โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โบราณวัตถุ

ดัชนี โบราณวัตถุ

ราณวัตถุ เป็นสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของโบราณสถาน ซากมนุษย์ หรือซากสัตว์ ซึ่งโดยอายุ หรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี.

42 ความสัมพันธ์: พระราชวังจันทรเกษมพระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน)พระแม่คงคาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพิพิธภัณฑสถานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภาวัฒนธรรมลาแตนวัดบางพลับวัดบุปผาราม (จังหวัดตราด)วัดพระธาตุบังพวนวัดพระเมรุ (จังหวัดนครปฐม)วัดมหาธาตุวรวิหาร (จังหวัดราชบุรี)วัดมัชฌิมาวาส (จังหวัดสงขลา)วัดศาลาทองวัดท่ากระดานวัดท่าถนน (อุตรดิตถ์)วัดคูหาภิมุขวัดเพชรสมุทรวรวิหารวัดเขียนบางแก้ววังสวนผักกาดวันอาสาฬหบูชาวันอนุรักษ์มรดกไทยวิวัฒนาการของคอเคลียศาสนาพุทธในประเทศไทยสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิกสารนาถสุสานจักรพรรดิฉินที่ 1สถานีสนามไชยหมุดคณะราษฎรอำเภอพิบูลมังสาหารจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีท่าแขกตำบลนาวงประเทศบาห์เรนปราสาทเมืองต่ำแสง มนวิทูรโบราณสถานโบราณคดีเทศบาลเมืองศรีสัชนาลัยเขาขนาบน้ำ

พระราชวังจันทรเกษม

ระราชวังจันทรเกษม หรือวังหน้า ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก (คลองคูขื่อหน้า) ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระราชวังที่ปรากฏหลักฐานตามพระราชพงศาวดารสันนิษฐานได้ว่า สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2120 ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยามเสด็จจากเมืองพิษณุโลกเพื่อมาเฝ้าพระราชบิดาที่กรุงศรีอยุธยา พระราชวังแห่งนี้พระนเรศวรทรงใช้เป็นกองบัญชาการรับศึกหงสาวดีเมื่อปี พ.ศ. 2129 นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระมหาอุปราชที่สำคัญถึง 8 พระองค์ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ เจ้าฟ้าสุทัศน์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขุนหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์ ภายหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 พระราชวังจันทรเกษมได้ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี..

ใหม่!!: โบราณวัตถุและพระราชวังจันทรเกษม · ดูเพิ่มเติม »

พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน)

ระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินโน) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย และอดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี ที่ได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ไปสนองงานคณะสงฆ์ที่จังหวัดสุโขทัย นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้มีคุณูปการต่อการอนุรักษ์โบราณวัตถุและโบราณสถานอันล้ำค่า ในสมัยสุโขทัย ให้คงอยู่ด้วยการเก็บรวบรวมเอง และร่วมมือชี้แนะกรมศิลปากรในการบูรณะโบราณสถาน เป็นผู้ที่คอยจดบันทึกเก็บหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี และถ่ายทอดเรื่องราวที่ได้รับรู้ มาเป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าศึกษาของอนุชนรุ่นหลังเป็นอย่างยิ่ง.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและพระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน) · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่คงคา

ตรกรรมถอดแบบจากจิตรกรรมโบราณของอินเดียภาคเหนือ ของพระแม่คงคาทรงเทววาหนะมกร พระแม่คงคา เป็นพระเทวีองค์หนึ่งในคติของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู โดยเป็นพระเทวีแห่งแม่น้ำคงคาซึ่งไหลลงมาจากเทือกเขาหิมาลัยและได้รับการนับถือจากชาวฮินดูเพราะเชื่อกันว่าถ้าใครได้ลงอาบแม่น้ำคงคาถือว่าเป็นการชำระล้างบาปออกไปจากตัวอีกด้ว.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและพระแม่คงคา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล

ลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล หรือ พระองค์ชายใหญ่ (27 พฤศจิกายน 2453 - 5 กุมภาพันธ์ 2538) เป็นพระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล และเป็นพระอัยกา(ตา)ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงเป็นผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับละครและภาพยนตร์ รวมทั้งทรงพระนิพนธ์เรื่องและคำร้องเพลงประกอบหลายเรื่อง และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งธนาคารไทยทนุ เมื่อปี..

ใหม่!!: โบราณวัตถุและพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑสถาน

ท้องฟ้าจำลอง พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ พิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้แห่งแรกของโลก ตั้งอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส หอศิลป์อุฟฟีซี เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในอิตาลี เกาะพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่เบอร์ลิน พิพิธภัณฑ์บริติช ตั้งอยู่ที่ลอนดอน พิพิธภัณฑ์อินเดีย ตั้งอยู่ที่โกลกาตา ประเทศอินเดีย เป็นพิพิธภัณฑเก่าและใหญ่ที่สุดในอินเดีย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฟินแลนด์ ตั้งอยู่ที่เฮลซิงกิ พิพิธภัณฑสถาน หรือ พิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารหรือสถาบัน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาวัตถุที่มนุษย์ทำขึ้น.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและพิพิธภัณฑสถาน · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง

ัณฑแห่งชาติ ถลาง เป็นอาคารรูปทรงแบบภาคใต้ประยุกษ์ มีการจัดแสดง โบราณวัตถุ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ในระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา

ัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา (อังกฤษ: Wat Kungtapao Local Museum) เป็นแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่ วัดคุ้งตะเภา หมู่ 4 หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จัดแสดงเอกสารโบราณและโบราณวัตถุของวัดและชุมชนหมู่บ้านคุ้งตะเภา บริหารจัดการในรูปแบบกรรมการโดยวัดและชุมชน ในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิ 250 ปี วัดคุ้งตะเภา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยดำริของพระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ (แสงสิน) และพระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี ที่ได้เก็บรวบรวมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุของวัด เพื่อเป็นสถานที่จัดแสดงเอกสารโบราณและวัตถุโบราณของวัด และที่ทางวัดได้รับบริจาคจากชาวบ้าน เช่น พระพุทธรูปโบราณ สมุดไทย สมุดข่อย ใบลาน เพื่อให้คนในท้องถิ่นได้ศึกษาขนบวัฒนธรรมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในอดีตของบรรพบุรุษ และเพื่อให้คนในท้องถิ่นได้รับรู้และเกิดความภาคภูมิใจในมรดกและความเป็นมาของชุมชนบ้านคุ้งตะเภาที่มีอายุความเป็นมายาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา ตั้งอยู่ที่อาคารอสีติวัสสายุมงคลมหาศาลาการเปรียญ ภายในวัดคุ้งตะเภา ใกล้กับจุดตัดสี่แยกคุ้งตะเภา ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ทางผ่านสำคัญก่อนขึ้นสู่จังหวัดแพร่ เปิดให้ประชาชนได้เข้าชมทุกวันธรรมสวนะ ตั้งแต่เวลา 8.20 - 17.30 น. โดยไม่เก็บค่าเข้าชม.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมลาแตน

วัฒนธรรมลาแตน (La Tène culture) เป็นวัฒนธรรมยุคเหล็กของยุโรปที่ตั้งชื่อตามแหล่งโบราณคดีที่ลาแตนบนฝั่งเหนือของทะเลสาบเนอชาแตลในสวิตเซอร์แลนด์ที่เป็นที่พบสิ่งของมีค่าทางโบราณคดีจำนวนมากมายโดยฮันสลี ค็อพพ์ ในปี ค.ศ. 1857 วัฒนธรรมลาแตนเคลตสเครุ่งเรืองระหว่างปลายยุคเหล็ก (ตั้งแต่ปี 450 ก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึงการพิชิตของโรมันใน ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช) ในบริเวณตะวันออกของฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย และฮังการี ทางตอนเหนือไปจรดกับวัฒนธรรมยาสตอร์ฟของเยอรมนีตอนเหนือ วัฒนธรรมลาแตนเจริญขึ้นมาจากวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ของยุคเหล็กตอนต้น โดยไม่มีการแบ่งแยกทางวัฒนธรรมที่เห็นได้ชัด และเป็นวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลพอประมาณจากเมดิเตอร์เรเนียนจากกรีกในภูมิภาคกอลก่อนสมัยโรมันและต่อมาอารยธรรมอีทรัสคัน การโยกย้ายศูนย์กลางของที่ตั้งถิ่นฐานเริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 4 โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมของวัฒนธรรมลาแตนพบในบริเวณอันกว้างไกลที่รวมไปถึงบางส่วนของไอร์แลนด์และบริเตนใหญ่ (หมู่บ้านริมทะเลสาบกลาสตันบรีในอังกฤษเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับวัฒนธรรมลาแตน), ทางตอนเหนือของสเปน ภูมิภาคเบอร์กันดี และ ออสเตรีย สถานที่ฝังศพอันหรูหราก็เป็นเครื่องแสดงเครือข่ายของการค้าอันกว้างไกล เช่นเนินบรรจุศพวีซ์ในฝรั่งเศสซึ่งเป็นที่ฝังศพของสตรีสูงศักดิ์จากศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราชที่ถูกฝังพร้อมด้วยไหคอลดรอนสำริดที่ทำในกรีซ สินค้าออกของจากบริเวณวัฒนธรรมลาแตนไปยังบริเวณวัฒนธรรมเมดิเตอร์เรเนียนก็จะมีเกลือ ดีบุก ทองแดง อำพัน ขนแกะ หนัง ขนสัตว์ และทองคำ.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและวัฒนธรรมลาแตน · ดูเพิ่มเติม »

วัดบางพลับ

งพลับ หมวดหมู่:อำเภอบางคนที หมวดหมู่:โบราณสถานในจังหวัดสมุทรสงคราม วัดบางพลับ ตั้งอยู่ที่หมู่ ๔ ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๐ ง วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๙ เป็นวัดเก่าที่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างแต่สันนิษฐานว่าสร้าง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและแสดงให้เห็นว่าเป็นวัดที่เคยรุ่งเรืองมาในอดีต อย่างไรก็ตามวัดนี้มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ สงครามค่ายบางกุ้ง คือ เป็นวัดที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองตรงข้ามค่ายบางกุ้ง เคยเป็นที่พักของกองทัพไทย สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ในการยกทัพมารบกับพม่า เดิมชื่อว่า บ้านพักทัพ ต่อมาเปลี่ยนเป็นบางพลับ มีโบราณสถานโบราณวัตถุที่มีคุณค่า ที่พอจะวินิจฉัยว่าเป็นวัดเก่าแก่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน ได้แก.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและวัดบางพลับ · ดูเพิ่มเติม »

วัดบุปผาราม (จังหวัดตราด)

วัดบุปผาราม เดิมชื่อ วัดปลายคลอง ตั้งอยู่ เนินหย่อง หมู่ที่ 3 บ้านปลายคลอง ถนนพัฒนาการปลายคลอง ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดตร.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและวัดบุปผาราม (จังหวัดตราด) · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุบังพวน

ระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย วัดพระธาตุบังพวน เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ที่ 172 หมู่ 3 ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคายสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พระธาตุบังพวนมีเนื้อที่ 102 ไร่ เจดีย์พระธาตุบังพวน เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม สร้างด้วยศิลาแลง อิฐดินเผา พ.ศ. 2210 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา โบราณวัตถุภายในวัดพระธาตุบังพวน ได้แก่ พระพุทธรูปใหญ่ 1 องค์ พระปางนาคปรก 1 องค์ ศิลาจารึก 1 หลัก พระธาตุบังพวน พระปรางค์ 3 องค์ เจดีย์เล็ก 7 องค์ เพื่อให้รู้ที่มาที่ไปของพระธาตุบังพวน ตามปรากฏในตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า พระยาสุวรรณพิงคานเจ้าเมืองหนองหาน สกลนคร พระคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย อุดรธานี และพระยาจุลณีพรหมทัติ เจ้าเมืองจุลณี (ลาวเหนือ แคว้นสิบสองจุไทย) พระยาอินทปัตถนคร เจ้าเมืองอินทปัตถนคร (เขมร) และพระยานันทเสน เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์หลวง กษัตริย์ทั้ง ๕ พระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์พระมหกัสสปะเถระ พร้อมด้วย พระอรหันต์อีก ๕๐๐ก่อสร้างพระธาตุพนมจนเสร็จแล้วและได้บรรลุอรหันต์ในเวลาต่อมา กษัตริย์ทั้ง ๕ จึงออกเดินทางไปอินเดีย เพื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจำนวน ๔๕ องค์ มาประดิษฐานไว้ในสถานที่ ๔ แห่ง ได้แก.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและวัดพระธาตุบังพวน · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระเมรุ (จังหวัดนครปฐม)

วัดพระเมรุ ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม บริเวณสวนนันทอุทยาน ตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางทิศใต้ 3 กิโลเมตร อยู่ติดกับตลาดปฐมมงคล.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและวัดพระเมรุ (จังหวัดนครปฐม) · ดูเพิ่มเติม »

วัดมหาธาตุวรวิหาร (จังหวัดราชบุรี)

วัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สร้างตั้งแต่สมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งเขมร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ถนนเขางู ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ตั้งอยู่เกือบใจกลางเมืองราชบุรี ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลอง เดิมเรียกว่า "วัดหน้าพระธาตุ" "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ" มีพระปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงสูง 12 วา ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่พระปรางค์ เป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ปัจจุบันมีพระธรรมปัญญาภรณ์ (ไพบูลย์ ชินวํโส ป.ธ.๗) เจ้าคณะจังหวัดราชบุรี เป็นเจ้าอาว.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและวัดมหาธาตุวรวิหาร (จังหวัดราชบุรี) · ดูเพิ่มเติม »

วัดมัชฌิมาวาส (จังหวัดสงขลา)

วัดมัชฌิมาวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เดิมเป็นชนิดวรวิหาร ปัจจุบันเป็นชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ 222 หมู่ 11 ถนนไทรบุรี ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขล.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและวัดมัชฌิมาวาส (จังหวัดสงขลา) · ดูเพิ่มเติม »

วัดศาลาทอง

วัดศาลาทอง ตั้งอยู่ต.ในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นวัดราษฎร์ วัดศาลาทองเป็นวัดธรรมยุติกนิกาย เก่าแก่ตั้งแต่สมัยขอมยังเรืองอำนาจ ปกครองแผ่นดิน ปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ 12.เบญจรงค์ ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีม.นครราชสีมา 30000 ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองนครราชสีมา มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่เศษ ทิศตะวันออกติดกับโรงเรียนบ้านหัวทะเล ทิศตะวันตกตดิดกับวัดศาลาเย็น ทิศเหนือติดกับสระน้ำ ทิศใต้ติดกับบ้านหนองโสน วัดแห่งนี้ครั้นเมื่อสมัยขอมยังปกครองอยู่มีชื่อว่า "วัดป่าเลไลย์"ต่อมาเปลี่ยนมาเป็น"วัดป่าเลไลย์ทอง"และเมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงปกครองแผ่นดินสยาม โปรดให้สร้างเมือง"โคราฆปุระ"หรือเมืองโคร.นครราชสีมาในปัจจุบัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น"วัดศาลาทอง"จวบจนปัจจุบัน สิ่งปลูกสร้างภายในวัด 1.พระอุโบสถทรงจตุรมุขหรือมีหน้าบัน 4 ด้าน อย่างพระปรางค์ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้งถ้าตัดมุขทั้ง 4 ด้านออก ซึ่งจะไม่เหมือนรูปอุโบสถอย่างไทยนิยนในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีหลังคาลาดชัน การบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อปีพุทธศักราช 2481 นางเลียบ ชิ้นในเมืองพร้อมด้วยผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย ร่วมกันสละทุนทรัพย์สร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่เป็นไม้ มีความทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ตั้งแต่สัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นลักษณะเดิมแต่เป็นคอนกรีตทั้งหลัง เพื่อคงรักษาลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรมอย่างขอมโบราณ ผู้ออกแบบพระอุโบสถคือ พระครูปลัดสัมพิพัฒน์วิริยาจารย์ (พระมหาสุทัศน์ สุทสสโน ป.ธ.6)ได้ป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง นำพระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนร่วมกันก่อสร้างจนสำเร็จสมบูรณ์ เมื่อพุทธศักราช 2483 ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2535 ได้มีการบูรณะเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาครั้งใหญ่แทสีใหม่ทั้งหลัง โดยการนำของพลตำรวจตรีชนัน ชานะมัย อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรภาค 3 อีกคราวหนึ่งเมื่อปีพุทธศักราช 2547 มีการบูรณะโครงหลังคาจากไม้เป็นโครงเหล็กทั้งหลัง รวมถึงบันไดทางขึ้นอุโบสถทั้ง 4 ด้านโดย พระครูสิริเจติยาภิบาล เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน 2.พระประธาน เป็นปางป่าเลไลย์ทรงนั่งห้อยพระบาททั้งสองเฉกเดียวกับปางปฐมเทศนา ซึ่งนิยมสร้างกันมากในสมัยทวาราวดี ผิดกันแต่พระกรขวาท่อนล่างพาดอยู่บนพระเพลา ทรงหงายพระหัตถ์ ส่วนปางปฐมเทศนานั้นพระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้วเป็นรูปวงธรรมจักร แต่พระประธานวัดศาลาทองทรงประทับนั่งบนแท่นศิลาไม่พิงพนัก ทอดพระเนตรต่ำ สีพระวรกายเป็นสีทองอร่าม ริมพระโอษถ์สีแดงสด ความสูงจากพระบาทฐานถึงพระรัศมี 5.10เมตรวัดโดยรอบพระต้นพระกร รวมอุระ 3.10เมตรพระบาทสูงจากพื้น 0.50เมตรพื้นพระอุโบสถยกสูงจากพื้นดิน 1.80เมตรไม่มีดอกบัวรองรับพระบาท ครองผ้าเฉวียงอังสะ พาดสังฆาติคล้ายพระสงฆ์ลงโบสถ์ทำสังฆกรรม ผินพระพักต์ไปทางทิศตะวันออกพระกรทั้งสองพาดพระเพลา เป็นกิริยารับถวายน้ำเต้าและรวงผึ้งจากช้างและวานร.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและวัดศาลาทอง · ดูเพิ่มเติม »

วัดท่ากระดาน

วัดท่ากระดาน ตั้งอยู่ใน ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบัน เป็นวัดร้าง เป็นสถานที่อยู่บริเวณหน้าถ้ำทางตอนเหนือของเมืองท่ากระดานเก่าขึ้นไปตามลำน้ำ ซึ่งเดิมเป็นวัดเก่าแก่ เนื่องจากมีศาสนวัตถุที่ปรักหักพังและพระเจดีย์เป็นจำนวนมาก และจากวัตถุโบราณที่พบ เช่น บาตรขนาดเขื่อง เตาดินเก่าๆหลายเตา ที่สำคัญ คือ ปรากฏมีสนิมแดงตกอยู่เรี่ยราดบริเวณเตาและพบพระท่ากระดานทุกๆพิมพ์อีกด้วย เป็นแหล่งสร้างพระท่ากระดาน เมืองท่ากระดานมีวัดสำคัญ 3 วัดคือ วัดเหนือ (วัดบน) วัดกลาง (ปัจจุบันชื่อ วัดท่ากระดาน) และวัดล่าง "วัดท่ากระดาน หรือ วัดกลาง" อันเป็นวัดสำคัญ 1 ใน 3 วัดของ "เมืองท่ากระดาน" เมืองเก่าแก่เมืองเดียวริมแม่น้ำแควใหญ่ที่มีความสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยาเคียงคู่กับเมืองกาญจนบุรีเก่า และเมืองไทรโยค คือเป็นเมืองที่มีเจ้าปกครอง อีกทั้งเป็นเมืองหน้าด่านที่ต้องสู้รบกับกองทัพพม่าที่ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ในทุกคราว แต่ปัจจุบันลักษณะสภาพทางภูมิศาสตร์ จึงถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2438 และลดฐานะเป็นหมู่บ้านชื่อ "บ้านท่ากระดาน" ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสถานศึกษา โรงเรียนชุมชนท่ากระดาน และตำบล อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2495 ได้มีการขุดค้นหาโบราณวัตถุกันเป็นการใหญ่และได้พบพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่วัดทั้งสามเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่วัดกลาง ซึ่งเรียกชื่อเต็มว่า "วัดท่ากระดาน" นั้น ได้ปรากฏพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่สนิมแดงงามจัดและปิดทองมาแต่ในกรุทุกองค์ กอปรกับวัดนี้ตั้งอยู่ในส่วนกลางของเมืองท่ากระดานเก่าพอดี ชาวบ้านจึงเห็นเหมาะสมที่จะเรียกพระพิมพ์นี้ตามชื่อวัดว่า "พระท่ากระดาน" พระท่ากระดาน มีพุทธลักษณะเค้าพระพักตร์เคร่งขรึมน่าเกรงขาม แข้งเป็นสัน และพระหนุแหลมยื่นออกมา ลักษณะเหมือน "พระอู่ทองหน้าแก่ อันเป็นพุทธศิลปะสมัยลพบุรี และด้วยอายุการสร้างเกินกว่า 500 ปี พระท่ากระดานส่วนมากจึงเกิด สนิมไข และสนิมแดง ขึ้นคลุมอย่างหนาแน่นและส่วนใหญ่จะลงรักปิดทองมาแต่เดิม ดังนั้นข้อพิจารณาเบื้องต้นในการศึกษา "พระท่ากระดาน" ก็คือ สภาพสนิมไข สนิมแดง และรักเก่า ทองเก.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและวัดท่ากระดาน · ดูเพิ่มเติม »

วัดท่าถนน (อุตรดิตถ์)

วัดท่าถนน เดิมชื่อ วัดวังเตาหม้อ อยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ประดิษฐานหลวงพ่อเพ็ชร พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 1 หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ ในบริเวณวัดมีอาคารศิลปะแบบตะวันตก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2474 เป็นโรงเรียนปริยัติธรรมและภาษาบาลีของพระภิกษุสามเณรในเมือง มีลักษณะสถาปัตยกรรมสวยงาม และอุโบสถซึ่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งได้รับยกย่องว่าสวยงามที่สุดในจังหวัดอุตรดิต.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและวัดท่าถนน (อุตรดิตถ์) · ดูเพิ่มเติม »

วัดคูหาภิมุข

ในถ้ำวัดคูหาภิมุข thumb thumb thumb thumb วัดคูหาภิมุข หรือ วัดหน้าถ้ำ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 136 หมู่ 1 บ้านหน้าถ้ำ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะล.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและวัดคูหาภิมุข · ดูเพิ่มเติม »

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร

แผนที่วัดเพชรสมุทรวรวิหาร (วัดบ้านแหลม) วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เดิมชื่อ วัดบ้านแหลมในอดีตชื่อ วัดศรีจำปา ตั้งอยู่ที่ ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นอารามหลวง ชั้นวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิก.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและวัดเพชรสมุทรวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดเขียนบางแก้ว

วัดเขียนบางแก้ว อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง วัดเขียนบางแก้ว ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง พุทธศตวรรษที่ 13 พ.ศ. 1482 สมัยศรีวิชัย เจ้าพระยากรุงทอง เจ้าเมืองพัทลุง ได้สร้างวัดเขียนบางแก้ว ประกอบด้วย กุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญ พระพุทธรูป พระมหาเจดีย์ สร้างเสร็จปี..

ใหม่!!: โบราณวัตถุและวัดเขียนบางแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

วังสวนผักกาด

วังสวนผักกาด หอเขียนลายรดน้ำ วังสวนผักกาด เดิมเป็นสวนผักกาด เป็นวังที่ประทับของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต และ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร (เทวกุล) ตั้งอยู่บนพื้นที่ 6 ไร่ บนถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยสร้างเพื่อประทับในช่วงสุดสัปดาห์ และเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชมศิลปะและโบราณวัตถุ โดยที่เจ้าของบ้านยังใช้เป็นที่พำนักอยู่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ภายหลังจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2502 พระชายา คือ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ได้มอบให้วังสวนผักกาดอยู่ในความดูแลของ มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ และเปิดเป็น พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดตั้งแต่นั้นม.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและวังสวนผักกาด · ดูเพิ่มเติม »

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา (อาสาฬหปูชา; Āsāḷha Pūjā) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๗๕, ตอน ๕๒, ๑๒ มิถุนายน..

ใหม่!!: โบราณวัตถุและวันอาสาฬหบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วันอนุรักษ์มรดกไทย

วันอนุรักษ์มรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาต.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและวันอนุรักษ์มรดกไทย · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของคอเคลีย

ำว่า คอเคลีย มาจากคำภาษาละตินที่แปลว่า "หอยโข่ง/หอยทาก, เปลือก, หรือเกลียว" ซึ่งก็มาจากคำกรีก คือ kohlias ส่วนคำปัจจุบันที่หมายถึง หูชั้นในรูปหอยโข่ง พึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 คอเคลียของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีอวัยวะของคอร์ติ ซึ่งมีเซลล์ขนที่แปลแรงสั่นที่วิ่งไปในน้ำที่ล้อมรอบ ให้เป็นกระแสไฟฟ้าที่ส่งไปยังสมองเพื่อประมวลเสียง ส่วนอวัยวะที่มีรูปเป็นหอยโข่งประมาณว่าเกิดในต้นยุคครีเทเชียสราว ๆ 120 ล้านปีก่อน นอกจากนั้นแล้ว เส้นประสาทที่วิ่งไปยังคอเคลียก็เกิดในยุคครีเทเชียสเหมือนกัน วิวัฒนาการของคอเคลียในมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญทางวิทยาศาสตร์เพราะว่าดำรงเป็นหลักฐานได้ดีในซากดึกดำบรรพ์ ในศตวรรษที่ผ่านมา ทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักชีววิทยาเชิงวิวัฒนาการ และนักบรรพชีวินวิทยา ได้พยายามพัฒนาเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อข้ามอุปสรรคในการทำงานกับวัตถุโบราณที่บอบบาง ในอดีต นักวิทยาศาสตร์จำกัดมากในการตรวจดูตัวอย่างโดยไม่ทำให้เสียหาย แต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ระดับไมโคร (micro-CT scanning) ช่วยให้สามารถแยกแยะซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์จากซากตกตะกอนอื่น ๆ และเทคโนโลยีรังสีเอกซ์ ก็ช่วยให้ตรวจสมรรถภาพการได้ยินของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วได้ และช่วยสร้างความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับทั้งบรรพบุรุษมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ ที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและวิวัฒนาการของคอเคลีย · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธในประเทศไทย

ระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 สมัยเดียวกันกับประเทศศรีลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ 9 สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ทั้ง 7 ประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและศาสนาพุทธในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก

มาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก (National Geographic Society) เป็นองค์กรด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษาแห่งหนึ่งของโลกที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นองค์กรที่สืบเสาะค้นหาเรื่องราวอันน่าทึ่งของภูมิศาสตร์และธรรมชาติวิทยาทั้งหมด ทั้งยังส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆ และยังศึกษาวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์โลก หัวใจของภารกิจของสมาคม คือ " เพิ่มพูนและทำให้ความรู้ทางภูมิศาสตร์กระจ่าง เนื่องจากการสนับสนุนการปกปักรักษาวัฒนธรรมของโลก, ประวัติศาสตร์และการสำรวจธรรมชาติ " จอห์น เอ็ม. ฟาเฮย์,จูเนียร์ ประธานและซีอีโอสมาคมกล่าว สมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิกมีจุดมุ่งหมายที่จะแนะนำให้ผู้คนดูแลรักษาโลกในนี้ สมาคมนี้มีผู้ดูแล 23 คน ซึ่งเป็นสมาชิกคณะผู้ดูแลสมาคม ซึ่งมาจากหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น นักวิชาการ, ธุรกิจส่วนตัว, นักวิทยาศาสตร์, พนักงงานบริษัทเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและนักอนุรักษ์ เป็นต้น.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก · ดูเพิ่มเติม »

สารนาถ

รนาถ เป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 (1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ) ตั้งห่างจากเมืองพาราณสี เมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาฮินดู ไปทางเหนือราวเก้ากิโลเมตร อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล เหตุที่ได้ชื่อว่าสารนาถ เนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชนทั้งหลาย และบ้างก็ว่ามาจากศัพท์ว่า สารงฺค + นาร.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและสารนาถ · ดูเพิ่มเติม »

สุสานจักรพรรดิฉินที่ 1

นฉินสื่อหวง (ฉินสื่อหวงปิงหมาหย่ง แปลว่า หุ่นทหารและม้าของฉินสื่อหวง) คือ ฮวงซุ้ยของจักรพรรดิจีนฉินสื่อหวงแห่งราชวงศ์ฉิน ตั้งอยู่ที่ตำบลหลินถง ห่างจากเมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี ประเทศจีน สุสานฉินสื่อหวงได้ค้นพบโดยบังเอิญเมื่อ 29 มีนาคม พ.ศ. 2517 โดยชาวนาในหมู่บ้านซีหยาง ชื่อ หยางจื้อฟา ในขณะที่ขุดดินเพื่อทำบ่อน้ำ บริเวณเชิงเขาหลีซาน ห่างจากตัวเมืองซีอาน ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 35 กม.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและสุสานจักรพรรดิฉินที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สถานีสนามไชย

นีสนามไชย เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค ซึ่งโครงการยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยเป็นสถานีในระบบใต้ดินที่อยู่ใจกลางพื้นที่อนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ในแนวถนนสนามไชย กรุงเทพมหานคร บริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นส่วนต่อขยายของเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินจากสถานีหัวลำโพง ผ่านพื้นที่เมืองเก่าก่อนลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองตลาด ไปยังฝั่งธนบุรี และยกระดับขึ้นสู่สถานีท่าพระต่อไป.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและสถานีสนามไชย · ดูเพิ่มเติม »

หมุดคณะราษฎร

หมุดคณะราษฎร ภาพแสดงที่ตั้งของหมุดคณะราษฎร (วงกลมสีเหลือง) หมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ หรือเรียกโดยทั่วไปว่า หมุดคณะราษฎร เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ณ ตำแหน่งที่พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) อ่านประกาศคณะราษฎร มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ" จัดทำขึ้นโดยกระทรวงมหาดไทย มีพิธีฝังหมุดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2479 โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นและหัวหน้าคณะราษฎรเป็นผู้ฝังหมุด ในช่วงปีหลังนี้หมุดคณะราษฎรเป็นสถานที่จัดงานรำลึกเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ในวันที่ 24 มิถุนายน ร่วมกับมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในบริเวณนั้น.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและหมุดคณะราษฎร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพิบูลมังสาหาร

ูลมังสาหาร เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากอำเภอเมืองอุบลราชธานี ประมาณ 45 กิโลเมตร เดินทางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและอำเภอพิบูลมังสาหาร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกาญจนบุรี

ังหวัดกาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ทิศเหนือ จรดจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ จรดจังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ทิศตะวันตก จรดประเทศพม.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและจังหวัดกาญจนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุพรรณบุรี

รรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 107 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศเหนือ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และกาญจนบุรี.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและจังหวัดสุพรรณบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ท่าแขก

ท่าแขก (ທ່າແຂກ) เป็นเมืองเอกในแขวงคำม่วน ประเทศลาว ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ตรงข้ามอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนมImage.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและท่าแขก · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลนาวง

ตำบลนาวง เป็นตำบลหนึ่งในจังหวัดตรัง เดิมเคยเป็นทุ่งนาที่ใช้เป็นสถานที่ฌาปนสถานเรียกว่า เปรวโคกแซะ ต่อมามีคณะกลุ่มบริษัทวัดมาจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นมาเรียกว่า วัดนาวง ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้ทรงยกฐานะระดับหมู่บ้านเป็นระดับตำบลมีชื่อว่า ตำบลนาปยา หลังจากนั้นทางราชการก็จัดรวมพื้นที่ของตำบลนาวงรวมกับตำบลบางกุ้งเพื่อให้จัดระบบการปกครองได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นการปกครองก็ไม่สะดวกจึงได้จัดแยกสองตำบลนี้ออกจากกันอีกครั้ง มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อ้างอิงว่าพื้นที่นี้เคยเป็นชุมชนที่เก่าแก่ของจังหวัดตรัง โดยมีการพบโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เขาปินะ ในปัจจุบันตำบลนาวงมีความเจริญรุ่งเรืองมากอันเนื่องมาจากสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ การจารจรสี่ช่องทางจารจรที่สะดวกโดยมีถนนเพชรเกษมตัดผ่าน ตำบลนาวงในสมัยยังปกครองด้วยสุขาภิบาลนาวงนั้น เคยได้รับการเสนอให้เป็นอำเภอนาวง เพราะในสมัยนั้นการปกครองยังเข้าไม่ทั่วถึง แต่ในปัจจุบันได้มีการจัดตั้งอำเภอขึ้นมาแทนโดยชื่อว่าอำเภอห้วยยอ.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและตำบลนาวง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบาห์เรน

ห์เรน (Bahrain; البحرين) หรือชื่อทางการ ราชอาณาจักรบาห์เรน (Kingdom of Bahrain; مملكة البحرين) เป็นประเทศเกาะในอ่าวเปอร์เซีย โดยมีสะพานเชื่อมต่อกับซาอุดีอาระเบียที่อยู่ห่างจากเกาะประมาณ 28 กิโลเมตร คือ สะพานคิงฟะฮัด ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค..1986 ส่วนสะพานมิตรภาพกาตาร์-บาห์เรน ที่กำลังอยู่ในระหว่างวางแผนงานนั้น จะเชื่อมต่อบาห์เรนเข้ากับกาตาร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจะเป็นสะพานขึงที่ยาวที่สุดในโลก.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและประเทศบาห์เรน · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทเมืองต่ำ

ปราสาทเมืองต่ำ เป็นหนึ่งในกลุ่มปราสาทมรรคโค เป็นศาสนสถานที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู สันนิษฐานว่าสร้างขึ้น เพื่อถวายพระศิวะ มีลักษณะเป็นศาสนสถานประจำเมืองหรือประจำชุมชน ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดปราสาทบูรพาราม ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ คำว่า เมืองต่ำ ไม่ใช่ชื่อดั้งเดิม แต่เป็นชื่อที่ชาวพื้นเมืองเรียกโบราณสถานแห่งนี้ เพราะปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นราบ ส่วนปราสาทพนมรุ้งตั้งอยู่บนเชิงเขา ซึ่งทั้งปราสาทเมืองต่ำและปราสาทพนมรุ้งอยู่ไม่ห่างกันมาก คือห่างกันเพียง 8 กิโลเมตร นอกจากนี้ วัสดุส่วนหนึ่งจากโบราณสถาน และโบราณวัตถุ ของปราสาทเมืองต่ำ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระเครื่อง ที่เรียกว่า "พระสมเด็จจิตรลดา" อีกด้วย ปราสาทเมืองต่ำ เป็นศาสนาสถาน ศิลปะขอมแบบบาปวน อายุประมาณ..

ใหม่!!: โบราณวัตถุและปราสาทเมืองต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

แสง มนวิทูร

ตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 -7 ตุลาคม พ.ศ. 2516) เป็นนักวิชาการด้านภาษาบาลีและสันสกฤตของ กรมศิลปากร และศาสตราจารย์พิเศษคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยรับหน้าที่ในการสอนภาษาสันสกฤต บาลี และศาสนา ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร รวมทั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีผลงานแปลจากภาษาบาลีและสันสกฤตที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นจำนวนมาก อาทิ ชินกาลมาลีปกรณ์ ศาสนวงศ์ สิหิงคนิทาน รัตนพิมพวงศ์ รสวาหินี นาฏยศาสตร์ คัมภีร์ลลิตวิสตระ และภควัทคีตา เป็นต้น.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและแสง มนวิทูร · ดูเพิ่มเติม »

โบราณสถาน

ีย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตัวอย่างโบราณสถาน แหล่งโบราณคดี (archaeological site) เป็นสถานที่ที่ก่อสร้างโดยฝีมือมนุษย์หรือสถานที่ที่พบร่องรอยของกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตที่มีคุณค่าในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและโบราณสถาน · ดูเพิ่มเติม »

โบราณคดี

การขุดค้นซากโบราณ โบราณคดี (Archaeology) คือ วิชาที่ว่าด้วย การศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ โดยผ่านทางการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี ที่ได้มาจากการสำรวจ การขุดค้น (โบราณวัตถุ) การขุดแต่ง (โบราณสถาน) และการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ (ศิลาจารึก จดหมายเหตุ พงศาวดาร) โดยทั่วไป จะต้องใช้ศาสตร์ด้านอื่นๆ ประกอบในการวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากกระบวนการข้างต้น เพื่อให้เรื่องราวในอดีตของมนุษย์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ศาสตร์เหล่านั้น เช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ ธรณีวิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ เรณูวิทยา การกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ที่ประเทศไทย มีการเปิดสอนคณะโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เป็นเพียงที่เดียวในประเทศไท.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและโบราณคดี · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย

ทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในเขตอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทั.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและเทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย · ดูเพิ่มเติม »

เขาขนาบน้ำ

นาบน้ำ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ แม่น้ำกระบี่ มีภูเขาสองลูก ความสูง 100 เมตร อยู่ติดแม่น้ำ ภูเขาสองลูกนี้มีชื่อเรียกว่า เขาขนาบน้ำ บริเวณนั้นมีถ้ำพระ ที่มีหินงอกหินย้อย และมีโครงกระดูกมนุษย์โบราณ แสดงว่า เคยเป็นชุมชนโบราณ.

ใหม่!!: โบราณวัตถุและเขาขนาบน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วัตถุโบราณ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »