โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โทษประหารชีวิต

ดัชนี โทษประหารชีวิต

ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิต: 103 ประเทศ โทษประหารชีวิต หรือ อุกฤษฏ์โทษ (capital punishment, death penalty) เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้ เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ" คำว่า capital มาจากคำภาษาละตินว่า capitalis ความหมายตามตัวอักษร คือ "เกี่ยวกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว) สังคมอดีตส่วนมากนั้นมีโทษประหารชีวิตโดยเป็นการลงโทษอาชญากร และผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองหรือศาสนา ในประวัติศาสตร์ การลงโทษประหารชีวิตมักสัมพันธ์กับการทรมาน และมักประหารชีวิตในที่สาธารณะ ปัจจุบันมีประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต 58 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมทุกรูปแบบโดยนิตินัย 98 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตเฉพาะอาชญากรรมปรกติ 7 ประเทศ (โดยคงไว้สำหรับพฤติการณ์พิเศษ เช่น อาชญากรรมสงคราม) และประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยพฤตินัย (คือ ไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิตอย่างน้อยสิบปี และอยู่ระหว่างงดใช้โทษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) องค์การนิรโทษกรรมสากลมองว่าประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ยกเลิก (abolitionist) โดยองค์การฯ พิจารณาว่า 140 ประเทศเป็นผู้ยกเลิกในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ การประหารชีวิตเกือบ 90% ทั่วโลกเกิดในทวีปเอเชีย แทบทุกประเทศในโลกห้ามการประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีขณะก่อเหตุ นับแต่ปี 2552 มีเพียงประเทศอิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและซูดานที่ยังประหารชีวิตลักษณะนี้ กฎหมายระหว่างประเทศห้ามการประหารชีวิตประเภทนี้ โทษประหารชีวิตกำลังเป็นประเด็นการถกเถียงอยู่ในหลายประเทศ และจุดยืนอาจมีได้หลากหลายในอุดมการณ์ทางการเมืองหรือภูมิภาคทางวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป ข้อ 2 แห่งกฎบัตรสิทธิมูลฐานแห่งสหภาพยุโรปห้ามการใช้โทษประหารชีวิต สภายุโรปซึ่งมีรัฐสมาชิก 47 ประเทศ ยังห้ามสมาชิกใช้โทษประหารชีวิต สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติรับข้อมติไม่ผูกพันในปี 2550, 2551 และ 2553 เรียกร้องให้มีการผ่อนเวลาการประหารชีวิตทั่วโลก ซึ่งมุ่งให้ยกเลิกในที่สุด แม้หลายชาติยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ประชากรโลกกว่า 60% อาศัยอยู่ในประเทศซึ่งเกิดการประหารชีวิต เช่น สี่ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ซึ่งยังใช้บังคับโทษประหารชีวิต ทั้งสี่ประเทศออกเสียงคัดค้านข้อมติสมัชชาใหญ่ดังกล่าว.

144 ความสัมพันธ์: บารัก โอบามาบาร์บิเชอริตชาร์ล แมนสันชิคาโก (ภาพยนตร์)ชิต สิงหเสนีชินเซ็งงุมิพ.ศ. 1848พ.ศ. 2137พ.ศ. 2410พ.ศ. 2519พระยาภักดีชุมพล (แล)พระยาศรีไสยณรงค์พระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์พระเจ้าหม่องหม่องพันท้ายนรสิงห์กบฏในประเทศไทยกฎว่าด้วยความชั่วสิบประการกฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาคการชันสูตรพลิกศพการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คการพิจารณาเนือร์นแบร์กครั้งหลังการละทิ้งศาสนาอิสลามการจลาจลข้าว ค.ศ. 1918การทรมานการทารุณเด็กทางเพศการประหารชีวิตด้วยช้างการประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซนการแยกทัศนคติออกเป็นสองขั้วการแขวนคอการเข้าเมืองกับอาชญากรรมกิโยตีนมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์มาตุฆาตมาเรีย มันเดอมินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกีม้าเจ๊กยุทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็กยีเอ๋งรักร่วมเพศรัฐโอคลาโฮมาราชวงศ์ชิงรถตู้ประหารชีวิตลัฟเรนตีย์ เบรียาลำดับเหตุการณ์คณะราษฎรวัดใหญ่ชัยมงคลวันเมืองเพื่อชีวิตวิกตอร์ อูโก...วิสุทธิ์ วานิชบุตรวิดคัน ควิสลิงสมเด็จพระเจ้าทองลันสฤษดิ์ ธนะรัชต์สหรัฐสามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือสาธารณรัฐโรมัน (คริสต์ศตวรรษที่ 19)สิทธิมนุษยชนสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์สี่สิบเจ็ดโรนินสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทยสปานเดาบัลเลต์หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์)หลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิช (โรเบิร์ต ฮันเตอร์)อลิซาเบธ: ราชินีบัลลังก์ทองอัลดริช เอมส์อันเดรส โบนีฟาซีโออากาทาแห่งซิซิลีอิวะเนะ มะสึอิอิน-จันฮิเดะกิ โทโจจังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลงธงชาติเวียดนามขุนรองปลัดชู (ภาพยนตร์)ณเณร ตาละลักษณ์ดาบคริสต์ทศวรรษ 1590ความพิถีพิถัน (จิตวิทยาบุคลิกภาพ)ความตายความเอนเอียงเพื่อยืนยันคัง โหย่วเหวย์คุจิกิ ลูเคียคณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรักคดีลูกฆ่าพ่อในโทะชิงิงักฮุยงำเต๊กตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสาซัดดัม ฮุสเซนซุนโฮซีอุยปฏิบัติการบาร์บารอสซาประเทศอิตาลีประเทศไต้หวันปาฏิหาริย์แดนประหารปิตุฆาตนิกิต้าแผนลับแหกคุกนรกแขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่แซ็งฟอนีฟ็องตัสติกแปลก พิบูลสงครามแนต เทอร์เนอร์โพแทสเซียมคลอไรด์โยะชิโกะ ยะมะงุชิโฮเซ รีซัลโจสิดโจน ออฟ อาร์ค วีรสตรีเหล็กหัวใจทมิฬโทมัส ยอร์ช น็อกซ์โทษประหารชีวิตในสหราชอาณาจักรโทษประหารชีวิตในประเทศไทยโขนเบญจศีลเชลซี แมนนิงเบนิโต มุสโสลินีเพชฌฆาตเพนโทบาร์บิทอลเมียงซอง จักรพรรดินีที่โลกลืมเรือนจำจี๊ฮหว่าเหตุยิงกันในออโรรา ค.ศ. 2012เหตุยิงกันในทูซอน พ.ศ. 2554เหตุระเบิดในบาหลี พ.ศ. 2545เหตุระเบิดในย่างกุ้ง พ.ศ. 2526เอมีลีโอ อากีนัลโดเอียวสิ้วเฮโรสตราตัสเจมส์ ดับเบิลยู. ร็อดเจอร์สเจียง จื่อหยาเจ้าเสือข่านฟ้าเท็ด บันดีเฉลียว ปทุมรสเปาบุ้นจิ้นหนุ่ม พิทักษ์ธรรม ภาค 2เน็ด เคลลีThe Last Temptation of Christ12 ธันวาคม17 มิถุนายน18 เมษายน19 มิถุนายน20 สิงหาคม21 มกราคม22 มิถุนายน25 เมษายน28 กรกฎาคม30 ธันวาคม7 มิถุนายน8 กุมภาพันธ์ ขยายดัชนี (94 มากกว่า) »

บารัก โอบามา

รัก ฮูเซน โอบามา ที่ 2 (Barack Hussein Obama II; เกิด 4 สิงหาคม ค.ศ. 1961) เป็นนักการเมืองชาวอเมริกัน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 44 ตั้งแต..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและบารัก โอบามา · ดูเพิ่มเติม »

บาร์บิเชอริต

ันธะทางเคมีของกรดบาร์บิชัวริก ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของยากลุ่มบาร์บิเชอริต บาร์บิเชอริต (barbiturate) เป็นยาที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง มักใช้เป็นยาระงับประสาทหรือเป็นยาสลบ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยาคลายกังวล, ยานอนหลับ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ การใช้บาร์บิเชอริตอาจทำให้เกิดการติดยาทั้งทางกายและทางจิตใจ ดังนั้นแพทย์จึงมักใช้ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนแทนการใช้บาร์บิเชอริต ซึ่งยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนมีความเสี่ยงด้านการใช้ยาเกินขนาดและการติดยาต่ำกว่าบาร์บิเชอริต อย่างไรก็ตาม บาร์บิเชอริตยังคงถูกใช้งานอย่างแพร่หลายเพื่อหลายวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะการใช้เป็นยาสลบหลัก, รักษาโรคลมชัก, รักษาไมเกรนเฉียบพลัน ตลอดจนใช้เพื่อทำการุณยฆาตหรือโทษประหารชีวิต.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและบาร์บิเชอริต · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์ล แมนสัน

ร์ล แมนสัน ชาร์ล มิลเลส แมนสัน (Charles Milles Manson) (12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1934 - 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017) เป็นอาชญากรชาวอเมริกัน ต่อมาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางกับ ครอบครัวแมนสัน (Manson Family) ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นในรัฐแคลิฟอร์เนียปลายคริสต์ทศวรรษ 1960Bugliosi, Vincent with Gentry, Curt.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและชาร์ล แมนสัน · ดูเพิ่มเติม »

ชิคาโก (ภาพยนตร์)

ก (Chicago) เป็นภาพยนตร์เพลงดัดแปลงจาก ละครเพลงเสียดสีสังคมชื่อเดียวกัน กำกับและออกแบบท่าเต้นโดย ร็อบ มาร์แชลล์ และบทภาพยนตร์โดย บิลล์ คอนดอน ออกฉายครั้งแรกในวันที่27 ธันวาคม..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและชิคาโก (ภาพยนตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ชิต สิงหเสนี

ต สิงหเสนี เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและชิต สิงหเสนี · ดูเพิ่มเติม »

ชินเซ็งงุมิ

งของกลุ่มชินเซ็งงุมิ ชินเซ็งงุมิ เป็นชื่อของกลุ่มตำรวจพิเศษของประเทศญี่ปุ่นในยุคบะกุมะสึ หรือช่วงปลายแห่งการปกครองของรัฐบาลโชกุนโทะกุงะว.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและชินเซ็งงุมิ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1848

ทธศักราช 1848 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและพ.ศ. 1848 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2137

ทธศักราช 2137 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและพ.ศ. 2137 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2410

ทธศักราช 2410 ตรงกั.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและพ.ศ. 2410 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2519

ทธศักราช 2519 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1976 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและพ.ศ. 2519 · ดูเพิ่มเติม »

พระยาภักดีชุมพล (แล)

ระยาภักดีชุมพล (แล) เป็นเจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก ชาวเมืองชัยภูมินิยมเรียกขานท่านด้วยความยกย่องนับถือว่า เจ้าพ่อพญาแล.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและพระยาภักดีชุมพล (แล) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาศรีไสยณรงค์

พระยาศรีไสยณรงค์ (?-พ.ศ. 2137)เป็นข้าหลวงเดิมและทหารเอกคู่พระทัยของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เกิดเมื่อใดไม่ปรากฏเดิมมี ยศเป็น พระศรีถมอรัตน์ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 ก็ทรงแต่งตั้งให้ พระศรีถมอรัตน์เป็น พระยาศรีไสยณรงค์ ต่อมาในคราว สงครามยุทธหัตถี ปี พ.ศ. 2135 ท่านและแม่ทัพท่านอื่นๆตามเสด็จ ไม่ทันพระองค์ก็ทรงพิโรธโปรดให้ ประหารชีวิต แต่ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ได้มาขอร้องเอาไว้จึงโปรดให้ ไปตีเมืองมะริด, ทวายและตะนาวศรีแทน เมื่อพระยาศรีไสยณรงค์ตีได้เมืองตะนาวศรีจึงโปรดให้ท่านครองเมืองนี้แต่หลังจากสมเด็จพระนเรศวรทรงตีได้กรุงกัมพูชาแล้วในปีพ.ศ. 2136 พระยาศรีไสยณรงค์ก็น้อยใจพระองค์ว่าทำไมไม่ให้ท่านร่วมกองทัพไปด้วยจึงก่อการกบฏเมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบจึงโปรดให้พระราชอนุชาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ ไปเจรจาและเกลี้ยกล่อมข้าหลวงเดิมท่านนี้แต่ท่านพระยาไม่ยอมพระองค์ทรงทราบก็ทรงพระพิโรธและมีพระบัญชาให้ ้พระเอกาทศรถขณะที่ทรงดำรงพระอิสริยศเป็น พระมหาอุปราช เข้าตีเมืองตะนาวศรีและจับพระยาศรีไสยณรงค์ ประหารชีวิต ในปี พ.ศ. 2137 หมวดหมู่:ขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา ศรีไสยณรงค์.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและพระยาศรีไสยณรงค์ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848

ระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและพระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์

ระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร ด้วยพระนิสัยที่เด็ดขาดเป็นที่เคารพยำเกรงในหมู่ข้าราชบริพารและพสกนิกร เมื่อทรงพิจารณาตัดสินว่าคดีความใดแล้ว หากทรงเอ่ยว่า "อ้าว" เมื่อใด หมายถึงการต้องโทษตัดศีรษะประหารชีวิต จนประชาชนทั่วไปต่างถวายพระสมัญญาว่า "เจ้าชีวิตอ้าว"บุญเสริม ศาสตราภัย และสังคีต จันทน.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหม่องหม่อง

ระเจ้าหม่องหม่อง หรือ พระเจ้าพองกาซาหม่องหม่อง (Maung Maung, Phaungkaza Maung Maung, ဖောင်းကားစား မောင်မောင်,; 12 กันยายน ค.ศ. 1763 - 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1782) เป็นพระโอรสองค์หนึ่งในพระเจ้ามังลอก หรือพระเจ้านองดอจี พระราชโอรสพระองค์โตในพระเจ้าอลองพญา ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์คองบอง เมื่อพระเจ้ามังระสวรรคตลงอย่างกะทันหันในปี พ.ศ. 2319 หม่องหม่อง ซึ่งเป็นเจ้าเมืองพองกา ซึ่งมีพระชันษาเพียง 18 ชันษา เมื่อพระเจ้าจิงกูจา หรือพระเจ้าเซงกูเมง ได้เสด็จไปกระทำการสักการะเจดีย์และพระพุทธรูปนอกกรุงอังวะ หม่องหม่องและขุนนางรวมถึงกำลังทหารจำนวนหนึ่ง (รวมถึงอะแซหวุ่นกี้ด้วย) ได้กระทำการยึดอำนาจแล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ แต่ทว่าอยู่ในอำนาจได้เพียงแค่ 7 วันเท่านั้น ปโดงเมง เจ้าเมืองปโดง ซึ่งเป็นพระโอรสพระองค์หนึ่งของพระเจ้าอลองพญา ก็ยกทัพเข้ามาทำการปราบปราม พร้อมทั้งกำจัดกลุ่มผู้ที่สนับสนุนทั้งหม่องหม่องและพระเจ้าจิงกูจาด้วยการประหารชีวิต แล้วปราบดาภิเษกตนเองขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าปดุง ในปี พ.ศ. 2325.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและพระเจ้าหม่องหม่อง · ดูเพิ่มเติม »

พันท้ายนรสิงห์

รูปเคารพพันท้ายนรสิงห์ ที่ศาลพันท้ายนรสิงห์ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์ พันท้ายนรสิงห์ เป็นนายท้ายเรือในรัชสมัยพระเจ้าเสือ หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ตอนปลายอาณาจักรอยุธยา โดยพันท้ายนรสิงห์เป็นผู้มีชื่อเสียงด้านความซื่อสัต.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและพันท้ายนรสิงห์ · ดูเพิ่มเติม »

กบฏในประเทศไทย

ตามกฎหมายไทย กบฏ เป็นความผิดอาญา ฐานกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ภายในราชอาณาจักร โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อล้มล้าง หรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ หรืออำนาจอธิปไตยทั้งสาม หรือแบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏหรือขบถ และกำหนดโทษสำหรับผู้ก่อการกบฏ ให้ประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม มีผู้ได้รับโทษทัณฑ์ในข้อหากบฏในราชอาณาจักรน้อย มีที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ เช่น กบฏ ร.ศ. 130 รับนิรโทษกรรมจากรัฐบาล หรือหลบหนีไปนอกราชอาณาจักร เช่น กบฏวังหลวง กรณีที่มีผู้รับโทษประหารชีวิตได้แก่ กบฏ 26 มีนาคม 2520 ซึ่งเป็นหนึ่งในชนวนเหตุที่ทำให้ทหารรัฐประหารรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียรในเวลาต่อม.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและกบฏในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการ

กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการ (Ten Abominations) เป็นกฎหมายจีนดั้งเดิมประเภทหนึ่งที่กำหนดความผิดซึ่งทั่วไปมองว่าเป็นความชั่วช้าอย่างถึงที่สุด สังคมจะมีความไพบูลย์หากไม่มีผู้ฝ่าฝืนกฎนี้ สิบประการที่ว่ามีดังนี้.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและกฎว่าด้วยความชั่วสิบประการ · ดูเพิ่มเติม »

กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค

ประกาศของตำรวจอันเป็นผลมาจากกฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค คำสั่งประธานาธิบดีไรช์ว่าด้วยการป้องกันประชาชนและรัฐ หรือรู้จักกันในชื่อ กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค (Reichstagsbrandverordnung) เป็นคำสั่งของฝ่ายบริหารที่เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก ประธานาธิบดีเยอรมนี ออกเพื่อตอบโต้เหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาค เมื่อวันที่ 27 กุมภาพัน..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและกฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค · ดูเพิ่มเติม »

การชันสูตรพลิกศพ

การชันสูตรพลิกศพ (Autopsy) คือการตรวจพิสูจน์เพื่อดูสภาพศพแต่เพียงภายนอก ค้นหาสาเหตุและพฤติการณ์ที่ตายว่าผู้ตายคือใคร ตายเมื่อใด ถ้าตายโดยคนทำร้าย สงสัยว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดที่ทำให้เกิดการตายตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 129 ความว่า "ให้ทำการสอบสวนรวมทั้งการชันสูตรพลิกศพในกรณีที่ความตายเป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพ ถ้าการชันสูตรพลิกศพยังไม่เสร็จ ห้ามมิให้ฟ้องผู้ต้องหายังศาล" ซึ่งตามกฎหมายมีความมุ่งหมายให้แพทย์และพนักงานสอบสวนดำเนินการตรวจสอบในสถานที่พบศพ ยกเว้นแต่ว่าการชันสูตรพลิกศพ เพื่อตรวจดูสภาพศพในสถานที่เกิดเหตุนั้น อาจเป็นเหตุทำให้การจราจรติดขัดมาก อาจกลายเป็นสถานที่อุดจาตาจากสภาพศพ หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนทั่วไป แพทย์และพนักงานสอบสวนย่อมมีสิทธิ์ที่จะสามารถเคลื่อนย้ายศพ เพื่อนำไปทำการชันสูตรพลิกศพยังสถานที่อื่นที่เหมาะสมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 148 ความว่า "เมื่อปรากฏแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานให้มีการชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่ตายโดยการประหารชีวิตตามกฎหมาย"มาตรา 148 การชันสูตรพลิกศพ, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, ร..ต.อ หญิง นัยนา เกิดวิชัย, สำนักพิมพ์นิตินัย, 2550 อาจเห็นได้ว่าสภาพการจราจรในปัจจุบันก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางด้านจราจรเป็นจำนวนมาก เกือบทุกรายที่ประสบอุบัติเหตุจะเสียชีวิต จึงจำเป็นที่จะต้องเคลื่อนย้ายศพจากสถานที่เกิดเหตุเพื่อไปทำการชันสูตรพลิกศพและตรวจสอบสาเหตุการตายในสถานที่อื่นเช่น สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งก็มักจะเป็นสถานที่ที่ใช้ในการผ่าศพนั่นเอง.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและการชันสูตรพลิกศพ · ดูเพิ่มเติม »

การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551

การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไต..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 · ดูเพิ่มเติม »

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

ซึดดอยท์เชอไซทุง (Süddeutsche Zeitung) ลงข่าว "คำพิพากษาในเนือร์นแบร์ค" ในภาพคือ: (แถวจากซ้ายไป - รูปจากบนลงมา) ''แถวที่หนึ่ง'' เกอริง, เฮสส์, ริบเบนทรอพ, โรเซนแบร์ก, ฟรังค์ และฟริก; ''แถวที่สอง'' ฟุงค์, ชไตเชอร์ และชัชท์; ''แถวที่สาม'' เดอนิทซ์, แรเดอร์ และชีรัช; ''แถวที่สี่'' เซาค์เคล, โยเดิล, พาเพิน, ไซซ์-อินควัร์ท, สเปร์, นอยรัท และบอร์มันน์ การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค (Nuremberg trials) เป็นชุดการพิจารณาคดีทางทหารที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองเป็นผู้จัด มีจุดเด่นเป็นการฟ้องสมาชิกชั้นผู้ใหญ่ในคณะผู้นำทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีซึ่งพ่ายสงคราม การพิจารณาทั้งนี้มีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เมืองเนือร์นแบร์ค รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี โดยชุดแรกเป็น "การพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามกลุ่มหลัก" ในศาลทหารระหว่างประเทศ (International Military Tribunal) เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

การพิจารณาเนือร์นแบร์กครั้งหลัง

การพิจารณาเนือร์นแบร์กครั้งหลัง หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า การพิจารณาอาชญากรสงครามต่อหน้าคณะตุลาการทหารเนือร์นแบร์ก หมายถึงการพิจารณาทางทหาร 12 คดีซึ่งพิจารณาความผิดฐานอาชญากรรมสงครามซึ่งมีสมาชิกผู้นำทางทหาร การเมืองและเศรษฐกิจที่ยังมีชีวิตอยู่ของนาซีเยอรมนีเป็นจำเลย การพิจารณามีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เนือร์นแบร์ก หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและการพิจารณาเนือร์นแบร์กครั้งหลัง · ดูเพิ่มเติม »

การละทิ้งศาสนาอิสลาม

การละทิ้งศาสนาอิสลาม หรือ การสิ้นสภาพจากการเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม (ردة, ริดดะฮ์ หรือ ارتداد) หมายถึงการที่ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามได้ละทิ้งศาสนาอิสลามไปยึดมั่นในการปฏิเสธด้วยความเต็มใจ โดยสามารถเป็นการปฏิเสธทางกาย ทางจิตใจ หรือทางวาจา กรณีนี้รวมถึงผู้ที่ละทิ้งศาสนาอิสลาม อาจละทิ้งไปเปลี่ยนเข้ารับศาสนาอื่น โดยผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามโดยกำเนิด หรือผู้ที่เคยเปลี่ยนเข้ารับศาสนาอิสลามมาก่อน ปัจจุบัน ในประเทศอิสลามหลายประเทศ การละทิ้งศาสนาอิสลามถือว่าเป็นการกระทำที่บาป และผู้กระทำสามารถถูกประหารชีวิตได้.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและการละทิ้งศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

การจลาจลข้าว ค.ศ. 1918

ซุซุกิ โชเท็นในเมืองโกเบ ถูกเผาทำลายระหว่างการจลาจลข้าวในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1918 การจลาจลข้าว..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและการจลาจลข้าว ค.ศ. 1918 · ดูเพิ่มเติม »

การทรมาน

การทรมาน (torture) เป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางกายหรือจิตใจต่อสิ่งมีชีวิตเพื่อตอบสนองความปรารถนาบางอย่างของผู้ทรมานหรือบังคับให้สิ่งที่ถูกทรมานกระทำบางอย่าง การทรมานโดยนิยามเป็นการกระทำที่รู้สำนึกและเจตนา ปกติการกระทำโดยไม่รู้สำนึกหรือก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างละเลยโดยปราศจากเจตนาเช่นนั้นไม่ถือเป็นการทรมาน ปัจเจกบุคคล กลุ่มหรือรัฐใช้หรืออนุมัติการทรมานโดยตลอดตั้งแต่โบราณกาลจนปัจจุบัน และรูปแบบการทรมานมีระยะเวลาได้หลากหลายตั้งแต่ไม่กี่นาทีจนถึงหลายวันหรือกว่านั้น สาเหตุของการทรมานนั้นมีได้ตั้งแต่การลงโทษ การล้างแค้น การล้างสมอง การป้องปราม การบีบบังคับผู้เสียหายหรือบุคคลอื่น การสอบสวนเพื่อล้วงสารสนเทศหรือคำสารภาพโดยไม่คำนึงว่าเป็นเท็จหรือไม่ หรือเป็นเพียงความพึงพอใจแบบซาดิสต์ของผู้ที่ลงมือหรือสังเกตการทรมานนั้น ในกรณีอื่น ผู้ทรมานอาจแตกต่างจากเงื่อนไขของผู้เสียหาย มีการออกแบบการทรมานบางรูปแบบเพื่อก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางจิตใจหรือทิ้งการบาดเจ็บทางกายหรือหลักฐานน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ขณะที่มีการทำลายทางจิตใจอย่างเดียวกัน ผู้ทรมานอาจฆ่าหรือทำให้บาดเจ็บซึ่งผู้เสียหายหรือไม่ก็ได้ แต่บางครั้งการทรมานทำให้เกิดการเสียชีวิตโดยเจตนาและใช้เป็นโทษประหารชีวิตรูปแบบหนึ่ง รูปแบบการทรมานซึ่งเจตนาให้ถึงตายอาจยืดออกไปเพื่อให้ผู้เสียหายทุกข์ทรมานมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย (ตัวอย่างเช่น การแขวนคอครึ่ง) แม้บางรัฐอนุมัติการทรมาน แต่กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายในประเทศของประเทศส่วนใหญ่ห้าม แม้การทรมานมิชอบด้วยกฎหมายและมีการประณามอย่างกว้างขวาง แต่ยังมีการอภิปรายอยู่ว่าสิ่งใดมีนิยามทางกฎหมายว่าเป็นการทรมาน การทรมานเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงและข้อ 5 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนประกาศว่ายอมรับไม่ได้ (แต่ไม่ขัดต่อกฎหมาย) ประเทศภาคีอนุสัญญาเจนีว..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและการทรมาน · ดูเพิ่มเติม »

การทารุณเด็กทางเพศ

การทารุณเด็กทางเพศ (Child sexual abuse ตัวย่อ CSA, child molestation) หรือ การกระทำทารุณต่อเด็กทางเพศ หรือ การทำร้ายเด็กทางเพศ เป็นรูปแบบการกระทำทารุณต่อเด็กที่ผู้ใหญ่, หรือเยาวชนหรือวัยรุ่นที่มีอายุมากกว่าและต่างระดับพัฒนา ใช้เด็กกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ มีรูปแบบตั้งแต่การขอหรือบังคับให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศ (ไม่ว่าจะได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่), การแสดงสิ่งลามกอนาจารไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเพศ หัวนมหญิง เป็นต้น เพื่อสนองความต้องการทางเพศของตน เพื่อขู่ขวัญเด็ก หรือเพื่อปะเหลาะประเล้าประโลมเตรียมเด็กเพื่อทารุณกรรม, การสัมผัสเด็กทางเพศ, หรือการใช้เด็กเพื่อผลิตสื่อลามกอนาจาร ทารุณกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายที่หลายสถาน รวมทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือสำนักงานที่มีเด็กทำงานเป็นปกติ การจับเด็กแต่งงานเป็นรูปแบบการทารุณหลักอย่างหนึ่ง ที่กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ได้กล่าวไว้ว่า "อาจเป็นรูปแบบการทารุณและฉวยผลประโยชน์จากเด็กหญิงทางเพศที่แพร่หลายที่สุด" ทารุณกรรมต่อเด็กส่งผลทางจิตใจ ให้เกิดความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจแบบซับซ้อน (complex post-traumatic stress disorder) ความโน้มเอียงที่จะตกเป็นเหยื่อทารุณกรรมอีกในวัยผู้ใหญ่ รวมทั้งการบาดเจ็บทางกาย และเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาทั้งหมด ทารุณกรรมโดยสมาชิกครอบครัวซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการร่วมประเวณีกับญาติสนิท จะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงยิ่งกว่าต่อเด็ก ส่งผลกระทบต่อจิตใจในระยะยาว โดยเฉพาะในกรณีที่ทำโดยผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง พ่อบุญธรรม แม่บุญธรรม ความแพร่หลายทั่วโลกของทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กประเมินอยู่ที่ 19.7% ในหญิง และ 7.9% ในชาย ผู้กระทำผิดส่วนมากรู้จักเหยื่อ ราว 30% เป็นญาติ บ่อยที่สุดเป็นพี่ชาย พ่อ ลุง หรือลูกพี่ลูกน้อง ราว 60% เป็นคนรู้จักอื่นอย่างเช่น "เพื่อน"ของคนในครอบครัว พี่เลี้ยงเด็ก หรือเพื่อนบ้าน และราว 10% เป็นคนแปลกหน้า ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่เป็นชาย จากการศึกษาพบว่า หญิงทำผิดต่อ 14-40% ของเหยื่อเด็กชาย และ 6% ของเหยื่อเด็กหญิง(โดยที่เหลือของเหยื่อทำโดยผู้ทำผิดเพศชาย) ส่วนคำภาษาอังกฤษว่า pedophile (คนใคร่เด็ก) มักจะใช้อย่างไม่เลือกกับทุก ๆ คนที่ทารุณเด็กทางเพศ แต่ผู้ทำผิดต่อเด็กทุกคนไม่ใช่คนใคร่เด็ก ยกเว้นถ้ามีความรู้สึกทางเพศที่รุนแรงกับเด็กที่อยู่ในวัยก่อนหนุ่มสาว และคนใคร่เด็กทุกคนก็ไม่ใช่ผู้ทำผิดต่อเด็ก ในกฎหมายบางประเทศ คำว่า child sexual abuse (การทารุณเด็กทางเพศ) ใช้เป็นคำคลุมทั้งการละเมิดกฎหมายอาญาและแพ่ง ที่ผู้ใหญ่ทำกิจทางเพศร่วมกับผู้เยาว์ หรือฉวยประโยชน์จากผู้เยาว์เพื่อสนองความรู้สึกทางเพศ สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ยืนยันว่า "เด็กไม่สามารถยินยอมมีกิจกรรมทางเพศร่วมกับผู้ใหญ่" และประณามการทำเช่นนั้นของผู้ใหญ่ คือ "ผู้ใหญ่ที่มีกิจกรรมทางเพศร่วมกับเด็ก กำลังละเมิดทั้งกฎหมายและจริยธรรม ที่ไม่มีทางพิจารณาได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ปกติหรือที่ยอมรับได้ในสังคม".

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและการทารุณเด็กทางเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การประหารชีวิตด้วยช้าง

นักโทษถูกแยกแขนขาด้วยช้างในซีลอน ภาพวาด ค.ศ. 1861 การประหารชีวิตด้วยช้าง เป็นวิธีการทั่วไปในการประหารชีวิตในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเดีย เป็นเวลานานนับหลายพันปีมาแล้ว ช้างเอเชียถูกใช้ในการเหยียบ ตัดแขนขา หรือทรมานนักโทษในการประหารชีวิตต่อสาธารณะ ช้างที่จะถูกใช้ในการประหารชีวิตถูกฝึกและสามารถใช้งานได้หลายอย่าง ทั้งสามารถสังหารนักโทษได้ในทันทีหรือทรมานอย่างช้า ๆ เป็นเวลานาน ช้างถูกใช้โดยพระมหากษัตริย์ จึงถูกใช้เป็นเครื่องแสดงของทั้งอำนาจสมบูรณ์ของผู้ปกครองของพระปรีชาสามารถที่ควบคุมสัตว์ป่าได้ ภาพของการประหารชีวิตนักโทษด้วยช้างดึงดูดความสนใจของนักเดินทางชาวยุโรปซึ่งมักรู้สึกหวาดกลัว และได้บันทึกไว้ในบันทึกประจำวันและเรื่องราวชีวิตในเอเชียร่วมสมัย การปฏิบัติดังกล่าวถูกยับยั้งในภายหลังโดยจักรวรรดิยุโรปที่ยึดดินแดนในภูมิภาคเป็นอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วการปฏิบัตินี้จะมีในเอเชีย แต่บางครั้งอำนาจตะวันตกก็ได้นำไปปรับใช้บ้าง เช่น โรมและคาร์เธจ โดยเฉพาะกับทหารที่เป็นกบฏ.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตด้วยช้าง · ดูเพิ่มเติม »

การประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซน

ซัดดัม ฮุสเซน การประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซน มีขึ้นในวันที่ 30 ธันวาคม..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซน · ดูเพิ่มเติม »

การแยกทัศนคติออกเป็นสองขั้ว

การแยกทัศนคติออกเป็นสองขั้ว (Attitude polarization, belief polarization, polarization effect) หรือ ทัศนคติที่สุดโต่งเพิ่มขึ้น เป็นปรากฏการณ์ที่เรื่องที่โต้แย้งกันสุดโต่งมากขึ้นเมื่อฝ่ายต่าง ๆ พิจารณาหลักฐานในประเด็น นี่เป็นผลอย่างหนึ่งของความเอนเอียงเพื่อยืนยัน (confirmation bias) ซึ่งเป็นความโน้มเอียงที่จะหาและตีความหลักฐานตามเลือกเพื่อจะเสริมความเชื่อหรือทัศนคติของตน และถ้าเป็นหลักฐานที่คลุมเครือ แต่ละฝ่ายอาจจะตีความว่าสนับสนุนทัศนคติของตน ทำให้จุดยืนในข้อขัดแย้งห่างกันมากขึ้นแทนที่จะลดลง ปรากฏการณ์นี้พบในประเด็นปัญหาที่เร้าอารมณ์ เช่นประเด็นทางการเมือง แต่ประเด็นต่าง ๆ โดยมากจะไม่มีปัญหานี้ ในประเด็นที่เกิดปัญหานี้ เพียงแค่คิดถึงประเด็นโดยไม่ต้องพิจารณาหลักฐานใหม่ ก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้แล้ว มีกระบวนการเปรียบเทียบทางสังคมที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์นี้ คือ ความเชื่อจะเพิ่มขึ้นเพราะคนรอบ ๆ ตัวกล่าวซ้ำคำพูดของแต่ละคน ยืนยันกันและกันเอง นี้เป็นประเด็นน่าสนใจในสาขาจิตวิทยา สังคมศาสตร์ และปรัชญ.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและการแยกทัศนคติออกเป็นสองขั้ว · ดูเพิ่มเติม »

การแขวนคอ

thumbnail การแขวนคอ (Hanging) เป็นการทำให้มนุษย์หมดสติและถึงแก่ความตายโดยแขวนคอเข้ากับเชือกที่ผูกยึดเอาไว้ด้านบน บางประเทศใช้วิธีการนี้ในการประหารชีวิต และวิธีนี้ยังมักใช้ฆ่าตัวตายด้ว.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและการแขวนคอ · ดูเพิ่มเติม »

การเข้าเมืองกับอาชญากรรม

การเข้าเมืองกับอาชญากรรมหมายความถึงความสัมพันธ์ที่รับรู้หรือเป็นจริงระหว่างอาชญากรรมกับการเข้าเมือง เอกสารข้อมูลวิชาการให้ข้อค้นพบคละกันสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองและอาชญากรรมทั่วโลก การนำเสนอเกินของผู้เข้าเมืองในระบบยุติธรรมทางอาญาของหลายประเทศอาจเป็นเนื่องจากปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจ การจำคุกสำหรับโทษการย้ายถิ่น และการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติโดยตำรวจและระบบยุติธรรม การวิจัยเสนอว่าบุคคลมีแนวโน้มประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองและอาชญากรรมสูงเกินจริง.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและการเข้าเมืองกับอาชญากรรม · ดูเพิ่มเติม »

กิโยตีน

กีโยตีนในอังกฤษ โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง ผู้เสนอให้ประหารชีวิตโดยการตัดคอ แต่ตัวเขาไม่ใช่ผู้ประดิษฐ์กิโยตีน กิโยตีน (guillotine) เป็นชื่อเรียกของอุปกรณ์การประหารชีวิตของฝรั่งเศส ถูกประดิษฐ์ขึ้นในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสเพื่อใช้ตัดคอนักโทษ กิโยตีนประกอบโครงโดยส่วนมากจะเป็นไม้ ไว้สำหรับแขวนใบมีดรูปสี่เหลี่ยมคางหมู น้ำหนักประมาณ 40 กก.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและกิโยตีน · ดูเพิ่มเติม »

มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์

มักซีมีเลียง ฟร็องซัว มารี อีซีดอร์ เดอ รอแบ็สปีแยร์ (Maximilien François Marie Isidore de Robespierre; 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2301 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337) เป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมที่ตั้งขึ้นเพื่อสอดส่องดูแลความมั่นคงปลอดภัยในสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งประธานของคณะนี้มีอำนาจจับกุมและสั่งประหารชีวิตผู้คนได้ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2301 (ค.ศ. 1758) ที่เมืองอารัส แคว้นนอร์-ปาดกาแล ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาก็ได้เข้าเป็นผู้นำของกลุ่มฌากอแบ็งที่กล่าวหาพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส และพระนางมารี อ็องตัวแน็ตว่า ได้ทรงกระทำการในสิ่งที่เป็นการขายชาติ ทั้งยังเรียกร้องให้ประหารชีวิตทั้งสองพระองค์อีกด้วย แต่หลังจากนั้น ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) มีฝูงชนฝรั่งเศสกลุ่มใหญ่ลุกฮือทลายคุกบัสตีย์ในกรุงปารีส เพื่อต่อต้านระบอบกษัตริย์และขุนนางของฝรั่งเศส แล้วไม่นานชาวฝรั่งเศสจำนวนมากก็เข้าร่วมฝูงชนนี้ ทำให้การปฏิวัติสำเร็จอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ประเทศอื่น ๆ ต่างคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัตินี้และพยายามกดขี่ข่มเหงฝรั่งเศส ดังนั้น ต่อมาในพ.ศ. 2336 รอแบ็สปีแยร์ก็ฉวยโอกาสตอนตนกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังและช่วงที่ฝรั่งเศสกำลังถูกคุกคาม เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม เขาจึงได้กลายเป็นจอมเผด็จการอย่างแท้จริง ในเวลาปีเดียว เขาจับกุมและประหารผู้คนนับพัน ๆ ตั้งแต่ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ จนถึงความผิดอุกฉกรรจ์ หรือแม้แต่การใส่ร้ายใส่ความโดยรอแบ็สปีแยร์ ต้องถูกประหารโดยเครื่องประหารกิโยตีน เขาคิดว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม แต่คนอื่น ๆ เรียกช่วงเวลาที่รอแบ็สปีแยร์อยู่ในตำแหน่งว่า สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ศัตรูจึงขนานนามเขาว่า ดิกตาเตอร์ซ็องกีแนร์ หรือเผด็จการกระหายเลือด ดังนั้นใน พ.ศ. 2337 จึงมีผู้คนจำนวนมหาศาลรวมตัวกันโค่นอำนาจและจับกุมรอแบ็สปีแยร์ เขาพยายามฆ่าตัวตาย แต่ไม่สำเร็จ ต้องตายโดยการถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตีนท่ามกลางผู้คนมากมายที่รุมล้อมในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337 (ค.ศ. 1794) หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2301 หมวดหมู่:นักการเมืองฝรั่งเศส หมวดหมู่:ผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส หมวดหมู่:บุคคลในการปฏิวัติฝรั่งเศส หมวดหมู่:ผู้สมรู้ร่วมคิดการประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ · ดูเพิ่มเติม »

มาตุฆาต

มาตุฆาต (matricide) หมายถึง การฆ่ามารดาของตัวเอง คำว่า "มาตุฆาต" มาจากการรวมกันของ 2 คำคือ มาตุ (แม่) และ ฆาต (ฆ่า) สำหรับคำในภาษาอังกฤษ matricide มาจากการรวมกันของคำในภาษาละติน mater (แม่) และคำปัจจัย -cida (ฆ่า) ในทางกฎหมาย การทำมาตุฆาตมีโทษถึงประหารชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 และเป็น 1 ใน อนันตริยกรรม (กรรมที่หนักที่สุด) 5 อย่างของพระพุทธศาสน.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและมาตุฆาต · ดูเพิ่มเติม »

มาเรีย มันเดอ

มาเรีย มันเดอ(Maria Mandl) (เช่นเดียวกับการสะกดว่า Mandel; 10 มกราคม ค.ศ. 1912 – 24 มกราคม ค.ศ. 1948) เป็นเจ้าหน้าที่เอ็สเอ็ส-เฮลเฟอริน(SS-Helferin)หรือผู้ช่วยหญิงเอ็สเอ็ส ชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียงที่เลวร้ายที่สุดสำหรับบทบาทสำคัญของเธอในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของนาซีหรือฮอโลคอสต์ในฐานะเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ค่ายมรณะเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา ที่เชื่อว่าเธอมีส่วนร่วมอย่างโดยตรงในการเสียชีวิตของนักโทษหญิงทั้งหมด 500,000 คน ภายหลังสงคราม เธอได้พยายามหลบหนีไปบ้านเกิดแต่กลับถูกจับกุมได้และถูกคุมขังเอาไว้ จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและมาเรีย มันเดอ · ดูเพิ่มเติม »

มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ

มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ (みなもと の よりとも Minamoto no Yoritomo หรือ 源 頼朝 Minamoto Yoritomo) หรือ โยะริโตะโมะแห่งมินะโมะโตะ เป็นผู้ก่อตั้งรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ และดำรงตำแหน่งโชกุนตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและมินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ · ดูเพิ่มเติม »

มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี

นม ชอมสกี เป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะปัญญาชน นักปฏิบัติการ (หรือนักกิจกรรม) ทางการเมือง และนักวิจารณ์ เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอื่น ๆ เขาเรียกตัวเองว่า นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยม ผู้สนับสนุนสหการนิยมแบบอนาธิปไตย (anarcho-syndicalism) และมองว่า เป็นผู้รอบรู้สำคัญคนหนึ่งในการเมืองฝ่ายซ้ายของสหรัฐ โนม ชอมสกี ในการประท้วงต่อต้านสงครามในเมืองแวนคูเวอร์ พ.ศ. 2547.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี · ดูเพิ่มเติม »

ม้าเจ๊ก

ม้าเจ๊ก (Ma Su;; ค.ศ. 190 — ค.ศ. 228) เป็นหนึ่งในที่ปรึกษาหรือกุนซือและแม่ทัพคนหนึ่งของจ๊กก๊ก.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและม้าเจ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็ก

ทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็ก (Valkyrie) เป็นภาพยนตร์อเมริกันในปี ค.ศ. 2008 นำแสดงโดย ทอม ครูซ, เคนเนธ บรานาห์, บิล ไนอี, เอ็ดดี อิซซาร์ด, เทเรนซ์ สแตมพ์, ทอม วิลคินสัน กำกับการแสดงโดย ไบรอัน ซิงเกอร.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและยุทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ยีเอ๋ง

ีเอ๋ง (Mi Heng) หนึ่งในที่ปรึกษาของโจโฉที่ปากดีอวดเก่งไม่รู้เวลา จึงถูกประหารชีวิต ยี่เอ๋งเป็นชาวเมืองเพงงวนก๋วน ปัจจุบันอยู่ในแขวงชางฮี มณฑลซานตง มีชื่อรองว่า "เจิ้งผิง" (正平) ปรากฏตัวครั้งแรก เมื่อเตียวสิ้วเข้าร่วมกับโจโฉแล้ว โจโฉต้องการทูตไปเจรจาเกลี้ยกล่อมเล่าเปียวเป็นพวกด้วย จึงปรึกษาขงหยงว่าควรตั้งใครเป็นทูตไปเกงจิ๋วดี ขงหยงเสนอยีเอ๋ง บัณฑิตหนุ่มอายุ 20 ปี โจโฉก็เคยได้ยินชื่อยีเอ๋งมาบ้าง จึงเชิญให้ยีเอ๋งมาพบ เมื่อยีเอ๋งมาถึงแล้วได้คำนับโจโฉ แต่โจโฉไม่ยอมคำนับตอบ ด้วยเห็นว่ายีเอ๋งไม่มีท่าทีว่าจะเป็นคนฉลาดเฉลียวสมดังคำเล่าลือ ยีเอ๋งจึงรำพันออกมาว่า ณ ที่นี่กว้างนักแต่หาคนดี ๆ สักคนไม่มี โจโฉจึงถามว่า อันข้าพเจ้านั้นมีผู้ดี ๆ เก่ง ๆ มาร่วมงานมากมาย ไฉนจึงว่าไม่มีคนดีมาร่วมงาน ยีเอ๋งจึงถามว่า บุคคลที่ท่านว่าดี ยกตัวอย่างมาสิ โจโฉจึงตอบไปหลายคนทั้งขุนนางบุ๋นและบู๊ ได้แก่ ซุนฮก, ซุนฮิว, กุยแก, เทียหยก, เตียวเลี้ยว, เคาทู, ลิเตียน, งักจิ้น แต่ยีเอ๋งกลับหัวเราะเยาะพร้อมกล่าวถึงบุคคลที่โจโฉว่ามาแต่ละคนล้วนแต่ไม่ได้เรื่องว่า ซุนฮกเหมาะสำหรับใช้ให้ไปเยี่ยมคนป่วยหรือไปร่วมงานศพเท่านั้น ซุนฮิวนั้นก็เหมาะที่จะเป็นสัปเหร่อมากกว่า กุยแกก็เหมาะสำหรับแต่งโคลงกลอนหรืออ่านหนังสือให้คนไม่รู้หนังสือฟัง ส่วนเทียหยกก็สมควรให้เป็นภารโรง เตียวเลี้ยวก็เหมาะกับหน้าที่ตีเกราะเคาะระฆัง เคาทูก็เหมาะกับการเลี้ยงวัวควาย ลิเตียนก็สมกับงานเดินหนังสือ งักจิ้นดูแล้วก็ไม่น่ามีตำแหน่งเกินกว่าเสมียน และยังเอ่ยถึงบุคคลที่โจโฉไม่ได้กล่าวถึงเพิ่มอีกในแบบเดียวกัน คือ ลิยอย ก็ใช้ได้เพียงแค่คนเช็ดทำความสะอาดอาวุธ หมันทองก็เอาแต่เสพสุรา อิกิ๋มก็เหมาะสำหรับกรรมกรยกของหนัก ซิหลงก็เหมาะกับอาชีพฆ่าหมูขาย ส่วนแฮหัวตุ้นนั่นเล่าแค่รักษาศีรษะตนให้ติดอยู่กับบ่าก็ยากพอแล้ว โจโฉฟังแล้วโมโหยีเอ๋งยิ่งนัก แต่ระงับอารมณ์ไว้ ได้ย้อนถามกลับไปว่า ท่านว่าคนของข้าพเจ้าไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วตัวท่านเล่ามีดีอะไรบ้าง ยีเอ๋งตอบไปว่า ข้าพเจ้ามีความรู้ท่วมฟ้า สามารถเพ็ดทูลฮ่องเต้ให้ตั้งอยู่ในธรรมได้ และยังอบรมคนทั้งแผ่นดินได้อีกด้วย ถ้าจะว่าไปแล้ว ข้าพเจ้าชักเบื่อที่จะเจรจากับผู้ไร้สติปัญญาเช่นท่านแล้ว เหมือนพูดกับคนที่ไม่รู้ภาษามนุษย์ เตียวเลี้ยวทนไม่ไหวชักกระบี่จะสังหาร แต่โจโฉห้ามไว้ และให้ตำแหน่งยีเอ๋งเป็นคนตีกลองในวัง ซึ่งยีเอ๋งก็ไม่ขัดข้อง ต่อมา โจโฉจัดงานเลี้ยงในวัง มีผู้เข้ามาร่วมงานมากมาย ซึ่งมีการแสดงดนตรีด้วย นักดนตรีแต่ละคนล้วนแต่งกายด้วยอาภรณ์สวยงามทั้งสิ้น แต่ยีเอ๋งกลับสวมเสื้อผ้าขาดวิ่นมาตีกลองเพียงคนเดียว แต่ยีเอ๋งตีกลองได้อย่างไพเราะจับใจมาก ทำเอาแขกในงานซึ้งไปกับเสียงกลองของยีเอ๋ง เพลงนี้มีชื่อว่า "ยูยัง" (余洋) ซึ่งมีลำนำอันไพเราะ ทำให้ได้บรรยากาศริมน้ำ ขณะนั่งตกปลา ที่ต้องนิ่งสงบอยู่กลางเสียงปลาฮุบเบ็ด เสียงใบไผ่และใบวนสีกันเป็นจังหวะ ซึ่งความหมายของชื่อเพลง แปลว่า ตกปลา (ยาขอบตั้งชื่อเพลงนี้ว่า "เพลงมัสยาหลงเหยื่อ") บางคนถึงกับน้ำตาไหลซาบซึ้ง เมื่อตีจบแล้ว บรรดาแขกไปรุมถามยีเอ๋งว่า เหตุไฉนท่านจึงแต่งกายสกปรกเช่นนี้ โจโฉโมโหจึงตวาดถามไปด้วยเสียงอันดังว่า ทำไมถึงแต่งตัวเช่นนี้ในเขตพระราชฐาน ยีเอ๋งแทนที่จะไปเปลี่ยนเสื้อผ้า กลับประชดถอดเสื้อผ้าออกหมด โจโฉยิ่งโมโหยิ่งขึ้น แต่ยีเอ๋งตอบไปว่า เพราะตัวข้าพเจ้าสะอาดบริสุทธิ์ ที่แก้ผ้าออกเพื่อที่จะให้ทุกคนเห็นเรือนร่างอันบริสุทธิ์ของข้าพเจ้า โจโฉจึงถามย้อนกลับไปว่า เช่นนั้นเรือนร่างใครสกปรก ยีเอ๋งจึงตอบไปว่า ก็ตัวท่านไงเล่า เพราะหูท่านชอบฟังแต่เรื่องปอปั้นเยินยอ จึงถือว่าเป็นหูสกปรก ตาท่านก็ชอบจะเห็นแต่สิ่งสวยงามมดเท็จ จึงถือได้ว่าเป็นตาสกปรก จิตใจท่านก็ยิ่งสกปรกใหญ่ คิดจะเป็นโจรปล้นชิงราชสมบัติ สถาปนาตนเป็นฮ่องเต้ ตัวข้าพเจ้าเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ กลับให้มาเป็นคนตีกลอง เช่นนี้หรือจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โจโฉจึงคิดจะประหารยีเอ๋งทันที แต่เกรงคนจะครหา จึงส่งยีเอ๋งไปเป็นทูตเจรจากับเล่าเปียว หมายจะให้เล่าเปียวประหารแทน เมื่อไปถึง ยีเอ๋งเปิดฉากเจรจาด้วยการยกตนเองข่ม เล่าเปียวจึงคิดส่งยีเอ๋งไปให้หองจอ เจ้าเมืองกังแหประหารแทน ด้วยการบอกปัดไปว่า ให้ถามเอาจากหองจอ ถ้าหองจอเห็นดีด้วย ข้าพเจ้าก็ยินดี เมื่อไปถึงกังแห หองจอจัดงานเลี้ยงต้อนรับ เมื่อร่ำสุราได้ที่แล้ว ยีเอ๋งก็พูดจาข่มตนและอวดโอ้ตัวเองเสียเกินจริงอีกครั้ง หองจอได้ยินดังนั้นก็คิดว่า สมจริงดังที่โจโฉและหลายคนว่า หองจอแสร้งถามขอความเห็นจากยีเอ๋งว่า อันตัวข้าพเจ้านี้เป็นเจ้าเมือง ท่านเห็นควรหรือไม่ ยีเอ๋งตอบไปว่า ตัวท่านนั้นเหมือนเจว็ดในศาลเจ้า เหมาะให้คนมากราบไหว้รับของเซ่นสรวง ไม่ต้องทำอะไร สติปัญญาก็ไม่มี หองจอเลยสั่งให้นำตัวยีเอ๋งไปประหารทันที เมื่อโจโฉได้ทราบว่ายีเอ๋งโดนประหารไปแล้ว ก็หัวเราะสาแก่ใจ และบอกว่า ไอ้คนปากดีมันโดนประหารเพราะลิ้นมันแล้ว.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและยีเอ๋ง · ดูเพิ่มเติม »

รักร่วมเพศ

รักร่วมเพศ (homosexuality) หมายถึงพฤติกรรมทางเพศหรือความสนใจของคนในเพศเดียวกันหรือรสนิยมทางเพศ ในเรื่องรสนิยมทางเพศหมายถึง "มีเพศสัมพันธ์หรือความรักในทางโรแมนติกพิเศษกับบุคคลในเพศเดียวกัน" และยังหมายถึง "ความรู้สึกส่วนตัวและการแสดงออกทางสังคมโดยยึดจากความชอบ พฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออก และการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคมเดียวกันของพวกเขา" รักร่วมเพศ, ไบเซ็กชวล และรักต่างเพศ ถือเป็นกลุ่มคนหลัก 3 ประเภทของรสนิยมทางเพศ สัดส่วนของประชากรที่เป็นกลุ่มคนรักเพศเดียวกันค่อนข้างยากที่จะประเมินLeVay, Simon (1996).

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและรักร่วมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐโอคลาโฮมา

รัฐโอคลาโฮมา (Oklahoma, โอวเคฺลอะโฮ้วเม่อะ) เป็นรัฐหนึ่งใน 50 รัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา มีประชากรประมาณ 3.64 ล้านคนในปี..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและรัฐโอคลาโฮมา · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

รถตู้ประหารชีวิต

รถตู้ประหารชีวิต หรือเรียก หน่วยประหารชีวิตเคลื่อนที่ ถูกพัฒนาขึ้นโดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน และใช้ครั้งแรกใน..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและรถตู้ประหารชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ลัฟเรนตีย์ เบรียา

ลัฟเรนตีย์ ปัฟโลวิช เบรียา (Лавре́нтий Па́влович Бе́рия; ლავრენტი პავლეს ძე ბერია; 29 มีนาคม พ.ศ. 2442 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2496) เป็นนักการเมืองโซเวียตเชื้อชาติจอร์เจีย จอมพลสหภาพโซเวียตและหัวหน้าคณะกรรมาธิการประชาชนด้านกิจการภายในประเทศ (NKVD) ภายใต้โจเซฟ สตาลินในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและรองนายกรัฐมนตรี.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและลัฟเรนตีย์ เบรียา · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร

ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎรแสดงรายการเหตุการณ์สำคัญนับตั้งแต่การก่อตั้งคณะราษฎรในปี 2469 จนหมดอำนาจในปี 2503 เหตุการณ์ปฏิวัติสยามเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทย และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานเสียอำนาจส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าวใน..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร · ดูเพิ่มเติม »

วัดใหญ่ชัยมงคล

วัดใหญ่ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อ "วัดป่าแก้ว" หรือ "วัดเจ้าไท" ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะพระนคร ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดเด่นของวัดได้แก่เจดีย์องค์ใหญ่ที่เชื่อกันว่า ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ภายในได้มีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคล พระประธานที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด นอกจากนี้แล้ว ภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544 อีกด้ว.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและวัดใหญ่ชัยมงคล · ดูเพิ่มเติม »

วันเมืองเพื่อชีวิต

วันเมืองเพื่อชีวิต (Cities for Life Day) ตรงกับวันที่ 30 พฤศจิกายน ของทุกปี ซึ่งเมืองทั่วโลกจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยรัฐในทวีปยุโรปเป็นครั้งแรก ตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์ก เมื่อปี พ.ศ. 2329 ในโอกาสดังกล่าว เมืองที่เข้าร่วมจะแสดงการไม่เห็นด้วยกับโทษประหารชีวิต ซึ่งในปี พ.ศ. 2552 มีเมืองกว่า 1,000 แห่ง และเมืองหลวงอีกกว่า 60 แห่งทั่วโลกเข้าร่วม.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและวันเมืองเพื่อชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

วิกตอร์ อูโก

วิกตอร์-มารี อูโก (Victor-Marie Hugo; 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1802 — 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1885) เป็นกวี นักเขียนบทละคร นักประพันธ์ ศิลปิน รัฐบุรุษ และนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนชาวฝรั่งเศส เป็นผู้มีบทบาทอย่างสูงสำหรับการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมยุคโรแมนติกในประเทศฝรั่งเศส ชื่อเสียงของอูโกทางด้านงานวรรณกรรมในประเทศฝรั่งเศสมาจากงานกวีนิพนธ์และบทละคร ส่วนงานนวนิยายเป็นที่รู้จักรองลงมา ในบรรดางาน กวีนิพนธ์ของเขา Les Contemplations และ La Légende des siècles จัดเป็นงานที่โดดเด่นและถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก บางครั้งอูโกได้รับการกล่าวขวัญถึงในฐานะกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส ขณะที่เขาเป็นที่รู้จักภายนอกประเทศจากผลงานนวนิยาย เรื่อง Les Misérables (เหยื่ออธรรม) และ Notre-Dame de Paris (ฉบับแปลภาษาอังกฤษเรียกว่า The Hunchback of Notre Dame หรือ คนค่อมแห่งน็อทเทรอะ-ดาม).

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและวิกตอร์ อูโก · ดูเพิ่มเติม »

วิสุทธิ์ วานิชบุตร

ล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร วิสุทธิ์ วานิชบุตร หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ผู้การวิสุทธิ์ เป็นอดีตข้าราชการตำรวจชาวไทย โดยเป็นรองผ.สำนักงานกฎหมายและคดี อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 และอดีตผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดอ่างทอง เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและวิสุทธิ์ วานิชบุตร · ดูเพิ่มเติม »

วิดคัน ควิสลิง

วิดคัน อับราฮัม เลาริทซ์ ยอนสซัน ควิสลิง (Vidkun Abraham Lauritz Jonssøn Quisling; 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1887 – 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945) เป็นเจ้าหน้าที่ทหารของนอร์เวย์และเป็นนักการเมืองในนามของผู้นำรัฐบาลนอร์เวย์ในช่วงการยึดครองโดยนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ควิสลิงได้เข้าสู่วงการการเมืองเป็นครั้งแรกโดยเป็นผู้ประสานงานที่ใกล้ชิดกับฟริดท์จอฟ นันเซน ผู้จัดการบรรเทามนุษยธรรมในช่วงความอดอยากในรัสเซีย ค.ศ. 1921 ใน Povolzhye เขาได้ติดประกาศในฐานะเอกราชทูตนอร์เวย์ไปยังสหภาพโซเวียต และสำหรับบางครั้งก็ดำเนินการกรณีในการทูตต่ออังกฤษ เขาได้กลับมายังนอร์เวย์ในปี..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและวิดคัน ควิสลิง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าทองลัน

มเด็จพระเจ้าทองลัน หรือ สมเด็จพระเจ้าทองจันทร์ หรือ เจ้าทองลั่น หรือ เจ้าทองจัน หรือ เจ้าทองลันทร์ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและสมเด็จพระเจ้าทองลัน · ดูเพิ่มเติม »

สฤษดิ์ ธนะรัชต์

อมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 — 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 11, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, ผู้บัญชาการทหารบกและอธิบดีกรมตำรวจ เป็นผู้ริเริ่มการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงบประมาณ เป็นผู้ก่อตั้งธนาคารทหารไทย และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด เจ้าของคำพูดที่ว่า "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ" และ "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ใน วันที่ 16 กันยายน..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและสฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ

ใบปิดภาค 2 สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ เป็นภาพยนตร์จีนอิงประวัติศาสตร์ขนาดยาว ออกฉายพร้อมกันทั่วทวีปเอเชียในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เพื่อต้อนรับมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่จีนเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน สร้างจากวรรณคดีชิ้นเอกของจีนเรื่อง สามก๊ก ในตอน โจโฉ แตกทัพเรือ หรือ ศึกผาแดง อำนวยการสร้างและกำกับโดย จอห์น วู โดยภาพยนตร์เริ่มเปิดการถ่ายทำขึ้นเมื่อปลายเดือนมีนาคม ค.ศ. 2007 ด้วยทุนสร้างกว่า 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ทุนสร้างมากที่สุดในประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์เอเชีย โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาคใหญ่ ๆ ด้วยกันเฉพาะในเอเชีย (ในภาค 2 ฉาย 22 มกราคม พ.ศ. 2552) ต้อนรับเทศกาลตรุษจีน ส่วนประเทศอื่น ๆ จะฉายในตอนเดียวจบในระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและสามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐโรมัน (คริสต์ศตวรรษที่ 19)

รณรัฐโรมัน (Repubblica Romana, Roman Republic) สถาปนาสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 กุมภาพัน..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและสาธารณรัฐโรมัน (คริสต์ศตวรรษที่ 19) · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิมนุษยชน

ทธิมนุษยชน (human rights) เป็นหลักทางศีลธรรมหรือจารีตJames Nickel, with assistance from Thomas Pogge, M.B.E. Smith, and Leif Wenar, December 13, 2013, Stanford Encyclopedia of Philosophy,, Retrieved August 14, 2014ซึ่งอธิบายมาตรฐานตายตัวของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองสม่ำเสมอเป็นสิทธิทางกฎหมายในกฎหมายท้องถิ่นและกฎหมายระหว่างประเทศ ปกติเข้าใจว่าเป็นสิทธิพื้นฐานที่ไม่โอนให้กันได้ "ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเพียงเพราะผู้นั้นเป็นมนุษย์" และซึ่ง "มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน"Burns H. Weston, March 20, 2014, Encyclopedia Britannica,, Retrieved August 14, 2014 โดยไม่คำนึงถึงชาติ สถานที่ ภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์กำเนิดหรือสถานภาพอื่นใด สิทธิมนุษยชนใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาในแง่ที่เป็นสากล และสมภาคในแง่ที่เหมือนกับสำหรับทุกคนThe United Nations, Office of the High Commissioner of Human Rights,, Retrieved August 14, 2014 สิทธิดังกล่าวต้องการความร่วมรู้สึกและหลักนิติธรรมGary J. Bass (book reviewer), Samuel Moyn (author of book being reviewed), October 20, 2010, The New Republic,, Retrieved August 14, 2014 และกำหนดพันธะต่อบุคคลให้เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น สิทธิดังกล่าวไม่ควรถูกพรากไปยกเว้นอันเป็นผลของกระบวนการทางกฎหมายที่ยึดพฤติการณ์แวดล้อมจำเพาะ ตัวอย่างเช่น สิทธิมนุษยชนอาจรวมเสรีภาพจากการจำคุกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย การทรมานและการประหารชีวิตMerriam-Webster dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "rights (as freedom from unlawful imprisonment, torture, and execution) regarded as belonging fundamentally to all persons" ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันโลกและภูมิภาค การกระทำของรัฐและองค์การนอกภาครัฐก่อพื้นฐานของนโยบายสาธารณะทั่วโลก แนวคิดสิทธิมนุษยชนเสนอว่า "หากวจนิพนธ์สาธารณะสังคมโลกยามสงบสามารถกล่าวเป็นภาษาศีลธรรมร่วมได้ สิ่งนั้นคือสิทธิมนุษยชน" การอ้างอย่างหนักแน่นโดยลัทธิสิทธิมนุษยชนยังกระตุ้นกังขาคติและการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหา สภาพและการให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมายซึ่งสิทธิมนุษยชนตราบจนทุกวันนี้ ความหมายแน่ชัดของคำว่า "สิทธิ" นั้นมีการโต้เถียงและเป็นหัวข้อการอภิปรายทางปรัชญาต่อไป ขณะที่มีการเห็นพ้องต้องกันว่าสิทธิมนุษยชนครอบคลุมสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม การคุ้มครองจากการเป็นทาส การห้ามพันธุฆาต เสรีภาพในการพูดMacmillan Dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "the rights that everyone should have in a society, including the right to express opinions about the government or to have protection from harm"หรือเสรีภาพที่จะได้รับการศึกษา แต่ยังเห็นไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับว่าสิทธิใดบ้างต่อไปนี้ควรรวมอยู่ในกรอบทั่วไปของสิทธิมนุษยชน นักคิดบางคนเสนอว่าสิทธิมนุษยชนควรเป็นข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อเลี่ยงการละเมิดที่ร้ายแรงที่สุด ขณะที่บางคนมองว่าเป็นมาตรฐานขั้นสูง ความคิดพื้นฐานดังกล่าวจำนวนมากซึ่งขับเคลื่อนขบวนการสิทธิมนุษยชนพัฒนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองและความเหี้ยมโหดของฮอโลคอสต์ จนลงเอยด้วยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติเห็นชอบปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในกรุงปารีสในปี 2491 คนโบราณไม่มีแนวคิดสิทธิมนุษยชนสากลสมัยใหม่แบบเดียวกัน การบุกเบิกวจนิพนธ์สิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงนั้นคือมโนทัศน์สิทธิธรรมชาติซึ่งปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีกฎหมายธรรมชาติยุคกลางซึ่งโดดเด่นขึ้นระหว่างยุคภูมิธรรมยุโรปโดยมีนักปรัชญาอย่างจอห์น ล็อก, ฟรานซิส ฮัตชิสัน (Francis Hutcheson) และฌ็อง-ฌัก บือลามาคี (Jean-Jacques Burlamaqui) และซึ่งมีการเสนออย่างโดดเด่นในวจนิพันธ์การเมืองของการปฏิวัติอเมริกาและการปฏิวัติฝรั่งเศส จากรากฐานนี้ การให้เหตุผลสิทธิมนุษยชนสมัยใหม่กำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาจเป็นปฏิกิริยาต่อความเป็นทาส การทรมาน พันธุฆาตและอาชญากรรมสงคราม โดยความตระหนักถึงความเปราะบางของมนุษย์ในตัวและเป็นเงื่อนไขก่อนความเป็นไปได้ของสังคมยุติธรรม.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและสิทธิมนุษยชน · ดูเพิ่มเติม »

สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์

รชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ มีชื่อเดิมว่า สุรชัย แซ่ด่าน เป็นนักเคลื่อนไหว และอดีตนักโทษการเมืองคดีคอมมิวนิสต์คนสุดท้ายของประเทศไทย เป็นอดีตคณะทำงานพรรคไทยรักไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันเป็นแกนนำกลุ่มแดง.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สี่สิบเจ็ดโรนิน

มพ์แสดงการเข้าโจมตีคฤหาสถ์ของคิระ โยะชินะกะ หลุมศพของ 47 โรนิงที่วัดเซนงะกุจิ โตเกียว การแก้แค้นของสี่สิบเจ็ดโรนิง บางครั้งอาจเรียกว่า การแก้แค้นของสี่สิบเจ็ดซามูไร หรือ เหตุการณ์เก็นโระกุ อะโก เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเอโดะในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักประวัติศาสตร์ชาวดัตช์ชื่อ ไอแซก ทิทซิงก์ กล่าวว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญในวิถีบูชิโด Screech, T. (2006).

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและสี่สิบเจ็ดโรนิน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย

อาณาเขตของประเทศไทยระหว่างสงคราม สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไท.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สปานเดาบัลเลต์

ปานเดาบัลเลต์ (Spandau Ballet) เป็นวงดนตรีจากประเทศอังกฤษ ก่อตั้งตั้งแต่ปลายยุค 1970s ได้รับอิทธิพลจากนิวโรแมนติกแฟชั่น เพลงของพวกเขามีคุณลักษณะผสมกับดนตรีแนว ฟังก์, แจ๊ส, โซล และ ซินธ์ป็อป ประสบความสำเร็จในคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยได้ท็อปเทนซิงเกิล เมื่อแรกตั้งวง ใช้ชื่อวงว่า "The Cut" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "The Makers" และเปลี่ยนเป็น "Spandau Ballet" หลังจากดีเจที่เป็นเพื่อนสนิทกับสมาชิกวง ชื่อโรเบิร์ต เอล์มส ไปเห็นชื่อนี้เขียนอยู่ที่ผนังห้องน้ำของไนท์คลับแห่งหนึ่งในเยอรมนีTrue: the Autobiography of Martin Kemp, p.44 ชื่อนี้มีที่มาจากชื่อเรือนจำแห่งหนึ่งในเขตสปานเดา กรุงเบอร์ลิน ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการประหารชีวิตนักโทษชาวยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสำนวนที่ผู้คุมนาซีใช้เรียกอากัปกิริยาของนักโทษ ขณะกำลังเสียชีวิตด้วยการแขวนคอ บางแหล่งก็ว่าหมายถึงอาการของนักโทษประหารในห้องรมแก๊ส ที่คล้ายกับการเต้นบัลเลต.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและสปานเดาบัลเลต์ · ดูเพิ่มเติม »

หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์)

ณะราษฎรสายทหารบก ที่สนามหญ้าหน้าวังปารุสกวัน ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 (หลวงชำนาญยุทธศิลป์ คือ คนที่ 9 จากซ้าย แถวหลัง) พลตรี หลวงชำนาญยุทธศิลป์ อดีตนายทหารบกผู้เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ และผู้ต้องหาในคดีกบฏพระยาทรงสุรเดช หลวงชำนาญยุทธศิลป์ มีชื่อจริงว่า เชย รมยะนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและหลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์) · ดูเพิ่มเติม »

หลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิช (โรเบิร์ต ฮันเตอร์)

รเบิร์ต ฮันเตอร์ (Robert Hunter) พ่อค้าชาวอังกฤษเชื้อสายสก๊อต เป็นชาวยุโรปคนแรกที่เข้ามาตั้งร้านค้าในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2368 ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิชทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพร.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและหลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิช (โรเบิร์ต ฮันเตอร์) · ดูเพิ่มเติม »

อลิซาเบธ: ราชินีบัลลังก์ทอง

อลิซาเบธ: ราชินีบัลลังก์ทอง (Elizabeth: The Golden Age) เป็นภาคต่อของ อลิซาเบธ ราชินีบัลลังก์เลือด (Elizabeth) นำแสดงโดย เคต แบลนเชตต์, ไคลฟ์ โอเวน, เจฟฟรีย์ รัช ร่วมด้วย ซาแมนธา มอร์ตัน กำกับการแสดงโดย เชคการ์ คาปูร.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและอลิซาเบธ: ราชินีบัลลังก์ทอง · ดูเพิ่มเติม »

อัลดริช เอมส์

อัลดริช เฮเซน เอมส์ (Aldrich Hazen Ames; เกิด 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1941) เป็นอดีตเจ้าหน้าที่ต่อต้านการข่าวกรองและนักวิเคราะห์ของหน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (CIA) ซึ่งใน..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและอัลดริช เอมส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันเดรส โบนีฟาซีโอ

อันเดรส โบนีฟาซีโอ อี เด กัสโตร (Andrés Bonifacio y de Castro) เป็นนักปฏิวัติหัวรุนแรงในการเรียกร้องเอกราชของฟิลิปปินส์จากสเปน รุ่นเดียวกับโฮเซ รีซัล และเอมีลีโอ อากีนัลโด เขาจัดตั้งสมาคมลับกาตีปูนัน (Katipunan) เพื่อต่อสู้กับสเปน ตามแผนการนั้น เขาต้องการลุกฮือขึ้นขับไล่สเปนด้วยอาวุธ แต่รีซัลไม่เห็นด้วย โบนีฟาซีโอถูกฆ่าตายเมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 หลังการตายของรีซัลไม่นาน รวมอายุได้ 34 ปี ในปัจจุบัน โบนีฟาซิโอยังถือว่าเป็นวีรบุรุษแห่งมะนิลา มีอนุสรณ์สถานของเขาที่จัตุรัสลีวาซัง ถนนแมกคัลลี วันที่ 30 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันโบนีฟาซิโอเพื่อระลึกถึง.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและอันเดรส โบนีฟาซีโอ · ดูเพิ่มเติม »

อากาทาแห่งซิซิลี

นักบุญอกาทา นักบุญอากาทาแห่งซิซิลี (อังกฤษ:agatha of sicily) เกิดเมื่อปี..231 เสียชีวิตเมื่อปี..251 นักบุญอากาทาเป็นหญิงพรหมจารี และเป็นมรณสักขี วันฉลองตรงกับวันที่5 กุมภาพันธ์ เธอเป็นนักบุญของศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก เธอเกิดที่ซิซิลี และเสียชีวิตที่ซิซิลี เธอเป็นนักบุญอุปถัมภ์ของซิซิลีและผู้ป่วยมะเร็งต่างๆโดยเฉพาะมะเร็งเต้านม นอกจากนี้ยังอุปถัมภ์ ไฟไหม้ แผ่นดินไหว และผู้ถูกข่มขืน.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและอากาทาแห่งซิซิลี · ดูเพิ่มเติม »

อิวะเนะ มะสึอิ

อิวะเนะ มะสึอิ; 22 พฤษภาคม..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและอิวะเนะ มะสึอิ · ดูเพิ่มเติม »

อิน-จัน

อิน-จัน และลูก ๆ ของทั้งคู่ อิน-จัน (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2354 — 17 มกราคม พ.ศ. 2417) เป็นชื่อของฝาแฝดสยาม ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยเป็นที่มาของคำว่า "แฝดสยาม" เนื่องจากเกิดที่ประเทศสยาม (ประเทศไทย) ฝาแฝดที่มีหน้าอกติดกันและใช้ตับร่วมกัน เป็นฝาแฝดคู่แรกของโลกที่สามารถดำรงชีพเหมือนคนธรรมดาได้ตลอดชีวิต อิน-จันได้สัญชาติอเมริกันเมื่อปี พ.ศ. 2382 และใช้นามสกุลว่า บังเกอร์ (Bunker) มีลูกหลานสืบตระกูลมาจนถึงทุกวันนี้ ชื่อเสียงของอิน-จัน ทำให้เกิดคำเรียกแฝดตัวติดกันว่า แฝดสยาม (Siamese twins) ตามชื่อเรียกประเทศไทยในเวลานั้น ฝาแฝดอิน-จัน เป็นฝาแฝดที่มีตัวติดกันทางส่วนหน้าอก (บันทึกของชาวตะวันตกบอกว่า เนื้อที่เชื่อมกันระหว่างอกนี้สามารถยืดได้จนทั้งคู่สามารถหันหลังชนกันได้).

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและอิน-จัน · ดูเพิ่มเติม »

ฮิเดะกิ โทโจ

กิ โทโจ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2427 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2491) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของญี่ปุ่น (สมัยที่ 40) และเป็นผู้บัญชาการกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นอกจากนี้ เขายังรู้จักกับแฮร์มันน์ เกอริง, พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นการส่วนตัวตั้งแต่สมัยเรียนวิชาการทหารอยู่ที่เยอรมัน.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและฮิเดะกิ โทโจ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลง

ังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลง เป็นชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์เรื่อง "Dancer in the Dark" ภาพยนตร์เพลง/ดรามา ที่กำกับและเขียนบทโดยลาร์ส ฟอน เทรียร์ นำแสดง ร้องและแต่งเพลงประกอบโดยปีเยิร์ก เป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายในไตรภาค "หัวใจทองคำ" (Golden Heart Trilogy) ของลาร์ส ฟอน เทรียร์ ต่อจากเรื่อง Breaking the Waves (1996) และ The Idiots (1998) ภาพยนตร์ถ่ายทำด้วยกล้องวิดีโอดิจิตอลโดยใช้แสงธรรมชาติ ไม่มีการจัดแสงใดๆ ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Cinéma vérité ทำให้ได้ภาพสั่นไหว ภาพยนตร์ออกฉายครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปี 2000 และได้รับรางวัลปาล์มทองคำ นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ปีเยิร์ก) ผู้กำกับยอดเยี่ยม (ฟอน เทรียร์) ประจำปีนั้น ท่ามกลางความอื้อฉาว เนื่องจากผู้ชมจำนวนมากเดินออกจากโรงภาพยนตร์ระหว่างการฉาย เนื่องจากทนไม่ได้กับภาพที่สั่นไหวจากการถ่ายทำด้วยกล้องมือถือ นอกเหนือจากเพลงประกอบของปีเยิร์กแล้ว ในภาพยนตร์ยังประกอบด้วยเพลงสามเพลงของร็อดเจอร์สและแฮมเมอร์สไตน์ จากเรื่องมนต์รักเพลงสวรรค์ คือเพลง "My Favorite Things" ที่เธอร้องขณะกำลังจะถูกประหารชีวิต นอกจากนี้ เพลง "I've Seen It All" ในภาพยนตร์ ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม อัลบัมดนตรีประกอบภาพยนตร์ ใช้ชื่ออัลบัมตามตัวละครเอกว่า Selmasongs.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและจังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลง · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเวียดนาม

(ทั้งธงทั้งดาว) ธงชาติเวียดนาม ในปัจจุบันเป็นธงชาติของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีชื่อที่เรียกโดยทั่วไปอีกชื่อหนึ่งว่า "ธงแดงดาวเหลือง" เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ในฐานะธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (ประเทศเวียดนามเหนือ) และได้กลายเป็นธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 หลังสิ้นสุดสงครามเวียดนามและการรวมชาติระหว่างเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ ลักษณะของธงชาติเวียดนามนั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตรงกลางมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลืองทอง สีแดงนั้นหมายถึงการต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม สีเหลืองคือสีของชาวเวียดนาม ส่วนดาวห้าแฉกนั้น เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่างๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า สีแดงหมายถึงการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และดาวสีทองหมายถึงการชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ก่อนหน้านี้ในช่วงปี พ.ศ. 2488 - 2498 ดาวสีเหลืองในธงชาติเวียดนามขณะนั้นมีขนาดที่โตกว่าที่ใช้ในธงแบบปัจจุบัน ธงนี้ออกแบบครั้งแรกโดยงฺเหวียนหืวเตี๊ยน (เวียดนาม: Nguyễn Hữu Tiến) ซึ่งเป็นนักปฏิวัติคอมมิวนิสต์ที่เข้าร่วมการต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2483 การต่อต้านครั้งนั้นประสบความล้มเหลว เหวียนฮิ้วเทียนจึงถูกจับกุมตัวและถูกประหารชีวิตพร้อมกับผู้นำคนอื่นๆ ที่เข้าร่วมการต่อต้านครั้งนั้นด้ว.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและธงชาติเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ขุนรองปลัดชู (ภาพยนตร์)

นรองปลัดชู หรือในชื่อเต็มว่า ขุนรองปลัดชู วีรชนคนถูกลืม ภาพยนตร์ไทยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย ในสงครามพระเจ้าอลองพญา ออกฉายในช่วงกลางปี..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและขุนรองปลัดชู (ภาพยนตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ณเณร ตาละลักษณ์

ร้อยโท ณเณร ตาละลักษมณ์ เป็นบุตรชายของพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) อดีตนายทหาร, นักการเมือง และนักหนังสือพิมพ์ชาวไทย ผู้ถูกตัดสินประหารชีวิตในปี พ.ศ. 2482 ร.ท. ณเณร เป็นนายทหารกองหนุน ที่ลาออกราชการเพื่อเป็นผู้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่หนึ่ง ในเขต 2 จังหวัดพระนคร จากการเลือกตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2476 ไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ได้คะแนนเสียงมาเป็นลำดับที่สี่ จากทั้งหมดสามอันดับ และการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2481 ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นลำดับแรก อีกทั้งยังเป็นบรรณาธิการและเจ้าของหนังสือพิมพ์ "ชุมชน" ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่ลงบทความวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในขณะนั้นในเรื่อง พิจารณาพระราชบัญญัติงบประมาณ ที่มี พระยาพหลพลหยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างรุนแรง ซึ่งต่อมาพระยาพหลฯได้ตัดสินใจยุบสภาฯ และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกับยุติทุกบทบาททางการเมือง ร.ท. ณเณร ถูกจับในข้อหากบฏร่วมกับผู้ต้องหาอีกหลายคนในกรณีกบฏพระยาทรงสุรเดช เมื่อ พันเอก หลวงพิบูลสงคราม ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อ ด้วยข้อหาว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รื้อค้นบ้านพักแล้วพบขวดหมึกสีแดง 3 ขวด สันนิษฐานว่าเป็นยาพิษที่ใช้ลอบวางยาสังหาร.อ.หลวงพิบูลฯ ซึ่งผู้ต้องหาหลายคนถูกพยานอ้างว่า ได้วางแผนกันเพื่อลอบสังหารตัว.อ.หลวงพิบูลฯ และบุคคลชั้นสูง ทั้ง ๆ ที่ในบรรดาผู้ต้องหานั้นหลายคนไม่ได้รู้จักหรือเคยพบปะกันมาก่อนเลย ซึ่งตัวของ ร.ท. ณเณรได้ถูกศาลพิเศษที่ถูกจัดตั้งขึ้นพิพากษาให้ประหารชีวิตในวันที่ 20 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและณเณร ตาละลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาบ

ญี่ปุ่น หรือ คะตะนะ เป็นดาบที่มีคมด้านเดียว ดาบ เป็นชื่อเรียกของอาวุธที่มีขนาดยาวและมีคมที่ด้าน มีการใช้ทั่วโลกโดยมีชื่อเรียกและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ส่วนประกอบหลักของดาบจะประกอบด้วยสามส่วนหลักคือ คมดาบ ไว้สำหรับฟันและตัด, ปลายดาบไว้สำหรับแทง, และ ด้ามดาบไว้สำหรับจับถือ.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและดาบ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ 1590

..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและคริสต์ทศวรรษ 1590 · ดูเพิ่มเติม »

ความพิถีพิถัน (จิตวิทยาบุคลิกภาพ)

วามพิถีพิถัน (Conscientiousness)) เป็นลักษณะบุคลิกภาพ (personality trait) ที่บุคคลแสดงความละเอียดลออ ความระมัดระวัง หรือความรอบคอบ เป็นลักษณะที่แสดงถึงความต้องการที่จะทำอะไรให้ดี คนที่พิถีพิถันจะมีประสิทธิภาพและมีระเบียบ เปรียบเทียบกับคนทำอะไรง่าย ๆ หรือไม่มีระเบียบ จะโน้มเอียงไปในการมีวินัย การทำตามหน้าที่ และการตั้งเป้าหมายเพื่อความสำเร็จ จะมีพฤติกรรมแบบวางแผนแทนที่จะทำอะไรแบบทันทีทันใด และโดยทั่วไปเป็นคนที่เชื่อถือไว้ใจได้ เป็นลักษณะที่มักจะแสดงออกเป็นความเรียบร้อย การทำอะไรอย่างเป็นระบบ ความระมัดระวัง และความละเอียดรอบคอบ ความพิถีพิถันเป็นลักษณะหนึ่งในลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง (Big Five personality traits) หรือที่เรียกว่าแบบจำลองมีปัจจัย 5 อย่าง (Five Factor) คนที่พิถีพิถันมักจะขยันทำงานและเชื่อถือได้ และมักจะเป็นคนทำตามกฎระเบียบประเพณีด้วย แต่ถ้าเป็นอย่างนี้อย่างสุด ๆ ก็อาจจะเป็นคนบ้างาน เป็นคนทุกอย่างต้องเพอร์เฝ็กต์ และเป็นคนย้ำคิดย้ำทำ โดยเปรียบเทียบ คนที่ไม่พิถีพิถันมักจะเป็นคนง่าย ๆ ไม่มีเป้าหมาย และไม่มีแรงจูงใจจะทำอะไรให้สำเร็จ และมีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมและก่ออาชญากรรม.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและความพิถีพิถัน (จิตวิทยาบุคลิกภาพ) · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและความตาย · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน

วามเอนเอียงเพื่อยืนยัน (ความคิดฝ่ายตน)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ bias ว่า "ความลำเอียง, -เอนเอียง" หรือ ความลำเอียงเพื่อยืนยัน (Confirmation bias, confirmatory bias, myside bias) เป็นความลำเอียงในข้อมูลที่ยืนยันความคิดหรือทฤษฎีหรือสมมติฐานฝ่ายตน เรียกว่ามีความลำเอียงนี้เมื่อสะสมหรือกำหนดจดจำข้อมูลที่เลือกเฟ้น หรือว่าเมื่อมีการตีความหมายข้อมูลอย่างลำเอียง ความลำเอียงนี้มีอยู่ในระดับสูงในประเด็นที่ให้เกิดอารมณ์หรือเกี่ยวกับความเชื่อที่ฝังมั่น นอกจากนั้นแล้ว คนมักตีความหมายข้อมูลที่ยังไม่ชัดเจนว่าสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง มีการใช้การสืบหา การตีความหมาย และการทรงจำข้อมูลประกอบด้วยความลำเอียงเช่นนี้ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและความเอนเอียงเพื่อยืนยัน · ดูเพิ่มเติม »

คัง โหย่วเหวย์

ัง โหย่วเหวย์ (Kang Youwei, จีนตัวเต็ม: 康有为, จีนตัวย่อ: 康有為, พินอิน: Kāng Yǒuwéi) นักคิด, นักเขียน และนักปฏิรูปคนสำคัญชาวจีนในช่วงปลายราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและคัง โหย่วเหวย์ · ดูเพิ่มเติม »

คุจิกิ ลูเคีย

กิ ลูเคีย เป็นตัวละครเอกจากการ์ตูนเรื่องเทพมรณะ ปัจจุบันเป็นยมทูตหัวหน้าหน่วยที่ 13 แห่ง 13 หน่วยพิทักษ.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและคุจิกิ ลูเคีย · ดูเพิ่มเติม »

คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรัก

ณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรัก (Supreme Iraqi Criminal Tribunal) หรือเดิมชื่อ คณะตุลาการพิเศษอิรัก (Iraqi Special Tribunal) เป็นหน่วยงานจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายแห่งชาติอิรักเพื่อพิจารณาบุคคลหรือพลเมืองสัญชาติอิรักที่ถูกกล่าวหาว่า ก่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม หรืออาชญากรรมร้ายแรงอื่นระหว่าง..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและคณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

คดีลูกฆ่าพ่อในโทะชิงิ

ีลูกฆ่าพ่อในโทะชิงิ หรือ คดีปิตุฆาตในโทะชิงิ (Tochigi patricide case), หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า คดีระหว่างไอซะวะกับพนักงานอัยการ (Aizawa v. Japan), เป็นคดีสมสู่ระหว่างบิดากับบุตรสาวและปิตุฆาต อันเกิดขึ้นในอำเภอยะอิตะ จังหวัดโทะชิงิ ประเทศญี่ปุ่น โดย ชิโยะ ไอซะวะ จำเลย ถูกบิดาข่มขืนกระทำชำเรามาสิบห้าปี จนฆ่าบิดาเสียเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและคดีลูกฆ่าพ่อในโทะชิงิ · ดูเพิ่มเติม »

งักฮุย

งักฮุย (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ เยว่ เฟย์ (สำเนียงจีนกลาง) (24 มีนาคม ค.ศ. 1103 - 27 มกราคม ค.ศ. 1142) เป็นนักรบกู้ชาติคนสำคัญซึ่งมีชื่อเสียงมากผู้หนึ่งในประวัติศาสตร์ประเทศจีน มีชีวิตอยู่ในยุคราชวงศ์ซ่งใต้ เป็นแม่ทัพผู้ต่อต้านการรุกรานของชนเผ่าจิน ถูกใส่ความโดยศัตรูทางการเมืองจนต้องโทษประหารชีวิต หลังจากนั้นจึงได้รับยกย่องเป็นแบบอย่างแห่งความซื่อสัตย์ในวัฒนธรรมจีน ในปี..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและงักฮุย · ดูเพิ่มเติม »

งำเต๊ก

งำเต๊ก หรือ กำเจ๊ก มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่าคั่นเจ๋อ มีชื่อรองว่าเต๋อรุ่น เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นที่ปรึกษาคนหนึ่งของง่อก๊ก.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและงำเต๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา หรือ ภาคปฐมวัย เป็นภาพยนตร์ภาคแรกของภาพยนตร์ไตรภาคชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นำแสดงโดย ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์, จิรายุ ละอองมณี, สุชาดา เช็คลีย์, โชติ บัวสุวรรณ, สรพงษ์ ชาตรี, ปวีณา ชารีฟสกุล, สมภพ เบญจาธิกุล, ฉัตรชัย เปล่งพานิช, สันติสุข พรหมศิริ, ไพโรจน์ ใจสิงห์, เกรซ มหาดำรงค์กุล บทภาพยนตร์และกำกับการแสดงโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา · ดูเพิ่มเติม »

ซัดดัม ฮุสเซน

ซัดดัม ฮุสเซน (Saddam Hussein) หรือ ศ็อดดาม ฮุเซน อับดุลมะญีด อัลตีกรีตี (อาหรับ: صدام حسين عبد المجيد التكريتي; ละติน:Ṣaddām Ḥusayn ʿAbd al-Majīd al-Tikrītī; 28 เมษายน พ.ศ. 2480-30 ธันวาคม พ.ศ. 2549) เป็นอดีตประธานาธิบดีของอิรัก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและซัดดัม ฮุสเซน · ดูเพิ่มเติม »

ซุนโฮ

ซุนโฮ (Sun Hao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งง่อก๊ก ได้ชื่อว่าเป็นฮ่องเต้ที่เป็นทรราชย์มากที่สุดผู้หนึ่งจนอาณาจักรล่มสลาย เป็นราชโอรสในพระเจ้าซุนเหลียง ราชโอรสในพระเจ้าซุนกวน ขึ้นครองราชย์หลังจากที่ พระเจ้าสุมาเอี๋ยนหลังจากที่กลืนจ๊กก๊กไปแล้ว ก็หมายจะถล่มง่อก๊ก พระเจ้าซุนฮิวตกพระทัยจนประชวรและสิ้นพระชนม์ลง บรรดาขุนนางง่อก๊กครั้นเมื่อถวายพระศพพระเจ้าซุนฮิวเสร็จแล้ว ก็มีความเห็นตรงกันว่า ควรเชิญซุนเปียน ราชบุตรขึ้นครองราชย์สืบไปตามประเพณี แต่บั้นเฮ็กและเตียวเป๋าขุนนางผู้ใหญ่ คัดค้านเพราะมีความเห็นว่า ถ้าเป็นซุนเปียนเกรงว่าบ้านเมืองจะไปไม่รอด จึงเห็นว่าควรทูลเชิญซุนโฮ ผู้เป็นราชนัดดาในพระเจ้าซุนกวนขึ้นครองราชย์จะสมกว่า เพราะมีสติปัญญาเฉียบแหลมกว่า จึงมีพิธีราชาภิเษกขึ้นในวันขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนเก้า เมื่อได้ครองราชย์แล้ว พระเจ้าซุนโฮก็สถาปนาซุนเปียนเป็นเจ้าเจี๋ยงอ๋อง ให้ขุนพลเตงฮองเป็นต้ายสุมา จากนั้นก็ทรงมีพฤติกรรมวิปริต มิได้ตั้งอยู่ในธรรม ทรงฟังแต่คำของยิมหุน ขันทีในวัง เอียงเหียงและเตียวเป๋าได้เข้าไปทูลห้ามเตือนหลายต่อหลายครั้ง พร้อมกล่าวว่า ถ้าพระองค์ขืนประพฤติองค์เช่นนี้ ไม่ช้าแผ่นดินนี้จะต้องตกเป็นของสุมาเอี๋ยนอย่างแน่นอน พระเจ้าซุนโฮกริ้ว จึงสั่งให้ประหารขุนนางทั้งสอง จากนั้นมาก็ไม่มีใครกล้าเพ็ดทูลห้ามปรามอีกเลย วันหนึ่ง พระเจ้าซุนโฮแปรพระราชฐานจากกังตั๋ง ไปประทับอยู่ยังเมืองบู๊เฉียง ก็ทรงใช้จ่ายพระราชทรัพย์ในการสร้างพระราชวังแห่งใหม่อย่างฟุ่มเฟื่อย จากการขูดรีดภาษีราษฎร พร้อมเสพสมกามากับเด็กสาววัยรุ่นมากมาย ต่อมาได้ทรงให้โหรหลวงทำนายดวงชะตา โหรทำนายว่า ต่อไปภายภาคหน้า พระเกียรติยศจะขจรขจายไปถึงลกเอี๋ยง พระเจ้าสุมาเอี๋ยนต้องมาสยบกับแทบพระบาท พระเจ้าซุนโฮดีพระทัยนัก จึงฮึกเหิมหมายจะบุกตีนครลกเอี๋ยง จึงเรียกบรรดาขุนนางมาประชุมถึงการบุกไปตีลกเอี๋ยง หอกหยก ขุนนางคนหนึ่งจึงทูลคัดค้านไปพร้อมกับสั่งสอนพระองค์ให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรม ทำนุบำรุงราษฎร บ้านเมืองจะดีกว่า พระเจ้าซุนโฮทรงกริ้วไล่หอกหยกออกจากราชการ พร้อมกับดึงดันแต่งตั้งให้ลกข้องเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพไปประชิดเมืองซงหยง ปากทางเข้าอาณาจักรไต้จิ้น พระเจ้าสุมาเอี๋ยน จึงมีบัญชาให้เอียวเก๋า เจ้าเมืองซงหยงตั้งพร้อมเตรียมรับศึก เอียวเก๋าเป็นผู้มีเมตตาธรรม ไม่ชอบออกทัพจับศึก จึงคิดผูกไมตรีกับลกข้อง ท้ายที่สุดลกข้องก็ปลาบปลื้มในน้ำใจเอียวเก๋า มีหนังสือไปยังพระเจ้าซุนโฮว่า ทางฝ่ายนี้มิได้คิดร้ายขออย่าได้สู้รบกันเลย พระเจ้าซุนโอก็กริ้ว สั่งปลดลกข้องออกจากตำแหน่ง และยกให้ซุนอี้เป็นแม่ทัพแทน ในเวลานั้น ขุนนางคนใดไม่เห็นด้วยกับพระองค์ ก็จะถูกปลดหรือถูกประหารชีวิตไปหมดสิ้น ทางฝ่ายเอียวเก๋า เมื่อทราบว่าลกข้องถูกปลดออกจากแม่ทัพใหญ่แล้ว มีหนังสือทูลไปยังพระเจ้าสุมาเอี๋ยน เป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วที่จะบุกตีง่อก๊ก แต่กาอุ้นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไม่เห็นด้วย เอียวเก๋าจึงเดินทางกลับลกเอี๋ยง และลาออกจากราชการ ไปพักอาศัยอยู่ยังบ้านเดิม จนกระทั่งสิ้นชีวิต ก่อนสิ้นชีวิตเอียวเก๋าได้กราบทูลว่า บัดนี้เห็นควรแต่งตั้ง เตาอี้ เป็นแม่ทัพใหญ่ทำการนี้แทน ท้ายที่สุดเตาอี้ก็สามารถเอาชนะง่อก๊กได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 823 แผ่นดินจีนจึงควบรวมเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง หลังจากแตกแยกเป็นสามก๊กนานถึง 60 ปี สำหรับ พระเจ้าซุนโฮ ทอดพระเนตรความพ่ายแพ้ของอาณาจักรพระองค์เองบนกำแพงเมือง และได้ทรงยอมแพ้ ถวายบรรณาการแด่พระเจ้าสุมาเอี๋ยน พระเจ้าสุมาเอี๋ยนก็แต่งตั้งให้เป็นอุ้ยเบ้งเฮา ขุนนางง่อก๊กทั้งหลายก็แต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกันไป เป็นอันอวสานของอาณาจักรง่อ หรือ อู๋ ที่ดำรงมานานกว่า 58 ปี (พ.ศ. 765- พ.ศ. 823) หลังจากนั้นอีกต่อมา 4 ปี พระเจ้าซุนโฮก็สวรรคตด้วยพระชนมายุ 43 พรรษา ครองราชย์ได้ 12 ปี.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและซุนโฮ · ดูเพิ่มเติม »

ซีอุย

ซีอุย (พ.ศ. 2470 — 16 กันยายน พ.ศ. 2502) เป็นชื่อของชาวจีน ที่สันนิษฐานว่าเป็นฆาตกรที่ฆ่าเด็กและนำตับมาต้มกินในช่วงปี..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและซีอุย · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Unternehmen Barbarossa, Operation Barbarossa, รัสเซีย: Оперенация Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บารอสซาถูกตั้งชื่อตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรรษที่ 12 วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่าง อัคอังเกลส์ก (Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตราคาน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา โดยแนวนี้ถูกเรียกว่าแนว AA ปฏิบัติการบาร์บารอสซาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิตเลอร์คาดหวังไว้ ในทางยุทธวิธีแล้ว กองทัพเยอรมันก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อสหภาพโซเวียต โดยการยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพเยอรมันไม่อาจเป็นฝ่ายบุกในแนวรบด้านตะวันออกอีกต่อไป และหลังจากนั้น ก็ประสบความพ่ายแพ้มาตลอดMilitary-Topographic Directorate, maps No.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

ปาฏิหาริย์แดนประหาร

ปาฏิหาริย์แดนประหาร ชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดเรื่อง The Green Mile นำแสดงโดย ทอม แฮงค์, ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน, เดวิด มอส, บอนนี่ ฮันต์, เจมส์ ครอมเวลล์, ไมเคิล เจเตอร์, แซม ร็อคเวลล์, แบร์รี เป๊ปเปอร์, ดัก ฮัตจิสัน, แพทริเซีย คาร์กสัน และ แกรี ซีนิส (นักแสดงรับเชิญ) กำกับการแสดงโดย แฟรงค์ ดาราบอนต.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและปาฏิหาริย์แดนประหาร · ดูเพิ่มเติม »

ปิตุฆาต

ปิตุฆาต (patricide) หมายถึง การฆ่าบิดาของตัวเอง คำว่า "ปิตุฆาต" มาจากการรวมกันของ 2 คำคือ ปิตุ (พ่อ) และ ฆาต (ฆ่า) สำหรับคำในภาษาอังกฤษ patricide มาจากการรวมกันของคำในภาษาละติน pater (พ่อ) และคำปัจจัย -cida (ฆ่า) ในทางกฎหมาย การทำปิตุฆาตมีโทษถึงประหารชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 และเป็น 1 ใน อนันตริยกรรม (กรรมที่หนักที่สุด) 5 อย่างของพระพุทธศาสน.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและปิตุฆาต · ดูเพิ่มเติม »

นิกิต้า

นิกิต้า (Nikita) เป็นภาพยนตร์แอ็คชั่นที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและนิกิต้า · ดูเพิ่มเติม »

แผนลับแหกคุกนรก

แผนลับแหกคุกนรก เป็นละครชุดแนวแอ็กชั่น- ดรามา ทางโทรทัศน์ ออกอากาศครั้งแรกทางช่องฟ็อกซ์ เมื่อ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2005 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพี่น้องสองคน พี่ชายได้รับการตัดสินว่าเป็นอาชญากร แต่เขาไม่ได้ทำ ส่วนอีกคนเป็นอัจฉริยะ เป็นคนคิดแผนอันซับซ้อนที่จะทำให้เขาหนีออกจากคุกได้ ซีรีส์นี้สร้างสรรค์โดยพอล เชอริง สร้างโดยอะเดลสไตน์-พาเราส์ โปรดักชัน ในความร่วมมือของออริจินัล เทเลวิชัน และ ทเวนตี้ เซ็นจูรี ฟ็อกซ์ เทเลวิชัน และผู้อำนวยการสร้างทีมปัจจบันคือ เชอริง, แมตต์ โอล์มสเตด, เควิน ฮุกส์, มาร์ตี อะเดลสไตน์, ดอว์น พาเราซ์ โอล์มสไตด, นีล เอ.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและแผนลับแหกคุกนรก · ดูเพิ่มเติม »

แขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่

การประหารชีวิต ฮิว เดสเพนเซอร์ ผู้เยาว์ (Hugh Despenser the Younger) การแขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่ (hanged, drawn and quartered) เป็นโทษประหารชีวิตสำหรับนักโทษชายที่มีความผิดฐานเป็นกบฏต่อแผ่นดินอังกฤษ ประกาศใช้ครั้งแรกในพระราชบัญญัติกบฏ ค.ศ. 1351 แต่มีการใช้มาก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและแขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่ · ดูเพิ่มเติม »

แซ็งฟอนีฟ็องตัสติก

ียนแฮร์เรียต สมิทสัน ขณะรับบทเป็น โอฟีเลีย แซ็งฟอนีฟ็องตัสติก: เอปิซอดเดอลาวีดูว์นาร์ติสต...อ็องแซ็งก์ปาร์ตี (Symphonie Fantastique: Épisode de la vie d'un Artiste...en cinq parties) หรือมักเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า แซ็งฟอนีฟ็องตัสติก (Symphonie fantastique) เป็นโปรแกรมซิมโฟนีที่แต่งโดยแอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ คีตกวีคนสำคัญของฝรั่งเศส ในปี..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและแซ็งฟอนีฟ็องตัสติก · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

แนต เทอร์เนอร์

แนทแธนเนียล "แนต" เทอร์เนอร์ (Nathaniel "Nat" Turner; 2 ตุลาคม ค.ศ. 1800 — 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831) เป็นทาสชาวอเมริกันซึ่งนำการกบฏของทาสในรัฐเวอร์จิเนีย เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและแนต เทอร์เนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โพแทสเซียมคลอไรด์

แทสเซียมคลอไรด์ (Potassium chloride หรือ KCl) ประกอบด้วยโพแทสเซียมและคลอรีน ใช้เป็นแหล่งของโพแทสเซียมไออนและไอโอไดด์ไอออน สามารถใช้เป็นปุ๋ยและใช้เป็นสารพิษในการฉีดเข้าเส้นเลือดเพื่อประหารชีวิตคนได้.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและโพแทสเซียมคลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

โยะชิโกะ ยะมะงุชิ

กะ โอตะกะ (12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 – 7 กันยายน ค.ศ. 2014) หรือชื่อจริงแต่แรกเกิดว่า โยะชิโกะ ยะมะงุชิ เป็นนักร้องและนักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น เกิดในประเทศจีน เคยมีชื่อเสียงอยู่ในเซี่ยงไฮ้ในช่วงทศวรรษ 1940 ในชื่อ หลี่ เซียงหลาน จนได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งใน "เจ็ดดาวจรัสแสงเซี่ยงไฮ้" (Seven great singing stars). Bai Guang. Retrieved on 2007-04-28.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและโยะชิโกะ ยะมะงุชิ · ดูเพิ่มเติม »

โฮเซ รีซัล

ซ รีซัล (José Rizal) หรือชื่อเต็มคือ โฮเซ โปรตาซีโอ รีซัล เมร์กาโด อี อาลอนโซ เรอาลอนดา (José Protacio Rizal Mercado y Alonzo Realonda) เป็นนักเขียนและวีรบุรษคนสำคัญของฟิลิปปินส์ในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากสเปน เขาถูกจับและถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2439 การเสียชีวิตของเขากลายเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวฟิลิปปินส์ลุกขึ้นสู้จนขับไล่สเปนออกไปได้สำเร็จ แม้จะถูกยึดครองโดยสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อม.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและโฮเซ รีซัล · ดูเพิ่มเติม »

โจสิด

(Cao Zhi) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นบุตรชายคนที่ 3 ของโจโฉและนางเปียนซี ชื่อรอง จื่อเจี้ยน เป็นบุตรคนรองมาจากโจเจียง เป็นบุคคลที่ได้ชื่อว่าเฉลียวฉลาดมาก อายุเพียง 10 ขวบ สามารถท่องจำโคลงกลอนได้ถึง 1 แสนบท จนกล่าวกันว่า ถ้าปัญญาของคนทั่วไปมี 1 ส่วน แต่ของโจสิดมีถึง 10 ส่วน โจสิด เป็นบุตรชายที่โจโฉรักมากเพราะความปราดเปรื่องทางสติปัญญา และมักแต่งโคลงสดุดีโจโฉเสมอ ๆ แต่ติดอยู่ว่า โจสิดยังมีแต่ผลงานทางด้านโคลงกลอน ไม่เคยแสดงบทบาทอย่างอื่น ซ้ำยังเป็นคนมีอารมณ์กวีตลอดเวลา คือ ติดเหล้าและเที่ยวเสเพล ชอบที่จะคบหากับเอียวสิ้ว ที่ปรึกษาของโจโฉ ที่โจโฉไม่ค่อยไว้วางใจ เมื่อถึงครั้งที่โจโฉคิดจะแต่งตั้งรัชทายาท โจโฉคิดไม่ตกว่าจะเลือกใครระหว่าง โจผี กับ โจสิด แต่มีแนวโน้มว่าจะเลือกโจสิดมากกว่า โจผีร้อนใจจึงรุดไปปรึกษากาเซี่ยง และด้วยอุบายของกาเซี่ยง ตำแหน่งนี้จึงตกเป็นของโจผีในที่สุด ท้ายสุดเมื่อ โจผีขึ้นครองราชย์ ทรงคิดที่จะกำจัดโจสิด พระอนุชาแท้ ๆ เพราะถือว่าเป็นศัตรูคนหนึ่งของพระองค์ จึงบีบบังคับให้โจสิดเดินได้ 7 ก้าว และแต่งกลอนที่ร้องขอชีวิตมาให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะสั่งประหารชีวิต โจสิดคิดกลอนได้สด ๆ มีเนื้อหาว่า ต้นถั่วเผาต้นถั่ว ในกระทะถั่วร้องไห้ กำเนิดจากรากเดียวกัน เหตุไฉนคิดทำลาย มีเนื้อหาถึง พี่น้องกำเนิดจากจุดเดียวกัน เหตุไฉนจึงคิดฆ่าล้างกัน พระเจ้าโจผีจึงสำนึกได้และไม่สั่งประหารชีวิต แต่เนรเทศโจสิดออกไปนอกเมืองแทน และไม่นาน โจสิดก็ถึงแก่ความตายด้วยความตรอมใจ ในปี พ.ศ. 775 บางเรื่องเล่า กล่าวว่า เหตุที่พระเจ้าโจผีต้องประหารโจสิด ก็ด้วย โจสิดมีจิตพิศวาทต่อพระนางเอียนสี มเหสีเอกของพระองค์ ด้วยการลักลอบแต่งกลอนที่มีเนื้อหารักใคร่ถึงนาง.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและโจสิด · ดูเพิ่มเติม »

โจน ออฟ อาร์ค วีรสตรีเหล็กหัวใจทมิฬ

น ออฟ อาร์ค วีรสตรีเหล็กหัวใจทมิฬ (The Messenger: The Story of Joan of Arc, Jeanne d'Arc) ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์สงครามสัญชาติฝรั่งเศส นำแสดงโดย มิลา โยโววิช, จอห์น มัลโควิช, เฟย์ ดันนาเวย์, แว็งซอง กาสแซล, เตกี การ์โย และ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน กำกับการแสดงโดย ลุค เบซอง.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและโจน ออฟ อาร์ค วีรสตรีเหล็กหัวใจทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

โทมัส ยอร์ช น็อกซ์

ทมัส ยอร์ช น็อกซ์ (พ.ศ. 2367–2430) เป็นกงสุลใหญ่ชาวอังกฤษประจำสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรของนายเจมส์ สเปนเซอร์ น็อกซ์ กับนางคลารา บาร์บารา แบรส์เฟิร์ด เดิมเป็นทหารอังกฤษยศร้อยเอกประจำประเทศอินเดีย กล่าวกันว่าพอเล่นพนันแข่งม้าจนหมดตัว จึงลาออกจากตำแหน่งตามร้อยเอกอิปเป มาทำงานที่สยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยร้อยเอกอิปเปได้เป็นครูทหารวังหลวง ส่วนนายน็อกซ์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เป็นครูวังหน้า เป็นผู้ฝึกทหารอย่างยุโรป และยังได้เข้ากองทัพกรมหลวงวงศาธิราชสนิทไปตีเมืองเชียงตุง พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวประทานผู้หญิงวังหน้าชื่อปราง ให้เป็นภรรยา มีลูกด้วยกันสามคน ต่อมาเมื่อรัฐบาลอังกฤษตั้งกงสุลในกรุงเทพฯ และด้วยความรู้การเมืองและภาษาไทย จึงทำงานเป็นผู้ช่วยกงสุล แล้วได้เลื่อนตำแหน่งจนได้เป็นกงสุลเยเนอราล มีบรรดาศักดิ์เป็นเซอร์ อีกทั้งยังสนิทและคุ้นเคยกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ และได้เป็นกงสุลใหญ่อังกฤษกับอภิรัฐมนตรีในสมัยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและโทมัส ยอร์ช น็อกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

โทษประหารชีวิตในสหราชอาณาจักร

ทษประหารชีวิตในสหราชอาณาจักร มีการใช้งานมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 การประหารชีวิตครั้งสุดท้ายในสหราชอาณาจักรดำเนินการโดยวิธีแขวนคอและเกิดขึ้นใน..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและโทษประหารชีวิตในสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

โทษประหารชีวิตในประเทศไทย

ทษประหารชีวิตในประเทศไทย เป็นบทลงโทษผู้กระทำความผิดขั้นสูงสุด ตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไท.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและโทษประหารชีวิตในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

โขน

น เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม, มหรสพสามอย่างของชาวสยาม,จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ราชอาณาจักรสยาม, เขียนโดย: มองซิเอร์ เดอ ลาลูแบร์, แปลโดย: สันต์ ท. โกมลบุตร, สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, 2548, หน้า 157 โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเช่น วรรณกรรม วรรณศิลป์ นาฏศิลป์ คีตศิลป์ หัตถศิลป์คำนำการแสดงโขนชุดนางลอย, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด นางลอย, มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, ระหว่างวันที่ 19 -20 และ 22 -24 พฤศจิกายน 2553, หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าทางการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำ ท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น แสดงอารมณ์ผ่านทางการร่ายรำ สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น ตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทอง ประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวมหัวโขน คงใช้ใบหน้าจริงเช่นเดียวกับละคร แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัยโบราณมักมีสองสีคือ สีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทนเกราะ เป็นลายหนุนประเภทลายพุ่ม หรือลายกระจังตาอ้อย ส่วนเครื่องแต่งกายตัวลิงจะเป็นลายวงทักษิณาวรรต โดยสมมุติเป็นขนของลิงหรือหมี ดำเนินเรื่องด้วยการกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็นทำนองเรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้ ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุท ปัจจุบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีหน้าที่หลักในการสืบทอดการฝึกหัดโขน และกรมศิลปากร มีหน้าที่ในการจัดการแสดงคำนำการแสดงโขนชุดพรหมมาศ, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด พรหมมาศ, มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, ระหว่างวันที่ 25 และ 27 -28 ธันวาคม 2550, หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและโขน · ดูเพิ่มเติม »

เบญจศีล

ญจศีล หรือ ปัญจสีล แปลว่า ศีล 5 เป็นศีลหรือข้อห้ามในลำดับเบื้องต้นตามพระโอวาทของพระโคตมพุทธเจ้า พระศาสดาพระองค์ปัจจุบันแห่งศาสนาพุทธ แต่ทั้งนี้เบญจศีลเป็นหลักการที่มีมาและเป็นที่สั่งสอนทั่วไปก่อนพระพุทธโคดมอุบัติแล้วราชบัณฑิตยสถาน, 2548: 363.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเบญจศีล · ดูเพิ่มเติม »

เชลซี แมนนิง

ลซี เอลิซาเบธ แมนนิง (เกิด แบรดลีย์ เอ็ดเวิร์ด แมนนิง, 17 ธันวาคม พ.ศ. 2530) เป็นทหารแห่งกองทัพบกสหรัฐอเมริกาผู้ถูกจับกุมในเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเชลซี แมนนิง · ดูเพิ่มเติม »

เบนิโต มุสโสลินี

นีโต อามิลกาเร อานเดรอา มุสโสลีนี (Benito Amilcare Andrea Mussolini) เรียกชื่อโดยทั่วไปว่า "อิลดูเช" (Il Duce) แปลว่า "ท่านผู้นำ" เป็นจอมเผด็จการและนายกรัฐมนตรีของประเทศอิตาลี (พ.ศ. 2465 – พ.ศ. 2486) เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 ในครอบครัวที่ยากจนที่เมืองโดวีอาดีเปรดัปปีโอ (Dovia di Predappio) ในจังหวัดฟอร์ลิ แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา แต่ด้วยเวลาไม่นาน มุสโสลีนีได้กลายเป็นนักสังคมนิยมยุวชนที่หลักแหลมและมีอันตราย แต่ต่อมาต้องลาออกจากพรรคสังคมนิยมอิตาลีเนื่องจากสนับสนุนการเข้าแทรกแซงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2462 มุสโสลีนีได้เข้าร่วมการก่อตั้งพรรคสันนิบาตการต่อสู้แห่งอิตาลี (Fasci Italiani di Combattimento) หรือพรรคฟาสซิสต์เพื่อเตรียมเป็นกองกำลังปฏิวัติ ในปี พ.ศ. 2465 ได้เป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งฉลองชัยชนะด้วย "การสวนสนามแห่งโรม" (เดือนตุลาคม) ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2468 เขาได้สถาปนาตนเองเป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ บังคับให้ยกเลิกระบบรัฐสภาทดแทนด้วย "รัฐบรรษัท" (Corporate State) และวางระบบรวบอำนาจอย่างเป็นทางการ ได้จัดตั้งนครรัฐวาติกัน (พ.ศ. 2472) บุกยึดอะบิสซิเนีย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2478-พ.ศ. 2479 ปัจจุบันคือเอธิโอเปีย) และแอลเบเนีย (พ.ศ. 2482) ไว้ในการครอบครอง พร้อมกับการประกาศเข้าร่วมเป็นฝ่ายอักษะกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แห่งประเทศเยอรมนี มุสโสลินีถูกจับกุมตัวได้เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยกองกำลังปาร์ติซานของพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี ที่บริเวณใกล้ชายแดนอิตาลี-สวิสเซอร์แลนด์ ในขณะที่เขาพยายามจะหลบหนีออกจากอิตาลี และถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในข้อหาทรยศต่อชาติ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยคำตัดสินลับหลังของคณะลูกขุนแห่งคณะกรรมการปลดแอกแห่งชาติ ร่างของมุสโสลินี อนุภรรยา และผู้นิยมลัทธิฟาสซิสต์คนอื่นๆ อีกประมาณ 15 คน ได้ถูกนำไปยังเมืองมิลาโน เพื่อแขวนประจานต่อสาธารณชน.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเบนิโต มุสโสลินี · ดูเพิ่มเติม »

เพชฌฆาต

ต (judicial executioner) คือ ผู้บังคับตามคำพิพากษาของรัฐให้ประหารชีวิตผู้หนึ่งผู้ใ.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเพชฌฆาต · ดูเพิ่มเติม »

เพนโทบาร์บิทอล

นโทบาร์บิทอล (Pentobarbital ใช้โดย INN, AAN, BAN, USAN) หรือ เพนโตบาร์บิโทน (Pentobarbitone ชื่อเดิมใช้โดย AAN และ BAN) เป็นบาร์บิเชอริตที่ออกฤทธิ์สั้น เพนโทบาร์บิทอลสามารถอยู่ในรูปแบบของกรดอิสระหรือเกลือของธาติ เช่น โซเดียมและแคลเซียม กรดอิสระละลายเพียงเล็กน้อยในน้ำและเอทานอล เนมบูทอล (Nembutal) เป็นยี่ห้อหนึ่งของยาชนิดนี้ ชื่อตั้งโดย John S. Lundy ผู้เริ่มใช้ใน..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเพนโทบาร์บิทอล · ดูเพิ่มเติม »

เมียงซอง จักรพรรดินีที่โลกลืม

มียงซอง จักรพรรดินีที่โลกลืม (ฮันกึล: 명성황후; ฮันจา: 明成皇后; Empress Myeongseong; The last (Korean) Empress) เป็นละครชุดทางโทรทัศน์ซึ่งผลิตเมื่อ พ.ศ. 2544 โดยสถานีโทรทัศน์ระบบกระจายเสียงแพร่ภาพแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (ฮันกึล: 한국 방송 공사, Hanguk Bangsong Gongsa; Korean Broadcasting System; ชื่อย่อ: KBS; เคบีเอส) มีเนื้อหาอิงประวัติศาสตร์เกาหลี ว่าด้วยพระประวัติสมเด็จพระจักรพรรดินีเมียงซอง สมเด็จพระมเหสีเอกในสมเด็จพระจักรพรรดิโกจง พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โชซอน ละครชุดนี้ออกอากาศเป็นครั้งแรกในสาธารณรัฐเกาหลี ทางเคบีเอสทีวีช่อง 2 ในทุกวันพุธและวันพฤหัสบดี เวลา 21:50-22:55 น. ระหว่างวันพุธที่ 9 พฤษภาคม..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเมียงซอง จักรพรรดินีที่โลกลืม · ดูเพิ่มเติม »

เรือนจำจี๊ฮหว่า

รือนจำจี๊ฮหว่า เรือนจำจี๊ฮหว่า (Khám Chí Hòa หรือ Nhà Tù Chí Hòa) เป็นเรือนจำที่ตั้งอยู่ในนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม เป็นเรือนจำหนึ่งในสิบสองแห่งของประเทศMitchel P. Roth, Prisons and prison systems: a global encyclopedia, page 288 Publisher: Westport, Conn.; Greenwood Press, 2006.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเรือนจำจี๊ฮหว่า · ดูเพิ่มเติม »

เหตุยิงกันในออโรรา ค.ศ. 2012

หตุยิงกันในออโรร..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเหตุยิงกันในออโรรา ค.ศ. 2012 · ดูเพิ่มเติม »

เหตุยิงกันในทูซอน พ.ศ. 2554

หตุยิงกันในทูซอน เกิดขึ้นในวันที่ 8 มกราคม..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเหตุยิงกันในทูซอน พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

เหตุระเบิดในบาหลี พ.ศ. 2545

หตุระเบิดในบาหลี..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเหตุระเบิดในบาหลี พ.ศ. 2545 · ดูเพิ่มเติม »

เหตุระเบิดในย่างกุ้ง พ.ศ. 2526

หตุระเบิดในย่างกุ้ง..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเหตุระเบิดในย่างกุ้ง พ.ศ. 2526 · ดูเพิ่มเติม »

เอมีลีโอ อากีนัลโด

อมีลีโอ ฟามี อากีนัลโด (Emilio Famy Aguinaldo) เป็นนักปฏิวัติในการเรียกร้องเอกราชของฟิลิปปินส์จากสเปน รุ่นเดียวกับโฮเซ รีซัล และอันเดรส โบนีฟาซีโอ เขาเป็นผู้นำในการลุกฮือขึ้นต่อสู้กับสเปนด้วยอาวุธหลังการถูกประหารชีวิตของรีซัล เป็นนักปฏิวัติชาวฟิลิปปินส์ที่มีบทบาทในการจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 แยกออกมาจากการเป็นอาณานิคมของสเปนในครั้งแรก เมื่อ 1 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเอมีลีโอ อากีนัลโด · ดูเพิ่มเติม »

เอียวสิ้ว

อียวสิ้ว (Yang Xiu; 杨修) ที่ปรึกษาคนหนึ่งของโจโฉแห่งวุยก๊ก เขาเป็นชาวเมืองหัวะอิน มณฑลส่านซี มีชื่อรองว่า เต๊อะจู่ เป็นบุตรชายของเอียวปิด เป็นผู้มีรูปร่างหน้าเกลี้ยงเกลา คิ้วและนัยน์ตาเล็ก ฉลาดเฉียวมากปัญญา แต่ชอบใช้ปัญญามากกว่าสติ อันเป็นที่มาของจุดจบชีวิต รับราชการกับโจโฉในตำแหน่งผู้ตรวจบัญชีทรัพย์สิน เป็นผู้ที่รู้เท่าทันโจโฉตลอดเวลา จึงเป็นที่ระแวงของโจโฉ เอียวสิ้วมักคบหากับโจสิด บุตรชายคนที่ 3 ของโจโฉที่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน และเฉลียวฉลาดเช่นกัน จึงมักเป็นที่ไม่พอใจแก่โจโฉ และโจโฉก็ได้เตือนโจสิดเสมอ ๆ ถึงเรื่องเอียวสิ้ว เมื่อโจโฉติดพันการรบกับขงเบ้งที่ทุ่งหันซุย และกำลังจะถอนทัพกลับ แต่ก็ยังมิได้ตัดสินใจเด็ดขาดและบอกแก่ใคร ตกกลางคืน แฮหัวตุ้นเข้ามาถามโจโฉในที่พักว่า คืนนี้จะให้ขานรหัสว่าอะไร โจโฉขณะรับประทานอาหารอยู่ ได้ใช้ตะเกียบคีบซี่โครงไก่อยู่พอดี จึงตอบไปว่า ซี่โครงไก่ เมื่อรู้กันในกองทัพว่า รหัสคืนนี้คือ ซี่โครงไก่ เอียวสิ้วจึงบอกให้แฮหัวตุ้นสั่งการแก่ทหารทั้งปวงให้เก็บข้าวของ เพราะโจโฉตัดสินใจถอนทัพแล้ว แฮหัวตุ้นสงสัยว่าท่านทราบได้อย่างไร เอียวสิ้วจึงตอบคลายสงสัยทั้งหมดว่า เพราะซี่โครงไก่ไม่มีเนื้อก็จริง แต่ทิ้งไปก็เสียดายรสชาติ เหมือนท่านโจโฉขณะนี้จะถอนทัพกลับไปก็เสียดาย แต่อยู่ไปก็ไม่ชนะ เมื่อโจโฉรู้ว่าทหารทั้งหมดเก็บข้าวของโดยที่ตนไม่ได้ออกคำสั่ง ว่ามาจากเอียวสิ้ว ก็โมโห และสั่งประหารชีวิตเอียวสิ้วทันที แม้จะไม่เต็มใจนัก โดยอ้างว่า เอียวสิ้วทำให้ทหารเสียขวัญ ก่อนตายเอียวสิ้วเสียใจที่โจโฉทำอย่างนี้กับตน แต่ก็ได้กล่าวเตือนสติโจโฉว่า ต่อไปนี้ท่านอย่าได้ทำการใด ๆ ที่เป็นการฝืนตนเองอีก โจโฉจึงต้องแสดงให้ทหารเห็นว่า ตนมิได้เสียขวัญ ออกนำทัพด้วยตนเอง ปรากฏว่าต้องอุบายของขงเบ้งจนกองทัพพ่ายแพ้และโจโฉก็ถูกฮองตงยิงธนูถูกปาก พลัดตกจากหลังม้า ฟันหักไป 3 ซี่ ปากคอบวมเป่ง เกือบจะเอาชีวิตไม่รอด จากนั้นโจโฉก็ต้องพ่ายแพ้และถอยทัพกลับเมืองลกเอี๊ยง ในช่วงนั้นเขาก็ได้นึกถึงเอียวสิ้วและสำนึกว่าเอียวสิ้วคาดการณ์ถูกต้องจริงๆ โจโฉได้จัดพิธีฝังศพอย่างสมเกียรติเพื่อทดแทนคุณความดี.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเอียวสิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

เฮโรสตราตัส

รสตราตัส (Ἡρόστρατος) เป็นชายหนุ่มผู้ซึ่งวางเพลิงเทวสถานอาร์ทีมิสที่เอฟาซัส ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ (ปัจจุบันอยู่ทางตะวันตกของประเทศตุรกี) โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเองเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 356 ปีก่อนคริสตกาล แทนที่เขาจะพยายามหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบต่อการกระทำของเขา เขากลับกล่าวอ้างด้วยความภูมิใจในความพยายามที่ได้จารึกชื่อของตนไว้ในประวัติศาสตร์ตลอดกาล เพื่อห้ามผู้แสวงหาชื่อเสียงที่มีความคิดคล้ายกัน ทางการเอฟาซัสจึงไม่เพียงแต่ประหารชีวิตเขาเท่านั้น แต่ยังได้ปฏิเสธที่จะกล่าวถึงชื่อของเขาภายใต้โทษประหารชีวิต หากแต่การกระทำดังกล่าวไม่อาจป้องกันเฮโรสตราตัสจากเป้าหมายของเขา เมื่อนักประวัติศาสตร์ยุคโบราณ Theopompus ได้บันทึกเหตุการณ์และผู้กระทำผิดไว้ใน เฮลเลนนิก.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเฮโรสตราตัส · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ ดับเบิลยู. ร็อดเจอร์ส

มส์ ดับเบิลยู.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเจมส์ ดับเบิลยู. ร็อดเจอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

เจียง จื่อหยา

วาดเจียง จื่อหยา จาก''สมุดภาพไตรภูมิ'' ภาพวาดเจียง จื่อหยาตกปลาที่ริมฝั่งแม่น้ำเว่ยสุ่ย และได้พบกับ โจวเหวินหวัง เจียงจื่อหยา (ตามสำเนียงกลาง) หรือ เกียงจูแหย (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ เจียงไท่กง เป็นนักยุทธศาสตร์คนสำคัญของโจวเหวินหวังและโจวอู่หวัง ผู้นำในการก่อรัฐประหารเพื่อล้มล้างราชวงศ์ซาง และสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 3,000 กว่าปีที่แล้ว ในปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์ และนักวิชาการ หลายสำนักต่างลงความเห็นว่า เจียง จื่อหยา คือ 1 ใน 2 นักยุทธศาสตร์การสงครามที่เก่งกาจที่สุดในประวัติศาสตร์จีน โดยอีกผู้หนึ่งได้แก่ เตียวเหลียง (มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เป็นคนละคนกับเตียวเหลียงในเรื่องสามก๊ก) เสนาบดีแห่งราชวงศ์ฮั่นของหลิวปัง หรือปฐมจักรพรรดิฮั่นเกา ซึ่งบางตำราอ้างว่าเตียวเหลียงศึกษาการสงครามมาจากตำราพิชัยสงครามที่ เจียงจื่อหยา เขียนขึ้น.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเจียง จื่อหยา · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าเสือข่านฟ้า

้าเสือข่านฟ้า (ภาษาไทใหญ่:100pxเจาเสอข่านฟ่า;ภาษาไทใต้คง100pxเจาเสอข่านฟ่า) หรือเจ้าหลวงเสือข่านฟ้าทรงเป็นวีระบุรุษที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทใหญ่เพราะทรงรวบรวมรัฐไทใหญ่ต่างๆที่เป็นอิสระต่อกันให้มาเป็นอาณาจักรเดียวกันภายใต้ชื่ออาณาจักรเมืองมาวหลวง ในรัชสมัยนี้อาณาจักรเมืองมาวหลวงมีอำนาจเกรียงไกรและเจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์ไทใหญ.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเจ้าเสือข่านฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

เท็ด บันดี

ท็ด บันดี ธีโอดอร์ โรเบิร์ต 'เท็ด' บันดี (Theodore Robert 'Ted' Bundy) เป็นฆาตกรต่อเนื่องชาวอเมริกัน เกิดวันที่ 24 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเท็ด บันดี · ดูเพิ่มเติม »

เฉลียว ปทุมรส

กรณีรัชกาลที่ 8 สวรรคต เฉลียว ปทุมรส (25 มีนาคม พ.ศ. 2445 — 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) เป็นอดีตสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน อดีตราชเลขาธิการในสมัยรัชกาลที่ 8 อดีตสมาชิกพฤฒสภาสังกัดพรรคแนวรัฐธรรมนูญ ตกเป็นผู้ต้องหาในเหตุการณ์รัชกาลที่ 8 สวรรคต โดยถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวพันในการวางแผนลอบปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ในที่สุดศาลฎีกาได้พิพากษาให้ได้รับโทษประหารชีวิต จึงถูกนำตัวไปประหารชีวิตที่เรือนจำบางขวางในเช้ามืดวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 พร้อมด้วยจำเลยอีก 2 คนในคดีนี้ คือ ชิต สิงหเสนี และบุศย์ ปัทมศริน เฉลียว ปทุมรส มีบุตรสี่คน คือ สมวงศ์ ปทุมรส, เครือพันธ์ (ปทุมรส) บำรุงพงศ์, ฉายศรี (ปทุมรส) โสภณศิริ และ เพิ่มศักดิ์ ปทุมรส ตามลำดั.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเฉลียว ปทุมรส · ดูเพิ่มเติม »

เปาบุ้นจิ้นหนุ่ม พิทักษ์ธรรม ภาค 2

ปาบุ้นจิ้นหนุ่ม พิทักษ์ธรรม ภาค 2  (อังกฤษ: Young Justice Bao 2) เป็นละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศในประเทศจีนช่วงปี ค.ศ. 2001 กล่าวถึงประวัติของเปาบุ้นจิ้นในช่วงวัยหนุ่มที่เพิ่งเข้ารับราชการกับฮ่องเต้ใหม่ๆ ออกอากาศในประเทศไทยทางช่อง 3 แฟมิลี่ ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560 ทุกวันจันทร์ -ศุกร์ เวลา 16:30 น. นำแสดงโดย ลู่ อี้, ซื่อ เสี่ยวหลง, จ้าว หยาง,ฉิน ลี่, หยาง หยง ต่อจากภาคแรก และมีภาคสามเป็นภาคจบ เรื่อง เปาบุ้นจิ้นหนุ่ม พิทักษ์ธรรม ภาค 3 ภาพละครภาค 2 ภาษาไท.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเปาบุ้นจิ้นหนุ่ม พิทักษ์ธรรม ภาค 2 · ดูเพิ่มเติม »

เน็ด เคลลี

น็ด เคลลี (ภาพถ่ายครั้งสุดท้ายก่อนวันประหารชีวิต 1 วัน) เอ็ดเวิร์ด "เน็ด" เคลลี (Edward "Ned" Kelly) หรือที่รู้จักกันในชื่อ เน็ด เคลลี (Ned Kelly, 3 มิถุนายน ค.ศ. 1854 – 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1880) เป็นโจรชื่อดังชาวออสเตรเลีย และสำหรับคนบางกลุ่มได้ถือว่าเป็นวีรบุรุษผู้ลุกขึ้นต่อต้านอำนาจรัฐจากรัฐบาลอาณานิคมออสเตรเลียภายใต้การปกครองของจักรวรรดิอังกฤษ เน็ด เคลลีเกิดที่รัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย เขาเป็นบุตรของนักโทษชาวไอริชและเริ่มมีเรื่องกระทบกระทั่งกับตำรวจของรัฐมาตั้งแต่วัยเด็ก หลังเกิดคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่บ้านของเน็ดในปี ค.ศ. 1878 คณะเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เริ่มสืบหาตัวเน็ดซึ่งหลบหนีไปซ่อนตัวป่า และต่อมารัฐบาลอาณานิคมก็ได้ประกาศให้เน็ดและพรรคพวกของเขาอีก 3 คน เป็นกลุ่มบุคคลนอกกฎหมาย 2 ปีถัดมาคณะโจรของเน็ดก็ได้เผชิญหน้าอย่างรุนแรงกับตำรวจที่เมืองเกลนโรวัน โดยเน็ดและคณะได้สวมเกราะเหล็กและหมวกเหล็กที่พวกเขาทำขึ้นเองเป็นเครื่องป้องกันตัว ผลปรากฏว่ามีเน็ดเพียงคนเดียวที่รอดชีวิตและถูกจับกุมตัวไว้ เขาถูกตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอที่เรือนจำเก่าเมืองเมลเบิร์น (Old Melbourne Gaol) เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1880 ความกล้าและชื่อเสียงของเขาได้กลายเป็นภาพลักษณ์สำคัญที่ปรากฏอยู่ในวงการประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย นิทานพื้นบ้าน วรรณกรรม ศิลปะ และภาพยนตร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียได้ประกาศว่าค้นพบที่ฝังศพของเน็ด เคลลี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2008.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและเน็ด เคลลี · ดูเพิ่มเติม »

The Last Temptation of Christ

The Last Temptation of Christ เป็นภาพยนตร์อื้อฉาวที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและThe Last Temptation of Christ · ดูเพิ่มเติม »

12 ธันวาคม

วันที่ 12 ธันวาคม เป็นวันที่ 346 ของปี (วันที่ 347 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 19 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและ12 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

17 มิถุนายน

วันที่ 17 มิถุนายน เป็นวันที่ 168 ของปี (วันที่ 169 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 197 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและ17 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

18 เมษายน

วันที่ 18 เมษายน เป็นวันที่ 108 ของปี (วันที่ 109 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 257 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและ18 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

19 มิถุนายน

วันที่ 19 มิถุนายน เป็นวันที่ 170 ของปี (วันที่ 171 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 195 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและ19 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

20 สิงหาคม

วันที่ 20 สิงหาคม เป็นวันที่ 232 ของปี (วันที่ 233 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 133 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและ20 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

21 มกราคม

วันที่ 21 มกราคม เป็นวันที่ 21 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 344 วันในปีนั้น (345 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและ21 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

22 มิถุนายน

วันที่ 22 มิถุนายน เป็นวันที่ 173 ของปี (วันที่ 174 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 192 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและ22 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

25 เมษายน

วันที่ 25 เมษายน เป็นวันที่ 115 ของปี (วันที่ 116 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 250 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและ25 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

28 กรกฎาคม

วันที่ 28 กรกฎาคม เป็นวันที่ 209 ของปี (วันที่ 210 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 156 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและ28 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

30 ธันวาคม

วันที่ 30 ธันวาคม เป็นวันที่ 364 ของปี (วันที่ 365 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 1 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและ30 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

7 มิถุนายน

วันที่ 7 มิถุนายน เป็นวันที่ 158 ของปี (วันที่ 159 ในปีอธิกสุรหาจนาทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 207 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและ7 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

8 กุมภาพันธ์

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 39 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 326 วันในปีนั้น (327 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: โทษประหารชีวิตและ8 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Capital punishmentการลงโทษโดยการประหารชีวิตการประหารชีวิตประหารชีวิตโทษประหาร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »