เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ไดอะไนซัส

ดัชนี ไดอะไนซัส

อะไนซัส (Dionysus, /daɪ.əˈnaɪsəs/; Διόνυσος, Dionysos) เป็นเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยวองุ่น การทำไวน์และไวน์ ความบ้าคลั่งทางพิธีกรรมและปีติศานติ์ในเทพปกรณัมกรีก พระนามของพระองค์ในแผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บี แสดงว่าชาวกรีกไมซีเนียนอาจมีการบูชาพระองค์ตั้งแต่ประมาณ 1500–1100 ปีก่อน..

สารบัญ

  1. 31 ความสัมพันธ์: บาคคัสบาคคัส (คาราวัจโจ)พระเจ้าไมดาสพิภพนิรันดรกรุสมบัติมิลเดนฮอลล์ยาโกบ ยอร์ดานส์รายชื่อตัวละครในนักเตะแข้งสายฟ้าสฟิงซ์สมบัติแบร์ตูวีลอะธีนาฮิฟีสตัสฮีราธีบส์ (กรีซ)คาริทีสซูสซีมีลีนิกซ์แอรีสแอโฟรไดทีแครอนโลมาไวน์เพอร์ซีย์ แจ็กสันเศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่นเอสคิลัสเฮสเตียเฮอร์มีสเทวสภาโอลิมปัสเทวสถานบาคคัสเซเรส (เทพปกรณัม)เซเทอร์

บาคคัส

ัส สามารถหมายถึง.

ดู ไดอะไนซัสและบาคคัส

บาคคัส (คาราวัจโจ)

ัส (ภาษาอังกฤษ: Bacchus) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเร็นซ์ในประเทศอิตาลี ภาพ “บาคคัส” เขียนราวปี ค.ศ.

ดู ไดอะไนซัสและบาคคัส (คาราวัจโจ)

พระเจ้าไมดาส

งไมดาส ที่ได้รับพรวิเศษจากเทพไดโอนีซุส โอบกอดพระธิดาของพระองค์จนพระธิดากลายเป็นทองคำ ไมดาส เป็นชื่อของกษัตริย์ที่ปกครองนครไฟร์เกีย พระองค์เป็นพระโอรสของพระเจ้ากลอดิอุส โดยไมดาสสืบทอดพระราชสมบัติต่อจากพระบิดา ซึ่งในเวลานั้นนครไฟร์เกียเป็นหนึ่งในนครที่มั่งคั่งและรุ่งเรืองที่สุดนครหนึ่งด้วยพระปรีชาสามารถในการบริหารปกครองของพระเจ้ากลอดิอ.

ดู ไดอะไนซัสและพระเจ้าไมดาส

พิภพนิรันดร

นิรันดร เป็นชุดหนังสือที่เขียน.

ดู ไดอะไนซัสและพิภพนิรันดร

กรุสมบัติมิลเดนฮอลล์

กรุสมบัติมิลเดนฮอลล์ (Mildenhall Treasure) เป็นกรุสมบัติกรุใหญ่ของเครื่องเงินแบบโรมัน 34 ชิ้นที่ขุดพบในบริเวณมิลเดนฮอลล์, ซัฟโฟล์คในอังกฤษในเดือนมกราคมปี ค.ศ.

ดู ไดอะไนซัสและกรุสมบัติมิลเดนฮอลล์

ยาโกบ ยอร์ดานส์

กบ ยอร์ดานส์ (Jacob Jordaens; 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1593 - 18 ตุลาคม ค.ศ. 1678) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยบาโรกแบบเฟลมิช คริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพประวัติศาสตร์ คริสต์ศาสนา ภาพเหมือน และการออกแบบพรมทอแขวนผนัง ยาโกบ ยอร์ดานส์, เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ และอันโตนี ฟัน ไดก์ เป็นจิตรกรสามคนที่นำความมีหน้ามีตามาสู่ตระกูลการเขียนภาพแบบแอนต์เวิร์ป (Antwerp school) ยอร์ดานส์เป็นจิตรกรในหมู่น้อยที่มิได้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อศึกษาการเขียนภาพแบบอิตาลี และความก้าวหน้าทางอาชีพของยอร์ดานส์ก็มิได้มีอยู่ความสนใจในราชสำนักหรือความก้าวหน้าในราชสำนักd'Hulst, pp.

ดู ไดอะไนซัสและยาโกบ ยอร์ดานส์

รายชื่อตัวละครในนักเตะแข้งสายฟ้า

ตัวละครในเรื่องอินาสึมะอีเลฟเวน ได้ปรากฏอยู่ในวิดีโอเกมและภาพยนตร์อะนิเมะจึงได้รวบรวมตัวละครต่าง ๆ ในแต่ละภาคทั้ง อินาสึมะอีเลฟเวน, อินาสึมะอีเลฟเวน 2 เคียวอิ โนะ ชินเรียคุฉะ, อินาสึมะอีเลฟเวน 3 เซไคเอะ โนะ โชวเซน!!, ภาพยนตร์อะนิเมะ และหนังสือการ์ตูน.

ดู ไดอะไนซัสและรายชื่อตัวละครในนักเตะแข้งสายฟ้า

สฟิงซ์

ฟิงซ์ (Sphinx) เป็นสัตว์ที่มีส่วนผสมของสัตว์หลายชนิดรวมอยู่ในตัวเดียวกันตามความเชื่อของคนแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้ สฟิงซ์เป็นความเชื่อที่มีอยู่ในหลายวัฒนธรรม.

ดู ไดอะไนซัสและสฟิงซ์

สมบัติแบร์ตูวีล

มบัติแบร์ตูวีล (Berthouville Treasure) เป็นเครื่องเงินโรมันที่ขุดพบระหว่างการไถนาที่หมู่บ้านวีเลอเรที่เมืองแบร์ตูวีลในจังหวัดเออร์ แคว้นโอต-นอร์ม็องดี ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศสในเดือนมีนาคมปี ค.ศ.

ดู ไดอะไนซัสและสมบัติแบร์ตูวีล

อะธีนา

ในศาสนาและเทพปกรณัมกรีก อะธีนา (Athena) หรือ อะธีนี (Athene) หรือ แพลลัสอธีนา/อะธีนี (Pallas Athena/Athene) เป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งปัญญา ความกล้า แรงบันดาลใจ อารยธรรม กฎหมายและความยุติธรรม การสงครามโดยชอบ คณิตศาสตร์ ความแข็งแกร่ง ยุทธศาสตร์ ศิลปะ งานฝีมือและทักษะ ภาคโรมัน คือ มิเนอร์วา มีการพรรณนาอะธีนาว่าทรงเป็นพระสหายร่วมทางผู้เฉลียวฉลาดของวีรบุรุษและเทพเจ้าอุปถัมภ์การผจญภัยของวีรบุรุษ พระนางทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์ผู้อุปถัมภ์กรุงเอเธนส์ ชาวเอเธนส์ตั้งวิหารพาร์เธนอนบนอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ (อะธีนาพาร์ธีนอส) เพื่อถวายเกียรติแด่พระนางDeacy, Susan, and Alexandra Villing.

ดู ไดอะไนซัสและอะธีนา

ฮิฟีสตัส

ฟีสตัส (Ἥφαιστος) (Hephaestus) เป็นเทพเจ้าแห่งช่างตีเหล็ก (blacksmith) ช่างฝีมือ ช่างศิลป์ ประติมากร โลหะ โลหะวิทยา (metallurgy) ไฟและภูเขาไฟWalter Burkert, Greek Religion 1985: III.2.ii; see coverage of Lemnos-based traditions and legends at Mythic Lemnos) ภาคโรมัน คือ วัลแคน ในเทพปกรณัมกรีก ฮีฟีสตัสเป็นพระโอรสของซูสกับพระนางฮีรา หรือบางตำราก็ว่าท่านเกิดมาแต่เฉพาะเทวีฮีรา และมีแอฟโฟรไดทีเป็นชายา ฮิฟีสตัสเป็นเทพช่างตีเหล็ก ทรงประดิษฐ์อาวุธทั้งหมดของพระเจ้าบนโอลิมปัส พระองค์เป็นช่างตีเหล็กของเหล่าทวยเทพ และทรงได้รับการบูชาในศูนย์การผลิตและอุตสาหกรรมของกรีซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเอเธนส์ ลัทธิบูชาฮีฟีสตัสมีศูนย์กลางในเลมนอส ฮิฟีสตัสมีลักษณะเด่นคือเป็นเทพพิการ มีขาไม่สมประกอบ มีกริยาอาการเหมือนคนทุพพลภาพ และถือเครื่องมือช่างตลอดเวลา ท่านจึงได้รับฉายาเรียกหลายอย่างที่แสดงถึงลักษณะทางกายภาพ เช่น.

ดู ไดอะไนซัสและฮิฟีสตัส

ฮีรา

ีร่า หรือ เฮร่า (Hera; Ήρα, Ήρη) เป็นมเหสีและเชษฐภคินี (พี่สาว) ของซูสในพระเจ้าโอลิมปัสของเทพปกรณัมและศาสนากรีก เป็นธิดาของโครนัสและเรีย หน้าที่หลักของพระนางคือเป็นเทพเจ้าแห่งสตรีและการสมรส ภาคโรมัน คือ จูโน พิจารณาว่าวัว สิงโตและนกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ ฮีร่าเป็นที่รู้จักจากธรรมชาติอิจฉาและพยาบาทของพระนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่น ๆ ของซูส และบุตรที่เกิดจากชายาเหล่านั้น ไม่ว่าพวกนางเป็นเทพเจ้าหรือมนุษย์ก็ตาม ตัวอย่างของผู้ที่ถูกฮีร่าปองร้ายมีมากมาย เช่น ลีโต มารดาของเทพอพอลโลและเทพีอาร์ทิมิส เฮราคลีส ไอโอ ลามิอา เกรานา ซิมิลี มารดาของเทพไดอะไนซัส ยูโรปา เป็นต้น ก็จะเจอจุดจบแบบไม่สวยงาม ในมหากาพย์อีเลียด ของ โฮเมอร์ ได้กล่าวถึงพระนางว่า เทพีตาวัว (ox-eyed goddess) ซึ่งแสดงถึงสัตว์ประจำตัวของฮีรานั่นเอง.

ดู ไดอะไนซัสและฮีรา

ธีบส์ (กรีซ)

ีบส์ (Thebes.; Θῆβαι,Thēbai,: (แธไบ)) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใน บีโอเชีย (Boeotia) ตอนกลางของกรีซ ธีบส์เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในเทพปกรณัมกรีก โดยเป็นสถานที่ของตำนานเกี่ยวกับวีรบุรุษและเทพเจ้าสำคัญๆของกรีซ เช่น แคดมอส อีดิปัส ไดโอไนซัส ฯลฯ การขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่รอบๆธีบส์ เผยให้เห็นการตั้งรกรากของอารยธรรมไมซีนี และการขุดค้นยังพบอาวุธ ศิลปะงาช้าง รวมทั้งแผ่นจารึกดินเหนียวไลเนียร์บี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่นี้ในยุคสำริด ธีบส์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในท้องที่บีโอเชียสมัยโบราณ และเป็นผู้นำของสหพันธรัฐบีโอเชีย (Boeotian confederacy) ในสมัยอาร์เคอิก และสมัยคลาสสิคของกรีซ ธีบส์เคยเป็นเมืองคู่แข่งที่สำคัญของเอเธนส์โบราณ และเคยเข้าเป็นพันธมิตรกับเปอร์เซีย ในตอนที่เปอร์เซียภายใต้กษัตริย์เซิร์กซีสยกทัพเข้ารุกรานกรีซ ช่วงปีที่ 480 ก่อน..

ดู ไดอะไนซัสและธีบส์ (กรีซ)

คาริทีส

ประติมากรรม “ไตรเทพี”ค.ศ. 1825 คาริทีส หรือ ไตรเทพี (Charites) ตามตำนานเทพเจ้ากรีก “Charis” (Χάρις หรือ คาริส) เป็นเทพีองค์หนึ่งในบรรดา “Charites” (Χάρις หรือ “Graces” หรือคาริทีส) ซึ่งเป็นเทพีแห่งความมีเสน่ห์, ความงาม, ธรรมชาติ, การสร้างสรรค์ และ การเจริญพันธุ์ จำนวนเทพีคาริทีสเดิมมีด้วยกันสามองค์ตั้งแต่องค์ที่มีอาวุโสที่สุดเทพีอกลาเอีย (Aglaea หรือ ความงาม), เทพียูโฟรเซเน (Euphrosyne หรือ ความร่าเริง) และองค์ที่อาวุโสน้อยที่สุดเทพีธาเลีย (Thalia หรือ ความสนุก) ตำนานเทพเจ้าโรมันเรียกกันว่า “กราทิเอ” (Gratiae) หรือเทพีแห่งความสง่างาม (Grace) คาริทีสมักจะถือกันว่าเป็นธิดาของซูสและยูรีโนเม (Eurynome) แต่บางครั้งก็กล่าวว่าเป็นธิดาของไดโอนิซัสและแอฟรอไดที หรือธิดาของเทพเฮลิออสและเทพีเอเกิล โฮเมอร์บรรยายว่าเทพีชาริทีสเป็นผู้ติดตามคนหนึ่งของแอฟรอไดที.

ดู ไดอะไนซัสและคาริทีส

ซูส

ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.

ดู ไดอะไนซัสและซูส

ซีมีลี

ซูสและซีมีลี โดยกุสตาฟ มอโร ซีมีลี (Semele) ในตำนานเทพเจ้ากรีก ซีมีลีเป็นธิดาของแคดมุสและฮาร์โมเนีย เป็นมนุษย์ที่มีความสง่างามมากจึงเป็นที่ถูกใจของเทพซูส แต่เทพซูสกลัวว่านางเฮรา มเหสีเอกของตนจะจับได้ จึงกลายร่างเป็นชายหนุ่มรูปงามและได้มีความสัมพันธ์กันและได้นางซีมีลีมาเป็นชายาอีกองค์ ต่อมานางเฮราได้พบเข้า จึงแปลงกายเป็นหญิงชราซึ่งเป็นพี่เลี้ยงของนางซีมีลี และได้สอบถามว่าใครคือพ่อของลูกในท้องของนางซีมีลี นางซีมีลีจึงบอกว่าเป็นเทพซูสแห่งเขาโอลิมปัส นางเฮราจึงคิดกลอุบายให้นางซีมีลีไปสัญญาต่อแม่น้ำสติ๊กซ์ เมื่อเทพซูสได้ทราบเรื่องแล้วจึงไม่อาจจะขัดขืนได้จึงแปลงกายกลับ จึงทำให้รัศมีที่เจิดจ้าทำให้นางซีมีลีถูกแสงรัศมีเผาจนหมด ส่วนเทพซูสนั้นรีบเก็บครรภ์ของนางซีมีลีไว้ที่ต้นขา เนื่องจากกลัวว่านางเฮราจะจับได้ ต่อมาซูสได้ตั้งชื่อบุตรว่าไดโอไนซูส ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นหรือไวน์ หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ดู ไดอะไนซัสและซีมีลี

นิกซ์

นิกซ์ หรือ นุกซ์ (Nyx; Νύξ, นุกซ์; Nox แปลว่า กลางคืน) เป็นหนึ่งในเทพดั้งเดิม (protogenoi)ในเทพปกรณัมกรีก นิกซ์เป็นเทพีแห่งราตรีซึ่งเกิดจากเคออสและเป็นคู่ของเอเรบัส (ความมืด) นิกซ์เป็นมารดาของเทพตัวแทนปรากฎการณ์ธรรมชาติ อีกหลายองค์ ซึ่งรวมถึงทานาทอส (ความตาย) และฮิปนอส (นิทรา) มีรูปลักษณ์เป็นหญิงสาวผู้งดงามและทรงอำน.

ดู ไดอะไนซัสและนิกซ์

แอรีส

แอรีส (Ares; Ἄρης อาแรส) ทรงเป็นเทพแห่งสงครามของกรีก ทรงเป็นหนึ่งในสิบสองพระเจ้าโอลิมปัส และพระโอรสของซูสและฮีรา ในวรรณกรรมกรีก เป็นสัญลักษณ์ของแง่มุมกายภาพหรือความรุนแรงและไม่สงบของสงคราม ขัดกับอะธีนา ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งปัญญา รวมทั้งยุทธศาสตร์การทหารและตำแหน่งอำนาจแม่ทัพ ชาวกรีกมีความรู้สึกไม่ชัดเจนต่อแอรีส เนื่องจากเทพแอรีสเป็นสัญลักษณะของความพ่ายแพ้เช่นเดียวกับความสามารถในสงครามแม้พระองค์จะทรงมีความกล้าทางกายซึ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในสงคราม แต่เป็นพลังที่อันตราย "ท่วมท้น ละโมบในการยุทธ์ ทำลายล้างและฆ่าคน"Burkert, Greek Religion, p.

ดู ไดอะไนซัสและแอรีส

แอโฟรไดที

แอโฟรไดที (Aphrodite,; Ἀφροδίτη) เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ความงาม สุขารมณ์และการให้กำเนิด ภาคโรมัน คือ วีนัส มีนิยายว่าด้วยกำเนิดของพระนางมากกว่าหนึ่งเรื่อง เฉกเช่นพระเจ้ากรีกโบราณหลายพระองค์ เทออกอเนียของฮีซิอัดระบุว่า พระองค์ประสูติเมื่อโครนัสตัดอวัยวะเพศของยูเรนัสแล้วโยนลงทะเล จากนั้นพระองค์กำเนิดขึ้นจากฟองสมุทร (aphros) ด้วยพระสิริโฉมงดงามของพระองค์ พระเจ้าองค์อื่นจึงเกรงว่าการชิงพระนางจะขัดขวางสันติภาพในหมู่พวกตนและนำไปสู่สงคราม ฉะนั้นซูสจึงเสกสมรสพระนางกับฮิฟีสตัส ซึ่งด้วยความอัปลักษณ์และผิดรูปของพระองค์ ไม่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม แอโฟรไดทีมีชู้รักมากมาย ทั้งพระเจ้า เช่น แอรีส และมนุษย์ เช่น แองไคซีส (Anchises) พระองค์มีบทบาทในตำนานเอียรอสและไซคี ภายหลังเป็นทั้งชู้รักของอโดนิส (Adonis) และผู้ทดแทนมารดาของพระองค์ กล่าวกันว่าเทพชั้นรองจำนวนมากเป็นโอรสธิดาของแอโฟรไดที แอโฟรไดทียังรู้จักกันในพระนามไคธีเรีย (นายหญิงแห่งไคธีรา) และไซปริส (นายหญิงแห่งไซปรัส) ซึ่งตั้งตามชื่อแหล่งลัทธิสองแห่ง ไคธีราและไซปรัส ซึ่งอ้างว่าเป็นที่ประสูติของพระนาง กล่าวกันว่าเมอร์เทิล (myrtle) นกพิราบ นกกระจอก ม้าและหงส์ศักดิ์สิทธิ์ต่อพระนาง ชาวกรีกโบราณระบุพระองค์แอโฟรไดทีกับเทพีแฮธอร์ของอียิปต์โบราณ.

ดู ไดอะไนซัสและแอโฟรไดที

แครอน

อเล็กซานเดอร์ ลีตอฟเชนโค แครอน (Charon หรือ Kharon,; Χάρων) เป็นคนแจวของเฮดีสผู้นำวิญญาณของผู้เพิ่งตายข้ามแม่น้ำแอเคอรอนจากมนุษยโลกไปยังยมโลก บางครั้งญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตจะใส่ "เหรียญของแครอน" (Charon's obol) ในปากของผู้เสียชีวิตเพื่อเป็นค่าโดยสาร นักเขียนบางท่านกล่าวว่าผู้ที่ไม่มีเงินจ่ายค่าโดยสารหรือผู้ที่ไม่ได้ถูกฝังต้องเดินร่อนเร่อยู่ริมฝั่งเป็นเวลาหนึ่งร้อยปีจึงจะข้ามไปได้ วีรบุรุษที่ได้เดินทางข้ามจากมนุษยโลกไปยังยมโลก และข้ามกลับมายังมนุษยโลกอีกเช่น เฮราคลีส, ออร์เฟียส, อีเนียส, ไดอะไนซัส และไซคี ต่างก็ใช้เรือของแครอน.

ดู ไดอะไนซัสและแครอน

โลมา

ลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ทั้งในทะเล, น้ำจืด มีรูปร่างคล้ายปลา คือ มีครีบ มีหาง แต่โลมามิใช่ปลา เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก จัดอยู่ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ซึ่งประกอบไปด้วย วาฬและโลมา ซึ่งโลมาจะมีขนาดเล็กกว่าวาฬมาก และจัดอยู่ในกลุ่มวาฬมีฟัน (Odontoceti) เท่านั้น โลมา เป็นสัตว์ที่รับรู้กันเป็นอย่างดีว่าเฉลียวฉลาด มีความเป็นมิตรกับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยชีวิตมนุษย์เมื่อยามเรือแตก จนกลายเป็นตำนานหรือเรื่องเล่าขานทั่วไป มีอุปนิสัยอยู่รวมกันเป็นฝูง บางฝูงอาจมีจำนวนมากถึงหลักพันถึงหลายพันตัว ว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว รวมถึงสามารถกระโดดหมุนตัวขึ้นเหนือน้ำได้ ชอบว่ายน้ำขนาบข้างหรือว่ายแข่งไปกับเรือวาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518).

ดู ไดอะไนซัสและโลมา

ไวน์

วน์แดง (หน้า) และไวน์ขาว (หลัง) บนโต๊ะอาหาร ไวน์ (wine) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำจากองุ่นหรือผลไม้อื่นหมัก สมดุลเคมีธรรมชาติขององุ่นทำให้มันหมักโดยไม่ต้องเพิ่มน้ำตาล กรด เอ็นไซม์ น้ำหรือสารอาหารอื่น ยีสต์บริโภคน้ำตาลในองุ่นแล้วเปลี่ยนเป็นเอทานอลและคาร์บอนไดออกไซด์ พันธุ์ขององุ่นและสายพันธุ์ของยีสต์ที่ต่างกันทำให้ได้ไวน์คนละแบบ แบบที่รู้จักกันดีเกิดจากอันตรกิริยาที่ซับซ้อนยิ่งระหว่างการเจริญทางชีวเคมีของผลไม้ ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องในการหมัก แหล่งที่ปลูก (terrior) และการระบุแหล่ง (appellation) ตลอดจนการแทรกแซงของมนุษย์ในกระบวนการโดยรวม.

ดู ไดอะไนซัสและไวน์

เพอร์ซีย์ แจ็กสัน

ือชุดนวนิยายแฟนตาซี ประพันธ์โดย ริก ไรออร์แดน ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเด็กชายชื่อว่า เพอร์ซีย์ แจ็กสัน หนังสือในชุดเพอร์ซีย์ แจ็กสันและเหล่าเทพโอลิมเปียน ประกอบไปด้วยหนังสือจำนวน 5 เล่ม โดยหนังสือเล่มแรกในชุดนี้ คือ เพอร์ซีย์ แจ็กสัน กับสายฟ้าที่หายไป วางจำหน่ายในฉบับภาษาอังกฤษที่สหรัฐอเมริกาเมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ.

ดู ไดอะไนซัสและเพอร์ซีย์ แจ็กสัน

เศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น

ตะขอเข็มขัด ตอกและสลักด้วยการออกแบบตามหลักของสัตว์และนกในตำนาน ราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 220) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนในยุคโบราณ ปรากฏช่วงเวลาที่เศรษฐกิจรุ่งเรืองและถดถอยที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา คือ ราชวงศ์ฮั่นเหนือ (ปี 206 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ.

ดู ไดอะไนซัสและเศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น

เอสคิลัส

อสคีลัส (Aeschylus; Αἰσχύλος ไอส-คู-ลอส;; ราว 525/524 – 456/455 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักประพันธ์บทละครชาวกรีกโบราณ และได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งโศกนาฏกรรม งานประพันธ์ของเอสคีลัสเป็นงานโศกนาฏกรรมชุดแรกสุดที่เหลือรอดมาจากยุคโบราณ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานประเภทนี้ในสมัยแรกเริ่ม ล้วนแต่ได้มาจากการอนุมานผ่านงานที่หลงเหลืออยู่ของท่าน เอสคีลัสจึงเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์วรรณกรรมกรีกโบราณ อริสโตเติลให้เครดิตเอสคีลิสในฐานะเป็นศิลปินคนแรกที่ขยายจำนวนนักแสดงบนเวทีการละครของกรีก ทำให้สามารถนำเสนอความขัดแย้งระหว่างตัวละครได้ ในขณะที่ก่อนหน้านั้นการละครของกรีกมีแค่ตัวนักแสดงนำกับกลุ่มประสานเสียง (คอรัส) ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ เอสคีลัสประพันธ์บทละครไว้ระหว่าง 70 ถึง 90 เรื่อง แต่เหลือรอดมาถึงปัจจุบันเพียง 7 เรื่อง หนึ่งในนั้น พันธนาการโพรมีเทียส (Prometheus Bound) ยังเป็นที่ถกเถียงกันในเรื่องตัวตนของผู้ประพันธ์ (บ้างเชื่อว่า ยูฟอเรียน บุตรชายของเอสคีลัส เป็นผู้แต่งขึ้น) งานนาฎกรรมบทละครที่เอสคีลัสประพันธ์ขึ้น เป็นงานที่แต่งเพื่อเข้าแข่งขันในงานเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานเทศกาลไดโอไนซัส ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในฤดูใบไม้ผลิ ที่เมืองไดโอไนเซีย (Dionysia) ซึ่งมีการแข่งขันสองรอบ คือ รอบแข่งขันงานโศกนาฏกรรม และรอบแข่งขันงานสุขนาฏกรรม (comedies) งานทั้งหมดที่เหลือรอดมาของเอสคิลัส ได้แก่ ชาวเปอร์เซีย, ศึกเจ็ดขุนพลชิงธีบส์, ดรุณีร้องทุกข์, ไตรภาคโศกนาฏกรรม โอเรสเตอา ประกอบด้วย: อะกาเมมนอน, ผู้ถือทักษิโณทก (the Libation Bearers), และ ยูเมนิดีส (the Eumenides) เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันละครโศกนาฏกรรม ที่เมืองไดโอไนเซียมาแล้วทั้งสิ้น เว้นก็แต่ พันธนาการโพรมีเทียส เท่านั้น นอกจากนี้เอสคิลัสอาจเป็นนาฏศิลปินเพียงท่านเดียว (เท่าที่ทราบ) ที่เคยนำเสนอละครเป็นโศกนาฏการมไตรภาค ละครเรื่อง โอเรสเตอา เป็นตัวอย่างเดียวของบทประพันธ์ไตรภาคที่หลงเหลือมาจากยุคโบราณ ในวัยหนุ่มเอสคีลัสเคยเป็นทหารที่ร่วมรบในสงครามระหว่างกรีซกับเปอร์เซียทั้งสองครั้ง ในตอนต้นของศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ในปีที่ 490 ก่อน..

ดู ไดอะไนซัสและเอสคิลัส

เฮสเตีย

ในศาสนากรีกโบราณ เฮสเตีย (Hestia; Ἑστία, "เตาอิฐ" หรือ "บริเวณข้างเตาไฟ") ทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งเตาอิฐ สถาปัตยกรรมกรีกโบราณ และการจัดระเบียบกิจกรรมในบ้าน ครอบครัวและรัฐที่ถูกต้อง ในเทพปกรณัมกรีก พระนางเป็นธิดาของโครนัสและเรีย เฮสเตียทรงได้รับของบูชาที่ทุกการบวงสรวงในครัวเรือน ในที่สาธารณะ เตาอิฐของพริทเนียม (prytaneum) เป็นเสมือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการของพระนาง เมื่อมีการก่อตั้งอาณานิคมใหม่ เพลิงจากเตาอิฐสาธารณะของเฮสเตียในนครแม่จะถูกนำไปยังนิคมใหม่ด้วย พระนางประทับนั่งบนบัลลังก์ไม้เรียบ ๆ โดยมีเบาะขนแกะสีขาว และไม่ทรงเลือกสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ภาคโรมันของพระนาง คือ เวสตาLarousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p.

ดู ไดอะไนซัสและเฮสเตีย

เฮอร์มีส

อร์มีส (Hermes; Ἑρμῆς) เป็นพระเจ้าโอลิมปัสในศาสนาและเทพปกรณัมกรีก บุตรแห่งซูสและไลยาดีสเมอา พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าโอลิมปัสที่มีพระชนมายุน้อยที่สุดเป็นอันดับสอง เฮอร์มีสทรงเป็นพระเจ้าแห่งการเปลี่ยนผ่านและเขตแดน พระองค์ทรงรวดเร็วและเจ้าเล่ห์ และสามารถเสด็จระหว่างโลกมนุษย์และพระเจ้าได้อย่างอิสระ ในฐานะทูตและผู้แจ้งข่าวแห่งพระเจ้า ผู้เจรจาระหว่างมนุษย์และพระเจ้า และผู้นำดวงวิญญาณสู่ปรโลก พระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์และอุปถัมภ์นักเดินทาง คนเลี้ยงแกะ โจร นักพูดข้างถนนและคนมีปฏิภาณ วรรณกรรมและกวี นักกีฬาและกีฬา สิ่งประดิษฐ์และการค้า บางตำนานว่าพระองค์เป็นนักหลอกลวง และเอาชนะพระเจ้าองค์อื่นด้วยไหวพริบเพื่อความพอพระทัยส่วนพระองค์หรือเพราะทรงเห็นแก่มนุษยชาติ ลักษณะและสัญลักษณ์ประจำพระองค์มีประติมากรรมเฉพาะหัว ไก่เพศผู้และเต่าบก ถุงใส่เงิน รองเท้าแตะมีปีก หมวกมีปีก สัญลักษณ์หลักของพระองค์ คือ ไม้เท้าผู้แจ้งข่าว (kerykeion; caduceus) ซึ่งเป็นไม้เท้ามีปีกที่มีงูพันสองตัว พระองค์ทรงถูกระบุเป็นพระเจ้าเมอร์คิวรีของโรมัน ซึ่งแม้เป็นพระเจ้าที่รับมาจากพวกอีทรัสคัน แต่ได้รับคุณลักษณะคล้ายกับเฮอร์มีสมาหลายประการ เช่น ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์การค้.

ดู ไดอะไนซัสและเฮอร์มีส

เทวสภาโอลิมปัส

ในเทพปกรณัมกรีก เทวสภาโอลิมปัสเป็นพระเจ้าหลักของกรีก โดยมากพิจารณาว่ามีซูส ฮีรา โพไซดอน ดิมีเทอร์ อะธีนา อะพอลโล อาร์ทิมิส แอรีส แอโฟรไดที ฮิฟีสตัส เฮอร์มีส และเฮสเตียหรือไดอะไนซัส บางครั้งรวมเฮดีสและเพอร์เซฟะนีเป็นส่วนหนึ่งของสิบสองเทพโอลิมปัสด้วย แต่โดยทั่วไปไม่นับเฮดีส เพราะพระองค์ประทับอย่างถาวรในโลกบาดาลและไม่เคยเสด็จเยือนยอดเขาโอลิมปัส บางครั้งนับรวมเฮราคลีสและอัสคลิปิอุสเช่นกัน.

ดู ไดอะไนซัสและเทวสภาโอลิมปัส

เทวสถานบาคคัส

ทวสถานบาคคัส (Temple of Bacchus) เป็นเทวสถานโรมันที่ตั้งอยู่ในบาลเบ็คในประเทศเลบานอน ที่สร้างขึ้นเมื่อค.ศ. 150 ในรัชสมัยของจักรพรรดิอันโตนินัส ไพอัส “เทวสถานบาคคัส” เป็นหนึ่งในสามเทวสถานหลักในกลุ่มเทวสถานที่บาลเบ็ค ที่อุทิศให้แก่บาคคัส หรือ ไดโอไนซัส ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งไวน์ แต่เป็นเทวสถานที่ผู้มาเยี่ยมเยือนในสมัยฟื้นฟูคลาสสิกว่า “เทวสถานสุริยา” และเป็นเทวสถานที่อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของสถาปัตยกรรมโรมัน.

ดู ไดอะไนซัสและเทวสถานบาคคัส

เซเรส (เทพปกรณัม)

รูปปั้นเทพีเซเรสกำลังถือผลไม้ เทพีเซเรส หรือ เคเรส (Ceres) ตามตำนานเทพปกรณัมโรมัน เป็นเทพีแห่งพืชผลที่กำลังเจริญเติบโต (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าธัญพืช) และความรักของมารดา พระนามของนางมีรากศัพท์มาจากภาษาโพรโต-อินโด-ยูโรเปียน (Proto-Indo-European) ของคำว่า "ker" (เคร) ซึ่งมีความหมายว่า "เจริญเติบโต" และเป็นรากศัพท์ของคำว่า "create" และ "increase" อีกด้ว.

ดู ไดอะไนซัสและเซเรส (เทพปกรณัม)

เซเทอร์

เซเทอร์กำลังใช้องคชาตยกจอกไวน์ เซเทอร์ (satyr) ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก เป็นมนุษย์ในวัยหนุ่ม มักมีหูเป็นหูม้า มีเขาเล็กเหมือนแพะ มีขาเป็นแพะ มักท่องเที่ยวในป่าและภูเขา บางตำราบอกว่าเป็นเทพารักษ์ อีกทั้งยังเป็นผู้ติดตามของเทพแพน (Pan) และเทพไดโอไนซัสอีกด้วย ในเทพปกรณัม เซเทอร์ เกี่ยวข้องกับพลังทางเพศของเพศชายและผลงานศิลปกรรมกรีก-โรมันมักสร้างภาพของเซเทอร์ให้มีอวัยวะเพศที่ตั้งชูชัน หมวดหมู่:สิ่งมีชีวิตในตำนานเทพปกรณัมกรีก หมวดหมู่:สิ่งมีชีวิตในตำนานเทพปกรณัมโรมัน.

ดู ไดอะไนซัสและเซเทอร์

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Dionysusไดอะไนเซิสเทพไดโอไนซัส