โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้

ดัชนี แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้

แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ หรือ เวียดกง หรือ เหวียดกง (Mặt trận Dân tộc Giải phóng miền Nam Việt Nam หรือ Việt Cộng) ก่อตั้งเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2503 เป็นตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ เพื่อหาเสียงสนับสนุนจากประชาชนและต่อต้านรัฐบาลของโง ดิ่ญ เสี่ยม เวียดกงได้รับการสนับสนุนทางอาวุธยุทโธปกรณ์จากฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ และกองทัพประชาชนเวียดนาม แนวร่วมนี้ก่อตั้งตามแนวชายแดนกัมพูชา ประธานคือ เหงียน หืว เถาะ พรรคนี้ได้เข้าร่วมในรัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐเวียดนามใต้ เมื่อเดือนมิถุนายน..

45 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2503พรรคประชาชนปฏิวัติ (เวียดนาม)พรรคเกิ่นลาวกอดคอกันไว้ อย่าให้ใครเจาะกะโหลกการยึดกรุงไซ่ง่อนการรุกตรุษญวนมิสไซง่อนมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกีมูฮัมหมัด อาลียุทธการไซ่ง่อน (พ.ศ. 2511)รัฐบาลปฏิวัติชั่วคราวสาธารณรัฐเวียดนามใต้รัฐประหารในประเทศกัมพูชา พ.ศ. 2513ราชอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. 2497–2513)รายชื่อธงในประเทศเวียดนามวันรวมชาติ (เวียดนาม)วันวิสาขบูชาสายฟ้องเหมี่ยนนามสาธารณรัฐเขมรสีสุวัตถิ์ สิริมตะสงครามกลางเมืองกัมพูชาสงครามกลางเมืองลาวสงครามอินโดจีนสงครามประชาชนสงครามเวียดนามสนามกีฬาท้งเญิ้ตอุโมงค์กู๋จีผู้นำเวียดนามใต้ธงชาติเวียดนามทุ่งสังหาร (ภาพยนตร์)ความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยความเป็นกลางของลาวปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกนปฏิบัติการเจนละ 2ประวัติศาสตร์เวียดนามประเทศเวียดนามประเทศเวียดนามใต้ปืนเล็กยาวโมซิน-นากองท์แนวร่วมปิตุภูมิเวียดนามไรด์ออฟเดอะวาลคิรีส์เส้นเบรวีเยเหงียน หืว เถาะเอเอช-1 คอบราเขมรแดงเตี๊ยงก่อยกงเซิน26 ธันวาคม27 พฤษภาคม

พ.ศ. 2503

ทธศักราช 2503 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1960 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และพ.ศ. 2503 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคประชาชนปฏิวัติ (เวียดนาม)

รรคประชาชนปฏิวัติ (People's Revolutionary Party) เป็นพรรคการเมืองในเวียดนามใต้ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และพรรคประชาชนปฏิวัติ (เวียดนาม) · ดูเพิ่มเติม »

พรรคเกิ่นลาว

รรคเกิ่นลาวหรือพรรคปฏิวัติแรงงานปัจเจกนิยม (Personalist Labor Revolutionary Party; ภาษาเวียดนาม: Cần lao Nhân vị Cách Mạng Ðảng) เป็นพรรคการเมืองลับในเวียดนามใต้ ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการปกครองของ โง ดิ่นห์เสี่ยม ถูกควบคุมและสั่งการโดยโงห์ ดิ่นห์ญู มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีปัจเจกบุคคลของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศส รวมกับปรัชญาทางตะวันตกและตะวันออกอื่นๆ อย่างไรก็ตาม แทนที่พรรคนี้จะช่วยรวมประชาชนให้ต่อต้านเวียดกงอย่างเป็นหนึ่งเดียว แต่กลับเป็นเครื่องมือในการคอรัปชันของโง ดิ่นห์เสี่ยม พรรคนี้สลายตัวไปเมื่อเกิดรัฐประหารที่สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนเมื่อ..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และพรรคเกิ่นลาว · ดูเพิ่มเติม »

กอดคอกันไว้ อย่าให้ใครเจาะกะโหลก

กอดคอกันไว้ อย่าให้ใครเจาะกะโหลก (Bullet in the Head; จีนตัวเต็ม: 喋血街头; จีนตัวย่อ: 喋血街頭; พินอิน: diéxuè jiētóu) ภาพยนตร์แอ็คชั่นสัญชาติฮ่องกง ในปี ค.ศ. 1990.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และกอดคอกันไว้ อย่าให้ใครเจาะกะโหลก · ดูเพิ่มเติม »

การยึดกรุงไซ่ง่อน

การยึดกรุงไซ่ง่อน (หรือเรียกว่า การเสียกรุงไซ่ง่อน โดยผู้สนับสนุนเวียดนามใต้ หรือ การปลดปล่อยไซ่ง่อน โดยผู้สนับสนุนเวียดนามเหนือ) คือการยึดเมืองหลวงของเวียดนามใต้ กรุงไซ่ง่อน โดยกองทัพประชาชนเวียดนาม (PAVN) และแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 เหตุการณ์นี้ทำให้สงครามเวียดนามสิ้นสุดลง และทำให้ช่วงถ่ายโอนอำนาจไปยังรัฐบาลเวียดนามเหนือเริ่มต้นขึ้น ทำให้เวียดนามทั้งสองฝ่ายกลับมารวมประเทศกันอีกครั้งอย่างเป็นทางการ ภายใต้รัฐระบอบคอมมิวนิสต์ กองกำลังเวียดนามเหนือที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของพลเอกอาวุโสหวั่น เตี๋ยง จุ๋ง เริ่มดำเนินการโจมตีกรุงไซ่ง่อนเป็นครั้งสุดท้าย โดยเริ่มจากการเปิดฉากระดมยิงอย่างหนักจากกองปืนใหญ่ของพลเอกเหวียน วัน ต่วนในวันที่ 29 เมษายน ในตอนบ่าย ทหารเวียดนามเหนือก็สามารถยึดจุดสำคัญๆ ภายในเมือง และเชิญธงชาติเวียดนามเหนือขึ้นเหนือทำเนียบประธานาธิบดีแห่งเวียดนามใต้ได้สำเร็จ หลังจากนั้นไม่นานเวียดนามใต้ก็ยอมจำนน กรุงไซ่ง่อนถูกเปลี่ยนชื่อเป็นนครโฮจิมินห์ ตามชื่อผู้นำการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ โฮจิมินห์ โดยก่อนที่เมืองจะถูกยึด มีการอพยพบุคลากรอเมริกันแทบทั้งหมด ทั้งพลเรือนและทหารออกจากไซ่ง่อน อีกทั้งยังอพยพพลเรือนเวียดนามใต้อีกหลายหมื่นคนที่ทำงานให้กับรัฐบาลเวียดนามใต้ออกจากกรุงไปด้วย การอพยพครั้งนี้ริเริ่มปฏิบัติการฟรีเควียนท์วินด์ (Operation Frequent Wind) ซึ่งเป็นการอพยพทางเฮลิคอปเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อสิ้นสุดสงคราม หลังจากที่มีผู้อพยพลี้ภัยเป็นจำนวนมาก รัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้ทำให้จำนวนประชากรของเมืองลดน้อยลงไปอีก ด้วยการให้ประชากรบางส่วนให้ไปอยู่นอกเมือง โดยการบังคับหรือเพื่อแลกกับอาหาร.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และการยึดกรุงไซ่ง่อน · ดูเพิ่มเติม »

การรุกตรุษญวน

การรุกตรุษญวน (Tet Offensive; Sự kiện Tết Mậu Thân 1968, หรือ Tổng tiến công và nổi dậy Tết Mậu Thân) เป็นการทัพทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในสงครามเวียดนาม เปิดฉากเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2511 โดยกำลังเวียดกงและกองทัพประชาชนเวียดนามเหนือต่อกำลังเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาและพันธมิตร เป็นการทัพการโจมตีอย่างจู่โจมต่อกองบัญชาการทหารและพลเรือนและศูนย์ควบคุมทั่วประเทศเวียดนามใต้ การรุกนี้ได้ชื่อจากวันหยุดตรุษญวน (เต๊ต, Tết) เมื่อเกิดการโจมตีใหญ่ครั้งแรก ฝ่ายคอมมิวนิสต์ดำเนินการโจมตีเป็นระลอกในกลางดึกของวันที่ 30 มกราคมในเขตยุทธวิธีเหล่าที่ 1 และที่ 2 ของเวียดนามใต้ การโจมตีช่วงแรกนี้ไม่นำไปสู่มาตรการป้องกันอย่างกว้างขวาง เมื่อปฏิบัติการหลักของคอมมิวนิสต์เริ่มในเช้าวันรุ่งขึ้น การรุกก็ลามไปทั่วประเทศและมีการประสานงานอย่างดี จนสุดท้ายมีกำลังคอมมิวนิสต์กว่า 80,000 นายโจมตีเมืองและนครกว่า 100 แห่ง ซึ่งรวมเมืองหลักของ 36 จาก 44 จังหวัด นครปกครองตนเอง 5 จาก 6 แห่ง เมืองเขต 72 จาก 245 แห่ง และเมืองหลวงของเวียดนามใต้ การรุกนี้เป็นปฏิบัติการทางทหารใหญ่ที่สุดของทั้งสองฝ่ายจนถึงเวลานั้น การโจมตีขั้นต้นทำให้กองทัพสหรัฐและเวียดนามใต้สับสนและทำให้เสียการควบคุมหลายนครเป็นการชั่วคราว แต่ก็สามารถจัดกลุ่มใหม่เพื่อขับการโจมตีกลับไป ทำให้กำลังคอมมิวนิสต์มีกำลังพลสูญเสียมหาศาล ระหว่างยุทธการที่เว้ การสู้รบอย่งาดุเดือดกินเวลาหนึ่งเดือน ทำให้กำลังสหรัฐทำลายนคร ระหว่างการยึดครอง คอมมิวนิสต์ประหารชีวิตประชาชนหลายพันคนในเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่เว้ การสู้รบดำเนินไปรอบ ๆ ฐานทัพสหรัฐที่เคซานเป็นเวลาอีกสองเดือน แม้การรุกจะเป็นความพ่ายแพ้ทางทหารสำหรับฝ่ายคอมมิวนิสต์ แต่มีผลลัพธ์ใหญ่หลวงต่อรัฐบาลสหรัฐและทำให้สาธารณชนสหรัฐตะลึง ซึ่งถูกผู้นำทางการเมืองและทหารเชื่อว่าฝ่ายคอมมิวนิสต์กำลังปราชัยและไม่สามารถดำเนินความพยายามมโหฬารเช่นนี้ได้ การสนับสนุนสงครามของสาธารณชนสหรัฐเสื่อมลงและสหรัฐแสวงการเจรจาเพื่อยุติสงคราม คำว่า "การรุกตรุษญวน" ปกติหมายถึงการรุกในเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2511 แต่อาจรวมการรุกที่เรียก "ตรุษญวนเล็ก" ซึ่งเกิดในเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมด้ว.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และการรุกตรุษญวน · ดูเพิ่มเติม »

มิสไซง่อน

มิสไซง่อน (Miss Saigon) เป็นละครเพลง ซึ่งประพันธ์ดนตรีโดยคลอดด์-มิเชล โชนเบิร์ก (Claude-Michel Schönberg) คำร้องโดยอัลเลง บูบลิล (Alain Boublil) และริชาร์ด มอลต์บี จูเนียร์ (Richard Maltby, Jr.) โดยนำเค้าโครงเรื่องมาจากอุปรากรของจาโกโม ปุชชีนี (Giacomo Puccini) เรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลาย (Madame Butterfly) ซึ่งทั้ง "มาดามบัตเตอร์ฟลาย" และ "มิสไซง่อน" ได้ถ่ายทอดเรื่องราวโศกนาฏกรรมความรักของหญิงชาวเอเชียที่ถูกชายชาวอเมริกันทอดทิ้ง ในขณะที่เนื้อเรื่องเดิมของ "มาดามบัตเตอร์ฟลาย" เป็นเรื่องราวความรักของหญิงสาวเกอิชาชาวญี่ปุ่นและนายทหารเรือชาวอเมริกันในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1900 ซึ่งเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นเพิ่งเริ่มเปิดประเทศ "มิสไซง่อน" เป็นเรื่องราวความรักของหญิงสาวชาวเวียดนามที่ทำงานในสถานบริการ และนายทหารชาวอเมริกันที่เข้าไปประจำการในเมืองไซง่อน (ปัจจุบันคือ นครโฮจิมินห์) ประเทศเวียดนาม ระหว่างสงครามเวียดนาม ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 มิสไซง่อนรอบปฐมทัศน์แสดงที่โรงละครเธียร์เตอร์รอยัล ถนนดรูรี่ (Theatre Royal, Drury Lane) กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1989 และแสดงรอบสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1999 รวมทั้งหมด 4,264 รอบ แต่ยังเปิดการแสดงที่โรงละครบรอดเวย์ (The Broadway Theatre) สหรัฐอเมริกา เมื่อค.ศ. 1991 และเปิดการแสดงตามเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก มิสไซง่อนได้กลับมาเปิดทำการแสดงอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม ณ โรงละครปรินส์เอ็ดวาร์ด กรุงลอนดอน และได้สร้างสถิติใหม่เป็นละครที่สร้างรายได้มากที่สุดจากการเปิดจำหน่ายบัตรในวันแรก โดยทำรายได้ไปมากกว่าสี่ล้านปอนด์หรือกว่าหนึ่งร้อยเก้าสิบล้านบาทภายในวันเดียว มิสไซง่อน ถือเป็นละครเพลงของโชนเบิร์กและบูบลิลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากเลมีเซราบล์ (Les Misérables) ที่เป็นการแสดงในค.ศ. 1980 มิสไซง่อนยังถือเป็นละครบรอดเวย์ที่ดำเนินการแสดงเป็นระยะเวลายาวนานที่สุดเป็นอันดับ 10 ในประวัติศาสตร์ของละครเพลง.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และมิสไซง่อน · ดูเพิ่มเติม »

มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี

นม ชอมสกี เป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะปัญญาชน นักปฏิบัติการ (หรือนักกิจกรรม) ทางการเมือง และนักวิจารณ์ เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอื่น ๆ เขาเรียกตัวเองว่า นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยม ผู้สนับสนุนสหการนิยมแบบอนาธิปไตย (anarcho-syndicalism) และมองว่า เป็นผู้รอบรู้สำคัญคนหนึ่งในการเมืองฝ่ายซ้ายของสหรัฐ โนม ชอมสกี ในการประท้วงต่อต้านสงครามในเมืองแวนคูเวอร์ พ.ศ. 2547.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี · ดูเพิ่มเติม »

มูฮัมหมัด อาลี

มูฮัมหมัด อาลี (Muhammad Ali) เป็นอดีตยอดนักมวยชาวอเมริกันในรุ่นเฮฟวี่เวทผู้เป็นตำนาน อาลีมีชื่อจริงแต่กำเนิดว่า เคสเซียส มาเซลลัส เคลย์ จูเนียร์ (Cassius Marcellus Clay Jr.) แต่นิยมเรียกว่า เคสเซียส เคลย์ (Cassius Clay) เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1942 ที่เมืองหลุยส์วิลล์ รัฐเคนตักกี้ สหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และมูฮัมหมัด อาลี · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการไซ่ง่อน (พ.ศ. 2511)

ทธการไซ่ง่อนครั้งที่หนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการรุกตรุษญวน ระหว่างสงครามเวียดนาม ยุทธการนี้เป็นการโจมตีจากหลายด้านของกองกำลังคอมมิวนิสต์ ซึ่งรวมไปถึงกองทัพเวียดนามเหนือ และเวียดกง เพื่อโจมตีกรุงไซ่ง่อน เมืองหลวงของเวียดนามใต้.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และยุทธการไซ่ง่อน (พ.ศ. 2511) · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลปฏิวัติชั่วคราวสาธารณรัฐเวียดนามใต้

รัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐเวียดนามใต้ (Chính phủ Cách mạng lâm thời Cộng hoà miền Nam Việt Nam, Provisional Revolutionary Government of the Republic of South Vietnam; PRG) เป็นรัฐบาลใต้ดินซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และรัฐบาลปฏิวัติชั่วคราวสาธารณรัฐเวียดนามใต้ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหารในประเทศกัมพูชา พ.ศ. 2513

้าหน้าที่ของสหรัฐและกัมพูชาในการเฉลิมฉลองในโอกาสที่กองทัพแห่งชาติกัมพูชาเสร็จสิ้นการฝึกจากประเทศไทยใน พ.ศ. 2514 หมายเลข 2 คือพระสีสุวัตถิ์ สิริมตะ ผู้มีบทบาทสำคัญในรัฐประหาร พ.ศ. 2513 ลน นล ผู้มีบทบาทสำคัญในรัฐประหาร และได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐเขมร รัฐประหารในประเทศกัมพู..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และรัฐประหารในประเทศกัมพูชา พ.ศ. 2513 · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. 2497–2513)

ราชอาณาจักรกัมพูชา ในช่วง..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และราชอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. 2497–2513) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศเวียดนาม

ตารางเบื้องล่างต่อไปนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับธงต่างๆ ที่ใช้อยู่ในเวียดนามอย่างสังเขป.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และรายชื่อธงในประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

วันรวมชาติ (เวียดนาม)

วันรวมชาติ (Ngày Thống nhất) วันชัย (Ngày Chiến thắng) วันปลดปล่อย (Ngày Giải phóng sinv Ngày Giải phóng miền Nam) หรือที่ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่าวันปลดปล่อยภาคใต้เพื่อรวมชาติ (Giải phóng miền Nam, thống nhất đất nước) เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ของเวียดนามเพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการ์ณที่เวียดกงและกองทัพของประเทศเวียดนามเหนือได้เข้าบุกยึดกรุงไซ่ง่อนของเวียดนามใต้ในวันที่ 30 เมษายน..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และวันรวมชาติ (เวียดนาม) · ดูเพิ่มเติม »

วันวิสาขบูชา

วันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนามากถึง 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า '''"วันพระพุทธเจ้า"''' วันวิสาขบูชา (วิสาขปุณฺณมีปูชา; Vesak) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติRequest for inclusion of an additional item in the agenda of the fifty-fourth session in United Nations (12 November 1999).

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และวันวิสาขบูชา · ดูเพิ่มเติม »

สายฟ้องเหมี่ยนนาม

ฟ้องเหมี่ยนนาม (Giải phóng miền Nam) มีความหมายว่า "ปลดปล่อยภาคใต้" เป็นชื่อเพลงชาติของรัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐเวียดนามใต้ ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ปกครองเวียดนามใต้ภายใต้การควบคุมของกองทัพประชาชนเวียดนาม ระหว่าง..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และสายฟ้องเหมี่ยนนาม · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐเขมร

รณรัฐเขมร (Khmer Republic; République Khmère) เป็นรัฐบาลของประเทศกัมพูชาที่ปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 9 ตุลาคม..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และสาธารณรัฐเขมร · ดูเพิ่มเติม »

สีสุวัตถิ์ สิริมตะ

นักองค์ราชวงศ์ (หม่อมราชวงศ์) สีสุวัตถิ์ สิริมตะ (អ្នកឣង្គរាជវង្ស ស៊ីសុវត្ថិ សិរិមតះ; Sisowath Sirik Matak; 22 มกราคม พ.ศ. 2457 — 21 เมษายน พ.ศ. 2518) เป็นสมาชิกในราชวงศ์กัมพูชา สายราชสกุลสีสุวัตถิ์ นักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริมตะ เป็นที่จดจำจากการมีบทบาททางการเมืองในประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร่วมมือกับนักการเมืองฝ่ายขวาในปี พ.ศ. 2513 เพื่อก่อการรัฐประหารต่อสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ประมุขแห่งรัฐซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระองค์เอง และร่วมมือกับลอน นอล ในการสถาปนารัฐบาลสาธารณรัฐเขมร.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และสีสุวัตถิ์ สิริมตะ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองกัมพูชา

งครามกลางเมืองกัมพูชา เป็นความขัดแย้งระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (เขมรแดง) สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (เวียดนามเหนือ) และเวียดกงฝ่ายหนึ่งกับรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามนี้ซับซ้อนยิ่งขึ้นจากอิทธิพลและการกระทำของพันธมิตรคู่สงคราม การเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องของกองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) เป็นไปเพื่อป้องกันฐานที่มั่นทางตะวันออกของกัมพูชา ซึ่งหากเสียไปการดำเนินความพยายามทางทหารในเวียดนามใต้จะยากขึ้น หรัฐประหาร 18 มีนาคม..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และสงครามกลางเมืองกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองลาว

งครามกลางเมืองลาว (พ.ศ. 2496-2518) เป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ (ปะเทดลาว) ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายมาจากชาวลาวในประเทศเวียดนามเหนือ กับรัฐบาลราชอาณาจักรลาว โดยทั้งฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายต่างก็ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจแห่งสงครามเย็น ในหมู่ทหารอเมริกันจากกองกิจการพิเศษ หน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา และทหารผ่านศึกชาวม้งเรียกสงครามนี้ว่า สงครามลับ (Secret War) ราชอาณาจักรลาวกลายเป็นสมรภูมิลับระหว่างฝ่ายต่างๆ ในสงครามเวียดนาม สนธิสัญญาไมตรีและสมาคมฝรั่งเศส-ลาวที่ลงนามในวันที่ 22 ตุลาคม..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และสงครามกลางเมืองลาว · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอินโดจีน

งครามอินโดจีน (Indochina Wars, Chiến tranh Đông Dương) เป็นสงครามย่อยหลายสงครามที่เกิดขึ้นทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ปีค.ศ. 1946 จนถึง 1989 ระหว่างชาวเวียดนามชาตินิยมกับฝรั่งเศส อเมริกา และจีน คำว่า "อินโดจีน" เดิมทีจะหมายถึงอินโดจีนของฝรั่งเศส ซึ่งรวมทั้งรัฐปัจจุบันของเวียดนาม ลาว และกัมพูชา การใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่หมายถึงภูมิภาคทางภูมิศาสตร์มากกว่าพื้นที่ทางการเมือง สงครามแบ่งออกเป็นสงครามย่อย 4 สงครามได้แก.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และสงครามอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามประชาชน

งครามประชาชน หรือเรียก สงครามประชาชนยืดเยื้อ เป็นยุทธศาสตร์การทหาร-การเมืองที่ผู้นำปฏิวัติคอมมิวนิสต์และการเมืองชาวจีน เหมา เจ๋อตง (ค.ศ. 1893–1976) พัฒนาขึ้นครั้งแรก มโนทัศน์เบื้องต้นคือการรักษาการสนับสนุนของประชาชนและล่อข้าศึกให้อยู่ลึกเข้ามาในชนบท (เป็นการยืดเส้นทางกำลังบำรุง) ที่ซึ่งประชาชนจะทำให้ข้าศึกหมดกำลังโดยการสงครามเคลื่อนที่และกองโจรผสมกัน คอมมิวนิสต์ใช้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวต่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สองและรัฐบาลคอมมิวนิสต์ใช้ในสงครามกลางเมืองจีน นักลัทธิเหมาใช้คำนี้เป็นยุทธศาสตร์การต่อสู้ปฏิวัติด้วยอาวุธระยะยาว หลังสงครามจีน–เวียดนาม..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และสงครามประชาชน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

สนามกีฬาท้งเญิ้ต

นามกีฬาท้งเญิ้ต (Sân vận động Thống Nhất, "สนามกีฬาแห่งการรวมชาติ") เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ในนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ตั้งอยู่เลขที่ 138 ถนนด่าว ซวี ตื่อ แขวงที่ 6 เขตที่ 10 มักใช้ในการแข่งขันฟุตบอล เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลนครโฮจิมินห์และสโมสรฟุตบอลไซ่ง่อนซึ่งแข่งขันในวี-ลีก สนามมีความจุ 25,000 ที่นั่ง.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และสนามกีฬาท้งเญิ้ต · ดูเพิ่มเติม »

อุโมงค์กู๋จี

อุโมงค์กู๋จี อุโมงค์กู๋จี (Củ Chi tunnels) เป็นเครือข่ายอุโมงค์ใต้ดินที่เชื่อมถึงกันในอำเภอกู๋จีในไซ่ง่อน (ปัจจุบันคือ โฮจิมินห์ซิตี) และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายอุโมงค์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ อุโมงค์กู๋จีเป็นที่ตั้งของการทัพหลายครั้งระหว่างสงครามเวียดนาม และเป็นฐานปฏิบัติการของเวียดกง เมื่อครั้งการรุกเทศกาลตรุษญวนในปี..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และอุโมงค์กู๋จี · ดูเพิ่มเติม »

ผู้นำเวียดนามใต้

ำนักงานของประธานาธิบดีสาธารณรัฐเวียดนามในทำเนียบเอกราช ไซ่ง่อน ประเทศเวียดนามใต้ ด้านล่างนี้คือ รายนามผู้นำของเวียดนามใต้ นับตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐปกครองตนเองโคชินไชนาในปี..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และผู้นำเวียดนามใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเวียดนาม

(ทั้งธงทั้งดาว) ธงชาติเวียดนาม ในปัจจุบันเป็นธงชาติของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีชื่อที่เรียกโดยทั่วไปอีกชื่อหนึ่งว่า "ธงแดงดาวเหลือง" เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ในฐานะธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (ประเทศเวียดนามเหนือ) และได้กลายเป็นธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 หลังสิ้นสุดสงครามเวียดนามและการรวมชาติระหว่างเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ ลักษณะของธงชาติเวียดนามนั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตรงกลางมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลืองทอง สีแดงนั้นหมายถึงการต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม สีเหลืองคือสีของชาวเวียดนาม ส่วนดาวห้าแฉกนั้น เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่างๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า สีแดงหมายถึงการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และดาวสีทองหมายถึงการชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ก่อนหน้านี้ในช่วงปี พ.ศ. 2488 - 2498 ดาวสีเหลืองในธงชาติเวียดนามขณะนั้นมีขนาดที่โตกว่าที่ใช้ในธงแบบปัจจุบัน ธงนี้ออกแบบครั้งแรกโดยงฺเหวียนหืวเตี๊ยน (เวียดนาม: Nguyễn Hữu Tiến) ซึ่งเป็นนักปฏิวัติคอมมิวนิสต์ที่เข้าร่วมการต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2483 การต่อต้านครั้งนั้นประสบความล้มเหลว เหวียนฮิ้วเทียนจึงถูกจับกุมตัวและถูกประหารชีวิตพร้อมกับผู้นำคนอื่นๆ ที่เข้าร่วมการต่อต้านครั้งนั้นด้ว.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และธงชาติเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ทุ่งสังหาร (ภาพยนตร์)

ทุ่งสังหาร (The Killing Fields) เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2527 ซึ่งกล่าวถึงประเทศกัมพูชาในยุคการปกครองของเขมรแดง โดยอาศัยเค้าโครงเรื่องจากประสบการณ์จริงของนักข่าวหนังสือพิมพ์ที่เข้าไปทำข่าวในกัมพูชาขณะนั้น 3 คน ได้แก่ ซิดนีย์ ชานเบิร์ก นักข่าวชาวอเมริกัน ดิธ ปราน ล่ามและนักข่าวชาวเขมร และจอน สเวน นักข่าวชาวอังกฤษ ภาพยนตร์เรื่องนี้ซึ่งได้รับรางวัลออสการ์ครั้งที่ 57 เป็นผลงานการกำกับของโรแลนด์ จอฟเฟ นำแสดงโดยแซม วอเตอร์สตัน, ดร.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และทุ่งสังหาร (ภาพยนตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยความเป็นกลางของลาว

วามตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยความเป็นกลางของลาว เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งลงนามในเจนีวาเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2505 ระหว่าง 4 รัฐ และประเทศลาว อันเป็นผลจากการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการระงับปัญหาลาว ซึ่งมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2504 ถึง 23 กรกฎาคม 2505 ประเทศพม่า กัมพูชา แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส อินเดีย โปแลนนด์ สาธารณรัฐเวียดนาม ไทย สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาลงนามในปฏิญญา ซึ่งมีผลใช้บังคับเป็นความตกลงระหว่างประเทศในวันที่ลงนาม คือ 23 กรกฎาคม 2505 พร้อมด้วยแถลงการณ์ความเป็นกลางโดยรัฐบาลลาว ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2505 ภาคีผู้ลงนาม 14 รัฐสัญญาจะเคารพความเป็นกลางของลาว หลีกเลี่ยงไม่เข้าแทรกแซงในกิจการภายในของลาวทั้งทางตรงและทางอ้อม และห้ามมิให้ดึงลาวเข้าสู่พันธมิตรทางทหารและตั้งฐานทัพในดินแดนลาว รัฐบาลลาวให้คำมั่นจะประกาศข้อผูกมัดดังกล่าวในรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีผลตามกฎหมาย อย่างไรก็ดี ความตกลงดังกล่าวถูกละเมิดเมื่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามสถาปนาแนวส่งกำลังบำรุงผ่านดินแดนลาว "ที่เป็นกลาง" เพื่อส่งกำลังบำรุงการก่อการกำเริบของเวียดกงต่อรัฐบาลเวียดนามใต้ ยิ่งไปกว่านั้น ระหว่างสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง เวียดนามเหนือได้รับความร่วมมือจากพรรคปฏิวัติประชาชนลาว (ปะเทดลาว) ในการก่อสร้างและรักษาเส้นทางโฮจิมินห์ซึ่งผ่านประเทศลาว ทหารเวียดนามหลายพันนายประจำอยู่ในลาวเพื่อรักษาเครือข่ายถนนและดูแลความปลอดภัย กำลังพลเวียดนามยังสู้เคียงข้างปะเทดลาวในการโค่นล้มรัฐบาลที่เป็นกลางของลาว ความร่วมมือดังกล่าวยังต่อไปหลังสงครามและฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ชัยชนะแล้ว.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยความเป็นกลางของลาว · ดูเพิ่มเติม »

ปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกน

ปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกน (Der Ring des Nibelungen; The Ring of the Nibelung) เป็นปกรณัมชุดของริชาร์ด วากเนอร์ คีตกวีชาวเยอร์มัน ที่ใช้เวลาแต่งถึง 26 ปี ตั้งแต..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการเจนละ 2

ทธการเจนละ 2 (Operation Chenla II) เป็นปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญในสมัยสาธารณรัฐเขมรระหว่างสงครามกลางเมืองกัมพูชาเริ่มต้นเมื่อ 20 สิงหาคม และสิ้นสุดเมื่อ 3 ธันวาคม..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และปฏิบัติการเจนละ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เวียดนาม

วียดนาม เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีเนื้อที่ทั้งหมด 337,912 ตารางกิโลเมตร มีประชากรร่วม 89 ล้านคน (พ.ศ. 2554) เมืองหลวงคือ ฮานอย ประชากรส่วนใหญ่ของชาวเวียดนาม คือ ชาวเวียดนาม มีอยู่ประมาณร้อยละ 86 นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยอีก ได้แก่ โท้ ไต ม้ง เขมร และอื่นๆ ภาษาราชการ คือ ภาษาเวียดนาม ส่วนภาษาอื่นๆที่นิยมใช้ คือ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาของแต่ละชนชาติ ประวัติความเป็นมาของเวียดนามสามารถสืบย้อนกลับไปได้มากกว่า 4000 ปีก่อน การค้นพบทางโบราณคดีจากปี..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และประวัติศาสตร์เวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนามใต้

รณรัฐเวียดนาม เป็นรัฐที่ปกครองบริเวณตอนใต้ของเวียดนามระหว่างปี พ.ศ. 2498 ถึง พ.ศ. 2518 ซึ่งต่างชาติโดยเฉพาะรัฐประชาธิปไตยและชาติต่อต้านคอมมิวนิสต์นิยมเรียกในชื่อว่า เวียดนามใต้ คำเรียก เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ ถูกใช้อย่างแพร่หลายในปี พ.ศ. 2497 ในการประชุมที่เจนีวา ซึ่งแบ่งประเทศเวียดนามออกเป็นสองส่วนโดยเส้นขนานที่ 17 ในระหว่างสงครามเวียดนาม เวียดนามใต้ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ในอดีต เวียดนามใต้เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในชื่อ โคชินไชนา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดมินห์ซึ่งนำโดยโฮจิมินห์ สถาปนารัฐคอมมิวนิสต์ขึ้นที่ฮานอย ในปีพ.ศ. 2492นักการเมืองที่ไม่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ ก่อตั้งรัฐบาลขึ้นที่เมืองไซ่ง่อนซึ่งนำโดยอดีตจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ในปี 2498 บ๋าว ดั่ย ถูกปลดโดยนายกรัฐมนตรีโง ดิ่ญ เสี่ยม และแต่งตั้งตนขึ้นเป็นประธานาธิบดี หลังจากเสี่ยมเสียชีวิตจากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2506 ได้มีรัฐบาลทหารอายุสั้นหลายสมัยได้ปกครองเวียดนามใต้จนถึงปี พ.ศ. 2510 พลโท เหงียน วัน เถี่ยวได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีและได้ปกครองเวียดนามใต้จนถึงปี พ.ศ. 2518 สงครามเวียดนามเริ่มต้นในปี..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และประเทศเวียดนามใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ปืนเล็กยาวโมซิน-นากองท์

ปืนไรเฟิล 3 ไลน์ เอ็ม 1891 (3-line rifle M1891, трёхлинейная винтовка образца 1891 года, tryokhlineynaya vintovka obraztsa 1891 goda) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โมซิน-นากองท์ (Mosin–Nagant, винтовка Мосина) เป็นปืนไรเฟิลที่ถูกพัฒนาโดยกองทัพจักรวรรดิรัสเซียในปี 1882-1891 และใช้งานโดยกองทัพจักรวรรดิรัสเซียและสหภาพโซเวียตและประเทศอื่น ๆ ถูกผลิตมากกว่า 37 ล้านกระบอกนับตั้งแต่เริ่มผลิตในปี 1891 และถูกนำมาใช้ในความขัดแย้งต่าง ๆ ทั่วโลกจนถึงสมัยปัจจุบัน.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และปืนเล็กยาวโมซิน-นากองท์ · ดูเพิ่มเติม »

แนวร่วมปิตุภูมิเวียดนาม

แนวร่วมปิตุภูมิเวียดนาม (Vietnamese Fatherland Front; Mặt Trận Tổ Quốc Việt Nam) ก่อตั้งเมื่อเดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และแนวร่วมปิตุภูมิเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ไรด์ออฟเดอะวาลคิรีส์

Ride of the Valkyries ภาพประกอบโดย อาร์เทอร์ แรกแฮม ไรด์ออฟเดอะวาลคิรีส์ (Ride of the Valkyries; Walkürenritt หรือ Ritt der Walküren) เป็นชิ้นงานดนตรีจากช่วงต้นขององก์ที่สาม จากอุปรากรเรื่อง Die Walküre (The Valkyrie) อุปรากรเรื่องที่สองในชุด ปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกน ปกรณัมชุดของริชาร์ด วากเนอร์ วากเนอร์เริ่มแต่งทำนองท่อนนี้ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และไรด์ออฟเดอะวาลคิรีส์ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเบรวีเย

้นเบรวีเย (Brévié Line) เป็นเส้นแบ่งเขตที่กำหนดในแผนที่เมื่อ..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และเส้นเบรวีเย · ดูเพิ่มเติม »

เหงียน หืว เถาะ

หงียน หืว เถาะ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2539) เป็นประธานสภาปรึกษาแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ตั้งแต่ 6 มิถุนายน..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และเหงียน หืว เถาะ · ดูเพิ่มเติม »

เอเอช-1 คอบรา

อเอช-1 คอบรา (AH-1 Cobra) เป็นเฮลิคอปเตอร์จู่โจมแบบสองใบพัด หนึ่งเครื่องยนต์ที่ผลิตโดยบริษัทเบลล์ มันใช้เครื่องยนต์และระบบใบพัดแบบเดียวกันกับยูเอช-1 ไอโรควอยส์ ในบางครั้งเอเอช-1 จะหมายถึงฮิวอี้คอบราหรือสเนค เอเอช-1 เป็นกองกำลังหลักในกองบินเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกสหรัฐแต่ก็ถูกแทนที่โดยเอเอช-64 อาพาชี่ รุ่นที่พัฒนายังคงทำการบินต่อไปในหลายๆ ประเทศที่ใช้มัน เอเอช-1 แบบสองเครื่องยนต์ยังคงประจำการในกองนาวิกโยธินสหรัฐในฐานะเฮลิคอปเตอร์จู่โจมหลัก.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และเอเอช-1 คอบรา · ดูเพิ่มเติม »

เขมรแดง

ธงแดงรูปค้อนเคียวของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (ต่อมาคือพรรคกัมพูชาประชาธิปไตย) เขมรแดง (เขมร: ខ្មែរក្រហម; แขฺมรกฺรหม; อ่านว่า คแมร์กรอฮอม /ฝรั่งเศสและอังกฤษ: Khmer Rouge) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย” (Armée nationale du Kampuchéa démocratique) คือ กองกำลังคอมมิวนิสต์กัมพูชา ที่เคยปกครองราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2522 เขมรแดงถือเป็นตัวแทนความสำเร็จเชิงอำนาจของพรรคการเมืองลัทธิคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา ที่ต่อมาได้พัฒนาไปเป็น “พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา” (Communist Party of Kampuchea; Parti communiste du Kampuchéa – PCK) และ “พรรคกัมพูชาประชาธิปไตย” (Parti du Kampuchéa démocratique) รูปแบบการปกครองของเขมรแดงมีจุดประสงค์เพื่อสร้าง "สังคมใหม่" โดยใช้รากฐานทางอุดมการณ์ที่เรียกว่า "อุดมการณ์ปฏิวัติแบบเบ็ดเสร็จ" (idéologie de révolution totale) ที่มีการรักษาเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ เป็นตัวขับเคลื่อน สิ่งแรกที่เขมรแดงกระทำหลังจากได้รับอำนาจ คือ การกวาดต้อนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดจากกรุงพนมเปญและเมืองสำคัญอื่น ๆ มาบังคับให้ทำการเกษตรและใช้แรงงานร่วมกันในพื้นที่ชนบท เพื่อจำแนกประชาชนที่ถือว่าเป็น "ศัตรูทางชนชั้น" ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ข้าราชการ เชื้อพระวงศ์ ผู้มีการศึกษา หรือผู้มีวิชาชีพเฉพาะในด้านต่าง ๆ ออกมาเพื่อขจัดทิ้ง การกระทำดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ประชาชนชาวกัมพูชาต้องเสียชีวิตจากการถูกสังหาร ถูกบังคับใช้แรงงาน และความอดอยาก เป็นจำนวนประมาณ 850,000 ถึง 3 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบอัตราส่วนของประชาชนที่เสียชีวิตต่อจำนวนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดในขณะนั้น (ประมาณ 7.5 ล้านคน ใน พ.ศ. 2518) ถือได้ว่าระบอบการปกครองของเขมรแดงเป็นหนึ่งในระบอบที่มีความรุนแรงที่สุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 หลังจากที่เขมรแดงปกครองกัมพูชาเป็นระยะเวลา 4 ปี ใน..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และเขมรแดง · ดูเพิ่มเติม »

เตี๊ยงก่อยกงเซิน

ตี๊ยงก่อยกงเซิน (Tiếng Gọi Công Dân) หมายถึง "เสียงเรียกถึงปวงชน" เป็นชื่อบทเพลงซึ่งประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองโดยลืว หืว เฟื้อก (Lưu Hữu Phước) ในอดีตเพลงนี้ได้ใช้เป็นเพลงชาติของประเทศเวียดนามใต้ (Quốc Ca Việt Nam Cộng Hòa) ระหว่าง..

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และเตี๊ยงก่อยกงเซิน · ดูเพิ่มเติม »

26 ธันวาคม

วันที่ 26 ธันวาคม เป็นวันที่ 360 ของปี (วันที่ 361 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 5 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และ26 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

27 พฤษภาคม

วันที่ 27 พฤษภาคม เป็นวันที่ 147 ของปี (วันที่ 148 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 218 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้และ27 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เวียดกง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »