โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แขวงคำม่วน

ดัชนี แขวงคำม่วน

ำม่วน (ຄໍາມ່ວນ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางใต้ของประเทศ ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับแขวงบอลิคำไซ ทิศใต้ติดกับแขวงสุวรรณเขต เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน..

61 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2436พระบรมราชา (มัง)พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระยอดเมืองขวาง (ขำ ยอดเพชร)กองกอยภาษาบอภาษาชุตภาษามาเล็งภาษาลาวภาษาฮุงภาษาผู้ไทภาษาคัวภาษาโซ่ภาษาไทดำภาษาไตคังภูมิศาสตร์ลาวยมราช (เมือง)รายชื่อพระธาตุเจดีย์รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศลาวรายชื่อเมืองในประเทศลาวรายชื่อเขตการปกครองวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112สมบัด สมพอนสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)สถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาวหินบูรณ์หนองบกหนูหินอาณาจักรโคตรบูรอำเภอบ้านแพงอำเภอธาตุพนมอำเภอท่าอุเทนอำเภอเมืองนครพนมอุทกภัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2554จังหวัดห่าติ๋ญจังหวัดนครพนมถ้ำกองลอทำเนียบหัวเมืองที่มาของประชากรลาวท่าอากาศยานด่งเฮ้ยท่าแขกประเทศลาวประเทศไทยใน พ.ศ. 2436ปลาถ้ำปี่ภูไทนากาย-น้ำเทินแขวงบอลิคำไซแขวงสุวรรณเขตแขวงจำปาศักดิ์...แขวงของประเทศลาวเมืองบัวรภาเมืองมะหาไซเมืองของประเทศลาวเมืองนากายเจ้าอนุวงศ์เทศบาลเมืองนครพนมเขตการปกครองของประเทศลาวเซบั้งไฟISO 3166-2:LA5 มิถุนายน ขยายดัชนี (11 มากกว่า) »

พ.ศ. 2436

ทธศักราช 2436 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1893 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและพ.ศ. 2436 · ดูเพิ่มเติม »

พระบรมราชา (มัง)

ระบรมราชา (มัง) (พ.ศ. 2348 - 2369) ทรงมีพระนามเต็มว่า พระบรมราชากิตติศัพท์เทพฤๅยศ ทศบุรีศรีโคตรบูรหลวง ทรงเป็นเจ้าผู้ปกครองเมืองนครบุรีราชธานีศรีโคตรบูรหลวง หรือเมืองนครพนมในอดีต และทรงเป็นเจ้าผู้ปกครองเมืองนครราชสีมาอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่เมื่อครั้งนครพนมยังเป็นเมืองเจ้าหัวเศิกหรือนครประเทศราชของราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ. 2348 - 2371) แห่งเวียงจันทน์ ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367 - 2394) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงเป็นผู้สร้างเวียงท่าแขกหรือเมืองท่าแขกของแขวงคำม่วนในประเทศลาวปัจจุบัน เมื่อครั้งสงครามสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ พระบรมราชา (มัง) ทรงเป็นแม่ทัพองค์สำคัญของฝ่ายนครเวียงจันทน์เช่นเดียวกันกับพระยานรินทร์สงคราม (ทองคำ) อนึ่ง พระบรมราชา (มัง) ทรงเป็นต้นสกุลพระราชทาน มังคลคีรี แห่งจังหวัดนครพนมในภาคอีสานของประเทศไทย อีกทั้งทรงเป็นเจ้าประเทศราชแห่งเมืองนครพนมองค์สุดท้ายที่ขึ้นกับนครเวียงจันทน์และได้รับพระราชทานพระนามเป็นที่ พระบรมราชา เป็นองค์สุดท้ายก่อนที่นครพนมจะตกเป็นประเทศราชของสยาม จากนั้นสยามจึงเปลี่ยนราชทินนามของเจ้าเมืองนครพนมเป็น พระยาพนมนครนุรักษ์ แทน.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและพระบรมราชา (มัง) · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระยอดเมืองขวาง (ขำ ยอดเพชร)

ระยอดเมืองขวาง หลังได้อิสรภาพ ออกจากเรือนจำเมื่อ พ.ศ. 2441 พันตรี พระยอดเมืองขวาง (พ.ศ. 2395 - พ.ศ. 2443) เป็นข้าราชการฝ่ายปกครองในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตำแหน่งสุดท้ายเป็นข้าหลวง เจ้าเมืองคำม่วน เมืองคำเกิด สังกัดกองข้าหลวงเมืองลาวพวน ในบังคับบัญชาของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวง ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านที่ต่อสู้กับทหารฝรั่งเศส ในกรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) พระยอดเมืองขวาง เดิมชื่อ ขำ เป็นต้นสกุล ยอดเพ็ชร์ เกิดเมื่อปีชวด ร..

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและพระยอดเมืองขวาง (ขำ ยอดเพชร) · ดูเพิ่มเติม »

กองกอย

กองกอย เป็นผีป่าชนิดหนึ่ง มีลักษณะรูปร่างไม่เป็นที่ปรากฎชัด แต่โดยมากจะอธิบายว่าเป็นผีที่มีขาข้างเดียว เคลื่อนที่โดยการกระโดดไปด้วยขาเดียว และส่งเสียงร้องว่า "กองกอย ๆ" อันเป็นที่มาของชื่อ แต่บ้างก็ว่ามีปากเป็นท่อเหมือนแมลงวัน หรือเชื่อว่ามีหน้าตาคล้ายลิงหรือค่าง บ้างเรียก ผีโป่ง หรือ ผีโป่งค่าง สันนิษฐานว่า ความเชื่อเรื่องผีโป่งหรือผีกองกอยคือ ค่างแก่หน้าตาน่าเกลียดที่ไม่สามารถขึ้นต้นไม้ได้ มีความเชื่อของคนบางกลุ่มว่า ถ้าได้ดื่มเลือดค่างจะทำให้ร่างกายคงกระพันเป็นอมตะ หรือแม้แต่สัตว์ป่าชนิดอื่นที่มีลักษณะผิดแผกไปจากปกติ ก็ถูกเชื่อว่าเป็นผีกองกอย โดยคำว่า "กอย" ตามนิยามของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายว่า "น.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและกองกอย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบอ

ษาบอ (Bo ISO 639-3) มีผู้พูดในลาว 2,950 คน (พ.ศ. 2543) ทางภาคกลางในแขวงคำม่วน บอลิคำไซ ตามแนวแม่น้ำโขง จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขาเหวียต-เหมื่อง สาขาย่อยเหมื่อง.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและภาษาบอ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาชุต

ษาชุต (Chut) มีผู้พูดทั้งหมด 4,279 คน อยู่ในเวียดนาม 3,829 คน (พ.ศ. 2542) ตามแนวชายแดนลาว ในลาวมี 450 คน (พ.ศ. 2538) ในแขวงคำม่วน ใกล้ชายแดนเวียดนาม จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขาเหวียด-เหมื่อง.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและภาษาชุต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาเล็ง

ษามาเล็ง (Maleng) หรือภาษามาเลียง ภาษามาลัง มีผู้พูดทั้งหมด 1,000 คน พบในลาว 800 คน (พ.ศ. 2539) ในแขวงคำม่วน พบในเวียดนาม 200 คน (พ.ศ. 2539) ในจังหวัดกวางบิญ และตามแนวชายแดนลาว จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขาเหวียด-เหมื่อง สาขาย่อยชุต.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและภาษามาเล็ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลาว

ษาลาว (ลาว: ພາສາລາວ พาสาลาว) เป็นภาษาราชการของประเทศลาว เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ในภาษากลุ่มไท และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาอีสานของประเทศไทย ระบบการเขียนในภาษาลาวจะใช้อักษรลาว ซึ่งเป็นระบบอักษรสระประกอบ (ระบบการเขียนที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์แทนพยัญชนะและตามด้วยสระที่จะอยู่ด้านหน้า หลัง บน ล่าง ของพยัญชนะ) และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรไท.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและภาษาลาว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮุง

ษาฮุง (Hung) มีผู้พูดประมาณ 2,700-3,700 คน โดยแบ่งเป็นแขวงคำม่วนและแขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว 2,000 คน (พ.ศ. 2539) ประเทศเวียดนาม 700 คน (พ.ศ. 2539) จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขาเวียด-เหมื่อง.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและภาษาฮุง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาผู้ไท

ษาผู้ไท (เขียน ผู้ไท หรือ ภูไท ก็มี) เป็นภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได มีผู้พูดจำนวนไม่น้อย กระจัดกระจายในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยและลาว เข้าใจว่า ผู้พูดภาษาผู้ไทมีถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมอยู่ในเมือง นาน้อยอ้อยหนู ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า เมืองนาน้อยอ้อยหนู อันเป็นถิ่นฐานดั้งเดิมของผู้ไทอยู่ทีไหน เพราะปัจจุบันมีเมืองนาน้อยอ้อยหนูอยู่ถึงสามแห่ง ตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองแถงหรือปัจจุบันคือจังหวัดเดียนเบียนฟู แห่งที่สองอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองแถง และแห่งที่สามอยู่ห่างจากเมืองลอของเวียดนามประมาณ 10 กิโลเมตร ชาวไทดำกับผู้ไทเป็นคนละชาติพันธุ์กัน นักภาษาศาสตร์สันนิษฐานว่า อพยพแยกจากกันนานกว่า 1,500 ปีมาแล้ว ในปัจจุบัน มีการจัดให้ภาษาผู้ไทเป็นกลุ่มย่อยของภาษาไทดำซึ่งไม่ถูกต้อง ผู้ไทอพยพจากนาน้อยอ้อยหนูไปอยู่ที่เมืองวังอ่างคำ ซึ่งคือเมืองวีระบุรี ในแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว ก่อนถูกกวาดต้อนมาอยู่ในดินแดนประเทศไทยเมื่อไม่ถึง 200 ปีมานี้ ผู้ไทที่ถูกกวาดต้อนมาอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงมีจำนวนไม่น้อย แต่ผู้ไทซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแถบแขวงสุวรรณเขตและแขวงคำม่วนในลาว ก็ยังมีประปราย มักจะเรียกผู้ไททั้งสองกลุ่มนี้รวม ๆ กันว่า "ผู้ไทสองฝั่งโขง".

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและภาษาผู้ไท · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคัว

ษาคัว (Khua ISO 639-3) มีผู้พูดทั้งหมด 5,000 คน พบในเวียดนาม 3,000 คน (พ.ศ. 2524) ทางภาคกลางฝั่งตะวันตก พบในลาว 2,000 คน (พ.ศ. 2524) ในแขวงคำม่วน จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขามอญ-เขมรตะวันออก สาขาย่อยกะตู เป็นคนละภาษากับภาษากัว.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและภาษาคัว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโซ่

ษาโซ่ (Sô) หรือ ภาษามังกอง เป็นภาษาที่มีผู้พูดในลาวและไทย มีผู้พูดทั้งหมด 160,000 คน โดยอยู่ในลาว 102,000 คน (พ.ศ. 2536) ในไทย 58,000 คน (พ.ศ. 2544) ในลาวมีผู้พูดในคำม่วน ท่าเหล็ก สุวรรณเขต ตลอดสองฝั่งแม่น้ำโขง มีผู้รู้หนังสือภาษาแม่น้อยกว่าร้อยละ 1 อัตราการรู้หนังสือภาษาที่สองราวร้อยละ 15–25 ในไทยพบที่นครพนม สกลนคร หนองคาย กาฬสินธุ์ ตามแนวแม่น้ำโขง มีทั้งหมด 53 หมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อพยพมาจากลาว นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ หรือความเชื่อดั้งเดิม ส่วนใหญ่เป็นภาษาที่ใช้พูดในบ้านและพูดภาษาลาวได้ด้วย เริ่มรับวัฒนธรรมและปรับตัวเข้ากับคนไทยมากขึ้น มีผู้รู้หนังสือภาษาแม่น้อยกว่าร้อยละ 1 อัตราการรู้หนังสือภาษาที่สองราวร้อยละ 25–50 อยู่ในตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขามอญ-เขมรตะวันออก สาขาย่อยกะตู ใกล้เคียงกับภาษาบรู ชื่อภาษาโซ่ใช้ในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศลาวใช้ชื่อภาษามังกอง.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและภาษาโซ่ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทดำ

ษาไทดำ (Tai Dam language, Black Tai language; 傣担语, Dǎidānyǔ) มีผู้พูดทั้งหมด 763,700 คน อาศัยอยู่ระหว่างแม่น้ำแดงกับแม่น้ำดำ ทางภาคเหนือของประเทศเวียดนาม 699,000 คน (พ.ศ. 2545) อยู่ในแขวงคำม่วน ประเทศลาว 50,000 คน (พ.ศ. 2538) อยู่ในจังหวัดเลย ประเทศไทย 700 คน (พ.ศ. 2547) อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2428 ลาวโซ่งก็คือคนไทดำกลุ่มแรกที่เข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษานี้ในออสเตรเลีย จีน ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ภาษาไทดำอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ภาษากลุ่มกัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก อัตราการรู้หนังสือภาษาแม่ราวร้อยละ 1-5 เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยที่สำคัญในเวียดนาม.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและภาษาไทดำ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไตคัง

ษาไตคัง (Tay Khang) พบในลาวประมาณ 200 คนที่แขวงคำม่วน อาจจะมีในเวียดนามด้วย จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ภาษากลุ่มคำ-ไต สาขา เบ-ไต สาขาย่อยไต-แสก เป็นคนละภาษากับภาษาคังในเวียดนาม.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและภาษาไตคัง · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์ลาว

right แผนที่ประเทศลาวแสดงรายละเอียด ลาวเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและทางตะวันตกของเวียดนาม มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร ในใจกลางของแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล้อมรอบด้วยพม่า จีน ไทย เวียดนามและกัมพูชา โดยตำแหน่งที่ตั้งทำให้มีฐานะเป็นรัฐกันชนระหว่างเพื่อนบ้านที่มีอำนาจมากกว่า เป็นทางผ่านของการค้า การสื่อสาร การอพยพและความขัดแย้งในระดับนานาชาติ ส่งผลต่อสถานะทางเชื้อชาติและการแพร่กระจายของกลุ่มชนต่างๆภายในประเท.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและภูมิศาสตร์ลาว · ดูเพิ่มเติม »

ยมราช (เมือง)

เมืองยมราช (ลาว: ເມືອງຍົມມະລາດ) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแขวงคำม่วน ประเทศลาว หมวดหมู่:เมืองในแขวงคำม่วน.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและยมราช (เมือง) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อพระธาตุเจดีย์

ระธาตุเจดีย์ชินสีห์มิ่งมงคล วัดสว่างแสงจันทร์ บ้านหนองลาด ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี หน้านี้เป็นรายชื่อพระธาตุเจดีย์ สำหรับความหมายดูที่ เจดี.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและรายชื่อพระธาตุเจดีย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศลาว

รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศลาว.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเมืองในประเทศลาว

แผนที่ของประเทศลาว นี่คือรายการของเมืองในประเทศลาวซึ่งเป็นประเทศในทวีปเอเชี.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและรายชื่อเมืองในประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเขตการปกครอง

รายชื่อเขตปกครองในระดับบนสุดของประเทศต่าง ๆ ที่มีการปกครองแบบสหพันธรัฐหรือรัฐรวม รวมทั้งเขตการปกครองในระดับบนสุดของเอกรัฐหรือรัฐเดี่ยวบางแห่ง.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและรายชื่อเขตการปกครอง · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112

วิกฤตการณ์ ร..

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 · ดูเพิ่มเติม »

สมบัด สมพอน

มบัด สมพอน (ສົມບັດ ສົມພອນ) เป็นนักพัฒนาสังคมชาวลาวและเจ้าของรางวัลแมกไซไซ ซึ่งได้หายตัวไปเนื่องจากการลักพาตัว ที่กรุงเวียงจันทน์ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 แม้ว่ารัฐบาลลาวปฏิเสธการเชื่อมโยงและอ้างว่าไม่มีส่วนรู้เห็น แต่เชื่อว่ามีทฤษฎีสมคบคิดมากพอที่ทำให้เชื่อว่ารัฐบาลลาววางแผนการลักพาตัว เนื่องจากว่าไม่เคยยอมเปิดเผยการลักพาตัวเลยแม้แต่น้อ.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและสมบัด สมพอน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช

ระอุปภัยพุทธบวรไชยเชษฐาธิราช หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช (ໄຊເສດຖາ, ເສດຖາທິຣາດ; 80px) ถือเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชาติลาว ทรงเป็นผู้นำแห่งอาณาจักรล้านช้าง ผู้สถาปนากรุงเวียงจันทน์ให้เป็นศูนย์กลางอารยธรรม และเป็นศูนย์รวมศิลปะวัฒนธรรมต่าง ๆ ของอาณาจักรล้านช้างเข้าไว้ด้วยกัน ประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าพระองค์เป็นพระญาติหรือพระนัดดาในพระนางจิรประภาเทวีเจ้านางหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา ในรัชสมัยพระยาโพธิสาลราช (พ.ศ. 2063-2090) พระองค์เป็นผู้เคร่งครัดทางศาสนาพุทธเป็นอย่างยิ่ง ได้มีพระราชโองการให้พลเมืองเลิกนับถือผีสางเทวดา เลิกการทรงเจ้าเข้าผีทั่วพระราชอาณาจักร ให้รื้อศาลหลวง ศาลเจ้าผีเสื้อเมืองทรงเมือง และให้หันมานับถือพระพุทธศาสนาแทน ทรงสร้างวัดสุวรรณเทวโลกเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา แต่เนื่องจากประเพณีการนับถือผีนั้นมีมาช้านาน และได้ฝังเข้าไปในจิตใจของประชาชนทั่วไป จึงยากที่จะเลิกอย่างเด็ดขาดได้ ครั้นต่อมาทางอาณาจักรล้านนาว่างกษัตริย์ปกครอง จึงได้อัญเชิญเจ้าไชยเชษโฐหรือเชษฐวังโส พระโอรสของพระเจ้าโพธิสาร ไปครองนครล้านนา เมื่อปี..

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)

นมิตรภาพไทย-ลาว 3 เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยที่หมู่ที่ 1 บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม กับประเทศลาวที่บ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ควบคุมการก่อสร้างโดยสำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวงและบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างใช้งบประมาณก่อสร้างจากรัฐบาลไทยทั้งสิ้น 1,723 ล้านบาท มีระยะเวลาการก่อสร้างรวม 900 วัน แล้วเสร็จในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งด้านการค้า และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงจากประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และภาคใต้ของประเทศจีน ซึ่งมีความยาวรวม 1,423 เมตร มีความกว้าง 13 เมตร และมีการช่องจราจร 2 ช่อง และไม่มีทางรถไฟ และเพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม - คำม่วน) วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552 ณ มณฑลพิธี บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม และเสด็จทรงเป็นประธานพิธีเปิดอย่างเป็นทางการร่วมกับสหายบุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศลาว ในวันที่ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน) · ดูเพิ่มเติม »

สถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว

นีโทรทัศน์แห่งชาติลาว (ສະຖານີໂທລະພາບແຫ່ງຊາດລາວ, ชื่อย่อ: ທຊລ) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติในการกำกับของรัฐบาลลาว นับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศภาคพื้นดินเพียงแห่งเดียวในประเทศลาว.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและสถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว · ดูเพิ่มเติม »

หินบูรณ์

เมืองหินบูรณ์ (ເມືອງຫິນບູນ) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของแขวงคำม่วน ประเทศลาว เดิมเรียกชื่อว่าเมืองฟองวินห์ หมวดหมู่:เมืองในแขวงคำม่วน.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและหินบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

หนองบก

มืองหนองบก (ເມືອງໜອງບົກ) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของแขวงคำม่วนพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีแม่น้ำโขงกั้นเขตแดนระหว่างประเทศลาวและประเทศไทย และมีแม่น้ำเซบั้งไฟกั้นเขตแดนกับเมืองไชบุรี แขวงสุวรรณเขต ทิศเหนือติดกับเมืองท่าแขก ซึ่งเป็นเทศบาลแขวง ประชาชนส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม อาศัยน้ำฝน มีบางบริเวณเท่านั้นที่มีระบบชลประทาน มีถนนหมายเลข 13 เป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับเทศบาลแขวงและแขวงสุวรรณเขต มีด่านแลกเปลี่ยนสินค้าที่เซบั้งไฟ เปิดตั้งแต..

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและหนองบก · ดูเพิ่มเติม »

หนูหิน

หนูหิน (Laotian rock rat; ลาว: ຂະຍຸ; ข่าหนู, ขะหยุ) เป็นสัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง ที่เพิ่งได้รับการอนุกรมวิธานและค้นพบเจอเมื่อปี ค.ศ. 2005 หนูหิน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Laonastes aenigmamus (เป็นภาษาละติน คำแรกมีความหมายว่า "ผู้อาศัยอยู่ในหิน" และคำหลังหมายถึง "หนูประหลาด") มีความยาวตลอดทั้งตัวประมาณ 40 เซนติเมตร มีรูปร่างคล้ายหนู มีขนปกคลุมลำตัวสีเทาเข้ม แต่มีหางเป็นพวงเหมือนกระรอก และเท้าเป็นพังผืดคล้ายอุ้งเท้าของเป็ด ส่วนเท้าหลังแผ่ออกกว้างเป็นรูปตัววี ทำมุมกับลำตัว ทำให้เดินอุ้ยอ้ายเชื่องช้าและไม่สามารถป่ายปีนได้ มีหนวดยาวและนัยน์ตากลมมน ออกหากินในเวลากลางคืน และไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ ปัจจุบันพบในเขตภูเขาหินปูนแขวงคำม่วน ประเทศลาวเพียงแห่งเดียวเท่านั้น และถือเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Laonastes หนูหิน จัดได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตชนิดหนึ่ง ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในวงศ์เดียวกันนั้นได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วตั้งแต่เมื่อ 11 ล้านปีก่อน โดยมีหลักฐานเป็นซากดึกดำบรรพ์พบในมณฑลซานตง ทางตอนใต้ของประเทศจีน หนูหินนั้นเป็นสัตว์ที่ชาวพื้นเมืองรับประทานเป็นอาหารโดยปกติอยู่แล้ว แต่ว่าเพิ่งจะมาเป็นรู้จักของชาวโลกในกลางปี..

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและหนูหิน · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรโคตรบูร

อาณาจักรโคตรบูร หรือ อาณาจักรศรีโคตรบูร เป็นอาณาจักรโบราณที่มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับนครเวียงจันทน์ยุคจันทะปุระ (ราวพุธศตวรรษที่ 1-10) และยุคซายฟอง (ราวพุธศตวรรษที่ 10-12) เริ่มมีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลถึงพุทธศตวรรษที่ 11-15 หรือระหว่าง..

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและอาณาจักรโคตรบูร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบ้านแพง

อำเภอบ้านแพง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและอำเภอบ้านแพง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอธาตุพนม

ตุพนม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและอำเภอธาตุพนม · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอท่าอุเทน

ท่าอุเทน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม มีแนวชายแดนติดกับประเทศลาว เป็นอำเภอที่มีความสงบร่มเย็น มีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวลุ่มแม่น้ำโขงที่โดดเด่น ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของชาวไทญ้อของประเทศไท.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและอำเภอท่าอุเทน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองนครพนม

อำเภอเมืองนครพนม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและอำเภอเมืองนครพนม · ดูเพิ่มเติม »

อุทกภัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2554

อุทกภัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้..

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและอุทกภัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดห่าติ๋ญ

ห่าติ๋ญ (Hà Tĩnh) เป็นจังหวัดทางชายฝั่งตอนกลางเหนือของประเทศเวียดนาม อยู่ติดกับจังหวัดเหงะอาน สองจังหวัดนี้เคยเป็นจังหวัดเดียวกันมาก่อนคือจังหวัด "เหงะติ๋ญ" ชาวจังหวัดนี้มีสำเนียงการพูดภาษาเวียดนามที่เป็นเอกลักษณ์ จังหวัดห่าติ๋ญอยู่ห่างจากฮานอยไปทางทิศใต้ประมาณ 340 กิโลเมตร (211 ไมล์) ติดกับจังหวัดเหงะอานทางทิศเหนือ ติดกับจังหวัดกว๋างบิ่ญทางทิศใต้ ติดกับประเทศลาวทางทิศตะวันตก และติดกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันออก.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและจังหวัดห่าติ๋ญ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครพนม

ังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร นับเป็นเมืองชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของทิวทัศน์ และมีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมีพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง พื้นที่ด้านเหนือและตะวันออกของจังหวัดติดกับแม่น้ำโขงโดยตลอ.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและจังหวัดนครพนม · ดูเพิ่มเติม »

ถ้ำกองลอ

้ำกองลอ เป็นถ้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศลาว ตั้งอยู่ที่ เมืองคูนคำ แขวงคำม่วน เป็นถ้ำที่มีความลึกยาวเข้าไป 7 km ข้างในมีหาดทรายกว้าง จะมีรูปหินย้อยสวยงาม เป็นถ้ำที่มีน้ำไหลตลอดปี ซึ่งนอกจากจะเป็นถ้ำที่ใหญ่ และสวยงามแล้ว ประชาชนในหมู่บ้านยังใช้ถ้ำนี้เป็นเส้นทางเดินเรือจากเมืองคูนคำขื้นสู่ เมืองนากายได้อีกด้ว.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและถ้ำกองลอ · ดูเพิ่มเติม »

ทำเนียบหัวเมือง

ทำเนียบหัวเมือง คือเขตการปกครองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเทศสยามมีหัวเมืองขึ้นอยู่ 474 หัวเมือง หลักฐานที่ได้จากจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ที่ได้จารึกไว้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้จารึกไว้ที่คอสอง เฉลียงพระเบียงล้อมพระอุโบสถทั้งสี่ด้าน หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือระเบียงคด ได้เขียนภาพหัวเมืองขึ้นกรุงเทพมหานคร 474 หัวเมือง แต่ในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้หายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่จารึกที่บอกชื่อหัวเมืองเหล่านั้น กับเจ้าเมืองบางเมืองอยู่ราวครึ่งหนึ่ง ตรวจได้ศิลาจารึก 77 แผ่น ทำเนียบเมือง 194 เมือง แบ่งออกได้ดังนี้.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและทำเนียบหัวเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ที่มาของประชากรลาว

ที่มาของประชากรลาว (Peopling of Laos) หมายถึงการที่กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในลาวเกิดขึ้นเป็นชุมชนในประเทศลาวปัจจุบัน โดยเชื่อว่าประชากรลาวในปัจจุบันมีความเกี่ยวพันกับกลุ่มประชากรที่มีดีเอ็นเอในโครโมโซมวายแบบฮาโลกรุป O ซึ่งมีความใกล้เคียงกับชนกลุ่มน้อยในจีนเมื่อ 35,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งต่อมากลุ่มชนดังกล่าวได้แพร่กระจาย จนบางส่วนเข้ามาอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศลาวในปัจจุบัน.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและที่มาของประชากรลาว · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานด่งเฮ้ย

ท่าอากาศยานด่งเฮ้ย (Cảng hàng không Đồng Hới) เป็นท่าอากาศยานในเมืองด่งเฮ้ย เมืองหลักของจังหวัดกว๋างบิ่ญ ประเทศเวียดนาม ใกล้แขวงคำม่วนของประเทศลาว ทางวิ่งมีขนาด 2400 x 45 เมตร สนามบินแห่งนี้สามารถจุผู้โดยสารได้ 500,000 คนต่อปี นักล่าอาณานิคมชาวฝรั่งเศสได้สร้างลานบินขึ้นที่นี่โดยยังไม่ได้ลาดยางในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 เพื่อรองรับการทำสงครามอินโดจีนครั้งที่ 1 ต่อมาเวียดนามเหนือได้พัฒนาสนามบินแห่งนี้เป็นฐานทัพเพื่อใช้ขนส่งทหารและยุทโธปกรณ์ไปโจมตีเวียดนามใต้ การปรับปรุงสนามบิน (โครงสร้างปัจจุบัน) เริ่มต้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2547 โดยมีกำหนดเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2549 แต่มาแล้วเสร็จและเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เที่ยวบินพาณิชย์เที่ยวแรกของสนามบินแห่งนี้มาจากท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่ายในกรุงฮานอย ณ ปี..

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและท่าอากาศยานด่งเฮ้ย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าแขก

ท่าแขก (ທ່າແຂກ) เป็นเมืองเอกในแขวงคำม่วน ประเทศลาว ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ตรงข้ามอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนมImage.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและท่าแขก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทยใน พ.ศ. 2436

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2436 ในประเทศไท.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและประเทศไทยใน พ.ศ. 2436 · ดูเพิ่มเติม »

ปลาถ้ำ

ำพวกปลาคาราซิน (Characidae) พบในตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปลาถ้ำ (Cave fish) คือปลาที่อาศัยอยู่ในถ้ำที่มืดมิด โดยมากจะเป็นปลาที่มีผิวหนังสีขาวซีดเผือกและตาบอดหรือตาเล็กมากเนื่องจากไม่ได้ใช้สายตาให้เป็นประโยชน์เลย เพราะแสงสว่างส่องเข้าไปไม่ถึง ปลาถ้ำจะมีระบบนิเวศน์และพฤติกรรมของตัวเองโดยเฉพาะ แตกต่างจากปลาที่พบทั่วไป ซึ่ง ปลาถ้ำสามารถพบได้ในถ้ำทุกภูมิภาคของโลก ในส่วนของทวีปยุโรป เพิ่งจะมีการค้นพบปลาถ้ำเป็นครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและปลาถ้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปี่ภูไท

ปี่ภูไท หรือ ปี่ลูกแคน เป็นเครื่องดนตรีของชนเผ่าภูไทจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม อุดรธานี มุกดาหาร ในภาคอีสานของประเทศไทย และในแขวงสุวรรณเขต แขวงเชียงขวาง และแขวงคำม่วนในประเทศลาว ส่วนใหญ่ปี่ชนิดนี้เริ่มจะหายไปแล้ว เพราะไม้ไผ่ลูกแคนหรือไม้ไผ่เฮี้ยเริ่มหายาก เพราะมีไม่มากเหมือนสมัยก่อน ปี่ภูไทมีลักษณะคล้ายปี่จุมของภาคเหนือ เพราะมีลิ้นที่ทำจากโลหะจำพวก ทอง ทองแดง เงิน และมีเสียง วิธีการเป่าที่คล้ายกัน ปี่ภูไท ใช้บรรเลงกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆได้ เช่น แคน พิณ ซอ ปัจจุบันมีปราชญ์ชาวบ้านผู้เชี่ยวชาญ 1 ท่าน อยู่ที่บ้านกุดหว้า ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ คือ คุณพ่อเมฆ ศรีกำพล ศิลปินมรดกอีสาน สาขาปี่ภูไท มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและปี่ภูไท · ดูเพิ่มเติม »

นากาย-น้ำเทิน

ตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาตินากาย-น้ำเทิน (Nakai–Nam Theun National Biodiversity Conservation Area) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า นากาย-น้ำเทิน เป็นเขตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (ตัวย่อ: NBCA) แห่งหนึ่งในประเทศลาว มีพื้นที่ประมาณ 3,445 ตารางกิโลเมตร บริเวณเทือกเขาอันนัมและที่ราบสูงนากาย ในแขวงคำม่วนและแขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว มีสำนักงานตั้งอยู่ในเมืองนากาย นากาย-น้ำเทินอยู่ทางตะวันออกของบริเวณเขื่อนน้ำเทิน 2 มีสภาพเป็นลาดเขาที่ค่อยสูงขึ้นไปไปจนถึงสันเขาที่เป็นชายแดนติดต่อกับเวียดนาม เป็นป่ารับน้ำที่ป้อนน้ำเข้าสู่เขื่อนน้ำเทิน 2 และเป็นเขตป่าที่ได้รับการอนุรักษ์ปกปักรักษาให้คงสภาพป่าที่สมบูรณ์ตามธรรมชาติโดยไม่ถูกรบกวน มีแม่น้ำหลายสายที่ไหลมารวมกันเรียกว่า "น้ำเทิน" ได้แก.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและนากาย-น้ำเทิน · ดูเพิ่มเติม »

แขวงบอลิคำไซ

อลิคำไซ (ບໍລິຄໍາໄຊ) เป็นหนึ่งในแขวงที่ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศลาว แขวงบอลิคำไซจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยได้มีการแยกเมืองปากซัน เมืองท่าพระบาท เมืองบริคัณฑ์ (มาจากชื่อเต็มในอดีต "เมืองบริคัณฑนิคม") จากแขวงเวียงจันทน์ และแยกเมืองปากกระดิ่ง เมืองคำเกิด จากแขวงคำม่วน มารวมกันแล้วตั้งเป็นแขวงใหม่ เนื่องจากพื้นที่แขวงเวียงจันทน์และแขวงคำม่วนกว้างใหญ่ การปกครองดูแลไม่ทั่วถึง ชื่อของแขวงมาจากชื่อเมืองบริคัณฑ์และเมืองคำเกิดมาสมาสกับคำว่าชัยชนะหรือไซซะนะในภาษาลาว จึงเรียกว่า "บอลิคำไซ" ส่วนเมืองเวียงทองได้จัดตั้งขึ้นในภายหลัง แขวงนี้มีชื่อเสียงมากเกี่ยวกับหินปูน ทั้งทัศนียภาพและเหมืองซึ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและแขวงบอลิคำไซ · ดูเพิ่มเติม »

แขวงสุวรรณเขต

หวันนะเขต เชื่อมโยงมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่นของสุวรรณเขต ดูที่ สุวรรณเขต (แก้ความกำกวม) สุวรรณเขต หรือ สะหวันนะเขต (ສະຫວັນນະເຂດ สะกด สะหวันนะเขด) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางใต้ของประเทศ ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับแขวงคำม่วน ทิศใต้ติดกับแขวงสาละวัน เป็นแขวงที่มีเนื้อที่ใหญ่อันดับที่ 2 รองจากแขวงเวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม..

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและแขวงสุวรรณเขต · ดูเพิ่มเติม »

แขวงจำปาศักดิ์

ำปาศักดิ์ (ຈໍາປາສັກ) เป็นแขวงหนึ่งของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศ ติดชายแดนประเทศไทยและกัมพูชา มีเมืองปากเซเป็นเมืองหลักของแขวง และเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของลาว (รองจากเวียงจันทน์และเมืองไกสอน พมวิหาน) ถือเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการท่องเที่ยวของลาวตอนใต้ เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีแม่น้ำโขงไหลผ่านกลางและเกิดเกาะแก่งเป็นจำนวนมากจนได้ชื่อว่า "ดินแดนสี่พันดอน" แขวงจำปาศักดิ์เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากเป็นพื้นที่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรขอมโบราณ และเป็นที่ตั้งของอาณาจักรจำปาศักดิ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างในเวลาต่อมา แขวงจำปาศักดิ์จึงมีมรดกทางวัฒนธรรมหลงเหลืออยู่มากมาย ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศลาว โดยเฉพาะมรดกโลกปราสาทหินวัดพู นอกจากนี้ แขวงจำปาศักดิ์ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก เช่น น้ำตกคอนพะเพ็ง น้ำตกหลี่ผี น้ำตกผาส้วม เป็นต้น.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและแขวงจำปาศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

แขวงของประเทศลาว

ประเทศลาวแบ่งเขตการปกครองระดับบนสุดออกเป็น 17 แขวง (ແຂວງ) และ 1 เขตนครหลวง (ນະຄອນຫຼວງ) เขตพิเศษไชยสมบูรณ์จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 และถูกยกเลิกเมื่อ 13 มกราคม พ.ศ. 2549 ส่วนเขตปกครองล่าสุดที่ได้จัดตั้งขึ้นคือ "แขวงไชยสมบูรณ์" จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 ธันวาคม..

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและแขวงของประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

เมืองบัวรภา

ัวละพา เป็นอำเภอ (เมือง) ของแขวงคำม่วน แขวงในตอนกลางของประเทศลาว.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและเมืองบัวรภา · ดูเพิ่มเติม »

เมืองมะหาไซ

มะหาไซ เป็นเมือง (อำเภอ) หนึ่งของแขวงคำม่วนในทางตอนกลางของประเทศลาว.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและเมืองมะหาไซ · ดูเพิ่มเติม »

เมืองของประเทศลาว

ในประเทศลาว เมือง (ເມືອງ) เป็นเขตการปกครองระดับที่ 2 รองจากแขวง ซึ่งตรงกับอำเภอของประเทศไทย เมืองแต่ละเมืองแบ่งออกเป็นบ้าน (ບ້ານ) ซึ่งตรงกับหมู่บ้านในประเทศไท.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและเมืองของประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

เมืองนากาย

มืองนากาย  เป็นเมืองของประเทศลาวในแขวงคำม่วน อยู่ทางตอนกลางของประเท.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและเมืองนากาย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าอนุวงศ์

้าอนุวงศ์ หรือ เจ้าอนุ (ສົມເດັຈພຣະເຈົ້າ​ອະນຸວົງສ໌) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๕ หรือพระองค์สุดท้าย ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นพระมหาวีรกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างและประเทศลาว นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องจากประชาชนชาวลาวว่า เป็นพระมหากษัตริย์ผู้พยายามกอบกู้เอกราชชาติลาวจากการเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม ทรงปกครองราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ราว..

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและเจ้าอนุวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลเมืองนครพนม

ทศบาลเมืองนครพนม เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลในเมืองและตำบลหนองแสงทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลอาจสามารถและตำบลหนองญาติ ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร สถานศึกษา สถานพยาบาลและสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดนครพนม.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและเทศบาลเมืองนครพนม · ดูเพิ่มเติม »

เขตการปกครองของประเทศลาว

ตการปกครองของประเทศลาว ระดับบนสุดแบ่งเป็น 17 แขวง และ 1 นครหลวง (ได้แก่ นครหลวงเวียงจันทน์) แขวงแต่ละแขวงจะแบ่งเป็นเมือง ซึ่งจะมีหนึ่งเมืองเป็นเมืองหลวงของแขวงเรียกว่า เมืองเอก แต่เดิมนั้นประเทศลาวเคยมีตาแสงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับตำบลในประเทศไทย ต่อมาได้ถูกยกเลิกไป.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและเขตการปกครองของประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

เซบั้งไฟ

ซบั้งไฟ เซบั้งไฟ (ເຊບັ້ງໄຟ) เป็นแม่น้ำในประเทศลาว ไหลผ่านแขวงคำม่วนและแขวงสุวรรณเขต รับน้ำมาจากแม่น้ำเทิน.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและเซบั้งไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:LA

ISO 3166-2:LA เป็นรายการรหัสสำหรับประเทศลาว ในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่น (เช่น จังหวัด หรือ รัฐ) และกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1 ในปัจจุบันสำหรับประเทศลาว ISO 3166-2 มีความหมายถึง 1 นครหลวงและ 17 แขวง รหัสแต่ละตัวจะแบ่งเป็นสองส่วน ซึ่งคั่นด้วยยติภังค์ (-) ส่วนแรกคือ LA ซึ่งเป็นรหัสประเทศตามมาตรฐาน ISO 3166-1 แบบสองอักขระของประเทศลาว และส่วนที่สองเป็นตัวอักษรสองอักขร.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและISO 3166-2:LA · ดูเพิ่มเติม »

5 มิถุนายน

วันที่ 5 มิถุนายน เป็นวันที่ 156 ของปี (วันที่ 157 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 209 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: แขวงคำม่วนและ5 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

คำม่วน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »