายออกทางปัสสาวะหรือผ่านทางเดินอาหาร ในมนุษย์ พิสัยด้านสูงปกติอยู่ที่ 360 µmol/L (6 mg/dL) สำหรับหญิงและ 400 µmol/L (6.8 mg/dL) สำหรั.

ดู ไนอาซินและภาวะกรดยูริกเกินในเลือด

มะเฟือง

มะเฟือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Averrhoa carambola L.; ชื่อสามัญ: Carambola) เป็นไม้ต้นพื้นเมืองของอินโดนีเซีย อินเดีย และศรีลังกา และเป็นที่นิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย มาเลเซีย และบางส่วนของเอเชียตะวันออก รวมทั้งมีเพาะปลูกในสาธารณรัฐโดมินิกัน บราซิล เปรู กานา Guyana ซามัว ตองกา ไต้หวัน French Polynesia คอสตาริกา และ ออสเตรเลีย ในสหรัฐอเมริกามีแหล่งเพาะปลูกเชิงพาณิชย์อยู่ที่ฟลอริดาตอนใต้และฮาว.

ดู ไนอาซินและมะเฟือง

มะเดื่อ

มะเดื่อ หรือ มะเดื่อฝรั่ง หรือ มะเดื่อญี่ปุ่น เป็นไม้ยืนต้นที่แยกดอกแยกต้นเจริญได้ดีในที่สูงถึง 6 เมตร หรือ 19 ฟุต อยู่ในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae เป็นพืชพื้นเมืองในแถบตะวันออกกลาง เป็นพืชคนละชนิดกับมะเดื่ออุทุมพรหรือมะเดื่อชุมพร (F.

ดู ไนอาซินและมะเดื่อ

ยอ

อกยอ ยอ (L.) เป็นพืชพื้นเมืองในแถบพอลินีเชียตอนใต้ แล้วแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ภาษามลายูเรียกเมอกาดู ในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเรียกโนนู เป็นไม้ยืนต้น ต้นสี่เหลี่ยม เปลือกต้นเรียบ ใบสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ฐานดอกติดกันแน่นเป็นทรงกลม ผลทรงยาวรี เมื่ออ่อนสีเขียว พอสุกเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล เนื้อนุ่ม รสเผ็ด กลิ่นแรง มีเมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาลเข้ม.

ดู ไนอาซินและยอ

ยาลดไขมันในเส้นเลือด

ลดไขมันในเส้นเลือด (hypolipidaemic agents) เป็นกลุ่มของเภสัชภัณฑ์ที่ใช้รักษาไขมันในเส้นเลือดสูงกว่าปกติ (hyperlipidemia) พวกมันถูกเรียกว่า ยาลดไขมัน (lipid-lowering drugs) หรือ (LLD) ตัวอย่างของยาลดไขมันได้แก.

ดู ไนอาซินและยาลดไขมันในเส้นเลือด

รายชื่อสารประกอบอินทรีย์

รายชื่อสารประกอบอินทรีย์ (List of organic compounds) โดยสังเขป.

ดู ไนอาซินและรายชื่อสารประกอบอินทรีย์

วิตามิน

วิตามิน หรือ ไวตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่สิ่งมีชีวิตต้องการในปริมาณเล็กน้อยLieberman, S and Bruning, N (1990).

ดู ไนอาซินและวิตามิน

วิตามินบี6

วิตามินบี6 (Vitamin B6) เป็นวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ ซึ่งมักใช้ร่วมกับบี1 และบี12 ซึ่งวิตามินบี1 ทำงานกับคาร์โบไฮเดรตส่วนวิตามินบี6 และบี12 ทำงานร่วมกับโปรตีนและไขมัน ร่างกายมนุษย์ต้องการวิตามินบี6 ประมาณ 1.5 มิลลิกรัม.

ดู ไนอาซินและวิตามินบี6

สไปรูลินา (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)

ปรูไลนาอัดเม็ด สไปรูไลนา เป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์หรือเป็นอาหารเสริมซึ่งผลิตจากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสองชนิด คือ Arthrospira platensis และ Arthrospira maxima Arthrospira พบปลูกทั่วโลก และใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในมนุษย์ เช่นเดียวกับเป็นอาหาร และพบได้ทั้งในรูปเม็ด แผ่นและผง มันยังใช้เป็นสารเสริมอาหารสัตว์ในการเลี้ยงสัตว์น้ำ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำและอุตสาหกรรมสัตว์ปีกVonshak, A.

ดู ไนอาซินและสไปรูลินา (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)

อะลูมิเนียม นิโคติเนท

อะลูมิเนียม นิโคติเนท (Aluminium nicotinate) เป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดกลุ่มอนุพันธ์ของไนอะซิน (niacin derivative) .

ดู ไนอาซินและอะลูมิเนียม นิโคติเนท

อะคิพิม็อกซ์

อะคิพิม็อกซ์ (Acipimox) (ชื่อการค้า Olbetam ในยุโรป) เป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดกลุ่มอนุพันธ์ของไนอะซิน (niacin derivative) มีสูตรโครงสร้างคล้ายกับไนอะซิน แต่ยาไม่ถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกาย จึงอยู่ในกระแสเลือดได้นาน และถูกขับออกจากร่างกายได้ช้า จึงสามารถออกฤทธิ์ได้ยาวนาน การใช้ยาในขนาดต่ำจึงมีประสิทธิภาพมากพอในการรักษาและอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นนั้นพบว่าเกิดขึ้นได้น้อยกว่าไนอะซิน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดถึงขนาดอะพิคิม็อกซ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการรักษาเทียบเท่ากับไนอะซิน .

ดู ไนอาซินและอะคิพิม็อกซ์

อีโทไฟเบรต

อีโทไฟเบรต (Etofibrate) เป็นยากลุ่มไฟเบรต (fibrate) ซึ่งเกิดจากการเกิดพันธะระหว่างกันด้วยพันธะเอสเทอร์ของยาลดระดับไขมันในกระแสเลือด 2 ชนิด คือ คลอไฟเบรต (clofibrate) และไนอะซิน  (niacin) ซึ่งเมื่ออีโทไฟเบรตถูกดูดซึมเข้าสุ่ร่างกายแล้ว ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของยาได้เป็นตัวยาทั้งสองชนิดดังข้างต้น ดังนั้นผลของยาต่อร่างกายที่เกิดจากอีโทไฟเบรต จึงคล้ายคลึงกับผลที่เกิดจากคลอไฟเบรต (clofibrate) และไนอะซิน (niacin).

ดู ไนอาซินและอีโทไฟเบรต

อีเซทิไมบ์

อีเซทิไมบ์ (Ezetimibe อ่านว่า) เป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือด ออกฤทธิ์โดยการลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้เล็ก โดยยาดังกล่าวเป็นยาชนิดแรกของยากลุ่มยับยั้งการดูดซึมคอเลสเทอรอล (cholesterol-absorption inhibitor) ที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนตุลาคม..

ดู ไนอาซินและอีเซทิไมบ์

ผักจินดา

ผักจินดา หรือ ผักเชียงดา เป็นไม้เถาเลื้อยพบได้ในประเทศแถบทวีปเอเซีย เช่น อินเดีย พม่า ในประเทศไทยนิยมนำมารับประทานเป็นผักหรือใช้ปรุงอาหาร มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้เป็นเบาหวานทั้งสองชนิดได้ข้อมูลของ ผักเชียงดา “เชียงดา” ผักฆ่าน้ำตาล ช่วยรักษา “เบาหวาน” ผักเชียงดาผักสมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรคเบาหวาน.

ดู ไนอาซินและผักจินดา

คอเลสเซเวแลม

อเลสเซเวแลม (Colesevelam) เป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดกลุ่มไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์ชนิดรับประทาน ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทเจลเท็กซ์ ฟาร์มาซูติคอลส์ (GelTex Pharmaceuticals) และหลังจากนั้นตัวยาดังกล่าวถูกถือครองสิทธิ์โดยบริษัทเจ็นไซม์ คอร์ปอเรชั่น (Genzyme Corporation) บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพสัญชาติอเมริกัน ปัจจุบันคอเลสเซเวแลมวางตลาดในสหรัฐอเมริกาภายใต้ชื่อการค้า Welchol ของบริษัท ไดอิจิ ซังเคียว (Daiichi Sankyo) และภายใต้ชื่อการค้า Cholestagel ของบริษัทเจ็นไซม์ ส่วนในแคนาดามีจำหน่ายในชื่อการค้า Lodalis ของบริษัทวาเลียนท์ ฟาร์มาซูติคอลส์ (Valeant Pharmaceuticals).

ดู ไนอาซินและคอเลสเซเวแลม

ปลาแซลมอน

วาดปลาแซลมอนชนิดต่าง ๆ ปลาแซลมอน http://www.royin.go.th/th/webboardnew/answer.php?GroupID.

ดู ไนอาซินและปลาแซลมอน

นิโคตินิล แอลกอฮอล์

นิโคตินิล แอลกอฮอล์ (Nicotinyl alcohol หรือ pyridylcarbinol) (ชื่อการค้า: Roniacol) เป็นยาลดไขมันในกระแสเลือดที่เป็นอนุพันนธ์ของไนอะซิน (niacin derivative) นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการหน้าแดง (flushing) หรือความดันโลหิตลดลงได้ ในปัจจุบัน ไม่มีการผลิตยานี้เพื่อจำหน่ายในเชิงการค้าแล้ว มีเพียงการใช้ในการศึกษาทดลองเท่านั้น.

ดู ไนอาซินและนิโคตินิล แอลกอฮอล์

น้ำเต้าหู้

น้ำเต้าหู้ น้ำเต้าหู้ หรือ นมถั่วเหลือง เป็นเครื่องดื่มซึ่งทำจากการบดถั่วเหลืองและนำไปต้มกรองจนเจือจางลง อาจปรุงด้วยน้ำตาลและอื่น ๆ รับประทานได้ทันที นิยมรับประทานเป็นมื้อเช้าคู่กับปาท่องโก๋ หรือทำเป็นน้ำเต้าหู้ทรงเครื่องโดยใส่สาคู ลูกเดือย ข้าวบาร์เลย์ ถั่วแดง วุ้น หรือธัญพืชชนิดอื่น ๆ ตามชอ.

ดู ไนอาซินและน้ำเต้าหู้

แมคาเดเมีย

แมคาเดเมีย (macadamia) เป็นไม้ยืนต้นจำพวกหนึ่งที่อยู่ในวงศ์เหมือดคน (Proteaceae) ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Macadamia integrifolia แม้ว่าแมคาเดเมียจะมีลักษณะเหมือนถั่ว แต่มันกลับไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว เพราะไม่ได้อยู่ในวงศ์ Fabaceae แต่ถึงอย่างไรก็ตามมันก็เป็นต้นไม้ประเภทนัทที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมากและมีราคาสูง ต้นไม้ชนิดนี้จะให้ผลดีก็ต่อเมื่อปลูกบนพื้นที่ค่อนข้างสูงเท่านั้น แมคาเดเมียเป็นพืชหนึ่งในเก้าสายพันธุ์ของดอกพืชในวงศ์ Proteaceae ซึ่งมีอยู่ตามพื้นที่ทางภาคตะวันออกของออสเตรเลีย นิวแคลิโดเนียและ สุลาเวสี ในอินโดนีเซี.

ดู ไนอาซินและแมคาเดเมีย

โรคอัลไซเมอร์

รคอัลซไฮเมอร์ หรือ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease หรือ AD) เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ.

ดู ไนอาซินและโรคอัลไซเมอร์

โรคเกาต์

รคเกาต์ (หรือที่รู้จักกันในนาม โพดากรา เมื่อเกิดกับนิ้วหัวแม่เท้า) เป็นภาวะความเจ็บป่วยที่มักสังเกตได้จากอาการไขข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันซ้ำ ๆ—มีอาการแดง ตึง แสบร้อน บวมที่ข้อต่อ ข้อต่อกระดูกฝ่าเท้า-นิ้วเท้าที่โคนนิ้วหัวแม่เท้ามักได้รับผลกระทบบ่อยที่สุด (ประมาณ 50% ของผู้ป่วย) นอกจากนี้ ยังอาจพบได้ในรูปแบบของก้อนโทไฟ นิ่วในไต หรือ โรคไตจากกรดยูริก โรคนี้เกิดจากการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง กรดยูริกตกผลึกแล้วมาจับที่ข้อต่อ เส้นเอ็น และ เนื้อเยื่อโดยรอบ การวินิจฉัยทางคลินิกทำได้โดยการตรวจผลึกที่มีลักษณะเฉพาะในน้ำไขข้อ รักษาได้โดยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) สเตอรอยด์ หรือ โคลชิซีน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ หลังจากอาการข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันผ่านไปแล้ว ระดับของกรดยูริกในเลือดมักจะลดลงได้โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และในผู้ที่มีอาการกำเริบบ่อยอาจใช้อัลโลพูรินอลหรือโพรเบเนซิดเพื่อให้การป้องกันในระยะยาว จำนวนผู้ป่วยโรคเกาต์เพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายสิบปีนี้ โดยมีผลกระทบกับ 1-2% ของชาวตะวันตกในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้เชื่อว่าเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงที่พบมากขึ้นในประชากร ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มอาการเมตาบอลิก อายุขัยที่ยืนยาวขึ้น และ พฤติกรรมการกินอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป แต่เดิมนั้นโรคเกาต์เคยได้ชื่อว่าเป็น "โรคของราชา" หรือ "โรคของคนรวย".

ดู ไนอาซินและโรคเกาต์

โลวาสแตติน

ลวาสแตติน(อังกฤษ:Lovastatin) เป็นยาในกลุ่มสแตติน ใช้รักษา คอเลสเตอรอลสูง และป้องกัน โรคคาร์ดิโอวาสคูลาร.

ดู ไนอาซินและโลวาสแตติน

ไนโคฟูราโนส

นโคฟูราโนส (Nicofuranose) (ชื่อการค้า: Bradilan) เป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดกลุ่มอนุพันธ์ของไนอะซิน (niacin derivative) นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการขยายหลอดเลือดส่วนปลาย จึงอาจมีการใช้ไนโคฟูราโนสในการรักษาความผิดปกติที่เกี่ยวเนื่องกับหลอดเลือดส่วนปลายได้ ในปัจจุบันไนโคฟูราโนสยังไม่ค่อยมีการวางจำหน่ายในท้องตลาดเชิงการค้า โดยส่วนใหญ่แล้วมักเป็นการใช้อยู่ในการศึกษาวิจัยทางคลินิก.

ดู ไนอาซินและไนโคฟูราโนส

ไนเซอริทรอล

นเซอริทรอล (Niceritrol) (ชื่อการค้า: Perycit) เป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดที่เป็นอนุพันธ์ของไนอะซิน (niacin derivative) โดยมีโครงสร้างเป็นสารประกอบเอสเทอร์ของเพนตะอีระไธรทอล (pentaerythritol) และกรดนิโคทินิค (nicotinic acid) คุณสมบัติโดยทั่วไปของไนเซอริทรอลนั้นมีความคล้ายคลึงกันกับกรดนิโคทินิค (หรือนิโคทินาไมด์) นอกจากจะมีฤทธิ์เป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดแล้ว ไนเซอริทรอลยังมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ซึ่งอาจสามารถนำไปใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวเนื่องกับหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vascular disease) ได้.

ดู ไนอาซินและไนเซอริทรอล

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ดู ไนอาซินและเมแทบอลิซึม

เอสซีเอช-48461

อสซีเอช-48461 (SCH-48461) เป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลที่ลำไส้เล็ก ในช่วงแรกที่มีการค้นพบยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งที่ Niemann-Pick C1-like 1 (NPC1L1) ของบริษัทเชอริ่ง-พลาว (Schering-Plough) โดยเบอร์เน็ตและคณะได้ค้นพบว่าอนุพันธ์ที่มีโครงสร้างหลักเป็นสารกลุ่ม 2-อะเซทิไดโอน (2-azetidinone) นั้นมีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของ NPC1L1 ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้เล็ก ถึงแม้ในช่วงแรกของการประเมินทางชีวภาพของสารกลุ่มดังกล่าวจะเป็นการทดสอบในหลอดทดลองแต่ผลการทดลองก็แสดงให้เห็นได้อย่างชัดว่า สารดังกล่าวมีฤทธิ์เล็กน้อยในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคอเรสเตอรอลที่มีมากเกินไปในกระแสเลือดให้กลายเป็นคอเลสเตอรอลเอสเทอร์ ซึ่งจะถูกทำไปเก็บสะสมไว้ตามส่วนต่างๆของร่างกายต่อไป โดยเอนไซม์ดังกล่าว คือ อะซีทิล-โคเอนไซม์ เอ: คอเลสเตอรอล อะซิทิลทรานเฟอเรส (acyl-coenzyme A:cholesterol acyltransferase; ACAT) โดยมีค่า IC50 ประมาณ 2–50 มิลลิโมลาร์ และผลการทดลองในสัตว์ทดลองพบว่า สารกลุ่มดังกล่าวยังมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ACAT ได้อย่างมีนัยสำคัญในการทดลองกับหนูทดลองที่ได้รับคอเลสเตอรอลเข้าสู่ร่างกาย (cholesterol-fed hamster; CFH) โดยสารต้นแบบตัวแรกของสารกลุ่ม 2-อะเซทิไดโอน  คือ เอสซีเอช-48461 มีค่า IC50 สำหรับการยับยั้งเอนไซม์ ACAT อยู่ที่ประมาณ 26 มิลลิโมลาร์ และมีค่า ED50 สำหรับการลดคอเลสเตอรอลเอสเทอร์ในหนูทดลองประมาณ 2.2 mpk.

ดู ไนอาซินและเอสซีเอช-48461

เจ็มไฟโบรซิล

็มไฟโบรซิล (Gemfibrozil) เป็นชื่อสามัญของยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดชนิดรับประทาน ซึ่งถูกจัดอยู่ในยากลุ่มไฟเบรต (Fibrate derivatives) มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับคลอไฟเบรต ปัจจุบันมีจำหน่ายในชื่อการค้าต่างๆมากมาย เช่น Lopid, Jezil,  Gen-Fibro เป็นต้น.

ดู ไนอาซินและเจ็มไฟโบรซิล

ICD-10 บทที่ 4: โรคของต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึม

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ดู ไนอาซินและICD-10 บทที่ 4: โรคของต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึม

Murashige and Skoog medium

อาหารสังเคราะห์ Murashige and Skoog (Murashige and Skoog mediumue) หรือ (MSO หรือ MS0 (MS-zero)) เป็นอาหารที่ใช้เลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คิดค้นขึ้นโดย Toshio Murashige และ Folke K.

ดู ไนอาซินและMurashige and Skoog medium

หรือที่รู้จักกันในชื่อ NiacinNicotinic acidกรดนิโคตินิกวิตามินบี 3วิตามินบี3