โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรคเกาต์

ดัชนี โรคเกาต์

รคเกาต์ (หรือที่รู้จักกันในนาม โพดากรา เมื่อเกิดกับนิ้วหัวแม่เท้า) เป็นภาวะความเจ็บป่วยที่มักสังเกตได้จากอาการไขข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันซ้ำ ๆ—มีอาการแดง ตึง แสบร้อน บวมที่ข้อต่อ ข้อต่อกระดูกฝ่าเท้า-นิ้วเท้าที่โคนนิ้วหัวแม่เท้ามักได้รับผลกระทบบ่อยที่สุด (ประมาณ 50% ของผู้ป่วย) นอกจากนี้ ยังอาจพบได้ในรูปแบบของก้อนโทไฟ นิ่วในไต หรือ โรคไตจากกรดยูริก โรคนี้เกิดจากการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง กรดยูริกตกผลึกแล้วมาจับที่ข้อต่อ เส้นเอ็น และ เนื้อเยื่อโดยรอบ การวินิจฉัยทางคลินิกทำได้โดยการตรวจผลึกที่มีลักษณะเฉพาะในน้ำไขข้อ รักษาได้โดยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) สเตอรอยด์ หรือ โคลชิซีน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ หลังจากอาการข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันผ่านไปแล้ว ระดับของกรดยูริกในเลือดมักจะลดลงได้โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และในผู้ที่มีอาการกำเริบบ่อยอาจใช้อัลโลพูรินอลหรือโพรเบเนซิดเพื่อให้การป้องกันในระยะยาว จำนวนผู้ป่วยโรคเกาต์เพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายสิบปีนี้ โดยมีผลกระทบกับ 1-2% ของชาวตะวันตกในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้เชื่อว่าเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงที่พบมากขึ้นในประชากร ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มอาการเมตาบอลิก อายุขัยที่ยืนยาวขึ้น และ พฤติกรรมการกินอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป แต่เดิมนั้นโรคเกาต์เคยได้ชื่อว่าเป็น "โรคของราชา" หรือ "โรคของคนรวย".

30 ความสัมพันธ์: ATC รหัส M04ฟิลิป แอสต์ลีย์พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศสพิวรีนกรดยูริกกาแฟมหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ยาโกบ ยอร์ดานส์รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดหนิงหน่อง เพชรพิณทองอะคิพิม็อกซ์ผักโขมผักเหมียงผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์ถุงน้ำแกงเกลียนข้ออักเสบคาโรลัส ลินเนียสนอสตราเดมัสนัดกับนัดแอนน์แห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษโรคนิ่วไตโรคไตโคลชิซีนไฟฟ้าไข้เห็ดหลินจือICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันICD-10 บทที่ 4: โรคของต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึมThe China Study

ATC รหัส M04

วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) M ระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้าง (Musculo-skeletal system).

ใหม่!!: โรคเกาต์และATC รหัส M04 · ดูเพิ่มเติม »

ฟิลิป แอสต์ลีย์

ฟิลิป แอสต์ลีย์ (Philip Astley; 8 มกราคม พ.ศ. 2285 — 27 มกราคม พ.ศ. 2357) ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็น "บิดาแห่งละครสัตว์สมัยใหม่" ฟิลิป แอสต์ลีย์ เกิดที่เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรชายของช่างทำตู้ เมื่ออายุได้ 9 ขวบได้เริ่มฝึกหัดงานกับบิดา แต่ความฝันของแอสต์ลีย์กลับอยากทำงานที่เกี่ยวกับม้า ดังนั้นแอสต์ลีย์จึงเข้าร่วมเป็นทหารในกรมทหารม้าเบาที่ 15 ของพันเอกเอเลียตเมื่ออายุ 17 ปี และต่อได้เลื่อนเป็นสิบตรี แอสต์ลีย์ได้เข้าร่วมรบในสงครามฝรั่งเศสและสงครามอินเดีย อาชีพทหารของแอสต์ลีย์ได้ช่วยให้เขาได้พบปะและติดต่อกับนักฝึกม้าและนักขี่มืออาชีพหลายคนซึ่งแอสต์ลีย์เองก็เป็นนักขี่ม้าตัวยงอยู่ด้วยแล้ว แอสต์ลีย์มีความเป็นอัจฉริยะในการขี่ม้าแบบผาดโผน เขาได้เห็นนักขี่ม้าผาดโผนได้รับความสนใจมากจากคนดูที่อิสลิงตัน จึงได้ความคิดที่จะเปิดสอนโรงเรียนสอนการขี่ม้าในลอนดอน ที่ที่ซึ่งแอสต์ลีย์สามารถเปิดการแสดงการขี่ม้าผาดโผนไปพร้อมกันได้ด้วย ในปี พ.ศ. 2311 หรือประมาณเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 ได้หนึ่งปี แอสต์ลีย์ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนขี่ม้าขึ้นที่ตอนใต้ของสะพานเวสมินสเตอร์ในลอนดอนโดยทำการสอนในช่วงเช้าและเปิดการแสดง "ความแกล้วกล้าของนักขี่ม้า" ในช่วงบ่าย แอสต์ลีย์เรียกลานสนามที่จัดแสดงว่า "เซอร์คัส" (circus -แปลว่าวงกลมหรือวงเวียน) เนื่องจากรูปร่างกลมของสนามแสดง แอสต์ลีย์เลือกลานกลมด้วยเหตุผลสองประการคือ ประการแรกเป็นการการง่ายที่จะทำให้ผู้ชมมองเห็นนักขี่ได้ตลอดเวลา และประการที่สอง วงกลมจะทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ที่ช่วยให้การยืนขี่ขณะม้าวิ่งควบเป็นวงโค้งได้มั่นคงขึ้น หลังจากแสดงต่อเนื่องมาหลายปี แอสต์ลีย์ได้ต่อเติมชาน ที่นั่งและหลังคาให้กับลานแสดงของเขา ทวิอัฒจันทร์ของแอสต์ลีย์ในลอนดอนประมาณ พ.ศ. 2351 ลานกลมละครสัตว์โรงแรกของแอสต์ลีย์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 เมตร แต่ในที่สุดมาลงตัวที่ 13 เมตร ซึ่งกลายเป็นมาตรฐานนานาชาติในเวลาต่อมา แอสต์ลีย์เริ่มทำเงินได้มากขึ้นเรื่อยๆ และมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้น แต่อย่างไรก็ดี หลังจากเปิดการแสดงได้สองฤดู แอสต์ลีย์จำต้องนำสิ่งแปลกใหม่เข้ามาร่วมการแสดงร่วมเพื่อไม่ให้คนดูเบื่อ เขาเริ่มจ้างนักขี่ม้าอาชีพเพิ่มขึ้น จ้างนักดนตรี ตัวตลก นักแสดงปาหี่ นักแสดงการตีลังกา นักเดินไต่เส้นลวดและสุนัขเต้นระบำมาร่วมรายการด้วย ซึ่งนับเป็นการวางรากฐานรูปแบบละครสัตว์สมัยใหม่อย่างเป็นอยู่ในปัจจุบัน ละครสัตว์ของแอสต์ลีย์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจนถึงกับได้รับเชิญให้ไปแสดงหน้าพระที่นั้งของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสที่พระราชวังแวร์ซาย เมื่อ พ.ศ. 2265 ในปีต่อมาแอสต์ลีย์ได้สร้าง "ทวิอัฒจันทร์" (Amphitheatre) ของเขาขึ้นแต่ก็ถูกไฟใหม้เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2267 แต่เขาก็สร้างมันขึ้นมาใหม่หลังจากถูกไฟไหม้หลายครั้ง, และด้วยความมั่งคั่งมันได้กลายเป็น "ราชทวิอัฒจรรย์แอสต์ลีย์" แอสต์ลีย์ได้เปิดการแสดงละครสัตว์ปารีสขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2325 ซึ่งเรียกกันว่า "ทวิอัฒจันทร์อองแกลส์" (Amphitheatre Anglais) หลังจากนั้นก็ได้มีผู้เปิดการแสดงละครสัตว์ขึ้นหลายแห่งซึ่งนำไปสู่การมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก คู่แข่งสำคัญคนแรกของแอสต์ลีย์คือนักขี่ม้าอาชีพชื่อชาลส์ ฮิวส์ซึ่งเคยทำงานกับแอสต์ลีย์มาก่อน และด้วยความร่วมมือกับชาลส์ ดิบดินนักแต่งละครแพนโทไมม์หรือละครใบ้โบราณผู้มีชื่อเสียง ฮิวส์ได้เปิดอัฒจรรย์ขึ้นมาแข่งในลอนดอนซึ่งดิบดินตั้งชื่อว่า "สำนักดุริยางค์อาชาราชละครสัตว์" (Royal Circus and Equestrian Philharmonic Academy) แอสต์ลีย์เองก็ได้เปิดโรงละครสัตว์ขึ้นอีก 18 แห่งในเมืองต่างๆ ของยุโรปและได้รับการอุปถัมภ์จากราชวงศ์หลายราชวงศ์ แอสต์ลีย์มีชื่อเสียงมากและร่ำรวยจนน่าอิจฉา แต่เขาไม่เคยใช้สัตว์ป่ามาแสดงเลยจนกระทั่งเมื่อ 14 ปีหลังการตายของเขาในปารีสเมื่ออายุได้ 72 ปี ด้วยโรคเกาท์ในกร.

ใหม่!!: โรคเกาต์และฟิลิป แอสต์ลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส (Louis XVIII de France; หลุยส์ดีซุยต์เดอฟร็องส์; หลุยส์ สตานิสลาส กซาวีเย, 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1755 - 16 กันยายน ค.ศ. 1824) ซึ่งทรงเป็นที่รู้จักว่า "ผู้ปรารถนา" (le Désiré) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์บูร์บงผู้ครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและนาวาร์ตั้งแต..

ใหม่!!: โรคเกาต์และพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พิวรีน

#Traube purine synthesis --> พิวรีน (purine) เป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภทเฮเตอโรไซคลิกและอะโรมาติก ที่มีวงแหวนไพริมิดีน (pyrimidine) เชื่อมกับวงแหวนอิมิดาโซล และให้ชื่อของมันกับกลุ่มโมเลกุลที่เรียกว่า พิวรีน ซึ่งรวมพิวรีนที่มีการแทนที่โครงสร้างและเทาโทเมอร์ ต่าง ๆ ของพิวรีน เป็นสารประกอบเฮเตอโรไซคลิกแบบมีไนโตรเจนที่มีมากที่สุดในธรรมชาติ และละลายน้ำได้ พิวรีนพบอย่างเข้มข้นในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อ โดยเฉพาะเครื่องในรวมทั้งตับไต โดยทั่วไปแล้ว พืชผักจะมีพิวรีนต่ำ ตัวอย่างของอาหารที่มีพิวรีนสูงรวมทั้ง ต่อมไทมัส ตับอ่อน ปลาแอนโชวี่ ปลาซาร์ดีน ตับ ไตของวัวควาย สมอง สารสกัดจากเนื้อ ปลาเฮร์ริง ปลาแมกเคอเรล หอยเชลล์ เนื้อสัตว์ที่ล่าเพื่ออาหารหรือเพื่อการกีฬา เบียร์ (โดยได้จากยีสต์) และน้ำเกรวี อาหารที่มีพิวรีนกลาง ๆ รวมทั้ง เนื้อวัวควาย เนื้อหมู ปลาและอาหารทะเล ผักแอสพารากัส ต้นกะหล่ำดอก ผักโขมจีน เห็ด ถั่วลันเตา ถั่วเล็นทิล ถั่ว ข้าวโอ๊ต รำข้าวสาลี และจมูกข้าวสาลี พิวรีนและไพริมิดีนเป็นกลุ่มสองกลุ่มของเบสไนโตรเจน (nitrogenous base) และก็เป็นกลุ่มสองกลุ่มของเบสนิวคลีโอไทด์ (nucleotide base/nucleobase) ด้วย deoxyribonucleotide 2 อย่างใน 4 อย่าง คือ deoxyadenosine และ guanosine, ribonucleotide 2 อย่างใน 4 อย่าง คือ adenosine/adenosine monophosphate (AMP) และ guanosine/guanosine monophosphate (GMP) ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอตามลำดับ ก็เป็นพิวรีน เพื่อจะสร้างดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ เซลล์จำเป็นต้องใช้พิวรีนและไพรมิดีนเป็นจำนวนพอ ๆ กัน ทั้งพิวรีนและไพริมิดีนต่างก็เป็นสารยับยั้งและสารก่อฤทธิ์ต่อพวกตนเอง คือ เมื่อพิวรีนก่อตัวขึ้น มันจะยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้สร้างพิวรีนเพิ่ม พร้อมกับก่อฤทธิ์ของเอนไซม์ที่ใช้สร้างไพริมิดีน และไพริมิดีนก็ทั้งยับยั้งตนเองและออกฤทธิ์ให้สร้างพิวรีนในลักษณะเช่นเดียวกัน เพราะเหตุนี้ จึงมีสารทั้งสองอยู่ในเซลล์เกือบเท่า ๆ กันตลอดเวล.

ใหม่!!: โรคเกาต์และพิวรีน · ดูเพิ่มเติม »

กรดยูริก

กรดยูริก (Uric acid) เป็นสารประกอบเฮเทอโรไซคลิก (heterocyclic) ที่มีคาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน และไฮโดรเจน โดยมีสูตรเคมีเป็น C5H4N4O3 มันมีรูปแบบทั้งเป็นไอออนและเกลือที่เรียกว่าเกลือยูเรต (urate) และเกลือกรดยูเรต (acid urate) เช่น ammonium acid urate กรดยูริกเป็นผลของกระบวนการสลายทางเมแทบอลิซึมของนิวคลีโอไทด์คือพิวรีน (purine) และเป็นองค์ประกอบปกติของปัสสาวะ การมีกรดยูริกในเลือดสูงอาจทำให้เกิดโรคเกาต์ และสัมพันธ์กับโรคอื่น ๆ รวมทั้งโรคเบาหวาน และนิ่วในไตที่เกิดจาก ammonium acid urate.

ใหม่!!: โรคเกาต์และกรดยูริก · ดูเพิ่มเติม »

กาแฟ

กาแฟดำ ซึ่งบรรจุในถ้วย กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดซึ่งได้จาก ต้นกาแฟ หรือมักเรียกว่า เมล็ดกาแฟ คั่ว มีการปลูกต้นกาแฟในมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก กาแฟเขียว (กาแฟซึ่งยังไม่ผ่านการคั่ว) เป็นหนึ่งในสินค้าทางการเกษตรซึ่งมีการซื้อขายกันมากที่สุดในโลก กาแฟมีส่วนประกอบของคาเฟอีน ทำให้มีสรรพคุณชูกำลังในมนุษย์ ปัจจุบันกาแฟเป็นเครื่องดื่มซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เป็นที่เชื่อกันว่าสรรพคุณชูกำลังจากเมล็ดของต้นกาแฟนั้นถูกพบเป็นครั้งแรกใน เยเมน แถบอาระเบีย และทางตะวันออกเฉียงเหนือของ เอธิโอเปีย และการปลูกต้นกาแฟในสมัยแรกได้แพร่ขยายในโลกอาหรับ หลักฐานบันทึกว่าการดื่มกาแฟได้ปรากฏขึ้นราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อันเป็นหลักฐานซึ่งเชื่อถือได้และเก่าแก่ที่สุด ถูกพบในวิหาร ซูฟี ในเยเมน แถบอาระเบีย จาก โลกมุสลิม กาแฟได้แพร่ขยายไปยังทวีปยุโรป อินโดนีเซีย และทวีปอเมริกา ในระหว่างที่กาแฟเริ่มเดินทางจากทวีปอเมริกาเหนือและตะวันออกกลางสู่ทวีปยุโรป กาแฟได้ถูกส่งผ่านไปยังซิซิลีและอิตาลีในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากนั้นผ่านตุรกีไปยังกรีซ ฮังการี และออสเตรียในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากอิตาลีและออสเตรีย กาแฟได้แพร่ขยายไปยังส่วนที่เหลือของทวีปยุโรป กาแฟได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมหลายแห่งตลอดประวัติศาสตร์ ในแอฟริกาและเยเมน มันถูกใช้ร่วมกับพิธีกรรมทางศาสนา ผลที่ตามมาคือ ศาสนจักรเอธิโอเปีย ได้สั่งห้ามการบริโภคกาแฟตลอดกาล จนกระทั่งถึงรัชสมัยของ จักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 มันยังได้ถูกห้ามใน จักรวรรดิออตโตมันระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องจากสาเหตุทางการเมือง และมีส่วนเกี่ยวพันกับกิจกรรมทางการเมืองหัวรุนแรงในทวีปยุโรป ผลกาแฟ ซึ่งบรรจุเมล็ดกาแฟ เป็นผลผลิตจากไม้พุ่มไม่ผลัดใบขนาดเล็กใน จีนัส Coffea หลายสปีชีส์ โดยสายพันธุ์ที่มีการปลูกโดยทั่วไปมากที่สุด ได้แก่ Coffea arabica และกาแฟ "โรบัสต้า" ที่ได้จากชนิด Coffea canephora ซึ่งมีรสเข้มกว่า สายพันธุ์ดังกล่าวมีความทนทานต่อราสนิมใบกาแฟ (Hemileia vastatrix) ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง สายพันธุ์กาแฟทั้งคู่มีการปลูกในละตินอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปแอฟริกา เมื่อสุกแล้ว ผลดังกล่าวจะถูกเก็บรวบรวม นำไปผ่านกรรมวิธีและทำให้แห้ง หลังจากนั้น เมล็ดจะถูกคั่วในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรสชาติที่ต้องการ และจะถูกบดและบ่มเพื่อผลิตกาแฟ กาแฟสามารถตระเตรียมและนำเสนอได้ในหลายวิธี กาแฟเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของโลก โดยในปี คริสต์ศักราช 2004 กาแฟเป็นสินค้าการเกษตรส่งออกที่ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งในจำนวน 12 ประเทศ และเป็นพืชที่มีการส่งออกอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งมีมูลค่าสูงที่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลก ในปี คริสต์ศักราช 2005 กาแฟได้รับการโต้เถียงบางส่วนในด้านการเพาะปลูกต้นกาแฟและผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และมีการศึกษาจำนวนมากที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคกาแฟกับข้อจำกัดทางยาอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่ากาแฟให้คุณหรือให้โทษกันแน.

ใหม่!!: โรคเกาต์และกาแฟ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ

มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ (Case Western Reserve University หรือ CASE หรือ CWRU หรือ CASE WESTERN) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่เน้นทางด้านการวิจัย ตั้งอยู่ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2510 จากการรวมกันของสองสถาบันการศึกษาอันได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีเคส (Case Institute of Technology) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2423 โดยนาย ลีโอนาร์ท เคส จูเนียร์ (Leonard Case Jr) กับ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ (Western Reserve University) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2369 มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีนักศึกษาประมาณ 10,000 คน แบ่งเป็น นักศึกษาปริญญาบัณฑิต 4,386 คน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 5,640 คน และอาจารย์ประจำ 3,055 คน และเจ้าหน้าที่ 3,402 คน สำหรับปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยประจำปีคือ 968 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้รับเงินบริจาคประจำปีคือ 138.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินบริจาคมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นทางด้านการวิจัยเป็นอย่างมาก โดยตามรายงานประจำปี.

ใหม่!!: โรคเกาต์และมหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์

อ็นเซด (NSAID ย่อจาก Non-steroidal anti-inflammatory drugs) เป็นยาระงับปวด ลดไข้ และต้านการอักเสบ ยากลุ่ม สเตอรอยด์ (steroids) ก็มีฤทธิ์แบบนี้เช่นกัน แต่กลไกการออกฤทธิ์ต่างกัน โดยยากลุ่ม สเตอรอยด์กดภูมิคุ้มกัน แต่พวกเอ็นเซดไม่ เพื่อแยกความแตกต่างให้ชัดเจนเรา จึงตั้งชื่อยากลุ่มนี้ว่า ไม่ใช่กลุ่มสเตอรอยด์ โดยการใช้คำ นอน-สเตอรอยดอล นำหน้า เอ็นเซด บางครั้งเรียกว่า นอน-สเตอรอยดอล แอนตี้-อินแฟลมเมตอรี่ อะนาเจซิก (non-steroidal anti-inflammatory agents/analgesics (NSAIAs)) ตัวอย่างยาที่บทบาทมากที่สุดในกลุ่มนี้คือ.

ใหม่!!: โรคเกาต์และยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ยาโกบ ยอร์ดานส์

กบ ยอร์ดานส์ (Jacob Jordaens; 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1593 - 18 ตุลาคม ค.ศ. 1678) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยบาโรกแบบเฟลมิช คริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพประวัติศาสตร์ คริสต์ศาสนา ภาพเหมือน และการออกแบบพรมทอแขวนผนัง ยาโกบ ยอร์ดานส์, เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ และอันโตนี ฟัน ไดก์ เป็นจิตรกรสามคนที่นำความมีหน้ามีตามาสู่ตระกูลการเขียนภาพแบบแอนต์เวิร์ป (Antwerp school) ยอร์ดานส์เป็นจิตรกรในหมู่น้อยที่มิได้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อศึกษาการเขียนภาพแบบอิตาลี และความก้าวหน้าทางอาชีพของยอร์ดานส์ก็มิได้มีอยู่ความสนใจในราชสำนักหรือความก้าวหน้าในราชสำนักd'Hulst, pp.

ใหม่!!: โรคเกาต์และยาโกบ ยอร์ดานส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด

ต่อไปนี้เป็น รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด เรียงลำดับตามตัวอักษรของ คำที่เขียนถูก ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมภาษาไทยหรือตามประกาศของหน่วยงานราชการไทย หมายเหตุ: การเขียนสะกดคำในนี้เป็นกรณีทั่วไป แต่ในกรณีเฉพาะ เช่น เป็นวิสามานยนาม อาทิ เป็นชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ หรือในทางร้อยกรอง สามารถเขียนสะกดคำแตกต่างได้.

ใหม่!!: โรคเกาต์และรายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด · ดูเพิ่มเติม »

หนิงหน่อง เพชรพิณทอง

หนิงหน่อง เพชรพิณทอง เป็นศิลปินตลกหมอลำชาวจังหวัดหนองบัวลำภู มีชื่อเสียงจากการเล่นตลกในการแสดงสดของวงดนตรีเพชรพิณทอง ได้รับการยกย่องจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้เป็น "ศิลปินมรดกอีสาน" เมื่อปี พ.ศ. 2550.

ใหม่!!: โรคเกาต์และหนิงหน่อง เพชรพิณทอง · ดูเพิ่มเติม »

อะคิพิม็อกซ์

อะคิพิม็อกซ์ (Acipimox) (ชื่อการค้า Olbetam ในยุโรป) เป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดกลุ่มอนุพันธ์ของไนอะซิน (niacin derivative) มีสูตรโครงสร้างคล้ายกับไนอะซิน แต่ยาไม่ถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกาย จึงอยู่ในกระแสเลือดได้นาน และถูกขับออกจากร่างกายได้ช้า จึงสามารถออกฤทธิ์ได้ยาวนาน การใช้ยาในขนาดต่ำจึงมีประสิทธิภาพมากพอในการรักษาและอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นนั้นพบว่าเกิดขึ้นได้น้อยกว่าไนอะซิน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดถึงขนาดอะพิคิม็อกซ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการรักษาเทียบเท่ากับไนอะซิน .

ใหม่!!: โรคเกาต์และอะคิพิม็อกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ผักโขม

ผักโขม (Amaranth) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus viridis จัดอยู่ในวงศ์ Amaranthaceae ผักโขมจะขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติเช่น ป่าละเมาะ ริมทาง ชายป่าที่รกร้าง เป็นต้น และยังขึ้นเป็นวัชพืชในบริเวณสวนผัก สวนผลไม้ ไร่นาของชาวบ้าน ผักโขมเป็นพืชที่ขึ้นง่ายชาวบ้านจึงมักเก็บมาบริโภคในช่วงหน้าฝน รักษ์ พฤษชาติ,ผักพื้นบ้าน ครบเครื่องเรื่องผักพื้นบ้าน ทั้งการปลูกและการตลาด,สำนักพิมพ์ นีออน บุ๊ค มีเดีย,พิมพ์ครั้งที่ 4 มีนาคม 2553 ผักโขมมีชื่ออื่นๆ อีกคือ ผักขม (กลาง), ผักโหม, ผักหม (ใต้), ผักโหมเกลี้ยง (แม่ฮ่องสอน), กระเหม่อลอเตอ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน) ผักโขมมักจะถูกเข้าใจผิดหรือแปลผิดว่าเป็นผักที่ป๊อบอายใช้เพิ่มพลัง ความจริงแล้วคือผักปวยเล้ง (Spinach) ซึ่งในการ์ตูนป๊อบอายจะปรากฏคำว่า Spinach อย่างชัดเจน.

ใหม่!!: โรคเกาต์และผักโขม · ดูเพิ่มเติม »

ผักเหมียง

ผักเหมียง ผักเหลียง เป็นพืชเมล็ดเปลือยในสกุลมะเมื่อย ลักษณะเป็นไม้พุ่ม เมล็ดแก่สีส้ม ติดเมล็ดช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตะวันตกของหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก แพร่กระจายจากรัฐอัสสัมผ่านอินโดนีเซีย มาเลเซียไปจนถึงฟิลิปปินส์และฟีจี ในไทยพบทางภาคใต้ เช่น พบในจังหวัดพังงา ภูเก็ต ชื่อในภาษาต่าง ๆ ได้แก่ เมอลินโจ หรือ เบอลินโจ (ภาษาอินโดนีเซีย), บาโก (ภาษามลายู, ภาษาตากาล็อก), ปีแซ (ภาษามลายูปัตตานี), แด (ภาษากวาราแอ) และ Bét, Rau bép, Rau danh หรือ Gắm (ภาษาเวียดนาม).

ใหม่!!: โรคเกาต์และผักเหมียง · ดูเพิ่มเติม »

ผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์

ผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์ (Governor of Massachusetts) เป็นผู้ที่บริหารงานในรัฐแมสซาชูเซตส์ ผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์คนปัจจุบัน คือ ชาร์ลี เบเคอร์ จากพรรคริพับลิกัน ชนะการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐคนใหม่ เนื่องจากเดวาล แพทริค ประกาศว่าจะไม่ลงเลือกตั้งในครั้งนั้น.

ใหม่!!: โรคเกาต์และผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์ · ดูเพิ่มเติม »

ถุงน้ำแกงเกลียน

งน้ำแกงเกลียน (ganglion cyst) หรือถุงน้ำเยื่อหุ้มข้อ (synovial cyst, ชื่ออื่นๆ เช่น myxoid cyst, Gideon's disease, Bible cyst, Bible bump) เป็นก้อนถุงน้ำชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับข้อต่อหรือปลอกหุ้มเส้นเอ็น พบที่ข้อมือด้านหลังบ่อยที่สุด และที่ข้อมือด้านหน้ารองลงมา มักค่อยๆ ปรากฎขึ้นใช้เวลาหลายเดือน ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอื่นนอกจากมีก้อน บางครั้งอาจมีอาการเจ็บปวดหรือชาร่วมด้วยได้ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือกลุ่มอาการคาร์ปัลทันเนล หรือเส้นประสาทข้อมือถูกกดทับ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรค เชื่อว่ากลไกที่ทำให้เกิดโรคมาจากการเว้าออกของเยื่อหุ้มข้อต่อ การเล่นยิมนาสติกเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่ง การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจร่างกาย ร่วมกับการใช้ไฟส่องบริเวณรอยโรค หากสงสัยโรคอื่นร่วมด้วยอาจจำเป็นต้องตรวจภาพรังสีเพื่อแยกโรคอื่นออก การรักษาอาจทำได้โดยการเฝ้าดูและติดตามอาการ การผ่าตัดแยกข้อต่อบริเวณที่เกิดถุงน้ำ การเจาะดูดด้วยเข็ม หรือการผ่าตัด ผู้ป่วยประมาณครึ่งหนึ่งจะมีอาการดีขึ้นได้เอง แต่ละปีจะมีผู้ป่วยถุงน้ำแกงเกลียนที่ข้อมือรายใหม่ประมาณ 3 ใน 10,000 คน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงวัยสาวถึงวัยกลางคน ปัจจุบันการพยายามรักษาเองด้วยการทุบให้แตกไม่เป็นที่แนะนำอีกต่อไป.

ใหม่!!: โรคเกาต์และถุงน้ำแกงเกลียน · ดูเพิ่มเติม »

ข้ออักเสบ

้ออักเสบ (Arthritis) เป็นกลุ่มของภาวะที่เกิดการทำลายข้อต่อของร่างกาย ข้ออักเสบมีได้มากกว่าร้อยรูปแบบ โดยรูปแบบที่พบมากที่สุดคือข้อเสื่อม (osteoarthritis) ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บของข้อต่อ การติดเชื้อของข้อและอายุ ส่วนข้ออักเสบรูปแบบอื่นเช่นข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อสะเก็ดเงิน จากภาวะภูมิต้านตนเอง ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคเกาต์ซึ่งเกิดจากการสะสมของผลึกกรดยูริกในข้อและทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีการสะสมของผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตซึ่งเรียกว่า โรคเกาต์เทียม.

ใหม่!!: โรคเกาต์และข้ออักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: โรคเกาต์และคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

นอสตราเดมัส

นอสตราเดมัส ไทยมักเรียก นอสตราดามุส (Nostradamus) ชื่อจริงว่า มีแชล เดอ นอสทร์ดาม (Michel de Nostredame; เกิด 14 หรือ 21 ธันวาคม 1503 แล้วแต่แหล่งข้อมูล;Most eyewitnesses to his original epitaph (including his son Caesar and historian Honoré Bouche) indicate 21 December, but a few (including his secretary Chavigny) suggest 14th. The inscription on his present tombstone evidently follows Chavigny. No conclusive explanation for the discrepancy has so far been discovered. See Guinard, Patrice, ตาย 2 กรกฎาคม 1566) เป็นชาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นเภสัชกร (apothecary) และหมอดูที่มีชื่อเสียง เพราะเผยแพร่ชุดคำทำนายซึ่งเลื่องชื่อที่สุดในโลกหลายชุด โดยเฉพาะ เลพรอเฟซี (Les Propheties) ที่พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1555 เมื่อเผยแพร่หนังสือชุดดังกล่าวแล้ว นอสตราเดมัสก็ได้รับความสนใจจากสำนักพิมพ์ใหญ่หลายแห่ง พร้อมกิตติศัพท์ว่า สามารถทำนายทายทักเหตุการณ์สำคัญหลายเรื่องในโลก แหล่งข้อมูลทางวิชาการส่วนใหญ่ถือกันว่า การอ้างว่า เหตุการณ์ในโลกสัมพันธ์กับโคลงทำนายของนอสตราเดมัสนั้น เป็นผลมาจากการตีความหรือแปลความที่ผิดพลาด ซึ่งบางครั้งปรากฏว่า ตั้งใจให้ผิดพลาด มิฉะนั้น ก็เป็นเรื่องมโนสาเร่ถึงขนาดที่ไม่อาจถือเอาโคลงเหล่านั้นเป็นพยานหลักฐานว่า นอสตราเดมัสมีอำนาจพยากรณ์อย่างแท้จริง อย่างไรก็ดี นักวิจารณ์จำนวนหนึ่งก็ประสบความสำเร็จในการตีความอย่างเสรีโดยใช้วิธี "พลิกแพลง" ถ้อยคำในโคลงเพื่อระบุเหตุการณ์อันเห็นได้ชัดว่า ใกล้จะมาถึงอยู่แล้ว เช่น ในปี 1867 หลุยส์-มีแชล เลอ เปอเลอตีเย (Louis-Michel le Peletier) ใช้กลวิธีดังกล่าวทำนายล่วงหน้า 3 ปีว่าจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 จะทรงมีชัยหรือปราชัยในสงครามฝรั่งเศส–ปรัสเซีย แม้เลอ เปอเลอตีเย จะยอมรับว่า ตนไม่สามารถบอกได้จริงว่า จะทรงมีชัยหรือปราชัย และเหตุการณ์จะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตาม.

ใหม่!!: โรคเกาต์และนอสตราเดมัส · ดูเพิ่มเติม »

นัดกับนัด

นัดกับนัด เป็นละครซิตคอมทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ทุกวันอาทิตย์ ออกอากาศเวลา 17.00 น. - 18.00 น. สร้างโดยบริษัท ซีเนริโอ จำกัด กำกับการแสดงโดย จิรศักดิ์ โย้จิ้ว ออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2550 ในชื่อตอน สวัสดีปีใหม่ และตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2558 เป็นต้นไป เปลี่ยนวัน-เวลาออกอากาศเป็นทุกวันเสาร์ เวลา 18.00 - 19.00 น. โดยออกอากาศแทนละครซิทคอม ลูกพี่ลูกน้อง ของทุกวัน แต่มาออกอากาศช้ากว่าปกติประมาณ 15 นาทีในเวลา 18.15 น. โดยจะออกอากาศหลังจากจบการรับสัญญาณการออกอากาศของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์และโทรทัศน์ดาวเทียมทุกสถานี ออกอากาศรายการพิเศษ "เดินหน้า ประเทศไทย (Thailand Moves Forward)" พร้อมกันทุกสถานีและให้ใช้สัญญาณของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกออกอากาศไปจนกว่าจะได้รับคำสั่งเปลี่ยนแปลง) ซึ่งนัดกับนัด ได้ออกอากาศเป็นครั้งสุดท้าย ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2558 ในชื่อตอน Good Bye.

ใหม่!!: โรคเกาต์และนัดกับนัด · ดูเพิ่มเติม »

แอนน์แห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

แอนน์แห่งเดนมาร์ก (Anne of Denmark; 12 ธันวาคม ค.ศ. 1574 — 2 มีนาคม ค.ศ. 1619) เป็นพระธิดาองค์ที่สองของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 แห่งเดนมาร์กและโซฟีแห่งเมคเลนบูร์ก-กึสโทร สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ เป็นพระมเหสีในพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ และที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ แอนน์แห่งเดนมาร์กเป็นพระราชินีแห่งสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1589 และเป็นพระราชินีแห่งอังกฤษตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1589 กระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1619 ที่พระราชวังแฮมป์ตันคอร์ตในอังกฤษ พระศพของพระองค์ตั้งอยู่ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ แอนน์ทรงเสกสมรสกับพระเจ้าเจมส์ที่ 1 เมื่อปี ค.ศ. 1589 เมื่อพระชนมายุได้ 14 พรรษา มีพระโอรสธิดาสามพระองค์ที่รอดมาได้จนโตรวมทั้งพระเจ้าชาลส์ที่ 1 พระองค์ทรงเป็นผู้มีความเด็ดเดี่ยวพอที่จะทรงใช้ความแตกแยกของการเมืองในสกอตแลนด์เป็นเครื่องมือในการเรียกร้องสิทธิในตัวพระโอรส เฮนรี เฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ จากพระเจ้าเจมส์ ดูเหมือนว่าพระองค์จะทรงรักพระเจ้าเจมส์ในตอนแรก แต่ต่อมาทั้งสองพระองค์ก็ทรงห่างเหินจากกัน จนในที่สุดก็ทรงแยกกันอยู่ แต่ก็ยังคงทรงมีความนับถือซึ่งกันและกันอยู่บ้าง เมื่อประทับอยู่ในอังกฤษ พระองค์ทรงหันความสนใจจากทางด้านการเมืองที่เป็นฝักเป็นฝ่ายไปเป็นการอุปถัมภ์ศิลปะ และการสร้างราชสำนักที่หรูหราของพระองค์เอง ทรงจัดให้มีการพบปะในซาลอนที่ทำให้เป็นราชสำนักของพระองค์เป็นราชสำนักที่มีวัฒนธรรมสูงที่สุดสำนักหนึ่งในยุโรป หลังจากปี ค.ศ. 1612 พระสุขภาพพลานามัยของพระองค์ก็เริ่มเสื่อมลง จนในที่สุดก็ทรงถอนตัวจากราชสำนัก ตามทางการแล้วพระราชินีแอนน์สวรรคตในฐานะที่เป็นโปรเตสแตนต์ แต่หลักฐานบางอย่างบ่งชี้ให้เห็นว่าอาจจะทรงเปลี่ยนไปนับถือนิกายโรมันคาทอลิกขณะใดขณะหนึ่งระหว่างที่ยังมีพระชนม์อยู่ นักประวัติศาสตร์เดิมไม่ได้เห็นว่าแอนน์แห่งเดนมาร์กเป็นพระราชินีที่มีความสำคัญมากเท่าใดนัก และออกจะเป็นผู้มีความหลงพระองค์เอง แต่เมื่อไม่นานมานี้ ความเห็นเกี่ยวกับพระองค์ก็เริ่มจะเปลี่ยนไปโดยเริ่มมีความเห็นกันว่าพระองค์ทรงมีความเด็ดเดี่ยวเป็นตัวของตัวเองโดยเฉพาะทรงเป็นผู้มีความสำคัญในการเป็นผู้อุปถัมภ์ทางศิลปะระหว่างสมัยจาโคเบียน.

ใหม่!!: โรคเกาต์และแอนน์แห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

โรคนิ่วไต

รคนิ่วไต (kidney stone disease, urolithiasis) เป็นก้อนวัสดุแข็งที่เกิดในทางเดินปัสสาวะ นิ่วไตปกติจะเกิดในไตแล้วออกจากร่างกายผ่านปัสสาวะ โดยก้อนเล็ก ๆ อาจจะผ่านออกโดยไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าใหญ่เกินกว่า 5 มิลลิเมตร ก็อาจขวางท่อไตมีผลให้เจ็บอย่างรุนแรงที่หลังหรือท้องส่วนล่าง นิ่วยังอาจทำให้เลือดออกในปัสสาวะ ทำให้อาเจียน หรือทำให้เจ็บเมื่อถ่ายปัสสาวะ (dysuria) คนไข้ประมาณครึ่งหนึ่งจะเกิดนิ่วอีกภายใน 10 ปี นิ่วโดยมากมีเหตุจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งระดับแคลเซียมสูงในปัสสาวะ (hypercalciuria) โรคอ้วน อาหารบางชนิด ยาบางชนิด การทานแคลเซียมเป็นอาหารเสริม ระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์เกินในเลือด (hyperparathyroidism) โรคเกาต์ และดื่มน้ำไม่พอ นิ่วจะเกิดในไตเมื่อแร่ในปัสสาวะเข้มข้นมาก การวินิจฉัยปกติจะอาศัยอาการ การตรวจปัสสาวะ และภาพฉายรังสี โดยการตรวจเลือดอาจมีประโยชน์ นิ่วมักจะจัดกลุ่มตามตำแหน่งที่อยู่ คือ nephrolithiasis (ในไต) ureterolithiasis (ในท่อไต) cystolithiasis (ในกระเพาะปัสสาวะ) หรือโดยองค์ประกอบของนิ่ว เช่น แคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate), กรดยูริก, สตรูไวท์ (struvite), ซิสทีน (cystine) เป็นต้น คนไข้ที่มีนิ่วสามารถป้องกันโดยดื่มน้ำให้ผลิตปัสสาวะมากกว่า 2 ลิตรต่อวัน ถ้ายังไม่พอ อาจทานยาไทอะไซด์ (thiazide), ไซเตรต (citrate, กรดไซตริก) หรืออัลโลพิวรีนอล (allopurinol) คนไข้ควรเลี่ยงดื่มน้ำอัดลม (เช่น โคลา) ถ้านิ่วไม่มีอาการ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา ไม่เช่นนั้นแล้ว ยาแก้ปวดเป็นการรักษาเบื้องต้น โดยใช้ยาเช่น ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) หรือโอปิออยด์ นิ่วที่ใหญ่เพิ่มขึ้นอาจขับออกได้โดยใช้ยา tamsulosin หรืออาจต้องปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การใช้คลื่นเสียงนอกกายสลายนิ่ว (extracorporeal shock wave lithotripsy), การส่องกล้องท่อไต (ureteroscopy), หรือการผ่าตัดนิ่วผ่านผิวหนัง (percutaneous nephrolithotomy) คนทั่วโลกประมาณ 1-15% จะมีนิ่วไตในช่วงหนึ่งของชีวิต ในปี 2558 มีคนไข้ 22.1 ล้านราย ทำให้เสียชีวิต 16,100 ราย เป็นโรคที่สามัญยิ่งขึ้นในโลกตะวันตกตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยทั่วไป ชายจะเป็นมากกว่าหญิง นิ่วไตเป็นโรคที่ปรากฏตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมีการกล่าวถึงการผ่าตัดเพื่อเอาออกเริ่มตั้งแต่ 600 ปีก่อน..

ใหม่!!: โรคเกาต์และโรคนิ่วไต · ดูเพิ่มเติม »

โรคไต

รคไต หมายถึง โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของพยาธิสภาพของไตในการทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกายและรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายมนุษย์ โรคไตมีหลายประเภทดังนี้.

ใหม่!!: โรคเกาต์และโรคไต · ดูเพิ่มเติม »

โคลชิซีน

ลชิซีน (Colchicine) เป็นสารกลุ่มอัลคาลอยด์ พบมากในดองดึง ในทางการแพทย์นำมาใช้รักษาโรคเกาต์ ไขข้ออักเสบ ส่วนในทางด้านพันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์พืช นำมาใช้ในการเพิ่มชุดโครโมโซมของพืชเพราะมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเส้นใยสปินเดิลระหว่างการแบ่งนิวเคลียส ทำให้โครโมโซมไม่แยกตัว.

ใหม่!!: โรคเกาต์และโคลชิซีน · ดูเพิ่มเติม »

ไฟฟ้า

ฟฟ้า (ήλεκτρον; electricity) เป็นชุดของปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ มีที่มาจากภาษากรีกซึ่งในสมัยนั้นหมายถึงผลจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเนื่องจากการปรากฏตัวและการไหลของประจุไฟฟ้า เช่นฟ้าผ่า, ไฟฟ้าสถิต, การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ ไฟฟ้ายังทำให้เกิดการผลิตและการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นคลื่นวิทยุ พูดถึงไฟฟ้า ประจุจะผลิตสนามแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งจะกระทำกับประจุอื่น ๆ ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้เนื่องจากหลายชนิดของฟิสิกซ์ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: โรคเกาต์และไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: โรคเกาต์และไข้ · ดูเพิ่มเติม »

เห็ดหลินจือ

ห็ดหลินจือ (Lingzhi) เป็นยาจีน (Chinese traditional medicine) ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี นับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือเป็นของหายากมีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน และได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ “เสินหนงเปินเฉ่า” ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่ที่สุดของจีนมีคนนับถือมากที่สุด ได้กล่าวไว้ว่า เห็ดหลินจือเป็น “เทพเจ้าแห่งชีวิต” (Spiritual essence) มีพลังมหัศจรรย์ บำรุงร่างกายใช้เป็นยาอายุวัฒนะในการยืดอายุออกไปให้ยืนยาว ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และยังสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง.

ใหม่!!: โรคเกาต์และเห็ดหลินจือ · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: โรคเกาต์และICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 4: โรคของต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึม

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: โรคเกาต์และICD-10 บทที่ 4: โรคของต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

The China Study

หนังสือ The China Study (แปลว่า งานวิจัยในเมืองจีน, พิมพ์ปี ค.ศ. 2005) มีผู้เขียน 2 คนคือ.

ใหม่!!: โรคเกาต์และThe China Study · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Goutโรคเกาท์โรคเก๊าท์เกาต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »