โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรคโปลิโอ

ดัชนี โรคโปลิโอ

รคโปลิโอ (poliomyelitis, polio, infantile paralysis) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเฉียบพลันซึ่งติดต่อจากคนสู่คนทางอุจจาระ-ปาก ชื่อนี้มาจากภาษากรีกว่า (πολιός) หมายถึง สีเทา, (µυελός) หมายถึงไขสันหลัง และคำอุปสรรค -itis หมายถึงการอักเสบ การติดเชื้อโปลิโอกว่า 90% จะไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ โดยผู้ติดเชื้ออาจมีอาการได้หลายอย่างหากได้รับไวรัสเข้ากระแสเลือด ผู้ป่วย 1% จะมีการติดเชื้อไวรัสเข้าสู่ระบบประสาทกลาง ทำให้เซลล์ประสาทสั่งการถูกทำลาย ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงและอัมพาตอ่อนเปียก ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนแรงได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเส้นประสาทที่ถูกทำลาย รูปแบบที่พบบ่อยที่สุดคือโปลิโอไขสันหลัง ซึ่งทำให้มีอาการอ่อนแรงแบบไม่สมมาตรมักเป็นที่ขา โปลิโอก้านสมองส่วนท้ายทำให้เกิดการอัมพาตของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทสมอง โปลิโอไขสันหลังและก้านสมองส่วนท้ายจะทำให้มีอาการร่วมกันทั้งการอัมพาตก้านสมองส่วนท้ายและไขสันหลัง โรคโปลิโอค้นพบครั้งแรกเมื่อ..

26 ความสัมพันธ์: ATC รหัส J07ฟรีดา คาห์โลกระดูกสันหลังการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009การให้วัคซีนกีฬาคนพิการในประเทศไทยมหาวิทยาลัยซินซินแนติมหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ยิตซัก เพิร์ลแมนระยะฟักรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์วัคซีนวัคซีนโรคโปลิโอสถาบันปาสเตอร์อาร์เอ็นเอไวรัสอาร์เธอร์ ซี. คลาร์กความเจ็บปวดคาร์ล ลันด์สไตเนอร์ประวัติ วะโฮรัมย์โจนัส ซอล์กเอนเทอโรไวรัสเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสันเนลสัน แมนเดลาICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันICD-10 บทที่ 1: โรคติดเชื้อและโรคปรสิตบางโรค

ATC รหัส J07

วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) J ต้านการติดเชื้อทั้งระบบ (Anti-infectives for systemic use).

ใหม่!!: โรคโปลิโอและATC รหัส J07 · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีดา คาห์โล

ฟรีดา คาห์โล (Frida Kahlo) (6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2497) จิตรกรชาวเม็กซิโกแนวผสมแบบเหมือนจริง สัญลักษณนิยม และเหนือจริง เป็นผู้สนับสนุนคอมมิวนิสต์ ภรรยาของจิตรกรชาวเม็กซิกัน ดิเอโก ริเวรา (Diego Rivera) ฟรีดา คาห์โล มีลักษณะเด่นเป็นที่สังเกตได้จากไรหนวดและขนคิ้วดกชนกัน ชอบแต่งกายด้วยชุดฟูฟ่องแบบชุดเม็กซิกัน.

ใหม่!!: โรคโปลิโอและฟรีดา คาห์โล · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง มองจากด้านข้าง ส่วนต่างๆของแนวกระดูกสันหลัง ส่วนต่างๆกระดูกสันหลังหนึ่งชิ้น มองจากทางด้านข้าง กระดูกสันหลังส่วนคอ ชิ้นแรก มองจากทางด้านบน แนวกระดูกสันหลังส่วนคอตอนต้น แสดงกระดูกและเอ็นของข้อต่อบริเวณท้ายทอย กระดูกสันหลังส่วนอก มองจากทางด้านบน กระดูกสันหลัง (Vertebral column) ในกายวิภาคของมนุษย์ คือกระดูกแกนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนต้นคอ ลงมาจนถึงส่วนก้น ภายในมีไขสันหลัง ซึ่งอยู่ในช่องไขสันหลังอีกทีหนึ่ง.

ใหม่!!: โรคโปลิโอและกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นการระบาดทั่วโลกของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 สายพันธุ์ใหม่ หรือโดยทั่วไปมักเรียกว่า "ไข้หวัดหมู" เริ่มพบการระบาดตั้งแต่เดือนเมษายน..

ใหม่!!: โรคโปลิโอและการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 · ดูเพิ่มเติม »

การให้วัคซีน

การให้วัคซีน (vaccination) เป็นการรักษาทางการแพทย์อย่างหนึ่ง หมายถึงการให้สารที่เป็นแอนติเจน (วัคซีน) เข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันชนิดรับมา (adaptive immunity) เป็นแอนติบอดีที่มีความจำเพาะต่อเชื้อก่อโรคหนึ่งๆ ซึ่งจะสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคติดเชื้อได้ เมื่อมีสัดส่วนของประชากรที่ได้รับวัคซีนมากถึงระดับหนึ่งก็จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ขึ้น ทำให้คนอื่นๆ ที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือรับวัคซีนไม่ได้ ได้รับประโยชน์ในการป้องกันโรคจากผู้ที่มีภูมิคุ้มกันเหล่านี้ไปด้วย ประสิทธิผลของการให้วัคซีนนั้นได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางและเป็นที่ยืนยันแล้ว โดยพบว่าการให้วัคซีนเป็นวิธีการในการป้องกันโรคติดเชื้อที่ได้ผลดีที่สุด การมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อก่อโรคเป็นวงกว้างจากการให้วัคซีนนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษยชาติสามารถกำจัดเชื้อโรคบางอย่างให้หมดไปได้ เช่น ฝีดาษ และอีกหลายเชื้อที่กำลังจะหมดไป เช่น โปลิโอ หัด และบาดทะยัก เป็นต้น การปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษเป็นความพยายามครั้งแรกๆ ในการป้องกันโรคติดเชื้อโดยมนุษย์ และวัคซีนโรคฝีดาษก็เป็นวัคซีนชนิดแรกของโลกที่ถูกผลิตตามมา โดยถูกผลิตขึ้นใน..

ใหม่!!: โรคโปลิโอและการให้วัคซีน · ดูเพิ่มเติม »

กีฬาคนพิการในประเทศไทย

กีฬาคนพิการในประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ในการกำกับดูแลของ คณะกรรมการพาราลิมปิกประเทศไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นในรูปของมูลนิธิ โดยแบ่งความรับผิดชอบตามประเภทของความพิการ 5 รูปแบบคือ กีฬาคนตาบอด, กีฬาคนหูหนวก, กีฬาผู้พิการทางปัญญา, กีฬาผู้พิการทางสมอง, กีฬาความพิการแขนขา อัมพาต และโปลิโอ แต่ทั้งหมดยังคงอยู่กับสมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพียงองค์กรเดียว เพื่อรอการจัดตั้งสมาคมกีฬาขึ้นใหม่ สำหรับรองรับงานในอนาคต.

ใหม่!!: โรคโปลิโอและกีฬาคนพิการในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยซินซินแนติ

มหาวิทยาลัยซินซินแนติ (University of Cincinnati) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมือง ซินซินแนติ ในรัฐโอไฮโอ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819) ภายใต้ชื่อ วิทยาลัยซินซินแนติ และ วิทยาลัยแพทยศาสตร์โอไฮโอ ต่อมาได้ถูกรวมเข้าเป็นมหาวิทยาลัยซินซินแนติ ในปี พ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1870) เหมือนในปัจจุบัน นักศึกษาในมหาวิทยาลัยมีประมาณ 35,000 คน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2548) มหาวิทยาลัยซินซินแนติ มีชื่อเสียงในด้านในหลายคณะรวมถึง สถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอันดับสูงสุดสหรัฐอเมริกา โดยนิตยสารดีไซน์อินเทลลิเจนซ์ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงทางด้าน ดนตรี นิติศาสตร์ และ แพทยศาสตร์ ซึ่งวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ได้ถูกคิดค้นขึ้นในคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยซินซินแนติ แม็คมิคเกนฮอลล์ มหาวิทยาลัยซินซินแนต.

ใหม่!!: โรคโปลิโอและมหาวิทยาลัยซินซินแนติ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ

มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ (Case Western Reserve University หรือ CASE หรือ CWRU หรือ CASE WESTERN) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่เน้นทางด้านการวิจัย ตั้งอยู่ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2510 จากการรวมกันของสองสถาบันการศึกษาอันได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีเคส (Case Institute of Technology) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2423 โดยนาย ลีโอนาร์ท เคส จูเนียร์ (Leonard Case Jr) กับ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ (Western Reserve University) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2369 มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีนักศึกษาประมาณ 10,000 คน แบ่งเป็น นักศึกษาปริญญาบัณฑิต 4,386 คน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 5,640 คน และอาจารย์ประจำ 3,055 คน และเจ้าหน้าที่ 3,402 คน สำหรับปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยประจำปีคือ 968 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้รับเงินบริจาคประจำปีคือ 138.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินบริจาคมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นทางด้านการวิจัยเป็นอย่างมาก โดยตามรายงานประจำปี.

ใหม่!!: โรคโปลิโอและมหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์

มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ หรือ มูลนิธิเกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation, Gates Foundation ตัวย่อ BMGF) เป็นมูลนิธิเอกชนหรือส่วนบุคคลที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดตั้งโดยบิล เกตส์ และเมลินดา เกตส์ ในปี 2543 และกล่าวกันว่าเป็นมูลนิธิส่วนบุคคลที่ดำเนินการอย่างโปร่งใสที่ใหญ่ที่สุดในโลก จุดมุ่งหมายหลักของมูลนิธิก็คือ เพื่อปรับปรุงการบริหารสุขภาพและลดความยากจนทั่วโลก และในสหรัฐอเมริกา เพื่อขยายโอกาสการศึกษาและการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ มูลนิธิมีสำนักงานใหญ่ที่เมืองซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน และควบคุมโดยผู้จัดการดูแลทรัพย์สิน 3 ท่านคือ บิลกับเมลินดาเกตส์ และวอร์เรน บัฟเฟตต์ เจ้าหน้าที่หลักอื่น ๆ รวมทั้ง ประธานกรรมการร่วม วิลเลียม เอ็ช เกตส์ ซีเนียร์ (บิดาของนายเกตส์) และประธานบริหาร พญ.

ใหม่!!: โรคโปลิโอและมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ · ดูเพิ่มเติม »

ยิตซัก เพิร์ลแมน

ตซัก เพิร์ลแมน (יצחק פרלמן‎) นักไวโอลิน ผู้อำนวยเพลง และครูสอนดนตรีชาวอเมริกันเชื้อสายอิสราเอลที่มีชื่อเสียงในระดับโลก เพิร์ลแมนเกิดที่เมืองเทลอาวีฟ ดินแดนปาเลสไตน์ของอังกฤษ (ปัจจุบันคือประเทศอิสราเอล) เคยป่วยเป็นโปลิโอตั้งแต่อายุ 4 ขวบ แต่ได้รับการรักษาจนหายดี และเข้าเรียนไวโอลินที่สถาบันการดนตรีที่เทลอาวีฟ และได้รับทุนเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนจูลเลียร์ด เพิร์ลแมนออกแสดงในที่สาธารณะเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 18 ปี ที่คาร์เนกีฮอลล์ นิวยอร์ก และชนะเลิศการแข่งขัน Leventritt Competition ในปีถัดมา ปัจจุบันเขามีผลงานร่วมกับวง เซนต์หลุยส์ซิมโฟนี และนิวยอร์กฟิลฮาร์โมนิก ผลงานแสดงของเพิร์ลแมนที่มีชื่อเสียง คือการเล่นในพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ของบารัค โอบามา เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นการเล่นควอร์เทท ร่วมกับโย-โย มา (เชลโล) กาเบรียลา มอนเทอโร (เปียโน) และแอนโทนี แม็กกิล (คลาริเนต) และการบรรเลงที่ทำเนียบขาว ในงานเลี้ยงอาหารค่ำ เพื่อเป็นเกียรติแก่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2550.

ใหม่!!: โรคโปลิโอและยิตซัก เพิร์ลแมน · ดูเพิ่มเติม »

ระยะฟัก

ระยะฟักตัวคือช่วงเวลาระหว่างการสัมผัสสิ่งที่ทำให้เกิดโรค (เช่น เชื้อก่อโรค สารเคมี หรือรังสี เป็นต้น) กับการปรากฏอาการของโรค ในกรณีโรคติดเชื้อ ระยะฟักตัวคือระยะเวลาที่เชื้อเพิ่มจำนวนจนถึงจุดที่จะทำให้เกิดอาการในผู้ป่วยได้.

ใหม่!!: โรคโปลิโอและระยะฟัก · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (Nobelpriset i fysiologi eller medicin, Nobel Prize in Physiology or Medicine) จัดโดยมูลนิธิโนเบล มีการมอบทุกปีให้แก่การค้นพบที่โดดเด่นในสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิตและแพทยศาสตร์ รางวัลโนเบลสาขาดังกล่าวเป็นหนึ่งในห้าสาขา ริเริ่มในปี..

ใหม่!!: โรคโปลิโอและรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

วัคซีน

็กกำลังรับวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด วัคซีน (Vaccine) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้น ๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วัคซีนเริ่มมีการพัฒนาในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1770 โดยเอดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการสกัดเชื้อ cowpox เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ (small pox) ในมนุษย์ได้ วัคซีนในระยะเริ่มแรกเป็นการนำเชื้อมาทำให้ตายหรือการใช้เชื้อที่อ่อนฤทธิ์เท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์มาช่วยในการพัฒนาโดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และมีความพยายามพัฒนาวัคซีนโดยการสังเคราะห์แอนติเจนในการผลิตซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) อีกด้วย คำว่า "วัคซีน" (vaccine) ได้มาจากครั้งที่เอ็ดวาร์ดให้เชื้อ cowpox แก่มนุษย์ โดยคำว่า variolæ vaccinæ มาจากคำว่า vaccīn-us หรือ vacca ซึ่งแปลว่า cow หรือวัวซึ่งมีความสัมพันธ์กับเชื้อ cowpox.

ใหม่!!: โรคโปลิโอและวัคซีน · ดูเพิ่มเติม »

วัคซีนโรคโปลิโอ

วัคซีนโรคโปลิโอเป็นวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคโปลิโอ ชนิดหนึ่งใช้เชื้อไวรัสโปลิโอตายและให้โดยการฉีด (IPV) ส่วนอีกชนิดหนึ่งใช้เชื้อไวรัสโปลิโอเป็นและให้ทางปาก (OPV) องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เด็กทุกคนได้รับวัคซีนต้านโรคโปลิโอ วัคซีนทั้งสองชนิดกำจัดโรคโปลิโอไปจากส่วนใหญ่ของโลก และลดจำนวนผู้ป่วยต่อปีจากประมาณ 350,000 คนใน..

ใหม่!!: โรคโปลิโอและวัคซีนโรคโปลิโอ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันปาสเตอร์

ูนย์การแพทย์สถาบันปาสเตอร์ ถนนโวชิราด์ (Vaugirard) กรุงปารีส สถาบันปาสเตอร์ หรือสถานปาสเตอร์ (อังกฤษ: Pasteur Institute, ฝรั่งเศส: Institut Pasteur) เป็นองค์กรวิจัยซึ่งไม่หวังผลกำไร เริ่มดำเนินการขึ้นในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2430 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2431 วัตถุประสงค์ของสถาบันคือ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยในด้านชีววิทยา จุลชีพ โรค และวัคซีน ปัจจุบันมีสาขาในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ ผู้ก่อตั้งสถาบันคือ หลุยส์ ปาสเตอร์ นักเคมีชาวฝรั่งเศสผู้วางรากฐานการแพทย์สมัยใหม่ โดยได้คิดค้นการพาสเจอไรซ์ซึ่งเป็นเทคนิคการฆ่าเชื้อในอาหารแบบหนึ่ง นอกจากนี้เขายังได้คิดค้นวัคซีนต้านไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า และแบคทีเรียโรคแอนแทรกซ์ สถาบันปาสเตอร์ถือเป็นสถาบันแนวหน้าในการต่อสู้กับโรคติดต่อนานาชนิดมากว่าศตวรรษแล้ว เช่น โรคคอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ ตลอดจนเป็นสถานที่ทำงานของนักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลหลายคน.

ใหม่!!: โรคโปลิโอและสถาบันปาสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เอ็นเอไวรัส

อาร์เอ็นเอไวรัส (RNA virus) คือ ไวรัสที่มีอาร์เอ็นเอ (กรดไรโบนิวคลีอิก) เป็นสารพันธุกรรม กรดนิวคลีอิกนี้โดยปกติเป็นอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว (ssRNA) แต่ก็มีอาร์เอ็นเอสายคู่ (dsRNA) เช่นกัน โรคเด่นในมนุษย์ที่เกิดจากอาร์เอ็นเอไวรัส ได้แก่ ซาร์ส ไข้หวัดใหญ่ ตับอักเสบซี ไข้ไนล์ตะวันตก โปลิโอและหัด คณะกรรมการสากลฝ่ายไวรัสอนุกรมวิธานจำแนกอาร์เอ็นเอไวรัสอยู่ในกลุ่ม 3, 4 หรือ 5 ของระบบการจำแนกไวรัสบัลติมอร์ และไม่พิจารณาไวรัสซึ่งมีดีเอ็นเอระยะกลางในวงจรชีวิตว่าเป็นอาร์เอ็นเอไวรัส ไวรัสซึ่งมีอาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรม แต่มีดีเอ็นเอระยะกลางในวงจรการถ่ายแบบ เรียก รีโทรไวรัส ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม 6 ของการจำแนกแบบบัลติมอร์ รีโทรไวรัสที่เด่นในมนุษย์ ได้แก่ HIV-1 และ HIV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเอดส์ คำเรียกอาร์เอ็นเอไวรัสโดยไม่รวมรีโทรไวรัส คือ ไรโบไวรั.

ใหม่!!: โรคโปลิโอและอาร์เอ็นเอไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก

ซอร์ อาร์เธอร์ ชาลส์ คลาร์ก (Sir Arthur Charles Clarke; 16 ธันวาคม ค.ศ. 1917 - 19 มีนาคม ค.ศ. 2008) เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ซึ่งผลงานของเขาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด ได้แก่นิยายชุด จอมจักรวาล (Space Odyssey) และชุด ดุจดั่งอวตาร (Rendezvous with Rama) ผลงานเขียนนวนิยายของคลาร์ก มีความริเริ่มสร้างสรรค์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน สิ่งประดิษฐ์จำนวนมากได้แรงบันดาลใจจากนิยายของคลาร์ก เช่น ดาวเทียม การสำรวจอวกาศ ลิฟต์อวกาศ คลาร์ก อาศัยอยู่ที่กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา เขาเดินทางเข้ามาอยู่ประเทศนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 และพักอาศัยอยู่อย่างถาวรจนได้รับสัญชาติศรีลังกา ชาวศรีลังกาถือว่าเขาเป็น "ความภูมิใจของลังกา" มอบรางวัล The Lankabhimanaya award (Pride of Lanka) ให้เป็นเกียรติเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: โรคโปลิโอและอาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ความเจ็บปวด

วามเจ็บปวด (Pain) เป็นความทุกข์ทางกายที่เกิดเพราะสิ่งเร้าที่รุนแรงหรืออันตราย แต่เพราะมันเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน ที่เป็นอัตวิสัย การนิยามมันจึงเป็นเรื่องยาก องค์การมาตรฐานสากล International Association for the Study of Pain (IASP) ได้กำหนดนิยามที่ใช้อย่างกว้างขวางว่า "ความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสและทางอารมณ์ ที่สัมพันธ์กับโอกาสหรือการเกิดขึ้นจริง ๆ ของความเสียหายในเนื้อเยื่อ หรือที่บอกโดยใช้คำซึ่งกล่าวถึงความเสียหายเช่นนั้น" Derived from ในการวินิจฉัยทางการแพทย์ ความเจ็บปวดพิจารณาว่าเป็นอาการของโรคที่เป็นเหตุ ความเจ็บปวดปกติจะจูงใจให้บุคคลถอยตัวออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เสียหาย ให้ปกป้องรักษาอวัยวะที่บาดเจ็บเมื่อกำลังหาย และให้หลีกเลี่ยงประสบการณ์คล้าย ๆ กันในอนาคต ความเจ็บปวดโดยมากจะหายไปเองเมื่อหมดสิ่งเร้าอันตรายและเมื่อแผล/การบาดเจ็บหายดี แต่ก็อาจคงยืนต่อไปได้ ความเจ็บปวดบางอย่างสามารถเกิดแม้เมื่อไม่มีสิ่งเร้าอันตราย ไม่มีความเสียหาย และไม่มีโรค ในประเทศพัฒนาแล้ว ความเจ็บปวดเป็นเหตุสามัญที่สุดให้คนไข้หาหมอ มันเป็นอาการสามัญที่สุดในโรคต่าง ๆ และสามารถบั่นทอนคุณภาพและความเป็นอยู่ในชีวิตของคนไข้ ยาแก้ปวดธรรมดา ๆ ใช้ได้ในกรณี 20-70% ปัจจัยทางจิตอื่น ๆ รวมทั้งการได้ความช่วยเหลือจากสังคม การสะกดจิต ความตื่นเต้น หรือเครื่องล่อความสนใจต่าง ๆ มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความทุกข์เนื่องจากความเจ็บปว.

ใหม่!!: โรคโปลิโอและความเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล ลันด์สไตเนอร์

ร์ล ลันด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner; 14 มิถุนายน ค.ศ. 1868 – 26 มิถุนายน ค.ศ. 1943) เป็นแพทย์ชาวออสเตรีย/อเมริกัน เกิดที่เมืองบาเดินเบวีน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ใกล้กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน) เป็นบุตรของเลโอโปลด์และแฟนนี (นามสกุลเดิม เฮสส์) ลันด์สไตเนอร์ เรียนจบด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยเวียนนา ระหว่างปี..

ใหม่!!: โรคโปลิโอและคาร์ล ลันด์สไตเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติ วะโฮรัมย์

ประวัติ วะโฮรัมย์ ประวัติ วะโฮรัมย์ เกิดวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2524 เป็นนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทย เป็นคนจังหวัดสระแก้ว เป็นโปลิโอขาข้างขวา เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ที่โรงเรียนบ้านห้วยชัน ตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว และ ระดับมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 1 - 3 ที่โรงเรียนปากเกร็ด ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี.

ใหม่!!: โรคโปลิโอและประวัติ วะโฮรัมย์ · ดูเพิ่มเติม »

โจนัส ซอล์ก

นัส เอ็ดเวิร์ด ซอล์ก (Jonas Edward Salk; 28 ตุลาคม ค.ศ. 1914 – 23 มิถุนายน ค.ศ. 1995) เป็นนักวิจัยการแพทย์และนักวิทยาไวรัสชาวอเมริกัน เขาค้นพบและพัฒนาวัคซีนโรคโปลิโอสำเร็จครั้งแรก เขาเกิดในนครนิวยอร์ก เข้าศึกษาที่โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ต่อมาเลือกทำวิจัยการแพทย์แทนเป็นแพทย์เวชปฏิบัติ ซอล์กได้ปริญญาการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยนี้ แล้วใน..

ใหม่!!: โรคโปลิโอและโจนัส ซอล์ก · ดูเพิ่มเติม »

เอนเทอโรไวรัส

อนเทอโรไวรัส (Enterovirus) เป็นไวรัส อาร์เอ็นเอ สายเดี่ยว ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-30 นาโนมิเตอร์ เป็น ไวรัสเปลือย (non-enveloped virus หรือ naked virus) ทำให้ทนทานต่อสารละลายไขมัน เช่น แอลกอฮอล์ และ อีเทอร์ เชื้อไวรัส กลุ่มนี้ เกือบทั้งหมดอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ โดยแสดงอาการของโรคต่างกัน ไวรัสชนิดนี้ สามารถแพร่กระจายติดต่อถึงกันได้โดยตรงผ่านทางของเหลวต่างๆของร่างกาย ที่สำคัญ คือ การปนเปื้อนมาในอุจจาระของผู้ป่วย (fecal-oral transmission) ซึ่งถือได้ว่า เป็นการติดต่อที่สำคัญของไวรัสกลุ่ม เอนเทอโรไวรัส ทั้งหมด (คำว่า เอนเทอโร หมายถึง ทางเดินอาหาร, ติดต่อโดย ระบบทางเดินอาหารนั่นเอง) ถึงแม้ ไวรัสกลุ่มนี้จะเจริญได้ดีในทางเดินอาหาร แต่สามารถทำให้เกิดโรคได้หลายๆ อวัยวะที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร แล้วแต่ละ โรคอาจจะมีได้ตั้งแต่ความรุนแรงต่ำ โรคหายได้เองจนถึงความรุนแรงโรคสูงเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้.

ใหม่!!: โรคโปลิโอและเอนเทอโรไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน

นาย เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน (Henry Gustav Molaison, 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1926-2 ธันวาคม ค.ศ. 2008) หรือที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า "H.M." เป็นคนไข้ความจำเสื่อมชาวอเมริกันผู้ได้รับการตัดสมองกลีบขมับด้านในออกทั้งสองข้าง คือในส่วน 2/3 ด้านหน้าของฮิปโปแคมปัส, parahippocampal cortex, entorhinal cortex, piriform cortex, และอะมิกดะลา เพื่อที่จะบำบัดโรคลมชัก (epilepsy) มีการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะอาการของเขาอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: โรคโปลิโอและเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน · ดูเพิ่มเติม »

เนลสัน แมนเดลา

นลสัน โรลีลาลา แมนเดลา (คอซา: Nelson Rolihlahla Mandela) เกิดวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 ที่ดินแดนปกครองตนเองทรานสไก ประเทศแอฟริกาใต้ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในช่วงปี..

ใหม่!!: โรคโปลิโอและเนลสัน แมนเดลา · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: โรคโปลิโอและICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 1: โรคติดเชื้อและโรคปรสิตบางโรค

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: โรคโปลิโอและICD-10 บทที่ 1: โรคติดเชื้อและโรคปรสิตบางโรค · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Poliomyelitisโรคโปลิโอเฉียบพลันโปลิโอ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »