โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไขสันหลัง

ดัชนี ไขสันหลัง

ตำแหน่งของไขสันหลังที่อยู่ภายในกระดูกสันหลัง ภาพใกล้ของไขสันหลัง ภาพตัดขวางของไขสันหลังส่วนคอ ลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ไขสันหลัง (spinal cord)คืออวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อยาวผอม ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสาทเป็นส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ เซลล์ประสาท (neuron) และ เซลล์เกลีย (glia) หรือเซลล์ที่ช่วยค้ำจุนเซลล์ประสาท ซึ่งไขสันหลังจะเป็นส่วนที่ยาวต่อลงมาจากสมอง (brain) สมองและไขสันหลังจะรวมกันเป็นระบบประสาทกลาง (central nervous system) ซึ่งบรรจุภายในและถูกปกป้องโดยกระดูกสันหลัง (vertebral column) หน้าที่หลักของไขสันหลังคือการถ่ายทอดกระแสประสาท (neural signals) ระหว่างสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งนี้เพียงตัวไขสันหลังเอง ยังสามารถควบคุมการเกิดรีเฟล็กซ์ (reflex) เช่นการยกขาทันทีเมื่อเผลอเหยียบตะปู และศูนย์สร้างรูปแบบการเคลื่อนไหวกลาง (central pattern generator).

114 ความสัมพันธ์: Anesthesia dolorosaช่องไขสันหลังที่เอวตีบช่องไขสันหลังตีบฟอราเมน แมกนัมฟาโคมาโตซิสกระดูกรูปร่างไม่แน่นอนกระดูกสันหลังกระดูกสันหลังหักกลุ่มอาการไขสันหลังถูกดึงรั้งกล้ามเนื้อการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมการรับรู้อากัปกิริยาการสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็กการสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์การสูญความรู้สึกที่ไม่สัมพันธ์การขาดวิตามินบี12การตอบสนองโดยสู้หรือหนีการปรับตัวของประสาทการแข็งตัวขององคชาตการเจริญของประสาทในมนุษย์ภาวะช็อกทางระบบประสาทภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กมอร์ฟีนยูโรคอร์ดาตารอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบนรอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่างระบบพีระมิดระบบการทรงตัวระบบการได้ยินระบบรับความรู้สึกทางกายระบบอวัยวะระบบประสาทระบบประสาทพาราซิมพาเทติกระบบประสาทกลางระบบประสาทซิมพาเทติกระบบโพรงสมองรายชื่อโครงสร้างทางกายวิภาคมนุษย์ร่างกายมนุษย์ลำเส้นใยประสาทลำเส้นใยประสาทไขสันหลัง-ทาลามัสวิวัฒนาการของมนุษย์วิถีประสาทวิตามินบี12สมองสัตว์มีกระดูกสันหลังหลอดประสาทไม่ปิดอวัยวะอาการล้าเรื้อรังอาการคันต่างที่อาการปวดขาที่เกิดจากประสาท...อาการปวดต่างที่อินเตอร์นิวรอนองคชาตแข็งตัวขณะหลับความซึมเศร้า (อารมณ์)ความเจ็บปวดคอคอเลสเตอรอลตัวรับรู้สารเคมีตัวรับความรู้สึกที่หนังตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดตัวรับแรงกลปมประสาทรากหลังประสาทกายวิภาคศาสตร์ประสาทศัลยศาสตร์ประสาทสมองประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ประสาทสัมผัสปลายรัฟฟินีปลายประสาทรับร้อนปลายประสาทเมอร์เกิลปีกหลังของไขสันหลังน้ำหล่อสมองไขสันหลังแบบสิ่งเร้าแกนประสาทนำออกแผนที่ภูมิลักษณ์โรคพิษสุนัขบ้าโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลังโรควัวบ้าโรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)โรคนิ่วไตโรคโปลิโอโครงกระดูกแกนโคลนัสโคเซ การ์เรรัสโนซิเซ็ปชันเกเลนเฝิง ยิงฉีเม็ดพาชีเนียนเม็ดรู้สัมผัสเยื่อหุ้มสมองเยื่อหุ้มสมองอักเสบเยื่ออะแร็กนอยด์เยื่อดูราเยื่อเพียเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางเส้นประสาทเอนเทอโรไวรัสเทคตัมเซฟาโลคอร์ดาตาเซลล์อีเพนไดมอลเซลล์ประสาทเซลล์ประสาทรับความรู้สึกเซลล์เกลียเซโรโทนินเปลือกสมองเนื้อขาวเนื้อเยื่อเนื้อเทาBurst fractureICD-10 บทที่ 17: รูปผิดปกติแต่กำเนิด รูปพิการ และความผิดปกติของโครโมโซมICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอกICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกICD-10 บทที่ 6: โรคของระบบประสาทSuperior colliculus ขยายดัชนี (64 มากกว่า) »

Anesthesia dolorosa

Anesthesia dolorosa หรือ anaesthesia dolorosa หรือ deafferentation pain เป็นความเจ็บปวดในบริเวณที่ไม่สามารถรู้สึกสัมผัส (ปกติที่ใบหน้า) เป็นอย่างต่อเนื่อง แสบร้อน ปวด หรือรุนแรง อาจเป็นผลข้างเคียงของการผ่าตัดที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบประสาทไทรเจมินัล โดยจะเกิดขึ้นในคนไข้ 1-4% ที่ผ่านการผ่าตัดนอกระบบประสาทส่วนกลางเนื่องจากอาการปวดประสาทไทรเจมินัล (trigeminal neuralgia) โดยยังไม่มีวิธีการรักษาใด ๆ ที่ได้ผล แม้จะมีเทคนิคหลายอย่างที่ลองดูแล้ว แต่ก็ได้ผลน้อยหรือมีผลแบบผสม ส่วนการผ่าตัดรักษาประเมินได้ยาก เพราะงานศึกษาที่ตีพิมพ์มีคนไข้หลายประเภทรวมกันจำนวนน้อยและไม่ตามผลการรักษาในระยะยาว เทคนิคที่ลองแล้วรวมทั้ง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและAnesthesia dolorosa · ดูเพิ่มเติม »

ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ

องไขสันหลังที่เอวตีบ (Lumbar spinal stenosis ตัวย่อ LSS) เป็นอาการทางการแพทย์ที่ช่องไขสันหลังแคบลงแล้วกดอัดไขสันหลังและเส้นประสาทที่กระดูกสันหลังระดับเอว (lumbar vertebra) โดยมักมีเหตุจากสันหลังเสื่อมที่สามัญเมื่ออายุมากขึ้น หรือจากหมอนกระดูกสันหลังเคลื่อน จากภาวะกระดูกพรุน หรือจากเนื้องอก อาการที่คอ (cervical) หรือที่เอว (lumbar) ก็อาจจะเป็นภาวะแต่กำเนิดด้วย อนึ่ง เป็นอาการสามัญสำหรับคนไข้ที่มีการเติบโตทางโครงกระดูกผิดปกติเช่น กระดูกอ่อนไม่เจริญเทียม (pseudoachondroplasia) และกระดูกอ่อนไม่เจริญ (achondroplasia) ตั้งแต่อายุน้อย ๆ การตีบอาจจะอยู่ที่คอ (cervical) หรืออก (thoracic) ซึ่งก็จะเรียกว่า ช่องไขสันหลังที่คอตีบ (cervical spinal stenosis) หรือ ช่องไขสันหลังที่อกตีบ (thoracic spinal stenosis) ในบางกรณี คนไข้อาจจะมีการตีบทั้ง 3 บริเวณ ช่องไขสันหลังที่เอวตีบทำให้ปวดหลัง รวมทั้งปวดหรือรู้สึกผิดปกติที่บั้นท้าย ต้นขา ขา หรือเท้า หรือทำให้ไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะอุจจาระได้.

ใหม่!!: ไขสันหลังและช่องไขสันหลังที่เอวตีบ · ดูเพิ่มเติม »

ช่องไขสันหลังตีบ

ช่องไขสันหลังตีบ เป็นโรคที่เกิดจากการตีบแคบลงของช่องไขสันหลัง เกิดการกดทับไขสันหลังและเส้นประสาท มักเกิดจากความเสื่อมตามอายุ, spinal disc herniation ภาวะกระดูกพรุน หรือเนื้องอก หมวดหมู่:โรค หมวดหมู่:เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ หมวดหมู่:ประสาทวิทยา หมวดหมู่:ศัลยกรรม.

ใหม่!!: ไขสันหลังและช่องไขสันหลังตีบ · ดูเพิ่มเติม »

ฟอราเมน แมกนัม

ฟอราเมน แมกนัม(Foramen Magnum, มาจากภาษาละติน แปลว่า รูขนาดใหญ่) ในทางกายวิภาคศาสตร์ เป็นช่องเปิดขนาดใหญ่รูปวงรีที่อยู่ที่ฐานของกะโหลกศีรษะ บนกระดูกท้ายทอย (Occipital Bone) ซึ่งเป็นทางผ่านของเมดัลลา ออบลองกาตา (Medulla Oblongata) ซึ่งติดต่อกับไขสันหลัง นอกจากช่องนี้จะเป็นทางผ่านของเมดัลลา ออบลองกาตาแล้ว ยังเป็นทางผ่านของหลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรัล (Vertebral Arteries), หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์สไปนัล (Anterior Spinal Artery), และหลอดเลือดแดงโพสทีเรียร์สไปนัล (Posterior Spinal Artery), เยื่อคลุม (Membrana Tectoria) และเอ็นเอลาร์ (Alar Ligaments).

ใหม่!!: ไขสันหลังและฟอราเมน แมกนัม · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโคมาโตซิส

ฟาโคมาโตซิส (phakomatoses) หรือ กลุ่มอาการระบบประสาทและผิวหนัง (neurocutaneous syndrome) หรือโรคระบบประสาทและผิวหนัง (neurocutaneous disorder) เป็นกลุ่มของโรคกลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วยโรคต่างๆ ที่มีลักษณะทำให้มีความผิดปกติในผิวหนังและระบบประสาท (สมอง ไขสันหลัง เป็นต้น) โรคเหล่านี้หลายโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม เชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติในขั้นตอนการเจริญของเซลล์เอกโตเดิร์มตั้งต้นซึ่งจะเจริญเป็นผิวหนังและระบบประสาท.

ใหม่!!: ไขสันหลังและฟาโคมาโตซิส · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกรูปร่างไม่แน่นอน

กระดูกรูปร่างไม่แน่นอน (Irregular bone) เป็นกระดูกชนิดหนึ่งซึ่งที่ลักษณะแปลกเฉพาะ ไม่สามารถจัดให้อยู่ในกลุ่มของกระดูกยาว, กระดูกสั้น, กระดูกแบน, หรือกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อได้ กระดูกชนิดนี้มีหน้าที่หลากหลายภายในร่างกาย เช่น ปกป้องเนื้อเยื่อประสาท (เช่นกระดูกสันหลังช่วยปกป้องไขสันหลัง), เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle) (เช่นในกระดูกใต้กระเบนเหน็บ (sacrum)), ช่วยค้ำจุนคอหอย (pharynx) และท่อลม (trachea), และเป็นจุดเกาะของลิ้น (เช่น กระดูกไฮออยด์ (hyoid)) กระดูกรูปร่างไม่แน่นอนประกอบด้วยชั้นกระดูกเนื้อแน่น (compact bone) บางๆ ที่หุ้มล้อมรอบกระดูกเนื้อโปร่ง (cancellous tissue) ตัวอย่างของกระดูกรูปร่างไม่แน่นอน ได้แก่ กระดูกสันหลัง (vertebræ), กระดูกใต้กระเบนเหน็บ (sacrum), กระดูกก้นกบ (coccyx), กระดูกขมับ (temporal), กระดูกสฟีนอยด์ (sphenoid), กระดูกเอทมอยด์ (ethmoid), กระดูกโหนกแก้ม (zygomatic), กระดูกขากรรไกรบน (maxilla), กระดูกขากรรไกรล่าง (mandible), กระดูกเพดานปาก (palatine), กระดูกก้นหอยของจมูกชิ้นล่าง (inferior nasal concha), และกระดูกไฮออยด์ (hyoid).

ใหม่!!: ไขสันหลังและกระดูกรูปร่างไม่แน่นอน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง มองจากด้านข้าง ส่วนต่างๆของแนวกระดูกสันหลัง ส่วนต่างๆกระดูกสันหลังหนึ่งชิ้น มองจากทางด้านข้าง กระดูกสันหลังส่วนคอ ชิ้นแรก มองจากทางด้านบน แนวกระดูกสันหลังส่วนคอตอนต้น แสดงกระดูกและเอ็นของข้อต่อบริเวณท้ายทอย กระดูกสันหลังส่วนอก มองจากทางด้านบน กระดูกสันหลัง (Vertebral column) ในกายวิภาคของมนุษย์ คือกระดูกแกนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนต้นคอ ลงมาจนถึงส่วนก้น ภายในมีไขสันหลัง ซึ่งอยู่ในช่องไขสันหลังอีกทีหนึ่ง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันหลังหัก

กายอุปกรณ์/อุปกรณ์พยุงเพื่อยืดกระดูกสันหลังด้านหน้ารูปกางเขน (CASH Orthosis) กระดูกสันหลังหัก (spinal fracture, vertebral fracture, broken back) เป็นภาวะกระดูกหักที่กระดูกสันหลัง โดยมีรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้ง กระดูกสันหลังหักเหตุอัด (vertebral compression fracture) กระดูกแตก (burst fracture), กระดูกคอหัก (cervical fracture), กระดูกคอหักแบบ Jefferson, กระดูกคอหักแบบ Flexion teardrop, กระดูกสันหลังหักที่คอหรือที่อกแบบ Clay-shoveler, แบบ Chance, และแบบ Holdsworth fracture กระดูกสันหลังหักที่อก (thoracic vertebrae) และที่เอว (lumbar vertebrae) มักสัมพันธ์กับการบาดเจ็บที่อาจถึงตายหรือทำให้พิการ (major trauma) และอาจทำให้ไขสันหลังเสียหาย ซึ่งมีผลเป็นความบกพร่องทางประสาท (neurological deficit) หมวดหมู่:ความผิดปกติของไขสันหลัง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและกระดูกสันหลังหัก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการไขสันหลังถูกดึงรั้ง

กลุ่มอาการไขสันหลังถูกดึงรั้ง (tethered cord syndrome) คือกลุ่มของโรคระบบประสาทกลุ่มหนึ่งที่มีความผิดปกติของไขสันหลัง มีหลายแบบ เช่น filum terminale คับแน่น, lipomeningomyelocele, split cord malformation, dermal sinus tracts และถุงน้ำเดอร์มอยด์ ซึ่งทั้งหมดมีผลให้เกิดการดึงรั้งของไขสันหลังที่ส่วนปลายของช่องไขสันหลัง โดยปกติแล้วไขสันหลังจะลอยอย่างเป็นอิสระอยู่ในช่องไขสันหลัง สามารถเลื่อนขึ้นลงได้ตามการเจริญเติบโต หรือการงอตัวเหยียดตัวเป็นต้น ไขสันหลังที่ถูกดึงรั้งไว้นั้นอาจทำให้เกิดปัญหาในเด็กเนื่องจากจะถูกดึงให้ยืดออกเมื่อเด็กโตขึ้น ในผู้ใหญ่ไขสันหลังจะถูกดึงให้ยืดออกแม้ในการเคลื่อนไหวตัวปกติ ทำให้เกิดการเสียหายต่อไขสันหลังได้ในระยะยาวหากไม่ได้รับการรักษา ส่วนใหญ่พบร่วมกับภาวะกระดูกสันหลังโหว่ (spina bifida) อาจเป็นตั้งแต่กำเนิดเช่นที่พบใน tight filum terminale หรือเกิดจากอุบัติเหตุในภายหลังก็ได้ หมวดหมู่:ความผิดปกติของไขสันหลัง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและกลุ่มอาการไขสันหลังถูกดึงรั้ง · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy ตัวย่อ CBT) เป็นรูปแบบหนึ่งของจิตบำบัด (psychotherapy) ซึ่งดั้งเดิมออกแบบเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า แต่ปัจจุบันใช้รักษาความผิดปกติทางจิตอย่างอื่น ๆ ด้วย ซึ่งมีประสิทธิผลโดยแก้ปัญหาปัจจุบันและเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่ไร้ประโยชน์ ชื่อของวิธีบำบัดอ้างอิงถึงการบำบัดชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการบำบัดพฤติกรรม (behavior therapy) การบำบัดความคิด (cognitive therapy) และการบำบัดที่รวมหลักต่าง ๆ ในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและจิตวิทยาประชาน ผู้บำบัดคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า จะใช้วิธีที่รวมการบัดบัดทั้งทางพฤติกรรมและทางความคิด เป็นเทคนิคที่ยอมรับความจริงว่า อาจมีพฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยความคิดที่สมเหตุผล เพราะเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการปรับสภาวะ (conditioning) ในอดีตต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งเร้าทั้งภายในภายนอก เป็นเทคนิคที่เพ่งความสนใจไปที่ปัญหาโดยเฉพาะ ๆ และช่วยคนไข้ให้เลือกกลยุทธ์ในการรับมือปัญหาเหล่านั้น ซึ่งต่างจากวิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ ที่ผู้รักษาจะสืบหาความหมายใต้สำนึกของพฤติกรรมของคนไข้เพื่อจะวินิจฉัยปัญหา คือ ในการบำบัดแบบพฤติกรรม ผู้รักษาเชื่อว่า ความผิดปกติที่มี เช่นความซึมเศร้า เกิดเนื่องมาจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่กลัวกับการตอบสนองแบบหลีกเลี่ยง ซึ่งมีผลเป็นความกลัวที่มีเงื่อนไข เหมือนดังในการปรับสภาวะแบบดั้งเดิม (Classical Conditioning) และในการบำบัดความคิด ผู้รักษาเชื่อว่า ตัวความคิดเอง จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล ดังนั้น การบำบัดสองอย่างหลังนี้จึงรวมกันเป็น CBT CBT มีประสิทธิผลต่อความผิดปกติหลายอย่างรวมทั้งความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) โรควิตกกังวล ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติของการรับประทาน (Eating disorder) การติดสิ่งต่าง ๆ (addiction) การใช้สารเสพติด (substance dependence) ความผิดปกติที่มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก (Tic disorder) และ psychotic disorder (รวมทั้งโรคจิตเภทและโรคหลงผิด) โปรแกรมการบำบัดแบบ CBT ได้รับประเมินสัมพันธ์กับการวินิจฉัยอาการ และปรากฏว่า มีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ เช่น การบำบัดแบบ psychodynamic แต่ว่าก็มีนักวิจัยที่ตั้งความสงสัยในความสมเหตุสมผลของข้ออ้างว่ามีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ยุคที่เน้นการปรับพฤติกรรมเป็นหลัก ผู้ที่ถือเป็นบิดาแห่งการบำบัดในรูปแบบที่เข้าใจและนิยมใช้ที่สุดในปัจจุบันคือ.

ใหม่!!: ไขสันหลังและการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้อากัปกิริยา

ซีรีบรัมเป็นส่วนในสมองที่มีหน้าที่ประสานงานเกี่ยวข้องกับการรับรู้อากัปกิริยา การรับรู้อากัปกิริยา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ proprioception ว่า "การรับรู้อากัปกิริยา" และของ proprioceptor ว่า "ปลายประสาทรับรู้อากัปกิริยา" หรือการรู้ตำแหน่งข้อและการเคลื่อนไหว (proprioception มาจากคำว่า "proprius" ซึ่งแปลว่า "ของตน" หรือ "แต่ละบุคคล" และคำว่า "perception" ซึ่งแปลว่า "การรับรู้") เป็นความรู้สึกเกี่ยวกับตำแหน่ง (limb position sense) และเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของอวัยวะในร่างกาย (kinesthesia หรือ motion sense) ที่ไม่สืบเนื่องกับการมองเห็นให้สังเกตให้ดีว่า คำว่า "proprioception" นั้น เป็นคำที่ชาลส์ สก็อตต์ เชอร์ริงตัน ได้บัญญัติขึ้นตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ไขสันหลังและการรับรู้อากัปกิริยา · ดูเพิ่มเติม »

การสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็ก

alt.

ใหม่!!: ไขสันหลังและการสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

การสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์

วันที่ 31 สิงหาคม..​ 2540 ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ สิ้นพระชนม์ภายหลังทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ภายในอุโมงค์ทางลอดสะพานปองต์เดอลัลมา กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดดี ฟาเยด พระสหาย และอองรี ปอล คนขับรถ เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ มีผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียวคือ เทรเวอร์ รีส์–โจนส์ ผู้ทำหน้าที่องครักษ์  ขบวนช่างภาพปาปารัสซีที่ติดตามไดอานาตกเป็นจำเลยสังคมทันที เนื่องจากมีการนำเสนอข่าวว่าช่างภาพปาปารัสซีเป็นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ แต่การสืบสวนของหน่วยงานยุติธรรมของฝรั่งเศสซึ่งใช้เวลานานกว่า 18 เดือน สรุปผลว่า นายอองรี ปอล อยู่ในอาการมึนเมาขณะขับรถยนต์และไม่สามารถควบคุมรถซึ่งขับมาด้วยความเร็วสูงได้ จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นในคืนนั้น อองรี ปอล นั้นเป็นรองหัวหน้าแผนกรักษาความปลอดภัยโรงแรมริตซ์ และก่อนเกิดอุบัติเหตุเขาได้ท้าทายกลุ่มช่างภาพปาปารัสซีที่คอยอยู่หน้าโรงแรม เจ้าหน้าที่นิติเวชยังตรวจพบยาต้านอาการทางจิต และยาต้านโรคซึมเศร้าในตัวอย่างเลือดของอองรี ปอลNundy, Julian; Graves, David. . The Daily Telegraph.

ใหม่!!: ไขสันหลังและการสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

การสูญความรู้สึกที่ไม่สัมพันธ์

การสูญความรู้สึกที่ไม่สัมพันธ์ (Dissociated sensory loss) เป็นรูปแบบความเสียหายทางประสาทที่เกิดจากรอยโรคที่ลำเส้นใยประสาทลำเดียวที่ไขสันหลัง ซึ่งทำให้เสียความรู้สึกเกี่ยวกับสัมผัสละเอียดและอากัปกิริยาในร่างกายซีกหนึ่งโดยต่ำกว่าหรือเท่ากับรอยโรค โดยไม่เสียความรู้สึกเจ็บและความเย็นร้อน หรืออาจเกิดตามนัยตรงกันข้าม อีกนัยหนึ่ง เป็นรูปแบบความเสียหายทางประสาทที่เกิดจากรอยโรคที่ข้างเดียว (ในสองข้าง) ของไขสันหลัง ซึ่งทำให้เสียความรู้สึกเกี่ยวกับสัมผัสละเอียดและอากัปกิริยาในร่างกายซีกหนึ่งโดยต่ำกว่าหรือเท่ากับรอยโรค และเสียความรู้สึกเจ็บและความเย็นร้อนอีกซีกหนึ่งต่ำกว่าหรือเท่ากับรอยโรค ความไม่สัมพันธ์กันเช่นนี้มาจากการส่งข้อมูลสัมผัสละเอียดบวกอากัปกิริยา กับความเจ็บปวดบวกอุณหภูมิ ผ่านวิถีประสาทที่ต่างกันไปยังสมอง การเสียความรู้สึกเจ็บและอุณหภูมิเกิดจากความเสียหายที่ spinothalamic tract ด้านข้างของไขสันหลัง ซึ่งวิ่งข้ามไขสันหลังในระดับใกล้ ๆ กับที่ใยประสาทวิ่งเข้าไขสันหลัง แล้วดำเนินขึ้นไปยังสมองในซีกตรงข้ามของร่างกายจากจุดเริ่มต้น (first order neuron) คือ วิ่งขึ้นในด้านตรงข้าม (contralateral) ให้สังเกตว่า รอยโรคที่ลำเส้นใยประสาทของ spinothalamic tract ด้านข้างในระดับหนึ่ง ๆ จะไม่ทำให้เสียความรู้สึกใน dermatome ที่อยู่ในระดับเดียวกัน เพราะใยประสาทที่เข้าไปในไขสันหลังจะวิ่งขึ้นตาม tract of Lissauer ในซีกร่างกายเดียวกัน 1-2 ข้อกระดูกสันหลังก่อนจะข้ามไขว้ทแยงไปอีกด้านหนึ่ง และดังนั้น จึงอ้อมผ่านลำเส้นใยประสาทซีกร่างกายตรงกันข้ามที่เสียหาย ส่วนการสูญการรู้สัมผัสละเอียดและอากัปกิริยา จะมาจากความเสียหายต่อทางเดินประสาท dorsal column ในไขสันหลัง ซึ่งไม่ข้ามทแยงไปซีกตรงกันข้ามจนกระทั่งถึงก้านสมอง และดังนั้น จึงวิ่งขึ้นตามไขสันหลังในซีกเดียวกัน (ipsilateral) กับเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่เป็นจุดเริ่มต้น นี่จึงหมายความว่า รอยโรคที่ dorsal column จะทำให้เสียความรู้สึกสัมผัสละเอียดและอากัปกิริยาในระดับใต้รอยโรคซีกร่างกายเดียวกัน เทียบกับรอยโรคที่ spinothalamic tract ซึ่งจะทำให้เสียความรู้สึกเจ็บปวดและอุณหภูมิในระดับใต้รอยโรคซีกร่างกายตรงกันข้าม ดังนั้น การมีอาการ Dissociated sensory loss แสดงนัยว่า มีรอยโรคเฉพาะที่ภายในไขสันหลังหรือก้านสมอง ตำแหน่งรอยโรคในไขสันหลังจะมีผลต่ออาการ ยกตัวอย่างเช่น รอยโรคที่ไขสันหลัง (เช่นของกลุ่มอาการเหตุไขสันหลังเป็นโพรง) ซึ่งเป็นความเสียหายต่อ second order neuron ของ spinothalamic tract ช่วงที่กำลังข้ามทแยงในไขสันหลัง จะทำให้เสียความรู้สึกเจ็บและอุณหภูมิโดยไม่เสียสัมผัสละเอียดและอากัปกิริยา เหตุต่าง ๆ ของอาการนี้รวมทั้ง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและการสูญความรู้สึกที่ไม่สัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

การขาดวิตามินบี12

การขาดวิตามินบี12 หรือ ภาวะขาดวิตามินบี12 (Vitamin B12 deficiency, hypocobalaminemia) หมายถึงการมีระดับวิตามินบี12 ในเลือดต่ำ ซึ่งอาจมีอาการหลายอย่างรวมทั้งปัญหาทางความคิด ความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและอารมณ์ เช่น ความซึมเศร้า ความหงุดหงิด โรคจิต (psychosis) --> ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน (paresthesia) รีเฟล็กซ์เปลี่ยน กล้ามเนื้อทำงานไม่ดี ลิ้นอักเสบ (glossitis) ได้รสชาติลดลง (hypogeusia) เม็ดเลือดแดงน้อย (เลือดจาง) การทำงานของหัวใจผิดปกติ (cardiomyopathy) และความเป็นหมัน ในเด็กเล็ก ๆ อาการอาจรวมการไม่โต พัฒนาการที่ล่าช้า และความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว (movement disorder) ถ้าไม่รักษา ความเปลี่ยนแปลงอาจจะกลายเป็นปัญหาถาวร เหตุสามัญรวมทั้งการดูดซึมวิตามินได้ไม่ดีจากกระเพาะหรือลำไส้ การทานอาหารที่มีวิตามินไม่พอ และความต้องการที่เพิ่มขึ้น --> การดูดซึมได้ไม่ดีอาจมีเหตุจากโรคโลหิตจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anemia) การผ่าตัดเอากระเพาะออก ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง พยาธิในลำไส้ ยาบางชนิด และความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ --> ส่วนการทานอาหารที่มีวิตามินไม่พออาจเกิดกับผู้ที่ทานอาหารเจแบบวีแกน หรือได้สารอาหารไม่เพียงพอ --> ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดในคนไข้เอชไอวี/เอดส์ และในบุคคลที่สลายเม็ดเลือดแดงอย่างรวดเร็ว การวินิจฉัยปกติจะอาศัยระดับวิตามินบี12 ในเลือดที่ต่ำกว่า 120-180 picomol/L (หรือ 170-250 pg/mL) ในผู้ใหญ่ --> การมีระดับกรด methylmalonic ที่สูงขึ้น คือ เกิน 0.4 micromol/L อาจจะเป็นตัวบ่งความขาดวิตามินได้ด้วย --> การมีภาวะโลหิตจางแบบ megaloblastic anemia (ที่เม็ดเลือดใหญ่เกินปกติเพราะแบ่งตัวไม่ได้) เกิดขึ้นบ่อยครั้งแต่ไม่จำเป็น สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐแนะนำให้หญิงทานเจที่มีครรภ์ทานวิตามินเสริมเพื่อป้องกันการขาด เมื่อระบุปัญหาได้แล้ว สามารถรักษาได้ง่าย ๆ โดยให้วิตามินเสริมไม่ทางปากก็ทางการฉีด ไม่ต้องกังวลว่าจะมีวิตามินบี12 เกินในบุคคลที่มีสุขภาพดี คนไข้บางรายอาจจะดีขึ้นเองถ้ารักษาโรคที่เป็นเหตุ ในบางกรณีอาจจะต้องทานวิตามินชั่วชีวิตเพราะโรคที่เป็นเหตุไม่สามารถรักษาได้ การขาดวิตามินบี12 เป็นเรื่องสามัญ ประมาณว่า 6% ของคนที่อายุต่ำกว่า 60 และ 20% ของคนที่อายุมากกว่า 60 จะมีปัญหานี้ --> โดยอัตราอาจสูงถึง 80% ในบางเขตของทวีปแอฟริกาและเอเชี.

ใหม่!!: ไขสันหลังและการขาดวิตามินบี12 · ดูเพิ่มเติม »

การตอบสนองโดยสู้หรือหนี

ู้หรือหนีดี การตอบสนองโดยสู้หรือหนี หรือ การตอบสนองแบบสู้หรือหนี (fight-or-flight response, hyperarousal, acute stress response) เป็นปฏิกิริยาทางสรีรภาพที่เกิดตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่รู้สึกว่าเป็นอันตราย เสี่ยงต่อถูกทำร้าย หรือเสี่ยงต่อชีวิต โดยมี.

ใหม่!!: ไขสันหลังและการตอบสนองโดยสู้หรือหนี · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัวของประสาท

การปรับตัวของประสาท หรือ การปรับตัวรับความรู้สึก (Neural adaptation, sensory adaptation) เป็นการเปลี่ยนการตอบสนองของระบบรับความรู้สึกตามกาลเวลาเนื่องจากสิ่งเร้าที่คงอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยจะรู้สึกเหมือนกับสิ่งเร้าได้เปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น ถ้าวางมือลงที่โต๊ะ ก็จะรู้สึกถึงผิวโต๊ะได้ทันที แต่ภายในไม่กี่วินาที ก็จะเริ่มไม่รู้สึกถึงผิวของโต๊ะ เพราะในเบื้องต้น เซลล์ประสาทรับความรู้สึกจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าคือผิวโต๊ะโดยทันที แล้วก็จะตอบสนองน้อยลง ๆ จนอาจไม่ตอบสนองเลย นี่เป็นตัวอย่างการปรับตัวของระบบประสาท ระบบรับความรู้สึกและระบบประสาททั้งหมดจะมีรูปแบบการปรับตัวบางอย่าง เพื่อให้สามารถตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมได้อย่างต่อเนื่อง ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่รับและประมวลข้อมูลความรู้สึก จะเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาเพื่อตรวจจับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสิ่งแวดล้อม ตัวการสำคัญของการปรับตัวในระบบประสาทหลายอย่างอาศัยไอออน Ca2+ ที่ส่งผลป้อนกลับเชิงลบผ่านกระบวนการ second messenger pathway ซึ่งทำให้เซลล์ประสาทรับความรู้สึกสามารถเปิดปิดช่องไอออนตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของการไหลเข้าออกของไอออน มีระบบรับความรู้สึกแบบแรงกลบางอย่างที่ใช้การไหลเข้าของแคลเซียม เพื่อสร้างผลทางกายภาพต่อโปรตีนบางอย่างแล้วทำให้พวกมันเปิดปิดช่องไอออน เป็นไปได้สูงว่าการปรับตัวอาจเพิ่มพิสัยการตอบสนองที่จำกัดของนิวรอน เพื่อเข้ารหัสสิ่งเร้าซึ่งมีพิสัยเชิงพลวัตที่กว้างกว่า โดยปรับพิสัยการตอบสนองของประสาทสัมผัสต่อความเบาแรงของสิ่งเร้า Introduction, pp.

ใหม่!!: ไขสันหลังและการปรับตัวของประสาท · ดูเพิ่มเติม »

การแข็งตัวขององคชาต

การแข็งตัวขององคชาต (erection, ศัพย์การแพทย์: penile erection, penile tumescence) เป็นปรากฏการณ์ทางสรีรภาพของอวัยวะเพศชายในสัตว์หลายสปีชีส์ ที่องคชาตแข็งตัวขึ้น คั่งไปด้วยเลือด และขยายใหญ่ขึ้น เป็นผลของปฏิกิริยาอันสลับซับซ้อนของจิตใจ ระบบประสาท ระบบหลอดเลือด และระบบต่อมไร้ท่อ มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับอารมณ์ทางเพศ แต่จริง ๆ อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ รูปร่าง มุมตั้ง และทิศทางขององคชาตที่แข็งตัวมีความแตกต่างกันอย่างมากแม้ในหมู่มนุษย์ โดยสรีรภาพแล้ว กระบวนการแข็งตัวขององคชาตเริ่มจากระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (ส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติ) ที่เป็นเหตุให้ระดับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (เป็นสารขยายหลอดเลือด) สูงขึ้นในหลอดเลือด trabecular และในกล้ามเนื้อเรียบขององคชาต หลอดเลือดนั้นก็จะขยายใหญ่ขึ้นทำให้เนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำที่เรียกว่า corpora cavernosa (ดูรูป) (และ corpus spongiosum แม้ว่าจะน้อยกว่า) เต็มไปด้วยเลือด และในขณะเดียวกัน ก็จะทำให้กล้ามเนื้อ ischiocavernosus และ bulbospongiosus เข้าไปกดหลอดเลือดดำของเนื้อเยื่อ จำกัดการไหลออกของเลือด (จากเนื้อเยื่อ) และการไหลเวียนของโลหิตที่ไหลเข้าไป (ในเนื้อเยื่อ) การแข็งตัวจะลดลงเมื่อการทำงานในระบบประสาทพาราซิมพาเทติกลดระดับลงไปเป็นปกติ เพราะว่าเป็นการตอบสนองอัตโนมัติ การแข็งตัวอาจเกิดขึ้นจากสิ่งเร้าหลายอย่างรวมทั้งการเร้าอารมณ์เพศ (sexual stimulationการเร้าอารมณ์เพศ (sexual stimulation) เป็นตัวกระตุ้นอะไรก็ได้ รวมทั้งสัมผัสทางกาย ที่เพิ่มและรักษาอารมณ์เพศ ซึ่งอาจนำไปสู่การหลั่งน้ำอสุจิและ/หรือจุดสุดยอดทางเพศในที่สุด ถึงแม้ว่าอารมณ์เพศอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยการกระตุ้น แต่จะถึงจุดสุดยอดทางเพศได้ ปกติต้องมีการกระตุ้นทางเพศ) และอารมณ์ทางเพศ ดังนั้น จึงไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจโดยสิ้นเชิง การแข็งตัวในระหว่างการนอนหลับหรือเมื่อตื่นนอนมีศัพท์ทางแพทย์ภาษาอังกฤษว่า nocturnal penile tumescence และความปราศจากการแข็งตัวในระหว่างการนอนหลับสามารถใช้ในการแยกแยะเหตุที่เป็นไปทางกายภาพหรือทางจิตใจของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศสาเหตุทางร่างกาย (ICD-10 N48.4) หรืออวัยวะเพศไม่ตอบสนอง (เหตุทางใจ ICD-10 F52.2) องคชาตที่ไม่แข็งตัวเต็มที่มีศัพท์การแพทย์ภาษาอังกฤษว่า partial tumescence.

ใหม่!!: ไขสันหลังและการแข็งตัวขององคชาต · ดูเพิ่มเติม »

การเจริญของประสาทในมนุษย์

การศึกษาการเจริญของประสาทใช้ทั้งประสาทวิทยาศาสตร์และชีววิทยาการเจริญเพื่ออธิบายกลไกของเซลล์และโมเลกุลที่ทำให้ระบบประสาทซับซ้อนกำเนิดขึ้นระหว่างการเจริญของเอ็มบริโอและตลอดชีวิต จุดกำหนดการเจริญของประสาทเอ็มบริโอบางจุดมีการเกิดและการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ประสาทจากสารตั้งต้นสเต็มเซลล์ การย้ายที่ของเซลล์ประสาทที่ยังเจริญไม่เต็มวัยจากที่เกิดในเอ็มบริโอไปตำแหน่งสุดท้าย การเติบโตของแกนประสาทนำออกจากเซลล์ประสาทและการชี้ทาง (guidance) ของโกรธโคน (growth cone) เคลื่อนที่ตลอดเอ็มบริโอสู่คู่หลังประสานประสาท การสร้างจุดประสานประสาทระหว่างแกนประสาทนำออกกับคู่หลังประสานประสาทของมัน การเล็มประสาท (neuron pruning) ที่เกิดในวัยรุ่น และสุดท้ายการเปลี่ยนแปลงในจุดประสานประสาทตลอดชีวิตซึ่งคาดว่าเป็นฐานของการเรียนรู้และความจำ โดยตรงแบบ กระบวนการเจริญของประสาทเหล่านี้สามารถแบ่งได้กว้าง ๆ เป็นสองประเภท คือ กลไกไม่อาศัยกิจกรรม (activity-independent mechanism) และกลไกอาศัยกิจกรรม (activity-dependent mechanism) กลไกไม่อาศัยกิจกรรมโดยทั่วไปเชื่อว่าเกิดขึ้นเป็นกระบวนการเปลี่ยนไม่ได้ที่กำหนดโดยโปรแกรมพันธุกรรมที่อยู่ในเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ ซึ่งรวมการเปลี่ยนสภาพ การย้ายที่และการชี้ทางไปยังพื้นที่เป้าหมายแรกเริ่ม คิดว่ากระบวนการเหล่านี้ไม่ขึ้นกับกิจกรรมประสาทและประสบการณ์รับความรู้สึก เมื่อแกนประสาทนำออกถึงพื้นที่เป้าหมายของมัน กลไกอาศัยกิจกรรมจะเข้ามามีบทบาท กิจกรรมประสาทและประสบการณ์รับความรู้สึกจะเป็นสื่อกลางการสร้างจุดประสานประสาทใหม่ ตลอดจนสภาพพลาสติกจุดประสานประสาท ซึ่งจะมีส่วนต่อการปรับปรุงวงจรประสาทอายุน้อ.

ใหม่!!: ไขสันหลังและการเจริญของประสาทในมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะช็อกทางระบบประสาท

วะช็อกทางระบบประสาท (neurogenic shock) เป็นภาวะช็อกที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทอิสระภายในไขสันหลัง ส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำและภาวะหัวใจเต้นช้าร่วมในบางครั้ง โดยความดันโลหิตต่ำเกิดจากแรงต้านภายในหลอดเลือดที่ลดลง ทำให้มีเลือดคั่ง ส่วนภาวะหัวใจเต้นช้าเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทเวกัส ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งจากการขาดออกซิเจนและความผิดปกติในหลอดลม ภาวะช็อกทางระบบประสาทอาจก่อให้เกิดกลุ่มอาการการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะและการเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ภาวะช็อกดังกล่าวต่างจากภาวะช็อกทางสันหลัง (spinal shock) ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: ไขสันหลังและภาวะช็อกทางระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก

วะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก.

ใหม่!!: ไขสันหลังและภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

มอร์ฟีน

มอร์ฟีน (Morphine) ที่ขายภายใต้ชื่อการค้าหลายชื่อ เป็นยาระงับปวดชนิดยาเข้าฝิ่น ออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อลดความรู้สึกปวด ใช้ได้ทั้งกับอาการปวดเฉียบพลันและปวดเรื้อรัง มอร์ฟีนยังมักใช้กับอาการปวดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและระหว่างการคลอด สามารถให้ทางปาก โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ฉีดใต้ผิวหนัง เข้าหลอดเลือดดำ เข้าช่องว่างระหว่างไขสันหลัง หรือทางทวารหนัก ฤทธิ์สูงสุดอยู่ประมาณ 20 นาทีเมื่อให้เข้าหลอดเลือดดำ และ 60 นาทีเมื่อให้ทางปาก ส่วนระยะออกฤทธิ์อยู่ระหว่าง 3 ถึง 7 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีสูตรออกฤทธิ์ยาว ผลข้างเคียงรุนแรงที่อาจเกิดได้มีความพยายามหายใจลดและความดันเลือดต่ำ มอร์ฟีนมีศักยะสูงสำหรับการติดยาและการใช้เป็นสารเสพติด หากลดขนาดหลังการใช้ระยะยาว อาจเกิดอาการถอนได้ ผลข้างเคียงทั่วไปมีซึม อาเจียนและท้องผูก แนะนำให้ระวังเมื่อใช้ระหว่างตั้งครรภ์หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะมอร์ฟีนจะมีผลต่อทารก ฟรีดริช แซร์ทัวร์เนอร์เป็นผู้แรกที่แยกมอร์ฟีนระหว่าง..

ใหม่!!: ไขสันหลังและมอร์ฟีน · ดูเพิ่มเติม »

ยูโรคอร์ดาตา

ูโรคอร์ดาตา มีชื่อสามัญว่า Tunicate เป็นสัตว์มีแกนสันหลังที่เป็นสัตว์น้ำเค็ม ไม่มีกะโหลกศีรษะ ไม่มีขากรรไกร มักแตกหน่อแล้วอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม บางชนิดอยู่โดดเดี่ยว มีการสร้างสารคลุมตัว เป็นสารประกอบพวกเซลลูโลส ที่เรียกว่าทูนิซินเพื่อให้คงรูปร่างอยู่ได้ ซีลอมไม่ชัดเจนเนื่องจากมีอวัยวะภายในบรรจุอยู่เต็ม ระบบหมุนเวียนเลือดเป็นแบบเปิด ไม่แยกเพศ การเจริญมีตัวอ่อนมีหางยาวใช้ว่ายน้ำ มีโนโตคอร์ดไขสันหลังบริเวณหาง เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยหางจะค่อยๆสลายไปจนไม่มีหาง เหลือโนโตคอร์ดและไขสันหลังบริเวณลำตัวบ้างเท่านั้น เช่น เพรียงลอย เพรียงสาย เพรียงหัวหอม แบ่งย่อยได้เป็น 3 คลาส คือ.

ใหม่!!: ไขสันหลังและยูโรคอร์ดาตา · ดูเพิ่มเติม »

รอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน

รอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน (upper motor neuron lesion) เป็นรอยโรคอย่างหนึ่งของทางนำกระแสประสาทซึ่งอยู่เหนือเซลล์แอนทีเรียร์ฮอร์นของไขสันหลัง หรือมอเตอร์นิวเคลียสของเส้นประสาทสมอง รอยโรคชนิดนี้ต่างจากรอยโรคของเซลล์ประสาทล่าง ซึ่งส่งผลต่อเส้นใยประสาทที่นำสัญญาณต่อจากแอนทีเรียร์ฮอร์นของไขสันหลังไปยังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง อาการแบบมีรอยโรคของเซลล์ประสาทบนสามารถพบได้ในภาวะซึ่งส่งผลต่อเซลล์ประสาทสั่งการซึ่งอยู่ในสมองหรือไขสันหลัง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง สมองกระทบกระเทือน หรืออัมพาตสมองใหญ่ เป็นต้น หมวดหมู่:ความผิดปกติทางประสาทวิทยา หมวดหมู่:อัมพาตสมองใหญ่และกลุ่มอาการอัมพาตอื่น.

ใหม่!!: ไขสันหลังและรอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน · ดูเพิ่มเติม »

รอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่าง

รอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่าง (lower motor neuron lesion) เป็นรอยโรคอย่างหนึ่งของทางนำกระแสประสาทซึ่งอยู่ที่ใยประสาทใต้ต่อแอนทีเรียร์ฮอร์นของไขสันหลังไปจนถึงกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่าง ลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งซึ่งใช้ดูว่าอาการทางประสาทนั้นเป็นรอยโรคที่เกิดกับเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่างหรือไม่ก็คือการมีอาการอัมพาตแบบเปลี้ยหรือไม่ ซึ่งแตกต่างจากอาการของการมีรอยโรคกับเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบนซึ่งจะมีอาการอัมพาตแบบเกร็ง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและรอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่าง · ดูเพิ่มเติม »

ระบบพีระมิด

ระบบปิรามิด (pyramidal system) เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทสั่งการ หรือระบบประสาทมอเตอร์ (motor system) ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายภายใต้อำนาจจิตใจ (voluntary control).

ใหม่!!: ไขสันหลังและระบบพีระมิด · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการทรงตัว

ห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) ของหูด้านขวา ประกอบด้วย '''คอเคลีย''' (cochlea) เป็นอวัยวะปลายประสาทของระบบการได้ยิน ส่วนอวัยวะรับความรู้สึกของระบบการทรงตัวรวมทั้ง '''หลอดกึ่งวงกลม''' (semicircular ducts) ซึ่งทำหน้าที่รับรู้การเคลื่อนไหวแบบหมุน (คือความเร่งเชิงมุม) '''saccule''' และ '''utricle''' ทำหน้าที่รับรู้ความเร่งเชิงเส้น คอเคลียและ vestibular system ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก ระบบการทรงตัว (vestibular system) เป็นระบบรับความรู้สึกที่ให้ข้อมูลสำคัญที่สุดเกี่ยวกับการกำหนดรู้การทรงตัว (equilibrioception หรือ sense of balance) และการรู้ทิศทางของร่างกายภายในปริภูมิ (spatial orientation) ระบบการทรงตัวพร้อมกับคอเคลียซึ่งเป็นส่วนของระบบการได้ยิน เป็นส่วนประกอบของห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายมีทั้งแบบหมุนและแบบเลื่อน ระบบการทรงตัวจึงมีส่วนประกอบสองอย่างเหมือนกัน คือ ระบบหลอดกึ่งวงกลม (semicircular canal) ซึ่งบอกการเคลื่อนไหวแบบหมุน และระบบ otoliths ซึ่งบอกความเร่งในแนวเส้น ระบบการทรงตัวโดยหลักจะส่งข้อมูลไปยังโครงสร้างประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของตา เช่นการเคลื่อนไหวแบบ vestibulo-ocular reflex ซึ่งจำเป็นในการเห็นที่ชัดเจน และไปยังกล้ามเนื้อที่ทำให้สามารถทรงตัวไว้ได้ ระบบการทรงตัวมีบทบาทในเรื่อง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและระบบการทรงตัว · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการได้ยิน

ระบบการได้ยิน (auditory system) เป็นระบบรับความรู้สึก/ระบบประสาทสัมผัส ซึ่งรวมทั้งอวัยวะการฟังคือหู และระบบประสาทเกี่ยวกับการฟัง กายวิภาคของหู แม้ว่าช่องหูจะยาวเกินสัดส่วนในรูป.

ใหม่!!: ไขสันหลังและระบบการได้ยิน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรับความรู้สึกทางกาย

การเห็นบกพร่อง สัมผัสเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญเพื่อรับรู้สิ่งแวดล้อม ระบบรับความรู้สึกทางกาย"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ somato-gnosis ว่า "ความรู้สึก-ทางกาย" และของ sensory ว่า "-รับความรู้สึก" แต่สิ่งที่ตีพิมพ์ในวรรณกรรมมักใช้คำอังกฤษว่า somatosensory system โดยไม่แปล (somatosensory system) เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกที่สามารถรับรู้อย่างหลายหลาก ประกอบด้วยตัวรับความรู้สึก/ปลายประสาทรับความรู้สึก (sensory receptor) ที่ระบบประสาทนอกส่วนกลาง และศูนย์ประมวลผลต่าง ๆ ที่ระบบประสาทกลางมากมาย ทำให้รับรู้ตัวกระตุ้นได้หลายแบบรวมทั้งสัมผัส อุณหภูมิ อากัปกิริยา และโนซิเซ็ปชั่น (ซึ่งอาจให้เกิดความเจ็บปวด) ตัวรับความรู้สึกมีอยู่ที่ผิวหนัง เนื้อเยื่อบุผิว กล้ามเนื้อโครงร่าง กระดูก ข้อต่อ อวัยวะภายใน และระบบหัวใจและหลอดเลือด ถึงแม้จะสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งโบราณว่า สัมผัสเป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งในทวารทั้ง 5 (เช่น "โผฏฐัพพะ" ในพระพุทธศาสนา) แต่ความจริงแล้ว "สัมผัส" เป็นความรู้สึกต่าง ๆ หลายแบบ ดังนั้น การแพทย์จึงมักจะใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "somatic senses (ความรู้สึกทางกาย)" แทนศัพท์ว่า "touch (สัมผัส)" เพื่อให้ครอบคลุมกลไกความรู้สึกทางกายทั้งหมด ความรู้สึกทางกายบางครั้งเรียกว่า "somesthetic senses" โดยที่คำว่า "somesthesis" นั้น รวมการรับรู้สัมผัส (touch) การรับรู้อากัปกิริยา และในบางที่ การรับรู้วัตถุโดยสัมผัส (haptic perception) ระบบรับความรู้สึกทางกายมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเร้ามากมายหลายแบบ โดยอาศัยตัวรับความรู้สึกประเภทต่าง ๆ รวมทั้งตัวรับอุณหภูมิ โนซิเซ็ปเตอร์ ตัวรับแรงกล และตัวรับรู้สารเคมี ข้อมูลความรู้สึกจะส่งไปจากตัวรับความรู้สึกผ่านเส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) ผ่านลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ตรงเข้าไปยังสมอง การประมวลผลโดยหลักเกิดขึ้นที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) ในสมองกลีบข้าง cortical homunculus ที่แสดงไว้โดยไวล์เดอร์ เพ็นฟิลด์ กล่าวอย่างง่าย ๆ ที่สุด ระบบรับความรู้สึกทางกายจะเริ่มทำงานเมื่อตัวรับความรู้สึกที่กายเขตหนึ่งเริ่มทำงาน โดยถ่ายโอนคุณสมบัติของตัวกระตุ้นบางอย่างเช่นความร้อนไปเป็นสัญญาณประสาท ซึ่งในที่สุดก็จะเดินทางไปถึงเขตสมองที่มีหน้าที่เฉพาะเจาะจงต่อเขตกายนั้น และเพราะเฉพาะเจาะจงอย่างนี้ จึงสามารถระบุเขตกายที่เกิดความรู้สึกโดยเฉพาะซึ่งเป็นผลแปลของสมอง ความสัมพันธ์จุดต่อจุดเช่นนี้ปรากฏเป็นแผนที่ผิวกายในสมองที่เรียกว่า homunculus แปลว่า "มนุษย์ตัวเล็ก ๆ" และเป็นส่วนสำคัญในการรับรู้ความรู้สึกที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่แผนที่ในสมองเช่นนี้ ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และจริง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างน่าทึ่งใจ เพื่อตอบสนองต่อโรคหลอดเลือดสมองหรือความบาดเจ็บอื่น.

ใหม่!!: ไขสันหลังและระบบรับความรู้สึกทางกาย · ดูเพิ่มเติม »

ระบบอวัยวะ

ตัวอย่างของระบบอวัยวะ:ระบบประสาท ระบบประสาทในร่างกาย ระบบอวัยวะ (organ system) เป็นกลุ่มของอวัยวะที่ทำงานร่วมกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและสัตว์อื่นๆ รวมทั้งมนุษย์ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต, ระบบทางเดินหายใจ, ระบบประสาท เป็นต้น กลุ่มของระบบอวัยวะหลายๆ ระบบรวมกันประกอบเป็นสิ่งมีชีวิต (organism).

ใหม่!!: ไขสันหลังและระบบอวัยวะ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาท

ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.

ใหม่!!: ไขสันหลังและระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

Autonomic nervous system innervation, showing the sympathetic and parasympathetic (craniosacral) systems, in red and blue, respectively ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic system) เป็นหนึ่งในสองระบบหลักของ ระบบประสาทอัตโนมัติ เส้นประสาทในระบบพาราซิมพาเทติก คือเส้นประสาทที่มาจากบริเวณเหนือไขสันหลัง คือบริเวณที่เป็นสมองส่วนกลาง และเมดัลลาออบลองกาตา และเส้นประสาทที่มาจากบริเวณต่ำ หมวดหมู่:ระบบประสาทอัตโนมัติ.

ใหม่!!: ไขสันหลังและระบบประสาทพาราซิมพาเทติก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

ใหม่!!: ไขสันหลังและระบบประสาทกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทซิมพาเทติก

ระบบประสาทอัตโนมัติสีน้ำเงิน.

ใหม่!!: ไขสันหลังและระบบประสาทซิมพาเทติก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบโพรงสมอง

ระบบโพรงสมองคือกลุ่มของช่องว่างในสมอง ภายในมีน้ำหล่อสมองไขสันหลัง ช่องว่างเหล่านี้เชื่อมต่อกับท่อกลางของไขสันหลัง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและระบบโพรงสมอง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อโครงสร้างทางกายวิภาคมนุษย์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ไขสันหลังและรายชื่อโครงสร้างทางกายวิภาคมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ร่างกายมนุษย์

ร่างกายมนุษย์ เป็นโครงสร้างทั้งหมดของมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดที่รวมกันเป็นเนื้อเยื่อซึ่งรวมกันเป็นระบบอวัยวะ สิ่งเหล่านี้คงภาวะธำรงดุลและความอยู่รอดของร่างกายมนุษย์ ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยศีรษะ, คอ, ลำตัว (ซึ่งรวมถึงอกและท้อง), แขนและมือ, ขา และเท้า การศึกษาร่างกายมนุษย์เชื่อมโยงกับกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา มิญชวิทยา และคัพภวิทยา ร่างกายมีความแตกต่างทางกายวิภาคแบบต่าง ๆ สรีรวิทยามุ่งไปที่ระบบและอวัยวะของมนุษย์และการทำงานของอวัยวะ หลายระบบและกลไกมีปฏิกิริยาต่อกันเพื่อคงภาวะธำรงดุล โดยมีระดับที่ปลอดภัยของสารต่าง ๆ เช่น น้ำตาลและออกซิเจนในเลือ.

ใหม่!!: ไขสันหลังและร่างกายมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ลำเส้นใยประสาท

ลำเส้นใยของเนื้อขาวภายในสมองมนุษย์ ภาพทำด้วย MRI tractography ลำเส้นใยประสาท (nerve tract) เป็นมัดใยประสาท (มัดแอกซอน) ที่เชื่อมนิวเคลียสประสาทต่าง ๆ ของระบบประสาทกลาง เพราะในระบบประสาทรอบนอก มัดใยประสาทเช่นเดียวกันจะเรียกว่า nerve fascicle (มัดใยประสาท) ลำเส้นใยประสาทในระบบประสาทกลางแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ ใยประสาทประสานงาน (association fiber) ใยประสาทเชื่อมซีกสมอง (commissural fiber) และใยประสาทโปรเจ็กชัน (projection fiber) ลำเส้นใยประสาทยังอาจเรียกได้ด้วยว่า commissure (ใยประสาทเชื่อมซีกสมอง), fasciculus (มัดใยประสาท), หรือ decussation (ส่วนไขว้ทแยง) ใยประสาทเชื่อมซีกสมอง เป็นตัวเชื่อมซีกสมองทั้งสองข้างในระดับเดียวกัน ตัวอย่างก็คือ posterior commissure และ คอร์ปัส คาโลซัม ส่วนไขว้ทแยงก็คือใยประสาทที่ข้ามไขว้ทแยงไปยังอีกซีกหนึ่งของสมองที่ไม่ใช่จุดกำเนิด (obliquely) เช่น ดังที่พบใน sensory decussation ที่ใยประสาทจากนิวเคลียส gracile nucleus และ cuneate nucleus ข้ามไขว้ทแยงไปยังซีกตรงข้ามของสมอง ส่วนตัวอย่างของ fasciculus รวมทั้ง subthalamic fasciculus และ lenticular fasciculus.

ใหม่!!: ไขสันหลังและลำเส้นใยประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ลำเส้นใยประสาทไขสันหลัง-ทาลามัส

ลำเส้นใยประสาทไขสันหลัง-ทาลามัส (spinothalamic tract หรือ anterolateral system หรือ ventrolateral system ตัวย่อ STT) เป็นวิถีประสาทเกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกที่ส่งข้อมูลจากผิวหนังไปยังทาลามัสในสมอง และจาก ventral posterolateral nucleus (VPL) ในทาลามัส ข้อมูลก็จะส่งต่อไปยังคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย/รอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus) เป็นต้นต่อไป STT ประกอบด้ววิถีประสาทที่อยู่ติดกัน คือ ส่วนหน้า (anterior) และส่วนข้าง (lateral) ส่วนหน้าจะส่งข้อมูลเกี่ยวกับสัมผัสหยาบ ส่วนข้างจะส่งข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บปวดและอุณหภูมิ ในไขสันหลัง spinothalamic tract จะจัดระเบียบเรียงตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไปตามลำดับ โดยตามเส้นประสาทของปล้องกระดูกสันหลังต่าง ๆ รวมทั้งส่วนคอ (cervical) อก (thoracic) เอว (lumbar) และกระเบนเหน็บ (sacral) โดยเรียงจากในสุด (medial) ไปยังข้างสุด (lateral) ตามลำดับ วิถีประสาทนี้จะข้ามไขว้ทแยง (decussates) ไปยังซีกตรงข้ามในไขสันหลัง ไม่ใช่ที่ก้านสมองเหมือนกับวิถีประสาท posterior column-medial lemniscus pathway และ lateral corticospinal tract.

ใหม่!!: ไขสันหลังและลำเส้นใยประสาทไขสันหลัง-ทาลามัส · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของมนุษย์

''Homo sapiens sapiens'' ชาวอาข่าในประเทศไทย วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา, ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์ กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus หรือ Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ และลิงชิมแปนซีเมื่อ โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Archaic humans ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H. erectus/ergaster เป็นกลุ่มมนุษย์ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะคือมนุษย์โบราณ H. heidelbergensis/rhodesiensis หลังจากนั้น มนุษย์สปีชีส์ ''Homo sapiens'' ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern human) ก็เกิดขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณในยุคหินกลาง (แอฟริกา) คือประมาณ 300,000 ปีก่อน ตามทฤษฎี "กำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา" มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการในทวีปแอฟริกาแล้วจึงอพยพออกจากทวีปประมาณ 50,000-100,000 ปีก่อน (ต่างหากจากมนุษย์ในยุคก่อน ๆ) ไปตั้งถิ่นฐานแทนที่กลุ่มมนุษย์สปีชีส์ H. erectus, H. denisova, H. floresiensis และ H. neanderthalensis ในที่ต่าง ๆ ที่เป็นเชื้อสายของมนุษย์ที่อพยพออกมาจากทวีปแอฟริกาในยุคก่อน ๆ โดยอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณก่อน ๆ เหล่านั้น หลักฐานโดยดีเอ็นเอในปี..

ใหม่!!: ไขสันหลังและวิวัฒนาการของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

วิถีประสาท

วิถีประสาทจะเชื่อมส่วนหนึ่งของระบบประสาทไปยังอีกส่วนหนึ่งโดยใช้มัดแอกซอนที่เรียกว่า ลำเส้นใยประสาท (tract) ลำเส้นใยประสาทตาเป็นตัวอย่างหนึ่งของวิถีประสาทที่เชื่อมตากับสมอง วิถีประสาท (neural pathway) เป็นเซลล์ประสาท (นิวรอน) ที่เชื่อมต่อกันเป็นทอด ๆ เพื่อส่งกระแสประสาทจากส่วนหนึ่งของระบบประสาทไปยังอีกส่วนหนึ่ง นิวรอนอาจจะเชื่อมต่อกันโดยใยประสาทเพียงเส้นเดียว หรือโดยมัดใยประสาทที่เรียกว่า ลำเส้นใยประสาท (tract) วิถีประสาทที่เชื่อมส่วนที่ห่างไกลกันในสมองหรือระบบประสาท จะเป็นมัดใยประสาทที่เรียกรวม ๆ กันว่า เนื้อขาว (white matter) วิถีประสาทที่เชื่อมส่วนที่ใกล้ ๆ กัน เช่น ในระบบประสาทที่ใช้สารสื่อประสาทโดยเฉพาะ ๆ (neurotransmitter system) มักจะเรียกว่า เนื้อเทา (grey matter) ตัวอย่างเช่น ฮิปโปแคมปัสมีวิถีประสาทหลายวิถีรวมทั้ง perforant pathway ที่เชื่อม entorhinal cortex กับส่วนต่าง ๆ ของ hippocampal formation รวมทั้ง dentate gyrus, CA fields ทั้งหมด (รวมทั้ง CA1), และ subiculum ส่วนวิถีประสาทสั่งการที่ออกจากสมอง จะวิ่งจากเปลือกสมองไปถึงส่วนล่างของไขสันหลัง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและวิถีประสาท · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินบี12

วงแหวง corrin ที่เป็นโครงสร้างประกอบของวิตามิน methylcobalamin (ดังที่แสดง) เป็นรูปแบบของวิตามินบี12 อย่างหนึ่ง แต่ก็ยังคล้ายกับรูปแบบอื่น ๆ ของวิตามิน ปรากฏเป็นผลึกสีแดงซึ่งละลายน้ำเป็นสีแดงเข้ม วิตามินบี12 (12, cobalamin) เป็นวิตามินละลายน้ำได้ที่เป็นกุญแจสำคัญในการทำงานเป็นปกติของสมองกับระบบประสาท และการสร้างเม็ดเลือดแดง เป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินบี 8 อย่าง ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซึมในเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายมนุษย์ โดยมีผลเฉพาะต่อการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ เมแทบอลิซึมของกรดไขมันและกรดอะมิโน ไม่มีเห็ดรา พืช หรือสัตว์ (รวมทั้งมนุษย์) ที่สามารถสร้างวิตามินบี12ได้ มีแต่สิ่งมีชีวิตประเภทแบคทีเรียและอาร์เคียที่มีเอนไซม์เพื่อสังเคราะห์มันได้ แหล่งของวิตามินที่ได้พิสูจน์แล้วเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์รวมทั้งเนื้อ ปลา ผลิตภัณฑ์นม และอาหารเสริม แต่ก็มีงานวิจัยที่แสดงว่า ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่มาจากสัตว์บางอย่างอาจเป็นแหล่งธรรมชาติของวิตามินได้ เพราะอยู่ร่วมกับแบคทีเรีย (bacterial symbiosis) วิตามินบี12 เป็นวิตามินที่ใหญ่ที่สุด มีโครงสร้างซับซ้อนที่สุด และสามารถสังเคราะห์โดยหมักแบคทีเรีย (bacterial fermentation-synthesis) แล้วใช้เสริมอาหารและเป็นวิตามินเสริม วิตามินบี12 เป็นกลุ่มสารประกอบที่มีโครงสร้างเคมีเกี่ยวข้องกัน (หรือที่เรียกว่า vitamer) ซึ่งมีฤทธิ์ทางชีวภาพ และมีธาตุโคบอลต์ (Co) ที่ไม่สามัญทางเคมี-ชีวภาพ อยู่ตรงกลางวงแหวนเชิงระนาบแบบ tetra-pyrrole ที่เรียกว่าวงแหวน corrin (ดูรูป) ซึ่งสามารถผลิตได้โดยแบคทีเรีย hydroxocobalamin แต่ร่างกายสามารถแปรรูปแบบวิตามินไปในแบบต่าง ๆ ได้ วิตามินค้นพบโดยความสัมพันธ์ของมันกับโรคภาวะเลือดจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anemia) ซึ่งเป็นโรคภูมิต้านตนเอง และมีผลทำลายเซลล์ผนัง (parietal cell) ที่มีหน้าที่หลั่งไกลโคโปรตีน คือ intrinsic factor ในกระเพาะอาหาร เซลล์เหล่านี้ยังมีหน้าที่หลั่งกรดย่อยอาหารในกระเพาะอีกด้วย เพราะว่า intrinsic factor จำเป็นต่อการดูดซึมวิตามินตามปกติ การขาดโปรตีนนี้เพราะโรค จึงทำให้ขาดวิตามินบี12 ยังมีรูปแบบการขาดวิตามินแบบเบากว่าอื่น ๆ ที่ผลติดตามทางชีวเคมีก็ปรากฏชัดแล้ว.

ใหม่!!: ไขสันหลังและวิตามินบี12 · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: ไขสันหลังและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: ไขสันหลังและสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

หลอดประสาทไม่ปิด

ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defect, NTD) เป็นกลุ่มของโรคหลายๆ โรค ที่มีลักษณะร่วมกันคือมีช่องเปิดที่ไขสันหลังหรือสมองซึ่งหลงเหลือมาจากตอนเป็นตัวอ่อน ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ตัวอ่อนในระยะแกสตรูลาจะมีกลุ่มเซลล์ที่ด้านดอร์ซัล (ด้าน "หลัง") ที่จะเริ่มปรับเปลี่ยนรูปร่างกลายเป็นท่อประสาท (neural tube) ซึ่งปกติจะต้องปิดสนิทเป็นท่อสมบูรณ์ หากปิดไม่สนิทก็จะเกิดเป็นภาวะหลอดประสาทไม่ปิด หมวดหมู่:รูปผิดปกติแต่กำเนิดของระบบประสาท หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ.

ใหม่!!: ไขสันหลังและหลอดประสาทไม่ปิด · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะ

อวัยวะ เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่คล้ายกัน พืชและสัตว์ต้องพึ่งอวัยวะหลายชิ้นในระบบอวัยวะ หน้าที่ของระบบอวัยวะมักจะมีหน้าที่ทับซ้อนกัน เช่น ไฮโปทาลามัส (hypothalamus) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ทั้งในระบบประสาท (nervous system) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ทำให้การศึกษาทั้งสองระบบมักจะทำร่วมกันเรียกว่า ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine system) เช่นเดียวกันกับ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (musculoskeletal system) ซึ่งเป็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อ (muscular system) และ ระบบโครงกระดูก (skeletal system).

ใหม่!!: ไขสันหลังและอวัยวะ · ดูเพิ่มเติม »

อาการล้าเรื้อรัง

อาการล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome, CFS) คือกลุ่มอาการอิดโรยเรื้อรังที่ยังไม่ทราบสาเหตุ มีความผิดปกติหลากหลายระบบทั่วร่างกาย ทั้งทางกายภาพ (physical) ทางจิตและจิตประสาท (neuropsychological) มีอาการอิดโรย เหนื่อยล้า อ่อนแรง เป็นหลัก อีกทั้งมีอาการไม่เฉพาะเจาะจงอีกมากมายหลายอย่าง จากการศึกษารายงานทางการแพทย์ย้อนหลัง พบว่ามีรายงานโรคที่น่าจะเข้าได้กับกลุ่มอาการที่ปัจจุบันเรียกว่า chronic fatigue syndrome มานานกว่า 3 ศตวรรษแล้ว โดยถูกวินิจฉัยเป็นโรคต่างๆ เช่น.

ใหม่!!: ไขสันหลังและอาการล้าเรื้อรัง · ดูเพิ่มเติม »

อาการคันต่างที่

อาการคันต่างที่ (Referred itch, mitempfindungen) เป็นปรากฏการณ์ที่การเร้าร่างกายที่ส่วนหนึ่งกลับรู้สึกคันหรือระคายที่อีกส่วนหนึ่ง อาการนี้ไม่ค่อยมีอันตราย แต่อาจน่ารำคาญ โดยคนที่สุขภาพดีก็มีอาการได้เหมือนกัน สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดอาการเริ่มตั้งแต่แรงกดที่ผิวหนัง การขูด การทำให้ระคาย จนไปถึงการดึงขน แต่ความคันต่างที่ไม่ควรเจ็บ มันมักจะเป็นความเหน็บชาที่น่ารำคาญซึ่งอาจทำให้รู้สึกว่าควรเกา ทั้งสิ่งเร้าและความคันต่างที่ จะเกิดในร่างกายซีกเดียวกัน (ipsilateral) และเพราะการเกาหรือการกดส่วนที่คันต่างที่ไม่ได้ทำให้บริเวณที่เร้าตอนแรกคัน ความสัมพันธ์ระหว่างบริเวณที่เร้าและบริเวณที่คันต่างที่จึงเป็นไปในทางเดียว (unidirectional) ความคันจะเกิดเองและอาจหยุดแม้จะเร้าอีกที่หนึ่งต่อไปเรื่อย ๆ อาการคันต่างที่มีสองอย่าง คือ แบบปกติ และแบบได้ทีหลัง (เพราะโรค) อาการธรรมดามักจะพบตั้งแต่วัยเด็กต้น ๆ และจะคงยืนเกือบตลอดหรือไม่ก็ตลอดชีวิต ส่วนอาการที่ได้ทีหลังเป็นผลจากความเสียหายต่อระบบประสาทส่วนกลาง และจะคงยืนเพียงแค่ระยะหนึ่ง อาการจะต่างกันระหว่างบุคคล แต่โดยทั่วไปจะไม่เกิดที่ฝ่าเท้า ฝ่ามือ และใบหน้า ปัจจัยทางพันธุกรรมดูจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ก็มีงานศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ ซึ่งแสดงว่ามีชายคนหนึ่งที่ลูก ๆ ของเขาก็เป็นด้วย กลไกทางสรีรภาพที่เป็นเหตุยังไม่ชัดเจน และก็ยังไม่มีทฤษฎีใดที่ได้การยอมรับอย่างทั่วไป งานวิจัยและข้อมูลเกี่ยวกับอาการจะค่อนข้างจำกัดและเก่า งานวิจัยในเรื่องนี้โดยมากได้ทำในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และงานที่ตีพิมพ์ล่าสุดเกิดเมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 มีงานศึกษาจำนวนหนึ่งที่ทำในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 อย่างไรก็ดี จะต้องรวบรวมและไขข้อมูลเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ความเข้าใจที่สมบูรณ.

ใหม่!!: ไขสันหลังและอาการคันต่างที่ · ดูเพิ่มเติม »

อาการปวดขาที่เกิดจากประสาท

อาการปวดขาที่เกิดจากประสาท (Neurogenic claudication, pseudoclaudication. ตัวย่อ NC) เป็นอาการสามัญอย่างหนึ่งของช่องไขสันหลังที่เอวตีบ (lumbar spinal stenosis) และของการอักเสบที่เส้นประสาทซึ่งออกมาจากไขสันหลัง คำคุณศัพท์ว่า "เกิดจากประสาท" หมายความว่า ปัญหาอยู่ที่เส้นประสาท และคำว่า claudication มาจากคำภาษาละตินที่แปลว่า ปวกเปียก เพราะว่าคนไข้รู้สึกปวดหรืออ่อนแรงที่ขา ดังนั้น จึงควรแยกแยะ NC จาก อาการปวดขาเป็นระยะเหตุขาดเลือด (Intermittent claudication) ซึ่งเกิดจากปัญหาการไหลเวียนของเลือด ไม่ใช่ปัญหาทางประสาท อาการอาจเป็นทั้งสองข้างหรือข้างเดียวที่บั้นท้าย ต้นขา น่อง เป็นความไม่สบาย เจ็บปวด ชา หรือกะปลกกะเปลี้ย ในคนไข้บางราย อาการอาจจุดชนวนโดยการเดินหรือยืนนาน ๆ ลักษณะคลาสสิกของอาการนี้ก็คือ อาการจะบรรเทาเมื่อเปลี่ยนอากัปกิริยาหรืองอเอว ไม่ใช่เพียงแค่พักเหมือนกับอาการที่มีเหตุจากการขาดเลือด ดังนั้น คนไข้ที่มีอาการเหตุประสาทจะพิการน้อยกว่าในการขึ้นลงบันได เข็นรถ หรือปั่นจักรยาน ในคนไข้ที่รากประสาทถูกบีบอย่างรุนแรง NC จะไม่เกิดเป็นระยะ ๆ แต่จะเป็นอย่างต่อเนื่อง พยาธิสรีรภาพของโรคเชื่อว่าเป็นการขาดเลือดที่รากประสาทของเอว-กระเบนเหน็บ (lumbosacral) โดยเป็นเหตุทุติยภูมิเนื่องจากการบีบอัดของเส้นประสาทจากโครงสร้างรอบ ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและอาการปวดขาที่เกิดจากประสาท · ดูเพิ่มเติม »

อาการปวดต่างที่

อาการปวดต่างที่ (Referred pain, reflective pain) เป็นความเจ็บปวดต่างที่จากส่วนร่างกายซึ่งได้รับสิ่งเร้าอันก่อความเจ็บปวด ตัวอย่างหนึ่งก็คือ อาการปวดเค้นหัวใจ (angina pectoris) ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (หัวใจวาย) แต่มักจะทำให้รู้สึกปวดคอ ไหล่ และหลัง ไม่ใช่ที่อกซึ่งเป็นแหล่งปัญหา แต่องค์การมาตรฐานนานาชาติ (รวมทั้ง International Association for the Study of Pain) ก็ยังไม่ได้นิยามคำนี้ ดังนั้น ผู้เขียนต่าง ๆ อาจใช้คำโดยความหมายที่ไม่เหมือนกัน มีการกล่าวถึงอาการเช่นนี้ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1880 แล้ว แม้จะมีวรรณกรรมในเรื่องนี้เขียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่กลไกการทำงานของมันก็ยังไม่ชัดเจน ถึงจะมีสมมติฐานต่าง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและอาการปวดต่างที่ · ดูเพิ่มเติม »

อินเตอร์นิวรอน

interneuron หรือ internuncial neuron หรือ relay neuron หรือ association neuron หรือ connector neuron หรือ intermediate neuron หรือ local circuit neuron เป็นเซลล์ประสาทที่ส่งกระแสประสาทจากนิวรอนหนึ่งไปยังอีกนิวรอนหนึ่ง เป็นเซลล์ประสาทแบบหนึ่งในสามอย่างโดยจัดตามการทำงาน ที่มีจำนวนมากที่สุด (ประมาณ 90%) ในร่างกายมนุษย์ (โดยอีกสองอย่างคือเซลล์ประสาทรับความรู้สึกและเซลล์สั่งการ) โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือแบบเฉพาะที่ (local) และแบบรีเลย์ แบบเฉพาะที่จะมีแอกซอนสั้น ๆ และสร้างวงจรประสาทกับนิวรอนใกล้ ๆ ส่วนแบบรีเลย์ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า projection interneuron จะมีแอกซอนยาวและส่งกระแสประสาทไปได้ไกล ๆ จากสมองเขตหนึ่งไปยังอีกเขตหนึ่ง เซลล์เรียกว่า interneuron (คือนิวรอนในระหว่าง) ก็เพราะเป็นเซลล์ประสาททั้งหมดในระหว่างเซลล์ประสาทรับความรู้สึกกับเซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron) "Interneurons (association neurons) lie entirely within the CNS.

ใหม่!!: ไขสันหลังและอินเตอร์นิวรอน · ดูเพิ่มเติม »

องคชาตแข็งตัวขณะหลับ

องคชาตแข็งตัวขณะหลับ (Nocturnal penile tumescence, NPT) เป็นภาวะการแข็งตัวขององคชาตในขณะนอนหลับ เป็นอาการปกติทางกายภาพของเพศชายทุกคนที่ไม่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โดยปกติจะเกิดขึ้นประมาณ 3 ถึง 5 ครั้งในเวลากลางคืน ขณะร่างกายอยู่ในภาวะหลับตื้น (REM sleep) เชื่อกันว่า NPT มีส่วนในการรักษาองคชาตให้มีสุขภาพดี.

ใหม่!!: ไขสันหลังและองคชาตแข็งตัวขณะหลับ · ดูเพิ่มเติม »

ความซึมเศร้า (อารมณ์)

วามซึมเศร้า หรือ อารมณ์ซึมเศร้า (Depression) เป็นสภาวะอารมณ์หดหู่และไม่ชอบทำอะไร ๆ ที่อาจมีผลต่อความคิด พฤติกรรม ความรู้สึก และความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคล คนซึมเศร้าอาจรู้สึกเศร้า วิตกกังวล ไร้ความหมาย สิ้นหวัง ไม่มีที่พึ่ง ไม่ภูมิใจในตนเอง/ไม่มีค่า รู้สึกผิด หงุดหงิด โกรธ อับอาย หรือกระวนกระวาย อาจจะสูญความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ ไม่อยากอาหารหรือทานมากเกินไป ไม่มีสมาธิ คอยระลึกถึงรายละเอียดในการตัดสินใจอะไรบางอย่าง มีปัญหาทางความสัมพันธ์ และอาจคิด พยายาม และทำการฆ่าตัวตาย การนอนไม่หลับ การนอนมากเกินไป อ่อนเปลี้ย เจ็บปวด มีปัญหาย่อยอาหาร และมีกำลังน้อยลง ก็อาจเป็นอาการร่วมด้วย อารมณ์ซึมเศร้าเป็นลักษณะอาการทางจิตเวชบางอย่าง เช่น โรคซึมเศร้า (major depressive disorder) แต่ก็อาจะเป็นปฏิกิริยาปกติต่อเหตุการณ์ในชีวิต เช่น สูญเสียคนรัก ถ้าไม่คงยืนเป็นระยะยาว และอาจเป็นอาการเจ็บป่วยทางกาย หรือเป็นผลข้างเคียงของยาหรือการรักษาทางแพทย์บางอย่าง ''Melencolia I'' (ราว พ.ศ. 2057), โดยจิตรกรชาวเยอรมัน อัลเบรชท์ ดือเรอร.

ใหม่!!: ไขสันหลังและความซึมเศร้า (อารมณ์) · ดูเพิ่มเติม »

ความเจ็บปวด

วามเจ็บปวด (Pain) เป็นความทุกข์ทางกายที่เกิดเพราะสิ่งเร้าที่รุนแรงหรืออันตราย แต่เพราะมันเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน ที่เป็นอัตวิสัย การนิยามมันจึงเป็นเรื่องยาก องค์การมาตรฐานสากล International Association for the Study of Pain (IASP) ได้กำหนดนิยามที่ใช้อย่างกว้างขวางว่า "ความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสและทางอารมณ์ ที่สัมพันธ์กับโอกาสหรือการเกิดขึ้นจริง ๆ ของความเสียหายในเนื้อเยื่อ หรือที่บอกโดยใช้คำซึ่งกล่าวถึงความเสียหายเช่นนั้น" Derived from ในการวินิจฉัยทางการแพทย์ ความเจ็บปวดพิจารณาว่าเป็นอาการของโรคที่เป็นเหตุ ความเจ็บปวดปกติจะจูงใจให้บุคคลถอยตัวออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เสียหาย ให้ปกป้องรักษาอวัยวะที่บาดเจ็บเมื่อกำลังหาย และให้หลีกเลี่ยงประสบการณ์คล้าย ๆ กันในอนาคต ความเจ็บปวดโดยมากจะหายไปเองเมื่อหมดสิ่งเร้าอันตรายและเมื่อแผล/การบาดเจ็บหายดี แต่ก็อาจคงยืนต่อไปได้ ความเจ็บปวดบางอย่างสามารถเกิดแม้เมื่อไม่มีสิ่งเร้าอันตราย ไม่มีความเสียหาย และไม่มีโรค ในประเทศพัฒนาแล้ว ความเจ็บปวดเป็นเหตุสามัญที่สุดให้คนไข้หาหมอ มันเป็นอาการสามัญที่สุดในโรคต่าง ๆ และสามารถบั่นทอนคุณภาพและความเป็นอยู่ในชีวิตของคนไข้ ยาแก้ปวดธรรมดา ๆ ใช้ได้ในกรณี 20-70% ปัจจัยทางจิตอื่น ๆ รวมทั้งการได้ความช่วยเหลือจากสังคม การสะกดจิต ความตื่นเต้น หรือเครื่องล่อความสนใจต่าง ๆ มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความทุกข์เนื่องจากความเจ็บปว.

ใหม่!!: ไขสันหลังและความเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

คอ

อ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีรยางค์หลายชนิด เป็นโครงสร้างที่แยกศีรษะออกจากลำตัว.

ใหม่!!: ไขสันหลังและคอ · ดูเพิ่มเติม »

คอเลสเตอรอล

อเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นทั้งสารสเตอรอยด์ ลิพิด และแอลกอฮอล์ พบในเยื่อหุ้มเซลล์ของทุกเนื้อเยื้อในร่างกายและถูกขนส่งในกระแสเลือดของสัตว์ คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ไม่ได้มากับอาหารแต่จะถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกาย จะสะสมอยู่มากในเนื้อเยื้อของอวัยวะที่สร้างมันขึ้นมาเช่น ตับ ไขสันหลัง สมอง และผนังหลอดเลือดแดง (atheroma) คอเลสเตอรอลมีบทบาทในกระบวนการทางชีวเคมีมากมาย ในอดีต-ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคอเลสเตอรอลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจหลอดเลือด และภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด (Hypercholesterolemia) แต่กลุ่มนักโภชนาการบำบัดบางกลุ่มอ้างว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค และภาวะดังกล่าวนั้น เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ส่งผลให้ของเสียของน้ำตาล นั่นก็คือ CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) ทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในหลอดเลือด กัดเซาะผนังหลอดเลือดจนเสียหาย ร่างก่ายจึงต้องส่งคอเลสเตอรอลมาซ่อมแซมผนังหลอดเลือดที่เสียหาย ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลเป็นสารเบื้องต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี สร้างสารสเตอรอลที่อยู่ใต้ผิวหนังให้เป็นเป็นวิตามินดี เมื่อโดนแสงแดด คอเลสเตอรอลจะพบมากในไข่แดง เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล ค่อนข้างสูง ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการ.

ใหม่!!: ไขสันหลังและคอเลสเตอรอล · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับรู้สารเคมี

ในระบบประสาท ตัวรับรู้สารเคมี (chemoreceptor, chemosensor) เป็นปลายประสาทรับความรู้สึกที่ถ่ายโอนข้อมูลทางเคมีไปเป็นศักยะงานเพื่อส่งไปยังระบบประสาทกลาง โดยทั่ว ๆ ไปก็คือ เป็นตัวรับรู้สิ่งเร้าคือสารเคมีในสิ่งแวดล้อม เมื่อสิ่งเร้าในสิ่งแวดล้อมสำคัญต่อการรอดชีวิต สิ่งมีชีวิตจะต้องตรวจจับสิ่งเร้านั้นได้ และเพราะกระบวนการของชีวิตทั้งหมดมีกระบวนการทางเคมีเป็นมูลฐาน จึงเป็นเรื่องธรรมดาว่า การตรวจจับและการรับรู้สิ่งเร้าภายนอกจะเป็นปรากฏการณ์ทางเคมี แน่นอนว่า สารเคมีในสิ่งแวดล้อมสำคัญต่อการรอดชีวิต และการตรวจจับสิ่งเร้าเคมีจากภายนอก อาจเชื่อมกับการทำงานทางเคมีของเซลล์โดยตรง การรับรู้สารเคมีสำคัญในการตรวจหาสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งอาหาร ที่อยู่ สัตว์ชนิดเดียวกันรวมทั้งคู่ และสัตว์ล่าเหยื่อ ยกตัวอย่างเช่น สำหรับสัตว์ล่าเหยื่อ เหยื่ออาจจะได้ทิ้งกลิ่นหรือฟีโรโมนไว้ในอากาศหรือบนพื้นผิวที่เคยอยู่ เซลล์ที่ศีรษะ ปกติในทางเดินอากาศหรือปาก จะมีตัวรับสารเคมีบนผิวที่จะเกิดปฏิกิริยาเมื่อสัมผัสกับสารที่เป็นเป้าหมาย แล้วก็จะส่งข้อมูลทางเคมีหรือทางเคมีไฟฟ้าไปยังศูนย์ คือสมองหรือไขสันหลัง ระบบประสาทกลางก็จะตอบสนองด้วยปฏิกิริยาทางกายเพื่อล่า/หาอาหารซึ่งช่วยให้รอดชีวิต.

ใหม่!!: ไขสันหลังและตัวรับรู้สารเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับความรู้สึกที่หนัง

ตัวรับความรู้สึกที่หนัง (cutaneous receptor) เป็นปลายประสาทรับความรู้สึกที่พบในหนังแท้หรือหนังกำพร้า โดยเป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกทางกาย มีประเภทต่าง ๆ รวมทั้งตัวรับแรงกลที่หนัง โนซิเซ็ปเตอร์ (ความเจ็บปวด) และตัวรับอุณหภูม.

ใหม่!!: ไขสันหลังและตัวรับความรู้สึกที่หนัง · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด

นซิเซ็ปเตอร์ (nociceptor มาจาก nocere แปลว่า "ทำให้เจ็บ") เป็นปลายประสาทอิสระของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่ตอบสนองโดยเฉพาะต่อตัวกระตุ้นที่อาจจะทำความเสียหายต่อร่างกาย/เนื้อเยื่อ โดยส่งสัญญาณประสาทไปยังระบบประสาทกลางผ่านไขสันหลังหรือก้านสมอง กระบวนการเช่นนี้เรียกว่า โนซิเซ็ปชั่น และโดยปกติก็จะก่อให้เกิดความเจ็บปวด โนซิเซ็ปเตอร์มีอยู่ทั่วร่างกายอย่างไม่เท่ากันโดยเฉพาะส่วนผิว ๆ ที่เสี่ยงเสียหายมากที่สุด และไวต่อตัวกระตุ้นระดับต่าง ๆ กัน บางส่วนไวต่อตัวกระตุ้นที่ทำอันตรายให้แล้ว บางส่วนตอบสนองต่อสิ่งเร้าก่อนที่ความเสียหายจะเกิด ตัวกระตุ้นอันตรายดังที่ว่าอาจเป็นแรงกระทบ/แรงกลที่ผิวหนัง อุณหภูมิที่ร้อนเย็นเกิน สารที่ระคายเคือง สารที่เซลล์ในร่างกายหลั่งตอบสนองต่อการอักเสบ เป็นต้น ความรู้สึกเจ็บปวดไม่ได้ขึ้นอยู่กับสัญญาณที่โนซิเซ็ปเตอร์ส่งเท่านั้น แต่เป็นผลของการประมวลผลความรู้สึกต่าง ๆ อย่างซับซ้อนในระบบประสาทกลาง ที่ได้รับอิทธิพลจากอารมณ์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสถานการณ์ที่เกิดสิ่งเร้าและประสบการณ์ชีวิต แม้แต่สิ่งเร้าเดียวกันก็สามารถทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ กันในบุคคลเดียวกัน ทหารที่บาดเจ็บในสนามรบอาจไม่รู้สึกเจ็บเลยจนกระทั่งไปถึงสถานพยาบาลแล้ว นักกีฬาที่บาดเจ็บอาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งการแข่งขันจบแล้ว ดังนั้น ความรู้สึกเจ็บปวดจึงเป็นประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสั.

ใหม่!!: ไขสันหลังและตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับแรงกล

ตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) เป็นปลายประสาทรับความรู้สึกที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นแรงกล เช่น สัมผัสหรือเสียง มีตัวรับแรงกลประเภทต่าง ๆ ในระบบประสาทมากมายโดยต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ในระบบรับความรู้สึกทางกาย ตัวรับแรงกลทำให้รู้สัมผัสและอากัปกิริยาได้ (โดยมี Pacinian corpuscle เป็นตัวไวแรงกลมากที่สุดในระบบ) ในการรับรู้สัมผัส ผิวหนังที่ไม่มีขน/ผม (glabrous skin) ที่มือและเท้า ปกติจะมีตัวรับแรงกล 4 อย่างหลัก ๆ คือ Pacinian corpuscle, Meissner's corpuscle, Merkel nerve ending, และ Ruffini ending และผิวที่มีขนก็มีตัวรับแรงกล 3 อย่างเหมือนกันยกเว้น Meissner's corpuscle บวกเพิ่มกับตัวรับแรงกลอื่น ๆ รวมทั้งตัวรับความรู้สึกที่ปุ่มรากผม ในการรับรู้อากัปกิริยา ตัวรับแรงกลช่วยให้รู้ถึงแรงหดเกร็งของกล้ามเนื้อและตำแหน่งของข้อต่อ มีประเภทรวมทั้ง muscle spindle 2 ชนิด, Golgi tendon organ, และ Joint capsule ในบรรดาตัวรับแรงกลทั้งหมด เซลล์ขนในคอเคลียของระบบการได้ยินไวที่สุด โดยมีหน้าที่ถ่ายโอนคลื่นเสียงในอากาศเป็นสัญญาณประสาทเพื่อส่งไปยังสมอง แม้แต่เอ็นปริทันต์ (periodontal ligament) ก็มีตัวรับแรงกลด้วย ซึ่งช่วยให้กรามผ่อนแรงเมื่อกัดถูกวัตถุที่แข็ง ๆ งานวิจัยเรื่องตัวรับแรงกลในมนุษย์ได้เริ่มขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ที่นักวิชาการคู่หนึ่ง (Vallbo และ Johansson) วัดปฏิกิริยาของตัวรับแรงกลที่ผิวหนังกับอาสาสมัคร ตัวรับแรงกลที่ผิวหนังรวมทั้ง Pacinian corpuscle (ป้ายที่ตรงกลางล่าง) และ Meissner’s corpuscle (ป้ายที่บนขวา) ซึ่งช่วยให้รับรู้สัมผัสที่ผิวหนัง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและตัวรับแรงกล · ดูเพิ่มเติม »

ปมประสาทรากหลัง

ในกายวิภาคศาสตร์และประสาทวิทยาศาสตร์ ปมประสาทรากหลัง หรือ ปมประสาทไขสันหลัง (dorsal root ganglion หรือ spinal ganglion, ganglion sensorium nervi spinalis, ตัวย่อ DRG) เป็นปุ่มเล็กๆ บนรากหลัง (dorsal root) ของไขสันหลัง ที่มีเซลล์ประสาทซึ่งส่งสัญญาณจากอวัยวะรับความรู้สึก ไปยังศูนย์รวบรวมสัญญาณที่เหมาะสมในระบบประสาทกลาง ใยประสาทที่นำสัญญาณไปยังระบบประสาทกลาง (คือสมองหรือไขสันหลัง) เรียกว่า ใยประสาทนำเข้า (afferent nerve fiber).

ใหม่!!: ไขสันหลังและปมประสาทรากหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทกายวิภาคศาสตร์

มหกายวิภาคของสมองมนุษย์ ประสาทกายวิภาคศาสตร์ (Neuroanatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิชากายวิภาคศาสตร์ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการจัดเรียงโครงสร้างทางกายวิภาคของระบบประสาท ซึ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลังจะประกอบเส้นประสาทจำนวนมากที่กระจายตัวจากสมองไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งโครงสร้างภายในของสมองซึ่งมีความซับซ้อนมาก การศึกษาประสาทกายวิภาคศาสตร์จึงมีการพัฒนาอย่างเป็นระเบียบในตัวมันเอง และยังเป็นสาขาวิชาที่มีการศึกษาเป็นพิเศษในวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ การอธิบายความแตกต่างของโครงสร้างและส่วนของสมองจะเน้นไปถึงการศึกษาการทำงานของมัน ดังเช่นการศึกษาของนักประสาทวิทยาศาสตร์จะมาจากการศึกษาความผิดปกติ (damage หรือ lesion) ของสมองในแต่ละส่วนว่ามีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมหรือการทำงานของประสาท.

ใหม่!!: ไขสันหลังและประสาทกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทศัลยศาสตร์

ประสาทศัลยศาสตร์ (neurosurgery, neurological surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่งทางศัลยศาสตร์ ดูแลเกี่ยวกับการป้องกัน วินิจฉัย รักษา ฟื้นฟูโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท รวมถึงสมอง ไขสันหลัง กระดูกสันหลัง เส้นประสาทส่วนปลาย และระบบหลอดเลือดสมองนอกกะโหลกศีรษะด้วย * หมวดหมู่:ศัลยกรรมเฉพาะทาง หมวดหมู่:การแพทย์เฉพาะทาง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและประสาทศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสมอง

้นประสาทสมอง ประสาทสมอง (cranial nerve หรือ cerebral nerve) เป็นเส้นประสาทที่เกิดจากสมองและก้านสมองโดยตรง ตรงข้ามกับประสาทไขสันหลังซึ่งเกิดจากไขสันหลังหลายปล้อง ประสาทสมองเป็นทางเชื่อมของสารสนเทศระหว่างสมองและหลายบริเวณ ส่วนใหญ่คือศีรษะและคอ ประสาทไขสันหลังลงไปถึงกระดูกสันหลังส่วนคอที่หนึ่ง และประสาทสมองบทบาทสัมพันธ์กันเหนือระดับนี้ ประสาทสมองมีเป็นคู่และอยู่ทั้งสองข้าง ประสาทสมองในมนุษย์มีสิบสองหรือสิบสามเส้นแล้วแต่แหล่งที่มา ซึ่งกำหนดชื่อด้วยตัวเลขโรมัน I–XII และมีการกำหนดเลขศูนย์ให้ประสาทสมองเส้นที่ 0 (หรือประสาทปลาย) ตามลำดับที่มีจุดกำเนิดจากสมองส่วนหน้าไปถึงด้านหลังของสมองและก้านสมอง ประสาทปลาย ประสาทรับกลิ่น (I) และประสาทตา (II) กำเนิดจากสมองใหญ่หรือสมองส่วนหน้า ส่วนอีกสิบคู่ที่เหลือกำเนิดจากก้านสมอง ประสาทสมองเป็นองค์ประกอบของระบบประสาทนอกส่วนกลาง โดยยกเว้นประสาทสมองเส้นที่ 2 (ประสาทตา) ซึ่งมิใช่ประสาทส่วนปลายแท้จริงแต่เป็นลำเส้นใยประสาทของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เชื่อมจอตากับนิวเคลียสงอคล้ายเข่าข้าง (lateral geniculate nucleus) ฉะนั้น ทั้งประสาทตาและจอตาเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง แกนประสาทนำออกของประสาทอีกสิบสองเส้นที่เหลือทอดออกจากสมองและถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทนอกส่วนกลาง ปมประสาทกลางของประสาทสมองหรือนิวเคลียสประสาทสมองกำเนิดในระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนมากในก้านสมอง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและประสาทสมอง · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์

Koch 2004, Figure 1.1 ''The Neuronal Correlates of Consciousness'' p. 16. ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ (neural correlates of consciousness, ตัวย่อ NCC) คือเซตที่เล็กที่สุดของปรากฏการณ์ในเซลล์ประสาท และการประกอบกันของเซลล์ประสาทพอที่จะให้เกิดอารมณ์ที่รับรู้ (conscious percept) นักวิทยาศาสตร์ประสาทใช้วิธีการทดลองเป็นหลักเพื่อที่จะค้นพบประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ เซตได้รับการกำหนดให้เล็กที่สุดเพราะว่า ถ้าสมองเป็นเพียงธรรมชาติเดียวที่ก่อให้เกิดการรับรู้อารมณ์ สิ่งที่จะต้องสืบหาก็คือ ส่วนไหนของสมองเป็นส่วนสำคัญให้เกิดการรู้อารมณ.

ใหม่!!: ไขสันหลังและประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสัมผัส

ประสาทสัมผัส (Sense)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" ให้ความหมายของ sense ว่า ความรู้สึก, การรับรู้, การกำหนดรู้, ประสาทสัมผัส เป็นสมรรถภาพในสรีระของสิ่งมีชีวิตที่ให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ (perception) มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการทำงาน การจำแนกประเภท และทฤษฎีของประสาทสัมผัส ในวิชาหลายสาขา โดยเฉพาะในวิทยาศาสตร์ประสาท จิตวิทยาปริชาน (หรือประชานศาสตร์) และปรัชญาแห่งการรับรู้ (philosophy of perception) ระบบประสาทของสัตว์นั้นมีระบบรับความรู้สึกหรืออวัยวะรับความรู้สึก สำหรับความรู้สึกแต่ละอย่าง มนุษย์เองก็มีประสาทสัมผัสหลายอย่าง การเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น การถูกต้องสัมผัส เป็นประสาทสัมผัสห้าทางที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ แต่ว่า ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีอยู่ รวมทั้ง อุณหภูมิ ความรู้สึกเกี่ยวกับเคลื่อนไหว (proprioception) ความเจ็บปวด (nociception) ความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวกระตุ้นภายในต่าง ๆ (เช่นมีเซลล์รับความรู้สึกเชิงเคมี คือ chemoreceptor ที่ตรวจจับระดับความเข้มข้นของเกลือและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในเลือด) และความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเรียกว่าเป็นประสาทสัมผัสโดยต่างหากได้เพียงไม่กี่อย่าง เพราะว่า ประเด็นว่า อะไรเรียกว่า ประสาทสัมผัส (sense) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทำให้ยากที่จะนิยามความหมายของคำว่า ประสาทสัมผัส อย่างแม่นยำ สัตว์ต่าง ๆ มีตัวรับความรู้สึกเพื่อที่จะสัมผัสโลกรอบ ๆ ตัว มีระดับความสามารถที่ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สปีชีส์ เมื่อเทียบกันแล้ว มนุษย์มีประสาทสัมผัสทางจมูกที่ไม่ดี และสัตว์เหล่าอื่นก็อาจจะไม่มีประสาทสัมผัส 5 ทางที่กล่าวถึงไปแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์บางอย่างอาจจะรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นและแปลผลข้อมูลเหล่านั้นต่างไปจากมนุษย์ และสัตว์บางชนิดก็สามารถสัมผัสโลกโดยวิธีที่มนุษย์ไม่สามารถ เช่นมีสัตว์บางชนิดสามารถสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สามารถสัมผัสแรงดันน้ำและกระแสน้ำ.

ใหม่!!: ไขสันหลังและประสาทสัมผัส · ดูเพิ่มเติม »

ปลายรัฟฟินี

ปลายรัฟฟินี หรือ เม็ดรัฟฟินี หรือ เม็ดกระเปาะ (Bulbous corpuscle, Ruffini ending, Ruffini corpuscle) เป็นปลายประสาทรับแรงกลแบนที่หุ้มด้วยแคปซูลรูปกระสวย โดยแคปซูลเป็นเนื้อเยื่อยึดต่อ (connective tissue) ประกอบด้วยใยคอลลาเจนที่เกี่ยวพันกับใยประสาท และเชื่อมกับใยประสาทแบบ slowly adapting type 2 (SA2) ซึ่งมีปลอกไมอีลินหนา ปรับตัวอย่างช้า ๆ (slowly adapting) และตรวจจับแรงตึง/การขยาย/การเหยียด ซึ่งช่วยให้รู้รูปร่างของวัสดุที่อยู่ในมือและรูปร่างของมือในบรรดาตัวรับแรงกลที่หุ้มปลายพิเศษ 4 อย่างที่ผิวหนัง อนึ่ง นอกจากที่ผิวหนัง ยังมีอยู่ในเอ็นยึดข้อต่อ ปลอกหุ้มข้อต่อ และเอ็นปริทันต์ (periodontal ligament) ด้วย โครงสร้างนี้มีชื่อตามนายแพทย์ชาวอิตาลีผู้ค้นพบ คือ แอนเจโล รัฟฟินี.

ใหม่!!: ไขสันหลังและปลายรัฟฟินี · ดูเพิ่มเติม »

ปลายประสาทรับร้อน

ปลายประสาทรับร้อน หรือ ตัวรับอุณหภูมิ (thermoreceptor) เป็นปลายประสาทของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกในผิวหนังและในเยื่อเมือกบางชนิด ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิหรือการแลกเปลี่ยนความร้อนได้ดีที่สุด คือ ตัวรับอุณหภูมิ ไม่ว่าจะรับเย็นหรืออุ่น จะตอบสนองต่ออุณหภูมิโดยเฉพาะ ๆ หรือต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ โดยเป็นฟังก์ชันของการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างผิวหนังกับวัตถุที่สัมผัส และโดยหลักในพิสัยที่ไม่มีอันตราย เพราะโนซิเซ็ปเตอร์รับอุณหภูมิจะเป็นตัวส่งข้อมูลในพิสัยที่อาจเป็นอันตราย ในช่วงอุณหภูมิ 31-36°C (32-34°C) ถ้าอุณหภูมิที่ผิวหนังเปลี่ยนอย่างช้า ๆ เราจะไม่รู้สึกอะไร ถ้าต่ำกว่าช่วงนี้ เราจะรู้สึกเย็นไปจนถึงหนาวและเริ่ิมที่ 10-15°C จะรู้สึกหนาวเหน็บ (เจ็บ) และถ้าสูงกว่าช่วงนี้ เราจะรู้สึกอุ่นไปจนถึงร้อนและเริ่มที่ 45°C จะรู้สึกร้อนลวก (เจ็บ) อ้างอิง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและปลายประสาทรับร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลายประสาทเมอร์เกิล

ปลายประสาทเมอร์เกิล ปลายประสาทเมอร์เกิล เป็นปลายประสาทรับแรงกลมีขีดเริ่มเปลี่ยนต่ำชนิดหนึ่งที่พบใต้หนังกำพร้าและที่ปุ่มรากผม (hair follicle).

ใหม่!!: ไขสันหลังและปลายประสาทเมอร์เกิล · ดูเพิ่มเติม »

ปีกหลังของไขสันหลัง

ปีกหลัง ("posterior horn" หรือ "posterior cornu" หรือ "dorsal horn" หรือ "spinal dorsal horn") ของไขสันหลัง ("of spinal cord") เป็นส่วนของเนื้อเทาที่ยื่นออกไปทางด้านหลังของไขสันหลัง มีหน้าที่รับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึกต่าง ๆ จากกาย รวมทั้งความสัมผัสเบา การรับรู้อากัปกิริยา (proprioception) และแรงสั่นสะเทือน ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึกเหล่านี้มาจากหน่วยรับความรู้สึกที่ผิวหนัง กระดูก และข้อต่อ ของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่มีตัวเซลล์อยู่ที่ปมประสาทรากหลัง (dorsal root ganglion).

ใหม่!!: ไขสันหลังและปีกหลังของไขสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหล่อสมองไขสันหลัง

ภาพเอ็มอาร์ไอแสดงจังหวะการไหลของน้ำหล่อสมองไขสันหลัง น้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) เป็นสารน้ำชนิดหนึ่งในร่างกาย ใสไม่มีสี หล่ออยู่ในช่องใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางและระบบโพรงสมอง ภายนอกและภายในสมองและไขสันหลัง อาจกล่าวได้ว่าเนื้อสมองและไขสันหลัง "ลอย" อยู่ในน้ำหล่อสมองไขสันหลังนี้ หมวดหมู่:สารน้ำในร่างกาย หมวดหมู่:ระบบประสาทกลาง หมวดหมู่:ประสาทวิทยา.

ใหม่!!: ไขสันหลังและน้ำหล่อสมองไขสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

แบบสิ่งเร้า

แบบสิ่งเร้า หรือ แบบความรู้สึก (Stimulus modality, sensory modality) เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของสิ่งเร้า หรือเป็นสิ่งที่เรารับรู้เนื่องจากสิ่งเร้า ยกตัวอย่างเช่น เราจะรู้สึกร้อนหรือเย็นหลังจากมีการเร้าตัวรับอุณหภูมิของระบบรับความรู้สึกทางกาย เช่น ด้วยวัตถุที่ร้อน แบบสิ่งเร้าบางอย่างรวมทั้งแสง เสียง อุณหภูมิ รสชาติ แรงดัน กลิ่น และสัมผัส ประเภทและตำแหน่งของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่ทำงานเนื่องจากสิ่งเร้า จะเป็นตัวกำหนดการเข้ารหัสความรู้สึก แบบความรู้สึกต่าง ๆ อาจทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มความชัดเจนของสิ่งเร้าเมื่อจำเป็น.

ใหม่!!: ไขสันหลังและแบบสิ่งเร้า · ดูเพิ่มเติม »

แกนประสาทนำออก

แกนประสาท หรือ แอกซอน หรือ ใยประสาท (axon มาจากภาษากรีกคำว่า ἄξων คือ áxōn แปลว่า แกน) เป็นเส้นใยเรียวยาวที่ยื่นออกจากเซลล์ประสาทหรือนิวรอน และปกติจะส่งกระแสประสาทหรือคำสั่งออกจากตัวเซลล์เพื่อสื่อสารกับเซลล์อื่น ๆ หน้าที่ของมันก็เพื่อส่งข้อมูลไปยังนิวรอน กล้ามเนื้อ และต่อมต่าง ๆ ในเซลล์ประสาทรับความรู้สึกบางอย่างซึ่งมีรูปร่างเป็น pseudounipolar neuron (เซลล์ประสาทขั้วเดียวเทียม) เช่นที่รับความรู้สึกสัมผัสและอุณหภูมิ กระแสประสาทจะวิ่งไปตามแอกซอนจากส่วนปลายเข้าไปยังตัวเซลล์ แล้วก็จะวิ่งออกจากตัวเซลล์ไปยังไขสันหลังตามสาขาอีกสาขาของแอกซอนเดียวกัน ความผิดปกติของแอกซอนอาจเป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติทางประสาทซึ่งมีผลต่อทั้งเซลล์ประสาทในส่วนนอกและส่วนกลาง ใยประสาทสามารถจัดเป็นสามหมวดคือ ใยประสาทกลุ่มเอเด็ลตา (A delta) กลุ่มบี (B) และกลุ่มซี (C) โดยกลุ่มเอและบีจะมีปลอกไมอีลินในขณะที่กลุ่มซีจะไร้ปลอก แอกซอนเป็นส่วนยื่นที่ประกอบด้วยโพรโทพลาสซึมอย่างหนึ่งในสองอย่างที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ประสาท ส่วนยื่นอีกอย่างเรียกว่า ใยประสาทนำเข้า/เดนไดรต์ (dendrite) แอกซอนจะต่างจากเดนไดรต์หลายอย่าง รวมทั้งรูปร่าง (เดนไดรต์มักจะเรียวลงเทียบกับแอกซอนที่จะคงขนาด) ความยาว (เดนไดรต์มักจะจำกัดอยู่ในปริภูมิเล็ก ๆ รอบ ๆ ตัวเซลล์ ในขณะที่แอกซอนอาจยาวกว่ามาก) และหน้าที่ (เดนไดรต์เป็นส่วนรับสัญญาณในขณะที่แอกซอนจะเป็นส่วนส่งสัญญาณ) แต่ลักษณะที่ว่านี้ทั้งหมดล้วนแต่มีข้อยกเว้น แอกซอนจะหุ้มด้วยเยื่อที่เรียกว่า axolemma ไซโทพลาซึมของแอกซอนมีชื่อโดยเฉพาะว่าแอกโซพลาซึม (axoplasm) ส่วนสุดของแอกซอนที่แตกเป็นสาขา ๆ เรียกว่า telodendron/telodendria ส่วนสุดของ telodendron ซึ่งป่องเรียกว่าปลายแอกซอน (axon terminal) ซึ่งเชื่อมกับ dendron หรือตัวเซลล์ของนิวรอนอีกตัวหนึ่ง จุดเชื่อที่ว่านี้เรียกว่าจุดประสานประสาท/ไซแนปส์ นิวรอนบางอย่างไม่มีแอกซอนและจะส่งสัญญาณผ่านเดนไดรต์ ไม่มีนิวรอนใด ๆ ที่มีแอกซอนมากกว่าหนึ่งอัน แต่ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นแมลงและปลิง แอกซอนบางครั้งจะมีส่วนต่าง ๆ ที่ทำงานแทบเป็นอิสระต่อกันและกัน แอกซอนโดยมากจะแตกสาขา และในบางกรณีจะมีสาขาจำนวนมหาศาล แอกซอนจะเชื่อมกับเซลล์อื่น ๆ โดยปกติกับนิวรอนอื่น ๆ แต่บางครั้งก็เชื่อมกับกล้ามเนื้อหรือเซลล์ต่อม ผ่านจุดต่อที่เรียกว่า จุดประสานประสาท/ไซแนปส์ ที่ไซแนปส์ เยื่อหุ้มเซลล์ของแอกซอนจะเข้าไปเกือบชิดกับเยื่อหุ้มของเซลล์เป้าหมาย และโครงสร้างพิเศษระดับโมเลกุลจะเป็นตัวส่งสัญญาณไฟฟ้าหรือเคมี-ไฟฟ้าข้ามช่อง ยังมีไซแนปส์ในระหว่างอื่น ๆ ของแอกซอนซึ่งไม่ใช่ส่วนปลาย โดยเรียกว่า en passant synapse หรือ in passing synapse ไซแนปส์อื่น ๆ จะอยู่ที่ปลายสาขาต่าง ๆ ของแอกซอน แอกซอนหนึ่งใยพร้อมกับสาขาทั้งหมดรวม ๆ กัน อาจเชื่อมกับส่วนต่าง ๆ ในสมองและมีจุดเชื่อมคือไซแนปส์เป็นพัน.

ใหม่!!: ไขสันหลังและแกนประสาทนำออก · ดูเพิ่มเติม »

แผนที่ภูมิลักษณ์

"แผนที่ภูมิลักษณ์""ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ topography ว่า "ภูมิลักษณ์" หรือ "ลักษณะภูมิประเทศ" (topographic map) หรือ "แผนที่ topographic" ของระบบประสาท เป็นการส่งข้อมูลอย่างเป็นระเบียบของพื้นผิวในร่างกายที่เกิดความรู้สึก เช่นที่เรตินาหรือผิวหนัง หรือในระบบปฏิบัติงานเช่นระบบกล้ามเนื้อ ไปยังโครงสร้างต่าง ๆ ของสมองในระบบประสาทกลาง แผนที่ภูมิลักษณ์มีอยู่ในระบบรับความรู้สึกทั้งหมด และในระบบสั่งการ (motor system) ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: ไขสันหลังและแผนที่ภูมิลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคพิษสุนัขบ้า

รคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ (rabies, hydrophobia) เป็นโรคไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันของสมองในมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นชนิดอื่น อาการเริ่มต้นมีไข้และอาการเป็นเหน็บ ณ ตำแหน่งสัมผัส อาการเหล่านี้ตามด้วยอาการต่อไปนี้อย่างหนึ่งหรือมากกว่า ได้แก่ การเคลื่อนไหวรุนแรง ความตื่นเต้นควบคุมไม่ได้ กลัวน้ำ ไม่สามารถขยับร่างกายบางส่วน สับสนและไม่รู้สึกตัว เมื่อเกิดอาการแล้ว จะลงเอยด้วยถึงแก่ชีวิตแทบทั้งสิ้น ช่วงเวลาระหว่างการติดต่อโรคและการเริ่มแสดงอาการนั้นปกติระหว่างหนึ่งถึงสามเดือน ทว่า ช่วงเวลานี้มีได้ตั้งแต่น้อยกว่าหนึ่งสัปดาห์จนถึงกว่าหนึ่งปี เวลานี้ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ไวรัสเข้าระบบประสาทส่วนกลาง โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากลิสซาไวรัส (lyssavirus) ได้แก่ ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า (rabies virus) และลิสซาไวรัสค้างคาวออสเตรเลีย (Australian bat lyssavirus) โรคพิษสุนัขบ้าแพร่เมื่อสัตว์ที่ติดเชื้อข่วนหรือกัดสัตว์อื่นหรือมนุษย์ น้ำลายจากสัตว์ที่ติดเชื้อยังสามารถส่งผ่านโรคพิษสุนัขบ้าได้หากสัมผัสกับตา ปากหรือจมูก ทั่วโลก หมาเป็นสัตว์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้ากว่า 99% ในประเทศที่หมามีโรคเป็นปกติเกิดจากหมากัด ในทวีปอเมริกา ค้างคาวกัดเป็นแหล่งที่พบมากที่สุดของการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในมนุษย์ และผู้ป่วยน้อยกว่า 5% มาจากหมา สัตว์ฟันแทะติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าน้อยมาก ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าเดินทางไปสมองโดยตามประสาทส่วนปลาย โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้หลังเริ่มแสดงอาการแล้วเท่านั้น โครงการควบคุมสัตว์และให้วัคซีนลดความเสี่ยงของโรคพิษสุนัขบ้าจากหมาในหลายภูมิภาคของโลก มีการแนะนำให้การสร้างภูมิคุ้มกันแก่บุคคลก่อนสัมผัสสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงสูงมีผู้ที่ทำงานกับค้างคาวหรือผู้ที่ใช้เวลานานในพื้นที่ของโลกที่มีโรคพิษสุนัขบ้าเป็นปกติ ในผู้ที่สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าและบ้างทีอิมมูโนโกลบูลินโรคพิษสุนัขบ้ามีผลป้องกันโรคหากบุคคลได้รับการรักษาก่อนเริ่มมีอาการโรคพิษสุนัขบ้า การล้างแผลถูกกัดและข่วนด้วยน้ำสบู่ โพวิโดนไอโอดีนหรือสารชะล้างเป็นเวลา 15 นาทีอาจลดจำนวนอนุภาคไวรัสและอาจมีผลบ้างในการป้องกันการแพร่เชื้อ มีเพียงไม่กี่คนที่รอดชีวิตจากการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหลังแสดงอาการ และได้รับการรักษาใหญ่ที่เรียก มิลวอกีโพรโทคอล (Milwaukee protocol) โรคพิษสุนัขบ้าเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 26,000 ถึง 55,000 คนต่อปี การเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้ากว่า 95% เกิดในทวีปแอฟริกาและเอเชีย โรคพิษสุนัขบ้าพบในกว่า 150 ประเทศและทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา กว่า 3 พันล้านคนอาศัยอยู่ในบริเวณของโลกที่พบโรคพิษสุนัขบ้า หลายประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น สหรัฐและยุโรปตะวันตก ไม่มีโรคพิษสุนัขบ้าในหมา หลายประเทศเกาะขนาดเล็กไม่มีโรคพิษสุนัขบ้าเล.

ใหม่!!: ไขสันหลังและโรคพิษสุนัขบ้า · ดูเพิ่มเติม »

โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง

รคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง (spinocerebellar ataxia; spinocerebellar degeneration) เป็นโรคทางพันธุกรรมโรคหนึ่งซึ่งปัจจุบันยังไม่มีหนทางเยียวยา ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวทางกายภาพไปโดยช้าจนกระทั่งหมดสิ้น โรคนี้มีหลายชนิด ซึ่งในแต่ละชนิดอาการแสดง อายุของผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรค และลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งของยีนบนโครโมโซมของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ Kumar V, Abbas AK, Fausto N. Robbins and Cotran Pathologic Basis of Disease. 7th ed.

ใหม่!!: ไขสันหลังและโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

โรควัวบ้า

วัวที่เป็น BSE ลักษณะของโรค คือ สัตว์ที่ติดเชื้อจะยืนไม่ได้ โรคสมองรูปฟองน้ำวัว (bovine spongiform encephalopathy, ย่อ: BSE) หรือรู้จักกันทั่วไปว่า โรควัวบ้า เป็นโรคเสื่อมของระบบประสาท (โรคสมอง) ถึงตายในปศุสัตว์ซึ่งทำให้เกิดการเสื่อมฟองน้ำ (spongy degeneration) ในสมองและไขสันหลัง โรควัวบ้ามีระยะฟักนาน ราว 30 เดือนถึง 8 ปี ปกติมีผลต่อปศุสัตว์โตเต็มวัยโดยมีอายุตั้งต้นสูงสุดที่สี่ถึงห้าปี ทุกสายพันธุ์ไวรับเท่ากัน ในสหราชอาณาจักร ประเทศซึ่งได้รับผลมากที่สุด มีปศุสัตว์ติดเชื้อกว่า 180,000 ตัว และถูกฆ่า 4.4 ล้านตัวระหว่างโครงการกำจัด โรคนี้อาจส่งผ่านสู่มนุษย์ได้ง่ายที่สุดโดยการกินอาหารที่ปนเปื้อนด้วยสมอง ไขสันหลังหรือทางเดินอาหารของสัตว์ที่ติดเชื้อ ทว่า เชื้อก่อโรคซึ่งแม้กระจุกในเนื้อเยื่อประสาทสูงสุด แต่สามารถพบได้แทบทุกเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย รวมทั้งเลือด ในมนุษย์ถือว่าโรคเป็นชนิดย่อย (variant) หนึ่ง ของโรคครอยท์ซเฟลดท์–ยาคอบ (vCJD หรือ nvCJD) และในเดือนตุลาคม 2552 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 166 คนในสหราชอาณาจักร และที่อื่น 44 คน; มีสัตว์ที่ติดเชื้อ BSE ระหว่าง 460,000 ถึง 482,000 ตัวเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ก่อนมีการริเริ่มควบคุมเครื่องในสัตว์ความเสี่ยงสูงในปี 2532 สาเหตุของโรคเกิดจาก พรีออน ซึ่งเป็น คือ โปรตีนขนาดเล็ก ไม่ละลายน้ำ ทนความร้อน พรีออนเป็นปรสิตต่อคนและสัตว.

ใหม่!!: ไขสันหลังและโรควัวบ้า · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)

url.

ใหม่!!: ไขสันหลังและโรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค) · ดูเพิ่มเติม »

โรคนิ่วไต

รคนิ่วไต (kidney stone disease, urolithiasis) เป็นก้อนวัสดุแข็งที่เกิดในทางเดินปัสสาวะ นิ่วไตปกติจะเกิดในไตแล้วออกจากร่างกายผ่านปัสสาวะ โดยก้อนเล็ก ๆ อาจจะผ่านออกโดยไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าใหญ่เกินกว่า 5 มิลลิเมตร ก็อาจขวางท่อไตมีผลให้เจ็บอย่างรุนแรงที่หลังหรือท้องส่วนล่าง นิ่วยังอาจทำให้เลือดออกในปัสสาวะ ทำให้อาเจียน หรือทำให้เจ็บเมื่อถ่ายปัสสาวะ (dysuria) คนไข้ประมาณครึ่งหนึ่งจะเกิดนิ่วอีกภายใน 10 ปี นิ่วโดยมากมีเหตุจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งระดับแคลเซียมสูงในปัสสาวะ (hypercalciuria) โรคอ้วน อาหารบางชนิด ยาบางชนิด การทานแคลเซียมเป็นอาหารเสริม ระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์เกินในเลือด (hyperparathyroidism) โรคเกาต์ และดื่มน้ำไม่พอ นิ่วจะเกิดในไตเมื่อแร่ในปัสสาวะเข้มข้นมาก การวินิจฉัยปกติจะอาศัยอาการ การตรวจปัสสาวะ และภาพฉายรังสี โดยการตรวจเลือดอาจมีประโยชน์ นิ่วมักจะจัดกลุ่มตามตำแหน่งที่อยู่ คือ nephrolithiasis (ในไต) ureterolithiasis (ในท่อไต) cystolithiasis (ในกระเพาะปัสสาวะ) หรือโดยองค์ประกอบของนิ่ว เช่น แคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate), กรดยูริก, สตรูไวท์ (struvite), ซิสทีน (cystine) เป็นต้น คนไข้ที่มีนิ่วสามารถป้องกันโดยดื่มน้ำให้ผลิตปัสสาวะมากกว่า 2 ลิตรต่อวัน ถ้ายังไม่พอ อาจทานยาไทอะไซด์ (thiazide), ไซเตรต (citrate, กรดไซตริก) หรืออัลโลพิวรีนอล (allopurinol) คนไข้ควรเลี่ยงดื่มน้ำอัดลม (เช่น โคลา) ถ้านิ่วไม่มีอาการ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา ไม่เช่นนั้นแล้ว ยาแก้ปวดเป็นการรักษาเบื้องต้น โดยใช้ยาเช่น ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) หรือโอปิออยด์ นิ่วที่ใหญ่เพิ่มขึ้นอาจขับออกได้โดยใช้ยา tamsulosin หรืออาจต้องปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การใช้คลื่นเสียงนอกกายสลายนิ่ว (extracorporeal shock wave lithotripsy), การส่องกล้องท่อไต (ureteroscopy), หรือการผ่าตัดนิ่วผ่านผิวหนัง (percutaneous nephrolithotomy) คนทั่วโลกประมาณ 1-15% จะมีนิ่วไตในช่วงหนึ่งของชีวิต ในปี 2558 มีคนไข้ 22.1 ล้านราย ทำให้เสียชีวิต 16,100 ราย เป็นโรคที่สามัญยิ่งขึ้นในโลกตะวันตกตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยทั่วไป ชายจะเป็นมากกว่าหญิง นิ่วไตเป็นโรคที่ปรากฏตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมีการกล่าวถึงการผ่าตัดเพื่อเอาออกเริ่มตั้งแต่ 600 ปีก่อน..

ใหม่!!: ไขสันหลังและโรคนิ่วไต · ดูเพิ่มเติม »

โรคโปลิโอ

รคโปลิโอ (poliomyelitis, polio, infantile paralysis) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเฉียบพลันซึ่งติดต่อจากคนสู่คนทางอุจจาระ-ปาก ชื่อนี้มาจากภาษากรีกว่า (πολιός) หมายถึง สีเทา, (µυελός) หมายถึงไขสันหลัง และคำอุปสรรค -itis หมายถึงการอักเสบ การติดเชื้อโปลิโอกว่า 90% จะไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ โดยผู้ติดเชื้ออาจมีอาการได้หลายอย่างหากได้รับไวรัสเข้ากระแสเลือด ผู้ป่วย 1% จะมีการติดเชื้อไวรัสเข้าสู่ระบบประสาทกลาง ทำให้เซลล์ประสาทสั่งการถูกทำลาย ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงและอัมพาตอ่อนเปียก ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนแรงได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเส้นประสาทที่ถูกทำลาย รูปแบบที่พบบ่อยที่สุดคือโปลิโอไขสันหลัง ซึ่งทำให้มีอาการอ่อนแรงแบบไม่สมมาตรมักเป็นที่ขา โปลิโอก้านสมองส่วนท้ายทำให้เกิดการอัมพาตของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทสมอง โปลิโอไขสันหลังและก้านสมองส่วนท้ายจะทำให้มีอาการร่วมกันทั้งการอัมพาตก้านสมองส่วนท้ายและไขสันหลัง โรคโปลิโอค้นพบครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: ไขสันหลังและโรคโปลิโอ · ดูเพิ่มเติม »

โครงกระดูกแกน

แผนภาพแสดงโครงกระดูกแกน โครงกระดูกแกน (axial skeleton) เป็นชุดของกระดูกที่ประกอบด้วยกระดูกในร่างกายมนุษย์จำนวน 80 ชิ้นในศีรษะและลำตัวของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ กะโหลกศีรษะมนุษย์ (human skull), กระดูกหูในหูชั้นกลาง (ossicles), กระดูกไฮออยด์ (hyoid bone) ในลำคอ, หน้าอก และกระดูกสันหลัง โครงกระดูกแกนและโครงกระดูกรยางค์รวมกันเป็นโครงกระดูกมนุษ.

ใหม่!!: ไขสันหลังและโครงกระดูกแกน · ดูเพิ่มเติม »

โคลนัส

ลนัส (Clonus) คือการหดตัวของกล้ามเนื้อนอกเหนืออำนาจจิตใจเนื่องจากการยืดกล้ามเนื้ออย่างทันทีทันใด โคลนัสเป็นสัญญาณบอกโรคเกี่ยวกับระบบประสาทได้ และมักเกี่ยวข้องกับปัญหาภายในเซลล์ประสาทสั่งการชุดบน (upper motor neuron lesions) เช่นจากโรคหลอดเลือดสมอง (stroke), โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis), การได้รับบาดเจ็บในไขสันหลัง (spinal cord damage) และโรคทางสมองเนื่องจากภาวะที่ตับ (hepatic encephalopathy) ซึ่งต้องเข้าใจความต่างกันกับอาการฟาสซิคิวเลชัน (fasciculations) ซึ่งมักเกิดจากพยาธิสภาพในเซลล์ประสาทสั่งการชุดล่าง (lower motor neuron pathology) โคลนัสจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งมักสามารถเกิดจากการกระตุ้นของรีเฟล็กซ์ สามารถดูลักษณะของโคลนัสได้จากการทดสอบที่ข้อเท้า ซึ่งสามารถทดสอบได้โดยการงอเท้าขึ้น (dorsiflexion) ทั้งนี้ยังสามารถทดสอบได้ในข้อเข่าโดยการกดกระดูกสะบ้าไปหาด้านนิ้วโป้งเท้า ซึ่งหากเกิดโคลนัสมากกว่า 5 ครั้ง จึงถือว่าผิดปกติ ทั้งนี้ ยาที่เกี่ยวกับสารสื่อประสาทเซโรโทนินยังสามารถทำให้เกิดโคลนัสได้ อันเป็นสัญญาณถึงอาการพิษจากเซโรโทนิน.

ใหม่!!: ไขสันหลังและโคลนัส · ดูเพิ่มเติม »

โคเซ การ์เรรัส

ูแซ็ป มาริอา การ์เรรัส อี ก็อลย์ (Josep Maria Carreras i Coll) หรือ โคเซ การ์เรรัส (José Carreras) นักร้องอุปรากรเสียงเทเนอร์ชาวสเปนเชื้อสายกาตาลา มีชื่อเสียงโดยเฉพาะการขับร้องอุปรากรของจูเซปเป แวร์ดี และจาโกโม ปุชชีนี การ์เรรัสเกิดที่บาร์เซโลนา เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนสามคนของครอบครัวผู้ใช้แรงงาน เขาเริ่มหัดร้องเพลงตั้งแต่เด็ก โดยได้แบบอย่างมาจาก มาริโอ แลนซา ที่ปรากฏตัวในภาพยนตร์ The Great Caruso (1951) ขณะนั้นมีอายุเพียง 6 ปี เขาได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว ได้รับการฝึกฝนและขับร้องแสดงครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ไขสันหลังและโคเซ การ์เรรัส · ดูเพิ่มเติม »

โนซิเซ็ปชัน

นซิเซ็ปชั่น (nociception หรือ nocioception หรือ nociperception) คือ "กระบวนการทางประสาทที่เข้ารหัส และประมวลผลตัวกระตุ้นอันตราย" โดยเริ่มที่การทำงานของใยประสาทนำเข้า และเกิดขึ้นที่ทั้งระบบประสาทส่วนปลายและส่วนกลาง เพราะเหตุแห่งตัวกระตุ้นที่มีโอกาสทำเนื้อเยื่อ/ร่างกายให้เสียหาย การทำงานเริ่มต้นที่โนซิเซ็ปเตอร์ (ซึ่งบางครั้งเรียกอย่างไม่ตรงความหมายว่า ตัวรับรู้ความเจ็บปวด) ที่สามารถตรวจจับความเปลี่ยนแปลงเชิงกล เชิงอุณหภูมิ หรือเชิงเคมีที่สูงกว่าระดับขีดเริ่มเปลี่ยนของโนซิเซ็ปเตอร์ และเมื่อถึงขีดนี้แล้ว โนซิเซ็ปเตอร์ก็จะส่งสัญญาณไปยังไขสันหลังแล้วเลยไปถึงสมอง เป็นกระบวนการที่เริ่มการตอบสนองอัตโนมัติของระบบประสาทอิสระหลายอย่าง และอาจจะทำให้เกิดความเจ็บปวดอันเป็นอัตวิสัย ในสัตว์ที่รับรู้ความรู้สึกได้ โนซิเซ็ปเตอร์จะสร้างศักยะงานเป็นขบวนเพื่อตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอันตราย และความถี่ของขบวนศักยะงานนั้น จะเป็นตัวบอกระดับอันตรายของตัวกระตุ้น.

ใหม่!!: ไขสันหลังและโนซิเซ็ปชัน · ดูเพิ่มเติม »

เกเลน

วาดเกเลนในศตวรรษที่ 18 โดยเกออร์ก เพาล์ บัสช์ เกเลน (Galen; Γαληνός, Galēnos; Claudius Galenus; ค.ศ. 129 - ประมาณ ค.ศ. 200 หรือ 216) แห่งเพอร์กามอน เป็นแพทย์ชาวกรีกซึ่งมีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ของตะวันตกมาเป็นเวลานานกว่าพันปี ชื่อหน้า "Claudius" ซึ่งไม่ได้ระบุเอาไว้ในเอกสารภาษากรีก ปรากฏอยู่ในเอกสารในยุคฟื้นฟูศิลปวิท.

ใหม่!!: ไขสันหลังและเกเลน · ดูเพิ่มเติม »

เฝิง ยิงฉี

ฝิง ยิงฉี (馮英騏; Fung Ying Ki) เป็นนักกีฬาฟันดาบบนรถวีลแชร์ในกีฬาพาราลิมปิกจากเขตการปกครองพิเศษฮ่องกง ประเทศจีน ในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2000 เขาชนะการแข่งขันโดยได้รับเหรียญทองสามรายการในประเภทชายเดี่ยวฟอยล์, ทีมฟอยล์ และเดี่ยวเซเบอร์ และได้รับเหรียญทองแดงในประเภททีมเซเบอร์ สี่ปีต่อมาที่เอเธนส์พาราลิมปิก เขาชนะการแข่งขันโดยได้รับเหรียญทองสองรายการในประเภทชายเดี่ยวฟอยกับทีมเซเบอร์ และหนึ่งเหรียญเงินในประเภททีมฟอยล์ เฝิงได้สูญเสียการใช้ขาได้ตามปกติตั้งแต่ครั้งยังเด็กเนื่องจากติดไวรัสซึ่งได้ทำลายไขสันหลังของเขา (โรคกระดูกสันหลังอักเสบเฉียบพลันใน ค.ศ. 1994 ด้วยภาวะอัมพาตของร่างกายส่วนล่าง) ในวัย 15 ปี เขาเริ่มฝึกกีฬาฟันดาบบนรถวีลแชร์ที่สถาบันฝึกอบรมระดับชาติของฮ่องกง (Hong Kong Sports Institute) หลังจากพาราลิมปิกฤดูร้อน 2004 สิ้นสุดลง เขาได้ฟื้นความสามารถในการเดินและวางมือจากกีฬาฟันดาบ ในเดือนที่มีการจัดพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 ในปักกิ่ง เฝิงได้เป็นโค้ชให้กับโทโยอากิ ฮิซากาว่า ซึ่งเป็นนักกีฬาฟันดาบบนรถวีลแชร์ชาวญี่ปุ่น ในช่วงการเตรียมตัวก่อนแข่ง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและเฝิง ยิงฉี · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดพาชีเนียน

ม็ดพาชีเนียน (Pacinian corpuscles) หรือ Lamellar corpuscles (เม็ดเป็นชั้น ๆ) เป็นตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) หุ้มปลายพิเศษหลักอย่างหนึ่งในสี่อย่างที่ผิวหนังซึ่งไม่มีขน เป็นปลายประสาทที่หุ้มด้วยเซลล์ซึ่งไม่ใช่เซลล์ประสาท (schwann cell) มีลักษณะเป็นชั้น ๆ คล้ายหัวหอมที่เต็มไปด้วยน้ำในระหว่างชั้น โดยชั้นนอกสุดจะหนาเป็นพิเศษและชั้นในสุดจะต่างจากชั้นอื่น ๆ ทั้งทางกายวิภาคและทางเคมีภูมิคุ้มกัน เม็ดอยู่ในผิวหนังที่ไวต่อแรงสั่นและการเปลี่ยนแรงดัน โดยอยู่ในหนังแท้ใต้ผิวหนังประมาณ 2-3 มม.

ใหม่!!: ไขสันหลังและเม็ดพาชีเนียน · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดรู้สัมผัส

ม็ดรู้สัมผัส หรือ เม็ดไวสัมผัส (Meissner's corpuscle, Tactile corpuscle) เป็นปลายประสาทรับแรงกลชนิดหนึ่งที่ผิวหนังซึ่งไวสัมผัสแบบเบา ๆ โดยเฉพาะก็คือ ไวสูงสุดเมื่อรับรู้แรงสั่นระหว่าง 2-50 เฮิรตซ์ เป็นตัวรับความรู้สึกที่ปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยหนาแน่นมากสุดที่ปลายนิ้วมือ (เป็นใยประสาทที่มีมากที่สุดในมือมนุษย์ คือ 40%).

ใหม่!!: ไขสันหลังและเม็ดรู้สัมผัส · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มสมอง

ื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) เป็นระบบของเยื่อหุ้มที่ปกคลุมระบบประสาทกลาง เยื่อหุ้มสมองประกอบด้วยชั้น 3 ชั้นได้แก่ เยื่อดูรา หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (dura mater), เยื่ออะแร็กนอยด์ หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (arachnoid mater), และเยื่อเพีย หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นใน (pia mater) หน้าที่หลักของเยื่อหุ้มสมองและน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) คือเพื่อปกป้องระบบประสาทกลาง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและเยื่อหุ้มสมอง · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมอง(และไขสันหลัง)อักเสบ (meningitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อที่อยู่รอบสมองและไขสันหลังซึ่งเรียกรวมว่าเยื่อหุ้มสมอง การอักเสบนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือจุลชีพอื่นๆ และบางครั้งเกิดจากยาบางชนิด เป็นภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเนื่องจากเป็นการอักเสบที่อยู่ใกล้เนื้อสมองและไขสันหลัง ดังนั้นจึงเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ อาการที่พบบ่อยได้แก่อาการปวดศีรษะและคอแข็งเกร็งพร้อมกับมีไข้ สับสนหรือซึมลง อาเจียน ทนแสงจ้าหรือเสียงดังไม่ได้ บางครั้งอาจมีเพียงอาการแบบไม่จำเพาะเจาะจง เช่น อาการไม่สบายตัวหรือง่วงซึมได้โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หากมีผื่นร่วมด้วยอาจบ่งชี้ถึงสาเหตุเฉพาะบางอย่างของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย''เมนิงโกคอคคัส'' ซึ่งมีผื่นที่มีลักษณะเฉพาะ แพทย์อาจเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อวินิจฉัยหรือแยกโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำโดยใช้เข็มเจาะเข้าช่องสันหลังเพื่อนำเอาน้ำหล่อสมองไขสันหลังออกมาตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาโดยทั่วไปทำโดยให้ยาปฏิชีวนะอย่างทันท่วงที บางครั้งอาจมีการใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบรุนแรง เยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่รุนแรง เช่น หูหนวก โรคลมชัก โพรงสมองคั่งน้ำ และสติปัญญาเสื่อมถ่อย โดยเฉพาะหากรักษาไม่ทันท่วงที เยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิดอาจสามารถป้องกันได้ด้วยการให้วัคซีน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อเมนิงโกคอคคัส, ''ฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา'' ชนิดบี, ''นิวโมคอคคัส'' หรือไวรัสคางทูม เป็นต้น.

ใหม่!!: ไขสันหลังและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

เยื่ออะแร็กนอยด์

ื่อหุ้มสมองชั้นกลาง หรือ เยื่ออะแร็กนอยด์ (Arachnoid mater) เป็นหนึ่งในชั้นของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง อยู่ระหว่างชั้นเยื่อดูรา (dura mater) ที่อยู่ด้านบนและเยื่อเพีย (pia mater) ที่อยู่ด้านล่างลึกลงไป โดยมีช่องว่างระหว่างเยื่อเพียและเยื่ออะแร็กนอยด์เรียกว่า ช่องว่างใต้เยื่ออะแร็กนอยด์ (subarachnoid space) เยื่ออะแร็กนอยด์มีลักษณะบาง คล้ายกับใยแมงมุม ยึดติดกับด้านในของเยื่อดูรา หุ้มรอบสมองและไขสันหลังแต่ไม่ได้แนบไปกับร่องหรือรอยพับของสมอง ข้างใต้เยื่อนี้ลงไปจะมีน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) อยู่ภายในช่องว่างใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (subarachnoid space) ซึ่งเต็มไปด้วยเส้นใยละเอียดของเยื่ออะแร็กนอยด์ยื่นลงไปยึดกับเยื่อเพีย ส่วนของเยื่ออะแร็กนอยด์ที่คลุมรอบสมองและไขสันหลังเรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า arachnoidea encephali และ arachnoidea spinalis ตามลำดับ ในบางครั้งเราอาจเรียกเยื่ออะแร็กนอยด์และเยื่อเพียรวมเป็นโครงสร้างเดียวกัน เรียกว่า "เลปโตเมนิงซ์" (leptomeninges; มาจากรากศัพท์ภาษากรีก Lepto- แปลว่า บาง) และเรียกชั้นเยื่อดูราว่า "แพคีเมนิงซ์" (pachymeninx).

ใหม่!!: ไขสันหลังและเยื่ออะแร็กนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อดูรา

ื่อหุ้มสมองชั้นนอก หรือ เยื่อดูรา (Dura mater; มาจากภาษาละติน แปลว่า "hard mother") เป็นเยื่อหุ้มสมองชั้นนอกสุดที่แข็ง หยาบ และไม่ยืดหยุ่นที่หุ้มสมองและไขสันหลัง โดยมีเยื่อหุ้มสมองชั้นอื่นๆ คือเยื่อเพีย (pia mater) และเยื่ออะแร็กนอยด์ (arachnoid mater) อยู่ด้านใต้ลึงลงไป เยื่อดูราจะไม่แนบสนิทกับไขสันหลัง โดยยื่นเลยผ่านไขสันหลังที่ระดับกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวชิ้นที่ 2 ถึงประมาณกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บชิ้นที่ 2 Shepherd S. 2004.

ใหม่!!: ไขสันหลังและเยื่อดูรา · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อเพีย

ื่อหุ้มสมองชั้นใน หรือ เยื่อเพีย (pia mater; มาจากภาษาละตินซึ่งแปลมาจากภาษาอาหรับอีกที แปลว่า "มารดาที่อ่อนโยน") เป็นชั้นเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังที่อยู่ในสุด เยื่อเพียมีลักษณะบาง คล้ายกับตาข่าย หุ้มอยู่บนผิวทั้งหมดของสมอง และคลุมแนบไปบนร่องของคอร์เท็กซ์ของสมอง และมีส่วนเชื่อมกับอีเพนไดมา (ependyma) ซึ่งบุรอบโพรงสมองเพื่อสร้างเป็นคอรอยด์ เพล็กซัส (choroid plexus) ซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) ในไขสันหลัง เยื่อเพียจะติดกับเยื่อดูรา (dura mater) โดยโครงสร้างที่เรียกว่า เดนติคูลาร์ ลิกาเมนท์ (denticular ligaments) ผ่านเยื่ออะแร็กนอยด์ (arachnoid membrane) เยื่อเพียเจริญมาจากเซลล์นิวรัล เครสท์ (neural crest).

ใหม่!!: ไขสันหลังและเยื่อเพีย · ดูเพิ่มเติม »

เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง

ลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (subarachnoid hemorrhage, SAH) คือการมีเลือดออกที่ช่องใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางระหว่างเยื่อหุ้มสมองชั้นกลางกับชั้นในซึ่งอยู่รอบๆ สมอง อาจเกิดขึ้นได้เอง หรือจากการแตกของหลอดเลือดสมองโป่งพอง หรือเกิดจากอุบัติเหตุกระทบกระเทือนศีรษะก็ได้ อาการของการมีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางอาจมีเช่นอาการปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลัน คลื่นไส้ อาเจียน สับสน หรือซึมลง บางครั้งอาจชักได้ ยืนยันการวินิจฉัยด้วยการใช้การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์หรือบางครั้งอาจทำได้ด้วยการเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง การรักษาทำโดยการผ่าตัดอย่างทันท่วงที อาจด้วยการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะหรือการใช้รังสีช่วยในกระบวนการรักษา ร่วมกับการใช้ยาและการรักษาอื่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของการมีเลือดออก เคยมีการรักษาหลอดเลือดโป่งพองด้วยการผ่าตัดในช่วงประมาณหลังปี..

ใหม่!!: ไขสันหลังและเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาท

'''เส้นประสาท'''ของรยางค์บน แทนด้วยสีเหลือง เส้นประสาท หรือ ประสาท เป็นโครงสร้างในร่างกายที่มีลักษณะเป็นมัดของเส้นใยของเนื้อเยื่อประสาทที่เชื่อมระหว่างอวัยวะในระบบประสาทกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ทำหน้าที่ในการนำกระแสประสาท เส้นประสาทประกอบด้วยกลุ่มของแอกซอนจำนวนมาก ซึ่งเป็นโครงสร้างยาวที่ยื่นออกมาจากเซลล์ประสาท อย่างไรก็ตามเส้นประสาทไม่ได้ประกอบขึ้นจากตัวเซลล์ประสาท แต่ประกอบขึ้นจากแอกซอนที่ยื่นออกมาจากเซลล์ประสาท และในเส้นประสาทก็มีเซลล์เกลียซึ่งทำหน้าที่สร้างเยื่อไมอีลินห่อหุ้มอะเมซอน.

ใหม่!!: ไขสันหลังและเส้นประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เอนเทอโรไวรัส

อนเทอโรไวรัส (Enterovirus) เป็นไวรัส อาร์เอ็นเอ สายเดี่ยว ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-30 นาโนมิเตอร์ เป็น ไวรัสเปลือย (non-enveloped virus หรือ naked virus) ทำให้ทนทานต่อสารละลายไขมัน เช่น แอลกอฮอล์ และ อีเทอร์ เชื้อไวรัส กลุ่มนี้ เกือบทั้งหมดอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ โดยแสดงอาการของโรคต่างกัน ไวรัสชนิดนี้ สามารถแพร่กระจายติดต่อถึงกันได้โดยตรงผ่านทางของเหลวต่างๆของร่างกาย ที่สำคัญ คือ การปนเปื้อนมาในอุจจาระของผู้ป่วย (fecal-oral transmission) ซึ่งถือได้ว่า เป็นการติดต่อที่สำคัญของไวรัสกลุ่ม เอนเทอโรไวรัส ทั้งหมด (คำว่า เอนเทอโร หมายถึง ทางเดินอาหาร, ติดต่อโดย ระบบทางเดินอาหารนั่นเอง) ถึงแม้ ไวรัสกลุ่มนี้จะเจริญได้ดีในทางเดินอาหาร แต่สามารถทำให้เกิดโรคได้หลายๆ อวัยวะที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร แล้วแต่ละ โรคอาจจะมีได้ตั้งแต่ความรุนแรงต่ำ โรคหายได้เองจนถึงความรุนแรงโรคสูงเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้.

ใหม่!!: ไขสันหลังและเอนเทอโรไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

เทคตัม

ทคตัม (Tectum) มาจากภาษาละตินแปลว่า "หลังคา" เป็นส่วนของสมอง บริเวณด้านหลังของสมองส่วนกลาง (mesencephalon หรือ midbrain) ทำหน้าที่เกี่ยวกับรีเฟล็กซ์การได้ยินและรีเฟล็กซ์การมองเห็น ส่วนของเทคตัมเจริญมาจาก alar plate ของนิวรัล ทูบ (neural tube) ในระยะเอ็มบริโอ ในผู้ใหญ่จะเหลืออยู่ในสมองส่วนกลางเป็นอินฟีเรียร์ คอลลิคูลัส (inferior colliculus) และซุพีเรียร์ คอลลิคูลัส (superior colliculus).

ใหม่!!: ไขสันหลังและเทคตัม · ดูเพิ่มเติม »

เซฟาโลคอร์ดาตา

ซฟาโลคอร์ดาตา (Cephalochordata)เป็นสัตว์มีแกนสันหลังที่มีรูปร่างหัวท้ายแหลม ฝังตัวตามพื้นทรายในทะเล มีโนโตคอร์ดและไขสันหลังตลอดชีวิต ไม่มีสมอง ลำตัวเป็นปล้องชัดเจน กินอาหารโดยกรองจากน้ำ น้ำออกตามรูด้านหลังเรียกเอทริโอพอร์ (atriopore) มีอวัยวะสำคัญเรียกเอนโดสไตล์ (endostyle) ซึ่งสะสมไอโอดีนได้ มีหน้าที่สร้างเมือกเพื่อจับอาหารที่มากับน้ำ คาดว่าอวัยวะชนิดนี้วิวัฒนาการไปเป็นต่อมไทรอยด์ในสัตว์ชั้นสูง ตัวอย่างเช่น แอมฟิออกซัส (Amphioxus) ซึ่งเหลืออยู่เพียงสองสกุลคือ Branchiostoma และ Asymetron พบฟอสซิลของเซฟาโลคอร์ดาตา (Yunnanozoon) ทางภาคใต้ของจีนซึ่งมีอายุย้อนไปถึงยุคแคมเบรียนตอนต้น จัดเป็นฟอสซิลที่เก่าที่สุดของสัตว์กลุ่มนี้.

ใหม่!!: ไขสันหลังและเซฟาโลคอร์ดาตา · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์อีเพนไดมอล

ซลล์อีเพนไดมอล (ependymal cell) เป็นเซลล์ค้ำจุนหรือเซลล์เกลียชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ในระบบประสาท โดยพบเป็นเยื่อบุที่โพรงสมองและโพรงของไขสันหลัง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและเซลล์อีเพนไดมอล · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ประสาท

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและเซลล์ประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ประสาทรับความรู้สึก

ซลล์ประสาทรับความรู้สึก หรือ นิวรอนรับความรู้สึก (sensory neuron) เป็นเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เปลี่ยนตัวกระตุ้นภายนอกต่าง ๆ ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม ให้เป็นตัวกระตุ้นภายใน นิวรอนรับความรู้สึกเริ่มทำงานเมื่อเกิดสัญญาณความรู้สึก แล้วส่งข้อมูลความรู้สึกต่อไปในส่วนต่าง ๆ ของระบบประสาท ซึ่งในที่สุดก็จะไปถึงสมองหรือไขสันหลัง โดยที่ไม่เหมือนเซลล์ประสาทของระบบประสาทกลาง ที่มีสัญญาณเข้ามาจากเซลล์ประสาทอื่น ๆ นิวรอนรับความรู้สึกเริ่มทำงานเพราะรับการกระตุ้นด้วยคุณลักษณะทางกายภาพอย่างหนึ่งของตัวกระตุ้น เป็นต้นว่าแสงที่มองเห็นได้ เสียง ความร้อน และการกระทบทางกาย หรือด้วยคุณลักษณะทางเคมี เช่นในกรณีของกลิ่นและรส ในสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อน ระบบประสาทกลางเป็นจุดหมายปลายทางที่นิวรอนรับความรู้สึกส่งข้อมูลไปหา ส่วนในกรณีของสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนน้อยกว่า เช่น ตัวไฮดรา นิวรอนรับความรู้สึกส่งข้อมูลไปยังเซลล์ประสาทสั่งการ (motor neurons) หรือปมประสาทสั่งการ ในระดับโมเลกุล หน่วยรับความรู้สึกที่อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ประสาทรับความรู้สึก มีหน้าที่แปลงข้อมูลตัวกระตุ้นให้เป็นพลังประสาทไฟฟ้า ประเภทของหน่วยรับความรู้สึกเป็นตัวตัดสินว่าเซลล์จะมีความไวต่อตัวกระตุ้นแบบไหน ยกตัวอย่างเช่น เซลล์ประสาทที่มีหน่วยรับความรู้สึกเชิงกล อาจจะมีความไวต่อตัวกระตุ้นสัมผัส ในขณะที่หน่วยรับกลิ่นก็จะยังเซลล์ให้ไวต่อกลิ่น.

ใหม่!!: ไขสันหลังและเซลล์ประสาทรับความรู้สึก · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์เกลีย

ซลล์เกลีย (glial cell) หรือ นิวโรเกลีย (neuroglia) หรือ เกลีย (glia) เป็นเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์ประสาทซึ่งทำหน้าที่หลากหลายในระบบประสาท เช่น ช่วยเกื้อหนุนค้ำจุนเซลล์ประสาท เป็นแหล่งอาหาร รักษาภาวะธำรงดุล (homeostasis) สร้างเยื่อไมอีลินห่อหุ้มแอกซอน และการถ่ายทอดสัญญาณ เป็นต้น จำนานเซลล์เกลียมีมากกว่าจำนวนเซลล์ประสาทถึง 10 เท่าตัว.

ใหม่!!: ไขสันหลังและเซลล์เกลีย · ดูเพิ่มเติม »

เซโรโทนิน

ซโรโทนิน (serotonin) (5-hydroxytryptamine, or 5-HT) เป็นสารสื่อประสาทที่มีโครงสร้างทางเคมีเป็นโมโนอะมีน (monoamine neurotransmitter) พบมากในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ (gastrointestinal tract of animals) และประมาณ 80-90% ของปริมาณเซโรโทนินรวมในร่างกายมนุษย์พบใน enterochromaffin cells ซึ่งเป็นเซลล์ในทางเดินอาหาร (gut) ซึ่งมันทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ส่วนเซโรโทนินในร่างกายอีก 10-20% นั้น ถูกสังเคราะห์ในระบบประสาทส่วนกลางจากเซลล์ประสาทที่สามารถสร้างเซโรโทนินได้ (serotonergic neurons) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท ซึ่งมีบทบาทหลายหน้าที่เช่น การควบคุมความหิว อารมณ์ และความโกรธ เซโรโทนินยังพบในเห็ดและพืชผักผลไม้ต่างๆอีกด้ว.

ใหม่!!: ไขสันหลังและเซโรโทนิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมอง

ปลือกสมอง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"หรือ ส่วนนอกของสมองใหญ่ หรือ คอร์เทกซ์สมองใหญ่"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cerebral ว่า "-สมองใหญ่" หรือ "-สมอง" หรือ เซรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ เพียงแค่ว่า คอร์เทกซ์ (แต่คำว่า คอร์เทกซ์ สามารถหมายถึงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ๆ ในเปลือกสมองด้วย) (Cerebral cortex, cortex, Cortex cerebri) เป็นชั้นเนื้อเยื่อเซลล์ประสาทชั้นนอกสุดของซีรีบรัม (หรือเรียกว่าเทเลนฟาลอน) ที่เป็นส่วนของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวก เป็นส่วนที่ปกคลุมทั้งซีรีบรัมทั้งซีรีเบลลัม มีอยู่ทั้งซีกซ้ายซีกขวาของสมอง เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในระบบความจำ ความใส่ใจ ความตระหนัก (awareness) ความคิด ภาษา และการรับรู้ (consciousness) เปลือกสมองมี 6 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทต่าง ๆ กัน และการเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เปลือกสมองของมนุษย์มีความหนา 2-4 มิลลิเมตร ในสมองดอง เปลือกสมองมีสีเทา ดังนั้น จึงมีชื่อว่าเนื้อเทา มีสีดังนั้นก็เพราะประกอบด้วยเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีปลอกไมอีลิน เปรียบเทียบกับเนื้อขาว (white matter) ที่อยู่ใต้เนื้อเทา ซึ่งประกอบด้วยแอกซอนที่โดยมากมีปลอกไมอีลิน ที่เชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทในเขตต่าง ๆ ของเปลือกสมองและในเขตอื่น ๆ ของระบบประสาทกลาง ผิวของเปลือกสมองดำรงอยู่เป็นส่วนพับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งว่า ผิวเปลือกสมองของมนุษย์มากกว่าสองในสามส่วน อยู่ใต้ช่องที่เรียกว่า "ร่อง" (sulci) ส่วนใหม่ที่สุดของเปลือกสมองตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก็คือ คอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโซคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 6 ชั้น ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดก็คือฮิปโปแคมปัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาร์คิคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 3 ชั้นเป็นอย่างมาก และแบ่งเขตออกเป็นฟิลด์ย่อยของฮิปโปแคมปัส (Hippocampal subfields) เซลล์ในชั้นต่าง ๆ ของเปลือกสมองเชื่อมต่อกันเป็นแนวตั้ง รวมตัวกันเป็นวงจรประสาทขนาดเล็กที่เรียกว่า "คอลัมน์ในคอร์เทกซ์" (cortical columns) เขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ใหม่ สามารถแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ (Brodmann areas) แต่ละเขตมีลักษณะต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ความหนา ชนิดของเซลล์โดยมาก และตัวบ่งชี้สารเคมีประสาท (neurochemical markers).

ใหม่!!: ไขสันหลังและเปลือกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อขาว

นื้อขาว"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (White matter, substantia alba) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสองส่วนของระบบประสาทกลางในสมอง โดยมากประกอบด้วยเซลล์เกลียและแอกซอนหุ้มด้วยปลอกไมอิลิน ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากเขตหนึ่งในซีรีบรัมไปยังอีกเขตหนึ่ง และส่งสัญญาณระหว่างซีรีบรัมและศูนย์สมองอื่น ๆ ในระดับที่ต่ำกว่า เนื้อขาวของสมองที่ผ่าออกใหม่ ๆ ปรากฏเป็นสีชมพูอมขาวดังที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ก็เพราะว่าปลอกไมอิลินโดยมากทำด้วยลิพิด (ไขมัน) มีหลอดเลือดฝอยวิ่งผ่าน และที่มีสีขาวก็เพราะดองไว้ในฟอร์มาลดีไฮด์ องค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งของสมองก็คือเนื้อเทา (ซึ่งปรากฏเป็นสีชมพูอมน้ำตาลก็เพราะหลอดเลือดฝอย) ซึ่งประกอบด้วยนิวรอน ส่วนที่สามในสมองที่ปรากฏเป็นสีที่ดูเข้มกว่า ก็เพราะมีระดับเม็ดสี melanin ที่สูงกว่าเขตรอบข้าง เป็นส่วนของ substantia nigra ที่มีนิวรอนประเภทที่ใช้โดพามีนเป็นสารสื่อประสาท ให้สังเกตว่าเนื้อขาวบางครั้งปรากฏเป็นสีเข้มกว่าเนื้อเทาเมื่อดูในสไลด์ใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ก็เพราะเหตุสีที่ย้อม ถึงแม้ว่าเนื้อขาวจะได้รับการพิจารณามานานว่าเป็นส่วนที่ไม่ได้ทำอะไร แต่จริง ๆ ก็ทำหน้าที่มีผลสำคัญต่อการเรียนรู้และการทำงานของสมอง ในขณะที่เนื้อเทาทำหน้าที่เกี่ยวกับการแปลผลและประชาน (คือการรับรู้) เนื้อขาวก็ทำหน้าที่ควบคุมการถ่ายทอดศักยะงาน ที่ประสานการสื่อสารระหว่างเขตต่าง ๆ ของสมอง.

ใหม่!!: ไขสันหลังและเนื้อขาว · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อ

นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้.

ใหม่!!: ไขสันหลังและเนื้อเยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเทา

นื้อเทา (Grey matter หรือ Gray matter, Substantia grisea) เป็นส่วนสำคัญของระบบประสาทกลาง ซึ่งประกอบด้วยตัวเซลล์ neuropil (คือเดนไดรท์ และแอกซอนไม่มีปลอกไมอีลิน) เซลล์เกลีย และหลอดเลือดฝอย (capillary) เนื้อเทามีตัวเซลล์ประสาท ซึ่งแตกต่างจากเนื้อขาว (white matter) ซึ่งมีแต่แอกซอนมีปลอกไมอีลินและไม่มีเซลล์ประสาท สีของเนื้อขาวเกิดจากสีขาวของปลอกไมอีลินซึ่งไม่เหมือนกับเนื้อเทา ในเนื้อเยื่อที่มีชีวิต เนื้อเทามีสีเทาแกมน้ำตาล ที่มีต้นเหตุจากหลอดเลือดฝอยและตัวเซลล์ประสาท.

ใหม่!!: ไขสันหลังและเนื้อเทา · ดูเพิ่มเติม »

Burst fracture

burst fracture เป็นการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังแบบหนึ่งที่ลำกระดูกสันหลัง (vertebra) แตก/หักออกเนื่องจากเกิดภาระ/โหลดมากเกินที่โครงกระดูกแกน (เช่น รถชน ตกมาจากที่สูง หรือแม้แต่การชักบางอย่าง) โดยมีส่วนแหลมของลำกระดูกทิ่มเข้าไปในเนื้อเยื่อรอบ ๆ และบางครั้งเข้าไปในไขสันหลังเอง burst fracture จะจัดตาม "ความรุนแรงของการเสียรูปทรง, ความรุนแรงของอันตรายต่อช่องบรรจุไขสันหลัง, ระดับที่ลำกระดูกสั้นลง, และระดับความบกพร่องทางประสาท" เป็นการบาดเจ็บที่พิจารณาว่า รุนแรงกว่ากระดูกหักเหตุอัด (compression fracture) เพราะอาจตามด้วยความเสียหายทางประสาทในระยะยาว ซึ่งสามารถแสดงอาการทั้งหมดอย่างทันที หรือค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นระยะเวลานาน.

ใหม่!!: ไขสันหลังและBurst fracture · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 17: รูปผิดปกติแต่กำเนิด รูปพิการ และความผิดปกติของโครโมโซม

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ไขสันหลังและICD-10 บทที่ 17: รูปผิดปกติแต่กำเนิด รูปพิการ และความผิดปกติของโครโมโซม · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ไขสันหลังและICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ไขสันหลังและICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 6: โรคของระบบประสาท

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ไขสันหลังและICD-10 บทที่ 6: โรคของระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

Superior colliculus

optic tectum หรือเรียกสั้น ๆ ได้ว่า tectum เป็นโครงสร้างคู่ที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในสมองส่วนกลางของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โครงสร้างนี้มักจะเรียกกันว่า superior colliculus (ตัวย่อ SC) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นชั้น ๆ แม้ว่าจำนวนชั้นจะแตกต่างกันไปในสัตว์สปีชีส์ต่าง ๆ ชั้นนอก ๆ มีหน้าที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัส และรับข้อมูลมาจากทั้งตาและระบบรับความรู้สึกอื่น ๆ ส่วนชั้นที่ลึก ๆ ลงไปมีหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งการ (motor) มีความสามารถในการเริ่มการเคลื่อนไหวของตาและเริ่มการตอบสนองในระบบอื่น ๆ ส่วนชั้นในระหว่างกลางมีนิวรอนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสหลายทาง และเกี่ยวกับการสั่งการด้วย หน้าที่ทั่ว ๆ ไปของเทคตัมก็คือ ชี้ทางการตอบสนองทางพฤติกรรมไปยังตำแหน่งต่าง ๆ โดยมีกายเป็นศูนย์กลาง ชั้นแต่ละชั้นของเทตตัมมีแผนที่ภูมิลักษณ์ของโลกรอบตัวที่ใช้พิกัดแบบ retinotopy และการทำงานของนิวรอนจุดหนึ่งในแผนที่ทำให้เกิดการตอบสนองทางพฤติกรรมตรงตำแหน่งในปริภูมิที่สัมพันธ์กับจุดในแผนที่นั้น ในไพรเมต งานศึกษาเรื่องของ SC โดยมากเป็นไปเกี่ยวกับการควบคุมการทอดสายต.

ใหม่!!: ไขสันหลังและSuperior colliculus · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Spinal cord

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »