โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แขวงสุวรรณเขต

ดัชนี แขวงสุวรรณเขต

หวันนะเขต เชื่อมโยงมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่นของสุวรรณเขต ดูที่ สุวรรณเขต (แก้ความกำกวม) สุวรรณเขต หรือ สะหวันนะเขต (ສະຫວັນນະເຂດ สะกด สะหวันนะเขด) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางใต้ของประเทศ ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับแขวงคำม่วน ทิศใต้ติดกับแขวงสาละวัน เป็นแขวงที่มีเนื้อที่ใหญ่อันดับที่ 2 รองจากแขวงเวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม..

60 ความสัมพันธ์: ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยวพระครูประสาธน์ขันธคุณ (มุม อินทปญโญ)พายุโซนร้อนเซินกา (พ.ศ. 2560)กองแล วีระสานการบินลาวก้องพลากุลวงศ์ ก่อเกียรติยิมภาษาบรูตะวันออกภาษากะตางภาษากูยภาษาลาวภาษาผู้ไทภาษาตะเลียงภาษาปาโกะห์ภาษาโซ่รายชื่อพระธาตุเจดีย์รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศลาวรายชื่อเมืองในประเทศลาวรายชื่อเขตการปกครองวัดไชยสมบูรณ์วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชสะพานมิตรภาพไทย–ลาวสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)สุวรรณเขต (แก้ความกำกวม)สี่แยกอินโดจีนสถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาวหลวงอามาตย์ราชวงษา (อำนาจ รามางกูร)หนองบกอาสนวิหารร่วมนักบุญเทเรซา (สุวรรณเขต)อาณาจักรโคตรบูรอำเภอชานุมานอำเภอหว้านใหญ่อำเภอดอนตาลอำเภอเมืองมุกดาหารอำเภอเขมราฐจังหวัดมุกดาหารถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณเขตท่าอากาศยานนานาชาติปากเซขบวนการต่อต้านลาวตลาดสิงคโปร์ประเทศลาวปราสาทเรือนหินปี่ภูไทป่าสงวนแห่งชาติเซบั้งนอนนกเขียวก้านตองปีกสีฟ้าแขวงบอลิคำไซแขวงอัตตะปือแขวงจำปาศักดิ์แขวงของประเทศลาว...แขวงคำม่วนไกสอน พมวิหานไกสอน พมวิหาน (เมือง)เมืองของประเทศลาวเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)เขตการปกครองของประเทศลาวเซบั้งไฟเซโปนISO 3166-2:LA ขยายดัชนี (10 มากกว่า) »

ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว

ี่ บะหมี่เกี๊ยว ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว เป็นธุรกิจขายก๋วยเตี๋ยวประเภทบะหมี่และเกี๊ยว ลักษณะธุรกิจเป็นแฟรนไชส์ซื่งแพร่หลายกันมากทั่วประเทศไทย ตามตลาดต่าง ๆ โดยเฉพาะตลาดอาหารกลางคืน จะพบเห็น ร้านชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว เกือบทุกที่ สร้างปรากฏการณ์ให้คนไทยรู้จักอย่างแพร่หลาย กระทั่งมีบทเพลงที่แต่งขึ้นเกี่ยวกับชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว โดยบิลลี่ โอแกน นอกจากประเทศไทยแล้ว ยังมีชายสี่ บะหมี่เกี๊ยวที่ประเทศลาวและมาเลเซียอีกด้วย ไฟล์:Koh Phangan Haad Rin street03-2004.jpg|รถเข็นของชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว ไฟล์:Chai4-Loas.jpg|ร้านชายสี่ในสุวรรณเขต ประเทศลาว.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว · ดูเพิ่มเติม »

พระครูประสาธน์ขันธคุณ (มุม อินทปญโญ)

ระครูประสาธน์ขันธคุณ หรือที่พุทธศานิกชนชาวศรีสะเกษและชาวไทยรู้จักโดยทั่วไปในนาม หลวงปู่มุม หรือ หลวงพ่อมุม เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดปราสาทเยอเหนือ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่ยังเด็กและอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ 20 ปี แล้วดำรงอยู่ในสมณเพศตลอดชีวิตจนมรณภาพ เป็นพระภิกษุผู้ถือเคร่งทางธรรมปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน ได้ฝึกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาในบริเวณเทือกเขา พนมดงเร็ก เขตจังหวัดทางภาคอีสานตอนล่าง ของประเทศไทย และเดินธุดงค์เข้าไปในประเทศกัมพูชาจำพรรษาอยู่ในประเทศกัมพูชาหลายปี หลังจากนั้นจึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดปราสาทเยอเหนือ บ้านเกิด ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีกลุ่มชาติพันธุ์เยอ ตั้งถิ่นฐานอยู่ จากความสมถะ มักน้อย สันโดษและเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ทำให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศานิกชนทั่วไป และที่โด่งดังเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วประเทศก็คือความศรัทธาในวัตถุมงคลกลุ่มที่ชื่อ พระหลวงพ่อมุม ซึ่งท่านได้เคยสร้างและทำพิธีปลุกเสกด้วยตัวเอง โดยพิธีพุทธาภิเษกแบบเขมรโบราณ ทั้งยังเป็นผู้มีส่วนร่วมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในบวรพระพุทธศาสนาและเพื่อสังคมไว้มหาศาล ถือป็น ปูชนียบุคคล ที่ควรกราบไหว้บูชาสักการะของปวงชนทั่วๆ ไป หลวงปู่มุม ยังเป็นหนึ่งในพระเถระผู้ร่วมประกอบพิธีพุทธาภิเษก พระกริ่งมหาราช ระหว่างวันที่ 3 ธันวาคม - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ซึ่งวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสมหามงคลที่ทรงได้รับการเทิดทูนอย่างสูงสุดจากปวงชนชาวไทย โดยการถวายพระบรมราชสมัญญานาม มหาราช ต่อท้ายพระปรมาภิไธย อนึ่ง วัดปราสาทเยอเหนือ เป็นวัดโบราณมีอายุเก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษหรือจังหวัดขุขันธ์ ในอดีต วัดแห่งนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 1313 หรือราวต้นพุทธศตวรรษที่ 14 ตั้งแต่สมัยทวารวดีและสมัยขอม อันเป็นช่วงเวลาก่อนการตั้งเมืองศรีนครลำดวน (ต้นเค้าเมืองขุขันธ์ที่พัฒนามาเป็นจังหวัดขุขันธ์และจังหวัดศรีสะเกษ) ใน พ.ศ. 2302 กรมศิลปากร.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและพระครูประสาธน์ขันธคุณ (มุม อินทปญโญ) · ดูเพิ่มเติม »

พายุโซนร้อนเซินกา (พ.ศ. 2560)

ซนร้อนเซินกา (Sơn Ca) เป็นชื่อพายุที่เวียดนามตั้งชื่อ แปลว่า นกจาบฝนเสียงสวรรค์ (Alauda gulgula) เป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกที่ 9 ประจำฤดูกาลไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 และสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยก่อนหน้านั้น พายุโซนร้อนเซินกาได้พัดผ่านประเทศเวียดนามและลาว ก่อให้เกิดความเสียหายในทั้งสองประเทศ รวมถึงกัมพูชา และเกาะไหหลำของจีน อย่างไรก็ตามพายุเซินกาได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในที.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและพายุโซนร้อนเซินกา (พ.ศ. 2560) · ดูเพิ่มเติม »

กองแล วีระสาน

นายพล กองแล วีระสาน (เกิด: พ.ศ. 2476 หรือ 2477 — ตาย: 17 มกราคม 2557) เป็นนายทหารพลร่มซึ่งผ่านการฝึกมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ก่อการรัฐประหารในราชอาณาจักรลาวเมื่อ พ.ศ. 2503 และประกาศจัดตั้งรัฐบาลลาวฝ่ายเป็นกลาง หลังจากนั้นได้ลี้ภัยทางการเมืองอยู่ในประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและกองแล วีระสาน · ดูเพิ่มเติม »

การบินลาว

การบินลาว (ການບິນລາວ; Lao Airlines รัฐวิสาหกิจการบินลาว) เป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศลาว ให้บริการทั้งเที่ยวบินภายในประเทศและเที่ยวบินระหว่างประเทศ โดยใช้ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต นครหลวงเวียงจันทน์ เป็นฐานการบินหลัก และใช้ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง เป็นฐานการบินรอง.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและการบินลาว · ดูเพิ่มเติม »

ก้องพลากุลวงศ์ ก่อเกียรติยิม

ก้องพลากุลวงศ์ ก่อเกียรติยิม หรือ ก้องธารา เคเคพี (ชื่อในสารบบของเว็บไซต์บ็อคซ์เรค) มีชื่อจริงว่า นายอัธนนท์ กุลวงศ์ เป็นชาวอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เป็นนักมวยสากลอาชีพชาวไทยเชื้อสายลาว (บิดาเป็นชาวลาว ส่วนมารดาเป็นชาวไทย) ก้องพลากุลวงศ์ชกมวยไทยมาอย่างโชกโชนนับร้อยกว่าครั้ง หันมาชกมวยสากลครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยไปชกที่ประเทศญี่ปุ่น และสามารถเอาชนะน็อค ชินโงะ คะวะมุระ นักมวยชาวญี่ปุ่นได้ในยกที่ 3 จากการชก กำหนด 8 ยก ต่อจากนั้นก็ทำสถิติชกชนะรวดต่อเนืองสองครั้งจนได้ชิงแชมป์เข็มขัดเงินของสภามวยแห่งเอเชียที่ว่างลงในรุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท โดยเอาชนะ คิน ฟง ลุง นักมวยชาวมาเก๊าไว้ได้ที่แขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและก้องพลากุลวงศ์ ก่อเกียรติยิม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบรูตะวันออก

ษาบรูตะวันออก (Eastern Bru) มีผู้พูดทั้งสิ้น 129,559 คน โดยอยู่ในลาว 69,000 คน (พ.ศ. 2542) ในแขวงสุวรรณเขต นับถือความเชื่อดั้งเดิม ในไทยมี 5,000 คน (พ.ศ. 2526) ในจังหวัดสกลนคร และอำนาจเจริญ วัยรุ่นในไทยไม่นิยมพูดภาษานี้แล้ว มีทั้งเป็นชาวพุทธและนับถือความเชื่อดั้งเดิม ในเวียดนามมี 55,559 คน (พ.ศ. 2542) ในจังหวัดเกวียงบิญ เกวียงตรี และดักลัก มีทั้งเป็นชาวคริสต์และนับถือความเชื่อดั้งเดิม จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขามอญ-เขมรตะวันออก สาขาย่อยกะตู เข้าใจกันได้กับภาษาบรูตะวันตก แต่ต่างจากภาษามังกอง อัตราการรู้หนังสือต่ำ.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและภาษาบรูตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากะตาง

ษากะตาง (Kataang) หรือภาษากะตัง มีผู้พูดทั้งหมด 107,350 คน (พ.ศ. 2543) ทางภาคใต้ของลาวในแขวงสาละวัน สุวรรณเขต และจำปาศักดิ์ อยู่ใกล้เคียงกับจังหวัดอุบลราชธานี จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขามอญ-เขมรตะวันออก สาขาย่อยกะตู.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและภาษากะตาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากูย

ษากูย (Kuy) หรือ ภาษากวย เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขามอญ-เขมร กลุ่มกะตู มีผู้พูดทั้งหมด 366,675 คน พบในไทย 300,000 คน (พ.ศ. 2535) ในจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา ส่วนใหญ่พูดภาษาลาว ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยหรือภาษาเขมรเหนือได้ด้วย พบในกัมพูชา 15,495 คน (พ.ศ. 2532) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดพระวิหาร เสียมราฐ กำปงธม สตรึงแตรง ส่วนใหญ่พูดภาษาเขมรได้ด้วย พบในลาว 51,180 คน (พ.ศ. 2543) ในแขวงสุวรรณเขต ส่วนใหญ่อยู่ตามริมแม่น้ำโขงในลาวภาคใต้ ภาษากูยเป็นภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ ใช้ระบบน้ำเสียงแทน ในประเทศไทยมี 3 สำเนียงคือ.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและภาษากูย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลาว

ษาลาว (ลาว: ພາສາລາວ พาสาลาว) เป็นภาษาราชการของประเทศลาว เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ในภาษากลุ่มไท และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาอีสานของประเทศไทย ระบบการเขียนในภาษาลาวจะใช้อักษรลาว ซึ่งเป็นระบบอักษรสระประกอบ (ระบบการเขียนที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์แทนพยัญชนะและตามด้วยสระที่จะอยู่ด้านหน้า หลัง บน ล่าง ของพยัญชนะ) และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรไท.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและภาษาลาว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาผู้ไท

ษาผู้ไท (เขียน ผู้ไท หรือ ภูไท ก็มี) เป็นภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได มีผู้พูดจำนวนไม่น้อย กระจัดกระจายในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยและลาว เข้าใจว่า ผู้พูดภาษาผู้ไทมีถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมอยู่ในเมือง นาน้อยอ้อยหนู ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า เมืองนาน้อยอ้อยหนู อันเป็นถิ่นฐานดั้งเดิมของผู้ไทอยู่ทีไหน เพราะปัจจุบันมีเมืองนาน้อยอ้อยหนูอยู่ถึงสามแห่ง ตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองแถงหรือปัจจุบันคือจังหวัดเดียนเบียนฟู แห่งที่สองอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองแถง และแห่งที่สามอยู่ห่างจากเมืองลอของเวียดนามประมาณ 10 กิโลเมตร ชาวไทดำกับผู้ไทเป็นคนละชาติพันธุ์กัน นักภาษาศาสตร์สันนิษฐานว่า อพยพแยกจากกันนานกว่า 1,500 ปีมาแล้ว ในปัจจุบัน มีการจัดให้ภาษาผู้ไทเป็นกลุ่มย่อยของภาษาไทดำซึ่งไม่ถูกต้อง ผู้ไทอพยพจากนาน้อยอ้อยหนูไปอยู่ที่เมืองวังอ่างคำ ซึ่งคือเมืองวีระบุรี ในแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว ก่อนถูกกวาดต้อนมาอยู่ในดินแดนประเทศไทยเมื่อไม่ถึง 200 ปีมานี้ ผู้ไทที่ถูกกวาดต้อนมาอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงมีจำนวนไม่น้อย แต่ผู้ไทซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแถบแขวงสุวรรณเขตและแขวงคำม่วนในลาว ก็ยังมีประปราย มักจะเรียกผู้ไททั้งสองกลุ่มนี้รวม ๆ กันว่า "ผู้ไทสองฝั่งโขง".

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและภาษาผู้ไท · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตะเลียง

ษาตะเลียง (Talieng) มีผู้พูด 23,091 คน (พ.ศ. 2538) ในแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขามอญ-เขมรตะวันออก สาขาย่อยบะห์นาริก.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและภาษาตะเลียง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปาโกะห์

ษาปาโกะห์ (Pacoh) มีผู้พูดทั้งหมด 29,224 คน พบในเวียดนาม 16,000 คน (พ.ศ. 2545) ในจังหวัดกวางตรี พบในลาว 13,224 คน (พ.ศ. 2538) ที่แขวงสาละวัน แขวงสุวรรณเขต จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขามอญ-เขมรตะวันออก สาขาย่อยกะตู คำว่า Koh ในภาษาปาโกะห์หมายถึงภู.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและภาษาปาโกะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโซ่

ษาโซ่ (Sô) หรือ ภาษามังกอง เป็นภาษาที่มีผู้พูดในลาวและไทย มีผู้พูดทั้งหมด 160,000 คน โดยอยู่ในลาว 102,000 คน (พ.ศ. 2536) ในไทย 58,000 คน (พ.ศ. 2544) ในลาวมีผู้พูดในคำม่วน ท่าเหล็ก สุวรรณเขต ตลอดสองฝั่งแม่น้ำโขง มีผู้รู้หนังสือภาษาแม่น้อยกว่าร้อยละ 1 อัตราการรู้หนังสือภาษาที่สองราวร้อยละ 15–25 ในไทยพบที่นครพนม สกลนคร หนองคาย กาฬสินธุ์ ตามแนวแม่น้ำโขง มีทั้งหมด 53 หมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อพยพมาจากลาว นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ หรือความเชื่อดั้งเดิม ส่วนใหญ่เป็นภาษาที่ใช้พูดในบ้านและพูดภาษาลาวได้ด้วย เริ่มรับวัฒนธรรมและปรับตัวเข้ากับคนไทยมากขึ้น มีผู้รู้หนังสือภาษาแม่น้อยกว่าร้อยละ 1 อัตราการรู้หนังสือภาษาที่สองราวร้อยละ 25–50 อยู่ในตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขามอญ-เขมรตะวันออก สาขาย่อยกะตู ใกล้เคียงกับภาษาบรู ชื่อภาษาโซ่ใช้ในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศลาวใช้ชื่อภาษามังกอง.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและภาษาโซ่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อพระธาตุเจดีย์

ระธาตุเจดีย์ชินสีห์มิ่งมงคล วัดสว่างแสงจันทร์ บ้านหนองลาด ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี หน้านี้เป็นรายชื่อพระธาตุเจดีย์ สำหรับความหมายดูที่ เจดี.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและรายชื่อพระธาตุเจดีย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศลาว

รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศลาว.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเมืองในประเทศลาว

แผนที่ของประเทศลาว นี่คือรายการของเมืองในประเทศลาวซึ่งเป็นประเทศในทวีปเอเชี.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและรายชื่อเมืองในประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเขตการปกครอง

รายชื่อเขตปกครองในระดับบนสุดของประเทศต่าง ๆ ที่มีการปกครองแบบสหพันธรัฐหรือรัฐรวม รวมทั้งเขตการปกครองในระดับบนสุดของเอกรัฐหรือรัฐเดี่ยวบางแห่ง.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและรายชื่อเขตการปกครอง · ดูเพิ่มเติม »

วัดไชยสมบูรณ์

วัดไชยสมบูรณ์ (ວັດໄຊສົມບູນ วัดไซสมบูน) อยู่ในแขวงสุวรรณเขต ตั้งอยู่ห่างจากด่านภาษีสุวรรณเขตมาทางทิศเหนือประมาณ 500 เมตร ชาวบ้านเรียกว่าวัดใหญ่ เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของแขวง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงสร้างเมื่อ..

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและวัดไชยสมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์

รองศาสตราจารย์ ดร.วารินทร์ วงษ์หาญเชาว์ รองศาสตราจารย์ วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ (15 มีนาคม พ.ศ. 2480 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550) นักเศรษฐศาสตร์ นักการศึกษา นักวิจัย อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชน นักเขียนและนักคิดที่ได้รับการยกย่องจากผู้อยู่ในวงการเดียวกันและจากบุคคลทั่วไป บรรณาธิการของนิตยสาร ชาวบ้าน ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและวารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช

ระอุปภัยพุทธบวรไชยเชษฐาธิราช หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช (ໄຊເສດຖາ, ເສດຖາທິຣາດ; 80px) ถือเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชาติลาว ทรงเป็นผู้นำแห่งอาณาจักรล้านช้าง ผู้สถาปนากรุงเวียงจันทน์ให้เป็นศูนย์กลางอารยธรรม และเป็นศูนย์รวมศิลปะวัฒนธรรมต่าง ๆ ของอาณาจักรล้านช้างเข้าไว้ด้วยกัน ประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าพระองค์เป็นพระญาติหรือพระนัดดาในพระนางจิรประภาเทวีเจ้านางหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา ในรัชสมัยพระยาโพธิสาลราช (พ.ศ. 2063-2090) พระองค์เป็นผู้เคร่งครัดทางศาสนาพุทธเป็นอย่างยิ่ง ได้มีพระราชโองการให้พลเมืองเลิกนับถือผีสางเทวดา เลิกการทรงเจ้าเข้าผีทั่วพระราชอาณาจักร ให้รื้อศาลหลวง ศาลเจ้าผีเสื้อเมืองทรงเมือง และให้หันมานับถือพระพุทธศาสนาแทน ทรงสร้างวัดสุวรรณเทวโลกเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา แต่เนื่องจากประเพณีการนับถือผีนั้นมีมาช้านาน และได้ฝังเข้าไปในจิตใจของประชาชนทั่วไป จึงยากที่จะเลิกอย่างเด็ดขาดได้ ครั้นต่อมาทางอาณาจักรล้านนาว่างกษัตริย์ปกครอง จึงได้อัญเชิญเจ้าไชยเชษโฐหรือเชษฐวังโส พระโอรสของพระเจ้าโพธิสาร ไปครองนครล้านนา เมื่อปี..

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว

นมิตรภาพไทย-ลาว อาจหมายถึง.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและสะพานมิตรภาพไทย–ลาว · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)

อีกมุมหนึ่งของสะพาน การเปลี่ยนจากการขับรถทางซ้ายเป็นทางขวา สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (Second Thai–Lao Friendship Bridge; ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ ແຫ່ງທີສອງ) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารของประเทศไทย เข้ากับแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเศรษฐกิจตะวันตกตะวันออก ซึ่งเริ่มจากพม่า ผ่าน ไทย ลาวและสิ้นสุดที่เวียดนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงของธนาคารการพัฒนาแห่งเอเชีย ซึ่งมีความยาวทั้งหมด 1,600 เมตร มีความกว้าง 12 เมตร และมีช่องการจราจร 2 ช่อง มูลค่าการก่อสร้างประมาณ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแหล่งทุนในการก่อสร้างเป็นเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้กับรัฐบาลลาว 4,011 ล้านเยน และให้กับรัฐบาลไทย 4,079 ล้านเยน ใช้เวลาก่อสร้างตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต) · ดูเพิ่มเติม »

สุวรรณเขต (แก้ความกำกวม)

วรรณเขต สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและสุวรรณเขต (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

สี่แยกอินโดจีน

ี่แยกอินโดจีน หรือ สี่แยกร้องโพธิ์ เป็นสี่แยกจุดตัดของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (ช่วงพิษณุโลก-อุตรดิตถ์), ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 และถนนเลี่ยงเมืองพิษณุโลกด้านใต้ ที่ตำบลสมอแข อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก โครงการสี่แยกอินโดจีนเกิดขึ้นหลังจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2540 กำหนดให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นสี่แยกอินโดจีน เพื่อเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ในโครงการถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) ย่างกุ้ง-ตาก-พิษณุโลก-ขอนแก่น-สุวรรณเขต-ดานัง และโครงการถนนสายเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) คุนหมิง-กรุงเทพมหานคร ซึ่งทั้งสองโครงการมีจุดตัดเส้นทางในประเทศไทยที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดตาก ในปี..

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและสี่แยกอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

สถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว

นีโทรทัศน์แห่งชาติลาว (ສະຖານີໂທລະພາບແຫ່ງຊາດລາວ, ชื่อย่อ: ທຊລ) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติในการกำกับของรัฐบาลลาว นับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศภาคพื้นดินเพียงแห่งเดียวในประเทศลาว.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและสถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว · ดูเพิ่มเติม »

หลวงอามาตย์ราชวงษา (อำนาจ รามางกูร)

หลวงอามาตย์ราชวงษา (อำนาจ รามางกูร) คนทั่วไปและทายาทบุตรหลานนิยมออกนามว่า กวานหลวงอำมาตย์ หรือ กวานอามาถย์ หรือ ท้าวอำนาจราชวงศ์ อดีตนายกองข้าอุปัฏฐากผู้ควบคุมท้าวเพี้ยตัวเลกข้าพระมหาธาตุพนม หรือนายกองบ้านธาตุพนมลำดับที่ ๑ ในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ภาคอีสานของประเทศไทย หลังสิ้นสุดการปกครองแบบเจ้าเมืองหรือขุนโอกาส อีกทั้งยังมีตำแหน่งเป็นอดีตกวานเวียงชะโนดองค์ที่ ๓ ด้ว.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและหลวงอามาตย์ราชวงษา (อำนาจ รามางกูร) · ดูเพิ่มเติม »

หนองบก

มืองหนองบก (ເມືອງໜອງບົກ) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของแขวงคำม่วนพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีแม่น้ำโขงกั้นเขตแดนระหว่างประเทศลาวและประเทศไทย และมีแม่น้ำเซบั้งไฟกั้นเขตแดนกับเมืองไชบุรี แขวงสุวรรณเขต ทิศเหนือติดกับเมืองท่าแขก ซึ่งเป็นเทศบาลแขวง ประชาชนส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม อาศัยน้ำฝน มีบางบริเวณเท่านั้นที่มีระบบชลประทาน มีถนนหมายเลข 13 เป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับเทศบาลแขวงและแขวงสุวรรณเขต มีด่านแลกเปลี่ยนสินค้าที่เซบั้งไฟ เปิดตั้งแต..

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและหนองบก · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารร่วมนักบุญเทเรซา (สุวรรณเขต)

อาสนวิหารร่วมนักบุญเทเรซา บ้างเรียก โบสถ์คาทอลิกนักบุญเทเรซา (ໂບດກາໂຕລິກ ນັກບຸນເຕເຣຊາ; Cocathédrale Sainte-Thérèse) เป็นอาสนวิหารประจำมิสซังโรมันคาทอลิกสุวรรณเขต-คำม่วน ตั้งอยู่ในเมืองไกสอน พมวิหาน แขวงสุวรรณเขต ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศลาวใกล้พรมแดนประเทศไทย ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของคริสต์ศาสนิกชนชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม โบสถ์ดังกล่าวถูกตั้งขึ้นเป็นโบสถ์หลักหนึ่งในสองแห่งของเขตผู้แทนพระสันตะปาปาสุวรรณเขต (Vicariatus Apostolicus Savannakhetensis; ອັກຄະສາວົກແທນຂອງສະຫວັນນະເຂດ) โดยถูกยกสถานะโดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 เมื่อปี..

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและอาสนวิหารร่วมนักบุญเทเรซา (สุวรรณเขต) · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรโคตรบูร

อาณาจักรโคตรบูร หรือ อาณาจักรศรีโคตรบูร เป็นอาณาจักรโบราณที่มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับนครเวียงจันทน์ยุคจันทะปุระ (ราวพุธศตวรรษที่ 1-10) และยุคซายฟอง (ราวพุธศตวรรษที่ 10-12) เริ่มมีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลถึงพุทธศตวรรษที่ 11-15 หรือระหว่าง..

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและอาณาจักรโคตรบูร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอชานุมาน

นุมาน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญ.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและอำเภอชานุมาน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอหว้านใหญ่

หว้านใหญ่ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและอำเภอหว้านใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอดอนตาล

อนตาล เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและอำเภอดอนตาล · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองมุกดาหาร

มืองมุกดาหาร เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและอำเภอเมืองมุกดาหาร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเขมราฐ

มราฐ แปลว่า ดินแดนแห่งความเกษมสุข เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี อยู่ริมแม่น้ำโขง อำเภอเขมราฐอยู่ริมแม่น้ำโขงเป็นระยะทางยาวกว่า 40 กิโลเมตร ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือ เมืองสองคอน แขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว เขมราฐเป็นเมืองที่มีทัศนียภาพแม่น้ำโขงที่สวยงาม หาดทรายที่มีชื่อเสียงคือ หาดทรายสูง และ จะมีการแข่งเรือยาวอำเภอเขมราฐซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและอำเภอเขมราฐ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดมุกดาหาร

มุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน2 ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 642 กิโลเมตร แยกออกมาจากจังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 นับเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไท.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและจังหวัดมุกดาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก

นนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก หรือ EWEC (East-West Economic Corridor) เป็นเส้นทางขนส่งมี ความยาวประมาณ 1,500 กิโลเมตร เป็นทางลัดเชื่อมทะเลจีนใต้กับมหาสมุทรอินเดีย เริ่มจากต้นทางที่ท่าเรือดานัง ในภาคกลางของประเทศเวียดนาม เข้าสู่ประเทศลาว จากนั้นข้ามสะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่ 2 (มุกดาหาร - สุวรรณเขต) เข้าสู่ประเทศไทยที่อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร แล้วเข้าสู่ประเทศพม่า ที่สะพานมิตรภาพไทย - พม่า ผ่านด่านแม่สอด-เมียวดี อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ไปออกมหาสมุทรอินเดียที่เมืองท่ามะละแหม่งในอ่าวเมาะตะมะของประเทศพม่า เส้นทางในประเทศไทยเริ่มที่สะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่ 2 (มุกดาหาร - สุวรรณเขต) ผ่านเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ช่วงมุกดาหาร - อำเภอสมเด็จ - กาฬสินธุ์ - อำเภอยางตลาด - ขอนแก่น - อำเภอชุมแพ - อำเภอหล่มสัก - พิษณุโลก - สุโขทัย - อำเภอบ้านด่านลานหอย - ตาก - อำเภอแม่สอด และสิ้นสุดที่สะพานมิตรภาพไทย - พม่า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เส้นทางนี้ช่วยร่นระยะทางได้ราว 4,000 กิโลเมตร เทียบกับการขนส่งทางเรือไปอ้อมช่องแคบมะละกา และ ร่นระยะเวลาได้ 14 วันเป็นอย่างน้อ.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณเขต

ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณเขต เป็นท่าอากาศยานใกล้สุวรรณเขต ประเทศลาว.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณเขต · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติปากเซ

ท่าอากาศยานนานาชาติปากเซ (Pakse International Airport) เป็นหนึ่งใน สนามบินนานาชาติ ใน ประเทศลาว ปากเซ เป็นอดีตเมืองหลวงทางภาคใต้ของอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ATR-72 ของการบินลาวที่ท่าอากาศยานนานาชาติปากเซ ประเทศลาว.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและท่าอากาศยานนานาชาติปากเซ · ดูเพิ่มเติม »

ขบวนการต่อต้านลาว

วนการต่อต้านลาว เป็นขบวนการของชาวม้งที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ส่วนใหญ่เป็นชาวม้งที่อพยพลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทยตามศูนย์อพยพต่างๆ ประกอบด้วยกลุ่มหลัก 2 กลุ่มคือ.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและขบวนการต่อต้านลาว · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดสิงคโปร์

ตลาดสิงคโปร์ (ຕະຫຼາດສິງກະໂປ ตะหลาดสิงกะโป) ตั้งอยู่ที่ถนนศรีสว่างวงศ์ ตรงกันข้ามกับสถานีวิทยุกระจายเสียงสุวรรณเขต ประมาณ 0.5 กิโลเมตร เปิดเวลา 5.00–18.00 น. เป็นตลาดใหญ่ที่สุดของแขวงสุวรรณเขต และเป็นแหล่งการค้าที่สำคัญของชาวบ้านบริเวณนี้ สาเหตุที่มีชื่อว่าตลาดสิงคโปร์ เพราะเคยได้เงินช่วยเหลือในการสร้างตลาดนี้ขึ้นใหม่แทนตลาดเก่าในตัวเมือง มีสินค้าหลากหลายทั้งจากไทย จีน เวียดนาม และลาว นอกจากนี้ ยังเป็นสถานีโดยสารของสุวรรณเขตด้ว.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและตลาดสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทเรือนหิน

ปราสาทเรือนหิน หรือที่ชาวลาวเรียกว่า เฮือนหิน ตัวปราสาทตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง บ้านเฮือนหิน เมืองไซพูทอง ถัดจากเมืองสุวรรณเขตลงมาประมาณ 70 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองไซพูทองประมาณ ๑๐ กิโลเมตร เฮือนหินสร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร (ศรีโคตะปุระ) เรืองอำนาจ ตามประวัติท้องถิ่นกล่าวว่า ราว..

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและปราสาทเรือนหิน · ดูเพิ่มเติม »

ปี่ภูไท

ปี่ภูไท หรือ ปี่ลูกแคน เป็นเครื่องดนตรีของชนเผ่าภูไทจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม อุดรธานี มุกดาหาร ในภาคอีสานของประเทศไทย และในแขวงสุวรรณเขต แขวงเชียงขวาง และแขวงคำม่วนในประเทศลาว ส่วนใหญ่ปี่ชนิดนี้เริ่มจะหายไปแล้ว เพราะไม้ไผ่ลูกแคนหรือไม้ไผ่เฮี้ยเริ่มหายาก เพราะมีไม่มากเหมือนสมัยก่อน ปี่ภูไทมีลักษณะคล้ายปี่จุมของภาคเหนือ เพราะมีลิ้นที่ทำจากโลหะจำพวก ทอง ทองแดง เงิน และมีเสียง วิธีการเป่าที่คล้ายกัน ปี่ภูไท ใช้บรรเลงกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆได้ เช่น แคน พิณ ซอ ปัจจุบันมีปราชญ์ชาวบ้านผู้เชี่ยวชาญ 1 ท่าน อยู่ที่บ้านกุดหว้า ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ คือ คุณพ่อเมฆ ศรีกำพล ศิลปินมรดกอีสาน สาขาปี่ภูไท มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและปี่ภูไท · ดูเพิ่มเติม »

ป่าสงวนแห่งชาติเซบั้งนอน

ป่าสงวนแห่งชาติเซบั้งนอน (ປ່າສະຫງວນແຫ່ງຊາດເຊບັ້ງນວນ) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในแขวงสาละวัน มีเนื้อที่ 1,260 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแขวงสาละวันและมีบางส่วนอยู่ในแขวงสุวรรณเขต ค้นพบและประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติอย่างเป็นทางการเมื่อ 29 ตุลาคม..

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและป่าสงวนแห่งชาติเซบั้งนอน · ดูเพิ่มเติม »

นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า

แถบสีฟ้าที่ปีกมักเห็นได้ชัดจนเป็นเอกลักษณ์ นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้าเจอร์ดอน เพศผู้ นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้าพายัพ เพศผู้ นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้าโคชินไชน่า เพศผู้ นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้าชวา เพศผู้ นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า (Blue-winged Leafbird) เป็นชนิดพันธุ์หนึ่งของสกุลนกเขียวก้านตองลักษณะพิเศษคือมีแถบสีฟ้าที่ขอบปีกด้านนอก ยาวตั้งแต่หัวปีกถึงปลายปีก โดยความเข้มอ่อนขึ้นอยู่กับอายุและชนิดพันธุ์ย่อยของนก ชนิดพันธุ์นี้พบครั้งแรกในเขตโคชินไชน่า (ปัจจุบันคือเวียดนามใต้) จึงนำชื่อสถานที่พบมาตั้งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ว่า cochinchinensis.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและนกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

แขวงบอลิคำไซ

อลิคำไซ (ບໍລິຄໍາໄຊ) เป็นหนึ่งในแขวงที่ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศลาว แขวงบอลิคำไซจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยได้มีการแยกเมืองปากซัน เมืองท่าพระบาท เมืองบริคัณฑ์ (มาจากชื่อเต็มในอดีต "เมืองบริคัณฑนิคม") จากแขวงเวียงจันทน์ และแยกเมืองปากกระดิ่ง เมืองคำเกิด จากแขวงคำม่วน มารวมกันแล้วตั้งเป็นแขวงใหม่ เนื่องจากพื้นที่แขวงเวียงจันทน์และแขวงคำม่วนกว้างใหญ่ การปกครองดูแลไม่ทั่วถึง ชื่อของแขวงมาจากชื่อเมืองบริคัณฑ์และเมืองคำเกิดมาสมาสกับคำว่าชัยชนะหรือไซซะนะในภาษาลาว จึงเรียกว่า "บอลิคำไซ" ส่วนเมืองเวียงทองได้จัดตั้งขึ้นในภายหลัง แขวงนี้มีชื่อเสียงมากเกี่ยวกับหินปูน ทั้งทัศนียภาพและเหมืองซึ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและแขวงบอลิคำไซ · ดูเพิ่มเติม »

แขวงอัตตะปือ

อัตตะปือ (ອັດຕະປື, อัดตะปือ) เป็นแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ติดต่อกับแขวงเซกองทางทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงจำปาศักดิ์ทางทิศตะวันตก ติดต่อกับเทือกเขาอันนัมทางทิศตะวันออก (เป็นเส้นแบ่งเขตแขวงอัตตะปือกับประเทศเวียดนาม) และติดต่อกับประเทศกัมพูชาทางทิศใต้ อนึ่งคำว่า อัตตะปือ แปลว่า "ขี้ควาย" ในภาษาของชนเผ่าละแว.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและแขวงอัตตะปือ · ดูเพิ่มเติม »

แขวงจำปาศักดิ์

ำปาศักดิ์ (ຈໍາປາສັກ) เป็นแขวงหนึ่งของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศ ติดชายแดนประเทศไทยและกัมพูชา มีเมืองปากเซเป็นเมืองหลักของแขวง และเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของลาว (รองจากเวียงจันทน์และเมืองไกสอน พมวิหาน) ถือเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการท่องเที่ยวของลาวตอนใต้ เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีแม่น้ำโขงไหลผ่านกลางและเกิดเกาะแก่งเป็นจำนวนมากจนได้ชื่อว่า "ดินแดนสี่พันดอน" แขวงจำปาศักดิ์เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากเป็นพื้นที่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรขอมโบราณ และเป็นที่ตั้งของอาณาจักรจำปาศักดิ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างในเวลาต่อมา แขวงจำปาศักดิ์จึงมีมรดกทางวัฒนธรรมหลงเหลืออยู่มากมาย ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศลาว โดยเฉพาะมรดกโลกปราสาทหินวัดพู นอกจากนี้ แขวงจำปาศักดิ์ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก เช่น น้ำตกคอนพะเพ็ง น้ำตกหลี่ผี น้ำตกผาส้วม เป็นต้น.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและแขวงจำปาศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

แขวงของประเทศลาว

ประเทศลาวแบ่งเขตการปกครองระดับบนสุดออกเป็น 17 แขวง (ແຂວງ) และ 1 เขตนครหลวง (ນະຄອນຫຼວງ) เขตพิเศษไชยสมบูรณ์จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 และถูกยกเลิกเมื่อ 13 มกราคม พ.ศ. 2549 ส่วนเขตปกครองล่าสุดที่ได้จัดตั้งขึ้นคือ "แขวงไชยสมบูรณ์" จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 ธันวาคม..

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและแขวงของประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

แขวงคำม่วน

ำม่วน (ຄໍາມ່ວນ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางใต้ของประเทศ ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับแขวงบอลิคำไซ ทิศใต้ติดกับแขวงสุวรรณเขต เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและแขวงคำม่วน · ดูเพิ่มเติม »

ไกสอน พมวิหาน

กสอน พมวิหาน (ໄກສອນ ພົມວິຫານ; 13 ธันวาคม พ.ศ. 2463 — 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535) เลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคปฏิวัติประชาชนลาวคนแรก และนายกรัฐมนตรีคนแรกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ได้เป็นประธานประเทศจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันมีอนุสรณ์สถานของไกสอน พมวิหาน อยู่ทุกแขวงทุกเมืองทั่วประเทศ และมีรูปของเขาปรากฏบนธนบัตรสกุลเงินกีบของลาวด้ว.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและไกสอน พมวิหาน · ดูเพิ่มเติม »

ไกสอน พมวิหาน (เมือง)

นครไกสอน พมวิหาน หรือ สุวรรณเขต (ໄກສອນ ພົມວິຫານ) เป็นนครเอกของแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว เดิมชื่อเมือง คันธบุรี (ຄັນທະບູລີ, คันทะบูลี) ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นเมืองไกสอน พมวิหาน เพื่อเป็นเกียรติแก่อดีตประธานประเทศ ไกสอน พมวิหาน ซึ่งเป็นชาวสุวรรณเขต เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งตรงกับวันเกิดปีที่ 85 ของไกสอน พมวิหาน และต่อมามีการยกฐานะขึ้นเป็น นครไกสอน พมวิหาน เมื่อเดือนเมษายน..2561 และมีการพิธีประกาศยกฐานะอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม..2561 ที่ผ่านม.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและไกสอน พมวิหาน (เมือง) · ดูเพิ่มเติม »

เมืองของประเทศลาว

ในประเทศลาว เมือง (ເມືອງ) เป็นเขตการปกครองระดับที่ 2 รองจากแขวง ซึ่งตรงกับอำเภอของประเทศไทย เมืองแต่ละเมืองแบ่งออกเป็นบ้าน (ບ້ານ) ซึ่งตรงกับหมู่บ้านในประเทศไท.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและเมืองของประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์

้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ (ເຈົ້າບຸນອຸ້ມ ນະ ຈຳປາສັກ; ประสูติ: 12 ธันวาคม พ.ศ. 2454 – สิ้นพระชนม์: 17 มีนาคม พ.ศ. 2523) หรือ เสด็จเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาสัก เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์พระองค์ที่ 13 (พระองค์สุดท้าย) ทรงประสูติในราชวงศ์จำปาศักดิ์และสืบพระราชสันตติวงศ์มาจากสมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (เจ้าหน่อกษัตริย์) พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสถาปนาราชอาณาจักรจำปาศักดิ์และพระมหากษัตริย์แห่งนครจำปาศักดิ์พระองค์แรกของลาว เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาว 2 สมัย อดีตผู้ตรวจการแผ่นดินต่างพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตแห่งราชอาณาจักรลาว และประมุขแห่งราชสกุล ณ จำปาศักดิ์ และสกุล จำปา ทรงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญทางการเมืองลาวในฐานะลาวฝ่ายขวาหลังได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส จนกระทั่งสิ้นสุดสมัยพระราชอาณาจักรลาวในปี พ.ศ. 2518 ทรงได้รับการยกย่องจากประชาชนชาวลาวในฐานะที่เป็นผู้ยอมสละราชบัลลังก์พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรจำปาศักดิ์ เพื่อให้ประเทศลาวรวมเป็นแผ่นดินเดียวกัน และทรงดำรงพระอิสริยยศแห่งราชวงศ์สูงเป็นลำดับที่ 3 ของพระราชอาณาจักร รองจากพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตและสมเด็จเจ้าฟ้าองค์มกุฎราชกุมาร.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)

ระอาชญาเจ้าขุนรามราชรามางกูร (ลาว: ພຣະອາດຊະຢາເຈົ້າຂຸນຣາມມະຣາຊຣາມາງກູຣ, ราว พ.ศ. ๒๓๐๐-๒๔๐๐) ทรงเป็นเจ้าเมืองพนม (เมืองธาตุพนม) อันเป็นเมืองกัลปนาหรือเมืองพุทธศาสนานครพระองค์แรกจากราชวงศ์เวียงจันทน์ เมื่อครั้งธาตุพนมยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ ก่อนตกเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม และทรงเป็นเจ้าขุนโอกาส (ขุนโอกลาษ) ผู้รักษากองข้าอุปัฏฐากพระบรมมหาธาตุเจ้าเจดีย์พระนม (พระธาตุพนม วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร) พระองค์แรกแห่งราชวงศ์เวียงจันทน์ ระหว่างราวปี..

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) · ดูเพิ่มเติม »

เขตการปกครองของประเทศลาว

ตการปกครองของประเทศลาว ระดับบนสุดแบ่งเป็น 17 แขวง และ 1 นครหลวง (ได้แก่ นครหลวงเวียงจันทน์) แขวงแต่ละแขวงจะแบ่งเป็นเมือง ซึ่งจะมีหนึ่งเมืองเป็นเมืองหลวงของแขวงเรียกว่า เมืองเอก แต่เดิมนั้นประเทศลาวเคยมีตาแสงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับตำบลในประเทศไทย ต่อมาได้ถูกยกเลิกไป.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและเขตการปกครองของประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

เซบั้งไฟ

ซบั้งไฟ เซบั้งไฟ (ເຊບັ້ງໄຟ) เป็นแม่น้ำในประเทศลาว ไหลผ่านแขวงคำม่วนและแขวงสุวรรณเขต รับน้ำมาจากแม่น้ำเทิน.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและเซบั้งไฟ · ดูเพิ่มเติม »

เซโปน

เซโปน (ເຊໂປນ) ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแขวงสุวรรณเขต ตามทางหลวงหมายเลข 9 ประมาณ 190 กิโลเมตร เซโปนเป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดสงครามมากที่สุดเมืองหนึ่ง ทั้งนี้เพราะในช่วงสงครามเวียดนาม เส้นทางโฮจิมินห์ซึ่งเป็นเส้นทางลับได้พาดผ่านเมืองเซโปนแห่งนี้ เส้นทางโฮจิมินห์เป็นเครือข่ายของถนนที่ทุรกันดารตามแนวชายแดนลาว-เวียดนามเริ่มต้นจากแขวงสุวรรณเขตไปจนถึงแขวงอัตตะปือ และมีทางต่อไปกัมพูชาได้ เวียดมินห์ได้สร้างเส้นทางสายนี้เพื่อใช้ลำเลียงพลสู้กับฝรั่งเศส และใช้ลำเลียงพลจากเวียดนามเหนือไปเวียดนามใต้ในช่วงสงครามเวียดนาม (พ.ศ. 2506 – 2517) สหรัฐอเมริกาพยายามทำลายล้างเส้นทางนี้โดยทิ้งระเบิดอย่างหนัก เซโปนยังมีร่องรอยสงครามในอดีดให้เห็นได้อย่างชัดเจน ถนนสายอ้อมเมืองมีซากปรักหักพัง ซากอาวุธยุทโธปกรณ์ ใหเห็นได้ทั่วไป ปัจจุบันยังคงมีกับระเบิด และร่องรายความพังพินาศเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ถึงความโหดเหี้ยมของสงครามในอดีต หมวดหมู่:เมืองในแขวงสุวรรณเขต en:Xépôn.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและเซโปน · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:LA

ISO 3166-2:LA เป็นรายการรหัสสำหรับประเทศลาว ในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่น (เช่น จังหวัด หรือ รัฐ) และกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1 ในปัจจุบันสำหรับประเทศลาว ISO 3166-2 มีความหมายถึง 1 นครหลวงและ 17 แขวง รหัสแต่ละตัวจะแบ่งเป็นสองส่วน ซึ่งคั่นด้วยยติภังค์ (-) ส่วนแรกคือ LA ซึ่งเป็นรหัสประเทศตามมาตรฐาน ISO 3166-1 แบบสองอักขระของประเทศลาว และส่วนที่สองเป็นตัวอักษรสองอักขร.

ใหม่!!: แขวงสุวรรณเขตและISO 3166-2:LA · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สะหวันนะเขดสะหวันนะเขตสุวรรณเขตแขวงสะหวันนะเขดแขวงสะหวันนะเขตแขวงสะหวันเขต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »