โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โทกูงาวะ อิเอชิเงะ

ดัชนี โทกูงาวะ อิเอชิเงะ

ทะกุงะวะ อิเอะชิเงะ เป็น โชกุน คนที่ 9 แห่ง ตระกูลโทะกุงะวะ (ช่วงสมัย: ค.ศ. 1745 ถึง ค.ศ. 1760) เป็นบุตรชายคนโตของโชกุนโทะกุงะวะ โยะชิมุเนะ กับนางชินโตะกุ-อิน (Shintoku-in, 深徳院) ภรรยาน้อยของโชกุนโยะชิมุเนะ แม้จะเป็นบุตรชายคนโตซึ่งโชกุนโยะชิมุเนะแต่งตั้งให้เป็นทายาท แต่โทะกุงะวะ อิเอะชิเงะนั้น มีความพิการเกี่ยวกับการพูด ทำให้มีขุนนางจำนวนมากใน บะกุฟุ สนับสนุนให้น้องชายต่างมารดาของอิเอะชิเงะ คือ โทะกุงะวะ มุเนะตะเกะ (Tokugawa Munetake, 徳川宗武) เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งโชกุนแทน แต่โชกุนโยะชิมุเนะก็ได้ให้การสนับสนุนอิเอะชิเงะอย่างเต็มที่ และได้ขับมุเนะตะเกะน้องชายให้ออกจากอำนาจไป ใน..

7 ความสัมพันธ์: ชินโตะกุ-อินรัฐบาลเอโดะรายนามโชกุนจักรพรรดิโมะโมะโซะโนะโกะซังเกะโทกูงาวะ อิเอฮารุโทกูงาวะ โยชิมูเนะ

ชินโตะกุ-อิน

ชินโตะกุ-อิน (Shintoku-in,深徳院) เป็นภรรยาน้อยของ โทะกุงะวะ โยะชิมุเนะ โชกุนแห่งเอโดะคนที่ 8 และเป็นมารดาของ โทะกุงะวะ อิเอะชิเงะ โชกุนแห่งเอโดะคนที่ 9 ชินโตะกุ-อิน เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1688 เป็นบุตรสาวของ โอะคุโบะ ทะดะนะโอะ ไดเมียวแห่ง แคว้นโอะดะวะระ หรือ จังหวัดคะนะกะวะ ในปัจจุบันต่อมาบิดาได้ให้ท่านเข้ามาเป็นภรรยาน้อยของ โทะกุงะวะ โยะชิมุเนะ พร้อมกับได้นามใหม่ว่า โอะซะมะ โนะ คะตะ ในปี ค.ศ. 1712 ท่านโอะซะมะได้ให้กำเนิดบุตรชายคนโตของโชกุนโยะชิมุเนะซึ่งต่อมาคือโชกุน อิเอะชิเงะ ท่านโอะซะมะหรือท่านชินโตะกุ-อินถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1713 ขณะอายุเพียง 25 ปี หมวดหมู่:ตระกูลโทะกุงะวะ.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอชิเงะและชินโตะกุ-อิน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลเอโดะ

รัฐบาลเอโดะ หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin) หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto) ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอชิเงะและรัฐบาลเอโดะ · ดูเพิ่มเติม »

รายนามโชกุน

รายนามโชกุน ตำแหน่งแม่ทัพของญี่ปุ่น ตั้งแต่ยุคคะมะกุระ ในปี ค.ศ. 1192 จนถึงการสิ้นสุดของยุคเอะโดะ ของตระกูลโทะกุงะวะ ภายหลังการการปฏิรูปสมัยเมจิ ในปี ค.ศ. 1868.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอชิเงะและรายนามโชกุน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโมะโมะโซะโนะ

ักรพรรดิโมะโมะโซะโนะ (Emperor Momozono) จักรพรรดิองค์ที่ 116 แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่นตามที่ได้จัดเรียงไว้ใน รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น ในเดือน 3 ปี เอ็งเคียว ที่ 4 ตรงกับวันที่ 25 เมษายน..

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอชิเงะและจักรพรรดิโมะโมะโซะโนะ · ดูเพิ่มเติม »

โกะซังเกะ

ตราประจำตระกูลโทะกุงะวะ "โงะซังเกะ" เป็นชื่อที่ใช้เรียกตระกูลโทะกุงะวะสาขา ย่อย 3 สาขาซึ่งสืบเชื้อสายจากบุตรชาย 3 คนของ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ คือ โทะกุงะวะ โยะชินะโอะ บุตรชายคนที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าแคว้นโอะวะริ, โทะกุงะวะ โยะริโนะบุ บุตรชายคนที่ 9 ซึ่งเป็นเจ้าแคว้นคิอิและ โทะกุงะวะ โยะริฟุสะ บุตรชายคนที่ 10 ซึ่งเป็นเจ้าแคว้น มิโตะในกรณีที่ตระกูลโทะกุงะวะสาขาหลักหมดผู้สืบทอด ตำแหน่ง ซึ่งมีเพียง 2 สาขาเท่านั้นที่สมาชิกในตระกูลได้เป็น โชกุน คือ โทะกุงะวะ โยะชิมุเนะ โชกุนคนที่ 8 จากสาขาคิอิและ โทะกุงะวะ อิเอะโมะชิ โชกุนคนที่ 14 จากสาขาโอะวะริ และเมื่อโชกุนโยะชิมุเนะกำลังจะสละตำแหน่งให้ อิเอะชิเงะ บุตรชายคนโตเขาจึงได้แต่งตั้งให้บุตรชาย 3 คนของเขาไปเป็นเจ้าแคว้นพร้อมกับตั้งให้เป็นสาขารอง ของ "โงะซังเกะ" โดยมีชื่อว่า โงะซังเกียว โทะกุงะวะ โยะชิโนะบุ โชกุนคนสุดท้ายนั้นสืบเชื้อสาย จาก ตระกูลฮิโตะสึบะชิ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ตระกูลสาขา ของโงะซังเกียว หมวดหมู่:ตระกูลโทะกุงะวะ.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอชิเงะและโกะซังเกะ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ อิเอฮารุ

ทะกุงะวะ อิเอะฮะรุ เป็น โชกุน คนที่ 10 แห่ง ตระกูลโทะกุงะวะ (ช่วงสมัย: 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1760 ถึง 17 กันยายน ค.ศ. 1786) เป็นบุตรชายคนโตของโชกุนโทะกุงะวะ อิเอะชิเงะ และนางชิชิน-อิน (Shishin-in, 至心院) โชกุนอิเอะชิงะผู้เป็นบิดาได้สละตำแหน่งโชกุนให้แก่อิเอะฮะรุใน..

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอชิเงะและโทกูงาวะ อิเอฮารุ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ โยชิมูเนะ

ทะกุงะวะ โยะชิมุเนะ เป็น โชกุน คนที่ 8 แห่ง ตระกูลโทะกุงะวะ (ช่วงสมัย: 13 สิงหาคม ค.ศ. 1716 ถึง 25 กันยายน ค.ศ. 1745) ได้ชื่อว่าเป็นโชกุนที่ยิ่งใหญ่เป็นอันดับสองในสมัยเอะโดะ รองลงมาจากปฐมโชกุนโทะกุงะวะ อิเอะยะซ.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอชิเงะและโทกูงาวะ โยชิมูเนะ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อิเอะชิเงะโทะกุงะวะ อิเอะชิเงะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »