โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แถวลำดับ

ดัชนี แถวลำดับ

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แถวลำดับ (array) คือโครงสร้างข้อมูลที่เป็นรายการอย่างหนึ่ง ข้อมูล (value) จะถูกเก็บบนหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ แบบอยู่ติดกันไปเรื่อย ๆ การเข้าถึงข้อมูลสามารถกระทำได้ผ่านดัชนี (index) หรืออาจเรียกว่า คีย์ โดยดัชนีจะเป็นจำนวนเต็มซึ่งบอกถึงลำดับที่ของข้อมูลในแถวลำดับ นอกจากนี้ ค่าของดัชนียังไปจับคู่กับที่อยู่หน่วยความจำ ผ่านสูตรคณิตศาสตร์ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ตัวอย่างเช่นแถวลำดับที่มีข้อมูล 10 ตัว โดยมีดัชนีตั้งแต่ 0 ถึง 9 สมมุติให้ข้อมูลแต่ละตัวใช้หน่วยความจำ 4 ไบต์ และแถวลำดับนี้มีที่อยู่ในหน่วยความจำคือ 2000 จะได้ว่าที่อยู่หน่วยความจำของข้อมูลตัวที่ i คือ 2000 + 4i แถวลำดับยังสามารถขยายมิติไปเป็นสองมิติหรือมากกว่านั้นได้ เนื่องจากรูปแบบของแถวลำดับสองมิติมีรูปร่างเป็นตาราง คล้ายกับเมตริกซ์ บางทีจึงอาจเรียกแถวลำดับสองมิติว่าเมตริกซ์หรือตาราง (สำหรับตารางโดยส่วนมากแล้วจะหมายความถึงตาราง lookup) เช่นเดียวกับแถวลำดับมิติเดียวที่บางครั้งก็อาจเรียกว่าเวกเตอร์หรือทูเพิล แถวลำดับถือได้ว่าเป็นโครงสร้างข้อมูลที่ถือกำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับการเขียนโปรแกรม และสำคัญมากในการเขียนโปรแกรมเช่นเดียวกัน และแทบจะไม่มีโปรแกรมใดเลยที่ไม่ใช้แถวลำดับ โดยแถวลำดับนี้ยังนำไปอิมพลีเมนต์โครงสร้างข้อมูลอื่นอีกมากมายเช่นรายการหรือสายอักขระ แม้แต่หน่วยเก็บข้อมูลที่มีที่อยู่หน่วยความจำก็อาจจะมองหน่วยเก็บข้อมูลเป็นแถวลำดับขนาดยักษ์ก็ได้.

34 ความสัมพันธ์: กลวิธีการค้นหาแบบฟีโบนัชชีกองซ้อนการค้นหาแบบทวิภาคการเรียงลำดับแบบผสานการเข้าถึงโดยสุ่มภาพกราฟิกส์แรสเตอร์ภาษารูบีภาษาซีภาษาเบรนฟักรายชื่อโครงสร้างข้อมูลรายการ (โครงสร้างข้อมูล)รายการโยงวีลิสต์สายอักขระฮีป (โครงสร้างข้อมูล)ขั้นตอนวิธีแบบสุ่มขั้นตอนวิธีแบ่งแยกและเอาชนะข้อมูล (คอมพิวเตอร์)ดอกจันดัชนีคอลเลกชันตารางแฮชซีเชลล์ปัญหาระดับบรรพบุรุษแถวลำดับพลวัตแถวลำดับซัฟฟิกซ์แถวลำดับแบบจับคู่แถวลำดับแบบขนานแถวคอยโร้ปไฟล์คอมพิวเตอร์ไลบรารีแม่แบบมาตรฐานเมทริกซ์เครื่องคิดเลข

กลวิธีการค้นหาแบบฟีโบนัชชี

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ กลวิธีการค้นแบบฟีโบนัชชี (Fibonacci search technique) เป็นกลวิธีการค้นโดยนำเอาจำนวนฟีโบนัชชีมาสร้างเป็นกลวิธีค้นตำแหน่งของข้อมูลในแถวลำดับ ที่ได้รับการเรียงลำดับแล้วโดยใช้หลักการของขั้นตอนวิธีการแบ่งแยกและเอาชนะ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับที่ใช้ในกลวิธีการค้นหาแบบทวิภาค แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกลวิธีการค้นแบบเลขคู่แล้วกลวิธีการค้นแบบฟีโบนัชชีจะมีการตรวจสอบตำแหน่งของข้อมูลโดยใช้การกระจายตัวที่น้อยกว่า ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเมื่อใช้กลวิธีการค้นแบบฟีโบนัชชีกับข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ในแหล่งเก็บข้อมูลไม่มีรูปแบบ ซึ่งเวลาในการใช้ค้นตำแหน่งของข้อมูลที่ต้องการในแหล่งข้อมูลดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของข้อมูลที่ได้มีการเข้าถึงครั้งล่าสุด ยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลแบบไม่มีรูปแบบอาธิเช่น แถบบันทึก ที่ซึ่งเวลาในการเข้าถึงข้อมูลใดๆในแถบแม่เหล็กจะขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างข้อมูลนั้นกับข้อมูลที่หัวของแถบแม่เหล็กกำลังอ่านอยู่ ทั้งนี้กลวิธีการค้นแบบฟีโบนัชชียังมีข้อได้เปรียบในการค้นข้อมูลในแคช (Cache) หรือแรม (Ram) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลแบบไม่มีรูปแบบอีกด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: แถวลำดับและกลวิธีการค้นหาแบบฟีโบนัชชี · ดูเพิ่มเติม »

กองซ้อน

กองซ้อน หรือ สแต็ก หมายถึง แบบชนิดข้อมูลนามธรรมที่มีลักษณะการเรียงลำดับข้อมูล ในการเข้า-ออกในลักษณะเข้าก่อนออกทีหลัง FILO (First In Last Out) กล่าวคือข้อมูลที่เข้าใหม่ๆจะได้ออกก่อน คล้ายกองที่ทับถมซึ่งสิ่งที่เข้ามาใหม่จะอยู่ด้านบนๆ จึงเรียกว่า กองซ้อน (stack) กองซ้อนมีการดำเนินการพื้นฐานเพียง 3 อย่าง ได้แก่ push, pop และ top กองซ้อน โดยที่การ push คือการใส่ข้อมูลลงไปในกองซ้อน ซึ่งจะกระทำได้หากกองซ้อนยังว่างอยู่ หากไม่มีที่ว่างในกองซ้อนเหลืออยู่หรือกองซ้อนเต็ม กองซ้อนนั้นจะอยู่ในสภาวะล้นหรือมากเกินเก็บ (overflow) การ pop คือการนำข้อมูลออกจากส่วนบนสุดของกองซ้อน นอกจากนี้ การ pop จะเผยข้อมูลที่ถูกผิดอยู่ก่อนหน้า หรือทำให้กองซ้อนว่างได้ แต่ถ้ากองซ้อนนั้นว่างอยู่แล้ว การ pop จะทำให้อยู่ในสภาวะน้อยเกินเก็บ (underflow) (นั่นคือ ไม่มีข้อมูลให้นำออกแล้ว) การ top กองซ้อน จะดึงข้อมูลที่อยู่บนสุดและส่งค่านั้นให้ผู้ใช้โดยที่ไม่ได้ลบทิ้งไป การ top กองซ้อนอาจทำให้กองซ้อนอยู่ในสภาวะน้อยเกินเก็บได้เช่นกัน หากกองซ้อนว่างอยู่แล้ว กองซ้อนจึงเป็นวิธีการจัดการเข้า-ออกของข้อมูลอีกแบบหนึ่ง เป็นโครงสร้างข้อมูลที่นำมาใช้ในการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์หลายประการ อาทิการสร้าง subroutine การเรียงลำดับนิพจน์ ฯลฯ.

ใหม่!!: แถวลำดับและกองซ้อน · ดูเพิ่มเติม »

การค้นหาแบบทวิภาค

ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ การค้นหาแบบทวิภาค (binary search, half-interval search หรือ bisection search) เป็นขั้นตอนวิธีเพื่อหาตำแหน่งของค่าที่ต้องการ (ข้อมูลนำเข้า หรือ "key") ที่ใช้ในแถวลำดับที่ได้มีการเรียงลำดับข้อมูลแล้ว ขั้นตอนวิธีจะเริ่มจากเปรียบเทียบข้อมูลที่นำเข้ากับข้อมูลที่อยู่ตรงกลางของแถวลำดับ ถ้าข้อมูลมีค่าเท่ากันแสดงว่าพบ "คีย์" ที่ต้องการ อาจจะทำการคืนค่าตำแหน่งหรือในที่นี้คือ ดัชนี (index) กลับไป มิฉะนั้นถ้าค่าของข้อมูลนำเข้าที่ต้องการค้นหามีการน้อยกว่าค่าตรงกลางของแถวลำดับ ก็จะทำขั้นตอนวิธีนี้อีกครั้งแต่เปลี่ยนมาค้นหาในแถวลำดับย่อยของแถวลำดับที่ต้องการค้นหาโดยแถวลำดับย่อยจะมีจุดสิ้นสุดที่ตรงกลางของแถวลำดับหลัก หรือถ้าข้อมูลที่ต้องการค้นหามีค่ามากกว่าแล้วจะค้นหาในแถวลำดับย่อยเช่นกันแต่ย้ายจุดเริ่มต้นมาที่ตรงกลางของแถวลำดับหลัก เมื่อทำไปจนแถวลำดับไม่มีสมาชิกอยู่หรือจุดเริ่มต้นมากกว่าจุดสิ้นสุด แสดงว่าไม่มีสมาชิกในแถวลำดับตัวใดที่มีค่าเท่ากับข้อมูลนำเข้าที่ต้องการค้นหา อาจจะคืนค่าว่า "ไม่พบ" การค้นหาแบบทวิภาคจะแบ่งครึ่งชุดข้อมูลที่ต้องการค้นหา ดังนั้นจึงจัดให้การค้นหาแบบทวิภาคเป็นขั้นตอนวิธีแบ่งแยกและเอาชนะ และขั้นตอนวิธีการค้นห.

ใหม่!!: แถวลำดับและการค้นหาแบบทวิภาค · ดูเพิ่มเติม »

การเรียงลำดับแบบผสาน

ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเรียงลำดับแบบผสาน เป็นขั้นตอนวิธีในการเรียงลำดับที่อาศัยการเปรียบเทียบ และยังเป็นตัวอย่างขั้นตอนวิธีที่ใช้หลักการแบ่งแยกและเอาชนะทำให้ขั้นตอนวิธีนี้มีประสิทธิภาพ O(n log n) ในการอิมพลิเมนต์เพื่อการใช้งานจริง ๆ นั้นสามารถทำได้ทั้งแบบบนลงล่าง (Top-down) และแบบล่างขึ้นบน (Bottom-up) อนึ่งในการอิมพลิเมนต์โดยทั่วไปแล้วการเรียงแบบนี้จะไม่ศูนย์เสียลำดับของข้อมูลที่มีค่าเท่ากัน นั่นคือเป็นการเรียงที่เสถียร การเรียงลำดับแบบผสาน ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดยจอห์น ฟอน นอยมันน์ในปี..

ใหม่!!: แถวลำดับและการเรียงลำดับแบบผสาน · ดูเพิ่มเติม »

การเข้าถึงโดยสุ่ม

การเข้าถึงโดยสุ่ม เปรียบเทียบกับการเข้าถึงเชิงเส้น ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเข้าถึงโดยสุ่ม (random access) หรือ การเข้าถึงโดยตรง (direct access) คือความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลในลำดับภายในเวลาที่เท่าๆกันสำหรับข้อมูลตัวใด ๆ ก็ตาม เวลาในการเข้าถึงข้อมูลนี้ไม่ขึ้นกับกับขนาดของลำดับด้วย ตัวอย่างของการเข้าถึงโดยสุ่มคือการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี ซึ่งสามารถอ่านข้อมูลตำแหน่งใดๆได้ทันที การเข้าถึงข้อมูลที่ตรงกันข้ามกับการเข้าถึงโดยสุ่มคือการเข้าถึงเชิงเส้น ซึ่งข้อมูลที่อยู่ไกลกว่าจะเสียเวลาในการเข้าถึงข้อมูลมากกว่า ตัวอย่างเช่นการอ่านข้อมูลจากตลับเทป ซึ่งต้องมีกรอเทปไปยังตำแหน่งที่ต้องการอ่านข้อมูล สำหรับโครงสร้างข้อมูล ความสามารถในการเข้าถึงโดยสุ่มคือความสามารถในการเข้าถึงรายการได้ภายในเวลาคงที่ หรือ O(1) ซึ่งโครงสร้างข้อมูลที่เรียบง่ายที่สุดที่มีความสามารถนี้ก็คือแถวลำดับ โครงสร้างข้อมูลที่เหลือที่มีความสามารถนี้ โดยมากแล้วก็จะมาจากการดัดแปลงแถวลำดับ เช่น แถวลำดับพลวัต อย่างไรก็ตาม การมีความสามารถในการเข้าถึงโดยสุ่มก็ความหมายอีกนัยหนึ่งว่าที่อยู่ของหน่วยความจำต้องเรียงกันแบบมีแบบแผน ดังนั้นจึงทำให้โครงสร้างข้อมูลทั้งหลายที่มีความสามารถนี้ไม่สามารถเพิ่มข้อมูลกลางรายการได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางโครงสร้างข้อมูลเช่นรายการโยงแลกความสามารถในการเข้าถึงแบบสุ่มด้วยความสามารถในการเพิ่มและลบข้อมูลกลางรายการแทน ความสามารถในการเข้าถึงโดยสุ่มมีความสำคัญมาก มีขั้นตอนวิธีมากมายที่ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างข้อมูลที่มีการเข้าถึงข้อมูลโดยสุ่ม เช่น การค้นหาแบบทวิภาค ขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับ ตะแกรงเอราทอสเทนีส เป็นต้น.

ใหม่!!: แถวลำดับและการเข้าถึงโดยสุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

ภาพกราฟิกส์แรสเตอร์

มื่อขยายหน้ายิ้มมุมซ้ายบนของภาพซึ่งเป็นภาพภาพบิตแมป RGB เป็นภาพใหญ่ทางขวา จะเห็นว่าแต่ละสี่เหลี่ยมคือจุดภาพ หรือ pixel เมื่อวิเคราะห์ให้ลึกเข้าไปอีก สีต่างๆของ pixel เกิดจากการผสมแสงสีแดง เขียวและน้ำเงินเข้าในสัดส่วนต่างๆกัน ภาพกราฟิกส์แรสเตอร์ (raster graphics) หรือ ภาพบิตแมป (bitmap) หรือ คือภาพที่ประกอบด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัว มีข้อดีคือ เหมาะกับภาพที่ต้องการระบายสี สร้างสี กำหนดสีที่ต้องการความละเอียดได้ง่าย ข้อเสีย คือเมื่อมีจุดสีที่คงที่นั่น ทำให้เวลาขยายภาพนั้นจะมีความละเอียดน้อยลงมาก และถ้าเพิ่มขนาดความละเอียดให้แก่ภาพ จะทำให้ไฟล์ภาพมีขนาดที่ใหญ่ และเปลืองพื้นที่ความจำ ไฟล์ภาพพวกนี้มีหลายรูปแบบ อาทิ เช่น BMP, TIF, JPG, PCT ฯลฯ โปรแกรมที่ใช้ เช่น โฟโต้ชอป, กิมป์ ฯลฯ.

ใหม่!!: แถวลำดับและภาพกราฟิกส์แรสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษารูบี

ษารูบี (Ruby) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ ที่ได้รับอิทธิพลของโครงสร้างภาษามาจาก ภาษาเพิร์ลกับภาษาเอดา มีความสามารถในเชิงวัตถุแบบเดียวกับภาษาสมอลทอล์ค และมีความสามารถหลายอย่างจากภาษาไพทอน, ภาษาลิสป์, ภาษา Dylan และภาษา CLU ตัวแปลภาษารูบีตัวหลักเป็นซอฟต์แวร์เสรี และเป็นตัวแปลแบบอินเตอร์พรีเตอร.

ใหม่!!: แถวลำดับและภาษารูบี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซี

ษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมและมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์ ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์) และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อม..

ใหม่!!: แถวลำดับและภาษาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบรนฟัก

ษาเบรนฟัก คือภาษาโปรแกรมเชิงความลับที่มีจุดเด่นในเรื่องการทำซอร์สโค้ดและคอมไพเลอร์ให้เล็กที่สุด ออกแบบขึ้นเพื่อท้าทายและสร้างความสับสนให้โปรแกรมเมอร์ แต่ไม่เหมาะสำหรับใช้งานในทางปฏิบัติ ชื่อของภาษาเบรนฟักในภาษาอังกฤษมักจะถูกปิดบังให้เป็น brainf*ck หรือ brainfsck เพื่อหลีกเลี่ยงคำว่า fuck ที่มักถือกันว่าเป็นคำหยาบ และจะไม่มีการเน้นอักษรตัวใหญ่ที่ตัว b เมื่อไม่ใช่ต้นประโยค ถึงแม้จะเป็นชื่อเฉพาะก็ตาม.

ใหม่!!: แถวลำดับและภาษาเบรนฟัก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อโครงสร้างข้อมูล

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: แถวลำดับและรายชื่อโครงสร้างข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »

รายการ (โครงสร้างข้อมูล)

รายการ เป็นแบบชนิดข้อมูลนามธรรมประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะการเรียงแบบต่อเนื่องไปเป็นลำดับ ข้อมูลจะมีลำดับก่อนหลังกันคล้ายเวกเตอร์ ตัวอย่างของรายการเช่น การเรียงลำดับตัวอักษร A,B,C,...

ใหม่!!: แถวลำดับและรายการ (โครงสร้างข้อมูล) · ดูเพิ่มเติม »

รายการโยง

รายการโยง เป็นรายการประเภทหนึ่ง ซึ่งจะใช้ประเภทข้อมูลประเภทโครงสร้าง วัตถุ หรือตัวชี้ (Pointer) เพื่อชี้สมาชิกตัวถัดไปที่เก็บไปเรื่อยๆ รายการโยงมีจุดเด่นทางด้านการเพิ่มหรือลดข้อมูลหรือชุดข้อมูลได้ง่าย จึงนำมาดัดแปลงในการสร้างโครงสร้างข้อมูลประเภทอื่นๆ เช่น กองซ้อน คิว ฯลฯ จึงนับว่าเป็นโครงสร้างข้อมูลที่ใช้บ่อยมากประเภทหนึ่ง.

ใหม่!!: แถวลำดับและรายการโยง · ดูเพิ่มเติม »

วีลิสต์

วีลิสต์ เป็นโครงสร้างข้อมูลในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ออกแบบโดย ฟิล แบคเวลล์ (Phil Bagwell) ซึ่งวีลิซท์เกิดจากการดัดแปลงรายการโยง (linked list) แบบโยงทางเดียว (singly-linked) โดยการนำความสามารถของแถวลำดับ (array) มาใช้ เพื่อให้การเข้าสู่ข้อมูลที่ตำแหน่งใดๆ ในเวลา O(log n)ในขนาดที่การเพิ่มหรือลดข้อมูลที่ตำแหน่งหน้าสุด (ตำแหน่งสุดท้ายในรายการ) ใช้เวลา O(1) วีลิสต์มีประโยชน์อย่างมากในการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน (functional programming languages) และนำไปใช้ในการสร้างโครงสร้างข้อมูลแบบ persistent data structure.

ใหม่!!: แถวลำดับและวีลิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สายอักขระ

ในการเขียนโปรแกรม สายอักขระ หรือ ข้อความ หรือ สตริง (string) คือลำดับของอักขระที่อาจจะเป็น literal หรือตัวแปรก็ได้ สำหรับในกรณีที่เป็นตัวแปร ส่วนใหญ่สายอักขระก็จะสามารถเปลี่ยนอักขระในตัวของมันได้ ในบางภาษาโปรแกรมสายอักขระสามารถเปลี่ยนความยาวของสายอักขระได้ด้วย ในขณะที่บางภาษาจะกำหนดให้ความยาวของสายอักขระคงที่ห้ามเปลี่ยนแปลงหลังการประกาศตัวแปร โดยทั่วไปแล้วจะเข้าใจกันโดยปริยายว่าสายอักขระอิมพลีเมนต์มาจากแถวลำดับของอักขร.

ใหม่!!: แถวลำดับและสายอักขระ · ดูเพิ่มเติม »

ฮีป (โครงสร้างข้อมูล)

ีป (Heap) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่นำมาสร้างแถวคอยลำดับความสำคัญ (priority queue) รูปแบบหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้กันมาก โดยฮีปที่สร้างขึ้นโดยอาศัยแนวคิดจากต้นไม้ทวิภาคใช้ชื่อว่า "ฮีปทวิภาค" (binary heap) ซึ่งยังมีการสร้างฮีปโดยอาศัยแนวคิดแบบอื่น ๆ ได้อีกเช่น ฟีโบนักชีฮีป (fibonacci heap) โดยฮีปทุกชนิดนั้นมีความสัมพันธ์เหมือนกันคือปมพ่อมีลำดับความสำคัญมากกว่าปมลูก แนวคิดของฮีปนอกจากนำมาสร้างแถวคอยลำดับความสำคัญแล้ว ยังนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างโครงสร้างข้อมูลอื่นๆ เช่นทรีพ เป็นต้น.

ใหม่!!: แถวลำดับและฮีป (โครงสร้างข้อมูล) · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีแบบสุ่ม

ั้นตอนวิธีแบบสุ่ม (randomized algorithm) เป็นขั้นตอนวิธีที่ยอมให้มีการโยนเหรียญได้ ในทางปฏิบัติ เครื่องที่ใช้ทำงานขั้นตอนวิธีนี้ จะต้องใช้ตัวสร้างเลขสุ่มเทียม (pseudo-random number generator) ในการสร้างตัวเลขสุ่มขึ้นมา อัลกอรึทึมโดยทั่วๆไปมักใช้บิทสุ่ม (random bit) สำหรับเป็นอินพุตเสริม เพื่อชี้นำการกระทำของมันต่อไป โดยมีความหวังว่าจะช่วยให้มีประสิทธิภาพที่ดีใน "กรณีส่วนมาก (average case)" หรือหากพูดในทางคณิตศาสตร์ก็คือ ประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธีมีค่าเท่ากับตัวแปรสุ่ม (random variable) ซึ่งคำนวณจากบิทสุ่ม โดยหวังว่าจะมีค่าคาดหมาย (expected value) ที่ดี กรณีที่แย่มากที่สุดมักจะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากจนแทบจะไม่ต้องสนใ.

ใหม่!!: แถวลำดับและขั้นตอนวิธีแบบสุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีแบ่งแยกและเอาชนะ

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนวิธีแบ่งแยกและเอาชนะ (divide and conquer; D&C) เป็นวิธีการออกแบบขั้นตอนวิธีโดยมีพื้นฐานมาจากการเรียกซ้ำ ขั้นตอนวิธีแบ่งแยกและเอาชนะทำงานโดยแบ่งปัญหาออกเป็นปัญหาย่อย 2 ส่วนหรือมากกว่านั้นแบบเวียนเกิด ปัญหาถูกแบ่งไปเรื่อย ๆ จนเล็กและง่ายพอที่จะแก้อย่างง่ายดาย หลังจากแก้ปัญหาย่อยเล็ก ๆ เหล่านั้นแล้วก็จะนำคำตอบมารวมกันขึ้นไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายได้คำตอบของปัญหาดั้งเดิม กลวิธีนี้เป็นพื้นฐานของขั้นตอนวิธีที่มีประสิทธิภาพจำนวนมากมาย เช่น การเรียงลำดับ (การเรียงลำดับแบบเร็ว การเรียงลำดับแบบผสาน) การคูณเลขขนาดใหญ่ (ขั้นตอนวิธีของคาราซูบา) การคำนวณการแปลงฟูรีเยไม่ต่อเนื่อง ในอีกด้าน การที่จะเข้าใจและสามารถออกแบบขั้นตอนวิธีแบ่งแยกและเอาชนะได้นั้นต้องใช้ทักษะในระดับหนึ่ง เพราะในการที่จะทำให้ขั้นตอนวิธีมีการเรียกซ้ำต่อไปได้เรื่อย ๆ ในเวลาที่ต้องการ บางครั้งอาจจะต้องหาวิธีสร้างปัญหาย่อยซึ่งซับซ้อนและยากมาก นอกจากนี้ การสร้างขั้นตอนวิธีแบ่งแยกและเอาชนะนั้นไม่มีขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ตัวอย่างความซับซ้อนจากการวิเคราะห์หรือออกแบบขั้นตอนวิธีแบ่งแยกและเอาชนะ เช่น การคำนวณหาจำนวนฟีโบนัชชีในเวลา O(\log n) โดยใช้รูปเมทริกซ์ร่วมกับการยกกำลังโดยการยกกำลังสอง ขั้นตอนวิธีแบ่งแยกและเอาชนะ ยังรวมไปถึงขั้นตอนวิธีที่แต่ละปัญหาแบ่งออกเป็นปัญหาย่อยหลายส่วน แต่กลับใช้คำตอบหรือคำนวณคำตอบจากเพียงแค่ปัญหาย่อยเดียวเท่านั้น เช่น การค้นหาแบบทวิภาคบนแถวลำดับที่เรียงแล้ว (หรือขั้นตอนวิธีแบ่งครึ่ง สำหรับการหาคำตอบของรากในการวิเคราะห์เชิงจำนวน)Thomas H. Cormen, Charles E. Leiserson, and Ronald L. Rivest, Introduction to Algorithms (MIT Press, 2000).

ใหม่!!: แถวลำดับและขั้นตอนวิธีแบ่งแยกและเอาชนะ · ดูเพิ่มเติม »

ข้อมูล (คอมพิวเตอร์)

้อมูล คือลำดับของสัญลักษณ์ใด ๆ ที่มีความหมายโดยการปฏิบัติการเฉพาะเพื่อตีความ '''ข้อมูลดิจิทัล'''คือปริมาณ อักขระ หรือสัญลักษณ์ในการดำเนินการอันกระทำโดยคอมพิวเตอร์ เก็บและบันทึกลงในสื่อแม่เหล็ก เชิงแสง หรือเชิงกลเป็นต้น และส่งผ่านในรูปแบบสัญญาณไฟฟ้า โปรแกรมคือกลุ่มข้อมูลที่ประกอบด้วยอนุกรมของชุดคำสั่งซอฟต์แวร์ที่ลงรหัสไว้ สำหรับควบคุมการดำเนินการของคอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรอื่น องค์ประกอบของหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ทางกายภาพ ประกอบด้วยเลขที่อยู่และหน่วยเก็บข้อมูลไบต์หรือเวิร์ด ข้อมูลดิจิทัลมักจะถูกเก็บในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เช่นตารางหรือฐานข้อมูลเอสคิวแอล และโดยทั่วไปสามารถแทนด้วยข้อมูลคู่กุญแจ-ค่าแบบนามธรรม ข้อมูลสามารถถูกจัดการให้เป็นโครงสร้างข้อมูลได้หลายชนิด อาทิ แถวลำดับ กราฟ วัตถุ ฯลฯ และโครงสร้างข้อมูลสามารถเก็บข้อมูลได้หลายประเภท เช่น จำนวนตัวเลข สายอักขระ หรือแม้แต่โครงสร้างข้อมูลอื่น ข้อมูลถูกส่งผ่านเข้าและออกคอมพิวเตอร์ผ่านทางอุปกรณ์รอบข้าง ในการใช้คำอีกทางหนึ่ง ไฟล์ฐานสอง (ซึ่งมนุษย์อ่านไม่ได้) บางครั้งก็ถูกเรียกว่า "ข้อมูล" เพื่อให้แตกต่างจาก "ข้อความ" ที่มนุษย์อ่านได้ มีการประมาณการไว้ว่า ปริมาณของข้อมูลดิจิทัลใน..

ใหม่!!: แถวลำดับและข้อมูล (คอมพิวเตอร์) · ดูเพิ่มเติม »

ดอกจัน

อกจัน (*) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายดอกของต้นจัน อาจมีห้าแฉก หกแฉก แปดแฉก หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับไทป์เฟซและยูนิโคด โดยปกติการเขียนดอกจันจะเขียนให้สูงขึ้นกว่าข้อความเล็กน้อย ใช้สำหรับเน้นส่วนสำคัญหรือใช้อธิบายเชิงอรรถ เครื่องหมายนี้มีการเรียกอีกชื่อว่า สตาร์ (star) เพราะมีรูปร่างคล้ายรูปดาว สำหรับดอกจันสามตัวที่วางเรียงกันแบบสามเหลี่ยม (⁂) เรียกว่า แอสเทอริซึม (asterism).

ใหม่!!: แถวลำดับและดอกจัน · ดูเพิ่มเติม »

ดัชนี

ัชนี (index) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: แถวลำดับและดัชนี · ดูเพิ่มเติม »

คอลเลกชัน

Collection หรือ Container หมายถึง แบบชนิดข้อมูลนามธรรมหรือวิธีการเก็บข้อมูล ซึ่งไม่สนใจการเรียงลำดับความสำคัญ สามารถให้ข้อมูลซ้ำได้ กล่าวคือสิ่งที่เก็บข้อมูลได้ถือว่าเป็น Collection นิยามของ Collection เช่นนี้ส่งผลให้การเก็บข้อมูลหรือโครงสร้างข้อมูล ทุกชนิดเป็น Collection ด้วย Collection จึงอาจใช้ในความหมายว่าเป็นที่เก็บข้อมูลหรือโครงสร้างข้อมูลได้เช่น Java Collections Framework.

ใหม่!!: แถวลำดับและคอลเลกชัน · ดูเพิ่มเติม »

ตารางแฮช

ตารางแฮช เป็นโครงสร้างข้อมูลในรูปแบบตาราง ซึ่งอาจใช้แถวลำดับในการทำ ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก เพื่อสะดวกต่อการเก็บและค้นหา โดยการผ่านฟังก์ชันแ.

ใหม่!!: แถวลำดับและตารางแฮช · ดูเพิ่มเติม »

ซีเชลล์

ซีเชลล์ (Zsh หรือ Z Shell) เป็น เชลล์ยูนิกซ์ ที่สามารถใช้เป็นเชลล์ปฏิสัมพันธ์ และเป็นตัวแปลคำสั่งภาษาที่ทรงพลังสำหรับการเขียนเชลล์สคริปต์ ซีเชลล์เป็นส่วนขยายของบอร์นเชลล์ที่ได้รับการปรับปรุงเป็นอย่างมาก รวมถึงการเพิ่มฟังก์ชั่นบางประการของแบช เคเชล และทีซีเชล.

ใหม่!!: แถวลำดับและซีเชลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาระดับบรรพบุรุษ

ในทฤษฎีกราฟ ปัญหาระดับบรรพบุรุษ (level ancestor problem) เป็นปัญหาในการนำต้นไม้ T มาคำนวณล่วงหน้าเพื่อตอบคำถามว่า จุดยอดที่มีความลึกระดับ d จากราก และทิศทางมุ่งสู่จุดยอด v คือจุดยอดอะไร เขียนฟังก์ชันแทนปัญหานี้ได้ว่า LA(v,d) โดยความลึกของจุดยอด v คือจำนวนเส้นเชื่อมจากรากถึงจุดยอดดังกล่าวบนวิถีสั้นสุดจากรากถึงจุดยอดนั้น.

ใหม่!!: แถวลำดับและปัญหาระดับบรรพบุรุษ · ดูเพิ่มเติม »

แถวลำดับพลวัต

แถวลำดับพลวัต (dynamic array) หรืออาจเรียกว่า แถวลำดับที่ขยายได้ (growable array), แถวลำดับที่เปลี่ยนขนาดได้ (resizable array), ตารางพลวัต (dynamic table), รายการแถวลำดับ (array list) หรือ เวกเตอร์ (vector) เป็นรายการประเภทหนึ่ง มีคุณสมบัติการเข้าถึงโดยสุ่มเหมือนแถวลำดับ แต่ต่างจากแถวลำดับธรรมดาตรงที่สามารถขยายขนาดเองได้เมื่อใส่ข้อมูลเพิ่มเข้าไปสมชาย ประสิทธิ์จูตระกูล, การออกแบบและวิเคราะห์อัลกอริทึม, พิมพ์ครั้งที่ 4 แถวลำดับพลวัตไม่ใช่แถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัต เนื่องจากแถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัตมีขนาดคงที่ ในขณะที่แถวลำดับพลวัตสามารถขยายขนาดได้ อย่างไรก็ตาม ในการอิมพลีเมนต์แถวลำดับพลวัต ก็อาจใช้แถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัตเป็นส่วนประกอบได้การอิมพลีเมนต์แถวลำดับพลวัตในภาษาจาว.

ใหม่!!: แถวลำดับและแถวลำดับพลวัต · ดูเพิ่มเติม »

แถวลำดับซัฟฟิกซ์

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แถวลำดับซัฟฟิกซ์ (suffix array) คือการจัดเรียง อาร์เรย์ ของ ข้อความทั้งหมดจากท้ายข้อความ เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ใช้ในดัชนีข้อความแบบเต็ม อัลกอริทึมการบีบอัดข้อมูลและภายในเขตข้อมูลของ bibliometrics แถวลำดับซัฟฟิกซ์ ถูกเป็นแนะนำโดย Manber & Myers (1990) เป็นเรื่องง่ายสำหรับ suffix trees.

ใหม่!!: แถวลำดับและแถวลำดับซัฟฟิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

แถวลำดับแบบจับคู่

แถวลำดับแบบจับคู่ (Associative array) หมายถึง กลุ่มโครงสร้างข้อมูลหรือแบบชนิดข้อมูลนามธรรม ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยผ่านข้อมูลอีกตัว เรียกว่า คีย์ (key) โดยเป็นการจับคู่คีย์เข้ากับค่าข้อมูล (value) เป็นคู่ๆไป ในภาษาโปรแกรมหลายภาษา แถวลำดับแบบจับคู่ ถือเป็นประเภทข้อมูลประเภทหนึ่งที่สำคัญมากและมีใช้หลากหลายรูปแบบ อาทิ ใช้ในการจัดการข้อมูลในฐานข้อมูล ใช้เป็นโครงสร้างข้อมูลเบื้องต้น เป็นต้น.

ใหม่!!: แถวลำดับและแถวลำดับแบบจับคู่ · ดูเพิ่มเติม »

แถวลำดับแบบขนาน

แถวลำดับแบบขนาน (parallel array) คือ รูปแบบหนึ่งในการจัดเก็บข้อมูล โดยการแยกหรือจำแนกข้อมูลที่เป็นเนื้อหาเดียวกันหรือขอบเขตเดียวกันให้อยู่ในแถวลำดับเดียวกัน และข้อมูลชุดเดียวกันที่อยู่คนละแถวลำดับจะมีดัชนี (index) หรือ คีย์ เดียวกัน.

ใหม่!!: แถวลำดับและแถวลำดับแบบขนาน · ดูเพิ่มเติม »

แถวคอย

แถวคอย หรือ คิว เป็นแบบชนิดข้อมูลนามธรรมที่มีลักษณะการเรียงลำดับข้อมูล การดำเนินการในแถวคอยจะแบ่งเป็น การเพิ่มข้อมูลไปที่ส่วนหลังสุดของแถวคอย และการดึงข้อมูลออกจากส่วนหน้าสุดของแถวคอย เข้าออกในลักษณะการเข้าก่อนออกก่อน (First In First Out: FIFO) ในโครงสร้างข้อมูลลักษณะเข้าก่อนออกก่อนนี้ ข้อมูลแรกสุดที่ถูกเพิ่มเข้าไปในแถวคอยจะเป็นข้อมูลแรกที่ถูกดึงออก ซึ่งก็เท่ากับว่า ความจำเป็นที่ว่า เมื่อมีข้อมูลหนึ่งถูกเพิ่มเข้ามาแล้ว ข้อมูลที่ถูกเพิ่มก่อนหน้านี้ทั้งหมดจะต้องถูกดึงออกก่อนที่ข้อมูลใหม่จะถูกใช้งาน คล้ายกับการเข้าแถวซื้อของในชีวิตประจำวัน แถวคอยจัดเป็นวิธีการจัดการเข้า-ออกของข้อมูลอีกแบบหนึ่ง เป็นโครงสร้างข้อมูลที่นำมาใช้ในการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์หลายประการ อาทิแถวคอยในการทำงานของเครือข่าย การออกแบบการทำงานระบบท่อ (pipeline) เป็นต้น.

ใหม่!!: แถวลำดับและแถวคอย · ดูเพิ่มเติม »

โร้ป

ตัวอย่างการเก็บคำว่า‘The quick brown fox’ในโร้ป ตัวอย่างการทำ‘abcdef’ให้สมดุล ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น โร้ป (Rope; แปลเป็นภาษาไทยว่า เชือก) จัดเป็นโครงสร้างข้อมูลชนิดหนึ่งที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลประเภท สตริง (string) และมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานแทนที่สตริง แต่เป็นสตริงที่มีขนาดที่ใหญ่กว่าสตริงทั่วไปในบางครั้งจึงเรียกว่า Heavyweight String โดยจะใช้ต้นไม้แบบทวิภาคในการเก็บข้อมูลที่เป็นแถวลำดับของสายข้อความ โดยหลักการของโร้ปนั้นได้ถูกนำเสนอไว้ในบทความทางวิชาการที่ชื่อว่า "Ropes: an Alternative to Strings".

ใหม่!!: แถวลำดับและโร้ป · ดูเพิ่มเติม »

ไฟล์คอมพิวเตอร์

ฟล์ (file) หรือ แฟ้ม ในทางคอมพิวเตอร์หมายถึงกลุ่มระเบียนสารสนเทศใด ๆ หรือทรัพยากรสำหรับเก็บบันทึกสารสนเทศ ซึ่งสามารถใช้งานได้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และโดยปกติจะอยู่บนหน่วยเก็บบันทึกถาวรบางชนิด ซึ่งไฟล์นั้นคงทนถาวรในแง่ว่า ยังคงใช้งานได้สำหรับโปรแกรมอื่นหลังจากโปรแกรมปัจจุบันใช้งานเสร็จสิ้น ไฟล์คอมพิวเตอร์ถือได้ว่าเป็นของทันสมัยคู่กับเอกสารกระดาษ ซึ่งแต่เดิมจะถูกเก็บไว้ในตู้แฟ้มเอกสารของสำนักงานและห้องสมุด จึงเป็นที่มาของคำนี้ ไฟล์อาจเรียกได้หลายชื่อเช่น แฟ้มข้อมูล, แฟ้มอิเล็กทรอนิกส์, แฟ้มคอมพิวเตอร์, แฟ้มดิจิทัล, ไฟล์ข้อมูล, ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์, ไฟล์คอมพิวเตอร์, คอมพิวเตอร์ไฟล์, เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ.

ใหม่!!: แถวลำดับและไฟล์คอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไลบรารีแม่แบบมาตรฐาน

ลบรารีแม่แบบมาตรฐาน (Standard Template Library / STL) เป็นไลบรารีของภาษาซีพลัสพลัส ประกอบไปด้วยคลาสของขั้นตอนวิธี คอนเทนเนอร์ (โครงสร้างข้อมูลและชนิดข้อมูล) ฟังก์เตอร์ และ ตัววนซ้ำ ไลบรารีแม่แบบมาตรฐานของ ISO C++ ได้อ้างอิงตามไลบรารีแม่แบบมาตรฐานของ Silicon Graphics (SGI).

ใหม่!!: แถวลำดับและไลบรารีแม่แบบมาตรฐาน · ดูเพิ่มเติม »

เมทริกซ์

มทริกซ์ เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ matrix บ้างก็อ่านว่า แมทริกซ์ สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: แถวลำดับและเมทริกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องคิดเลข

็ดส่วน ที่สามารถดำเนินการทางเลขคณิตพื้นฐานได้ เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่มีจอภาพผลึกเหลวแบบดอตเมทริกซ์ เครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์ มักเรียกโดยย่อว่า เครื่องคิดเลข หรือ เครื่องคำนวณ คือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับดำเนินการทางเลขคณิตพื้นฐานหรือซับซ้อน มักมีขนาดเล็ก พกพาได้ และราคาไม่แพง เครื่องคิดเลขสมัยใหม่พกพาสะดวกกว่าคอมพิวเตอร์เป็นส่วนมาก อย่างไรก็ตาม พีดีเอก็มีขนาดพอ ๆ กับเครื่องคิดเลขมือถือและอาจมีบทบาทเข้ามาแทนที่ เครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์แบบโซลิดสเตตเครื่องแรกผลิตขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 ซึ่งสร้างโดยใช้หลักการของเครื่องมือคำนวณในประวัติศาสตร์ อย่างเช่นลูกคิดที่ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล และเครื่องคิดเลขเชิงกลที่ประดิษฐ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้น เครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์มีพัฒนาการควบคู่ไปกับคอมพิวเตอร์แอนะล็อกในสมัยนั้น เครื่องคิดเลขขนาดกระเป๋าเริ่มจำหน่ายในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากหำอินเทลประดิษฐ์ไมโครโพรเซสเซอร์ชิ้นแรก (อินเทล 4004) ให้กับเครื่องคิดเลขของบิซซิคอม (Busicom) เครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่มีหลากหลายแบบตั้งแต่ขนาดเท่าบัตรเครดิต ราคาถูก แจกฟรี ไปจนถึงขนาดตั้งโต๊ะ แข็งแรง มีเครื่องพิมพ์ในตัว เครื่องคิดเลขเป็นที่นิยมในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 เนื่องจากการคิดค้นวงจรรวมทำให้เครื่องคิดเลขมีขนาดเล็กลงและราคาถูกลง ในช่วงปลายทศวรรษนั้น ราคาของเครื่องคิดเลขก็ลดลงจนถึงระดับที่ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อได้ และกลายเป็นเครื่องมือสามัญในโรงเรียน ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ย้อนไปจนถึงยูนิกซ์รุ่นแรก ๆ ก็บรรจุโปรแกรมคำนวณเลขมาด้วยอย่าง ดีซี (dc) และ ภาษาฮอก (hoc) และฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการคำนวณก็ถูกบรรจุลงในอุปกรณ์ประเภทพีดีเอแทบทุกชนิด นอกเหนือจากเครื่องคิดเลขสำหรับจุดประสงค์ทั่วไปแล้ว ก็ยังมีเครื่องคิดเลขที่ออกแบบมาเพื่อตลาดเฉพาะทาง ตัวอย่างเช่น เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์ที่บรรจุฟังก์ชันการคำนวณตรีโกณมิติและสถิติ เป็นต้น เครื่องคิดเลขบางชนิดก็สามารถประมวลพีชคณิตคอมพิวเตอร์ได้ เครื่องคิดเลขกราฟิกก็สามารถใช้วาดกราฟของฟังก์ชันที่นิยามบนเส้นจำนวนจริงหรือมิติที่สูงกว่าในปริภูมิแบบยุคลิดได้ ในปี..

ใหม่!!: แถวลำดับและเครื่องคิดเลข · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อาร์เรย์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »