สารบัญ
38 ความสัมพันธ์: ATC รหัส J07ฟ้าทะลายโจร (พืช)พ.ศ. 1900พระยาสิงห์เสนี (สอาด สิงหเสนี)กลุ่มอาการเรย์การศึกษาทางนิเวศวิทยาการทดสอบวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่อย่างรวดเร็วการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวานยาปฏิชีวนะยง ภู่วรวรรณระบบรู้กลิ่นระยะฟักลำไส้เล็กอักเสบจากเชื้อโรตาไวรัสสแตตินออสบอร์น เรย์โนลส์อะแมนตาดีนอาร์เอ็นเอไวรัสอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ดังคัน เอดเวิดส์ดาวน์ตันแอบบีย์ความผิดปกติทางอารมณ์คัดจมูกปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้าแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์กโรคหวัดโรคอัลไซเมอร์โรคติดเชื้ออุบัติใหม่โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)โรคไวรัสอีโบลาโอเซลทามิเวียร์ไข้ไข้หวัดใหญ่ในสุกรไข้เด็งกีHaemophilus influenzaeICD-10 บทที่ 10: โรคของระบบหายใจ
ATC รหัส J07
วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) J ต้านการติดเชื้อทั้งระบบ (Anti-infectives for systemic use).
ฟ้าทะลายโจร (พืช)
ฟ้าทะลายโจร ((Burm.f.) Wall ex Nees.) เป็นพืชล้มลุกฤดูเดียว ในตระกูล Acanthaceae มีถิ่นกำเนิดในอินเดียและศรีลังกา โดยในตำรายาโบราณของไทย จัดให้เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่สามารถหามารับประทานแก้โรคได้เอง สูงประมาณ 30-70 ซม.
ดู ไข้หวัดใหญ่และฟ้าทะลายโจร (พืช)
พ.ศ. 1900
ทธศักราช 1900 ใกล้เคียงกั.
พระยาสิงห์เสนี (สอาด สิงหเสนี)
นายพลตรี พระยาสิงห์เสนี นามเดิม สอาด สกุลสิงหเสนี เป็นขุนนางชาวสยาม ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง เช่น องคมนตรี อัครราชทูต เจ้ากรมคลังแสงสรรพาวุธ เป็นต้น.
ดู ไข้หวัดใหญ่และพระยาสิงห์เสนี (สอาด สิงหเสนี)
กลุ่มอาการเรย์
กลุ่มอาการเรย์ (Reye syndrome) เป็นโรคสมองที่ดำเนินโรครวดเร็วโรคหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียน บุคลิกเปลี่ยนแปลง สับสน ชัก หมดสติได้ มักพบกับภาวะเป็นพิษต่อตับแต่ไม่ค่อยพบภาวะดีซ่าน อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 20-40% และในกลุ่มที่ไม่เสียชีวิตนั้นหนึ่งในสามจะมีภาวะสมองเสียหายรุนแรงได้ สาเหตุของภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ส่วนใหญ่พบว่าเกิดขึ้นไม่นานหลังผู้ป่วยหายจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส ผู้ป่วยโรคนี้ 90% พบว่ามีประวัติเป็นผู้ป่วยเด็กที่ใช้ยาแอสไพริน ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือโรคในกลุ่มความผิดปกติแต่กำเนิดของกระบวนการสร้างและสลาย การตรวจเลือดอาจพบมีระดับแอมโมเนียในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดต่ำ ผลตรวจระยะเวลาโปรทรอมบินนานกว่าปกติ และมักมีตับโตร่วมด้วย การป้องกันทำได้โดยการงดใช้แอสไพรินในผู้ป่วยเด็ก หลังจากมีคำแนะนำให้งดใช้แอสไพรินในผู้ป่วยเด็กพบว่าจำนวนผู้ป่วยกลุ่มอาการเรย์ลดลงกว่า 90% การวินิจฉัยให้ได้ในระยะแรกเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีผลการรักษาดีขึ้น การรักษามุ่งเน้นไปที่การรักษาประคับประคอง (supportive treatment) กรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะสมองบวมการให้แมนนิทอลอาจช่วยลดภาวะสมองบวมได้ ผู้ที่บรรยายภาวะนี้ไว้เป็นครั้งแรกคือดักลาส เรย์ โดยได้บรรยายภาวะนี้ไว้เมื่อ..
ดู ไข้หวัดใหญ่และกลุ่มอาการเรย์
การศึกษาทางนิเวศวิทยา
Ecological study เป็นการศึกษาองค์ความเสี่ยง ต่อสุขภาพหรือผลอย่างอื่น ๆ อาศัยข้อมูลประชากรที่กำหนดส่วนโดยภูมิภาคหรือโดยกาลเวลา แทนที่จะใช้ข้อมูลในระดับบุคคล ทั้งค่าองค์ความเสี่ยงและค่าผลจะเป็นค่าเฉลี่ยของประชากรส่วนต่าง ๆ (ไม่ว่าจะกำหนดโดยภูมิภาคหรือโดยกาลเวลา) แล้วใช้เปรียบเทียบกันโดยวิธีการทางสถิติ งานศึกษาแบบนี้สามารถพบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ความเสี่ยงกับผลทางสุขภาพ บ่อยครั้งก่อนวิธีการทางวิทยาการระบาดหรือทางการทดลองอย่างอื่น ๆ ซึ่งจะแสดงตัวอย่างต่อ ๆ ไป งานศึกษาของ น..
ดู ไข้หวัดใหญ่และการศึกษาทางนิเวศวิทยา
การทดสอบวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่อย่างรวดเร็ว
การทดสอบวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่อย่างรวดเร็ว (Rapid influenza diagnostic test; ตัวย่อ: RIDT) เป็นการตรวจสอบแอนติเจนประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นการสืบหาแอนติเจนนิวคลีโอโปรตีนไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชุดทดสอบที่ผลิตในเชิงพาณิชย์ของการทดสอบนี้สามารถได้รับผลการตรวจภายในเวลา 30 นาทีหรือน้อยกว่า ผลการศึกษาซึ่งถูกตีพิมพ์ใน วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ สรุปว่าการทดสอบในแต่ละครั้งมีโอกาสให้ผลลบลวงได้ 49 เปอร์เซนต์ หมายความว่ามีโอกาสที่การตรวจดังกล่าวจะพบเชื้อเอช 1 เอ็น 1 ได้จริงเพียง 51 เปอร์เซนต์ การศึกษาอีกกรณีหนึ่งซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสารวิทยาไวรัสการแพทย์ (Journal of Clinical Virology) พบว่าการทดสอบอย่างเดียวกันนี้สามารถตรวจจับได้เพียง 17.2 เปอร์เซนต์ การศึกษาในโรคระบาดติดต่อ ตีพิมพ์โดยศูนย์โรคระบาด (CDC) พบว่าการทดสอบดังกล่าวสามารถตรวจจับเชื้อเอช 1 เอ็น 1 ได้เพียง 11.1 เปอร์เซนต์เท่านั้น.
ดู ไข้หวัดใหญ่และการทดสอบวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่อย่างรวดเร็ว
การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง
การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (หรือ การทำให้เชื่อง) หรือ การปรับตัวเป็นไม้เลี้ยง (domestication, domesticus) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชหรือสัตว์ กับมนุษย์ผู้มีอิทธิพลในการดูแลรักษาและการสืบพันธุ์ของพวกมัน เป็นกระบวนการที่ประชากรสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมผ่านรุ่นโดยการคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) เพื่อเน้นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยมีผลพลอยได้เป็นความเคยชินของสิ่งมีชีวิตต่อการพึ่งมนุษย์ ทำให้พวกมันสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ชาลส์ ดาร์วินเข้าใจถึงลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จำนวนไม่มากจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงต่างจากบรรพบุรุษพันธุ์ป่า เขายังเป็นบุคคลแรกที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการคัดเลือกพันธุ์แบบตั้งใจ ที่มนุษย์เลือกลักษณะสืบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยตรงเพื่อจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ กับการคัดเลือกที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ลักษณะมีวิวัฒนาการไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือตามการคัดเลือกอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงจะต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าทางพันธุกรรม และในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์ที่นักวิจัยเชื่อว่า จำเป็นในระยะต้น ๆ ของกระบวนการปรับนำมาเลี้ยง (domestication trait) และลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อ ๆ มาหลังจากที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าและพันธุ์เลี้ยงได้แยกออกจากกันแล้ว (improvement trait) คือลักษณะที่จำเป็นโดยทั่วไปมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงทั้งหมด และเป็นลักษณะที่คัดเลือกในระยะต้น ๆ ของกระบวนการ ในขณะที่ลักษณะที่พัฒนาต่อ ๆ มาจะมีอยู่ในบางพวกของสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแน่นอนในพันธุ์ (breed) ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือในกลุ่มประชากรในพื้นที่โดยเฉพาะ การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (domestication) ไม่ควรสับสนกับการทำสัตว์ให้เชื่อง (taming) เพราะว่า การทำให้เชื่องเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ป่า ให้กลัวมนุษย์น้อยลงและยอมรับการมีมนุษย์อยู่ใกล้ ๆ ได้ แต่ว่าการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นการเปลี่ยนพันธุกรรมของสัตว์พันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอย่างถาวร เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกของสัตว์ต่อมนุษย์โดยกรรมพันธุ์ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตแรกที่ปรับนำมาเลี้ยง และแพร่หลายไปทั่วทวีปยูเรเชียก่อนการสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน ก่อนการเกิดขึ้นของเกษตรกรรม และก่อนการนำสัตว์อื่น ๆ ต่อ ๆ มามาเลี้ยง ข้อมูลทั้งทางโบราณคดีและทางพันธุกรรมแสดงนัยว่า การแลกเปลี่ยนยีน (gene flow) ที่เป็นไปทั้งสองทางระหว่างสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงกับพันธุ์ป่า เช่น ลา ม้า อูฐทั้งพันธุ์โลกเก่าและโลกใหม่ แพะ แกะ และหมู เป็นเรื่องสามัญ และเพราะความสำคัญของการนำสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยงต่อมนุษย์ และคุณค่าของมันโดยเป็นแบบจำลองของกระบวนการวิวัฒนาการและของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จึงดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมทั้งโบราณคดี บรรพชีวินวิทยา มานุษยวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสาขาต่าง ๆ สุนัขและแกะเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์แรก ๆ ที่มนุษย์ปรับนำมาเลี้ยง.
ดู ไข้หวัดใหญ่และการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง
ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน
วะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน หรือ ดีเคเอ (diabetic ketoacidosis - DKA) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายถึงชีวิตซึ่งพบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ก็อาจพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในบางสถานการณ์ DKA เป็นผลจากการขาดอินซูลิน ทำให้ร่างกายหันไปใช้พลังงานจากกรดไขมันซึ่งผลจากการเผาผลาญกรดไขมันจะทำให้ได้ผลผลิตเป็นคีโตนบอดี้ซึ่งทำให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจไม่เคยมีอาการหรือไม่เคยรับการตรวจมาก่อนเลย จนพบมีอาการอีกครั้งก็คือเป็นมากจนเป็น DKA แล้วก็มี สิ่งกระตุ้นให้เกิด DKA ในผู้ป่วยเบาหวานมีหลายอย่าง สาเหตุที่สำคัญและพบบ่อยคือการขาดยา อาการของ DKA ที่พบบ่อยคืออาเจียนมาก ขาดน้ำ หายใจลึกเร็ว สับสน หรือหมดสติถึงขั้นโคม่าได้ การวินิจฉัย DKA ทำได้โดยการตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ แยกจากภาวะเลือดเป็นกรดอื่นๆ (ซึ่งพบน้อยกว่ามาก) ได้โดยตรวจพบมีน้ำตาลในเลือดสูงมาก การรักษาที่สำคัญคือการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ ให้อินซูลินเพื่อให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ไม่ต้องย่อยสลายไขมันเกิดเป็นคีโตนและกรดคีโตน รักษาโรคที่พบร่วมและอาจเป็นเหตุกระตุ้นได้เช่นการติดเชื้อต่างๆ รวมทั้งติดตามอาการใกล้ชิดเพื่อตรวจและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น DKA เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้ โรคนี้ได้รับการอธิบายครั้งแรกใน..
ดู ไข้หวัดใหญ่และภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน
ยาปฏิชีวนะ
การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".
ยง ภู่วรวรรณ
ตราจารย์นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ราชบัณฑิตและหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั.
ระบบรู้กลิ่น
ระบบรู้กลิ่น หรือ ระบบรับกลิ่น (olfactory system) เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกที่ใช้เพื่อรับกลิ่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลานโดยมากจะมีทั้งระบบรับกลิ่นหลัก (main olfactory system) และระบบรับกลิ่นเสริม (accessory olfactory system) ระบบหลักจะรับกลิ่นจากอากาศ ส่วนระบบเสริมจะรับกลิ่นที่เป็นน้ำ ประสาทสัมผัสเกี่ยวกับกลิ่นและรสชาติ บ่อยครั้งเรียกรวมกันว่าระบบรับรู้สารเคมี (chemosensory system) เพราะทั้งสองให้ข้อมูลแก่สมองเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งเร้าผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) กลิ่นช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและแหล่งอาหาร เกี่ยวกับความสุขหรืออันตรายที่อาจได้จากอาหาร เกี่ยวกับอันตรายที่สารอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อมอาจมี ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ผู้อื่น และสัตว์ชนิดอื่น ๆ กลิ่นมีผลทางสรีรภาพโดยเริ่มกระบวนการย่อยอาหารและการใช้พลังงาน มีบทบาทในการสืบพันธุ์ การป้องกันตัว และพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหาร ในสัตว์บางชนิด มีบทบาทสำคัญทางสังคมเพราะตรวจจับฟีโรโมนซึ่งมีผลทางสรีรภาพและพฤติกรรม ในทางวิวัฒนาการแล้ว ระบบรับกลิ่นเป็นประสาทสัมผัสที่เก่าแก่ที่สุด แม้จะเป็นระบบที่เข้าใจน้อยที่สุดในบรรดาประสาทสัมผัสทั้งหมด ระบบรับกลิ่นจะอาศัยหน่วยรับกลิ่น (olfactory receptor) ซึ่งเป็นโปรตีนหน่วยรับความรู้สึกแบบ G protein coupled receptor (GPCR) และอาศัยกระบวนการส่งสัญญาณทางเคมีที่เกิดตามลำดับภายในเซลล์ซึ่งเรียกว่า second messenger system เพื่อถ่ายโอนข้อมูลกลิ่นเป็นกระแสประสาท หน่วยรับกลิ่นจะแสดงออกอยู่ที่เซลล์ประสาทรับกลิ่นในเยื่อรับกลิ่นในโพรงจมูก เมื่อหน่วยรับกลิ่นต่าง ๆ ทำงานในระดับที่สมควร เซลล์ประสาทก็จะสร้างศักยะงานส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบประสาทกลางเริ่มตั้งแต่ป่องรับกลิ่น ซึ่งก็จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเป็นต้นของสัตว์ นักเคมีเกี่ยวกับกลิ่นก็ประเมินว่า มนุษย์อาจสามารถแยกแยะกลิ่นระเหยได้ถึง 10,000 รูปแบบ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับของหอมอาจแยกแยะกลิ่นได้ถึง 5,000 ชนิด และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับไวน์อาจแยกแยะส่วนผสมได้ถึง 100 อย่าง โดยสามารถรู้กลิ่นต่าง ๆ ในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ กัน เช่น สามารถรู้สารกลิ่นหลักของพริกชี้ฟ้า คือ 2-isobutyl-3-methoxypyrazine ในอากาศที่มีความเข้มข้น 0.01 นาโนโมล ซึ่งประมาณเท่ากับ 1 โมเลกุลต่อ 1,000 ล้านโมเลกุลของอากาศ สามารถรู้กลิ่นเอทานอลที่ความเข้มข้น 2 มิลลิโมล และสามารถรู้กลิ่นโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกันเล็กน้อยในระดับโมเลกุล เช่น กลิ่นของ D-carvone จะต่างจากของ L-carvone โดยมีกลิ่นเหมือนกับเทียนตากบและมินต์ตามลำดับ ถึงกระนั้น การได้กลิ่นก็พิจารณาว่าเป็นประสาทสัมผัสที่แย่ที่สุดอย่างหนึ่งในมนุษย์ โดยมีสัตว์อื่น ๆ ที่รู้กลิ่นได้ดีกว่า เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกินกว่าครึ่ง ซึ่งอาจเป็นเพราะมนุษย์มีประเภทหน่วยรับกลิ่นที่น้อยกว่า และมีเขตในสมองส่วนหน้าที่อุทิศให้กับการแปลผลข้อมูลกลิ่นที่เล็กกว่าโดยเปรียบเที.
ระยะฟัก
ระยะฟักตัวคือช่วงเวลาระหว่างการสัมผัสสิ่งที่ทำให้เกิดโรค (เช่น เชื้อก่อโรค สารเคมี หรือรังสี เป็นต้น) กับการปรากฏอาการของโรค ในกรณีโรคติดเชื้อ ระยะฟักตัวคือระยะเวลาที่เชื้อเพิ่มจำนวนจนถึงจุดที่จะทำให้เกิดอาการในผู้ป่วยได้.
ลำไส้เล็กอักเสบจากเชื้อโรตาไวรัส
ลำไส้เล็กอักเสบจากเชื้อโรตาไวรัส (rotavirus enteritis) เป็นสาเหตุของภาวะท้องร่วงรุนแรงในทารกและเด็กเล็กที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการติดเชื้อโรตาไวรัส ซึ่งเป็นจีนัสหนึ่งของไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอสายคู่ในแฟมิลีรีโอวิริดี เด็กแทบทุกคนบนโลกเมื่ออายุครบ 5 ปีจะเคยติดเชื้อโรตาไวรัสมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่ละครั้งที่ติดเชื้อร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้การติดเชื้อครั้งถัดๆ ไปมีความรุนแรงลดลง ทำให้โรคนี้พบได้น้อยในผู้ใหญ่ ไวรัสนี้มีสปีชีส์ย่อยอยู่ 5 สปีชีส์ ได้แก่ เอ บี ซี ดี และอี ที่พบบ่อยที่สุดคือโรตาไวรัส เอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อโรตาไวรัสในมนุษย์ถึง 90% เชื้อนี้ติดต่อผ่านทางการกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระ เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เล็กที่ติดเชื้อจะถูกทำลายทำให้เกิดกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (บางประเทศนิยมเรียกอาการเช่นนี้ว่า ไข้หวัดใหญ่ลงกระเพาะ (stomach flu) แม้เชื้อนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับเชื้อไข้หวัดใหญ่แต่อย่างใดก็ตาม) เชื้อไวรัสนี้ถูกค้นพบตั้งแต..
ดู ไข้หวัดใหญ่และลำไส้เล็กอักเสบจากเชื้อโรตาไวรัส
สแตติน
pmid.
ออสบอร์น เรย์โนลส์
ออสบอร์น เรย์โนลส์ (Osborne Reynolds; 23 สิงหาคม ค.ศ. 1842 – 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912) เป็นนักฟิสิกส์ชาวบริติช เกิดที่เมืองเบลฟาสต์ เป็นบุตรของออสบอร์น เรย์โนลส์ ผู้พ่อกับเจน ไบรเออร์ (นามสกุลเดิม ฮิกแมน) ต่อมาครอบครัวของเขาย้ายไปอยู่ที่เมืองแดดัมในมณฑลเอสเซกซ์ เรย์โนลส์สนใจด้านกลศาสตร์ตั้งแต่เด็กเนื่องจากบิดาเป็นครูใหญ่และนักบวช รวมถึงเป็นนักคณิตศาสตร์ผู้สนใจในวิชากลศาสตร์ เมื่อเป็นวัยรุ่น เรย์โนลส์ทำงานที่โรงผลิตเรือของเอ็ดเวิร์ด เฮย์ส ทำให้เขามีความรู้ด้านพลศาสตร์ของไหล ต่อมาเรย์โนลส์เข้าเรียนด้านคณิตศาสตร์ที่วิทยาลัยควีนส์ในเคมบริดจ์ หลังเรียนจบเขาทำงานเป็นวิศวกรโยธา ก่อนดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยวิกตอเรียแมนเชสเตอร์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์) ในปี..
ดู ไข้หวัดใหญ่และออสบอร์น เรย์โนลส์
อะแมนตาดีน
อะมันตาดีน (Amantadine หรือ 1-อะมิโน(amino) อะดามันเทน (adamantane)) เป็น ยาต้านไวรัส ที่อนุมัติใช้โดยFDA ในปี 1976 เพื่อใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ไทป์ เอ ในผู้ใหญ่ยาตัวนี้ช่วยลดอาการของ โรคปาร์กินสัน ได้ด้วย แต่มีกลุ่มอาการข้างเคียงเอ็กตร้าปิรามิดัล ซิสเต็ม(extrapyramidal system) มันถูกใช้เป็นยาแอนตี้ปาร์กินสันร่วมกับ แอล-โดปา (L-DOPA) อะมันตาดีนเป็นอนุพันธ์ของ อะดามันเทน เหมือนกับไรแมนตาดีน (rimantadine).
อาร์เอ็นเอไวรัส
อาร์เอ็นเอไวรัส (RNA virus) คือ ไวรัสที่มีอาร์เอ็นเอ (กรดไรโบนิวคลีอิก) เป็นสารพันธุกรรม กรดนิวคลีอิกนี้โดยปกติเป็นอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว (ssRNA) แต่ก็มีอาร์เอ็นเอสายคู่ (dsRNA) เช่นกัน โรคเด่นในมนุษย์ที่เกิดจากอาร์เอ็นเอไวรัส ได้แก่ ซาร์ส ไข้หวัดใหญ่ ตับอักเสบซี ไข้ไนล์ตะวันตก โปลิโอและหัด คณะกรรมการสากลฝ่ายไวรัสอนุกรมวิธานจำแนกอาร์เอ็นเอไวรัสอยู่ในกลุ่ม 3, 4 หรือ 5 ของระบบการจำแนกไวรัสบัลติมอร์ และไม่พิจารณาไวรัสซึ่งมีดีเอ็นเอระยะกลางในวงจรชีวิตว่าเป็นอาร์เอ็นเอไวรัส ไวรัสซึ่งมีอาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรม แต่มีดีเอ็นเอระยะกลางในวงจรการถ่ายแบบ เรียก รีโทรไวรัส ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม 6 ของการจำแนกแบบบัลติมอร์ รีโทรไวรัสที่เด่นในมนุษย์ ได้แก่ HIV-1 และ HIV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเอดส์ คำเรียกอาร์เอ็นเอไวรัสโดยไม่รวมรีโทรไวรัส คือ ไรโบไวรั.
ดู ไข้หวัดใหญ่และอาร์เอ็นเอไวรัส
อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554
อุทกภัยในประเทศไท..
ดู ไข้หวัดใหญ่และอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554
ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย
วริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย (ของข้อมูล) หรือ ฮิวริสติกโดยความพร้อมใช้งาน"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ availability ว่า "สภาพพร้อมใช้งาน" (availability heuristic) เป็นทางลัดการแก้ปัญหา (ฮิวริสติก) โดยอาศัยตัวอย่างต่าง ๆ ที่นึกขึ้นได้เป็นอย่างแรก วิธีแก้ปัญหาชนิดนี้อาศัยไอเดียว่า ถ้าเราสามารถระลึกถึงอะไรได้ง่าย ๆ สิ่งนั้นจะต้องมีความสำคัญ และเพราะเหตุนั้น เรามักจะให้น้ำหนักกับข้อมูลที่ใหม่ที่สุด ทำให้มีความคิดเห็นเอนเอียงไปทางข่าวล่าสุด นอกจากนั้นแล้ว สิ่งที่เรานึกได้เกี่ยวกับผลของการกระทำหนึ่ง ๆ จะมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกเกี่ยวกับความสำคัญของผลนั้น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ผลของการกระทำยิ่งระลึกถึงได้ง่ายแค่ไหน เราก็จะรู้สึกว่าผลนั้นมีความสำคัญยิ่งขึ้นเท่านั้น คือ เราไม่ได้เพียงแค่พิจารณาถึงข้อมูลที่ระลึกได้เมื่อทำการตัดสินใจ แต่เรายังใช้ความยากง่ายในการนึกถึงสิ่งนั้นเป็นข้อมูลอีกอย่างหนึ่งในการตัดสินใจ ซึ่งมีผลเด่นที่สุดอย่างหนึ่งคือ เราจะใช้ข้อมูลที่ระลึกได้ในการตัดสินใจถ้าข้อมูลนั้นไม่ได้ทำให้เกิดความน่าสงสัยเพราะยากที่จะระลึกถึง มีหลักวิธีแก้ปัญหา 3 อย่างที่เราใช้เมื่อไม่แน่ใจ ซึ่งช่วยลดความซับซ้อนในการประเมินความน่าจะเป็นหรือในการพยากรณ์ผล โดยใช้กระบวนการตัดสินใจที่ง่ายกว่า (ฮิวริสติก) คือ.
ดู ไข้หวัดใหญ่และฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย
ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์
ร่างสตรีและเด็กที่เป็นบรรยายความยากเข็ญของบริจิต โอดอนเนล จากลอนดอนนิวส์ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1849 ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ (An Gorta Mór, Irish Potato Famine) หรือในภาษาเกลิก “An Gorta Mór” แปลตรงตัวว่า “ความโหยหิวอันยิ่งใหญ่” หรือ “An Drochshaol” ที่แปลว่า “ชีวิตอันตกอับ” เป็นสมัยที่เกิดทุพภิกขภัย โรคระบาด และการย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ระหว่างปี..
ดู ไข้หวัดใหญ่และทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์
ดังคัน เอดเวิดส์
ังคัน เอดเวิดส์ (Duncan Edwards; 1 ตุลาคม พ.ศ. 2479 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501) เป็นนักฟุตบอลชาวอังกฤษที่เล่นให้กับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ เขาเป็นหนึ่งในบัสบีเบบส์ ซึ่งเป็นกลุ่มนักเตะเยาวชนของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดภายใต้การคุมทีมของแมตต์ บัสบีในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1950 และยังเป็นหนึ่งในผู้เล่นแปดคนที่เสียชีวิตจากโศกนาฏกรรมมิวนิก เอดเวิดส์เกิดในดัดลีย์ เทศมณฑลวุร์สเตอร์เชียร์ เขาทำสัญญากับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดตั้งแต่ยังวัยรุ่น และกลายเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่เล่นในฟุตบอลลีกเฟิสต์ดิวิชันและผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ในอาชีพนักฟุตบอลของเขานั้น เขาช่วยให้ยูไนเต็ดชนะเลิศฟุตบอลลีก 2 ครั้ง และไปถึงรอบรองชนะเลิศยูโรเปียนคั.
ดู ไข้หวัดใหญ่และดังคัน เอดเวิดส์
ดาวน์ตันแอบบีย์
วน์ตันแอบบีย์ เป็นซีรีส์ละครชุดทางโทรทัศน์ของอังกฤษสร้างขึ้นโดยจูเลียน เฟลโลวส์ และร่วมผลิตโดยคาร์นิวัลฟิมส์และแมสเตอร์พีซ ออกอากาศครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวีในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ.
ดู ไข้หวัดใหญ่และดาวน์ตันแอบบีย์
ความผิดปกติทางอารมณ์
วามผิดปกติทางอารมณ์ หรือ โรคอารมณ์แปรปรวน (Mood disorder) เป็นกลุ่มโรคในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) ที่ปัญหาทางอารมณ์ (mood) สันนิษฐานว่าเป็นอาการหลักของโรค ส่วนในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ICD) เป็นกลุ่มที่เรียกว่า mood (affective) disorders ซึ่งแปลได้อย่างเดียวกัน จิตแพทย์ชาวอังกฤษเสนอหมวดโรคที่ครอบคลุมเรียกว่า affective disorder ในปี..
ดู ไข้หวัดใหญ่และความผิดปกติทางอารมณ์
คัดจมูก
ัดจมูก หรือ อาการจมูกคั่ง (Nasal congestion) เป็นอาการอุดกั้นของช่องจมูก เนื่องมาจากเยื่อบุจมูกบวมจากการอักเสบของหลอดเลือด อาการคัดจมูกเกิดจากหลายสาเหตุ และทำให้เกิดอาการหลากหลายตั้งแต่สร้างความรำคาญจนถึงทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ในทารกแรกเกิดซึ่งสามารถหายใจได้เฉพาะทางจมูกเท่านั้น หากเกิดอาการคัดจมูกในอายุ 2-3 เดือนแรกจะรบกวนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และทำให้เกิดการหายใจอึดอัดเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนอาการคัดจมูกในเด็กโตและวัยรุ่นมักเพียงสร้างความรำคาญ อาการคัดจมูกอาจรบกวนการเจริญของหู การได้ยินและการพูด อาการคัดจมูกอย่างมากอาจรบกวนการนอนหลับ ทำให้กรน และเกี่ยวข้องกับการหยุดหายใจขณะนอนหลับ อาการคัดจมูกในเด็กทำให้ทอนซิลคอหอยโต ก่อให้เกิดการหยุดหายใจขณะนอนหลับเรื้อรังร่วมกับภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (hypoxia) และภาวะหัวใจข้างซ้ายล้มเหลว ซึ่งการรักษาคือการผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลและทอนซิลคอหอยออก อาการจมูกคัดอาจทำให้ปวดศีรษะและใบหน้าเล็กน้อยได้ ก่อให้เกิดความไม่สบายตัว.
ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า
ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า - ชะตากรรมของสังคมมนุษย์ (Guns, Germs, and Steel: The Fates of Human Societies) เป็นหนังสือสารคดีหลายสาขาวิชาของ.ดร.
ดู ไข้หวัดใหญ่และปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า
แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก
แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก (Maria Adelheid Theresia Hilda Antonia Wilhelmina vu Lëtzebuerg, Marie Adélaïde Thérèse Hilda Antonie Wilhelmine, พระนามเต็ม: มารี อเดเฮด เทเรซ ฮิลดา วิลเฮลมิเน ฟอน นัสเซา-ไวล์บวร์ก; 14 มิถุนายน พ.ศ.
ดู ไข้หวัดใหญ่และแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก
โรคหวัด
อหอยส่วนจมูกอักเสบเฉียบพลัน หรือโรคเยื่อจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลัน (Acute nasopharyngitis) เรียกโดยทั่วไปว่า โรคหวัด หรือ ไข้หวัด (Common cold) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบนที่กระทบต่อจมูกเป็นหลัก อาการของโรคมีทั้งไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไข้ซึ่งมักหายไปเองในเจ็ดถึงสิบวัน แต่บางอาการอาจอยู่ได้นานถึงสามสัปดาห์ ไวรัสกว่า 200 ชนิดเป็นสาเหตุของโรคหวัด โดยไรโนไวรัสเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนจำแนกได้หลวม ๆ ตามบริเวณที่ได้รับผลจากไวรัส โดยโรคหวัดกระทบต่อจมูก คอหอย (คอหอยอักเสบ) และโพรงจมูก (โพรงจมูกอักเสบ) เป็นหลัก ส่วนใหญ่อาการเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อมากกว่าการทำลายเนื้อเยื่อจากไวรัสเอง การล้างมือเป็นวิธีการป้องกันหลัก และหลักฐานบางชิ้นสนับสนุนประสิทธิภาพของการสวมหน้ากากอนามัย โรคหวัดไม่มีวิธีรักษาจำเพาะ แต่สามารถรักษาอาการได้ โรคหวัดเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่พบบ่อยที่สุดในมนุษย์ และอยู่คู่กับมนุษยชาติมาแต่โบราณ ผู้ใหญ่ติดโรคหวัดโดยเฉลี่ยสองถึงสามครั้งต่อปี ขณะที่เด็กโดยเฉลี่ยติดโรคหวัดระหว่างหกถึงสิบสองครั้งต่อปี.
โรคอัลไซเมอร์
รคอัลซไฮเมอร์ หรือ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease หรือ AD) เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ.
ดู ไข้หวัดใหญ่และโรคอัลไซเมอร์
โรคติดเชื้ออุบัติใหม่
รคติดเชื้ออุบัติใหม่ หรือ โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ (Emerging Infectious Diseases, EID) คือโรคที่เกิดจากสาเหตุการติดเชื้อโรคหรือโรคที่ติดต่อกันได้ ที่มีการอุบัติเกิดเพิ่มมากขึ้นในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา และมีการคาดการณ์ว่าจะเป็นภัยคุกคามมากขึ้นแก่มนุษยชาติในอนาคตต่อไป เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุหลักของโรคนี้ แบ่งได้เป็นหลาย ประเภท คือ.
ดู ไข้หวัดใหญ่และโรคติดเชื้ออุบัติใหม่
โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)
url.
ดู ไข้หวัดใหญ่และโรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)
โรคไวรัสอีโบลา
รคไวรัสอีโบลา หรือไข้เลือดออกอีโบลา เป็นโรคของมนุษย์ที่เกิดจากไวรัสอีโบลา ตรงแบบเริ่มมีอาการสองวันถึงสามสัปดาห์หลังสัมผัสไวรัส โดยมีไข้ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ จากนั้นมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วงร่วมกับการทำหน้าที่ของตับและไตลดลงตามมา เมื่อถึงจุดนี้ บางคนเริ่มมีปัญหาเลือดออก บุคคลรับโรคนี้ครั้งแรกเมื่อสัมผัสกับเลือดหรือสารน้ำในร่างกายจากสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น ลิงหรือค้างคาวผลไม้ เชื่อว่าค้างคาวผลไม้เป็นตัวพาและแพร่โรคโดยไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัส เมื่อติดเชื้อแล้ว โรคอาจแพร่จากคนสู่คนได้ ผู้ที่รอดชีวิตอาจสามารถส่งผ่านโรคทางน้ำอสุจิได้เป็นเวลาเกือบสองเดือน ในการวินิจฉัย ต้องแยกโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออกก่อน เช่น มาลาเรีย อหิวาตกโรคและไข้เลือดออกจากไวรัสอื่น ๆ อาจทดสอบเลือดหาแอนติบอดีต่อไวรัส ดีเอ็นเอของไวรัส หรือตัวไวรัสเองเพื่อยืนยันการวินิจฉัย การป้องกันรวมถึงการลดการระบาดของโรคจากลิงและหมูที่ติดเชื้อสู่คน ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสอบหาการติดเชื้อในสัตว์เหล่านี้ และฆ่าและจัดการกับซากอย่างเหมาะสมหากพบโรค การปรุงเนื้อสัตว์และสวมเสื้อผ้าป้องกันอย่างเหมาะสมเมื่อจัดการกับเนื้อสัตว์อาจช่วยได้ เช่นเดียวกับสวมเสื้อผ้าป้องกันและล้างมือเมื่ออยู่ใกล้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว ตัวอย่างสารน้ำร่างกายจากผู้ป่วยควรจัดการด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่มีการรักษาไวรัสอย่างจำเพาะ ความพยายามช่วยเหลือผู้ป่วยมีการบำบัดคืนน้ำ (rehydration therapy) ทางปากหรือหลอดเลือดดำ โรคนี้มีอัตราตายสูงระหว่าง 50% ถึง 90% ของผู้ติดเชื้อไวรัส มีการระบุโรคนี้ครั้งแรกในประเทศซูดานและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ตรงแบบเกิดในการระบาดในเขตร้อนแอฟริกาใต้สะฮารา ระหว่างปี 2519 ซึ่งมีการระบุโรคครั้งแรก และปี 2555 มีผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 1,000 คนต่อปี การระบาดครั้งใหญ่ที่สุดจนถึงปัจจุบัน คือ การระบาดของอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก พ.ศ.
ดู ไข้หวัดใหญ่และโรคไวรัสอีโบลา
โอเซลทามิเวียร์
อเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) หรือชื่อที่ถูกต้องอ่านว่า "โอเซิลแทมิวีร์" (/ɒsəlˈtæmɨvɪr/) เป็น ยาต้านไวรัส (antiviral drug) ที่มีฤทธิ์เป็น นิวรามินิเดส อินฮิบิเตอร์ (neuraminidase inhibitor) ใช้รักษาและป้องกัน (prophylaxis) ไข้หวัดใหญ่ (influenza) เอ และ บี โอเซลทามิเวียร์เป็นยาที่ใช้รับประทานและมีผลยับยั้งเอ็นไซม์ นิวรามินิเดส พัฒนาโดย ไกลีด ไซเอนซ์ (Gilead Sciences) และทำตลาดโดย ฮอฟฟ์แมน-ลา โรช ในชื่อการค้าว่า ทามิฟลู® (Tamiflu®).
ดู ไข้หวัดใหญ่และโอเซลทามิเวียร์
ไข้
้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..
ไข้หวัดใหญ่ในสุกร
อิเล็กตรอนไมโครสโคป ของไวรัส H1N1 ไวรัสมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80-120 นาโนเมตร สุกรสามารถเป็นแหล่งพำนักไวรัสไข้หวัดใหญ่ ให้วิวัฒนาร่วมกับไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์ และไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ปีกหรือไข้หวัดนก ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์และการเป็นภาวะระบาดทั่ว #FFA900 คือ ท้องที่ระบาดตามที่ยังไม่มีการรับรองโปรดดู: http://maps.google.com/maps/ms?ie.
ดู ไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดใหญ่ในสุกร
ไข้เด็งกี
้เด็งกี (Dengue fever) หรือในประเทศไทยนิยมเรียกว่า ไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อซึ่งระบาดในเขตร้อน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และมีผื่นลักษณะเฉพาะซึ่งคล้ายกับผื่นของโรคหัด ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีอาการรุนแรง จนกลายเป็นไข้เลือดออกเด็งกี (Dengue hemorrhagic fever) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งทำให้มีเลือดออกง่าย มีเกล็ดเลือดต่ำ และมีการรั่วของพลาสมา หรือรุนแรงมากขึ้นเป็นกลุ่มอาการไข้เลือดออกช็อก (Dengue shock syndrome) ซึ่งมีความดันโลหิตต่ำอย่างเป็นอันตรายได้ ไข้เลือดออกติดต่อผ่านทางพาหะคือยุงหลายสปีชีส์ในจีนัส Aedes โดยเฉพาะ A.
Haemophilus influenzae
Haemophilus influenzae, หรือมีชื่อเดิมว่า Pfeiffer's bacillus หรือ Bacillus influenzae เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างเป็นท่อน ค้นพบครั้งแรกเมื่อ..
ดู ไข้หวัดใหญ่และHaemophilus influenzae
ICD-10 บทที่ 10: โรคของระบบหายใจ
ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..
ดู ไข้หวัดใหญ่และICD-10 บทที่ 10: โรคของระบบหายใจ
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Influenzaโรคไข้หวัดใหญ่โรคไข้หวัดใหญ่(คู่มือสถานีอนามัย)