เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

โลกที่หนึ่ง

ดัชนี โลกที่หนึ่ง

ติเป็นกลาง และประเทศไม่สังกัดพันธมิตรใด แนวคิดของ โลกที่หนึ่ง (First World) ถือกำเนิดขึ้นระหว่างสงครามเย็น เป็นคำซึ่งใช้เพื่ออธิบายถึงประเทศที่เข้าเป็นฝ่ายเดียวกับสหรัฐอเมริกา ประเทศเหล่านี้มักมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และมีระบบเศรษฐกิจทุนนิยม หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการสิ้นสุดของสงครามเย็น ความหมายของคำว่า "โลกที่หนึ่ง" ได้เปลี่ยนไปให้สามารถปรับใช้ได้กับยุคสมัย จากการจำกัดความดั้งเดิม คำว่า "โลกที่หนึ่ง" ได้มามีความหมายในทำนองเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว (ขึ้นอยู่กับว่ากำลังใช้คำจำกัดความใด) ประเทศโลกที่หนึ่งโดยทั่วไปมักมีเศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้าและมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงมาก ในอีกมุมมองหนึ่ง สหประชาชาติจำกัดความ "โลกที่หนึ่ง" ขึ้นอยู่กับความมั่งคั่งของรายรับและผลผลิตของชาติต่าง ๆ การจำกัดความของ "โลกที่หนึ่ง" ในปัจจุบัน จึงประจักษ์ชัดเจนน้อยกว่าระหว่างสงครามเย็น ความเคลื่อนไหวในระดับโลกระหว่างโลกที่หนึ่งและโลกอื่น ๆ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วน ความสัมพันธ์กับโลกที่สองเป็นไปในเชิงการแข่งขัน และความเป็นปรปักษ์ทางความคิด ความสัมพันธ์กับโลกที่สาม โดยปกติมักเป็นไปในเชิงบวกตามทฤษฎี ในขณะที่อาจมีความสัมพันธ์ในเชิงลบอยู่บ้างในทางปฏิบัติ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโลกในปัจจุบันมิได้เป็นไปอย่างตายตัวอย่างในอดีต ถึงแม้ว่าจะมีความไม่เสมอกันซึ่งโลกที่หนึ่งมีอิทธิพล ความมั่งคั่ง ข้อมูลข่าวสาร และความเจริญก้าวหน้าเหนือกว่าโลกอื่น ๆ โลกาภิวัตน์ได้เป็นปรากฏการณ์ที่ค่อย ๆ มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโลกที่หนึ่งและความเชื่อมโยงกับโลกอื่น ๆ ตัวอย่างของโลกาภิวัตน์ภายในโลกที่หนึ่ง คือ สหภาพยุโรป ซึ่งได้นำความร่วมมือและการบูรณาการเข้ามาสู่ภูมิภาคเป็นอันมาก บริษัทข้ามชาติยังเป็นตัวอย่างของผลกระทบของโลกที่หนึ่งซึ่งมีต่อโลกาภิวัตน์ เมื่อบริษัทเหล่านี้ได้นำมาซึ่งการรวมเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในหลายประเทศ ด้วยการเติบโตของบริษัทข้ามชาติมักมีปัญหาในกระบวนการติดต่อกับบุคคลที่สามในหลายประเทศโลกที่หนึ่ง.

สารบัญ

  1. 9 ความสัมพันธ์: มรดกของเลโอนิด เบรจเนฟลี กวนยูสหภาพโซเวียตอสัญกรรมและรัฐพิธีศพของเลโอนิด เบรจเนฟผู้นำสหภาพโซเวียตโลกที่สามโลกที่หนึ่งโลกตะวันตกโลกเสรี

มรดกของเลโอนิด เบรจเนฟ

วามเข้าใจอย่างเต็มรูปแบบเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสหภาพโซเวียตและสหพันธรัฐรัสเซีย อิทธิพลของเลโอนิด เบรจเนฟเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญในประวัติศาสตร์ เขาเป็นทั้งเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ (CPSU) และประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียต เลโอนิด เบรจเนฟ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่ปี..

ดู โลกที่หนึ่งและมรดกของเลโอนิด เบรจเนฟ

ลี กวนยู

ลี กวนยู (李光耀; พินอิน: Lǐ Guāngyào, หลี่ กวงเย่า; 16 กันยายน พ.ศ. 2466 — 23 มีนาคม พ.ศ. 2558) เป็นนักการเมืองชาวสิงคโปร์อีกทั้งยังเป็นนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนแรกซึ่งปกครองประเทศเป็นเวลาสามทศวรรษ เขาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์สมัยใหม่ เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเลขาธิการพรรคกิจประชาชน (People's Action Party) คนแรก และนำพรรคชนะการเลือกตั้งแปดครั้งตั้งแต่ปี 2502 ถึง 2533 และควบคุมการแยกสิงคโปร์จากประเทศมาเลเซียในปี 2508 และการแปลงจากด่านอาณานิคมค่อนข้างด้อยพัฒนาซึ่งไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเป็นเสือเอเชีย "โลกที่หนึ่ง" ในกาลต่อมา เขาเป็นบุคคลการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในทวีปเอเชียคนหนึ่ง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่สอง โก๊ะ จ๊กตง แต่งตั้งเขาเป็นรัฐมนตรีอาวุโสในปี 2533 เขาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีที่ปรึกษา ตั้งโดยบุตรของเขา ลี เซียนลุง เมื่อลี เซียนลุงเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สามของประเทศในเดือนสิงหาคม 2547 ด้วยตำแหน่งรัฐมนตรีติดต่อกันเป็นเวลากว่า 50 ปีของเขา ลียังเป็นรัฐมนตรีที่รับราชการนานที่สุดในประวัติศาสตร์คนหนึ่ง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2554 ลีและโก๊ะประกาศเกษียณจากคณะรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2554 แต่ลียังเป็นสมาชิกรัฐสภา ลีถูกรับเข้าโรงพยาบาลด้วยโรคปอดบวมที่โรงพยาบาลสิงคโปร์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ขณะติดเครื่องช่วยหายใจกล อาการของเขาเมื่อวันที่ 21 มีนาคมทรุดลงหลังป่วยอย่างหนักและเขาถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม.

ดู โลกที่หนึ่งและลี กวนยู

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ดู โลกที่หนึ่งและสหภาพโซเวียต

อสัญกรรมและรัฐพิธีศพของเลโอนิด เบรจเนฟ

วันที่ 10 พฤศจิกายน..

ดู โลกที่หนึ่งและอสัญกรรมและรัฐพิธีศพของเลโอนิด เบรจเนฟ

ผู้นำสหภาพโซเวียต

ใต้รัฐธรรมนูญปี 1977 ของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (สหภาพโซเวียต) ประธานสภารัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดเป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งประธานสภารัฐมนตรีนั้นเทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรีในโลกที่หนึ่ง ในขณะที่ประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดเทียบเท่าประธานาธิบดี ในประวัติศาสตร์เจ็ดสิบปีของสหภาพโซเวียตไม่มีผู้นำอย่างเป็นทางการในรัฐบาลสหภาพโซเวียต แต่ผู้นำโซเวียตมักจะนำประเทศผ่านตำแหน่งประธานสภารัฐมนตรีหรือเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (CPSU) ในอุดมการณ์ของวลาดิมีร์ เลนินประมุขแห่งรัฐโซเวียตเป็นแกนหลักของพรรคคอมมิวนิสต์ ในยุคสตาลินในปี1920 ได้มีการจัดตั้งตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งมวลสหภาพซึ่งมีอำนาจเหมือนกับตำแหน่งผู้นำของสหภาพโซเวียต เพราะตำแหน่งนั้นได้ควบคุมทั้ง CPSU และรัฐบาลของสหภาพโซเวียต ตำแหน่งเลขาธิการถูกยกเลิกภายในปี1952 และต่อมาได้จัดตั้งขึ้นใหม่โดยนิกิตา ครุสชอฟ ภายใต้ชื่อเลขานุการลำดับที่หนึ่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต; ในปี 1966 เลโอนิด เบรจเนฟ ได้ใช้ชื่อตำแหน่งใหม่ว่า เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต เลขาธิการเหมือนกับตำแหน่งผู้นำของสหภาพโซเวียตจนกระทั่ง1990ตำแหน่งเลขาธิการขาดแนวทางที่ชัดเจนของความสำเร็จดังนั้นหลังจากการตายหรือถูกกำจัดของผู้นำโซเวียตคนก่อนมักจะทายาทมักจะต้องการการสนับสนุนของโปลิตบูโร คณะกรรมการกลาง อีกทั้งต้องใช้เวลาและการมีอำนาจในพรรค ในมีนาคม 1990 ก็ถูกแทนที่ด้วยตำแหน่งประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต หลังการแต่งตั้งประธานาธิบดี ผู้แทนของสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนได้ลงมติให้ลบมาตรา 6 จากรัฐธรรมนูญของสหภาพโซเวียตที่ระบุว่าสหภาพโซเวียตเป็นรัฐหนึ่งของบุคคลที่ควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งในการเปิดให้ประชาชนมีบทบาทนำในสังคม มากขึ้นทำอำนาจพรรคคอมมิวนิสต์อ่อนแอลงและประชาชนเริ่มมีอำนาจมากขึ้น เมื่อประธานาธิบดีหรือรองประธานาธิบดีตาย,ลาออกหรือถอดถอนออกจากของสหภาพโซเวียตจะถือว่ายังมีอำนาจอยู่จนถึงการแต่งตั้งหรือตั้งเลือก แต่ก็ไม่ได้มีทดสอบเพราะสหภาพโซเวียตได้ล่มสลายก่อน หลังจากล้มเหลวในการรัฐประหารสิงหาคม รองประธานาธิบดีก็ถูกแทนที่ด้วยการเลือกตั้งจากสมาชิกสภาของสหภาพโซเวียต.

ดู โลกที่หนึ่งและผู้นำสหภาพโซเวียต

โลกที่สาม

คำว่า "โลกที่สาม" กำเนิดระหว่างสงครามเย็น นิยามประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ทั้งนาโตหรือกลุ่มคอมมิวนิสต์ สหรัฐ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ชาติยุโรปตะวันตกและพันธมิตรเป็นโลกที่หนึ่ง ส่วนสหภาพโซเวียต จีน คิวบาและพันธมิตรเป็นโลกที่สอง คำนี้เป็นวิธีจำแนกประเทษในโลกออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ โดยยึดการแบ่งแยกทางการเมืองและเศรษฐกิจ ปกติโลกที่สามถูกมองว่ารวมหลายประเทศอดีตอาณานิคมในทวีปแอฟริกา ละตินอเมริกา โอเชียเนียและเอเชีย บางครั้งถือเอาสมนัยกับประเทศในขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในทฤษฎีพึ่งพาของนักคิดอย่างราอูล พรีบิช (Raúl Prebisch), วัลเทอร์ รอดนีย์ (Walter Rodney), ทีโอโตนีโอ ดอส ซานโตส (Theotonio dos Santos) และอังเดร กุนเดอร์ แฟรงค์ โลกที่สามเชื่อมกับการแบ่งเศรษฐกิจเป็นประเทศ "ขอบนอก" ในระบบโลกที่มีประเทศ "แกน" ครอบงำ เนื่องจากประวัติศาสตร์ความหมายและบริบทที่วิวัฒนาอย่างซับซ้อน จึงไม่มีบทนิยามของ "โลกที่สาม" อย่างชัดเจนหรือเป็นที่ยอมรับ บางประเทศในกลุ่มคอมมิวนิสต์ เช่น คิวบา ถือว่าเป็น "โลกที่สาม" ่บ่อยครั้ง เพราะประเทศโลกที่สามยากจนทางเศรษฐกิจ ไม่เป็นอุตสาหกรรม จึงเป็นคำเหมาเรียกประเทศยากจนว่า "ประเทศโลกที่สาม" กระนั้น คำว่า "โลกที่สาม" ยังมักใช้รวมประเทศอุตสาหกรรมใหม่อย่างบราซิล อินเดียและจีนซึ่งปัจจุบันเรียกเป็นส่วนหนึ่งของ BRIC ในอดีต ประเทศยุโรปบางประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและประเทศเหล่านี้ส่วนน้อยที่ร่ำรวยมาก ได้แก่ ไอร์แลนด์ ออสเตรีย สวีเดน ฟินแลนด์และสวิสเซอร์แลนด์ ในช่วงทศวรรษหลังนับแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตและการสิ้นสุดของสงครามเย็น มีการใช้คำว่า "โลกที่สาม" แทนประเทศด้อยพัฒนา โกลบอลเซาท์ และประเทศกำลังพัฒนา แต่มโนทัศน์ดังกล่าวล้าสมัยแล้วในปีล่าสุดเพราะไม่เป็นตัวแทนของสถานภาพการเมืองหรือเศรษฐกิจของโลกอีกต่อไป หมวดหมู่:อภิธานศัพท์การเมือง หมวดหมู่:การจำแนกหมวดหมู่ประเทศ หมวดหมู่:การเมืองแบ่งตามภูมิภาค หมวดหมู่:อภิธานศัพท์สงครามเย็น.

ดู โลกที่หนึ่งและโลกที่สาม

โลกที่หนึ่ง

ติเป็นกลาง และประเทศไม่สังกัดพันธมิตรใด แนวคิดของ โลกที่หนึ่ง (First World) ถือกำเนิดขึ้นระหว่างสงครามเย็น เป็นคำซึ่งใช้เพื่ออธิบายถึงประเทศที่เข้าเป็นฝ่ายเดียวกับสหรัฐอเมริกา ประเทศเหล่านี้มักมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และมีระบบเศรษฐกิจทุนนิยม หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการสิ้นสุดของสงครามเย็น ความหมายของคำว่า "โลกที่หนึ่ง" ได้เปลี่ยนไปให้สามารถปรับใช้ได้กับยุคสมัย จากการจำกัดความดั้งเดิม คำว่า "โลกที่หนึ่ง" ได้มามีความหมายในทำนองเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว (ขึ้นอยู่กับว่ากำลังใช้คำจำกัดความใด) ประเทศโลกที่หนึ่งโดยทั่วไปมักมีเศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้าและมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงมาก ในอีกมุมมองหนึ่ง สหประชาชาติจำกัดความ "โลกที่หนึ่ง" ขึ้นอยู่กับความมั่งคั่งของรายรับและผลผลิตของชาติต่าง ๆ การจำกัดความของ "โลกที่หนึ่ง" ในปัจจุบัน จึงประจักษ์ชัดเจนน้อยกว่าระหว่างสงครามเย็น ความเคลื่อนไหวในระดับโลกระหว่างโลกที่หนึ่งและโลกอื่น ๆ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วน ความสัมพันธ์กับโลกที่สองเป็นไปในเชิงการแข่งขัน และความเป็นปรปักษ์ทางความคิด ความสัมพันธ์กับโลกที่สาม โดยปกติมักเป็นไปในเชิงบวกตามทฤษฎี ในขณะที่อาจมีความสัมพันธ์ในเชิงลบอยู่บ้างในทางปฏิบัติ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโลกในปัจจุบันมิได้เป็นไปอย่างตายตัวอย่างในอดีต ถึงแม้ว่าจะมีความไม่เสมอกันซึ่งโลกที่หนึ่งมีอิทธิพล ความมั่งคั่ง ข้อมูลข่าวสาร และความเจริญก้าวหน้าเหนือกว่าโลกอื่น ๆ โลกาภิวัตน์ได้เป็นปรากฏการณ์ที่ค่อย ๆ มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโลกที่หนึ่งและความเชื่อมโยงกับโลกอื่น ๆ ตัวอย่างของโลกาภิวัตน์ภายในโลกที่หนึ่ง คือ สหภาพยุโรป ซึ่งได้นำความร่วมมือและการบูรณาการเข้ามาสู่ภูมิภาคเป็นอันมาก บริษัทข้ามชาติยังเป็นตัวอย่างของผลกระทบของโลกที่หนึ่งซึ่งมีต่อโลกาภิวัตน์ เมื่อบริษัทเหล่านี้ได้นำมาซึ่งการรวมเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในหลายประเทศ ด้วยการเติบโตของบริษัทข้ามชาติมักมีปัญหาในกระบวนการติดต่อกับบุคคลที่สามในหลายประเทศโลกที่หนึ่ง.

ดู โลกที่หนึ่งและโลกที่หนึ่ง

โลกตะวันตก

ลกตะวันตก (Western world และอาจเรียก The West หรือ Occident) เป็นคำซึ่งใช้กล่าวถึงประเทศได้หลายประเทศ โดยประเทศที่หมายถึงอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของการใช้คำศัพท์ นอกจากนี้เป็นคำซึ่งมีคำจำกัดความอยู่มากมาย, Our Tradition; James Kurth; accessed 30 August 2011 แนวคิดส่วนของโลกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกมีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีกโรมันในยุโรปและการกำเนิดของศาสนาคริสต์Cambridge University Historical Series, An Essay on Western Civilization in Its Economic Aspects, p.40: Hebraism, like Hellenism, has been an all-important factor in the development of Western Civilization; Judaism, as the precursor of Christianity, has indirectly had had much to do with shaping the ideals and morality of western nations since the christian era.

ดู โลกที่หนึ่งและโลกตะวันตก

โลกเสรี

ลกเสรี (Free world) เป็นคำที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามเย็น โดยกลุ่มประเทศที่ไม่ได้ปกครองตามระบอบคอมมิวนิสต์ใช้เรียกตนเอง ซึ่งมักจะใช้เพื่อเทียบเคียงให้เห็นถึงเสรีภาพส่วนบุคคลของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ระหว่างโลกที่หนึ่งกับโลกที่สอง และรวมไปถึงสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย อย่างไรก็ตาม คำดังกล่าวไม่ได้ใช้กล่าวถึงประเทศที่ไม่ได้ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันเป็นพันธมิตรกับโลกเสรี อย่างเช่น ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา เนื่องจากบทบาทสำคัญของสหรัฐอเมริกาในสงครามเย็น ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาจึงถูกมองว่าเป็น "ผู้นำแห่งโลกเสรี" ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมหาอำนาจของการปกครองระบอบประชาธิปไตยสามารถแพร่ขยายแนวคิดประชาธิปไตยไปยังประเทศอื่น ๆ และถึงแม้ว่าสงครามเย็นจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่คำว่า "โลกเสรี" ก็ยังคงใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน.

ดู โลกที่หนึ่งและโลกเสรี

หรือที่รู้จักกันในชื่อ First World