สารบัญ
4 ความสัมพันธ์: พิกัดที่สองพิกัดที่หนึ่งกราฟ (คณิตศาสตร์)อุปสงค์และอุปทาน
พิกัดที่สอง
(−1.5, −2.5) ก็คือ 3, 1, 0, −2.5 ตามลำดับ พิกัดที่สอง (ordinate) หมายถึงสมาชิกของคู่อันดับที่ลงจุดตามแกนแนวยืนของระบบพิกัดคาร์ทีเซียนสองมิติ ซึ่งตรงข้ามกับพิกัดที่หนึ่ง (abscissa) พิกัดที่สองคือพจน์ท้ายของพจน์สองพจน์ (ที่มักกำกับด้วย x และ y) ซึ่งกำหนดตำแหน่งของจุดในระบบพิกัดเช่นนั้น นั่นคือ ถ้ากำหนดให้คู่อันดับ ดังนั้นพิกัดที่สองก็คือ y ยกตัวอย่างจุด จะได้ว่าพิกัดที่สองคือ 3 หรืออย่างเช่นจุด จะได้ว่าพิกัดที่สองคือ 15 เป็นต้น.
พิกัดที่หนึ่ง
(−1.5, −2.5) ก็คือ 2, −3, 0, −1.5 ตามลำดับ พิกัดที่หนึ่ง (abscissa; พหูพจน์: abscissae, abscissæ) หมายถึงสมาชิกของคู่อันดับที่ลงจุดตามแกนแนวนอนของระบบพิกัดคาร์ทีเซียนสองมิติ ซึ่งตรงข้ามกับพิกัดที่สอง (ordinate) พิกัดที่หนึ่งคือพจน์แรกของพจน์สองพจน์ (ที่มักกำกับด้วย x และ y) ซึ่งกำหนดตำแหน่งของจุดในระบบพิกัดเช่นนั้น นั่นคือ ถ้ากำหนดให้คู่อันดับ ดังนั้นพิกัดที่หนึ่งก็คือ x ยกตัวอย่างจุด จะได้ว่าพิกัดที่หนึ่งคือ 2 หรืออย่างเช่นจุด จะได้ว่าพิกัดที่หนึ่งคือ 5 เป็นต้น.
ดู แผนภูมิเส้นและพิกัดที่หนึ่ง
กราฟ (คณิตศาสตร์)
วาดของกราฟระบุชื่อที่มีจุดยอด 6 จุด และเส้นเชื่อม 7 เส้น ในคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ กราฟ (Graph) ประกอบไปด้วยเซตของวัตถุที่เรียกว่าจุดยอด (vertex) ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยเส้นเชื่อม (edge) โดยทั่วไปแล้วเรามักวาดรูปแสดงกราฟโดยใช้จุด (แทนจุดยอด) เชื่อมกันด้วยเส้น (แทนเส้นเชื่อม) กราฟเป็นวัตถุพื้นฐานของการศึกษาในวิยุตคณิต หัวข้อทฤษฎีกราฟ เส้นเชื่อมอาจมีทิศทางหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น สมมุติให้จุดยอดแทนคนและเส้นเชื่อมแทนการจับมือกัน เส้นเชื่อมก็จะเป็นเส้นเชื่อมไม่มีทิศ เพราะการที่ A จับมือ B ก็แปลว่า B จับมือ A อย่างไรก็ตาม สมมุติถ้าจุดยอดแทนคนและเส้นเชื่อมแทนการรู้จัก เส้นเชื่อมก็ต้องเป็นเส้นเชื่อมมีทิศทาง เพราะ A รู้จัก B ไม่จำเป็นว่า B ต้องรู้จัก A หรือนั่นก็คือความสัมพันธ์การรู้จักไม่เป็นความสัมพันธ์สมมาตร จุดยอดอาจจะถูกเรียกว่าโหนด ปม หรือจุด ในขณะที่เส้นเชื่อมอาจถูกเรียกว่าเส้น คำว่า "กราฟ" ถูกใช้ครั้งแรกโดย J.J.
ดู แผนภูมิเส้นและกราฟ (คณิตศาสตร์)
อุปสงค์และอุปทาน
อุปสงค์และอุปทานแผนภูมิเส้นแสดงอุปสงค์และอุปทานที่พบเห็นทั่วไป ให้แกนตั้งแสดงราคาและแกนนอนแสดงปริมาณสินค้า เส้นอุปสงค์ (สีแดง) มีลักษณะลาดลง ในขณะที่เส้นอุปทาน (สีน้ำเงิน) ชันขึ้น จุดตัดของเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทาน เป็นจุดดุลยภาพของตลาด ที่ราคาดุลยภาพ P* และปริมาณดุลยภาพ Q* ความหมายในทางเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply) เป็นแบบจำลองพื้นฐานที่อธิบายความสัมพันธ์ของผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าในตลาดที่มีการแข่งขัน โดยถือว่าอุปสงค์และอุปทาน เป็นตัวแปรที่กำหนดปริมาณและราคาของสินค้าแต่ละชนิดในตลาด โดยทั่วไป อุปสงค์ หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ในขณะที่อุปทาน (supply) หมายถึง ความต้องการขายสินค้าและบริการ.
ดู แผนภูมิเส้นและอุปสงค์และอุปทาน
หรือที่รู้จักกันในชื่อ กราฟเส้น (ทฤษฎีกราฟ)