โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โจวันนี บอกกัชโช

ดัชนี โจวันนี บอกกัชโช

วันนี บอกกัชโช (Giovanni Boccaccio) (ค.ศ. 1313 – 21 ธันวาคม ค.ศ. 1375) เป็นนักเขียน กวี และนักมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวอิตาลี ผู้เป็นนักประพันธ์งานสำคัญหลายชิ้นที่รวมทั้ง “ตำนานสิบราตรี” (Decameron) และ “On Famous Women” รายละเอียดเกี่ยวกับการกำเนิดของบอกกัชโชไม่เป็นที่ทราบกันเท่าใดนัก บางหลักฐานก็ว่าเกิดที่ปารีส จากแม่ที่เป็นชาวปารีสBartlett, Kenneth R. (1992).

10 ความสัมพันธ์: บาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์พระเพลิงเผากิเลสกึนเทอร์ กรัสส์สะดุดจูบ แดนเวอร์จิ้นอิซาเบลลา (มิเล)จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีดันเต อาลีกีเอรีดีวีนากอมเมเดียตำนานสิบราตรีตำนานแคนเตอร์บรี

บาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์

ลจิตรกรรมสัญลักษณ์แฝงคติจาก “ตำนานแห่งความรัก” ของพระเจ้าเรเน (King Rene’s Livre du cueur d'amour esprit) บาเธเลมี ฟาน เอค (ภาษาอังกฤษ: Barthelemy van Eyck หรือ Barthélemy d’Eyck หรือ van Eyck หรือ d' Eyck) (ค.ศ. 1420 - ก่อน ค.ศ. 1470) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้นคนสำค้ญของประเทศเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้ทำงานอาจจะเป็นในบริเวณเบอร์กันดีในประเทศฝรั่งเศส บาเธเลมี แวน เอคมีความสำคัญในการเขียนภาพเขียน, จุลจิตรกรรม (Miniature) และภาพสำหรับ หนังสือวิจิตร ฟาน เอคสร้างผลงานระหว่างปี ค.ศ. 1440 ถึงปี ค.ศ. 1469 และอาจจะเป็นญาติกับ ยาน ฟาน เอค แม้ว่างานที่เหลืออยู่จะไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่าเป็นงานของบาเธเลมี ฟาน เอค แต่นักประพันธ์ร่วมสมัยกล่าวว่าฟาน เอคเป็นศิลปินผู้มีชื่อเสียงของสมัยนั้น และมักจะยอมรับว่างานชิ้นสำคัญๆ เป็นงานของฟาน เอค โดยเฉพาะเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นคนคนเดียวกับผู้ที่รู้จักกันในนามว่า “ครูบาแห่งการประกาศของเทพแห่งเอ็กซ์” (Master of the Aix Annunciation) ในฐานะเป็นผู้วาดบานพับภาพ และ “ครูบาแห่งเรเนแห่งอองชู” (Master of René of Anjou) ผู้วาดภาพสำหรับหนังสือวิจิตร นอกจากนั้นก็ยังเชื่อกันว่าฟาน เอคคือ “ครูบาแห่งแสงเงา” ซึ่งเป็นผู้วาดภาพบางภาพใน “หนังสือประจำชั่วโมงดยุคแห่งแบร์รี” (Très Riches Heures du Duc de Berry).

ใหม่!!: โจวันนี บอกกัชโชและบาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเพลิงเผากิเลส

อากอสติโน ดิ ดูชิโอ สร้างระหว่าง ค.ศ. 1457 ถึง ค.ศ. 1461 พระเพลิงเผากิเลส (Falò delle vanità, Bonfire of the Vanities) หมายถึงการก่อเพลิงเพื่อเผาสิ่งต่างๆ ที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดบาป (Occasion of sin) พระเพลิงเผากิเลสครั้งสำคัญที่เป็นที่รู้จักกันดีเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1497 เมื่อผู้สนับสนุนนักบวชโดมินิคันจิโรลาโม ซาโวนาโรลาไปรวบรวมสิ่งต่างๆ ที่ถือว่าเป็นสิ่งก่อให้เกิดความหย่อนตัวในทางจริยธรรม และนำมาเผาต่อหน้าสาธารณชนในกองเพลิงใหญ่กลางจตุรัสซินยอเรียในฟลอเรนซ์ วัตถุประสงค์ของการกระทำครั้งนี้ก็เพื่อทำลายสิ่งที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ยั่วให้เกิดการทำบาปที่รวมทั้งสิ่งที่สร้างความฟุ้งเฟ้อและความหลงตัว (vanity) ที่รวมทั้ง: กระจก, เครื่องสำอาง, ภาพลามก, หนังสือนอกศาสนา, ประติมากรรมที่ถือว่าขาดจริยธรรม, โต๊ะเล่นเกม, หมากรุก, เครื่องดนตรี, เสื้อผ้าหรูหรา, หมวกสตรี และงานที่ถือว่าขาดจริยธรรมของกวีโบราณ เช่นงานเขียนของจิโอวานนิ โบคคาชโชและหนังสือเพลงที่ไม่ใช่เพลงศาสนา และงานศิลปะที่รวมทั้งจิตรกรรมและประติมากรรม แม้ว่าจะกล่าวกันว่าซานโดร บอตติเชลลีเผาภาพเขียนของตนเองที่เป็นภาพเขียนเกี่ยวกับตำนานเทพกรีกและโรมันไปหลายภาพและก็ไม่หลักฐานสนับสนุนเป็นการแน่นอน จอร์โจ วาซารีเพียงแต่บันทึกว่าบอตติเชลลีสนับสนุนจิโรลาโม ซาโวนาโรลา: “สนับสนุนอย่างแข็งขันจนถึงกับละทิ้งการเขียนภาพ จนทำให้ไม่มีรายได้ที่จะเลี้ยงตนเอง และตกอยู่ในสภาพอันน่าสมเพช” โอเรสเทส บราวน์สันปัญญาชนและผู้แก้ชื่อเสียงของซาโวนาโรลาชาวนิวอิงแลนด์กล่าวถึงเฉพาะภาพเขียนของฟราบาร์โทโลเมโอ, ลอเร็นโซ ดิ เครดี และ “จิตรกรอื่นๆ อีกหลายคน” และ “ประติมากรรมโบราณหลายชิ้น” การก่อพระเพลิง (bonfire) ดังว่ามิได้คิดขึ้นโดยซาโวนาโรลา แต่เป็นสิ่งที่ทำกันมาตั้งแต่เมื่อมีการเทศนานอกวัดโดยนักบุญแบร์นาร์ดิโนแห่งเซียนาในครึ่งแรกของศตวรรษ.

ใหม่!!: โจวันนี บอกกัชโชและพระเพลิงเผากิเลส · ดูเพิ่มเติม »

กึนเทอร์ กรัสส์

กึนเทอร์ วิลเฮลม์ กรัสส์ (Günter Wilhelm Grass) (16 ตุลาคม พ.ศ. 2470 – 13 เมษายน พ.ศ. 2558) เป็นนักเขียนและนักเขียนบทละครชาวเยอรมันคนสำคัญ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี ค.ศ. 1999 กรัสส์เกิดที่นครรัฐอิสระดานซิก (ปัจจุบันคือ กดัญสก์ ประเทศโปแลนด์) ในปี..

ใหม่!!: โจวันนี บอกกัชโชและกึนเทอร์ กรัสส์ · ดูเพิ่มเติม »

สะดุดจูบ แดนเวอร์จิ้น

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: โจวันนี บอกกัชโชและสะดุดจูบ แดนเวอร์จิ้น · ดูเพิ่มเติม »

อิซาเบลลา (มิเล)

อิซาเบลลา หรือ ลอเรนโซและอิซาเบลลา (Isabella หรือ Lorenzo and Isabella) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอห์น เอเวอเรตต์ มิเล จิตรกรสมัยกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอลชาวอังกฤษ จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลเขียนภาพ "อิซาเบลลา" เสร็จในปี ค.ศ. 1849 เป็นงานเขียนแรกในแบบ "ก่อนราฟาเอล" ที่เขียนไม่นานหลังจากการก่อตั้งของกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอลในปีก่อนหน้านั้น ภาพตั้งแสดงครั้งแรกที่ราชสถาบันศิลปะ ในปี ค.ศ. 1849 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์วอล์กเกอร์ เมืองลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: โจวันนี บอกกัชโชและอิซาเบลลา (มิเล) · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

การแต่งงานของเวอร์จินแมรี” ภาพ “พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (Italian Renaissance painting) คือสมัยประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมที่เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เกิดขึ้นในบริเวณของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นแบ่งการปกครองเป็นอาณาบริเวณต่างๆ จิตรกรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับราชสำนักหรือสำนัก หรือเมือง แต่ก็มีโอกาสได้ท่องเที่ยวอย่างกว้างไกลไปทั่วอิตาลี และมักจะได้รับฐานะเป็นทูตในการเผยแพร่อิทธิพลความคิดทั้งทางศิลปะและปรัชญา เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและโดยเฉพาะในสาขาจิตรกรรมก็คือเมืองฟลอเรนซ์ที่อ่านประกอบได้ในบทความ “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา”, ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และ “สถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา” จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีแบ่งเป็นสี่สมัย.

ใหม่!!: โจวันนี บอกกัชโชและจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ดันเต อาลีกีเอรี

ูรันเต เดกลี อาลีกีเอรี หรือดันเต อาลีกีเอรี หรือเรียกสั้น ๆ ว่าดันเต (Durante degli Alighieri; Dante Alighieri) (ราวกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1265 - 14 กันยายน ค.ศ. 1321) ดันเต อาลีกีเอรีเป็นรัฐบุรุษ กวี และนักภาษาศาสตร์คนสำคัญของฟลอเรนซ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 ในยุคกลาง งานชิ้นที่สำคัญที่สุดคือ “ดีวีนากอมเมเดีย” (Divina Commedia) ที่เดิมชื่อ “Commedia” แต่ต่อมาเรียก “Divina” โดยโจวันนี บอกกัชโช และในที่สุดก็กลายเป็น “Divina Commedia” ซึ่งถือว่าเป็นกวีนิพนธ์ชิ้นเอกของภาษาอิตาลีและของโลก ดันเตได้รับการขนานนามในอิตาลีว่า “il Sommo Poeta” หรือ “มหากวี” และได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งภาษาอิตาลี” ดานเต เปตราก และโจวันนี บอกกัชโช รู้จักรวมกันว่า “สามมงกุฏ” (the three fountains หรือ the three crowns) บอกกัชโชเป็นคนแรกที่เขียนชีวประวัติของดันเตใน “ศาสตรนิพนธ์ในการสรรเสริญดันเต” (Trattatello in laude di Dante).

ใหม่!!: โจวันนี บอกกัชโชและดันเต อาลีกีเอรี · ดูเพิ่มเติม »

ดีวีนากอมเมเดีย

ีวีนากอมเมเดีย (Divina Commedia; Divine Comedy) หรือไตรภูมิดันเต เป็นวรรณกรรมอุปมานิทัศน์ที่ดันเต อาลีกีเอรี เขียนขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: โจวันนี บอกกัชโชและดีวีนากอมเมเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานสิบราตรี

ตำนานสิบราตรี (The Decameron, Il Decamerone) เป็นจุลนวนิยาย (novella) ร้อยเรื่องที่เขียนโดยโจวันนี บอกกัชโช นักประพันธ์ชาวอิตาลี ที่อาจจะเริ่มราวปี ค.ศ. 1350 และจบลงในปี ค.ศ. 1353 “ตำนานสิบราตรี” เป็นหนังสือที่เขียนเป็นอุปมานิทัศน์ที่เป็นเรื่องราวของความรักแบบต่างๆ ตั้งแต่รักที่ยั่วยวนไปจนถึงรักที่จบลงด้วยโศกนาฏกรรม บางท่านก็เชื่อว่าบางส่วนของหนังสือได้รับอิทธิพลมาจาก “ตำราแห่งความรัก” (The Book of Good Love) โดย ฆวน ราอูส “ตำนานสิบราตรี” มีอิทธิพลต่องานประพันธ์และงานจิตรกรรมต่อมาอีกมากเช่น “ตำนานแคนเตอร์บรี” โดยเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ หรือ “เริ่มดีจบดี” (All's Well That Ends Well) โดยวิลเลียม เชกสเปียร์ ที่มีรากฐานมาจากเล่มสามเรื่องที่เก้า หรือโคลง “อิสาเบลลาและกระถางใบโหระพา” (Isabella, or the Pot of Basil) โดยจอห์น คีตส์ ที่มาจากเรื่องของลิสาเบ็ตตา ชื่อเรื่องมาจากคำภาษากรีกสองคำผสมกัน “δέκα” หรือ “déka” ที่แปลว่า “สิบ” และ “ἡμέρα” หรือ “hēméra” ที่แปลว่า “วัน”.

ใหม่!!: โจวันนี บอกกัชโชและตำนานสิบราตรี · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานแคนเตอร์บรี

ตำนานแคนเตอร์บรี (The Canterbury Tales) เป็นวรรณกรรมที่เขียนโดยเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องย่อยที่รวบรวมกันเป็นหนังสือ (สองเล่มเป็นร้อยแก้ว อีกยี่สิบสองเล่มเป็นร้อยกรอง) ที่เป็นตำนานที่เล่าโดยนักแสวงบุญแต่ละคนจากซัทเธิร์ค (Southwark) ในลอนดอนที่เดินทางกันไปแสวงบุญที่ชาเปลของนักบุญทอมัส เบ็คเค็ทที่มหาวิหารแคนเตอร์บรี “ตำนานแคนเตอร์บรี” เขียนเป็นภาษาอังกฤษสมัยกลาง เรื่องราวต่างถือกันว่าเป็นหนึ่งในมหาวรรณกรรม (magnum opus) ที่ได้รับอิทธิพลมาจาก “ตำนานสิบราตรี” (The Decameron) ที่เขียนโดยกวีชาวอิตาลีจิโอวานนิ โบคคาชโช ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ที่กล่าวกันว่าชอเซอร์ได้อ่านเมื่อเดินทางไปท่องเที่ยวในอิตาลีก่อนหน้านั้น แต่ผู้ที่เล่าเรื่องในตำนานของชอเซอร์เป็น “มนุษย์เดินดิน” แทนที่จะเป็นเรื่องของชนชั้นขุนนางเช่นใน “ตำนานสิบราตรี” ของ.

ใหม่!!: โจวันนี บอกกัชโชและตำนานแคนเตอร์บรี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

BoccaccioBoccacioGiovanni Boccaccioจิโอวานนิ โบคคาชโช

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »