โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โอดะ โนบูนางะ

ดัชนี โอดะ โนบูนางะ

อดะ โนบุนางะ เป็นไดเมียว และหนึ่งในสามผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคเซงโงกุ เป็นหนึ่งในสามผู้รวบรวมญี่ปุ่นจากความแตกแยกในยุคเซงโงก.

77 ความสัมพันธ์: การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)การล้อมฮนโนจิกิฟุ (เมือง)มะสึซะกะมะเอะดะ โทะชิอิเอะมาสค์ไรเดอร์โกสต์มาสค์ไรเดอร์โกสต์ THE MOVIE: 100 อายคอนส์ และช่วงเวลาแห่งชะตากรรมของโกสต์ยะมะอุชิ คะซุโตะโยะยุทธการที่ยะมะซะกิยุทธการโอะเกะฮะซะมะยุทธการโคะมะกิและนะงะกุเตะยุคมุโระมะชิยุคอาซูจิ–โมโมยามะยุคเซ็งโงกุยูระกุโชรัฐบาลโชกุนอาชิกางะรัฐบาลเอโดะรายชื่อตัวละครใน ฮันเตอร์ x ฮันเตอร์รายชื่อตัวละครในนักเตะแข้งสายฟ้า GOวอริเออร์โอโรจิวอริเออร์โอโรจิ 2วัดฮนโนวัดเอ็นเรียะกุอะชิกะงะ โยะชิอะกิอะซะอิ นะงะมะซะอะเกะชิ มิสึฮิเดะอิชิดะ มิสึนะริอุเอะซุงิ เค็งชิงองเมียวสะจังหวัดชิงะจังหวัดชิซูโอกะทะเกะดะ ชิงเง็นท่านหญิงโดตะคิโยะซุคุโระดะ โยะชิตะกะตระกูลฟูจิวาระตระกูลอาชิกางะตระกูลทะเกะดะตระกูลโอะดะตระกูลโทะโยะโตะมิซะนะดะ ยุกิมุระซามูไรซามูไรวอริเออร์ซามูไรทรูปเปอร์ซานะดะ ยูคิมุระ (ตัวละครการ์ตูน)ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นประเทศญี่ปุ่นปราสาทกิฟุปราสาทอะซุชิปราสาทโอซากะ...ปืนคาบศิลานาโงยะนินจานินจุสึแคว้นมิโนะโมะริ รันมะรุโยะโดะ โดะโนะโอะอิชิโอะดะ โนะบุยูกิโอะดะ โนะบุฮิเดะโอะเอะโยะโอซากะโฮะโซะกะวะ กราเชียโฮโจ อุจิมะซะโจโซะคะเบะ โมะโตะจิกะโทกูงาวะ อิเอมิตสึโทกูงาวะ อิเอยาซุโทกูงาวะ ฮิเดตาดะโทะกุงะวะ มะซะโกะโทะกุงะวะ ทะดะนะงะโนฮิเมะไทระ โนะ ชิกะซะเนะไดนาสตีวอริเออร์เรียว อิชิบะชิเปลวฟ้าผ่าปฐพีเนตรสยบมาร23 มิถุนายน ขยายดัชนี (27 มากกว่า) »

การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)

การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น คือ เหตุการณ์สู้รบบนคาบสมุทรเกาหลีและยุทธการที่เกิดขึ้นตามมา ในช่วงระหว่าง..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98) · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมฮนโนจิ

การล้อมฮนโนจิ หรือ กบฏที่วัดฮนโน เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1582 ที่วัดฮนโน เมื่ออะเกะชิ มิสึฮิเดะ หนึ่งในขุนศึกของโอะดะ โนะบุนะงะ ระหว่างที่ต้องนำทัพออกรบเขาเกิดทรยศโนะบุนะงะและนำทัพกลับมาล้อมโนะบุนะงะที่ปราสาทเพื่อแก้แค้นโนะบุนะงะที่ทำให้เขาเสียหน้าต่อหน้าขุนศึกคนอื่นแต่โนะบุนะงะไม่อยู่เพราะเขาไปอยู่ที่วัดฮนโนะมิสึฮิเดะจึงนำกำลังไปล้อมที่นั่นและเริ่มโจมตีทำให้ขุนศึกคู่ใจโนะบุนะงะอย่างรันมะรุและโนฮิเมะ ภริยาของโนะบุนะงะตายในศึกครั้งนี้ด้วยเมื่อเห็นว่าตัวเองกำลังจะพ่ายแพ้แล้วโนะบุนะงะจึงฆ่าตัวตายด้วยการเซ็ปปุกุในกองเพลิงหลังจากนั้นมิสึฮิเดะจึงนำกำลังไปล้อมและโจมตีปราสาทของโอะดะ โนะบุตะดะ บุตรชายคนโตและสังหารโนะบุตะดะได้ในที่สุด ไม่ถึงสิบวัน โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ที่มีธุระอยู่ที่ภูมิภาคชูโงะกุก็ทราบข่าวการกบฏจึงรีบยกทัพกลับเคียวโตะซึ่งระหว่างทางก็ได้รับเอาทหารของโนะบุนะงะที่รอดชีวิตเข้าร่วมกองทัพของตนตลอดเส้นทางและได้พบกับขุนพล นิวะ นะงะฮิเดะ และ โอะดะ โนะบุตะกะในเมืองซะไก ทั้งหมดยกทัพเข้าเคียวโตะและปราบมิสึฮิเดะลงได้ในยุทธการยะมะซะกิ ตัวมิสึฮิเดะถูกสังหารระหว่างกำลังหนีกลับไปตั้งมั่นที่ปราสาท.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและการล้อมฮนโนจิ · ดูเพิ่มเติม »

กิฟุ (เมือง)

กิฟุ เป็นเมืองหลวงของจังหวัดกิฟุ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด ในอดีตมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นในสมัยเซงโงะกุ กล่าวคือบรรดานักรบและไดเมียวสำคัญ เช่น โอดะ โนะบุนะงะ ใช้เมืองกิฟุที่มีทำเลที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของประเทศ ใช้เป็นฐานในการรวบรวมและปกครองแผ่นดินญี่ปุ่น.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและกิฟุ (เมือง) · ดูเพิ่มเติม »

มะสึซะกะ

มืองมะสึซะกะ เป็นเมืองในจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น สินค้าขึ้นชื่อของเมืองนี้คือ เนื้อมะสึซะกะ เมืองมะสึซะกะตั้งอยู่บนคาบสมุทรคิอิทางตะวันออก บริเวณตรงกลางของเขตจังหวัดมิเอะ เมืองมะสึซะกะนั้นมีอาณาเขตเป็นแนวยาว ทำให้มันแบ่งจังหวัดมิเอะออกเป็นสองส่วน ทางตะวันออกของมะสึซะกะนั้นคืออ่าวอิเซะ ซึ่งเชื่อมต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก มะสึซะกะเคยเป็นศูนย์กลางด้านการค้าในยุคเซ็งโงะกุ ซึ่งโอะดะ โนะบุกะสึ บุตรของโอะดะ โนะบุนะงะ ได้มาสร้างปราสาทไว้ที่บริเวณนี้ในปี..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและมะสึซะกะ · ดูเพิ่มเติม »

มะเอะดะ โทะชิอิเอะ

มะเอะดะ โทะชิอิเอะ (15 มกราคม 1538 – 27 เมษายน 1599) ขุนพลคนสำคัญระดับแกนนำของ โอะดะ โนะบุนะงะ ในช่วง ยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ ถึง ยุคเซ็งโงะกุ พ่อของเขาคือ มะเอะดะ โทะชิมะซะ เป็นบุตรคนที่ 4 จากพี่น้องทั้งหมด 7 คนมีชื่อเมื่อวัยเด็กว่า อินุชิโยะ หมวดหมู่:ซะมุไร หมวดหมู่:ไดเมียว หมวดหมู่:บุคคลในยุคมุโระมะจิ หมวดหมู่:บุคคลในยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ หมวดหมู่:บุคคลจากนะโงะยะ หมวดหมู่:ข้ารับใช้ตระกูลโอะดะ หมวดหมู่:ข้ารับใช้ตระกูลโทะโยะโตะมิ.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและมะเอะดะ โทะชิอิเอะ · ดูเพิ่มเติม »

มาสค์ไรเดอร์โกสต์

มาสค์ไรเดอร์โกสต์ เป็นภาพยนตร์ญี่ปุ่นแนวโทคุซัทสึ ในซีรีส์มาสค์ไรเดอร์ ประจำปี 2015 เป็นลำดับที่ 26 ผลิตโดย โตเอะ คัมปะนี และ อิชิโนะโมะริ โปรดักชั่นส์ โดยออกอากาศต่อจาก มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์ ทุกวันอาทิตย์ 8.00 ทางช่องทีวีอาซาฮี ในช่วง ซูเปอร์ฮีโร่ ไทม์ ออกอากาศเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2015.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและมาสค์ไรเดอร์โกสต์ · ดูเพิ่มเติม »

มาสค์ไรเดอร์โกสต์ THE MOVIE: 100 อายคอนส์ และช่วงเวลาแห่งชะตากรรมของโกสต์

มาสค์ไรเดอร์โกสต์ THE MOVIE: 100 อายคอนส์ และช่วงเวลาแห่งชะตากรรมของโกสต์ เป็นภาพยนตร์ของซีรีส์โทรทัศน์มาสค์ไรเดอร์โกสต์ ที่ฉายในช่วง 2015-2016 และมีการเปิดตัว มาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด ในเรื่องนี้ด้วย เริ่มออกฉายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและมาสค์ไรเดอร์โกสต์ THE MOVIE: 100 อายคอนส์ และช่วงเวลาแห่งชะตากรรมของโกสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ยะมะอุชิ คะซุโตะโยะ

อนุสาวรีย์สำริดของยะมะอุชิในเมืองโคชิ จังหวัดโคชิ ยะมะอุชิ คะซุโตะโยะ (山内一豊; Yamauchi Kazutoyo; ค.ศ. 1546 — 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1605) เป็นไดเมียวคนแรกแห่งแคว้นโทะสะซึ่งท่านผู้นี้ได้รับใช้ขุนศึกชื่อดังถึง 3 คนคือ โอดะ โนะบุนะงะ,โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ และ โทะกุงะวะ อิเอะยะสึ หลังสิ้นศึกที่เซะกิงะฮะระ โชกุนอิเอะยะสึได้ประทานแคว้นโทสะให้ท่านไปเป็นเจ้าแคว้น แต่ใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะปราบพวกชนพื้นเมืองได้ ท่านปกครองแคว้นโทสะได้ 5 ปี ก็ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและยะมะอุชิ คะซุโตะโยะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ยะมะซะกิ

ทธการยะมะซะกิ สงครามการรบที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและยุทธการที่ยะมะซะกิ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการโอะเกะฮะซะมะ

ทธการโอะเกะฮะซะมะ(桶狭間の戦い|Okehazama-no-tatakai)เป็นยุทธการระหว่าง โอะดะ โนะบุนะงะ และ อิมะงะวะ โยะชิโมะโตะ ผลจากยุทธการครั้งนี้ได้ทำให้ โอะดะ โนะบุนะงะ ได้รับฉายาว่าจอมมารในเวลาต่อม.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและยุทธการโอะเกะฮะซะมะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการโคะมะกิและนะงะกุเตะ

ยุทธการโคะมะกิและนะงะกุเตะ เป็นยุทธการครั้งสำคัญในปี 1584 ที่จะตัดสินว่าใครจะได้สืบทอดอำนาจต่อจาก โอดะ โนะบุนะงะ ซึ่งปรากฏว่าไม่มีฝ่ายใดชนะทำให้ฮิเดะโยะชิต้องเจรจาสงบศึกและส่งนางอะซะฮีน้องสาวต่างแม่ไปเป็นภรรยาของอิเอะยะซุและส่งนางนะกะมารดาไปเป็นตัวประกันที่ ปราสาทโอซะกะ หมวดหมู่:พ.ศ. 2127 หมวดหมู่:ยุคเซงโงะกุ.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและยุทธการโคะมะกิและนะงะกุเตะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคมุโระมะชิ

มุโระมะชิ ตรงกับค.ศ. 1336 - ค.ศ. 1568 ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 14 อะชิคะงะ โยะชิมิสึ ได้ปราบปรามชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบ และตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นอีกครั้งที่ เคียวโตะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนนี้ได้ปกครองญี่ปุ่นต่อมาเป็นเวลานานถึงสองศตวรรษเศษอันเป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมของชนชั้นนักรบก็ได้กลืนวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลโชกุนของตระกูลอะชิคะงะ เกิดจากการรวมตัวของขุนศึกสำคัญ ๆ ตามหัวเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จึงเป็นธรรมดาที่การรวบอำนาจให้รัฐบาลมีเสถียรภาพนั้นเป็นไปได้อย่างลำบาก ดังนั้นในครึ่งหลังศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ขุนศึกตามหัวเมืองต่าง ๆ จึงเริ่มทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน จนทั้งประเทศญี่ปุ่นตกเข้าสู่ยุคสงคราม ภายในยุคนี้เป็นยุคที่ชนชั้นนักรบมีอำนาจเหนือเกษตรกรและมีกรรมสิทธิเหนือที่ดินจึงเป็นการปกครองระบบศักดินาโดยสมบูรณ์ ด้านเศรษฐกิจก็เจริญรุ่งเรืองมาก เนื่องจากทำการค้ากับจีนสมัยหมิงด้านวัฒนธรรม ลัทธิเซนเป็นส่วนเพิ่มเติมให้กับวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองและชนชั้นนักรบ ซึ่งเห็นรูปแบบได้จากตำหนักทอง (Kinkaku) ในปลายศตวรรษที่ 14 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมคิตะยะมะ (Kitayama) และตำหนักเงิน (Ginkaku) ในปลายศตวรรษที่ 15 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมฮิงะชิยะมะ (Higashiyama) การละคร อย่างเช่น โน เคียวเง็น และการต่อเพลง ก็เริ่มแพร่หลายสู่ประชาชนภายนอก ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น อย่างเช่น พิธีชงชา การจัดดอกไม้ ก็เริ่มมีรากฐานมาจากยุคนี้ และในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 พวกฝรั่ง เช่น ชาติโปรตุเกส และสเปนก็ได้นำอาวุธปืนยาวและศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและยุคมุโระมะชิ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคอาซูจิ–โมโมยามะ

อาซูจิ–โมโมยามะ เป็นยุคที่เริ่มตั้งแต..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและยุคอาซูจิ–โมโมยามะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเซ็งโงกุ

ซ็งโงกุ เป็นช่วงเวลาของความไม่สงบใน ญี่ปุ่น อันเกิดจากอำนาจการปกครองของ โชกุนตระกูลอาชิกางะในยุคมูโรมาจิเสื่อมลง ทำให้บรรดาไดเมียวผู้ปกครองแคว้นต่าง ๆ ในญี่ปุ่นต่างพากันตั้งตนเป็นอิสระ โดยเฉพาะไดเมียวที่อยู่ห่างจากเมืองหลวงเกียวโตมาก และทำสงครามกันเอง ทำให้ญี่ปุ่นลุกเป็นไฟ บ้านเมืองไม่มีขื่อแป โชกุนที่เกียวโตไม่สามารถทำอะไรได้เพราะเป็นเพียงหุ่นเชิดของไดเมียวที่มีอำนาจ สมัยเซ็งโงกุเป็นสมัยแห่งวีรบุรุษ โดยเฉพาะวีรบุรุษทั้งสามที่รวมประเทศญี่ปุ่นให้กลับเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งเป็นการสิ้นสุดสมัยเซ็งโงกุ ได้แก่ โอดะ โนบูนางะ, โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ, และ โทกูงาวะ อิเอยาซุ อักษรคันจิของคำว่ายุคเซ็งโงกุ ตรงกับคำว่า "ยุคจ้านกว๋อ" ในภาษาจีน หมายถึง "ยุครณรัฐ" ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ในช่วงระหว่าง 477-222 ปีก่อน..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและยุคเซ็งโงกุ · ดูเพิ่มเติม »

ยูระกุโช

ทางรถไฟเหนือย่านยูระคุโจ ยูระกุโช เป็นย่านหนึ่งในเขตชิโยะดะ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น ตั้งอยู่ระหว่างย่านกินซะและสวนฮิบิยะ ใกล้กับย่านชินบะชิ เป็นย่านที่มีบรรยากาศแบบช่วงต้นของช่วงหลังสงครามโลก เต็มไปด้วย izakaya (บาร์แบบญี่ปุ่นที่มีโคมไฟสีแดง) และร้านอาหาร yakitori กลางแจ้ง ร้านเหล่านี้มักจะตั้งอยู่ใต้ทางรถไฟสาย JR ยะมะโนะเตะ เนื่องจากมีร้านอาหารแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมหลายร้าน และมีรถไฟสายยะมะโนะเตะผ่านซึ่งทำให้เดินทางไปยังสถานีรถไฟโตเกียวได้สะดวก จึงเป็นย่านที่นักธุรกิจนิยมมาดื่มสังสรรค์ระหว่างทางกลับบ้านหลังจากทำงาน ย่านยูระคุโจมีสถานีรถไฟและรถไฟใต้ดินหลายแห่ง อย่างเช่นสถานียูระคุโจบนสาย JR ยะมะโนะเตะและสายเคฮิน-โทโฮะกุ และสถานีรถไฟใต้ดินยูระคุโจบนสายยูระคุโจ ย่านนี้ได้ชื่อมาจากโอะดะ นะงะมะสุ (2090-2165) น้องชายของโอะดะ โนะบุนะงะ นะงะมะสุได้สร้างคฤหาสน์ขึ้นบนพื้นที่บริเวณนี้ที่โทะคุงะวะ อิเอะยะสุ อนุญาตให้สร้าง ใกล้กับประตูสะพานซุกิยะของปราสาทเอะโดะ เมื่อ พ.ศ. 2250 ตระกูลโทะคุงะวะได้สร้าง Minami-machi Bugyo-sho ซึ่งเป็นสำนักงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของเอะโดะขึ้นที่บริเวณนี้ ชื่อของย่านยูระคุโจมีมาตั้งแต่ยุคเมจิ โดยได้ชื่อจากการเปลี่ยนการออกเสียงคำว่า อุระคุไซ.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและยูระกุโช · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลโชกุนอาชิกางะ

รัฐบาลโชกุนอาชิกางะ หรือที่มักรู้จักในชื่อ รัฐบาลโชกุนมูโรมาจิ เป็นระบอบการปกครองโดยกลุ่มทหารในญี่ปุ่นระหว่างปี..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและรัฐบาลโชกุนอาชิกางะ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลเอโดะ

รัฐบาลเอโดะ หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin) หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto) ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและรัฐบาลเอโดะ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครใน ฮันเตอร์ x ฮันเตอร์

ต่อไปนี้คือ รายชื่อตัวละครในฮันเตอร์ x ฮันเตอร์ ผลงานการ์ตูนของ โยชิฮิโร โทะก.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและรายชื่อตัวละครใน ฮันเตอร์ x ฮันเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในนักเตะแข้งสายฟ้า GO

รายละเอียดตัวละครใน อินาสึมะอีเลฟเวน GO ทั้งเกมและอะนิเม.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและรายชื่อตัวละครในนักเตะแข้งสายฟ้า GO · ดูเพิ่มเติม »

วอริเออร์โอโรจิ

วอริเออร์โอโรจิ (Warriors Orochi) หรือที่ในญี่ปุ่นรู้จักว่า Musō Orochi (無双OROCHI) เป็นเกมที่ผสมระหว่าง Dynasty Warriors กับ Samurai Warriors โดยมีบริษัท KOEI เป็นผู้สร้าง การเล่นนั้นเป็นรูปแบบของ Musou เกมนี้สามารถสับเปลี่ยนตัวละครระหว่างเล่นได้ โดยจะเลือกเล่นได้ 3 ตัว ผู้เล่นสามารถเลือกเนื้อเรื่องได้ 4 ฝ่ายคือ Shu (จ๊กก๊ก), Wu (ง่อก๊ก), Wei (วุยก๊ก) และ SW (ซามุไร) เกมได้เชื่อมเข้ากับระบบเพลย์สเตชันพอร์เทเบิล ซึ่งได้วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและวอริเออร์โอโรจิ · ดูเพิ่มเติม »

วอริเออร์โอโรจิ 2

วอริเออร์โอโรจิ 2 (Warriors Orochi 2) หรือที่ในญี่ปุ่นรู้จักว่า Musō Orochi 2 (無双OROCHI2) เป็นภาคที่ 2 ต่อจากภาควอริเออร์โอโรจิ ในปี 2008 เกมที่ผสมระหว่าง Dynasty Warriors กับ Samurai Warriors โดยมีบริษัท KOEI เป็นผู้สร้าง การเล่นนั้นเป็นรูปแบบของ Musou เกมนี้สามารถสับเปลี่ยนตัวละครระหว่างเล่นได้ โดยจะเลือกเล่นได้ 3 ตัว ผู้เล่นสามารถเลือกเนื้อเรื่องได้ 4 ฝ่ายคือ Shu (จ๊กก๊ก), Wu (ง่อก๊ก), Wei (วุยก๊ก) และ SW (ซามุไร) โดยภาคนี้จะมีตัวละครเพิ่มขึ้นมาอีก 7 ตัว ได่แก่ โยะชิสึเนะ มินะโมะโตะ,เจียงไท่กง,ซึงหงอคง,โอโรจิ X,ฮิมิโกะ,อุชิโอะนิ และโดะโดะเมกิ เกมนี้วางจำหน่ายในรูปแบบเพลย์สเตชัน 2 วันที่ 3 เมษายน 2008 ในญี่ปุ่น,วันที่ 19 กันยายน 2008 ในทวีปยุโรป และวันที่ 23 กันยายน 2008 ในทวีปอเมริกาเหนือ ต่อมาในรูปแบบเอกซ์บอกซ์ 360 วันที่ 4 กันยายน 2008 ในญี่ปุ่น,วันที่ 19 กันยายน 2008 ในทวีปยุโรป และวันที่ 23 กันยายน 2008 ในทวีปอเมริกาเหนือ และในรูปแบบเพลย์สเตชันพอร์เทเบิล วันที่ 27 พฤศจิกายน 2008 ในญี่ปุ่น,วันที่ 28 สิงหาคม 2009 ในทวีปยุโรป และวันที่ 4 กันยายน 2009 ในทวีปอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและวอริเออร์โอโรจิ 2 · ดูเพิ่มเติม »

วัดฮนโน

ประตูทางเข้าหลักของวัดฮนโน วิหารของวัดฮนโน วัดฮนโน วัดในพระพุทธศาสนานิกาย นิชิเร็น ซึ่งเป็นนิกายย่อยของนิกาย มหายาน ตั้งอยู่ในเมือง เคียวโตะ วัดฮนโนเป็นที่รู้จักจากเหตุการณ์ที่เรียกว่า การล้อมฮนโนจิ หรือ กบฏวัดฮนโน เนื่องจาก โอะดะ โนะบุนะงะ ขุนศึกผู้ทรงอำนาจและอิทธิพลแห่ง ยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ ได้มาพำนักที่นี่ก่อนจะถูกโจมตีจากทางฝั่งตะวันตกในช่วงเช้ามืดของวันที่ 21 มิถุนายน..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและวัดฮนโน · ดูเพิ่มเติม »

วัดเอ็นเรียะกุ

วัดเอ็นเรียะกุ เป็นวัดพุทธนิกายเท็นได ตั้งอยู่บนเขาเฮเอในเมืองโอสึ ไม่ไกลจากนครเกียวโต ก่อตั้งในต้นยุคเฮอังโดยภิกษุไซโช ซึ่งนำศาสนาพุทธมหายานนิกายเทียนไถจากจีนมาเผยแพร่ในญี่ปุ่นโดยได้รับการสนับสนุนจากจักรพรรดิคัมมุ และกลายเป็นวัดต้นสังกัดของวัดนิกายเท็นไดในญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในวัดสำคัญที่สุดทางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น ยุคมุโระมะชิถือเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของนิกายเท็นได โดยวัดเอ็นเรียะกุมีวัดสาขาอยู่มากกว่า 3,000 แห่งทั่วญี่ปุ่นและมีกองทัพภิกษุ (僧兵 โซเฮ) ที่ทรงอิทธิพลเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ ขุนพล โอะดะ โนะบุนะงะ ผู้ต้องการพิชิตศัตรูและผนวกญี่ปุ่นให้เป็นปึกแผ่น ได้โจมตีและทำลายวัดเอ็นเรียะกุอย่างสิ้นซากและสังหารภิกษุจำนวนมากในปี..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและวัดเอ็นเรียะกุ · ดูเพิ่มเติม »

อะชิกะงะ โยะชิอะกิ

รูปวาดของโยะชิอะกิ อะชิกะงะ โยะชิอะกิ (Ashikaga Yoshiaki, 15 ธันวาคม พ.ศ. 2080 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2140) โชกุนลำดับที่ 15 และลำดับสุดท้ายแห่ง รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะ ดำรงตำแหน่งระหว่าง..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและอะชิกะงะ โยะชิอะกิ · ดูเพิ่มเติม »

อะซะอิ นะงะมะซะ

อะซะอิ นะงะมะซะ อะซะอิ นะงะมะซะ เป็นไดเมียว ที่ใน ยุคเซ็งโงะกุ ครอบครองอยู่แถบจังหวัดโอม.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและอะซะอิ นะงะมะซะ · ดูเพิ่มเติม »

อะเกะชิ มิสึฮิเดะ

อะเกะชิ มิสึฮิเดะ เป็นขุนพลคนสำคัญของ โอะดะ โนะบุนะงะ ในยุคเซ็งโงะก.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและอะเกะชิ มิสึฮิเดะ · ดูเพิ่มเติม »

อิชิดะ มิสึนะริ

อิชิดะ มิสึนะริ เป็นขุนศึกที่รับใช้ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ และเป็นผู้นำกองทัพตะวันตกใน ยุทธการเซะกิงะฮะระ อิชิดะ มิสึนะริ เกิดเมื่อค.ศ. 1559 ที่แคว้นโอมิ จังหวัดชิงะ ในปัจจุบัน เป็นบุตรชายคนรองของอิชิดะ มะซะสึงุ และมีพี่ชายคือ อิชิดะ มะสะซุมิ ตระกูลอิชิดะเป็นซะมุไรข้ารับใช้ของตระกูลอะซะอิ ซึ่งในขณะนั้นมีผู้นำคือ อะซะอิ นะงะมะสะ หลังจากที่ตระกูลอะซะอิสูญสิ้นลงเมื่อค.ศ. 1573ด้วยน้ำมือของโอะดะ โนะบุนะงะ สามพ่อลูกตระกูลอิชิดะจึงเข้ารับใช้ตระกูลโอะดะต่อมา อิชิดะ มิสึนะริ มีความสามารถทางด้านการบริหารและการคลัง ผิดกับซะมุไรร่วมสมัยโดยทั่วไปซึ่งเน้นการทหารเป็นหลัก ในสมัยการปกครองของโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มิสึนะริจึงได้รับแต่งตั้งเป็นบุเกียว ซึ่งมีหน้าที่ทางด้านการบริหารปกครอง และยังได้รับการแต่งตั้งเป็นไดเมียวผู้ปกครองปราสาทซะวะยะมะ (แถบเมืองฮิโกะเนะในปัจจุบัน) ในช่วงการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135–2141) ไทโกฮิเดะโยะชิได้แต่งตั้งให้มิสึนะริเป็นผู้ตรวจการตรวจสอบการทำงานของบรรดาขุนศึกที่ยกทัพไปรุกรานอาณาจักรโชซอน มิสึนะริรายงานกลับมายังไทโกว่าการรุกรานนั้นไม่มีประสิทธิภาพ สร้างความไม่พอใจแก่บรรดาขุนศึกระดับสูงที่นำการรุกรานเกาหลีเป็นอย่างมาก ก่อนที่ไทโกฮิเดะโยะชิจะถึงแก่อสัญกรรมลงในค.ศ. 1598 ได้ทำการแต่งตั้งให้อิชิดะ มิสึนะริ เป็นหนึ่งในคณะ โกะบุเกียว หรือรัฐมนตรีทั้งห้า เพื่อคอยบริหารดูแลอาณาเขตของฮิเดะโยะชิในช่วงที่โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ ผู้เป็นทายาทของฮิเดะโยะชิยังอยู่ในวัยเยาว.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและอิชิดะ มิสึนะริ · ดูเพิ่มเติม »

อุเอะซุงิ เค็งชิง

อุเอะซุงิ เค็งชิง อุเอะซุงิ เค็งชิง (18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1530 - 19 เมษายน ค.ศ. 1578) เป็นไดเมียวผู้ปกครองแคว้นเอะฉิโงะ และไดเมียวผู้ทรงอำนาจในยุคเซงโงะกุของญี่ปุ่น ได้รับฉายาว่า "มังกรแห่งเอะจิโงะ" และเทพแห่งสงคราม "บิชะมงเท็ง" (ตรงกับท้าวเวสสุวรรณของทางศาสนาพุทธ) ด้วยความศรัทธาของอุเอะซุงิ เค็งชิน ที่มีต่อเทพเจ้าบิชะมงเท็ง อุเอะซุงิ เค็งชิน เป็นคู่ปรับของไดเมียว ทะเคะดะ ชิงเง็น ผู้มีฉายาว่า "พยัคฆ์แห่งคะอิ" ซึ่งไดเมียวทั้งสองได้ทำศึกสงครามกันหลายครั้งและไม่สามารถเอาชนะกันได้อย่างเด็.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและอุเอะซุงิ เค็งชิง · ดูเพิ่มเติม »

องเมียวสะ

องเมียวสะ เป็นวงดนตรีแนวเจ-เมทัล ซึ่งประยุกต์เอาดนตรีเฮฟฟวี่ เมทัลผสมกับสำเนียงแบบเจ-ร็อค จากประเทศญี่ปุ่น ชื่อของวงเป็นการผสมคำระหว่าง "องเมียว " และ "การรวมกลุ่ม " ดังนั้นชื่อวงจึงอาจแปลเทียบเคียงได้ว่า "กลุ่มองเมียว" ในการแสดงสดสมาชิกในวงจะแต่งกายแบบย้อนยุค โดยจะใส่กิโมโนแบบยุคเฮอัน โลโก้เดิมของทางวงเป็นรูปดาว 5 แฉก โดยปรากฏบนหน้าปก 4 อัลบั้ม แรก ส่วนโลโก้ใหม่มีลักษณะคล้ายสัญลักษณ์ หยิน-หยาง เริ่มใช้ครั้งแรกบนบกอัลบั้มรวมฮิตของวงคือ In'you-Shugyoku และใช้โลโก้นี้จนถึงปัจจุบัน องเมียวสะเริ่มทำงานดนตรีอย่าจริงจังใน..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและองเมียวสะ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชิงะ

ังหวัดชิงะ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณภาคคันไซ มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโอสึ มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 4,017.36 ตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและจังหวัดชิงะ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชิซูโอกะ

ังหวัดชิซูโอกะ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในภูมิภาคชูบุ บนเกาะฮนชู เมืองหลักใช้ชื่อเดียวกันคือเมืองชิซูโอกะ (静岡市 Shizuoka-shi) จังหวัดนี้เป็นที่ตั้งของภูเขาฟูจิ (富士山 Fuji-san) และมีชื่อเสียงของการปลูกชาเขียวที่ดีที่สุดในญี่ปุ่น.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและจังหวัดชิซูโอกะ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเกะดะ ชิงเง็น

ทะเกะดะ ชิงเง็น ไดเมียวแห่งแคว้นคะอิ ผู้นำตระกูลทะเกะดะ เป็นไดเมียวคนสำคัญในยุคเซงโงะกุ ได้รับยกย่องว่าเป็นไดเมียวที่ยิ่งใหญ่และกล้าหาญที่สุดคนหนึ่ง และเป็นคู่แข่งคนสำคัญของโอดะ โนะบุนะงะในแถบภาคตะวันออกของญี่ปุ่น ได้รับฉายาว่า "พยัคฆ์แห่งคะอิ".

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและทะเกะดะ ชิงเง็น · ดูเพิ่มเติม »

ท่านหญิงโดตะ

ึ จังหวัดมิเอะ ท่านหญิงโดตะ (ไม่ทราบปีเกิด — 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2137) หรืออาจรู้จักในนาม คุณนายร้านดอกไม้ เป็นภริยารอง ของโอดะ โนบูฮิเดะ และเป็นมารดาของโอดะ โนบูนางะ ไดเมียวผู้มีชื่อเสียงแห่งยุคเซ็งโงก.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและท่านหญิงโดตะ · ดูเพิ่มเติม »

คิโยะซุ

มืองคิโยะซุ เป็นเมืองในจังหวัดไอชิ ประเทศญี่ปุ่น ในยุคคะมะกุระ คิโยะซุเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางสัญจรระหว่างเมืองคะมะกุระและเคียวโตะ โดยมีศาลเจ้าใหญ่อิเซะเป็นจุดแวะพัก จนกระทั่งในยุคมุโระมะชิ ก็มีการสร้างปราสาทคิโยะซุขึ้น ซึ่งได้กลายเป็นฐานที่มั่นของตระกูลโอะดะ ในยุคเซ็งโงะกุ ขุนพล โอะดะ โนะบุนะกะ ได้ใช้ปราสาทแห่งนี้ในการปกครองมณฑลโอะวะริ เมื่อเข้าสู่ยุคเอะโดะ โชกุน โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ก็ได้บัญชาให้รื้อปราสาทคิโยะซุไปตั้งไว้ที่เมืองนะโงะยะ ส่วนปราสาทคิโยะซุในปัจจุบันนี้ เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นใหม่เมื่อ..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและคิโยะซุ · ดูเพิ่มเติม »

คุโระดะ โยะชิตะกะ

ระดะ โยะชิตะกะ คุโระดะ โยะชิตะกะ หรือ คุโระดะ คัมเบ เป็นไดเมียวในยุคปลายเซ็งโงะกุจนถึงต้นยุคเอโดะและเป็นนักกลยุทธ์และที่ปรึกษาคนสำคัญของ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ เขาเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการที่มีความทะเยอทะยานอันยิ่งใหญ่ คุโรดะได้กลายมาเป็นชาวคริสต์เมื่อายุได้ 38 ปี และได้รับนามว่า ซิเมียน โจซุย เป็นนามที่รับมาจากพิธีจุ่มศีล คุโรดะ คัมเบ ยังได้รับการเคารพยกย่องจากนักรบของเขาในเรื่องของความเฉลียวฉลาดความกล้าหาญและความภักดี.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและคุโระดะ โยะชิตะกะ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลฟูจิวาระ

ฟูจิวาระ คามาตาริ ต้นตระกูลฟูจิวาระ ฟูจิวาระ เป็นกลุ่มขุนนางที่เคยมีอำนาจและอิทธิพลอย่างยิ่งใหญ่ต่อราชสำนักญี่ปุ่น ในยุคเฮอัง โดย ฟูจิวาระ โนะ โมโตสึเนะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคัมปากุ ซึ่งเป็นตำแหน่งขุนนางที่ทรงอิทธิพลที่สุด และคนของฟุจิวาระก็เข้ายึดครองอำนาจในราชสำนัก ทำให้กลายเป็นตระกูลทหารที่มีอำนาจสูงสุด ยาวนานกว่า 500 ปี โดยฟูจิวาระ ได้ผูกขาดตำแหน่งคัมปากุ เซ็สโช และไดโจไดจิงตลอด 500 ปี และยังให้บุตรสาวของตระกูลอภิเษกสมรสกับจักรพรรดิ เพื่อให้เชื้อสายของตนเองเป็นจักรพรรดิอีกด้วย อย่างไรก็ตามจักรพรรดิเชื้อสายฟูจิวาระได้หมดไปในภายหลัง พร้อม ๆ กับการล่มสลายของตระกูลฟูจิวาระที่ครองอำนาจกว่า 500 ปี ตระกูลฟูจิวาระล่มสลายลงไปปี..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและตระกูลฟูจิวาระ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลอาชิกางะ

ตราประจำตระกูลอาชิกางะ ตระกูลอาชิกางะ หรือ อาชิกากะ เป็นตระกูลของซามูไรญี่ปุ่น ซึ่งดำรงตำแหน่งโชกุนของรัฐบาลโชกุนอาชิกางะในยุคมูโรมาจิ เป็นผู้ปกครองประเทศญี่ปุ่นในทางพฤตินัย ตระกูลอาชิกางะสืบเชื้อสายมาจากตระกูลมินาโมโตะซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระจักรพรรดิเซวะ เรียกว่า ตระกูลเซวะเก็นจิ สาขาซึ่งตั้งรกรากอยู่ที่แคว้นคาวาจิ (จังหวัดโอซากะในปัจจุบัน) เรียกว่า ตระกูลคาวาจิเก็นจิ หนึ่งในสมาชิกของตระกูลคาวาจิเก็นจิ คือ มินาโมโตะ โนะ โยชิอิเอะ เป็นซามูไรที่มีชื่อเสียงในยุคเฮอัง มินาโมโตะ โนะ โยชิอิเอะ มีบุตรชายชื่อว่า มินาโมโตะ โนะ โยชิจิกะ เป็นปู่ทวดของโชกุนคนแรก มินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ นอกจากนี้ มินาโมโตะ โนะ โยชิอิเอะ ยังมีบุตรชายอีกคนชื่อว่า มินาโมโตะ โนะ โยชิกูนิ ซึ่งมินาโมโตะ โนะ โยชิกูนิ มีบุตรชายคนโตชื่อว่า มินาโมโตะ โนะ โยชิชิเงะ โยชิชิเงะเดินทางไปตั้งรกรากที่เมืองนิตตะ ในแคว้นโคซูเกะ ปัจจุบันคือเมืองโอตะจังหวัดกุมมะ เป็นบรรพบุรุษของตระกูลนิตตะ ตระกูลยามานะ และตระกูลโทกูงาวะ มินาโมโตะ โนะ โยชิกูนิ มีบุตรชายคนที่สอง ชื่อว่า มินาโมโตะ โนะ โยชิยาซุ โยชิยาซุเดินทางไปตั้งรกรากที่เมืองอาชิกางะ ในแคว้นชิมตสึเกะ (ปัจจุบันคือจังหวัดโทจิงิ) เป็นบรรพบุรุษของตระกูลอาชิกางะ มินาโมโตะ โนะ โยชิยาซุ มีบุตรชายชื่อว่า อาชิกางะ โยชิกาเนะ อาชิกางะ โยชิกาเนะ มีบทบาทและมีความดีความชอบต่อโชกุนคนแรก มินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ ในสงครามเก็มเป อาชิกางะ โยชิกาเนะ สมรสกับ โฮโจ โทกิโกะ ซึ่งเป็นบุตรสาวของโฮโจ โทกิมาซะ และเป็นน้องสาวของนางโฮโจ มาซาโกะ เท่ากับว่าอาชิกางะ โยชิกาเนะ เป็นน้องเขยของโชกุนมินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ แม้ว่าต้นตระกูลอาชิกางะจะมีผลงานโดดเด่นในสงครามเก็มเป แต่ตลอดยุคคามากูระ ตระกูลอาชิกางะมีบทบาททางการเมืองเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามรัฐบาลโชกุนคามากูระและตระกูลโฮโจยังคงให้เกียรติตระกูลอาชิกางะด้วยการส่งสตรีจากตระกูลโฮโจมาสมรสกับตระกูลอาชิกางะอย่างต่อเนื่อง ในยุคคามากูระ ผู้นำตระกูลอาชิกางะทุกคนมีภรรยาเอกมาจากตระกูลโฮโจ พงศาวลี ตระกูลอาชิกางะ และตระกูลสาขาย่อยต่าง ๆ นอกจากนี้ตระกูลอาชิกางะยังแตกสาขาย่อยออกไปเป็นตระกูลต่าง ๆ อีกมากมาย ได้แก.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและตระกูลอาชิกางะ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลทะเกะดะ

ตระกูลทะเกะดะ ตระกูลซะมุไรที่มีบทบาทตั้งแต่ช่วงปลายของ ยุคเฮอัง จนถึงช่วงปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 16 ตามประวัติศาสตร์ตระกูลทะเกะดะมีฐานที่มั่นอยู่ที่ แคว้นคะอิ ซึ่งปัจจุบันคือ จังหวัดยะมะนะชิ โดยมี มินะโมะโตะ โนะ โยะชิกิโยะ ซึ่งแยกตัวออกมาจาก ตระกูลมินะโมะโตะ เป็นผู้นำตระกูลคนแรกและสมาชิกของตระกูลทะเกะดะที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงมากที่สุดคือ ทะเกะดะ ชิงเง็น.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและตระกูลทะเกะดะ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลโอะดะ

ตราประจำตระกูลโอะดะ '''โอะดะ โนะบุนะงะ''' สมาชิกคนสำคัญของตระกูล ตระกูลโอะดะ เป็นตระกูลที่มีความสำคัญใน ยุคเซ็งโงะกุ เพราะเป็นตระกูลของ โอะดะ โนะบุนะงะ ไดเมียวคนสำคัญในยุคนั้นที่มีแนวความคิดจะรวม ญี่ปุ่น ให้เป็นหนึ่งเดียวแต่ยังไม่ทันสำเร็จก็ถูกฆ่าตายเสียก่อน หมวดหมู่:ตระกูลโอะดะ อโดะ.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและตระกูลโอะดะ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลโทะโยะโตะมิ

ตราประจำตระกูลโทะโยะโตะมิ ตระกูลโทะโยะโตะมิ เป็นตระกูลสำคัญใน ยุคเซ็งโงะกุ เพราะ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ซึ่งเป็นต้นตระกูลนั้นเป็นขุนศึกคนสำคัญของ โอะดะ โนะบุนะงะ ต่อมาเมื่อโนะบุนะงะสิ้นชีวิตฮิเดะโยะชิจึงขึ้นมามีอำนาจแทน และเมื่อขึ้นมามีอำนาจแล้วฮิเดะโยะชิก็ได้สืบทอดงานของโนะบุนะงะที่ทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จคือการรวมญี่ปุ่นให้เป็นหนึ่งเดียว แต่ตระกูลของเขาก็หมดอำนาจและสิ้นสุดลงในสมัยของ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ บุตรชายของเขาที่ ยุทธการเทนโนะจิ ในปี 1615 หมวดหมู่:ตระกูลโทะโยะโตะมิ ทโโยะโทะ.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและตระกูลโทะโยะโตะมิ · ดูเพิ่มเติม »

ซะนะดะ ยุกิมุระ

วาดในยุคเอโดะของซะนะดะ โนะบุชิเกะ ซะนะดะ ซะเอมงโนะซุเกะ ยุกิมุระ ค.ศ. 1567 - ค.ศ. 1615 ถือเป็นสุดยอดซามูไรชาวญี่ปุ่นแห่งยุคเซงโงะกุ เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของซะนะดะ มะซะยุกิ (พี่ชายคนโต: ซะนะดะ โนบุยุกิ) ซึ่งเป็นไดเมียวปกครองตระกูลซะนะดะ (ค.ศ. 1544 – ค.ศ. 1611) เดิมมีชื่อว่า "ซะนะดะ โนะบุชิเกะ "(真田信繁) ซึ่งถูกตั้งตามน้องชายของ "ทะเกะดะ ชิงเก็ง", "ทะเกะดะ โนะบุชิเกะ"(武田信繁) บิดาของยูกิมุระได้รับการขนานนามว่าเป็นยอดนักวางแผนการสงคราม ซึ่งกองทัพซะนะดะก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่โตนัก แต่กลับสามารถเอาชนะกองทัพขนาดใหญ่ได้ในการศึกมากมายหลายครั้ง ส่วนตัวของซะนะดะ ยุกิมุระ เองก็ได้รับการขนานนามไว้หลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น "วีรบุรุษผู้จะมาปรากฎในทุกๆ 100 ปี", "ปีศาจสีเลือดแห่งสงคราม" และ ชิมะซุ ทะดะสึเนะ ก็เรียกยุกิมุระว่า "นักรบอันดับ 1 แห่งญี่ปุ่น".

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและซะนะดะ ยุกิมุระ · ดูเพิ่มเติม »

ซามูไร

ซามูไรในชุดเกราะ ถ่ายในช่วงทศวรรษที่ 1860 โดย เฟรีเช บีอาโต ซามูไร แปลเป็นภาษาไทยว่าทหาร คำว่า ซามูไร มีต้นกำเนิดจากคำว่า ซะบุระอุ ซึ่งเป็นคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโบราณ ที่มีความหมายว่า รับใช้ ฉะนั้น ซามูไรก็คือคนรับใช้นั่นเอง.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและซามูไร · ดูเพิ่มเติม »

ซามูไรวอริเออร์

Samurai Warriors (戦国無双 Sengoku Musou) เป็นวิดีโอเกมส์แนวแอ็กชันที่สร้างและพัฒนาโดย Koei Samurai Warriors มีตัวละครส่วนใหญ่มาจากซามูไรและนินจาที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ซึ่ง Samurai Warriors เป็นเกมส์ที่มีต้นแบบมาจาก Dynasty Warriors ที่พัฒนาโดย Koei เช่นกัน.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและซามูไรวอริเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซามูไรทรูปเปอร์

ซามูไรทรูปเปอร์ (Ronin Warriors) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น แนวโชเน็น แต่งโดยยาทาเตะ ฮาจิเมะ ผลิตโดยบริษัทซันไรส์ ออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่น ทางสถานีนาโงยะ ทีวีและทีวีอาซาฮี ทุกวันเสาร์ เวลา 17.30-18.00 น. ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2531 ถึง 4 มีนาคม พ.ศ. 2532 มีความยาวทั้งสิ้น 39 ตอน และต่อมาสร้างเป็นโอวีเออีก 3 ภาคด้วยกัน ในปี พ.ศ. 2532 ถึง พ.ศ. 2534.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและซามูไรทรูปเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซานะดะ ยูคิมุระ (ตัวละครการ์ตูน)

ซานะดะ ยูคิมุระ ซานะดะ ซาเอมอนโนะสุเกะ ยูคิมุระ ตัวละครการ์ตูนจาก ซามูไรดีปเปอร์เคียว ซึ่งชื่อนำมาจากแม่ทัพ ซานะดะ ยูคิมุระ ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น บทบาทในการ์ตูนเรื่องซามูไรดีปเปอร์เคียวนั้นคือ ภายหลังจากที่แพ้สงครามที่ทุ่งเซะกิงะฮะระแล้ว ก็ได้หลบหนีไปยังภูเขาคุโดะ และวางแผนลอบสังหารโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ เสมอ แต่ไม่เคยได้ลงมือ ยูคิมุระเดินทางไปกับพวกเคียวเพื่อที่จะปราบตระกูลมิบุและโอดะ โนะบุนะงะ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการครองแผ่นดินมากขึ้น ยูคิมุระ มีผู้ติดตามที่ได้รับการขนานนามว่า สิบผู้กล้าซานะดะ ซึ่งล้วนแต่จงรักภักดีต่อเขาอย่างถวายหัวทั้งสิ้น ส่วนวิชาดาบของยูคิมุระนั้นไม่ปรากฏชื่อ นอกจากวิชาดาบแล้วเขายังได้ร่ำเรียนวิชาเนตรทิพย์มาจากอันริอีกด้วย หมวดหมู่:ตัวละครในซามูไร ดีปเปอร์เคียว en:List of Samurai Deeper Kyo characters#Sanada Yukimura.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและซานะดะ ยูคิมุระ (ตัวละครการ์ตูน) · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

ประตูซุซะกุ ประตูเมืองหลวงเฮโจวเกียว สมัยนะระ (บูรณะขึ้นมาใหม่) คลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ ในชุด ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ วาดเมื่อปี พ.ศ. 2369 โดยคะสึชิกะ โฮะกุไซ ประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น (ภาษาญี่ปุ่น: 日本の歴史; นิฮงโนะเระกิชิ).

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทกิฟุ

ป็นปราสาทประจำจังหวัดกิฟุ, ประเทศญี่ปุ่น.และถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญประจำจังหวัด ตัวปราสาทตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนภูเขาคินคะ ริมแม่น้ำนาการะ หากเดินทางโดยรถไฟมาจากเมืองนาโกย่าก็จะเห็นปราสาทกิฟุบนยอดเขาคินคะ ถือการต้อนรับเข้าสู่จังหวัดกิฟ.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและปราสาทกิฟุ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทอะซุชิ

ันไดหินขึ้นสู่ซากปราสาทอะซุชิ ซากของ ''เท็นชู'' หรือ keep ภาพวาดของปราสาท ปราสาทอะซุชิ เป็นหนึ่งในปราสาทหลักของโอะดะ โนะบุนะงะ สร้างขึ้นระหว่าง..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและปราสาทอะซุชิ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทโอซากะ

ปราสาทโอซากะ เป็นปราสาทญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในเขตชูโอ นครโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นปราสาทที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น มีบทบาทในช่วงสงครามการรวมประเทศญี่ปุ่นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในยุคอะซุชิ-โมะโมะยะม.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและปราสาทโอซากะ · ดูเพิ่มเติม »

ปืนคาบศิลา

ปืนคาบศิลาและดาบปลายปืน ปืนคาบศิลา (musket) เป็นปืนที่ใช้ดินปืน(ดิน"แรงดันต่ำ")ตำกรอกทางปากกระบอกปืน จากนั้นรอง"หมอน"นุ่น หรือผ้า แล้วใส่หัวกระสุนทรงกลม ปิดด้วยหมอนอีกชั้น ปืนชนิดนี้เมื่อบรรจุกระสุนไว้ต้องถือตั้งตรงตลอด ไม่งั้นกระสุนอาจไหลออกจากปากลำกล้อง เวลาจะยิงต้องใช้ หิน"คาบศิลา"(หินไฟ-Flint) ตอกกระทบโลหะ หรือกระทบกันเอง (มักทำเป็น คอนกติดหินไฟ ผงกด้วยสปริง) เพื่อจุดดินขับในถ้วยที่โคนปืน ให้ไฟแล่บติดดินขับ วิ่งเข้าไปทางรูที่ท้ายลำกล้อง แล้วจึงเกิดการลุกไหม้ในดินปืน ระเบิดกระสุนออกไป ปืนชนิดนี้เป็นต้นแบบของปืนไรเฟิลในปัจจุบันด้วย ไม่มีผู้ทราบว่าใครประดิษฐ์ขึ้น แต่ว่าในเอกสารทางการทหารของจีนได้มีการกล่าวถึงอาวุธชนิดหนึ่งเรียกว่า "หั่วหลงจิง (火龙经)" ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในแรกเริ่มปืนคาบศิลาไค้มีการออกแบบให้ใช้กับทหารราบเท่านั้น และได้มีการปรับปรุงขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม เช่นมีเกลียวในลำกล้อง การมีกล้องเล็ง มีกระสุนปลายแหลมซี่งแต่เดิมนั้นเป็นลูกกลมๆ และในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ก็มีการประดิษฐ์ปืนชนิดที่บรรจุกระสุนทางท้ายรังเพลิงปืนซึ่งแต่เดิมนั้นบรรจุกระสุนทางปากลำกล้องเข้ามาแทนที.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและปืนคาบศิลา · ดูเพิ่มเติม »

นาโงยะ

นครนาโงยะ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคชูบุ และมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกบนเกาะฮนชู เป็นเมืองเอกของจังหวัดไอชิและเป็นหนึ่งในเมืองท่าหลักของญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วย โตเกียว, โอซะกะ, โคเบะ, โยะโกะฮะมะ, ชิบะ และ คิตะกีวชู นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของเขตมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับสามของญี่ปุ่นที่เรียกว่า เขตมหานครชูเกียว ซึ่งมีประชากรกว่า 9.1 ล้านคน.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและนาโงยะ · ดูเพิ่มเติม »

นินจา

การวาดแม่แบบนินจาจากชุดสเก็ตช์ ("โฮะกุไซ มังงะ")โดย คะสึชิกะ โฮะกุไซ ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นบนกระดาษตอนที่ 6 ค.ศ. 1817 คุนะอิ '''คุนะอิ'''มีไว้ขุดหลุมหรือขว้างใส่ศัตรูเหมือนดาวกร.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและนินจา · ดูเพิ่มเติม »

นินจุสึ

นินจุสึ (คันจิ: 忍術, โรมะจิ: Ninjutsu) หมายถึง วิชาการต่อสู้ของนินจา เป็นวิชาการต่อสู้โบราณของญี่ปุ่น มีประวัติไม่แน่นอน แต่คาดกันว่ามีพระจาริกนำมาจากเมืองจีน และเมื่อได้เข้ามาในญี่ปุ่นก็ปรับเปลี่ยนไปตามประเพณีและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ในอดีตมีสำนักของนินจุสึอยู่ทั่วประเทศญี่ปุ่นกว่า 20 สำนัก กลุ่มของนินจาที่โด่งดังของญี่ปุ่นในอดีตได้แก่ อิกะ โคกะ ฟูมะ แต่หลังจากถูกกวาดล้างจากสงครามของโอดะ โนบุนากะที่ให้วิชาจำนวนมากหายสาบสูญไป ในบางช่วงของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นวิชานินจุสึถูกสั่งห้ามไม่ให้ฝึก ทำให้คนรู้จักวิชานี้หลงเหลืออยู่น้อยมาก.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและนินจุสึ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นมิโนะ

แผนที่ประเทศญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1868 แคว้นมิโนะแทนที่ด้วยสีแดง แคว้นมิโนะ หนึ่งในอดีตแคว้นศักดินาของญี่ปุ่นปัจจุบันคือทางตอนใต้ของ จังหวัดกิฟุ ซึ่งบางครั้งเรียก โนชู แคว้นมิโนะมีพรมแดนติดกับ แคว้นเอะชิเซ็น, แคว้นฮิดะ, แคว้นอิเสะ, แคว้นมิกะวะ, แคว้นโอมิ, แคว้นโอะวะริ และ แคว้นชินะโนะ ซึ่งเมืองเอกของแคว้นมิโนะคือ กิฟุ อันเป็นที่ตั้งของ ปราสาทอินะบะยะมะ หรือ ปราสาทกิฟุ ในปัจจุบัน ระหว่าง ยุคคะมะกุระ และ ยุคมุโระมะชิ แคว้นมิโนะถูกปกครองโดย ตระกูลโทะกิ ในภายหลังพอมาถึง ยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ ตกอยู่ภายใต้การปกครองของ โอะดะ โนะบุนะงะ เมื่อโนะบุนะงะเสียชีวิตใน..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและแคว้นมิโนะ · ดูเพิ่มเติม »

โมะริ รันมะรุ

ภาพวาดของโมะริ รันมะรุ โมะริ รันมะรุ เป็นลูกชายของ โมะริ โยะชินะริ และเป็นน้องชายของ โมะริ นะกะโยะชิ โมะริ รันมะรุ มีชื่อเดิมว่า โมริ นะกะซะดะ โดยรันมารุเกิดที่จังหวัดมิโนะ ในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวัยเด็กรันมารุเป็นผู้รับใช้ของ โอดะ โนะบุนะงะ ด้วยความที่โนะบุนะงะไว้ใจเขา จึงแต่งตั้งให้เขาเป็นผู้จัดกำลังที่น่าเชื่อถือ และหลังจากที่ ทะเกะดะ คะสึโยะริเสียชีวิต เขาได้รับรางวัล 50,000 โคคุที่ปราสาทอิวะมุระ รันมะรุและน้องชายของเขาร่วมกันปกป้องโอดะ โนะบุนะงะ และหลังจากนั้น โมะริ รันมะรุ ผูกมัดและฆ่าตัวตายโดยการคว้านท้องพร้อมกับโนะบุนะงะ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2108 มโมะริ รันมะรุ หมวดหมู่:บุคคลในยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ หมวดหมู่:ซะมุไร.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและโมะริ รันมะรุ · ดูเพิ่มเติม »

โยะโดะ โดะโนะ

นะ โยะโดะ โดะโนะ (ค.ศ. 1569 — 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1615) เป็นสตรีที่ทรงอำนาจในญี่ปุ่นยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ ในฐานะหลานสาวของ โอดะ โนะบุนะงะ ภรรยาน้อยของโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ และเป็นผู้นำในการต่อต้านการปกครองของรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะในช่วงแรก.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและโยะโดะ โดะโนะ · ดูเพิ่มเติม »

โอะอิชิ

ออิจิ โออิจิหรือโออิจิ-โนะ-กาตะ (ภาษาญี่ปุ่น:お市) (พ.ศ. 2090 - พ.ศ. 2126) เป็นบุคคลสำคัญในยุคเซงโงะกุและเธอยังเป็นมารดาในโยโดะ-โดโนะ,โอฮัทซึและโอเอะโยะ โออิจิเป็นน้องสาวของโอดะ โนะบุนะงะและเป็นน้องสะใภ้ของโนฮิเมะ ธิดาของไซโต้ โดซัน ไดเมียวแห่งแคว้นมิโนะ โออิจิเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในเรื่องความงามและมีเสน่ห์ นางยังเป็นทายาทของตระกูลไทระและตระกูลฟูจิวาร.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและโอะอิชิ · ดูเพิ่มเติม »

โอะดะ โนะบุยูกิ

อะดะ โนะบุยูกิ (Oda Nobuyuki, 1536 – 22 พฤศจิกายน 1557) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โอะดะ โนะบุคะสึ (Oda Nobukatsu) บุตรชายของ โอะดะ โนะบุฮิเดะ เจ้าแคว้นโอะวะริและเป็นน้องชายของ โอะดะ โนะบุนะงะ ต่อมาโนะบุยูกิได้ร่วมมือกับซะมุไรอีก 2 คนคือ ฮะยะชิ ฮิเดะซะดะ (Hayashi Hidesada) และ ชิบะตะ คะสึอิเอะ (Shibata Katsuie) ในการล้มล้างการปกครองของโนะบุนะงะผู้เป็นพี่ชายแต่ไม่สำเร็จโนะบุยูกิจึงถูกประหารเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและโอะดะ โนะบุยูกิ · ดูเพิ่มเติม »

โอะดะ โนะบุฮิเดะ

โอะดะ โนะบุฮิเดะ (Oda Nobuhide, 1510 – 8 เมษายน 1551) ขุนศึกและเจ้า แคว้นโอะวะริ ระหว่าง ยุคเซ็งโงะกุ เป็นบิดาของ โอะดะ โนะบุนะงะ หมวดหมู่:ซะมุไร หมวดหมู่:ไดเมียว หมวดหมู่:ตระกูลโอะดะ.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและโอะดะ โนะบุฮิเดะ · ดูเพิ่มเติม »

โอะเอะโยะ

โอะเอะโยะ เป็น มิได คนแรกของ รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ และมีศักดิ์เป็นหลานของ โอะดะ โนะบุนะงะ โอะเอะโยะ เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1573 เป็นบุตรสาวคนเล็กในบรรดา 3 คนของ อะซะอิ นะงะมะสะ จึงมีศักดิ์เป็นหลานของ โอะดะ โนะบุนะงะ เพราะแม่ของโอะเอะโยะคือ โออิจิ นั้นเป็นน้องสาวของโนะบุนะงะ โอะเอะโยะกับพี่สาวทั้งสองคือ โยะโดะ โดะโนะ และ โอะฮะซุ ต้องกำพร้าพ่อตั้งแต่เด็กโอะอิจิผู้เป็นแม่จึงพาทั้งสามมาอยู่กับโนะบุนะงะผู้เป็นลุง ต่อมาเมื่อโนะบุนะงะตายจากไปทั้งสามจึงมาอยู่กับ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ผู้ปกครองแผ่นดินคนต่อมาในฐานะลูกเลี้ยงแต่เธอไม่ถูกชะตากับฮิเดะโยะชิเพราะฮิเดะโยะชิทำให้แม่และพ่อเลี้ยงต้องตายและในเวลาต่อมาเธอได้แต่งงานกับญาติของเธอคือ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะคะซุ จนมีลูกสาว 1 คนแต่หลังจากนั้นฮิเดะคะซุ ก็ตายจากไปด้วยอาการป่วยระหว่างสงครามรุกรานเกาหลี ซึ่งก่อนหน้านั้นโอะเอะโยะได้เคยแต่งงานกับไดเมียวนามว่า ซะจิ คะซุนะริ ตามคำสั่งของโนะบุนะงะแต่ก็แยกจากกันไปหลังจากโนะบุนะงะได้ตายไป หลังจากฮิเดะคะซุตายไปโอะเอะโยะก็ได้แต่งงานครั้งที่ 3 กับ โทะกุงะวะ ฮิเดะทะดะ บุตรชายของ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ และมีบุตรชาย 2 คนคือ อิเอะมิสึ และ ทะดะนะงะ โอะเอะโยะถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ. 1626 ขณะอายุได้ 53 ปี หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2116 หมวดหมู่:บุคคลในยุคเอะโดะ.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและโอะเอะโยะ · ดูเพิ่มเติม »

โอซากะ

อซากะ เป็นเมืองที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสามนครเคฮันชิง ตั้งอยู่ในภาคคันไซบนเกาะฮนชู ในเขตจังหวัดโอซากะ เป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองที่มีสถานะเป็นนครโดยข้อบัญญัติรัฐบาลญี่ปุ่น นครโอซากะมีประชากรทั้งหมดประมาณ 2.7 ล้านคน แต่ในช่วงเวลาทำงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.7 ล้านคน ซึ่งเป็นรองเพียงแต่โตเกียวเท่านั้น อัตราส่วนประชากรกลางวันต่อกลางคืนเท่ากับ 141 เปอร์เซ็นต์ นครตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำโยะโดะ อ่าวโอซากะ และทะเลเซะโตะ โอซากะเป็นเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งการค้าและวัฒนธรรมเมืองหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น มีสมญาว่า ครัวของชาติ เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเอะโดะ และปัจจุบันเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและโอซากะ · ดูเพิ่มเติม »

โฮะโซะกะวะ กราเชีย

ซะกะวะ กราเชีย (พ.ศ. 2116-พ.ศ. 2153) หรือชื่อก่อนสมรสคือ อะเกะชิ ทะมะ เป็นบุตรสาวของอะเกะชิ มิสึฮิเดะ แต่งงานกับโฮะโซะกะวะ ทะดะโอะกิ เมื่อมิสึฮิเดะก่อกบฏที่วัดฮนโน นางก็กักขังตัวเองอยู่คนเดียวจนกระทั่งคืนดีกับทะดะโอะกิอีกครั้ง แล้วก็หันมานับถือศาสนาคริสต์ เข้ารับพีธีล้างบาปและเปลี่ยนชื่อเป็นกราเชีย กล่าวกันว่าเชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศ ฮิเดะโยะชิได้บูรณะปราสาทโอซะกะ (คฤหาสน์โฮโซะกะวะอยู่ทางใต้ของปราสาท) โฮะโซะกะวะ กราเชีย เดิมมีชื่อว่า อะเกะชิ ทะมะ เป็นบุตรสาวคนที่สามของ อะเกะชิ มิซึฮิเดะ กับนางซุมะกิ ฮิโระโกะ ภรรยาเอกของมิซึฮิเดะ ใน พ.ศ. 2125 เมื่ออายุเพียงสิบห้าปี ทะมะได้สมรสกับโฮะโซะกะวะ ทะดะโอะกิ ไดเมียวแห่งแคว้นทังโงะ ทางตอนเหนือของนครเกียวโตในปัจจุบัน และอีกเพียง 6 เดือนต่อมา อะเกะชิ มิซึฮิเดะ บิดาของนางทะมะได้ทำการล้อมฮนโนจิและสังหารโอะดะ โนะบุนะงะผู้เป็นนายของตน มิซึฮิเดะครองอำนาจอยู่เพียงสิบสองวัน ฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ ก็ได้ยกทัพมาทำการแก้แค้นให้แก่โนะบุนะงะ มิซึฮิเดะบิดาของนางทะมะเสียชีวิตในที่รบ นอกจากจะสูญเสียบิดาแล้ว นางทะมะยังถูกสังคมตราหน้าว่าเป็นธิดาของผู้ทรยศ ทะดะโอะกิสามีของนางทะมะซึ่งทั้งรังเกียจและสงสารนาง จึงได้ส่งนางทะมะไปเก็บตัวไว้ในกระท่อมบนเขาชื่อว่ามิโดะโนะ ในแคว้นทังโงะ เป็นเวลาสองปี จนกระทั่งพ.ศ. 2127 เมื่อการเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว ทะดะโอะกิจึงย้ายนางทะมะไปกักขังไว้ที่คฤหาสน์ตระกูลโฮะโซะกะวะในเมืองโอซะกะ สูสานของโฮะโซะกะวะ กราเชีย โฮะโซะกะวะ ทะดะโอะกิ ในระหว่างที่เก็บตัวอยู่ในเมืองโอซะกะนั้นเอง ข้ารับใช้ของนางทะมะชื่อว่า นางคิโยะฮะระ มาเรีย ผู้นับถือคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก ได้นำนางทะมะให้รู้จักกับคริสต์ศาสนา และจัดแจงให้นางทะมะได้มีโอกาสฟังธรรมจาก ทะกะยะมะ อุกง ไดเมียวผู้ศรัทธาในคริสต์ศาสนา นางทะมะได้ยึดถือคริสต์ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ในพ.ศ. 2130 โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ได้ประกาศกฎหมายยับยั้งการเผยแผ่คริสต์ศาสนา เป็นเหตุให้นางทะมะเกรงว่าตนจะไม่มีโอกาสได้ประกอบพิธีศีลจุ่มเข้ารีต เนื่องจากนางทะมะไม่สามารถออกจากบ้านไปพบบาทหลวงได้ นางมาเรียจึงเป็นผู้ประกอบพิธีศีลจุ่ม (Baptism) ชำระบาปให้แก่นางทะมะ และได้รับชื่อใหม่ว่า "กราเชีย" (Gracia) หรือออกเสียงเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "กะระชะ" ใน พ.ศ. 2153 หลังจากที่โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ถึงแก่อนิจกรรม ความขัดแย้งระหว่างอิชิดะ มิสึนะริ กับ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุก็เริ่มขึ้น อิเอะยะซุต้องการกองทัพ 1,600 คนจากทะดะโอะกิ ส่วนฝ่ายมิสึนะริประจำทัพที่ปราสาทโอะซะกะและรวบรวมพลกำลังพลเพื่อเตรียมการรบกับอิเอะยะซุ ทะดะโอะกิผู้เป็นสามีของกราเชียให้การสนับสนุนฝ่ายอิเอะยะซุ เมื่อสงครามเซะกิงะฮะระเริ่มขึ้น อิชิดะ มิซึนะริ มีนโยบายจับบุตรและภรรยาของไดเมียวผู้สนับสนุนอิเอะยะซุไว้เป็นตัวประกัน เพื่อให้ไดเมียวเหล่านั้นหันมาให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายตน แต่ทะดะโอะกิมีคำสั่งไว้ว่า หากมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ให้นางกราเชียทำอัตวินิบาตกรรมตามธรรมเนียมเพื่อที่จะไม่ถูกฝ่ายมิซึนะริจับไปเป็นตัวประกัน มิฉะนั้นจะฝากฝังให้ซะมุไรข้ารับใช้ที่ชื่อว่า โอะกะซะวะ โซไซ (Ogasawara Shōsai) เป็นผู้สังหารนางกราเชีย นางกราเชียได้ปรึกษาประเด็นนี้กับผู้รู้ทางคริสต์ศาสนา ต่างกล่าวย้ำแก่นางกราเชียว่าการฆ่าตัวตายนั้นเป็นบาปมหันต์ขัดกับหลักคริสต์ศาสนา แม้ว่าจะขัดกับหลักคริสต์ศาสนา แต่ตามธรรมเนียมของซะมุไรญี่ปุ่นโบราณ สตรีหากจะโดนจับกุมเป็นเชลยต้องชิงฆ่าตัวตายเสียก่อน เพื่อปกป้องเกียรติของตนเองและสามี นางกราเชียจึงได้ให้ โอะกะซะวะ โซไซ ใช้หอกแทงร่างกายของนางจนถึงแก่ความตายด้วยอายุ 37 ปี จากนั้นโอะกะซะวะ โซไซ จึงได้วางเพลิงเผาคฤหาสน์โฮะโซะกะวะจนวอดวายและทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิตตามไป หลังจากเพลิงสงบลง บาทหลวงเนชชี่-โซลโด ออร์กันติโน (Gnecchi-Soldo Organtino) มิชชันนารีชาวอิตาลีเป็นผู้เก็บกระดูกของนางกราเชียไปฟังไว้ที่โบสถ์คริสต์แห่งหนึ่งในเมืองซะไก ปีต่อมาพ.ศ. 2154 ทะดะโอะกิผู้เป็นสามีได้ย้ายเถ้ากระดูกของนางกราเชียไปฟังไว้ยังวัดโซเซ็ง-จิ ในเมืองโอซะกะ แต่ก็ปรากฏมีสุสานของนางกราเชียที่วัดไดโตะกุจิ ที่นครเกียวโตด้วยเช่นกัน โฮะโซะกะวะ กราเชีย มีบุตรธิดากับโฮะโซะกะวะ ทะดะโอะกิ ผู้เป็นสามีทั้งหมดห้าคน เป็นบุตรชายสามคน บุตรสาวสองคน บุตรชายคนที่สามชื่อว่า โฮะโซะกะวะ ทะดะโตะชิ ได้รับการแต่งตั้งเป็นไดเมียวปกครองปราสาทคุมะโมะโตะในพ.ศ. 2176 และสืบเชื้อสายปกครองปราสาทคุมะโมะโตะไปตลอดสมัยเอ.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและโฮะโซะกะวะ กราเชีย · ดูเพิ่มเติม »

โฮโจ อุจิมะซะ

อุจิมะซะ โฮโจ อุจิมะซะ เป็นไดเมียวที่ปกครองเขตคันโตของญี่ปุ่นในยุคเซงโงะก.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและโฮโจ อุจิมะซะ · ดูเพิ่มเติม »

โจโซะคะเบะ โมะโตะจิกะ

ซะคะเบะ โมะโตะจิกะ โจโซะคะเบะ โมะโตะจิกะ เป็นไดเมียว ญี่ปุ่นในยุคเซงโงกุที่ได้ครองทั้งเกาะชิโกก.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและโจโซะคะเบะ โมะโตะจิกะ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ อิเอมิตสึ

ทะกุงะวะ อิเอะมิสึ เป็น โชกุน คนที่ 3 แห่ง ตระกูลโทะกุงะวะ โดยท่านเกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1604 เป็นบุตรชายคนโตของโชกุนคนที่ 2 โทะกุงะวะ ฮิเดะทะดะ และเป็นหลานปู่ของโชกุนคนแรกของตระกูล โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ โดยท่านเป็นสมาชิกของตระกูลคนแรกที่เกิดในสมัย ที่ผู้เป็นปู่ได้เป็นโชกุนต่อมาเมื่อผู้เป็นบิดาได้ลงจากอำนาจในปี ค.ศ. 1623 ท่านก็ได้ขึ้นเป็นโชกุนคนใหม่ขณะอายุได้เพียง 19 ปีแต่อำนาจและอิทธิพลก็ยังคงอยู่ที่อดีตโชกุนฮิเดะทะดะผู้เป็นพ่อจนถึงปี ค.ศ. 1632 เมื่ออดีตโชกุนถึงแก่อสัญกรรม.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและโทกูงาวะ อิเอมิตสึ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ อิเอยาซุ

ทกูงาวะ อิเอยาซุ คือผู้สถาปนาบะกุฟุ (รัฐบาลทหาร) ที่เมืองเอะโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) และเป็นโชกุนคนแรกจากตระกูลโทกูงาวะที่ปกครองประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่สิ้นสุด ศึกเซะกิงะฮะระและเริ่มต้นยุคเอะโดะ เมื่อปี..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและโทกูงาวะ อิเอยาซุ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ ฮิเดตาดะ

ทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ เป็นโชกุนคนที่ 2 แห่ง ตระกูลโทะกุงะวะ โดยท่านเป็นบุตรชายคนที่ 3 ของ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1579 หลังจากผู้เป็นบิดาได้ลงจากตำแหน่งโชกุนในปี ค.ศ. 1605 ท่านจึงขึ้นดำรงตำแหน่งสืบต่อมาขณะอายุได้เพียง 26 ปี ในสมัยของท่านตระกูลโทะกุงะวะสามารถขยายอำนาจออกไปได้อย่างกว้างขวาง และลงจากอำนาจในปี ค.ศ. 1623 ขณะอายุได้ 44 ปีแต่ก็ยังทรงอิทธิพลอยู่ก่อนจะที่จะเสียชีวิตลงในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1632 ขณะอายุได้ 53 ปี.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและโทกูงาวะ ฮิเดตาดะ · ดูเพิ่มเติม »

โทะกุงะวะ มะซะโกะ

โทะกุงะวะ มะซะโกะ (Tokugawa Masako) จักรพรรดินีญี่ปุ่นใน จักรพรรดิโกะ-มิซุโนะ และทรงเป็นพระราชมารดาใน จักรพรรดินีเมโช ทรงเป็นธิดาของ โชกุน โทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ โชกุนคนที่ 2 แห่ง รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ ที่เกิดกับนาง โอะเอะโยะ พระนางจึงทรงมีศักดิ์เป็นหลานปู่ของ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ปฐมโชกุนแห่งเอะโดะบะคุฟุและหลานตาของ โอะดะ โนะบุนะงะ ซะมุไรผู้รวบรวมแผ่นดิน พระนางทรงได้เข้าถวายตัวเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1620 ขณะพระชนมายุเพียง 12 พรรษาและได้มีพระประสูติกาลเจ้าหญิงโอะกิโกะเมื่อ เดือนมกราคม ค.ศ. 1624 ขณะพระชนมายุเพียง 16 พรรษา หมวดหมู่:จักรพรรดินีญี่ปุ่น หมวดหมู่:บุคคลในยุคเอะโดะ.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและโทะกุงะวะ มะซะโกะ · ดูเพิ่มเติม »

โทะกุงะวะ ทะดะนะงะ

ทะกุงะวะ ทะดะนะงะ (Tokugawa Tadanaga) ไดเมียวแห่งแคว้นโคฟุ คนที่ 2 ในยุคเอ.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและโทะกุงะวะ ทะดะนะงะ · ดูเพิ่มเติม »

โนฮิเมะ

วาด โนฮิเมะ ปัจจุบันอยู่ในปราสาทกิฟุ โนฮิเมะ ("เจ้าหญิงโน") นามเดิมคือ คิโจ เป็นภริยาของโอะดะ โนะบุนะงะ ซึ่งเป็นไดเมียวที่มีชื่อเสียงในยุคเซงโกคุในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ชื่อจริงของเธอคือ คิโจ แต่เมื่อเธอเดินทางจากแคว้นมิโนะ ผู้คนก็รู้จักเธอในนาม โนฮิเมะ (เจ้าหญิงแห่งมิโนะ) เธอเป็นที่รู้จักในเรื่องความงามและความฉลาด บิดาของเธอคือ ไดเมียว ไซโต โดซัน มารดาของเธอเป็นที่รู้จักกันในนาม โอะมิ โนะ คะตะ โนฮิเมะมีบทบาทในทางประวัติศาสตร์น้อยมาก ไม่มีข้อมูลของเธอเกี่ยวกับวันเกิดและวันเสียชีวิต.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและโนฮิเมะ · ดูเพิ่มเติม »

ไทระ โนะ ชิกะซะเนะ

ทระ โนะ ชิกะซะเนะ (31 มีนาคม 1260 – 31 มีนาคม 1290) นักรบชาวญี่ปุ่นในช่วง ยุคกลาง เป็นเหลนของ ไทระ โนะ คิโยะโมะริ หลานของ ไทระ โนะ ชิเงะโมะริ และบุตรชายของ ไทระ โนะ ซุเกะโมะริ เขานับเป็นสมาชิกฝ่ายชายคนสุดท้ายของ ตระกูลไทระ นับตั้งแต่ลุงของเขาคือ ไทระ โนะ โคะเระโมะริ และญาติผู้พี่ของเขาคือ ไทระ โนะ โระกุได ถูกสังหาร โอะดะ โนะบุนะงะ ไดเมียวคนสำคัญใน ยุคเซ็งโงะกุ ได้อ้างว่าตนเองสืบเชื้อสายจากชิกะซะเน.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและไทระ โนะ ชิกะซะเนะ · ดูเพิ่มเติม »

ไดนาสตีวอริเออร์

Dynasty Warriors เป็นวิดีโอเกมแนวแอ็กชันที่สร้างและพัฒนาโดย Koei เนื้อเรื่องและตัวละครส่วนใหญ่ใน Dynasty Warriors มีต้นแบบมาจากวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก โดยก่อนหน้าที่จะสร้างเกมชุด Dynasty Warriors ขึ้นมานั้น Koei เคยสร้างเกมชุดอื่นที่มีต้นแบบมาจากสามก๊กที่ใช้ชื่อว่า Romance of the Three Kingdoms มาก่อน โดยเป็นเกมวางแผนการรบประเภททีละรอบ (Turn Based Strategy) ในภาคแรกของ Dynasty Warriors นั้นทางประเทศญี่ปุ่นให้ชื่อว่า Sangokumusō ซึ่งในภาคแรกนี้ภาพของเกมจะออกมาในรูปแบบ 2D (คล้ายเกมเทคเคน) และเป็นเกมแนวต่อสู้ แต่ในภาคต่อๆมานั้น Dynasty Warriors ได้เปลี่ยนให้ภาพออกมาในรูปแบบ 3D (คล้ายเกม GTA) รวมถึงเปลี่ยนออกมาเป็นเกมแนวแอ็กชันอาร์พีจี และยังได้เปลี่ยนชื่อเป็น Shin Sangokumusō ตั้งแต่ภาค 2 เป็นต้นมาด้วย เกมชุด ไดนาสตีวอริเออร์ ถือเป็นเกมที่ประสบความสำเร็จเกมนึงของ Koei โดยหากนับรวมเกมชุดทั้งภาคต่อและภาคย่อย ถึงปี 2554 มียอดขายไปแล้วมากกว่า 18 ล้านยูนิต.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและไดนาสตีวอริเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

เรียว อิชิบะชิ

รียว อิชิบะชิ เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและเรียว อิชิบะชิ · ดูเพิ่มเติม »

เปลวฟ้าผ่าปฐพี

ปลวฟ้าผ่าปฐพี เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น แนวโชเน็น เรื่องและภาพโดย โนบุยูกิ อันไซ ลิขสิทธิ์ในประเทศญี่ปุ่นโดยสำนักพิมพ์โชงะกุกังโตเกียวจำกัด ตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นซันเดย์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2545 ฉบับรวมเล่มมีทั้งหมด 33 เล่ม เปลวฟ้าผ่าปฐพีฉบับการ์ตูนมังงะ ถูกตีพิมพ์ในรูปแบบภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษา เช่นภาษาอังกฤษในแถบทวีปอเมริกาเหนือและภาษาไทย ระหว่างที่ตีพิมพ์ได้ถูกสร้างเป็นแอนิเมชัน โดยสตูดิโอปิเอโร ออกอากาศทางสถานีฟูจิทีวี ต่อมาถูกนำเอาเค้าโครงเรื่องทั้งหมด สร้างเป็นเกมบอยแอดวานซ์ และเพลย์สเตชัน 2 สำหรับผู้เล่นที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ในประเทศไทย เปลวฟ้าผ่าปฐพี ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ตีพิมพ์ฉบับภาษาไทยครั้งแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2541 ต่อมาถูกนำมาทำเป็นแอนิเมชันในรูปแบบวีซีดีจำนวน 21 แผ่น รวมทั้งสิ้น 42 ตอน และในรูปแบบดีวีดีจำนวน 9 แผ่น ส่วนฉบับแอนิเมชัน เคยอากาศทางยูบีซี ช่อง AXN ในช่วงปี พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542 และมีการนำมาฉายซ้ำอีกหลายครั้งด้วยกัน.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและเปลวฟ้าผ่าปฐพี · ดูเพิ่มเติม »

เนตรสยบมาร

นตรสยบมาร (Basilisk: The Kouga Ninja Scrolls) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นที่มีทั้งในรูปแบบมังงะและอะนิเมะ ฉบับมังงะเขียนโดยมาซากิ เซงาวะ ตีพิมพ์ในญี่ปุ่นช่วงปี..

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและเนตรสยบมาร · ดูเพิ่มเติม »

23 มิถุนายน

วันที่ 23 มิถุนายน เป็นวันที่ 174 ของปี (วันที่ 175 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 191 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: โอดะ โนบูนางะและ23 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

โอะดะ โนะบุนะกะโอะดะ โนะบุนะงะโอดะ โนะบุนะงะโอดะ โนบึนางะโอดะ โนบุนากะโนะบุนะงะ โอะดะโนบุนากะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »