โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โตโยต้า โคโรน่า

ดัชนี โตโยต้า โคโรน่า

ตโยต้า โคโรน่า (Toyota Corona) เป็นรถรุ่นหนึ่งที่ โตโยต้า ผลิตขึ้น เพื่อเป็นรถครอบครัว เริ่มผลิตเมื่อ พ.ศ. 2500 ซึ่งในประเทศไทย ครั้งหนึ่ง มันเคยเป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับ ฮอนด้า แอคคอร์ด และ นิสสัน บลูเบิร์ด (รวมไปถึง นิสสัน เซฟิโร่ ในบางช่วง) รวมถึงคู่แข่งอื่นๆ ซึ่งเป็นคู่แข่งระดับรอง เช่น มิตซูบิชิ กาแลนต์,มาสด้า 626,ฮุนได โซนาต้า,ซูบารุ เลกาซี,เปอโยต์ 405,แดวู เอสเปอโร,ฟอร์ด มอนดิโอและซีตรอง BX แต่โคโรน่ามีจุดเสียเปรียบสำคัญเรื่องขนาดที่เล็กกว่าแอคคอร์ดและคู่แข่งอื่นๆ ดังนั้น ใน..

18 ความสัมพันธ์: ฟอร์ด มอนดิโอมาสด้า คาเพลลามาสด้า โครโนสมิตซูบิชิ กาแลนต์อีซูซุ อาสก้าฮอนด้า แอคคอร์ดฮุนได โซนาต้าซูบารุ เลกาซีซูซูกิ คิซาชิประเภทของรถยนต์นิสสัน เซฟิโร่แดวู เลกันซาแดวู เอสเปอโรโอเปิล เวคตร้าโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์โตโยต้า คัมรี่เปอโยต์ 405เปอโยต์ 406

ฟอร์ด มอนดิโอ

ฟอร์ด มอนดิโอ (Ford Mondeo) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางที่ผลิตโดยบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ เริ่มผลิตตั้งแต่ พ.ศ. 2535 และมีจำหน่ายอยู่ทั่วโลก โดยมาแทนที่รถยนต์นั่งขนาดกลางรุ่นเก่า ฟอร์ด เซียรา (Ford Sierra) ซึ่งเลิกผลิตในปี พ.ศ. 2535 คำว่า "Mondeo" มาจากภาษาละตินที่แปลว่า โลก ฟอร์ด มอนดิโอ เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางที่ผลิตขึ้นสำหรับตลาดยุโรปเท่านั้น แต่เคยมีขายในตลาดเอเชีย รวมถึงประเทศไทย ซึ่งฟอร์ด มอนดิโอเคยมีขายในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2537-2542 แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก ฟอร์ด มอนดิโอ มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลาได้ 5 Generation (รุ่น) ดังนี้.

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและฟอร์ด มอนดิโอ · ดูเพิ่มเติม »

มาสด้า คาเพลลา

มาสด้า คาเพลลา (Mazda Capella) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car) ที่ผลิตโดย มาสด้า ผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่น เริ่มการผลิตในปี พ.ศ. 2513 ขายในประเทศญี่ปุ่นภายใต้ชื่อ มาสด้า คาเพลลา และในต่างประเทศ รวมถึงประเทศไทยจะใช้ชื่อที่เป็นตัวเลข (ซึ่งก็ตามปกติที่รถยนต์ของมาสด้าในตลาดโลกหลายรุ่นจะขายโดยใช้ตัวเลข เช่น Demio.

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและมาสด้า คาเพลลา · ดูเพิ่มเติม »

มาสด้า โครโนส

มาสด้า โครโนส (Mazda Cronos) เป็นรถยนต์นั่งซีดานขนาดกลาง ที่ผลิตโดย มาสด้า ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2534 - 2538 โดยใช้เครื่องยนต์ 2000 ซีซี มีทั้งตัวถังแบบ 4 ประตูและ 5 ประตู มีทั้งเครื่องยนต์ 4 สูบและวี 6 และใช้ระบบเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด ซึ่งรถรุ่นนี้พัฒนามาจากมาสด้า คาเพลลา โดยคู่แข่งสำคัญของโครโนสคือ โตโยต้า โคโรน่า นิสสัน เซฟิโร่ ฮอนด้า แอคคอร์ด และ มิตซูบิชิ กาแลนต์ ในประเทศไทย เคยนำมาขายในช่วงเวลาหลังจากที่เปิดตัวในญี่ปุ่นได้ 1 ปี โดยมีทั้งรุ่น 4 ประตูและ 5 ประตู ซึ่งก็ได้รับความนิยมมากพอสมควร แต่ก็เงียบไป โดยเป็นรถยนต์นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่ยุติการผลิตโครโนสทั่วโลกแล้ว ทั้งในญี่ปุ่น ประเทศไทยและทั่วโลก ก็ได้นำมาสด้า คาเพลลามาผลิตขายต่อก่อนที่คาเพลลาจะเลิกผลิตในปี พ.ศ. 2545 คโรนโส.

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและมาสด้า โครโนส · ดูเพิ่มเติม »

มิตซูบิชิ กาแลนต์

มิตซูบิชิ กาแลนต์ (Mitsubishi Galant) เป็นรถยนต์ขนาดครอบครัว ผลิตโดย มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ถึง พ.ศ. 2555 โดยแบ่งวิวัฒนาการออกเป็น 9 เจเนอเรชัน(โฉม) โดยกาแลนต์โฉมที่ 1-7 จัดเป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (Compact Car) แต่กาแลนต์โฉมที่ 8 เป็นต้นมา จัดเป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-size Car) และเมื่อพิจารณาแล้ว กาแลนต์ ถือเป็นรถรุ่นที่เทียบได้ใกล้เคียงกับ ฮอนด้า แอคคอร์ด และ โตโยต้า คัมรี่ มาก มิตซูบิชิ กาแลนต์ได้เคยนำมาขายในประเทศไทยในช่วงหนึ่งโดยบริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย โดยเป็นรถขนาดใกล้เคียงกับโตโยต้า โคโรน่า,ฮอนด้า แอคคอร์ด,นิสสัน เซฟิโร่ และมาสด้า 626 เริ่มจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 จนถึงยุควิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทยทำให้หลายยี่ห้อซึ่งมีรถขนาดกลางมาทำตลาดต้องเลิกทำตลาดไป เช่น ฟอร์ด มาสด้า รวมถึงมิตซูบิชิเองด้วยโดยไม่มีทีท่าที่จะนำรถประเภทนี้มาขายกันง่ายๆ และยังไม่นับรวมผู้ผลิตรายเล็กๆ ที่นำรถขนาดกลางมาทำตลาดในประเทศไทยแบบ Niche Market ในปัจจุบันเช่น เปอโยต์ ฮุนได สโกด้า ซูบารุ โฟล์กสวาเกน เป็นต้น โดยกาแลนต์โฉมต่าง ๆ มีลักษณะและประวัติโดยสังเขปดังนี้.

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและมิตซูบิชิ กาแลนต์ · ดูเพิ่มเติม »

อีซูซุ อาสก้า

อีซูซุ อาสก้า (Isuzu Aska) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car) ที่ผลิตโดยอีซูซุ เริ่มการผลิตในปี พ.ศ. 2526 โดยใช้แพลตฟอร์มร่วมกับซูบารุ เลกาซี และฮอนด้า แอคคอร์ดตามลำดับ ออกมาเพื่อทดแทนอีซูซุ ฟลอเรี่ยน (Isuzu Florian) ที่ยุติการผลิตไปเมื่อปี พ.ศ. 2526 และอาสก้าได้เลิกผลิตและวางจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยไม่มีรถรุ่นใหม่เข้ามาทดแทน เนื่องจากอีซูซุเลิกทำตลาดรถยนต์นั่งอย่างถาวรแล้ว โดยเลิกผลิตรถยนต์นั่งด้วยตนเองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เนื่องจากการขาดทุนสะสมต่อเนื่อง และหลังจากนั้นก็มีการพึ่งพาฮอนด้าให้ผลิตรถยนต์นั่งขายมาโดยตลอด และอีซูซุก็ได้ส่งรถเอนกประสงค์และรถกระบะไปให้ฮอนด้าขายเช่นเดียวกัน จนในปัจจุบัน ความร่วมมือระหว่างอีซูซุกับฮอนด้าได้สิ้นสุดลงแล้ว.

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและอีซูซุ อาสก้า · ดูเพิ่มเติม »

ฮอนด้า แอคคอร์ด

อนด้า แอคคอร์ด (Honda Accord) เป็นรถซีดานขนาดกลางที่ผลิตและพัฒนาโดยบริษัทฮอนด้า ได้เริ่มต้นสายการผลิตในปี พ.ศ. 2519 ในประเทศญี่ปุ่น โดยเครื่องที่ออกมาตัวแรกคือเครื่อง 1600 ซีซี ซึ่งนับเป็นรถขนาดกลาง โดยรูปทรงที่ออกมามีลักษณะใกล้เคียงกับ ฮอนด้า ซีวิคในรุ่นเดียวกัน ในช่วงที่แอคคอร์ดถูกออกแบบมาใหม่ๆ แอคคอร์ดนั้นถูกกำหนดให้ใช้เครื่องยนต์ 6 สูบโดยเฉพาะ ซึ่งกำหนดให้สภาพเครื่องยนต์แตกต่างจากซีวิค แต่เนื่องจากเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ และภาวะน้ำมันแพงในระยะต่อมา ทางฮอนด้าได้มีการปรับเปลี่ยนระบบต่างๆ รวมทั้งเครื่องยนต์ โดยได้ปรับปรุงและพัฒนาออกมาเป็น 2 รุ่นหลักอย่างที่เห็นในปัจจุบัน คือ รุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ 4 สูบ และรุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ 6 สูบ แต่นับจากรุ่นที่สิบ ฮอนด้าแอคคอร์ดจะไม่ใช้เครื่องยนต์ 6 สูบอีกต่อไปและจะใช้เครื่องยนต์ 2 ลิตรเทอร์โบทำตลาดแทน นอกจากแบ่งตามขนาดแล้ว ยังแบ่งตามลักษณะของเกียร์เหมือนรถยนต์ทั่วๆ ไป คือ เกียร์ธรรมดา และเกียร์อัตโนมัติ ฮอนด้า แอคคอร์ด โฉมที่ 1-4 จัดอยู่ในประเภทรถยนต์ขนาดเล็ก, โฉมที่ 5-9 จัดอยู่ในประเภทรถยนต์ขนาดกลาง (ยกเว้นโฉมที่ 8 เฉพาะตัวถังแบบ Sedan ที่มีมูนรูฟ จัดอยู่ในประเภทรถยนต์ขนาดใหญ่).

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและฮอนด้า แอคคอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ฮุนได โซนาต้า

นได โซนาต้า (Hyundai Sonata) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car) ผลิตโดยฮุนได เริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2528 เพื่อทดแทนรุ่นเก่า ฮุนได สเทลลา (Hyundai Stella) โดยปัจจุบัน ฮุนได โซนาต้า มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลาได้ 6 Generation (รุ่น) ดังนี้.

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและฮุนได โซนาต้า · ดูเพิ่มเติม »

ซูบารุ เลกาซี

ซูบารุ เลกาซี (Subaru Legacy) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง และเป็นรถธง ของค่ายรถยนต์ซูบารุ จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเดิมนั้น ซูบารุออกแบบให้เลกาซีเป็นรถยนต์ขนาดกลางทั่วๆ ไป เพื่อต้องการแข่งขันกับ ฮอนด้า แอคคอร์ด และ โตโยต้า คัมรี่ แต่ต่อมาได้มีการออกแบบเลกาซีรุ่นพิเศษ โดยที่จะเน้นสมรรถนะให้สูงกว่ารถยนต์ขนาดกลางรุ่นอื่นๆ เช่น ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ เครื่องยนต์เทอร์โบ บ็อกเซอร์สูบนอน ฯลฯ ปรากฏว่า เลกาซีรุ่นพิเศษนั้น ถูกนำไปเปรียบเทียบว่ามีความใกล้เคียงกับรถยนต์นั่งประเภทหรูหราระดับต้น หลายรุ่น เช่น เอาดี้ เอ4, อัลฟา โรเมโอ 159 และ บีเอ็มดับเบิลยู 3 ซีรีส์ ในเรื่องต่างๆ ดังนั้น การออกแบบเลกาซีทำให้ซูบารุได้รับการยอมรับและชื่นชมอย่างกว้างขวาง เมื่อซูบารุนำพื้นฐานการออกแบบของเลกาซี ไปออกแบบรถรุ่นใหม่หลายรุ่น เช่น Tribeca และ Outback ก็สามารถประสบความสำเร็จไม่น้อย รวมกับการที่รถรุ่นอื่นๆ ของซูบารุ จะเน้นไปที่การผลิตรถยนต์ขนาดเล็ก ทำให้เลกาซี ได้เป็นรถธง ของซูบารุ ที่ประสบความสำเร็จในวงกว้าง เลกาซี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากรุ่นแรกถึงปัจจุบัน แบ่งได้ 5 รุ่น ดังนี้.

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและซูบารุ เลกาซี · ดูเพิ่มเติม »

ซูซูกิ คิซาชิ

ซูซูกิ คิซาชิ (Suzuki Kizashi) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car) ที่ผลิตโดยซูซูกิ เมื่อปี พ.ศ. 2552 ซูซูกิ คิซาชิ เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางรุ่นแรกของซูซูกิที่ซูซูกิพัฒนาด้วยตนเอง เนื่องจากในช่วงก่อนหน้านั้น ซูซูกิ มีรถขนาดกลางอยู่แล้วรุ่นหนึ่ง คือ ซูซูกิ เวโรน่า (Suzuki Verona) ซึ่งเป็นรถที่แลกเปลี่ยนกับแดวู มอเตอร์สผลิตในช่วงปี พ.ศ. 2547-2549 ในตลาดอเมริกา ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่เนื่องจากในขณะนั้นซูซูกิต้องการขยายไลน์รถยนต์เพิ่มให้ครบทุกความต้องการ ซึ่งเป็นความหวังของซูซูกิ มอเตอร์เช่นกัน ซูซูกิ คิซาชิ เป็นรถยนต์ที่มีชื่อแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า โหมโรง เช่นเดียวกับคำว่า Prelude ซึ่งเป็นชื่อรถสปอร์ตรุ่นหนึ่งของฮอนด้า มีฐานการประกอบอยู่ที่ชิซุโอะกะ ประเทศญี่ปุ่น เริ่มจำหน่ายครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และหยุดการจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เริ่มจำหน่ายในญี่ปุ่นวันที่ 21 ตุลาคม..

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและซูซูกิ คิซาชิ · ดูเพิ่มเติม »

ประเภทของรถยนต์

รถยนต์สามารถจำแนกได้เป็นหลายประเภท ซึ่งมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและประเภทของรถยนต์ · ดูเพิ่มเติม »

นิสสัน เซฟิโร่

นิสสัน เซฟิโร่ (Nissan Cefiro) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางที่ถูกผลิตโดยนิสสัน มีคุณลักษณะและจุดประสงค์คล้ายคลึง โตโยต้า คัมรี่, ฮอนด้า แอคคอร์ด, มิตซูบิชิ กาแลนต์ และมาสด้า คาเพลลา มีการผลิตระหว่าง พ.ศ. 2531-2546 เป็นเวลา 15 ปี เดิมทีนั้น เซฟิโร่ถูกออกแบบมาให้เป็นรถยนต์นั่งสำหรับกลุ่มคนทำงานในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น และไม่เน้นการส่งออก แต่กลับได้รับความนิยมจากต่างประเทศมากกว่าในประเทศญี่ปุ่น เซฟิโร่มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลาได้ 3 Generation (3 โฉม) ก่อนที่นิสสันจะเปลี่ยนชื่อตระกูลเป็น เทียน่า (Teana) ซึ่งยังมีขายอยู่จนถึงในปัจจุบัน.

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและนิสสัน เซฟิโร่ · ดูเพิ่มเติม »

แดวู เลกันซา

แดวู เลกันซา (Daewoo Leganza) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car) รุ่นที่ 2 ของแดวู เรื่มผลิตในปี พ.ศ. 2540 และเลิกผลิตในปี พ.ศ. 2545 ใช้รหัสว่า V100 ชื่อ Leganza นั้นมาจากคำภาษาอิตาลี 2 คำ คือ Elegante และ Forza ซึ่งทั้ง 2 คำแปลว่า หรูหราและอำนาจ เมื่อมารวมกัน Leganza จึงหมายถึง อำนาจแห่งความหรูหรา แดวูจึงออกแบบเลกันซามาให้มีความหรูหราตามยุคสมัยพอสมควร เพื่อทดแทนรุ่นเก่าอย่าง แดวู เอสเปอโร (Daewoo Espero) ออกแบบโดย จิโอเจ็ตโต จิวเจียโร เช่นเดียวกับรุ่นพี่น้อง ซึ่งก็คือแดวู ลาโนสและแดวู นิวบีรา ซึ่งใช้รหัส T100 และ J100 ตามลำดับ แดวู เลกันซา มีตัวถัง 1 แบบคือซีดาน 4 ประตู ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า มีเครื่องยนต์ 2.0 และ 2.2 ลิตร ใช้เกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด ระยะฐานล้อ 2,670 มม.

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและแดวู เลกันซา · ดูเพิ่มเติม »

แดวู เอสเปอโร

แดวู เอสเปอโร (Daewoo Espero) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car) ผลิตโดย แดวู เริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2533 และเลิกผลิตในปี พ.ศ. 2540 โดยเป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางรุ่นแรกของแดวู มอเตอร์ส ออกแบบโดย Gruppo Bertone ใช้แพลตฟอร์มของ GM ตระกูล GM J platform มีตัวถัง 1 แบบคือซีดาน 4 ประตู ใช้เครื่องยนต์ 1.5,1.8 และ 2.0 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด ระยะฐานล้อ 2,620 มม.

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและแดวู เอสเปอโร · ดูเพิ่มเติม »

โอเปิล เวคตร้า

อเปิล เวคตร้า (Opel Vectra) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car) ผลิตโดยโอเปิล ผู้ผลิตรถยนต์จากเยอรมนีซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ General Motors เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยมาทดแทนรุ่นเก่าอย่างโอเปิล แอสโคนา (Opel Ascona) และเลิกผลิตในปี พ.ศ. 2552 โดยมีรุ่นใหม่มาแทน คือ โอเปิล อินซิกเนีย (Opel Insignia) โอเปิล เวคตร้า มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลาได้ 3 Generation (รุ่น) ดังนี้.

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและโอเปิล เวคตร้า · ดูเพิ่มเติม »

โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์

300px โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ (Toyota Fortuner) เป็นรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดกลาง (Mid-size SUV) ของโตโยต้า โดยเริ่มผลิตครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โตโยต้า คัมรี่

ตโยต้า คัมรี่ เป็นรถยนต์ตระกูลที่ได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับต้นๆ ของรถโตโยต้า มีลักษณะเป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ในรุ่น V และเป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง ในรุ่น XV ในประเทศไทย คัมรี่ เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยเฉพาะรุ่น XV โดยก่อนหน้านี้ รถครอบครัวรุ่นที่มีชื่อเสียงของโตโยต้า คือ โตโยต้า โคโรน่า แต่เมื่อคัมรี่ XV เข้ามา คัมรี่เริ่มแย่งความนิยมมาจากโคโรน่า จนในที่สุด ก็กลายเป็นรถครอบครัวที่ขึ้นมามีชื่อเสียงแทนโคโรน่า หลังจากนั้นไม่นาน โคโรน่าก็มีอันต้องเลิกผลิตไป ปัจจุบัน คัมรี่เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับ ฮอนด้า แอคคอร์ด, นิสสัน เทียน่า, ฮุนได โซนาต้า และอื่นๆ ซึ่งเป็นรถยนต์ที่มีขนาดและระดับราคาใกล้เคียงกัน แต่ก่อนที่คัมรี่จะเข้าไทย โตโยต้า โคโรน่า ก็เคยเป็นคู่แข่งของแอคคอร์ดมาก่อน รถตระกูลคัมรี่ กำเนิดโดยการแตกหน่อออกมาจากรถตระกูลเซลิก้า รถตระกูลเซลิก้ากำเนิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2513 ในเวลานั้น เซลิก้าเป็นรถสปอร์ตที่นั่งตอนเดียว ขับเคลื่อนล้อหลัง เปิดประทุนได้ รูปตัวถัง 3 แบบ คือ Hardtop, Liftback และ Coupe เหมาะสำหรับงานแข่งรถ โดยเฉพาะการแข่งแรลลี่ หลังจากนั้น ก็ได้แยกสายการผลิตออกไปเป็นคัมรี่ สาเหตุของการแบ่งคัมรี่ออกเป็นรุ่น V และ XV เนื่องมาจาก ที่ญี่ปุ่น กำหนดเกณฑ์แบ่งขนาดของรถยนต์โดยสารออกเป็น 3 ประเภท คือ.

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและโตโยต้า คัมรี่ · ดูเพิ่มเติม »

เปอโยต์ 405

ปอโยต์ 405 (Peugeot 405) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car) ผลิตโดยเปอโยต์ เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2530 ออกมาเพื่อทดแทนเปอโยต์ 505 (Peugeot 505) และเลิกผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยมีเปอโยต์ 406 (Peugeot 406) มาทดแทน แต่ในบางประเทศ เปอโยต์ 405 ยังมีการผลิตอยู่เพื่อแซยิดรุ่นเดิมไปก่อน เปอโยต์ 405 มีตัวถัง 2 แบบคือ ซีดาน 4 ประตู และสเตชันวากอน 5 ประตู มีเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1.4 ไปจนถึง 2.0 ลิตรทั้งแบบเบนซินและดีเซล มีฐานการประกอบที่ประเทศอาร์เจนตินา,ชิลี,อียิปต์,ฝรั่งเศส,อินโดนีเซีย,อิหร่าน,โปแลนด์,ไต้หวัน,สหราชอาณาจักรและซิมบับเว ตลอดระยะเวลาที่ทำตลาด เปอโยต์ขาย 405 ไปได้ทั่วโลก 2.5 ล้านคัน ในประเทศไทย บริษัท ยนตรกิจ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิต นำเข้าและจำหน่ายเปอโยต์์ในยุคนั้น เคยนำเข้าเปอโยต์ 405 มาจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2532 มีรุ่น 405 GR และ 405 Mi16 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2536 จึงมีการไมเนอร์เชนจ์ให้ดูสวยงามขึ้น ยุบรุ่น GR และ Mi16 ลง เหลือแต่รุ่น SRi เครื่องยนต์เปลี่ยนมาใช้เป็นแบบ 4 สูบ SOHC 8 วาล์ว 2.0 ลิตร 123 แรงม้า ภายในออกแบบให้ดูสวยงามขึ้น มีลายไม้แผ่นเล็กๆ แปะอยู่ตรงแดชบอร์ดฝั่งคนนั่ง ล้อลายเดิม แต่กันชนหน้า-หลังที่เป็นแบบสเกิร์ตในตัว กับสปอยเลอร์บนฝากระโปรงท้ายไม่มีให้แล้ว ภาพลักษณ์ของรถจึงออกไปทางแนวหรูขึ้น ต่อมาก็มีรุ่นประหยัด 405 GRi เครื่องยนต์ 1.6 ลิตร 90 แรงม้า ทำราคาแข่งกับรถญี่ปุ่น ก่อนที่ 405 จะหลีกทางให้กับการมาของ 406 ก็มีการนำชื่อ Mi16 กลับมาขายใหม่โดยใช้บอดี้ของ SRi ใส่ชุดแต่งสปอร์ตไฟหน้ากลม 4 ดวง และนำเครื่องยนต์จาก 306 S16 2.0 ลิตร 155 แรงม้ามาใช้ รถรุ่นนี้ในปัจจุบันถือว่าหายากมาก เพราะในช่วงที่ยังวางจำหน่ายอยู่ ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก.

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและเปอโยต์ 405 · ดูเพิ่มเติม »

เปอโยต์ 406

ปอโยต์ 406 (Peugeot 406) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางรุ่นหนึ่งของเปอโยต์ เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยมาทดแทนเปอโยต์ 405 และเลิกผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยมีเปอโยต์ 407 เข้ามาทดแทน แต่เริ่มจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2541-2548 โดยบริษัทยนตรกิจ คอร์เปอเรชั่น ถือเป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางของเปอโยต์รุ่นสุดท้ายที่ประกอบในประเทศไทย โดยเป็นรถประกอบแบบ CKD (Complete Knock-Down) ซึ่งเป็นรถเปอโยต์อีกรุ่นหนึ่งที่ขายดีในประเทศไทย และมีให้เห็นอยู่บ้างตามท้องถนนในประเทศไทย เปอโยต์ 406 มีเครื่องยนต์ 7 ขนาด คือ 1.6,1.8,1.9,2.0,2.1,2.2 และ 2.9 ลิตร และมีตัวถัง 3 แบบ คือ ซีดาน 4 ประตู,คูเป้ 2 ประตู และสเตชันวากอน 5 ประตู โดยในประเทศไทยจะมีให้เห็นเฉพาะรุ่น 4 ประตูเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการปรับโฉม Minorchange เล็กน้อยก่อนที่จะยุติการผลิตในปี พ.ศ. 2548 406.

ใหม่!!: โตโยต้า โคโรน่าและเปอโยต์ 406 · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »