โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แท่นบูชา

ดัชนี แท่นบูชา

แท่นบูชา แท่นบูชา (altar) เป็นโต๊ะศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้วางสิ่งของที่ใช้ในพิธีมิสซาในคริสต์ศาสนสถาน ต้องจัดวางไว้ให้เด่นที่สุดในโบสถ์ และไม่ใช่เป็นโต๊ะวางสิ่งของจิปาถะ แท่นบูชาใช้วางผ้ารองศีล ผ้าเช็ดกาลิกส์ หนังสือมิสซา ถ้วยกาลิกส์ และแผ่นปัง แท่นบูชามีประโยชน์ใช้สอยทางสถาปัตยกรรมในฐานะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการประกอบพิธีกรรม และไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องประดับตกแต่งอาคาร บนแท่นบูชานี้ จะต้องจัดให้สามารถนำภาชนะศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ สำหรับภาคถวายมาวางไว้ได้อย่างสะดวกในเวลาประกอบพิธี เช่น จานรองศีล พร้อมแผ่นปัง กาลิกส์ที่มีเหล้าองุ่น นอกจากนี้ยังมีหนังสือพิธีมิสซา ไมโครโฟน และสิ่งอื่นเท่าที่จำเป็น แท่นบูชาไม่ใช่โต๊ะวางของ จึงควรมีเฉพาะสิ่งที่จำเป็นสำหรับภาคถวายเท่านั้น แท่นบูชาของคริสตชนในสมัยแรกเป็นโต๊ะไม้เคลื่อนที่ได้ ต่อมาเป็นแบบตั้งอยู่กับที่ และในจารีตละตินให้เป็นแบบทำศิลาหรือหินเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมของพระศาสนจักรที่รับสืบทอดกันมา และให้สอดคล้องกับ สัญลักษณ์จากพระคัมภีร์เกี่ยวกับแท่นบูชาจะต้องทำด้วยหิน และหินธรรมชาติด้วย ซึ่งแท่นหรือหินเป็นรูปแบบที่ชาวอิสราเอลใช้เป็นที่ถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้า แท่นบูชามี 2 แบบ คือ.

60 ความสัมพันธ์: บริเวณกลางโบสถ์บริเวณร้องเพลงสวดบริเวณคริสต์ศาสนพิธีบัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ดบาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตชเตฟันสโดมฟราอันเจลีโกพระเยซูถูกเฆี่ยน (เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา)พระเจ้าโจวไท่พุสซีไรออตพุตโตการคืนพระชนม์ของพระคริสต์ (ราฟาเอล)การโต้แย้งเรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ฐานภาพเหมือนตนเองมรรคาศักดิ์สิทธิ์มหาวิหารวอมส์มหาวิหารวาเวลมหาวิหารตูร์แนมหาวิหารนักบุญเปโตรมุขโค้งด้านสกัดศาลเจ้าศิลปะการอแล็งเฌียงศิลปะและสถาปัตยกรรมเมรอแว็งเฌียงสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกหอฉันหีบสามกษัตริย์ห้องเก็บเครื่องพิธีอารามเอียร์เซอาสนวิหารบลัวอาสนวิหารบายอนอาสนวิหารมงเปอลีเยอาสนวิหารลูว์ซงอาสนวิหารล็องอาสนวิหารวีวีเยอาสนวิหารอ็องเฌอาสนวิหารดักซ์อาสนวิหารปัวตีเยอาสนวิหารน็องซีอาสนวิหารแม็สอาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์อาสนวิหารแปร์ปีญ็องอาสนวิหารโบแวอาสนวิหารเบอซ็องซงอาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแลอาสนวิหารเฮริฟอร์ดจรมุขจิตรกรรมแผงงานกระจกสี...งานฝังประดับแบบคอสมาติฉากประดับแท่นบูชาฉากแท่นบูชาเมรอดซุ้มชิโบเรียมปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกาน็อทร์ดามดูว์โอโบสถ์น้อยกอนตาเรลลีโลเรนโซ โมนาโกเบญจาคริสต์เครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ ขยายดัชนี (10 มากกว่า) »

บริเวณกลางโบสถ์

ริเวณกลางโบสถ์แบบกอธิคมองไปสู่บริเวณพิธีทางมุขตะวันออกภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลแห่งนองซ์ในประเทศฝรั่งเศส แผนผังแสดงส่วนที่เป็น “บริเวณกลางโบสถ์” ที่เป็นสีชมพู บริเวณกลางโบสถ์ยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420 บริเวณกลางโบสถ์ (nave) คือช่องทางเดิน (aisle) ที่ตั้งอยู่กลางคริสต์ศาสนสถานที่เริ่มตั้งแต่จากประตูทางเข้าไปสู่บริเวณพิธีและแท่นบูชาเอก ที่บางครั้งก็อาจจะขนาบด้วยช่องทางเดินข้างซ้ายขวาข้างละช่องหรืออาจจะมากกว่าก็ได้ถ้าเป็นวัดใหญ่ๆ เช่นมหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กที่มีช่องทางเดินทั้งหมดห้าช่องที่ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ที่ขนาบด้วยช่องทางเดินข้างๆ ละสองช่อง.

ใหม่!!: แท่นบูชาและบริเวณกลางโบสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

บริเวณร้องเพลงสวด

“บริเวณร้องเพลงสวด” ของมหาวิหารปาเล็นเซียในประเทศสเปน ภาพแสดงให้เห็นที่นั่งของนักบวชสองข้างหน้าแท่นบูชาเอกที่ทำด้วยไม้ที่สลักเสลาอย่างงดงามที่วัดในเมืองบาดชูสเซนรีด ที่เดิมเป็นสำนักสงฆ์ในประเทศเยอรมนี บริเวณร้องเพลงสวด (Choir หรือ quire) ในทางสถาปัตยกรรม “บริเวณร้องเพลงสวด” เป็นบริเวณภายใน คริสต์ศาสนสถาน หรือมหาวิหารที่มักจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของบริเวณพิธี (chancel) ระหว่างทางเดินกลาง (nave) และบริเวณศักดิ์สิทธิ์ (sanctuary) (ที่เป็นที่ตั้งแท่นบูชา) แต่บางครั้ง “บริเวณร้องเพลงสวด” ก็อาจจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของทางเดินกลาง ในวัดของสำนักสงฆ์บางแห่งบริเวณนี้ก็จะตั้งอยู่ทางตะวันตกของทางเดินกลางซึ่งเป็นการสมดุลกับบริเวณพิธีและบริเวณศักดิ์สิท.

ใหม่!!: แท่นบูชาและบริเวณร้องเพลงสวด · ดูเพิ่มเติม »

บริเวณคริสต์ศาสนพิธี

ริเวณทางขวาของแขนกางเขน (สีเทา) คือบริเวณพิธี บริเวณคริสต์ศาสนพิธี (Chancel) คือบริเวณรอบแท่นบูชาเอกในบริเวณมุขตะวันออกของคริสต์ศาสนสถานซึ่งอาจจะเป็นปลายสุดของมุขโค้งด้านสกัด หลังจากการการประชุมสภาสงฆ์แห่งแลตเตอรันครั้งที่ 4 ในปี ค.ศ. 1215 ก็ได้มีข้อกำหนดออกมาข้อหนึ่งที่ว่านักบวชจะต้องกระทำพิธีศักดิ์สิทธิ์ในบริเวณที่ได้รับพิทักษ์จากการก่อกวนจากบริเวณสำหรับศาสนิกชนผู้เข้าร่วมพิธี ฉะนั้นบริเวณพิธีของนักบวชในสมัยโบราณจึงถูกกันออกจากบริเวณของฆราวาสด้วยฉาก ความแตกต่างของสองบริเวณนี้กำหนดไว้ในคริสต์ศาสนกฎบัตร ที่ว่าการก่อสร้างและการบำรุงรักษาบริเวณพิธีเป็นหน้าที่ของนักบวช และการก่อสร้างและการบำรุงรักษาบริเวณทางเดินกลางและทางเดินข้างเป็นหน้าที่ของสมาชิกผู้เป็นฆราวาสของวัด ฉะนั้นบางครั้งจึงทำให้บริเวณพิธีและบริเวณฆราวาสก็จะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดในด้านการตกแต่งและสภาพของบริเวณ นอกไปจากแท่นบูชาแล้วบริเวณพิธีก็มักจะเป็นที่ตั้งของโต๊ะพิธี (credence table) และที่นั่งของนักบวชระดับต่างๆ ของวัดและในวัดอังกลิคันและเมธอดิสต์ก็อาจจะรวมทั้งบริเวณร้องเพลงสวดด้วย ในบางวัดบริเวณนี้ก็อาจจะมีแท่นเทศน์และแท่นอ่าน แต่บางครั้งทั้งสองอย่างนี้ก็อาจจะตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นของฆราวาส บริเวณพิธีมักจะยกขึ้นสูงกว่าบริเวณที่เป็นของฆราวาส และอาจจะแยกออกไปด้วยฉากกางเขน, ราว หรือบริเวณโล่ง ในวัดบางวัดผู้เข้าร่วมพิธีก็อาจจะนั่งรอบสามด้านของบริเวณพิธีเป็นครึ่งวงกลมก็ได้ คำว่า “chancel” มาจากภาษาฝรั่งเศสที่แผลงมาจากภาษาลาติน “cancelli” ที่แปลว่าฉากโปร่ง (lattice) ที่หมายถึงฉากกางเขน.

ใหม่!!: แท่นบูชาและบริเวณคริสต์ศาสนพิธี · ดูเพิ่มเติม »

บัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ด

หินแห่งสโคนภายไต้บัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ดที่แอบบีเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1855 บัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ดที่ไม่มีหินแห่งสโคนในปัจจุบัน บัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ด หรือ บัลลังก์พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด หรือ บัลลังก์ราชาภิเษก (St Edward's Chair หรือ King Edward's Chair หรือ The Coronation Chair) บัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ดเป็นพระราชบัลลังก์ที่ใช้ประทับโดยพระมหากษัตริย์อังกฤษในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่สร้างตามพระราชโองการของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 โดยให้มีที่ใส่หินแห่งสโคน (Stone of Scone) ซึ่งเป็นหินสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ที่เดิมเก็บไว้แอบบีสโคน (Scone Abbey) ที่พระองค์ทรงยึดมา พระราชบัลลังก์มาได้รับชื่อภายหลังตามพระนามของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพผู้เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์เดียวที่ได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญ ตัวบัลลังก์เก็บไว้ที่ชาเปลเซนต์เอ็ดเวิร์ดในแอบบีเวสต์มินสเตอร์ พระมหากษัตริย์อังกฤษและพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรทุกพระองค์ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: แท่นบูชาและบัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต

นักบุญมินิอัสแห่งฟลอเรนซ์ทางขวาของพระเยซู โดยมีคำจารึกว่า: "S. MINIATUS REX ERMINIE" บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต (Basilica di San Miniato al Monte) เป็นบาซิลิกาที่ตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ทางตอนกลางของประเทศอิตาลี ตัวบาซิลิกาตั้งอยู่บนเนินที่สูงที่สุดของเมืองฟลอเรนซ์ บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตได้ชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ในทัสเคนี บาซิลิกาตั้งอยู่ติดกับสำนักสงฆ์ลัทธิโอลิเวทันส์ที่จะมองเห็นเมื่อขึ้นบันไดไปยังบาซิลิกา นักบุญมินิอัสแห่งฟลอเรนซ์ หรือมินาส (Մինաս, Miniato) เดิมเป็นเจ้าชายชาวอาร์มีเนียผู้รับราชการเป็นทหารในกองทัพโรมันภายใต้จักรพรรดิเดซิอัส มินิอัสถูกประณามว่าเป็นผู้นับถือคริสต์ศาสนาหลังจากที่ไปเป็นนักพรต และถูกนำตัวมาปรากฏต่อหน้าจักรพรรดิ ผู้กำลังตั้งค่ายอยู่หน้าประตูเมืองฟลอเรนซ์ พระจักรพรรดิมีพระบรมราชโองการให้โยนมินิอัสให้สัตว์ป่ากินในสนามกีฬา แต่เมื่อปล่อยเสือดำเข้าไป เสือดำก็ไม่ยอมทำร้ายมินิอัส มินิอัสจึงถูกตัดหัวต่อหน้าพระจักรพรรดิ กล่าวกันว่ามินิอัสไม่ได้เสียชีวิตทันทีแต่ก้มลงยกหัวของตนขึ้นมา แล้วประคองหัวข้ามแม่น้ำอาร์โน จากนั้นก็เดินขึ้นเนินมอนส์ฟิโอเรนตินัสไปยังที่อาศัย ต่อมาก็ได้มีการสร้างสักการะสถานตรงจุดนี้ และเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ก็มีชาเปลขึ้นแล้ว การก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1013 โดยสังฆราชอาลิบรันโด โดยการอุปถัมภ์ของสมเด็จพระจักรพรรดิไฮนริคที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตเริ่มด้วยการเป็นสำนักสงฆ์ของลัทธิเบ็นนาดิคติน จากนั้นก็เปลี่ยนมือไปเป็นของลัทธิคลูนี และในปี ค.ศ. 1373 ก็ตกไปเป็นของลัทธิโอลิเวตันผู้ซึ่งยังคงใช้คริสต์ศาสนสถานนี้อยู่ นักบวชของสำนักสงฆ์มีชื่อเสียงในการทำสุรา, น้ำผึ้ง และ ชาสมุนไพรที่ขายในร้านที่ตั้งอยู่ติดกับวัด ด้านหน้าวัดที่ทำด้วยหินอ่อนเป็นลวดลายเรขาคณิตอาจจะเริ่มทำขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: แท่นบูชาและบาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต · ดูเพิ่มเติม »

ชเตฟันสโดม

การขยายอาสนวิหารนักบุญสเทเฟน: The '''หอโรมันและประตูยักษ์''' จากซากไหม้ของโบสถ์แรกใช้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างแบบโรมาเนสก์'''โบสถ์ที่สอง''' สร้างแทนโบสถ์เดิม สี่สิบปีต่อมา ก็เริ่มก่อสร้าง '''Albertine Choir''' แบบกอธิค; ห้าสิบห้าปีหลังจากนั้นก็สร้าง '''ส่วนต่อเติมดยุกรูดอล์ฟที่ 4''' รอบบริเวณ '''โบสถ์ที่สอง''' ที่ต่อมาถูกรื้อทิ้ง เหลือโบสถ์ที่สามให้เป็นสิ่งก่อสร้างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน อาสนวิหารนักบุญสเทเฟน หรือ ชเตฟันสโดม (Stephansdom, St.) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกในอัครมุขมณฑลเวียนนา และเป็นที่ตั้งอาสนะของอาร์ชบิชอปแห่งเวียนนา ตัวอาสนวิหารตั้งอยู่ใจกลางกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมานเนสก์ และ กอทิก ริเริ่มโดยรูดอล์ฟที่ 4 ดยุกแห่งออสเตรีย โบสถ์ปัจจุบันตั้งอยู่บนซากโบสถ์เดิมที่สร้างก่อนหน้านั้นสองโบสถ์ โบสถ์แรกเป็นโบสถ์ประจำเขตแพริชที่ได้รับการเสกในปี ค.ศ. 1147 อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนเป็นสิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเวียนนาที่เห็นได้อย่างเด่นชัดจากหลังคากระเบื้องหลากสี.

ใหม่!!: แท่นบูชาและชเตฟันสโดม · ดูเพิ่มเติม »

ฟราอันเจลีโก

“ฟราอันเจลีโก” โดย ลุคา ซินยอเรลลิ ภราดาทูตสวรรค์ หรือทับศัพท์ว่าฟราอันเจลีโก (Fra Angelico) เป็นสมญานามของภราดาโจวันนีแห่งฟีเอโซเล (ชื่อเมื่อแรกเกิดคือ กวีโด ดี ปีเอโตร, ราว ค.ศ. 1395 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1455) เป็นจิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้นคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีฝุ่นบนไม้ และการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง เป็นผู้ที่จอร์โจ วาซารีกล่าวถึงในหนังสือ“ชีวิตศิลปิน” ว่ามีความสามารถพิเศษที่หายากGiorgio Vasari, Lives of the Artists.

ใหม่!!: แท่นบูชาและฟราอันเจลีโก · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซูถูกเฆี่ยน (เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา)

ูบทความหลักที่ พระเยซูถูกเฆี่ยน พระเยซูถูกเฆี่ยน (ภาษาอังกฤษ: Flagellation of Christ) เป็นภาพที่เขียนโดยเปียโร เดลลา ฟรานเชสกาจิตรกรสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งมาร์เคที่เมืองเออร์บิโนในประเทศอิตาลี เปียโรเขียนภาพนี้ประมาณระหว่างปี ค.ศ. 1455 ถึงปี ค.ศ. 1460 นักเขียนผู้หนึ่งบรรยายภาพนี้ว่าเป็นภาพ “enigmatic little painting” องค์ประกอบของภาพต่างจากการวางองค์ประกอบภาพโดยทั่วไปและค่อนข้างซับซ้อน รูปสัญลักษณ์และความหมายในการสื่อเป็นเรื่องที่ถกเถียงทางทฤษฎีกันอย่างกว้างขวาง เค็นเน็ธ คล้าค (Kenneth Clark) นักประวัติศาสตร์ศิลปะนับภาพ “พระเยซูถูกเฆี่ยน” เป็นภาพหนึ่งในจำนวนภาพเขียนที่ดีที่สุดสิบภาพและเรียกว่าเป็น “ภาพเขียนเล็กที่ดีที่สุดในโลก”.

ใหม่!!: แท่นบูชาและพระเยซูถูกเฆี่ยน (เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา) · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าโจวไท่

ระเจ้าโจวไท่ (แปลว่า มหาราชแห่งโจว) หรือ กู่กงตั่นฟู่ (แปลว่า พระยาตั่นฟู่ผู้ชรา) เป็นผู้ปกครองและกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองโจวในช่วงราชวงศ์ซาง ต่อมา เหลนของพระองค์ผู้มีพระนามว่า ฟา (發) หรือ พระเจ้าโจวอู่ ได้ยกทัพเข้าครอบครองเมืองซางและสถาปนาราชวงศ์โจว.

ใหม่!!: แท่นบูชาและพระเจ้าโจวไท่ · ดูเพิ่มเติม »

พุสซีไรออต

ซีไรออต (Pussy Riot) เป็นวงดนตรีแนวพังก์ร็อกหญิงล้วนจากมอสโก ประเทศรัสเซีย มีเอกลักษณ์ในการแสดงดนตรีเพื่อแสดงทัศนะการเมืองรัสเซีย ในที่สาธารณะแปลก ๆ โดยฉับพลัน อย่างเช่น บนรถบัส หรือนั่งร้าน ในวันที่ 21 กุมภาพัน..

ใหม่!!: แท่นบูชาและพุสซีไรออต · ดูเพิ่มเติม »

พุตโต

“พุตโต” ถือหอยสำหรับจ้วงน้ำที่ใช้ในพิธีบัพติศมาบนฉากประดับแท่นบูชานักบุญยอห์นแบปติสต์ที่อารามออทโทบอยเรินในเยอรมนี “พุตโตกับวีนัส” (ราว ค.ศ. 1750) โดยฟร็องซัว บูเช (François Boucher) เปมเทพ หรือ พุตโต หรือ พุตตี (Putto หรือ putti (พหูพจน์)) เป็นประติมากรรมรูปเด็กอ้วนยุ้ยและส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเด็กผู้ชาย, เปลือย ใช้ในการตกแต่งและพบบ่อยในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และศิลปะบาโรกในเยอรมนี พุตโตมาจากศิลปะโบราณแต่มาพบใหม่เมื่อต้นสมัยศิลปะควอตโตรเช็นโต (Quattrocento) และมักจะเรียกสับสนกับเครูบ (Cherub หรือ cherubim).

ใหม่!!: แท่นบูชาและพุตโต · ดูเพิ่มเติม »

การคืนพระชนม์ของพระคริสต์ (ราฟาเอล)

ูบทความหลักที่ พระเยซูคืนชีพ พระเยซูคืนชีพ หรือ พระเยซูคืนชีพคินแนร์ด (ตามชื่อลอร์ดคินแนร์ดเจ้าของเดิม) (ภาษาอังกฤษ: Resurrection of Christ หรือ The Kinnaird Resurrection) เป็นจิตรกรรมที่เขียนโดยราฟาเอลจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เซาเปาลูในประเทศบราซิล ราฟาเอลเขียนภาพ “พระเยซูคืนชีพ” ระหว่างปี ค.ศ. 1499 ถึงปี ค.ศ. 1502 และอาจจะเป็นภาพหนึ่งในบรรดาภาพแรกๆ ที่ราฟาเอลเขียน อาจจะเป็นภาพบนส่วนหนึ่งของฐานแท่นบูชา (predella) แต่ไม่ทราบว่าสำหรับแท่นบูชา แต่ก็มีผู้เสนอว่าอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของ แท่นบูชาบารอนชิ (Baronci altarpiece) ซึ่งเป็นงานแรกที่มีหลักฐานว่าเป็นงานจ้างชิ้นแรก.

ใหม่!!: แท่นบูชาและการคืนพระชนม์ของพระคริสต์ (ราฟาเอล) · ดูเพิ่มเติม »

การโต้แย้งเรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์

ูบทความหลักที่ ศีลศักดิ์สิทธิ์ ปุจฉาวิสัชนาเรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ (ภาษาอังกฤษ: Disputation of the Holy Sacrament หรือ La disputa del sacramento หรือ La disputa) เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยราฟาเอลผู้เป็นจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี ที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1509 ถึงปี ค.ศ. 1510 เป็นภาพหนึ่งในชุดภาพที่ราฟาเอลได้รับสัญญาให้วาดสำหรับวังพระสันตะปาปาในนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นงานจิตรกรรมสำหรับตกแต่งห้องชุดที่ปัจจุบันเรียกว่า “ห้องราฟาเอล” ภาพ “ปุจฉาวิสัชนาเรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์” ตั้งอยู่ภายใน“ห้องเซนยาทูรา” (Stanza della Segnatura) ซึ่งเป็นห้องสมุดส่วนพระองค์ของพระสันตะปาปาที่ใช้เป็นทีประชุมของศาลของพระสันตะปาปา (อาดัมส์ 344) ภาพ “ปุจฉาวิสัชนาเรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์” มาจากงานของนักประวัติศาสตร์ศิลปะลอรี อาดัมส์ ในภาพราฟาเอลสร้างภาพที่มีทั้งสวรรค์และนรก ด้านบนของภาพมีพระเยซูล้อมรอบด้วยพระแม่มารี, นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ และบุคคลอื่นๆ จากพระคัมภีร์เช่นอาดัม, โมเสส และ เจคอป พระเจ้าประทับอยู่เหนือพระเยซูเป็นการแสดงว่าทรงผู้ครองสวรรค์ ด้านล่างมีตาลปัตรใส่ขนมปังศักดิ์สิทธิ์ (monstrance) วางกลางบนแท่นบูชา สองข้างแท่นบูชาเป็นนักคริสต์ศาสนวิทยาถกเถียงกันเรื่องการแปรรูปของพระเยซู (Transubstantiation) (อาดัมส์ 345) การใช้ยูคาริสต์เป็นสัญลักษณ์แทนร่างของพระเยซูเป็นหัวเรื่องของการปุจฉาวิสัชนา ในบรรดานักคริสต์ศาสนวิทยาก็มีสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2, สมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 4, จิโรลาโม ซาโวนาโรลา (Girolamo Savonarola) และดานเต อลิเกียริ (Dante Alighieri) พระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 4 ทรงฉลองพระองค์สีทองอยู่ทางล่างขวาของภาพโดยมีดานเตอยู่ข้างหลังใส่เสื้อสีแดงและสวมมงกุฏลอเรลซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ (อาดัมส์ 346) ทางมุมล่างซ้ายผู้ที่เป็นชายศีรษะล้านยืนอ่านหนังสือพิงราวระเบียงคือ โดนาโต ดันเจโล บรามันเตสถาปนิกคนสำคัญผู้ที่เป็นที่นับถือของราฟาเอล.

ใหม่!!: แท่นบูชาและการโต้แย้งเรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฐาน

น อาจหมายถึง.

ใหม่!!: แท่นบูชาและฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนตนเอง

หมือนตนเองของอัลเบรชท์ ดือเรอร์, ค.ศ. 1493. สีน้ำมันเดิมบนหนัง, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, ปารีส ภาพนี้เป็นภาพเหมือนตนเองอย่างเป็นทางการภาพแรก ๆ ดือเรอร์แต่งตัวแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จระดับสากล ภาพเหมือนตนเอง (Self-portrait) คือภาพเหมือนของศิลปินเองผู้อาจจะวาด เขียนด้วยสี ถ่ายภาพ หรือแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริง ๆ หรือวาดเป็นบุคคลหัวใจของภาพมาจนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในกลางคริสต์ทศวรรษ1400 กระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำการเขียนภาพเหมือนบนจิตรกรรมแผง จิตรกร ประติมากร และช่างแกะพิมพ์มีการทำกันมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ "ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)" ที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ ของปี..

ใหม่!!: แท่นบูชาและภาพเหมือนตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

มรรคาศักดิ์สิทธิ์

มรรคาศักดิ์สิทธิ์ หรือ ทางสู่กางเขน (Stations of the Cross (ที่หมายสู่กางเขน); Via Crucis (ทางสู่กางเขน) หรือ Via Dolorosa (ทางแห่งความเศร้า) หรือ เรียกง่ายๆ ว่า The Way - ทาง) คือภาพงานศิลปะศาสนาคริสต์บรรยายถึงช่วงเวลาสุดท้ายในชีวิตพระเยซู ตั้งแต่เดินทางสู่การตรึงกางเขนและหลังการตรึงกางเขน เรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” ทำขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงความทรมานและความเสียสละของพระองค์ ประเพณีนี้ปฏิบัติกันในนิกายโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และ ลูเทอแรน มรรคาศักดิ์สิทธิ์จะปฏิบัติเมื่อใดก็ได้แต่มักจะทำกันระหว่างเทศกาลมหาพรต โดยเฉพาะทุกค่ำวันศุกร์ระหว่างช่วงเวลานี้ และวันศุกร์ประเสริฐก่อนเทศกาลอีสเตอร.

ใหม่!!: แท่นบูชาและมรรคาศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารวอมส์

อาสนวิหารนักบุญเปโตร วอมส์ (Dom St.; Worms Cathedral) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นอาสนวิหารที่ตั้งอยู่ที่เมืองวอมส์ในประเทศเยอรมนี อาสนวิหารวอมส์เป็นอาสนวิหารแบบโรมาเนสก์ที่สร้างระหว่างปี..

ใหม่!!: แท่นบูชาและมหาวิหารวอมส์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารวาเวล

มหาวิหารวาเวล (Wawel Cathedral) มีชื่อเป็นทางการว่า อัครอาสนมหามหาวิหารหลวงนักบุญสตานิสลาฟและนักบุญวาสลาฟบนเนินเขาวาเวล (Bazylika archikatedralna św.) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกประจำอัครมุขมณฑลกรากุฟ ตั้งอยู่บนเนินเขาวาเวลที่เมืองกรากุฟ ประเทศโปแลนด์ เป็นอาสนวิหารที่มีประวัติเก่าแก่ยืดยามมาร่วมหนึ่งพันปี และมักจะเป็นสถานที่พระมหากษัตริย์โปแลนด์ทำพิธีราชาภิเษก สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันที่เป็นแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเป็นอาสนวิหารที่สามที่สร้างขึ้นบนตำแหน่งเดียวกันนี้ อาสนวิหารแรกสร้างขึ้นและถูกทำลายในคริสต์ศตวรรษที่ 11 มหาวิหารที่สองที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถูกทำลายในเพลิงไหม้ในปี..

ใหม่!!: แท่นบูชาและมหาวิหารวาเวล · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารตูร์แน

มหาวิหารตูร์แน หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งตูร์แน (Cathédrale Notre-Dame de Tournai; Onze-Lieve-Vrouw van Doornik) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลตูร์แน (Diocese of Tournai) ตั้งอยู่ที่เมืองตูร์แน มณฑลแอโน เขตวัลลูน ในประเทศเบลเยียม โดยสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่พระนางมารีย์พรหมจารี มหาวิหารแห่งนี้ถือเป็นมหาวิหารแห่งเดียวในประเทศเบลเยียมซึ่งตั้งใจสร้างเพื่อมีฐานะเป็นอาสนวิหาร (Cathedral) ซึ่งจัดเป็นผลงานชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมกอทิกแบบตูร์แน (Gothique tournaisien) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างโรมาเนสก์กับกอทิกที่พบได้มากในภูมิภาคแถบนี้ มหาวิหารตูร์แนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานสำคัญของภูมิภาควัลลูน (Patrimoine immobilier classé de la Région wallonne) เมื่อปี ค.ศ. 1936 และต่อมาได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก เมื่อปีค.ศ. 2000.

ใหม่!!: แท่นบูชาและมหาวิหารตูร์แน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญเปโตร

มหาวิหารนักบุญเปโตร (Basilica of Saint Peter, Basilica Sancti Petri) รู้จักกันโดยชาวอิตาลีว่า Basilica di San Pietro in Vaticano หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่าเซนต์ปีเตอร์สบาซิลิกา (Saint Peter's Basilica) เป็นมหาวิหารเอกหนึ่งในสี่แห่งในกรุงโรม นครรัฐวาติกัน (อีกสามมหาวิหาร คือ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร และมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง).

ใหม่!!: แท่นบูชาและมหาวิหารนักบุญเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

มุขโค้งด้านสกัด

ลักษณะโดยทั่วไปของมุขโค้งสมัยคริสเตียนตอนต้น/ไบแซนไทน์ที่เป็นโค้งครึ่งโดม มุขโค้งสามมุขด้านตะวันออกของบาซิลิกาซานตาจูเลียทางตอนเหนือของอิตาลี มุขด้านตะวันออกของแอบบีแซงต์อูน (Abbey church of Saint-Ouen) แสดงให้เห็น “ชาเปลดาวกระจาย”, รูออง มุขด้านตะวันออกของมหาวิหารมอนริอาเลในซิซิลีที่เต็มไปด้วยลวดลายตกแต่ง มุขโค้งด้านสกัด หรือ มุขตะวันออก (Apse หรือ Apsis) คือส่วนที่เป็นโค้งครึ่งวงกลมที่มีหลังคาครึ่งวงกลมหรือครึ่งโดมที่ยื่นออกมาจากสิ่งก่อสร้าง “มุขโค้งด้านสกัด” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Apse” ที่มาจากภาษาละติน “absis” ที่แปลว่า “โค้ง” หรือ “เพดานโค้ง” ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์, สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ และ สถาปัตยกรรมกอธิคของแอบบี, มหาวิหาร และคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ คำนี้หมายถึงมุขครึ่งวงกลมหรือหลายเหลี่ยมที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของสิ่งก่อสร้างที่ภายในเป็นที่ตั้งของแท่นบูชาเอก และไม่ว่าหลังคาจะเป็นทรงใด: ราบ, ลาด, โดม หรือครึ่งวงกลม.

ใหม่!!: แท่นบูชาและมุขโค้งด้านสกัด · ดูเพิ่มเติม »

ศาลเจ้า

ักการสถานของโฮเดเกเทรีย มหาวิหารอัสสัมชัญในกรุงสโมเลงสค์ ประเทศรัสเซีย ค.ศ. 1912 หีบสามกษัตริย์ของมหาวิหารโคโลญในเยอรมนีที่บรรจุกระดูกของโหราจารย์ถือกันว่าเป็น “หีบสักการะ” ภาพเขียน “The Shrine” โดยจอห์น วิลเลียม วอเทอร์เฮาส์ ค.ศ. 1895 ศาลเจ้า ชาวคาทอลิกเรียกว่าสักการสถาน ตรงภาษาอังกฤษว่า “Shrine” มาจากภาษาละติน “Scrinium” ที่แปลว่า “หีบสำหรับหนังสือหรือเอกสาร” และภาษาฝรั่งเศสเก่า “escrin” ที่แปลว่า “กล่องหรือหีบ” คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่อุทิศให้แก่บุคคลสำคัญทางศาสนา บรรพบุรุษ วีรบุรุษ มรณสักขี นักบุญ หรือบุคคลที่มีความสำคัญหรือเป็นที่นับถือผู้เป็นที่สักการะ ในศาลมักจะประกอบด้วยรูปเคารพ วัตถุมงคล หรือสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เป็นที่สักการะ ศาลที่สร้างขึ้นเพื่อรับสิ่งสักการะเรียกว่า “แท่นบูชา” ศาลเจ้าเป็นสิ่งที่พบในศาสนาแทบทุกศาสนาในโลกที่รวมทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ศาสนาพื้นบ้านจีน และศาสนาชินโต และการใช้ในทางที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาเช่นรำลึกสถานเกี่ยวกับสงคราม ศาลเจ้ามีลักษณะต่างกันไปหลายอย่าง ปูชนียสถานบางแห่งก็ตั้งอยู่ภายในโบสถ์ วัด สุสาน หรือแม้แต่ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย หรือบางครั้งก็จะเป็นแบบที่เคลื่อนย้ายได้ เช่นในลักษณะของ “หีบวัตถุมงคล” ศาลเจ้าบางครั้งก็อาจจะกลายมาเป็นศูนย์กลางที่ประดิษฐานเทวรูปต่าง.

ใหม่!!: แท่นบูชาและศาลเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะการอแล็งเฌียง

ลวิส ศิลปะการอแล็งเฌียง (art carolingien) เป็นศิลปะที่มาจากจักรวรรดิแฟรงก์ในช่วงเวลาราว 120 ปี ราวระหว่าง ค.ศ. 780 จนถึง ค.ศ. 900 — ในรัชสมัยของจักรพรรดิชาร์เลอมาญและทายาทที่สืบครองทันทีหลังจากพระองค์ — สมัยนี้นิยมเรียกกันว่าเป็น "สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการอแล็งเฌียง" ศิลปะการอแล็งเฌียงสร้างโดยศิลปินของราชสำนักที่สร้างงานให้กับราชสำนัก และโดยสำนักสงฆ์สำคัญ ๆ ที่อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระมหาจักรพรรดิ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของที่ยุโรปเหนือในการฟื้นฟูและเลียนแบบงานศิลปะคลาสสิกของเมดิเตอร์เรเนียนทั้งทางรูปแบบและลักษณะ ที่กลายมาเป็นการผสานองค์ประกอบของศิลปะคลาสสิกเข้ากับศิลปะของทางตอนเหนือของยุโรปในรูปแบบของงานที่เป็นสง่าและตระการตา (sumptuous) โดยเฉพาะอิทธิพลในการสร้างรูปลักษณ์ของมนุษย์ ที่เป็นการวางรากฐานให้แก่ศิลปะโรมาเนสก์ที่ตามมา และต่อมาศิลปะกอทิกในยุโรปตะวันตก สมัยการอแล็งเฌียงเป็นส่วนหนึ่งของสมัยประวัติศาสตร์ศิลปะของศิลปะสมัยกลางที่เรียกว่า "ศิลปะยุคก่อนโรมาเนสก์".

ใหม่!!: แท่นบูชาและศิลปะการอแล็งเฌียง · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะและสถาปัตยกรรมเมรอแว็งเฌียง

มทรัพย์กูร์ดอง ปัวติเยร์ ศิลปะและสถาปัตยกรรมเมรอแว็งเฌียง (Merovingian art and architecture) คือศิลปะและสถาปัตยกรรมของราชวงศ์เมรอแว็งเฌียงของแฟรงก์ที่รุ่งเรืองระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ในบริเวณที่ปัจจุบันคือฝรั่งเศสและเยอรมนี การเรืองอำนาจของราชวงศ์เมรอแว็งเฌียงในบริเวณกอลในคริสต์ศตวรรษที่ 5 นำความเปลี่ยนแปลงอันสำคัญมาสู่งานศิลปะ แต่ประติมากรรมถอยหลังไปเป็นเพียงงานแกะตกแต่งโลงหิน, แท่นบูชา และเฟอร์นิเจอร์ทางศาสนาอย่างง่ายๆ แต่งานทองและงานศิลปะสาขาใหม่--การคัดเขียนหนังสือวิจิตร--ผสานงานวาดรูปสัตว์แบบ “อนารยชน” เข้ามาด้วย พร้อมด้วยลวดลายแบบตอนปลายสมัยโบราณ และอิทธิพลที่มาจากแดนไกลเช่นจากซีเรียและไอร์แลนด์ผสานเข้ามาในศิลปะเมรอแว็งเฌียง.

ใหม่!!: แท่นบูชาและศิลปะและสถาปัตยกรรมเมรอแว็งเฌียง · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ

มหาวิหารเดอรัมเหนือแม่น้ำเวียร์ ด้านหน้ามหาวิหารเซนต์อัลบัน ปุ่มหินกลางหอประชุมนักบวชในมหาวิหารยอร์ก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ (Architecture of the medieval cathedrals of England) เป็นช่วงระยะเวลาการก่อสร้างมหาวิหารที่เกิดขึ้นในอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1040 ถึงปี ค.ศ. 1540 กลุ่มสิ่งก่อสร้างยี่สิบห้าปีหลังที่ถือว่ามีเอกลักษณ์ของการก่อสร้างที่เป็นของอังกฤษแท้ แม้ว่าสิ่งก่อสร้างจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งก่อสร้างทั้งหมดต่างก็มีจุดประสงค์ร่วมกันเพียงจุดประสงค์เดียว ในการเป็นมหาวิหารอันเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นศูนย์กลางของการบริหารมุขมณฑลและเป็นที่ตั้งของคาเทดราJohn Harvey, English Cathedrals แม้ว่าลักษณะของสิ่งก่อสร้างแต่ละสิ่งจะเป็นลักษณะอังกฤษแต่ก็เป็นลักษณะที่ต่าง ๆ กันออกไปทั้งความแตกต่างจากกันและกัน และความแตกต่างภายในมหาวิหารเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ต่างจากมหาวิหารสมัยกลางอื่น ๆ เช่นทางตอนเหนือของฝรั่งเศสที่มหาวิหารและแอบบีย์ใหญ่ ๆ เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับกลุ่มชนเดียวกัน และการสืบประวัติของลักษณะสถาปัตยกรรมก็สามารถทำได้โดยศึกษาจากสิ่งก่อสร้างหนึ่งไปยังสิ่งก่อสร้างถัดไปภายในกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นของอารามเดียวกันAlec Clifton-Taylor, ‘’The Cathedrals of England’’ สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจของมหาวิหารอังกฤษก็คือประวัติของสถาปัตยกรรมสมัยกลางทั้งสมัยสามารถที่จะบรรยายได้จากสิ่งก่อสร้างสิ่งเดียว ที่มักจะประกอบด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมเด่น ๆ ของแต่ละยุคโดยไม่มีการพยายามแต่อย่างใดในการพยายามผสานลักษณะที่แตกต่างกันของแต่ละสมัยที่สร้างขึ้นมาก่อนหน้านั้น ฉะนั้นลำดับเหตุการณ์ของการก่อสร้างจากสมัยหนึ่งไปอีกสมัยหนึ่งในมหาวิหารเดียวกันจึงอาจจะย้อนกลับไปกลับมาภายในบริเวณต่างๆ ของสิ่งก่อสร้าง จะมีข้อยกเว้นอยู่ก็แต่มหาวิหารซอลสบรีที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมตระกูลเดียวที่กลมกลืนกันไปทั้งตัวสิ่งก่อสร้าง เพราะเป็นการสร้างรวดเดียวเสร็จBanister Fletcher, ‘’History of Architecture on the Comparative Method.’’.

ใหม่!!: แท่นบูชาและสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ใหม่!!: แท่นบูชาและสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

หอฉัน

ทมาร์ในโปรตุเกส หอฉัน หรือ โรงอาหาร (Refectory หรือ frater house หรือ fratery) คือห้องกินข้าวของคริสต์ศาสนสถาน โดยเฉพาะของสำนักสงฆ์, โรงเรียนประจำ หรือสถาบันการศึกษา สถานที่ที่มักจะใช้กันบ่อยในปัจจุบันคือในสถาบันฝึกนักบวช “หอฉัน” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Refectory” ที่แผลงมาจากภาษาละติน “reficere” ที่แปลว่าทำใหม่ ที่มาจากภาษาละตินตอนปลาย “refectorium” ที่แปลว่าสถานที่ที่บุคคลจะไปทำการฟื้นตัว.

ใหม่!!: แท่นบูชาและหอฉัน · ดูเพิ่มเติม »

หีบสามกษัตริย์

หีบสามกษัตริย์ (Dreikönigsschrein, Shrine of the Three Kings) เป็นหีบวัตถุมงคลที่เชื่อกันว่าเป็นหีบที่บรรจุกระดูกของโหราจารย์หรือที่บางครั้งเรียกกันว่า “สามกษัตริย์” หรือ “สามนักปราชญ์” หีบดังกล่าวเป็นหีบปิดทองขนาดใหญ่ที่ตกแต่งเป็นทรงโลงศพสามโลงซ้อนกัน “หีบสามกษัตริย์” ที่ในปัจจุบันตั้งอยู่หลังแท่นบูชาเอกภายในมหาวิหารโคโลญในเยอรมนีถือกันว่าเป็นงานฝีมือชิ้นเอกของศิลปะโมซันและเป็นหีบวัตถุมงคลที่ใหญ่ที่สุดในโลกตะวันตก.

ใหม่!!: แท่นบูชาและหีบสามกษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

ห้องเก็บเครื่องพิธี

ห้องเก็บเครื่องพิธี ห้องเก็บเครื่องพิธีภายในมหาวิหารซันตาโกรเชที่ฟลอเรนซ์ ห้องเก็บเครื่องพิธี (Sacristy) คือห้องที่ตั้งอยู่ภายในคริสต์ศาสนสถานที่ใช้เป็นที่เก็บอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ (Vestment) อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ และบันทึกเอกสารของคริสต์ศาสนสถาน ห้องเก็บเครื่องพิธีมักจะตั้งอยู่ภายในตัวคริสต์ศาสนสถาน แต่ในบางกรณีก็อาจจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างติดกับตัววัด หรือ อาจจะเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระจากตัวโบสถ์ เช่นในบางอาราม ในโบสถ์โบราณห้องเก็บเครื่องพิธีมักจะตั้งอยู่ทางด้านข้างของแท่นบูชา หรืออาจจะตั้งอยู่ทางด้านข้างหรือด้านหลังของบริเวณแท่นบูชาเอก หรือ บริเวณร้องเพลงสวด ในโบสถ์สมัยใหม่ห้องเก็บเครื่องพิธีมักจะตั้งอยู่ในตำแหน่งอื่น เช่นใกล้ประตูทางเข้า คริสต์ศาสนสถานบางแห่งก็จะมีห้องเก็บเครื่องพิธีมากกว่าหนึ่งแต่ละแห่งก็จะมีวัตถุประสงค์ต่างกัน นอกจากนั้นแล้วห้องเก็บเครื่องพิธีก็ยังเป็นสถานที่สำหรับนักบวชและผู้ช่วยใช้ในการเตรียมตัวประกอบคริสต์ศาสนพิธี เมื่อประกอบพิธีเสร็จก็จะกลับมาที่ห้องนี้เพื่อถอดเครื่องแต่งกายออก และ เก็บอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบพิธี ห้องเก็บเครื่องพิธีมักจะมีอ้างล้างมือพิเศษที่เรียกว่า อ่างซาคราเรียม (Piscina หรือ sacrarium) ที่มีท่อระบายที่ให้น้ำจากการประกอบพิธีจากการล้างมือที่ถือเป็นน้ำที่ใช้ในการประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ไหลลงดินโดยตรงแทนที่จะลงไปในท่อหรือถังน้ำเสีย อ่างซาคราเรียมใช้ในการซักผ้าลินินที่ใช้ในพิธีมิสซาและสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ในการประกอบพิธี ส่วนใหญ่แล้วห้องเก็บเครื่องพิธีจะเป็นสถานที่ที่ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้า ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลบริหารห้องเก็บเครื่องพิธีเรียกว่า “Sacristan” หรือ “Sacrist” ผู้มักจะมีหน้าที่ดูและตัวสิ่งก่อสร้างและบริเวณรอบๆ ด้ว.

ใหม่!!: แท่นบูชาและห้องเก็บเครื่องพิธี · ดูเพิ่มเติม »

อารามเอียร์เซ

อารามเอียร์เซ (Reichsabtei Irsee, Irsee Abbey) เป็นอารามคณะเบเนดิกตินที่ตั้งอยู่เมืองเอียร์เซในบาวาเรียในประเทศเยอรมนี ในปัจจุบันอารามเอียร์เซใช้เป็นสถานที่สำหรับการประชุมสัมมนา และศูนย์ฝึกหัดของเขตบริหารชวาเบี.

ใหม่!!: แท่นบูชาและอารามเอียร์เซ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารบลัว

อาสนวิหารบลัว (Cathédrale de Blois) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญหลุยส์แห่งบลัว (Cathédrale Saint-Louis de Blois) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก และเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลบลัว ตั้งอยู่ในเขตเมืองบลัว จังหวัดลัวเรแชร์ ในแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญหลุยส์ อาสนวิหารแรนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1906.

ใหม่!!: แท่นบูชาและอาสนวิหารบลัว · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารบายอน

อาสนวิหารบายอน (Cathédrale de Bayonne) มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญมารีย์แห่งบายอน (Cathédrale Sainte-Marie de Bayonne) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลบายอน แล็สการ์ และออลอรง ตั้งอยู่ที่เมืองบายอน จังหวัดปีเรเน-อัตล็องติก แคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระนางมารีย์พรหมจารี อาสนวิหารเป็นอาคารแบบสถาปัตยกรรมกอทิก สันนิษฐานว่าเริ่มก่อสร้างราว ค.ศ. 1213 มีจุดเด่นที่หอระฆังคู่ความสูง 85 เมตร ภายในยังเป็นสถานที่บรรจุเรลิกของนักบุญเลอง เดอ การ็องต็อง อดีตมุขนายกแห่งบายอนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 และยังมีระเบียงคดซึ่งสร้างราว..

ใหม่!!: แท่นบูชาและอาสนวิหารบายอน · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารมงเปอลีเย

อาสนวิหารมงเปอลีเย (Cathédrale de Montpellier) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งมงเปอลีเย (Cathédrale Saint-Pierre de Montpellier) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่วิหารประจำอัครมุขนายกแห่งอัครมุขมณฑลมงเปอลีเย ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าของเมืองมงเปอลีเย จังหวัดเอโร แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่อัครทูตสำคัญคือนักบุญเปโตร อาสนวิหารแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นสถานที่ในแบบสถาปัตยกรรมกอทิกที่ใหญ่โตที่สุดในเมืองมงเปอลีเย และเป็นอาสนวิหารที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคล็องก์ด็อก-รูซียงอีกด้วย อาสนวิหารมงเปอลีเยได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1906.

ใหม่!!: แท่นบูชาและอาสนวิหารมงเปอลีเย · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารลูว์ซง

อาสนวิหารลูว์ซง (Cathédrale de Luçon) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์แห่งลูว์ซง (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Assomption de Luçon) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลลูว์ซง ตั้งอยู่ในเขตเมืองลูว์ซง จังหวัดว็องเด แคว้นเปอีเดอลาลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ อาสนวิหารแห่งนี้สร้างขึ้นในแบบกอทิก และยังมีองค์ประกอบบางส่วนในแบบโรมาเนสก์ รวมทั้งในยุคที่ใหม่กว่านั้น คือ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (หรือคลาสสิก) ซึ่งองค์ประกอบต่าง ๆ นี้ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1906, ค.ศ. 1915 และของระดับแคว้นเมื่อปี ค.ศ. 1992.

ใหม่!!: แท่นบูชาและอาสนวิหารลูว์ซง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารล็อง

อาสนวิหารล็อง (Cathédrale de Laon) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งล็อง (Cathédrale Notre-Dame de Laon) สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระนางมารีย์พรหมจารี ปัจจุบันมีฐานะเป็นโบสถ์ประจำแพริชในนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งในอดีตเคยมีฐานะเป็นอาสนวิหารของอดีตมุขมณฑลล็องซึ่งในปัจจุบันอยู่ในการปกครองของมุขนายกประจำมุขมณฑลซัวซง อันเป็นผลจากการควบรวมตามความตกลง ค.ศ. 1801 อาสนวิหารตั้งอยู่ที่เมืองล็อง จังหวัดแอน แคว้นโอดฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในสถานที่แห่งแรกในแบบสถาปัตยกรรมกอทิกในประเทศฝรั่งเศส โดยสร้างหลังจากอาสนวิหารแซ็ง-เดอนีและอาสนวิหารนัวยง และยังสร้างก่อนอาสนวิหารแม่พระแห่งปารีสอีกด้วย อาสนวิหารล็องได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840.

ใหม่!!: แท่นบูชาและอาสนวิหารล็อง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารวีวีเย

อาสนวิหารวีวีเย (Cathédrale de Viviers) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญบิเซนเตแห่งวีวีเย (Cathédrale Saint-Vincent de Viviers) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลวีวีเยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมา ตั้งอยู่ที่เมืองวีวีเย จังหวัดอาร์แด็ช แคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญบิเซนเตแห่งอูเอสกา อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1906.

ใหม่!!: แท่นบูชาและอาสนวิหารวีวีเย · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารอ็องเฌ

อาสนวิหารอ็องเฌ (Cathédrale d'Angers) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารนักบุญมอริซแห่งอ็องเฌ (Cathédrale Saint-Maurice d'Angers) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลอ็องเฌ ตั้งอยู่ในเมืองอ็องเฌ จังหวัดแมเนลัวร์ แคว้นเปอีเดอลาลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญมอริซ อดีตมุขนายกในคริสต์ศตวรรษที่ 4 อาสนวิหารแห่งนี้เป็นหนึ่งตัวอย่างของอาคารที่อยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านทางสถาปัตยกรรมระหว่างโรมาเนสก์กับกอทิกที่สวยงาม และยังเป็นอีกหนึ่งประจักษ์พยานสำคัญของสถาปัตยกรรมกอทิกอ็องฌ์แว็ง ซึ่งพบเห็นในดินแดนแถบนั้นอีกด้วย อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1862.

ใหม่!!: แท่นบูชาและอาสนวิหารอ็องเฌ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารดักซ์

อาสนวิหารดักซ์ (Cathédrale de Dax) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งดักซ์ (Cathédrale Notre-Dame de Dax) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลแอร์และดักซ์ ตั้งอยู่ที่เมืองดักซ์ จังหวัดล็องด์ ในแคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระนางมารีย์พรหมจารี ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของอดีตมุขมณฑลดักซ์ แต่ได้ถูกยุบลงภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งรวมถึงอดีตมุขมณฑลแอร์ซึ่งประสบชะตากรรมเดียวกันด้วย โดยทั้งสองได้ถูกยุบผนวกกับมุขมณฑลบายอนตามความตกลง ค.ศ. 1801 และต่อมาในปี ค.ศ. 1817 ได้มีการแยกออกมาอีกครั้งหนึ่งโดยรวมเป็นหนึ่งมุขมณฑล มีชื่อเรียกว่า มุขมณฑลแอร์และดักซ์ โดยมีที่ตั้งของมุขนายกที่อาสนวิหารแอร์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1833 ได้มีการย้ายที่ตั้งของมุขนายกมาอยู่ที่อาสนวิหารแห่งดักซ์ อนึ่ง อาสนวิหารแอร์ยังคงเป็นอาสนวิหารร่วม (co-cathedral) อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1884 ในบริเวณซุ้มประตูอัครทูต (Portail des Apôtres) และอาคารส่วนที่เหลือ ค.ศ. 1946.

ใหม่!!: แท่นบูชาและอาสนวิหารดักซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารปัวตีเย

อาสนวิหารปัวตีเย (Cathédrale de Poitiers) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งปัวตีเย (Cathédrale Saint-Pierre de Poitiers) เป็นทั้งอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิกและไมเนอร์บาซิลิกา (minor basilica) ในสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 10 (ตั้งแต่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1912) เป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำอัครมุขมณฑลปัวตีเย ตั้งอยู่ที่เมืองปัวตีเย จังหวัดเวียน แคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร อาสนวิหารแห่งนี้เป็นที่น่ารู้จักน้อยกว่าโบสถ์แม่พระองค์ใหญ่แห่งปัวตีเย (Notre-Dame la Grande de Poitiers) อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นสิ่งก่อสร้างที่ทำจากหินที่ใหญ่ที่สุดในเมืองและสามารถมองเห็นได้จากในเมืองโดยรอบ สร้างโดยความสนับสนุนจากเอลินอร์แห่งอากีแตน สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ และพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: แท่นบูชาและอาสนวิหารปัวตีเย · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารน็องซี

อาสนวิหารน็องซี (Cathédrale de Nancy) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับสารและนักบุญซีฌแบร์แห่งน็องซี (Cathédrale Notre-Dame-de-l’Annonciation et Saint-Sigisbert de Nancy) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นทั้ง ไมเนอร์บาซิลิกา (Minor Basilica) และ ไพรเมต (Primate) เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลน็องซี-ตูลร่วมกับอาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งตูล ตั้งอยู่ในเขตเมืองน็องซี จังหวัดเมอร์เตมอแซล แคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่แม่พระรับสารและนักบุญซีฌแบร์ (พระเจ้าซีฌแบร์ที่ 3 แห่งราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง) อาสนวิหารน็องซีได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1906.

ใหม่!!: แท่นบูชาและอาสนวิหารน็องซี · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแม็ส

อาสนวิหารแม็ส (Cathédrale de Metz) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งแม็ส (Cathédrale Saint Étienne de Metz) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลแม็ส ตั้งอยู่ที่เมืองแม็ส จังหวัดมอแซล แคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสำคัญคือนักบุญสเทเฟน ห้องเก็บสมบัติของอาสนวิหารได้สะสมของมีค่ามานานนับพันปี โดยเป็นของสะสมของมุขมณฑลแม็สที่รวมถึงผ้าคลุมแท่นบูชาและสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ อาสนวิหารแม็สถือเป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่มีโถงทางเดินโบสถ์ที่สูงที่สุดแห่งหนี่งของโลก และยังมีชื่อเล่นว่า "โคมไฟแห่งพระผู้เป็นเจ้า" (La Lanterne du Bon Dieu) อันเนื่องมาจากมีโครงสร้างหน้าต่างที่เป็นงานกระจกสีมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกJolin J.L. (2001) La lanterne du Bon Dieu.

ใหม่!!: แท่นบูชาและอาสนวิหารแม็ส · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์

อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์ (Cathédrale de Saint-Flour) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งแซ็ง-ฟลูร์ (Cathédrale Saint-Pierre de Saint-Flour) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก และเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลมุขมณฑลแซ็ง-ฟลูร์ ตั้งอยู่ที่เมืองแซ็ง-ฟลูร์ จังหวัดก็องตาล ในแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร อาสนวิหารแห่งนี้เป็นหนึ่งในอาสนวิหารทั้งหมดสี่แห่งของภูมิภาคโอแวร์ญ ตั้งอยู่กลางใจเมืองเก่าของแซ็ง-ฟลูร์ และเป็นอาสนวิหารที่สร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมกอทิกสร้างเสร็จในคริสต์ศตวรรษที่ 15 บนที่ตั้งของบาซิลิกาแบบโรมาเนสก์เดิม หินที่ใช้สร้างมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับสิ่งก่อสร้างทางคริสต์ศาสนาในแถบนี้ ซึ่งเป็นหินภูเขาไฟมีสีดำสนิทอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของอาสนวิหาร ต่อมาภายหลังอาสนวิหารได้ถูกปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรมลงมากในช่วงของการปฏิวัติฝรั่งเศส อาสนวิหารแห่งนี้ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1906.

ใหม่!!: แท่นบูชาและอาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแปร์ปีญ็อง

อาสนวิหารแปร์ปีญ็อง (Cathédrale de Perpignan) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาแห่งแปร์ปีญ็อง (Cathédrale Saint-Jean-Baptiste de Perpignan; Catedral de Sant Joan Baptista de Perpinyà) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งอาสนะของมุขนายกประจำมุขมณฑลแปร์ปีญ็อง-แอลน์ ตั้งอยู่ในเขตเมืองแปร์ปีญ็อง จังหวัดปีเรเน-ออรีย็องตาล แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้นักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอาสนวิหารจากการย้ายอาสนะของมุขนายกจากมุขมณฑลแอลน์ (เดิมอาสนะตั้งอยู่ที่อาสนวิหารแอลน์) มารวมอยู่ที่มุขมณฑลแปร์ปีญ็องเมื่อปี ค.ศ. 1602 ตามพระบัญชาของสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 8 อาสนวิหารแปร์ปีญ็องได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1906.

ใหม่!!: แท่นบูชาและอาสนวิหารแปร์ปีญ็อง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารโบแว

อาสนวิหารโบแว (Cathédrale de Beauvais) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งโบแว (Cathédrale Saint-Pierre de Beauvais) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลโบแว นัวยง และซ็องลิส ตั้งอยู่ที่เมืองโบแว จังหวัดอวซ แคว้นโอดฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร เป็นอาสนวิหารแบบกอธิกที่มีบริเวณร้องเพลงสวดที่สูงที่สุดในโลก (48.50 เมตร) อาสนวิหารแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นสถานที่แบบสถาปัตยกรรมกอทิกแห่งหนึ่งที่แสดงถึงความสำเร็จสูงสุดและความกล้าหาญทางสถาปัตยกรรม โดยตัวอาคารมีเพียงแขนกางเขน (คริสต์ศตวรรษที่ 16) และบริเวณร้องเพลงสวด พร้อมทั้งมุขโค้งและชาเปลจำนวน 7 หลัง (คริสต์ศตวรรษที่ 13) ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากทางจรมุข นอกจากนี้ยังพบโบสถ์เล็กแบบสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 เรียกว่า "บาเซิฟวร์" (Basse Œuvre) ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะจนอยู่ในสภาพดีตั้งอยู่บริเวณที่จะเป็นที่ตั้งของบริเวณกลางโบสถ์อีกด้วย อาสนวิหารโบแวได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840.

ใหม่!!: แท่นบูชาและอาสนวิหารโบแว · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเบอซ็องซง

อาสนวิหารเบอซ็องซง (Cathédrale de Besançon) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญยอห์นแห่งเบอซ็องซง (Cathédrale Saint-Jean de Besançon) เป็นทั้งอาสนวิหารและบาซิลิกาในนิกายโรมันคาทอลิก รวมทั้งเป็นอาสนวิหารสำคัญประจำราชวงศ์การอแล็งเฌียงและภูมิภาคฟร็องช์-กงเต เป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำอัครมุขมณฑลเบอซ็องซง ตั้งอยู่ที่เมืองเบอซ็องซง จังหวัดดู แคว้นบูร์กอญ-ฟร็องช์-กงเต ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร อาสนวิหารแห่งนี้ประกอบด้วยสามสถาปัตยกรรมหลัก ๆ กล่าวคือโรมาเนสก์, กอธิก และบาโรก ซึ่งสร้างในครั้งแรกราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 และต่อมาได้รับการบูรณะต่อเติมเรื่อยมา โดยเฉพาะครั้งใหญ่ ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 และ 11 สิ่งที่มีความโดดเด่นและไม่เหมือนที่อื่นของอาสนวิหารแห่งนี้ก็คือ บริเวณร้องเพลงสวดมีถึง 2 ด้านตั้งอยู่ตรงข้ามกัน งานภาพเขียนกว่า 30 ชิ้นซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนในฐานะอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ นาฬิกาดาราศาสตร์ซึ่งได้จัดว่าเป็นงานชิ้นเอกของนาฬิกาประเภทนี้ และแท่นบูชาแบบวงกลมทำจากหินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์ เรียกกันว่า กุหลาบแห่งนักบุญยอห์น (la rose de Saint-Jean) งานสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 ฐานะทางการปกครองทางมุขมณฑลของอาสนวิหารแห่งนี้ถูกตั้งคำถามบ่อยครั้ง อันเนื่องมาจากความสำคัญของโบสถ์อีกแห่งหนึ่ง (โบสถ์นักบุญเปโตรแห่งเบอซ็องซง) ซึ่งมีความเก่าแก่ไม่แพ้กัน รวมทั้งการสนับสนุนนักบวชของแต่ละฝ่าย ซึ่งฐานะอาสนวิหารแห่งมุขมณฑลแห่งนี้ก็ถูกสลับไปมาอยู่เป็นครั้งคราว แต่ในที่สุดสมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตุสที่ 2 ก็ได้ประกาศตัดสินอย่างเป็นทางการให้อาสนวิหารแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการปกครองของมุขมณฑล และยังถือว่าอยู่ในฐานะ maison-mère อีกด้วย อาสนวิหารแห่งนี้ยังเป็นที่ฝังศพของบุคคลสำคัญต่าง ๆ ในอดีต อาทิ เคานต์แห่งบูร์กอญและอัครมุขนายกในอดีต อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1875.

ใหม่!!: แท่นบูชาและอาสนวิหารเบอซ็องซง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล

อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล (Cathédrale du Puy-en-Velay) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับสารแห่งเลอปุย-อ็อง-เวอแล (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Annonciation du Puy-en-Velay) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลเลอปุย-อ็อง-เวอแล ตั้งอยู่ที่เมืองเลอปุย-อ็อง-เวอแล จังหวัดโอต-ลัวร์ แคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่แม่พระรับสาร และยังได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นบาซิลิกาเมื่อปีค.ศ. 1856 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9 อาสนวิหารเป็นอาคารแบบสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และศิลปะโรมาเนสก์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในฝั่งตะวันตกของคริสตจักร และยังเป็นหนึ่งในสถานที่แสวงบุญของชาวคริสต์มาตั้งแต่สมัยก่อนจักรพรรดิชาร์เลอมาญ อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแลได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1862 รวมทั้งยังอยู่ในมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโก โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางซานเตียโกเดกอมโปสเตลาในประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998.

ใหม่!!: แท่นบูชาและอาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเฮริฟอร์ด

อาสนวิหารเฮริฟอร์ด อาสนวิหารเฮริฟอร์ด (Hereford Cathedral) เป็นอาสนวิหารตั้งอยู่ที่เมืองเฮริฟอร์ดในสหราชอาณาจักร อาสนวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อ..

ใหม่!!: แท่นบูชาและอาสนวิหารเฮริฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

จรมุข

รมุข (Ambulatory) “Ambulatory” มาจากภาษาลาตินกลาง “Ambulatorium” ที่แปลว่าสถานที่สำหรับการเดิน จากคำว่า “ambulare” ที่แปลว่าเดิน คือบริเวณภายในสิ่งก่อสร้างที่คลุมด้วยหลังคาในระเบียงคด หรือบางครั้งก็หมายถึงทางเดินของขบวนนักแสวงบุญรอบมุขตะวันออกของคริสต์ศาสนสถานที่เป็นมหาวิหารหรือวัดขนาดใหญ่ที่อยู่หลังแท่นบูชาเอก บางครั้งรอบทางเดินครึ่งวงกลมก็อาจจมีมุขโค้งด้านสกัดก็อาจจะมีชาเปลย่อยที่กระจายออกไปจากมุข ซึ่งทำให้ผู้เดินรอบแท่นบูชาเดินได้โดยไม่ต้องรบกวนนักบวชหรือผู้เข้าร่วมพิธีที่ทำพิธีอยู่ในชาเปลย่อย จรมุขมักจะปรากฏในคริสต์ศาสนสถานขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่มีองควัตถุของนักบุญ เพื่อใช้เป็นที่สำหรับนักแสวงบุญจำนวนมากสามารถเดินเวียนมาสักการะวัตถุที่ต้องการได้.

ใหม่!!: แท่นบูชาและจรมุข · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมแผง

"ฉากแท่นบูชาเกนต์" โดยยัน ฟัน ไอก์ และพี่ชาย, ค.ศ. 1432. ฉากแท่นบูชา (altarpiece) บนแผ่นไม้ เขียนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จิตรกรรมแผง (panel painting) คือการเขียนภาพบนแผ่นไม้ อาจจะเป็นแผ่นเดียวหรือหลายแผ่นเชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียว ซึ่งแตกต่างกับบานพับภาพที่จะแยกจากกัน (บานพับภาพ มักรวมเรียกเป็นส่วนหนึ่งของจิตรกรรมแผง) แผ่นไม้ใช้เป็นพื้นสำหรับวาดภาพจนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยผ้าใบในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นอกเหนือไปจากการวาดบนผนัง หรือบนหนังสัตว์ ซี่งวัสดุชนิดหลังนี้นิยมใช้ในการวาดหนังสือวิจิตร หรือเขียนภาพสำหรับใส่กรอ.

ใหม่!!: แท่นบูชาและจิตรกรรมแผง · ดูเพิ่มเติม »

งานกระจกสี

หน้าต่างประดับกระจกสีเป็นรูปอีแวนเจลลิสทั้งสี่ที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ หน้าต่างประดับกระจกสี (รายละเอียด) เป็นรูปพระเยซูปรากฏตัวต่อนักบุญทอมัสที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ การทำแก้วมงกุฏ งานกระจกสี (Stained glass) คำว่า งานกระจกสี หมายถึงงานที่ใช้กระจกสีตกแต่งหรืองานการทำกระจกสี ซึ่งไม่แต่เฉพาะแต่หน้าต่างเท่านั้น ยังรวมถึงศิลปะอื่นๆ ที่ใช้กระจกสีตกแต่งด้วยเช่น บานกระจกที่ทำเพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ หรือโคมตะเกียงเป็นต้น ตลอดระยะพันปีการตกแต่งด้วยกระจกสีจะหมายถึงหน้าต่างประดับกระจกสีของวัด หรือ มหาวิหารทางคริสต์ศาสนา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ การตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยเดิมจะแต่งบนแผงแบนสำหรับใช้ทำหน้าต่าง แต่วิธีการตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยปัจจุบันจะรวมไปถึงโครงสร้างกระจกสีแบบสามมิติและงานแกะสลักกระจกสีด้วย และจะรวมไปถึงบานกระจกสีสำหรับที่อยู่อาศัยที่เรียกกันว่า “leadlight” ด้วย หรืองานศิลปะที่ทำจากกระจกสีและเชื่อมต่อกันด้วยตะกั่วอย่างเช่น โคมกระจกสีที่มีชื่อเสียงที่ทำโดย หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) เมื่อพูดถึงวัสดุคำว่า “กระจกสี” โดยทั่วไปจะหมายถึงแก้วที่ทำให้เป็นสีโดยการเติม Metallic salts ระหว่างการผลิต ช่างจะใช้กระจกสีในการสร้าง “หน้าต่างประดับกระจกสี” โดยการเอากระจกสีชิ้นเล็กๆ มาจัดให้เป็นลวดลายหรือภาพภายในกรอบโดยเชื่อมชิ้นกระจกด้วยกันด้วยเส้นตะกั่ว เมื่อเสร็จแล้วก็อาจจะทาสีและย้อมสีเหลืองตกแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อให้ลวดลายเด่นขึ้น นอกจากนั้นคำว่า “กระจกย้อมสี” (Stained glass) จะหมายถึงหน้าต่างกระจกที่วาดทาสีเสร็จแล้วเผาในเตาหลอมก่อนที่จะทิ้งไว้ให้เย็น “งานกระจกสี” เป็นงานฝีมือที่ศิลปินต้องมีพรสวรรค์ทางศิลปะเพื่อที่จะออกแบบได้ และต้องมีความรู้ทางวิศวกรรมเพี่อที่สามารถประกอบบานกระจกที่ทำใว้ให้แน่นหนาภายในกรอบสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะกระจกบานใหญ่ๆ ที่จะต้องรับน้ำหนักของตัวบานกระจกเองและสามารถทนทานต่อสภาวะอากาศภายนอกได้ หน้าต่างบานใหญ่เหล่านี้ยังอยู่รอดมาให้เราชมบ้างตั้งแต่สมัยยุคกลางโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในยุโรปตะวันตกหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นจักษุศิลป์ชนิดเดียวที่เหลือมาตั้งแต่ยุคกลาง จุดประสงค์ของหน้าต่างประดับกระจกสีมิใช่ให้ผู้ดูมองออกไปดูโลกภายนอกหรือให้แสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างแต่จะควบคุมผู้อยู่ภายใน จากเหตุผลนี้หน้าต่างประดับกระจกสีจึงอาจจะเรียกได่ว่าเป็น “การตกแต่งผนังส่องแสง” (“illuminated wall decorations”) มากกว่าจะเป็นหน้าต่างอย่างตามความหมายทั่วไปของหน้าต่างที่ใช้มองออกสู่ภายนอก การออกแบบหน้าต่างวัดอาจจะเป็นได้ทั้งอุปมาอุปไมยหรือไม่ก็ได้ หน้าต่างอาจจะเป็นตำนานจากคัมภีร์ไบเบิล ประวัติศาสตร์ หรือ วรรณคดี หรือ ชีวิตของนักบุญ หรือผู้อุปการะวัด หรืออาจจะเป็นลวดลายสัญญลักษณ์ เช่นตราประจำตระกูล การตกแต่งภายในสิ่งก่อสร้างหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวในหัวข้อเดียวกันเช่นถ้าเป็นวัดก็อาจจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู หรือนักบุญ หรือผู้สร้างวัด ถ้าเป็นภายในวิทยาลัยกระจกอาจจะมีสัญลักษณ์สำหรับศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ หรือภายในบ้านอาจจะเป็นลวดลายแบบใดแบบหนึ่งที่เจ้าของเลือก.

ใหม่!!: แท่นบูชาและงานกระจกสี · ดูเพิ่มเติม »

งานฝังประดับแบบคอสมาติ

งานฝังประดับแบบคอสมาติ หรือ ลายคอสมาติ หรือ งานฝังประดับอเล็กซานดรินัม (Cosmatesque หรือ opus alexandrinum) เป็นลักษณะงานโมเสกบนพื้นที่เป็นลวดลายเรขาคณิตที่นิยมทำกันในยุคกลางในอิตาลี โดยเฉพาะในกรุงโรมและปริมณฑล ชื่อของลักษณะลวดลายมาจากชื่อ “คอสมาติ” ซึ่งเป็นตระกูลช่างหัตถกรรมหินอ่อนชั้นนำของกรุงโรมผู้สร้างงานในลักษณะดังกล่าว ลักษณะลวดลายเผยแพร่ไปทั่วยุโรปในการใช้ตกแต่งคริสต์ศาสนสถานระดับสูง เช่นในการตกแต่งแท่นบูชาเอกในแอบบีเวสต์มินสเตอร์ เป็นต้นที่ตกแต่งพื้นหินอ่อนเป็นลายคอสมาต.

ใหม่!!: แท่นบูชาและงานฝังประดับแบบคอสมาติ · ดูเพิ่มเติม »

ฉากประดับแท่นบูชา

ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) คือภาพหรืองานแกะสลักนูนที่เป็นภาพที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนาที่แขวนหน้าแท่นบูชา ฉากแท่นบูชามักจะประกอบด้วยแผงสองหรือสามแผง ประกอบกันที่เรียกว่า “จิตรกรรมแผง” และมักจะเรียกว่า “บานพับภาพ” ซึ่งอาจจะเป็นสองหรือสามบานหรือมากกว่านั้น บางครั้งฉากแท่นบูชาอาจจะเป็นกลุ่มประติมากรรม บางครั้งฉากแท่นบูชาก็อาจจะตั้งบนแท่นบูชา ถ้าแท่นบูชาเป็นแท่นลอยที่มองได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังก็จะมีฉากแท่นบูชาได้ทั้งสองด้าน นอกจากนั้นก็ยังอาจจะตกแต่งด้วยภาพเขียนฉากกางเขนหรือชั้นแท่นบู.

ใหม่!!: แท่นบูชาและฉากประดับแท่นบูชา · ดูเพิ่มเติม »

ฉากแท่นบูชาเมรอด

ฉากแท่นบูชาเมรอด (Mérode Altarpiece) หรือ ฉากแท่นบูชาการประกาศของเทพ (Annunciation Altarpiece) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยโรเบิร์ต กัมปิน จิตรกรสมัยศิลปะเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โรเบิร์ต กัมปินเขียนภาพ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ระหว่างปี ค.ศ. 1425 ถึงปี ค.ศ. 1428 แต่บ้างก็เชื่อว่าเขียนโดยผู้ติดตามหรือเป็นงานก๊อบปี้จากงานดั้งเดิมของกัมปิน ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันให้คำบรรยายภาพนี้ว่าเขียนโดย "โรเบิร์ต กัมปิน และผู้ช่วย" "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ถือกันว่าเป็นภาพเขียนที่งดงามที่สุดของสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในนิวยอร์กและในทวีปอเมริกาเหนือ จนกระทั่งการมาถึงของภาพ "การประกาศของเทพ" โดยยัน ฟัน ไอก์ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" กลายเป็นงานเขียนที่มีชื่อที่สุดของฟัน ไอก์ ที่อาจจะเป็นเพราะฟัน ไอก์ใช้สร้างเหตุการณ์ให้เกิดขึ้นภายในที่อยู่อาศัยโดยมีภูมิทัศน์เมืองลิบ ๆ ที่เห็นจากหน้าต่าง.

ใหม่!!: แท่นบูชาและฉากแท่นบูชาเมรอด · ดูเพิ่มเติม »

ซุ้มชิโบเรียม

ซุ้มชิโบเรียม (Ciborium) เป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่เป็นซุ้มรองรับด้วยเสาสี่เสาที่ตั้งอยู่เหนือแท่นบูชาภายในบาซิลิกาหรือมหาวิหารหรือคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ ซุ้มชิโบเรียมอาจจะเรียกอย่างไม่ถูกต้องนักว่าเบญจา ซุ้มชิโบเรียมที่มีชื่อเสียงที่สุดคือซุ้มเซนต์ปีเตอร์ ที่สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8 ทรงจ้างให้จานโลเรนโซ แบร์นินีให้ออกแบบโครงสร้างสำหรับตั้งเหนือที่ฝังศพนักบุญปีเตอร์ระหว่างการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ใหม่ในกรุงโรม แบร์นินีออกแบบซุ้มที่ประกอบด้วยเสาโซโลมอน (solomonic column) สี่เสาขนาดยักษ์รอบแท่นบูชาพร้อมด้วยหลังคา เสาโซโลมอนเดิมอุทิศให้แก่มหาวิหารโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ตามธรรมเนียมแล้วเชื่อกันว่าเป็นเสาที่มาจากวัดแห่งเยรุซาเล็ม แต่อันที่จริงแล้วเสาที่ว่าอาจจะมาจากวัดในไบแซนเทียม ส่วนล่างที่สุดของเสาของแบร์นินีเป็นร่องเกลียว ตอนกลางและตอนบนตกแต่งด้วยช่อมะกอกและใบเบย์ที่เต็มไปด้วยผึ้งและยุวเทพเล็กๆ ที่ฐานของเสาทุกเสามีตราอาร์มของสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8 และของตระกูลบาร์แบรินิที่มีสัญลักษณ์เป็นผึ้ง การออกแบบทำให้สร้างความรู้สึกว่าเกลียวม้วนตัวกันขึ้นไปทางตอนบนของซุ้ม.

ใหม่!!: แท่นบูชาและซุ้มชิโบเรียม · ดูเพิ่มเติม »

ปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา

ระเยซูคืนชีพ” (Resurrection) รายละเอียดจากภาพประวัติของสัตยกางเขน พระเยซูคืนชีพ เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา (ภาษาอังกฤษ: Piero della Francesca) (ราว ค.ศ. 1412 - 12 ตุลาคม ค.ศ. 1492) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง นอกจากจะเป็นจิตรกรแล้ว เปียโร เดลลา ฟรานเชสกาก็ยังเป็นนักคณิตศาสตร์และนักเรขาคณิต ลักษณะของภาพเขียนจะสงบและการใช้รูปเรขาคณิตโดยเฉพาะการเขียนแบบทัศนียภาพและการเขียนภาพลึกบนผนังแบนเรียบ (foreshortening) งานส่วนใหญ่ของเดลลา ฟรานเชสกาอยู่ที่เมืองอเรซโซในแคว้นทัสเคนี.

ใหม่!!: แท่นบูชาและปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา · ดูเพิ่มเติม »

น็อทร์ดามดูว์โอ

น็อทร์ดามดูว์โอ (Notre Dame du Haut) หรือ ชาแปลน็อทร์-ดาม-ดูว์-โอเดอรงช็อง Chapelle Notre-Dame-du-Haut de Ronchamp) หรือ ที่รู้จักกันในนาม รงช็อง (Ronchamp) เป็นชาเปลในประเทศฝรั่งเศส ก่อสร้างเสร็จภายในปี ค.ศ. 1954 ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในผลงานที่ดีที่สุดของเลอกอร์บูซีเย (Le Corbusier) สถาปนิกชาวสวิส และยังเป็นหนึ่งในผลงานสถาปัตยกรรมทางศาสนาที่สำคัญชิ้นหนึ่งในศตวรรษที่ 20 ปัจจุบันมีผู้เข้าเยี่ยมชมแล้วกว่าปีละ 8 หมื่นคน.

ใหม่!!: แท่นบูชาและน็อทร์ดามดูว์โอ · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อยกอนตาเรลลี

ปลคอนทราเรลลิ (Contarelli Chapel) เป็นชาเปลหรือคูหาสวดมนต์ภายในวัดซานลุยจิเดอิฟรานเชซิที่ตั้งอยู่ที่จตุรัสนาโวนาในกรุงโรมในประเทศอิตาลี เป็นวัดที่สร้างในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่ออกแบบโดย จาโคโม เดลลา พอร์ตา (Giacomo della Porta) และสร้างโดยสถาปนิกโดเมนิโค ฟอนทานา (Domenico Fontana) ระหว่างปี ค.ศ. 1518 ถึงปี ค.ศ. 1589 เพื่อเป็นวัดประจำชาติของฝรั่งเศสในกรุงโรม ชาเปลคอนทราเรลลิมีความสำคัญในการเป็นที่ตั้งของภาพเขียนสามภาพโดยคาราวัจโจจิตรกรคนสำคัญของยุคบาโรกระหว่างปี ค.ศ. 1599 ถึงปี ค.ศ. 1600 ที่เป็นฉากชีวิตของนักบุญแม็ทธิวที่รวมทั้งภาพ: “พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว”, “แรงบันดาลใจของนักบุญแม็ทธิว” และ “การพลีชีพของนักบุญแม็ทธิว” ชาเปลสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่คาร์ดินัลชาวฝรั่งเศสขื่อแม็ทธิว ควงแทรล (Matthieu Cointrel) หรือ “คอนทราเรลลิ” ในภาษาอิตาลีผู้ที่ก่อนเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: แท่นบูชาและโบสถ์น้อยกอนตาเรลลี · ดูเพิ่มเติม »

โลเรนโซ โมนาโก

ลอเร็นโซ โมนาโค (ภาษาอังกฤษ: Lorenzo Monaco; ชื่อเมื่อแรกเกิด: Piero di Giovanni) (ราว ค.ศ. 1370 - ค.ศ. ค.ศ. 1425) เป็นจิตรกรสมัยกอธิคชาวอิตาลีของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพจิตรกรรมแบบกอธิคนานาชาติ ลอเร็นโซเข้านิกายคามัลโดเลเซ (Camaldolese) ที่วัดซานตามาเรีย เดกลิ อันเจลิที่ฟลอเรนซ์ในปีค.ศ. 1391แต่ก็ลาออกเสียก่อนที่จะรับศีลบวช แม้กระนั้นก็ยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “Lawrence the Monk” งานของ ลอเร็นโซมีอิทธิพลจากการเขียนแบบกอธิคนานาชาติของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 และแบบตระกูลการเขียนแบบเซียนนา (Sienese school) งานชิ้นสำคัญก็ได้แก่.

ใหม่!!: แท่นบูชาและโลเรนโซ โมนาโก · ดูเพิ่มเติม »

เบญจาคริสต์

แกรนด์มาสเตอร์ประมุขของอัศวินเซนต์จอห์นนั่งภายใต้เบญจาบนแท่นโดยมีเบาะรองเท้า การใช้เบญจาในขบวนแห่ทางศาสนาในเบลเยียม เบญจา หรือ ผ้าประจำตำแหน่ง หรือ กลด (baldachin, baldaquin) เป็นเครื่องตกแต่งสำหรับแสดงฐานะที่ใช้ติดตั้งเหนือแท่นบูชา บัลลังก์ หรือเก้าอี้ หรือพระแท่นบรรทมหรือเตียง.

ใหม่!!: แท่นบูชาและเบญจาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์

ในนิกายโรมันคาทอลิกนั้น มีพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ ในพิธีกรรมนี้จะประกอบด้วยสิ่งของหรือสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องประกอบพิธีกรรมทางคริสต์ศาสนา เช่น สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ประกอบพระวาจา สถานที่สำหรับนักขับ แท่นบูชา ตู้ศีล กำยาน น้ำเสก น้ำมัน รูปภาพ-รูปปั้น ฯลฯ แต่ละอย่างในพิธีกรรมนั้น มีความเป็นมาและความหมายแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: แท่นบูชาและเครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AltarHigh altarพระแท่นแท่นบูชาเอก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »