โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แจ๊สฟิวชัน

ดัชนี แจ๊สฟิวชัน

แจ๊สฟิวชัน (Jazz fusion) ในบางครั้งอาจเรียกว่า ฟิวชัน (fusion) หรือ แจ๊สร็อก (jazz-rock) เป็นแนวดนตรีประสานที่พัฒนามาจากการผสมของดนตรีฟังก์และอาร์แอนด์บี จังหวะและการพัฒนามาและเอฟเฟกอิเล็กทรอนิกส์ของเพลงร็อก มีเครื่องหมายประจำจังหวะที่ซับซ้อน ที่ไม่ได้เอามาจากดนตรีตะวันตก เครื่องดนตรีทั่วไปมีส่วนประกอบเข้าใกล้ดนตรีแจ๊สไปยังการแสดงของกลุ่มยืดยาว โดยมักจะใช้เครื่องเป่าลมและทองเหลืองและการแสดงในระดับสูงของเทคนิคในการใช้เครื่องดนตรี คำว่า "แจ๊สร็อก" มักถูกใช้เป็นคำพ้องกับ "แจ๊สฟิวชัน" เช่นเดียวกับดนตรีที่เล่นในปลายทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ยุคที่วงร็อกได้เพิ่มองค์ประกอบของดนตรีแจ๊ส หลังจากได้รับความนิยมในช่วงปีทศวรรษ 1970 ที่ฟิวชันขยายแนวทางการแสดงสด และการทดลองปฎิบัติต่อในทศวรรษที่ 1980 และ 1990 อัลบัมฟิวชันเหล่านั้นจะทำโดยกลุ่มเดียวกันหรือศิลปินที่อาจรวมถึงความหลากหลายของสไตล์ ตรงกันข้ามกว่าการรวบรวมสไตล์ดนตรี ฟิวชันสามารถมองได้ว่าประเพณีดนตรีหรือการกระชั้นชิด หมวดหมู่:แนวดนตรี หมวดหมู่:ดนตรีแจ๊ส.

32 ความสัมพันธ์: ฟิล คอลลินส์ฟิวชันกิล อีแวนส์มิดไนต์เลิฟเวอร์ร็อกคูนลักกีซัมเมอร์เลดีศรายุทธ สุปัญโญสมูธแจ๊สออลเทอร์นาทิฟฮิปฮอปออโต้บาห์นอำนาจ ลูกจันทร์อินฟินิตี้ (วงดนตรี)ธนะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทยที-สแควร์คีย์บอร์ดไฟฟ้าแกรี มัวร์แลร์รี คาร์ลตันแจ๊สแจ๊สแร็ปแคสซิโอเปีย (แก้ความกำกวม)โพรเกรสซิฟร็อกโคซี พาวเวลล์ไมล์ส เดวิสไมค์ พอร์ตนอยเมกมีอะสตาร์เมจิก (อัลบั้มที-สแควร์)เรย์ พาร์กเกอร์ จูเนียร์เอาต์แคสต์เอียน กิลแลนเฮอร์บี แฮนค็อกเจป็อปCasiopea

ฟิล คอลลินส์

ฟิล คอลลินส์ (มีชื่อเต็มว่า Philip David Charles Collins) เกิดเมื่อปี 30 มกราคม ค.ศ. 1951 ในเมืองชิสิก, ลอนดอน ประเทศอังกฤษ.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและฟิล คอลลินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิวชัน

ฟิวชัน (fusion) ในภาษาอังกฤษหมายถึง การรวม การหลอมเข้าด้วยกัน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและฟิวชัน · ดูเพิ่มเติม »

กิล อีแวนส์

อียน เออร์เนสต์ กิลมอร์ "กิล" อีแวนส์ หรือ กิล อีแวนส์ นักเปียโนแจ๊ส นักเรียบเรียงเสียงประสาน นักแต่งเพลง และหัวหน้าวงดนตรีชาวอเมริกัน เป็นนักดนตรีที่เคยร่วมงานกับไมล์ส เดวิส และร่วมพัฒนาดนตรีสไตล์คูลแจ๊ส โมดัลแจ๊ส ฟรีแจ๊ส และแจ๊สร็อก อีแวนส์เดิมชื่อ เอียน เออร์เนสต์ กิลมอร์ กรีน เกิดที่โทรอนโท ประเทศแคนาดา ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอีแวนส์ ตามพ่อเลี้ยง และย้ายตามครอบครัวมาอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา แล้วย้ายไปทำงานที่นิวยอร์ก เป็นนักเรียบเรียงเสียงประสาน และได้ร่วมวงกับไมล์ เดวิส และเจอร์รี มัลลิแกน และทำงานอยู่เบื้องหลังผลงานชุดต่างๆ ของเดวิส รวมทั้งผลงานในนามของตัวเอง กิล อีแวนส์ ได้รับคัดเลือกอยู่ในรายชื่อหอเกียรติยศของนิตยสารดาวน์บิทในปี..

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและกิล อีแวนส์ · ดูเพิ่มเติม »

มิดไนต์เลิฟเวอร์

มิดไนต์เลิฟเวอร์ (Midnight Lover ミッドナイト・ラヴァー) เป็นอัลบั้มชุดที่สอง ของ ที-สแควร์ ออกวางแผงในปี..

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและมิดไนต์เลิฟเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ร็อกคูน

ร็อกคูน (Rockoon; ロックーン) เป็นอัลบั้มชุดที่สี่ ของ ที-สแควร์ ออกวางแผงในปี พ.ศ. 2524.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและร็อกคูน · ดูเพิ่มเติม »

ลักกีซัมเมอร์เลดี

ลักกีซัมเมอร์เลดี (Lucky Summer Lady; ラッキー・サマー・レディー) เป็นอัลบั้มชุดแรกของวง ทีแสควร์ ซึ่งวางแผงเมื่อปี พ.ศ. 2522.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและลักกีซัมเมอร์เลดี · ดูเพิ่มเติม »

ศรายุทธ สุปัญโญ

รายุทธ สุปัญโญ (ชื่อเล่น:อ็อด,เกิด 13 กันยายน พ.ศ. 2493) เป็นนักดนตรี, นักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์เพลง อดีตสมาชิกวงดนตรีโอเรียลเต็ล ฟังก์ และเป็นสมาชิกวงแกรนด์เอ็กซ์ ในตำแหน่งคีย์บอร์ด, เปียโน รวมถึงเป็นผู้ก่อตั้งวงอินฟินิตี้ ศรายุทธ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในด้านการเรียบเรียงเสียงประสาน การแต่งเพลง และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการทำดนตรีให้กับศิลปินหลายคน รวมทั้งเป็นบุคคลสำคัญในวงการเพลงแจ๊สของประเทศไทยโดยเคยได้รับรางวัลสีสันอวอร์ด,คมชัดลึก อวอร์ด และ รางวัลพระพิฆเนศทองคำพระราชทาน ร่วมกับวงอินฟินิตี้ อีกทั้งยังได้รางวัล Life Time Achivement Award ในฐานะผู้มีคุโณปการต่อวงการดนตรีแจ๊สของประเทศไท.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและศรายุทธ สุปัญโญ · ดูเพิ่มเติม »

สมูธแจ๊ส

มูธแจ๊ส (Smooth jazz) เป็นแนวดนตรีย่อยของแจ๊สเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ได้รับอิทธิพลจากดนตรีแนว อาร์แอนด์บี ฟังก์ และ ป็อป.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและสมูธแจ๊ส · ดูเพิ่มเติม »

ออลเทอร์นาทิฟฮิปฮอป

ออลเทอร์นาทิฟฮิปฮอป (alternative hip hop) หรือ ออลเทอร์นาทิฟแร็ป เป็นแนวเพลงที่อธิบายความกว้างขวางออกไปของแนวเพลงฮิปฮอป โดยออลมิวสิก อธิบายไว้ว่า ออลเทอร์นาทิฟแร็ปหมายถึงกลุ่มฮิปฮอปที่ปฏิเสธเพลงแบบเดิม ๆ ที่มีอยู่ของแร็ปอย่างแก๊งสตา, เบส, ฮาร์คอร์ และปาร์ตี้แร็ป พวกเขาละลายแนวเพลง โดยใส่ฟังก์ ป็อป/ร็อก หรือแจ๊ซ โซล และเร้กเก้เข้าไป สตีเฟน ร็อดริก อ้างถึงวงอย่าง อาร์เรสเตด เดเวล็อปเมนต์, เบสเฮด และ เดอะ ดิสโพเซเบิล ฮีโรส์ ออฟ ฮิปฮอปริซี เป็นตัวอย่างของออลเทอร์นาทิฟฮิปฮอป โดยมีวงอย่าง อาร์เรสเตด เดเวล็อปเมน และเดอะฟูจีส์ ที่ถือเป็นวงแรก ๆ ที่ประสบความสำเร็จในกระแสหลัก และตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 90 ค่ายเพลงอย่าง รอว์คุส มีศิลปินที่ประสบความสำเร็จกับแนวเพลงออลเทอร์นาทิฟแร็ปอย่าง แบล็กสตาร์, ฟาโรห์ มอนช์ และ มอส เดฟ นอกจากนั้นแล้ว ศิลปินในแนวออลเทอร์นาทิฟแร็ปส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะมีแฟนในกลุ่มของออลเทอร์นาทิฟร็อกด้วย ซึ่งอาจมากกว่ากลุ่มคนฟังฮิปฮอปหรือป็อป.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและออลเทอร์นาทิฟฮิปฮอป · ดูเพิ่มเติม »

ออโต้บาห์น

ออโต้บาห์น เป็นวงดนตรีแจ๊สสัญชาติไทย มีผลงานอัลบั้มเพลงกับค่ายคีตา เรคคอร์ดสจำนวนสองชุด ในช่วงปี พ.ศ. 2534-2535 โดยมีเพลง "ทนได้ทนไป" และ "แด่เธอ" เป็นที่รู้จัก สมาชิกวง ได้แก่ อัธพนธ์ มกรานนท์(เอ็ดดี้) บุตรชายของอาคม มกรานนท์, โชติชู พึ่งอุดม(ป้อม) ร่วมกับ ธรรมนูญ หะยีสาและ(นุ) และ สมโชค เล้าเปี่ยมทอง(เกี๊ยก) จากวงร็อคเคสตร้า เดิมก่อตั้งโดย หรั่ง ร็อคเคสตร้า ร่วมด้วยเพื่อนร่วมวงเก่า คือ เกี๊ยก และ นุ เล่นเพลงแนวแจ๊ส แต่หรั่งได้ถอนตัวไปออกอัลบั้มเดี่ยวของตน จึงได้ เอ็ดดี้ และ ป้อม เข้าร่วมวง โดยเล่นประจำอยู่ที่ร้าน เดอะ กลาส ซึ่งตั้งอยู่ในบริษัท บัตเตอร์ฟลาย ของ จิรพรรณ อังศวานนท์ ซึ่งสมาชิกวงยังได้มีโอกาสคลุกคลีในการทำเพลงประกอบภาพยนตร์และโฆษณาให้กับบัตเตอร์ฟลาย ต่อมาจึงทำอัลบั้มเพลงในที่สุด คือ "Autobahn"(2534) และ "ความรัก"(2535) โดยมี จิรพรรณ ดูแลการผลิต และได้ทีมนักแต่งเพลงจากคีตา อาทิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต, เชษฐา ยารสเอก มาแต่งเพลงให้ เอ็ดดี้ และ ป้อม มีอัลบั้มเดี่ยวภายหลังการแยกวง โดยที่สมาชิกทั้งหมดยังคงรับงานเล่นดนตรีทั่วไป.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและออโต้บาห์น · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจ ลูกจันทร์

หน้าปกอัลบั้ม ขอเดี่ยวด้วยคนนะ จ่าเอก อำนาจ ลูกจันทร์ หรือ เป้า คาราบาว (20 มีนาคม พ.ศ. 2492 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) เป็นอดีตมือกลองของวงคาราบาว โดยเป็นมือกลองคนแรกของวง และมีผลงานสำคัญร่วมกับวงคาราบาวหลายอัลบั้มเช่น ท.ทหารอดทน, เมดอินไทยแลนด์, อเมริโกย, ประชาธิปไตย, เวลคัมทูไทยแลนด์, ทับหลัง รวมถึงเคยเป็นหนึ่งในนักแสดงนำในภาพยนตร์เรื่องเสียงเพลงแห่งเสรีภาพในปี พ.ศ. 2528 เป้า คาราบาว จัดเป็นมือกลองของคาราบาวที่อยู่ในช่วงที่ทางวงประสบความสำเร็จสูงสุด โดยหลังจากที่แยกออกจากวงคาราบาว เป้าได้ออกผลงานเพลงร่วมกับเทียรี่ เมฆวัฒนาและธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ในอัลบั้มขอเดี่ยวด้วยคนนะ ในปี พ.ศ. 2532 ซึ่งประสบความสำเร็จทางยอดขายอย่างมาก จากนั้นได้หันไปสอนดนตรีและทำธุรกิจส่วนตัว ก่อนจะกลับมาทัวร์คอนเสิร์ตและออกอัลบั้มร่วมกับคาราบาวอีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 ในอัลบั้มหากหัวใจยังรักควาย รวมถึงเป็นแขกรับเชิญในคอนเสิร์ตใหญ่ของวงหลายครั้ง โดยเป้า คาราบาว ถึงจะเป็นคนที่มีรูปร่างเล็ก มีส่วนสูงต่ำกว่า 160 เซนติเมตร แต่สามารถตีกลองได้อย่างหนักหน่วงในเพลงร็อก และสามารถตีกลองได้หลายรูปแบบทั้งแนวป๊อป, ฟิวชั่นแจ๊ส รวมถึงเพลงลูกทุ่ง นอกจากนี้ยังเคยบันทึกเสียงกลองให้กับศิลปินต่างๆเป็นจำนวนมากนอกเหนือจากวงคาราบาว ในช่วงบั้นปลายชีวิต เป้า คาราบาว ประสบปัญหาทางการเงินและมีปัญหาสุขภาพ โดยถูกธนาคารกรุงเทพฟ้องคดีแพ่ง ก่อนจะถูกยึดบ้านและที่ดินเพื่อนำมาชำระหนี้ ในปี พ.ศ. 2544 ต่อมาเป้า คาราบาว เริ่มมีอาการล้มป่วยเกี่ยวกับระบบหัวใจและต้องผ่าตัดหมอนรองกระดูก ทำให้ไม่สามารถเดินได้อย่างปกติและไม่สามารถตีกลองอย่างหนักได้ ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2552 เป้า คาราบาว ได้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เนื่องจากปัญหาหนี้สิน จากนั้นเป้า คาราบาว ได้ต่อสู้กับอาการของโรคหัวใจและหมอนรองกระดูกเรื่อยมา และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลกลางเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 จากอาการเส้นเลือดในสมองแตก.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและอำนาจ ลูกจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

อินฟินิตี้ (วงดนตรี)

อินฟินิตี้ (infinity) เป็นวงดนตรีแนวฟิวชั่นแจ๊ส วงแรกของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของนักดนตรีของไทยที่รักในบทเพลงแจ๊ส โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งคือ ศรายุทธ สุปัญโญ และเทวัญ ทรัพย์แสนยากร โดยเริ่มแรกนั้นได้รวมตัวกันเล่นตามโรงแรม และตามผับต่างๆ ต่อมาจึงออกอัลบั้มเป็นของตนเอง.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและอินฟินิตี้ (วงดนตรี) · ดูเพิ่มเติม »

ธนะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทย

นะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทย หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ อ้วน คาราบาว เป็นสมาชิกคนล่าสุดของวงคาราบาว เดิมมีชื่อว่า เทพผจญ พันธุ์พงษ์ไทย มีชื่อเล่นว่า อ้วน เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 ที่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา จบการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม อ้วนมีความผูกพันกับคาราบาวมาตั้งแต่ยังเด็ก เมื่อน้าของอ้วนเปิดเพลงเพื่อชีวิต รวมทั้งเพลงของคาราบาวให้ได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ๆ เฉพาะคาราบาวน้าเปิดเพลงในอัลบั้มชุดที่ 4 ของวงคาราบาว คือ ท.ทหารอดทน เริ่มต้นการเล่นดนตรีจากการเป็นนักดนตรีในวงดุริยางค์ เมื่อเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา ที่จังหวัดนครราชสีมาซึ่งเป็นบ้านเกิดของอ้วนเอง อ้วนเล่นดนตรีในฐานะนักดนตรีอาชีพ ด้วยการเป็นแบ๊คอัพให้กับนักร้องในบริษัทแกรมมี่หลายคน เช่น แอม - เสาวลักษณ์ ลีละบุตร, ตั้ม - สมประสงค์ สิงหวนวัฒน์, ก้อย - ศรัณย่า ส่งเสริมสวัสดิ์, ปั่น - ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว หรือ หนู มิเตอร์ ในชื่อวง Power มีโอกาสเข้าร่วมงานกับคาราบาวครั้งแรก จากการชักชวนของดุก - ลือชัย งามสม ในการบันทึกเสียงเพลงประกอบการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 เมื่อปี พ.ศ. 2541 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ โดยอ้วนเป็นมือกลอง อีกทั้งยังได้เรียนรู้ทฤษฎีดนตรีเพิ่มเติมจากบรูซ แกสตัน แห่งวงฟองน้ำอีกด้วย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2545 เมื่อโก้ - ชูชาติ หนูด้วง มือกลองของวงป่วยเป็นโรคปลายเส้นประสาทอักเสบ ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล ตรงกับช่วงเวลาที่คาราบาวกำลังจะทำอัลบั้มพิเศษชุด คาราบาว อินเตอร์ อ้วนจึงมาทำหน้าที่มือกลองแทน และได้รับการตอบรับเป็นสมาชิกจาก แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล หัวหน้าวง เมื่อได้หยิบขลุ่ยขึ้นมาเป่าขณะเล่นคอนเสิร์ตที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสามารถ อ้วนจึงกลายมาเป็นสมาชิกของคาราบาวอย่างเต็มตัว และถือเป็นสมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุด ในคอนเสิร์ต 20 ปี คาราบาว เรื่องราวของคน ดนตรี และเขาควาย เมื่อต้นปี พ.ศ. 2546 นั้น อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี อดีตสมาชิกซึ่งปกติจะเป็นผู้เป่าขลุ่ยและแซกโซโฟนเกิดติดธุระสำคัญที่ประเทศญี่ปุ่น ไม่อาจมาร่วมแสดงได้ อ้วนจึงรับหน้าที่นี้แทน โดยมีเวลาฝึกแซกโซโฟนก่อนคอนเสิร์ตจะเริ่มเพียง 3 วันเท่านั้น ปัจจุบัน อ้วน รับหน้าที่ทั้งเล่นกลอง, คีย์บอร์ด, ขลุ่ย, แซกโซโฟน ตลอดจนร้องประสานด้วย รวมทั้งร้องนำในเพลง สุรชัย 3 ช่า โดยเสมือนตัวแทนของ สุรชัย จันทิมาธร หรือ หงา คาราวาน โดยมีนักดนตรีในดวงใจ คือ อากิระ จิมโบ มือกลองแห่งวง Casiopea วงฟิวชั่นแจ๊สของประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและธนะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ที-สแควร์

ที-สแควร์ (T-Square) คือวงดนตรีแนวแจ๊สฟิวชันจากประเทศญี่ปุ่น ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประเทศญี่ปุ่น เดิมชื่อวงว่า เดอะสแควร์ (The Square) ก่อตั้งวงโดย มาซาฮิโระ อันโดะ ในปี 1976 ขณะที่เขาศึกษาอยู่ในวิทยาลัย โดยออกผลงานอัลบั้มชุดแรกชุด Lucky Summer Lady ในปี 1978 โดยมีสมาชิกแรกเริ่มคือ ทาเคชิ อิโต้ (Sax),คิโยฮิโกะ เซมบ้า (เพอร์คัสชั่น), ยูจิ มิคุริยะ (กีต้าร์), ยูจิ นากามูระ (เบส), ไมเคิ่ล เซนจิ คาวาอิ (กลอง), มิยางิ จุนโกะ (เปียโน) และ ชิโร่ ซางิสึ (คียบอร์ด) หลังจากออกอัลบั้ม Midnight Lover มาในปีเดียวกัน Mikuriya ก็ออกจากวงไป สมาชิกของวงจึงเหลือหกคน (ซางิสึเป็นเพียง Support Member จนถึงชุด Make Me A Star) หลังจากทำชุด Make Me A Star ในปี1979 อัลบั้มชุด Rockoon ก็ได้ ยุน อาโอยาม่า ก็เข้ามาเป็นมือกลองแทน คาวาอิ และได้คุเมะ ไดซากุ อดีตมือคียบอร์ดวง Prism เข้ามาแทน จุนโกะ Rockoon เป็นอัลบั้มแรกที่ T-Square มีเพลงฮิตคือ Tomorrow Affair ซึ่งถูกนำไปเป็นเพลงประกอบละครแนวดรามาเรื่องหนึ่งในญี่ปุ่น หลังจากนั้นในปี1981 ก็ออกอัลบั้มชุด Magic โดยมีโทโยยูกิ ทานากะ เข้ามาเป็นมือเบสแทนนากามูระ ส่วนอาโอยาม่า ได้เอจิ ซิมิสึมาแทน ส่วนเซมบ้า ก็ออกจากวงไป อัลบั้มชุดนี้เริ่มเข้าสู่ยุคที่T-Squareกลายเป็นแจ๊สฟิวชั่นแบบที่เราคุ้นเคยกันดี (ซึ่งเพลง It's Magic ในชุดนี้ต่อมาถูก มาร์ลีน นักร้องชาวฟิลิปปินส์ ที่ไปดังในญี่ปุ่นเอามาร้องใหม่จนดังระเบิด) ปี1982อัลบั้มชุด 脚線美の誘惑 (Kyakusenbi No Yuhwaku) ออกมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสมาชิกอีกครั้งโดยได้ ฮิโรทากะ อิซึม เข้ามาเป็นมือคียบอร์ด/เปียโนแทนที่ ไดซากุ และ โทรุ ฮาเซเบ้ เข้ามาเป็นมือกลอง T-Square กับไลน์อัพยุคนี้เก็บเกี่ยวชื่อเสียงได้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปี1984 ที่ออกอัลบั้มชุด Adventures T-Square ก็มีคอนเสิร์ตใหญ่เป็นครั้งแรกที่มีชื่อว่า Live Adventures จนกระทั่งปี 1985 กับอัลบั้มชุด R.E.S.O.R.T ที่เพลง Omens Of Love และ Forgotten Saga กลายเป็นเพลงในตำนานของวงไป หลังจากนั้น ฮิโรยูกิ โนริทากะ ก็เข้ามาแทน ฮาเซเบ้ ในปีต่อมา กับชุด S.P.O.R.T.S และ มิตซึรุ ซูโต้ เข้ามาเป็นมือเบสแทน ทานากะ ในชุด Truth ในปี 1987 เพลง ‘Truth’ ของ The Square ถูกนำไปประกอบการแข่งรถ F1 Grand Prix ทำให้ชื่อเสียงของวงโด่งดังถึงขีดสุด และ อันโดะ ถูกว่าจ้างให้ทำเพลงให้กับ Gran Turismo Series ซึ่งอัลบั้มนี้ถูกขายไปกว่า 36 ล้านแผ่นทั่วโลก ต่อมาในปี 1989 วงเปลี่ยนชื่อมาเป็น ที-สแควร์ ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในการทัวร์คอนเสิร์ตในสหรัฐอเมริกา หลังจากชุด Natural ในปี1990 มาซาโตะ ฮอนดะ เข้ามาเป็นมือแซ็ก/EWI แทน อิโต้ พร้อมกับแนวเพลงที่หนักขึ้นมา ยุค90ยังคงเป็นยุคที่T-Square รักษาชื่อเสียงและความสำเร็จไว้ได้อย่างดี จนกระทั่งปี1998 ทาดาชิ นัมบะ เข้ามาแทน อิซึมิ และ ทากาฮิโร่ มิยาซากิ เข้ามาแทน ฮอนดะ ในชุด Gravity พร้อมกับมีคอนเสิร์ตใหญ่ฉลองครบ20ปีของวง โดยมีสมาชิกทั้งหมดจากยุคแรกจนปัจจุบันเข้ามาร่วมเล่นกัน แต่ไลน์อัพนี้อยู่ถึงปี 1999 ในชุด T-Square เท่านั้น อัลบั้มFriendship ในปี2000 ที-สแควร์เหลือสมาชิกเพียง อันโดะ เท่านั้น แต่ก็ได้ อิโต้ กลับมาอีกครั้ง ส่วนสมาชิกนอกนั้นให้นักดนตรีสตูดิโอแทนจากนั้นกลับมาใช้ชื่อ The Square อีกครั้งในปี 2003 ในการออกอัลบั้มฉลองครบรอบ 25 ปี คืออัลบั้ม Spirits โดย อิซึมิ, โนริทาเกะ และ ซูโต้ กลับเข้าร่วมวงอีกครั้ง รวมทั้งมีสมาชิกใหม่ด้วยคือ เคย์โซ คาวาโน่ (คียบอร์ด) ในปีนี้ยังมีการจัดคอนเสิร์ตครบรอบ 25ปีเช่นกัน หลังจากชุดSpirits จบไป ในปี 2004 อัลบั้มชุด "Groove Globe" ก็ได้มือกลองคนใหม่คือ ซาโตชิ บันโดะ และออกอัลบั้ม Passion Flower ในปี 2005 และออกทัวร์คอนเสิร์ตกว่า 19 เมืองทั่วญี่ปุ่น และ ออกอัลบั้มที่ 33 ในชื่อ 33rd ในปี 2007 พวกเขาออกอัลบั้มที่ 34 ชุด Wonderful Days เพื่อฉลองครบรอบ 30 ปี โดยเป็นการรวมสมาชิก ของวง The Square และ T-Square ซึ่งมีสมาชิกรวมกันมากถึง 9 ชีวิตในนาม T-Square Super Band โดยมี อันโดะ (กีต้าร์), อิโต้ และ มิยาซากิ (แซ็ก, EWI & ฟลุต), อิซึมิ (เปียโน), คาวาโน่ (คียบอร์ด), ทานากะ และ ซูโต้ (เบส) และ โนริทาเกะ กับ บันโดะ (กลอง) และก็จัดคอนเสิร์ตใหญ่ที่โปรโมตอัลบั้มนี้โดยเฉพาะคือ T-SQUARE SUPER BAND Concert Tour 2008 Final “Wonderful Days” และคอนเสิร์ตใหญ่อีกงานที่ฉลองครบรอบ 30 ปีของวง.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและที-สแควร์ · ดูเพิ่มเติม »

คีย์บอร์ดไฟฟ้า

ีย์บอร์ดไฟฟ้า คีย์บอร์ดไฟฟ้า (Electronic keyboard) หรือ คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้ว (Keyboard instrument) มีแป้นกดเสียงโน้ตที่มีรูปร่างคล้ายกับแป้นกดเสียงโน้ตของเปียโน และเป็นเครื่องดนตรีที่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าสำหรับระบบการทำงานเสมอ คีย์บอร์ดไฟฟ้าจะสร้างเสียงขึ้นมาทันทีเมื่อแป้นกดเสียงโน้ตของมันถูกกด โดยจะมีการผลิตเสียงผ่านระบบคอมพิวเตอร์ภายในตัวเครื่อง โดยทั่วไปแล้ว คีย์บอร์ดไฟฟ้าจะมีปุ่มตัวเลขเล็กๆ หรือ จานหมุนเล็กๆ สำหรับใช้เปลี่ยนแปลงรูปแบบเสียง เพื่อการร่วมบรรเลงให้กับแนวเพลงที่แตกต่างกันออกไป รูปแบบเสียงภายในคีย์บอร์ดไฟฟ้านั้น จะมีให้ผู้ใช้ได้เลือก โดยมักจะมีตั้งแต่เสียง เปียโน, ฮาร์ปซิคอร์ด, แคลฟวิคอร์ด, ออร์แกน, กีต้าร์, กีตาร์เบส, ทรัมเป็ต, ทรอมโบน, แซกโซโฟน, หีบเพลงชัก รวมไปถึงเสียงกลุ่มเครื่องสายภายในวงออร์เคสตรา, เสียงกลุ่มเครื่องเป่าภายในวงโยธวาทิต, เสียงสังเคราะห์ชนิดต่างๆจากเครื่องสังเคราะห์เสียง รวมไปถึงเสียงเครื่องเคาะประกอบจังหวะ เช่น คองกา, บองโก, ไทรแองเกิล, แทมบูรีน, มาราคัส, และกลองชุด เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว คีย์บอร์ดไฟฟ้ามักถูกใช้ร่วมบรรเลงกับดนตรีสากลหลากหลายแนว เช่น ป็อป, ร็อค, แจ๊ส, อาร์แอนด์บีร่วมสมัย, และดนตรีอีเลกโทรนิก เป็นต้น คีย์บอร์ดไฟฟ้ายังได้รับความนิยมมากในช่วงทศวรรษที่ 80 ในการบรรเลงดนตรีแนว นิวเวฟ, โปรเกรสซีฟร็อค, นิวเอจ, แจ๊สฟิวชัน, ยูโรแดนซ์, และซินธ์ป็อป นอกจากดนตรีสมัยใหม่แล้ว คีย์บอร์ดไฟฟ้ายังใช้ร่วมบรรเลงกับดนตรีพื้นบ้านบางแนวได้เช่นกัน เช่น ดนตรีลูกทุ่ง เป็นต้น ด้วยขนาดที่กะทัดรัดและความสามารถในการจำลองเสียงเครื่องดนตรีสากลหลากหลายประเภท ทำให้คีย์บอร์ดไฟฟ้ายังคงได้รับความนิยมจากเหล่านักดนตรีมาจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและคีย์บอร์ดไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

แกรี มัวร์

รเบิร์ต วิลเลียม แกรี มัวร์ (4 เมษายน ค.ศ. 1952 - 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011) เป็นนักกีตาร์ นักร้อง นักแต่งเพลงแนวบลูส์ร็อกจากเบลฟาสต์ ไอร์แลนด์เหนือ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในชื่อ "แกรี มัวร์" มัวร์เริ่มอาชีพการแสดงดนตรีตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1960 เมื่ออายุเพียง 17 ปี เคยแสดงดนตรีร่วมกับนักดนตรีในระดับตำนานเช่น บี. บี. คิง, อัลเบิร์ต คิง, จอร์จ แฮร์ริสัน มาร์ก นอฟเลอร์ เดวิด กิลมอร์ เขามีผลงานทดลองในแนวทางต่างๆ มากมาย ทั้งดนตรีร็อก แจ๊ส บลูส์ คันทรี อิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดร็อก และเฮฟวีเมทัล ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา คืออัลบัมและซิงเกิล Still Got the Blues ในปี 1990 ผลงานชิ้นนี้ถูกกล่าวหาว่าลอกเลียนท่อนโซโลกีตาร์มาจากผลงานเพลงในปี 1974 ชื่อ Nordrach ของวงดนตรีเยอรมันชื่อ Jud's Gallery มัวร์ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ว่าเขาไม่รู้จักเพลงดังกล่าว ศาลเยอรมันมีคำตัดสินเมื่อปี 2008 ว่ามัวร์อาจไม่ได้จงใจ แต่เนื่องจากทำนองเพลงทั้งสองใกล้เคียงกันมากจึงถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และมัวร์ต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับเจอร์เกน วินเทอร์ หัวหน้าวง Jud's Gallery เป็นจำนวนเงินที่ไม่ได้ระบุ แกรี มัวร์เสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยวัยเพียง 58 ปี ขณะเดินทางไปพักผ่อนในประเทศสเปนกับแฟนสาว สันนิษฐานว่าเนื่องจากอาการหัวใจล้มเหลว.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและแกรี มัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

แลร์รี คาร์ลตัน

ลอว์เรนซ์ "แลร์รี" ยูยีน คาร์ลตัน (Lawrence Eugene Carlton) นักกีตาร์ฟิวชั่นแจ๊ส ร็อก และป็อปชาวอเมริกัน เจ้าของรางวัลแกรมมีสามรางวัล ในฐานะนักดนตรี และนักแต่งเพลง จากการเสนอชื่อเข้าชิงสิบแปดครั้ง.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและแลร์รี คาร์ลตัน · ดูเพิ่มเติม »

แจ๊ส

แจ๊ส เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐอเมริกา (African Americans) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิกชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและแจ๊ส · ดูเพิ่มเติม »

แจ๊สแร็ป

แจ๊สแร็ป เป็นแนวเพลงที่รวมกับฮิปฮอปและแจ๊ส ที่ได้การพัฒนาในช่วงปลายยุค 1980 และต้น 1990 เว็บไชต์ออลมิวสิก ได้อธิบายแนวดนตรีนี้ว่า "เป็นความพยายามที่จะหลอมรวมเพลงแอฟริกันอเมริกันจากอดีตด้วยรูปแบบที่โดดเด่นขึ้นเพื่อให้เข้ากับรูปแบบของแนวเพลงปัจจุบัน" ในทางดนตรีมีจังหวะคล้ายกับฮิปฮอปมากกว่าเพลงแจ๊ส มีถ้อยคำและเสียงอื่นๆที่หลากหลายกว่าเดิมถูกวางและใช้ซ้ำๆ ในการแต่งเพลงเช่น ทรัมเป็ต ดับเบิลเบส ฯลฯ ในด้านเนื้อเพลงมักจะเกี่ยวกับจิตสำนึกทางการเมือง ลัทธินิยมผิวสี (Afrocentrism) และแนวคิดปฏิฐานนิยมทั่วไป ศิลปินเช่น A Tribe Called Quest, De La Soul, Dream Warriors และ Digable Planets เป็นผู้บุกเบิกแจ๊สแร็ป.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและแจ๊สแร็ป · ดูเพิ่มเติม »

แคสซิโอเปีย (แก้ความกำกวม)

แคสซิโอเปีย (Cassiopeia) สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและแคสซิโอเปีย (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

โพรเกรสซิฟร็อก

รเกรสซิฟร็อก (Progressive rock หรือเขียนสั้น ๆ ว่า prog หรือ prog rock) เป็นดนตรีร็อกประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1960 และต้นทศวรรษ 1970 เป็นส่วนหนึ่งของ "ความพยายามในการยกฐานะเพลงร็อกอังกฤษสู่ระดับใหม่ ด้านความเชื่อถือด้านศิลปะดนตรี" คำว่า "อาร์ตร็อก" มักจะใช้ในความหมายเช่นเดียวกับ "โพรเกรสซิฟร็อก" แต่ขณะที่ทั้งสองแนวเพลงก็ข้ามกันไปข้ามกันมา แต่ทั้งสองแนวเพลงก็ไม่ใช่อย่างเดียวกัน วงดนตรีโพรเกรสซิฟร็อก ได้ผลักดัน ด้านเทคนิกและขอบเขตการจัดวาง โดยทำให้เหนือมาตรฐานร็อกทั่วไป หรือเพลงนิยมที่มีท่อนร้อง-คอรัส เป็นหลักโครงสร้าง นอกจากนี้ การเรียบเรียงมักจะรวมองค์ประกอบของดนตรีคลาสสิก แจ๊ส และเวิลด์มิวสิก เข้าไป ใช้เครื่องดนตรีทั่วไป แต่เพลงและเนื้อเพลง ในบางครั้งจะเป็นนามธรรม แนวความคิด หรือแฟนตาซี ในบางครั้งวงโพรเกรสซิฟร็อกจะใช้คำว่า "คอนเซปต์อัลบั้ม เพื่ออธิบายถ้อยแถลง มักใช้การอธิบายเรื่องราวแบบมหากาพย์ หรือความยิ่งใหญ่" ดนตรีโพรเกรสซิฟร็อกพัฒนามาตั้งแต่ปลายยุคไซเคเดลิกร็อก ทศวรรษ 1960 ที่เพลงร็อกได้รับความนิยม วงดนตรีแนวนี้ที่เป็นที่นิยมอย่างเช่น เดอะไนซ์, มูดี้บลูส์, คิงคริมสัน, เยส, เจเนซิส, เจโทรทัล และอีเมอร์สัน, เลค แอนด์ พาร์เมอร์ เพลงโพรเกรสซิฟร็อกได้รับความนิยมกว้างขวางราวกลางทศวรรษ 1970 ขณะที่ได้รับความนิยมสุงสุดในทศวรรษ 1970 และต้นทศวรรษ 1980.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและโพรเกรสซิฟร็อก · ดูเพิ่มเติม »

โคซี พาวเวลล์

ลิน ฟลูคส์ (Colin Flooks) เกิดวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1947 เสียชีวิตวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1998 มีอีกชื่อว่า โคซี โพเวลล์(Cozy Powell) เป็นมือกลองแนวร็อคชาวอังกฤษ เขามีชื่อเสียงจากการเป็นสมาชิกหลายๆวงเช่น แบล็กแซ็.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและโคซี พาวเวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมล์ส เดวิส

มล์ส เดวีย์ เดวิส ที่ 3 (Miles Dewey Davis III) หรือ ไมล์ส เดวิส นักทรัมเปต นักแต่งเพลง และหัวหน้าวงดนตรีแจ๊สชาวอเมริกัน ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักดนตรีที่มีอิทธิพลต่อวงการดนตรีที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20 เป็นผู้ที่พัฒนาการเล่นดนตรีแจ๊สแนวทางใหม่หลายแนว โดยเป็นแถวหน้าในการทดลองดนตรีแนวคูลแจ๊ส ฮาร์ดบ็อพ ฟรีแจ๊สและฟิวชันแจ๊ส มีนักดนตรีแจ๊สคนสำคัญหลายคนได้ร่วมงานกับวงดนตรีของเขา เช่น จอห์น โคลเทรน เฮอร์บี แฮนค็อก บิล อีแวนส์ ชิค โคเรีย จอห์น แมคลาฟลิน จูเลียน แอดเดอร์ลีย์ คีธ จาร์เรต ไมล์ส เดวิส ได้รับการบรรจุชื่อไว้ในหอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล เมื่อปี..

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและไมล์ส เดวิส · ดูเพิ่มเติม »

ไมค์ พอร์ตนอย

มเคิล สตีเฟน "ไมค์" พอร์ตนอย เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน..

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและไมค์ พอร์ตนอย · ดูเพิ่มเติม »

เมกมีอะสตาร์

มกมีอะสตาร์ (Make Me A Star;メイク・ミー・ア・スター) เป็นอัลบั้มชุดที่สาม ของ ที-สแควร์ ออกวางแผงในปี พ.ศ. 2523.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและเมกมีอะสตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เมจิก (อัลบั้มที-สแควร์)

มจิก (MAGIC; マジック)เป็นอัลบั้มชุดที่ห้าของ ที-สแควร์ วางเมื่อปี พ.ศ. 2526.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและเมจิก (อัลบั้มที-สแควร์) · ดูเพิ่มเติม »

เรย์ พาร์กเกอร์ จูเนียร์

รย์ เออร์สไกน์ พาร์เกอร์ จูเนียร์ (Ray Erskine Parker, Jr.) เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม..

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและเรย์ พาร์กเกอร์ จูเนียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอาต์แคสต์

อาต์แคสต์ (OutKast) เป็นคู่ดูโอฮิปฮอปอเมริกัน จากอีสต์พอยต์ จอร์เจีย เมืองทางตอนใต้ของแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย เดิมทีวงนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ The OKB (The OutKast Brothers) แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น OutKast แนวดนตรีของวงเป็นส่วนผสมของเดอร์ตี้เซาต์และจี-ฟังก์ หลังจากนั้นก็มีผสมเพลง ฟังก์, ดนตรีโซล, ป็อป,ดนตรีอีเลกโทรนิก, ร็อก และเสียงพูดแบบกลอน, แจ๊ส และองค์ประกอบของดนตรีบลูส์ สมาชิกทั้ง 2 คนคือ ชาวแอตแลนตาโดยกำเนิด อังเดร "อังเดร 3000" เบนจามิน (รู้จักในชื่อ เดร) และชาวจอร์เจีย แอนต์แวน "บิ๊กบอย" แพตตัน ทั้งคู่เป็นถือเป็นคู่ดูโอฮิปฮอปที่ประสบความสำเร็จที่สุดตลอดกาล ได้รับ 6 รางวัลแกรมมี่ มียอดขายมากกว่า 25 ล้านชุด กับผลงานอัลบั้ม 8 ชุด ซึ่งเป็นสตูดิโออัลบั้ม 6 ชุด, อัลบั้มรวมฮิต และ Speakerboxxx/The Love Below อัลบั้มคู่ที่เป็นอัลบั้มเดี่ยวของทั้งคู่ ซึ่ง Speakerboxxx/The Love Below ก็ถือเป็นอัลบั้มฮิปฮอป 1 ใน 3 อัลบั้มที่มียอดขายระดับเพชร ในสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและเอาต์แคสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เอียน กิลแลน

อียน กิลแลน (Ian Gillan) เกิดวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ที่ลอนดอน อังกฤษ เขาเป็นนักร้องและนักแต่งเพลง เป็นที่รู้จักในตำแหน่งนักร้องนำของวง Deep Purple และยังเคยเป็นสมาชิกของวง Black Sabbath เขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากการร้องเสียงสูงในเพลง "Child In Time".

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและเอียน กิลแลน · ดูเพิ่มเติม »

เฮอร์บี แฮนค็อก

อร์เบิร์ต "เฮอร์บี" เจฟฟรีย์ แฮนค็อก นักแต่งเพลงและนักเปียโนแจ๊สชาวอเมริกัน เป็นนักดนตรีที่ผสมผสานดนตรีแบบฟังก์และโซล เข้ากับวิธีการเล่นด้นสดแบบดนตรีแจ๊ส และบลูส์ เฮอร์บี แฮนค็อกเคยเป็นสมาชิกวงควินเท็ทชุดที่สองของไมล์ส เดวิส เป็นนักดนตรีคนแรกๆ ที่นำเครื่องซินธีไซเซอร์มาใช้กับดนตรีแจ๊ส โดยเฉพาะในแนวโพสต์บ็อพ ในปี 1972 แฮนค็อกตั้งวงดนตรีแนวฟังก์เป็นของตัวเอง ชื่อวง "The Headhunters" ต่อมายังมีผลงานร่วมกับอดีตสมาชิกของวงควินเท็ทของไมล์ส คือ เฟรดดี ฮับบาร์ด (ทรัมเปต) เวย์น ชอตเตอร์ (แซกโซโฟน) รอน คาร์เตอร์ (เบส) และโทนี วิลเลียมส์ (กลอง) ผลิตผลงานออกมาอีกสองชุดในปี 1976 และ 1977 ใช้ชื่อวงว่า "V.S.O.P. Quintet" ปัจจุบันแฮนค็อกยังมีผลงานร่วมกับศิลปินรุ่นหลังเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น คานยี เวสต์ จอช โกรแบน นอราห์ โจน.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและเฮอร์บี แฮนค็อก · ดูเพิ่มเติม »

เจป็อป

มะโมะอิโระโคลเวอร์ Z เจป็อป (J-pop; Japanese Pop) หมายถึงแนวดนตรีของประเทศญี่ปุ่น ที่มีลักษณะดนตรีผสมผสานจากทางตะวันตก ซึ่งรวมถึงดนตรีในลักษณะ ป็อป ร็อก แดนซ์ ฮิปฮอป และ โซล เจป็อป เป็นหนึ่งใน 4 แนวดนตรีที่มีการจำแนกในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้แก่ เจป็อป, เอ็งกะ (ลักษณะคล้ายบัลลาด), ดนตรีคลาสสิก และ ดนตรีต่างประเท.

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและเจป็อป · ดูเพิ่มเติม »

Casiopea

อเปีย (Casiopea; カシオペア, Kashiopea) เป็นวงดนตรีแจ๊สฟิวชันญี่ปุ่นที่ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: แจ๊สฟิวชันและCasiopea · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Jazz fusionJazz rockฟิวชั่นแจ๊สแจ๊สร็อกแจ๊สฟีวชัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »