สารบัญ
8 ความสัมพันธ์: สัตยาบันความสามารถของบุคคลคำปฏิญาณสนามเทนนิสคนไร้ความสามารถนิติภาวะโมฆียกรรมโมฆียะเบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุค
สัตยาบัน
ำสำคัญ "สัตยาบัน" สามารถหมายถึง.
ความสามารถของบุคคล
วามสามารถของบุคคล (competence of person) ในทางนิติศาสตร์นั้นได้แก่ความสามารถสองประการ คือ ความสามารถที่บุคคลจะมีสิทธิ และความสามารถที่บุคคลจะใช้สิทธิ บุคคลจะใช้สิทธิกระทำการใด กฎหมายบัญญัติให้ต้องมีความสามารถจะกระทำการนั้นก่อน เพื่อป้องกันความเสียหายอันจะเกิดแก่บุคคลนั้นเองและบุคคลอื่น บุคคลประเภทที่กฎหมายสันนิษฐานว่าไม่อยู่ในภาวะที่จะบริหารความสามารถของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ผู้เยาว์ (minor), คนวิกลจริต (person of unsound mind), คนไร้ความสามารถ (incompetent person) และคนเสมือนไร้ความสามารถ (quasi-incompetent person) ซึ่งความสามารถตามกฎหมายของบุคคลเหล่านี้จะถูกจำกัดมากน้อยแล้วแต่กรณี นิติกรรมที่บุคคลเหล่านี้จะกระทำ กฎหมายจึงกำหนดเงื่อนไขไว้ต่าง ๆ เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของเขาเหล่านั้นโดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี นิติบุคคล (juristic person) ซึ่งมิใช่บุคคลแท้ ๆ ก็อาจมีความสามารถตามกฎหมายเช่นบุคคลธรรมดา (natural person) ได้ เว้นแต่เป็นเรื่องที่ตามสภาพแล้วไม่สามารถกระทำได้เองจริง ๆ เช่น การมีครอบครัว หรือเข้าสมรส เป็นต้น.
ดู โมฆียกรรมและความสามารถของบุคคล
คำปฏิญาณสนามเทนนิส
ำปฏิญาณสนามเทนนิส (Serment du Jeu de Paume; แซร์ม็งดูเฌอเดอโปม) คือเหตุการณ์ครั้งสำคัญในช่วงต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศส คำปฏิญาณซึ่งได้รับสัตยาบันของบุคคลทั้งสิ้น 576 คน จากสมาชิกฐานันดรที่สามทั้งหมด 577 คน ผู้ถูกกีดกันออกจากการประชุมสภาฐานันดรเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน..
ดู โมฆียกรรมและคำปฏิญาณสนามเทนนิส
คนไร้ความสามารถ
นไร้ความสามารถ (incompetent person) คือ คนวิกลจริตถึงขนาดที่ไม่มีทางดูแลตัวเองหรือผลประโยชน์ของตัวเองได้เลย ซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามคำร้องขอของ คู่สมรส, บุพการี, ผู้สืบสันดาน, ผู้ปกครอง, ผู้พิทักษ์, ผู้ดูแลรักษาทั่วไป หรือพนักงานอัยการ ซึ่งการเป็นคนไร้ความสามารถจะมีผลนับแต่ศาลมีคำสั่งเป็นต้นไป.
ดู โมฆียกรรมและคนไร้ความสามารถ
นิติภาวะ
นิติภาวะ (majority, full age หรือ lawful age; sui juris) คือ ภาวะที่บุคคลเป็นผู้มีความสามารถใช้สิทธิทำนิติกรรมตามกฎหมายได้ด้วยตนเอง การบรรลุนิติภาวะย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดแล้วแต่กรณี ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เรียก "ผู้เยาว์" (minor) ซึ่งกฎหมายจำกัดความสามารถเอาไว้ โดยพิจารณาสรุปว่าผู้เยาว์ทั่วไปแล้วมีปรกติเป็นเด็กไม่อาจบริหารสติปัญญาได้ดีเท่าผู้ใหญ่ได้ จึงจำกัดความสามารถในการใช้สิทธิไว้ให้มีผู้ที่เรียก "ผู้แทนโดยชอบธรรม" (legal representative หรือ statutory agent) เป็นผู้ตัดสินใจใช้สิทธิแทน จนกว่าผู้เยาว์จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะมีความสามารถในการใช้สิทธิได้เต็มเปี่ยม เว้นแต่เขาจะกลายเป็นคนวิกลจริต (person of unsound mind), คนไร้ความสามารถ (incompetent person) หรือ คนเสมือนไร้ความสามารถ (quasi-incompetent person).
โมฆียกรรม
มฆียกรรม (voidable act) หมายถึง นิติกรรมซึ่งอาจบอกล้าง เพิกถอน หรือให้สัตยาบันได้, ถ้าบอกล้างก็เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าให้สัตยาบันก็มีผลสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ทั้งนี้ กฎหมายเขียนเป็น "โมฆียะกรรม" ตามรูปแบบการเขียนโบราณสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งยังไม่มีการบังคับให้การเขียนสะกดคำต้องเป็นไปตามพจนานุกรมของทางราชการราชบัณฑิตยสถาน, 2551: ออนไลน.
โมฆียะ
ำสำคัญ "โมฆียะ" เป็นคำวิเศษณ์มีความหมายว่า อันอาจเป็นโมฆะได้, เช่น สัญญาเป็นโมฆียะ; สามารถหมายถึง.
เบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุค
ือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุค หรือ ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน เป็นประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศเยอรมนีซึ่งเริ่มร่างเมื่อ ค.ศ.