สารบัญ
39 ความสัมพันธ์: พระพุธพันธนาการโพรมีเธียส (จอร์แดงส์)ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิสยมทูตยาโกบ ยอร์ดานส์รายชื่อตัวละครในค่ายฮาล์ฟบลัดรายชื่อตัวละครในนักเตะแข้งสายฟ้าลุค แคสเทลลันศิลปะเกี่ยวกับความตายสงครามกรุงทรอยสงครามมหาเทพประจัญบานอะธีนาอีเลียดฮิฟีสตัสธีบส์ (กรีซ)ดาวพุธคทาอัสคลิปิอุสคทางูไขว้ซูสประติมากรรมเฉพาะหัวแกนีมีด (เทพปกรณัม)แอรีสแอโฟรไดทีแทนาทอสโรงฝึก (กรีซโบราณ)โอดิสเซียสไพลยาดีสไดอะไนซัสเพอร์ซีย์ แจ็กสันเพอร์โซนา 3เมอร์คิวรี (เทพปกรณัม)เอียรอสเอเร็ค เร็กซ์เฮสเตียเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์เฮอร์เมทิคาเทวสภาโอลิมปัสเนโบเนเมซิส
พระพุธ
ระพุธ (เทวนาครี: बुध พุธ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระพุธถูกสร้างขึ้นมาจากคชสาร (ช้าง) ๑๗ เชือก บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเขียวใบไม้ แล้วเสกได้เป็นพระพุธ มีพระวรกายเขียว ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค ฏะ ใหญ่ (ฏ ฐ ฑ ฒ ณ) พระพุธเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนโยนไพเราะ นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันพุธ หรือมีพระพุธสถิตร่วมกับลัคนา มักชอบพูดชอบเจรจา สุขุมรอบคอบ แต่ตื่นกลัวง่าย ตามนิทานชาติเวร พระพุธเป็นมิตรกับพระจันทร์ เนื่องจากในบางปกรณัมของฮินดูเล่าว่า พระพุธเป็นโอรสของพระจันทร์กับนางตารา ซึ่งเป็นชายาของพระพฤหัสบดี ที่พระจันทร์ชิงมาเป็นชายาของตน ในโหราศาสตร์ไทย พระพุธถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๔ (เลขสี่ไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากคชสาร ๑๗ เชือก จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๗ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพุธก็คือ ปางอุ้มบาตร ทางโหราศาสตร์จัดเป็นเทวดาของผู้ที่เกิดในวันพุธกลางวัน ส่วนผู้ที่เกิดในวันพุธกลางคืนเทวดาจะเป็นพระราหู เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระพุธเทียบได้กับเฮอร์มีสของเทพปกรณัมกรีก และเมอร์คิวรี่ของเทพปกรณัมโรมัน ซึ่งเป็นเทพที่มีความว่องไว เป็นเทพแห่งการสื่อสาร.
พันธนาการโพรมีเธียส (จอร์แดงส์)
ันธนาการโพรมีเธียส (Prometheus Bound) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจาคอป จอร์แดงส์จิตรกรคนสำคัญชาวดัตช์ของสมัยบาโรก ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วอลล์ราฟ-ริชาร์ทซ์ที่เมืองโคโลญในประเทศเยอรมนี ภาพ “พันธนาการโพรมีเธียส” ที่เขียนโดยจาคอป จอร์แดงส์ ราวปี ค.ศ.
ดู เฮอร์มีสและพันธนาการโพรมีเธียส (จอร์แดงส์)
ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส
ระราชินีมารี เดอ เมดีซิส (Marie de' Medici cycle) เป็นภาพเขียนชุดจำนวนยี่สิบสี่ภาพที่เขียนโดยเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ จิตรกรคนสำคัญของสมัยบาโรกแบบเฟลมิช ที่ว่าจ้างโดยพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส พระอัครมเหสีในพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส สำหรับตั้งแสดงที่พระราชวังลุกซ็องบูร์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รือเบินส์ได้รับการจ้างในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ.
ดู เฮอร์มีสและภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส
ยมทูต
ัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติแห่งเอเธนส์) ยมทูต (Psychopomp) “Psychopomps” มาจากภาษากรีกว่า “ψυχοπομπός” (psychopompos) ที่แปลตรงตัวว่า “ผู้นำวิญญาณ” เป็นจินตสัตว์ (creature), สิ่งที่มีจิตวิญญาณ (spiritual being), เทวดา, ผู้ศักดิ์สิทธิ์ ในหลายศาสนาผู้มีหน้าที่พาวิญญาณผู้ที่เพิ่งสิ้นชีวิตไปยังดินแดนหลังความตาย (afterlife) หน้าที่นี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินผู้ตาย แต่เพียงนำทางเพื่อความปลอดภัย ยมทูตที่มักจะปรากฏในศิลปะเกี่ยวกับความตายจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ประเพณีและวัฒนธรรม บ้างก็เกี่ยวข้องกับม้า, กา, สุนัข, นกฮูก, นกกระจอก หรือกวาง ตามหลักจิตวิทยาวิเคราะห์ของคาร์ล ยุง ยมทูตคือตัวกลางระหว่างจิตใต้สำนึกและจิตสำนึก บุคลาธิษฐานของยมทูตในฝันจะเป็นนักปราชญ์ หรือ สตรี หรือบางครั้งสัตว์ที่มีความกรุณา ในวัฒนธรรมบางวัฒนธรรมชาแมนจะทำหน้าที่เป็นผู้นำวิญญาณ ที่อาจจะรวมทั้งการนำวิญญาณของผู้เสียชีวิต หรือ ผู้เสียชีวิตอาจจะนำทางชาแมน ในการช่วยเหลือการกำเนิด หรือการนำวิญญาณของเด็กเกิดใหม่ให้เข้ามาในโลก(หน้า 36 ของ “Shamans in Eurasia”Hoppál, Mihály: Sámánok Eurázsiában.
ยาโกบ ยอร์ดานส์
กบ ยอร์ดานส์ (Jacob Jordaens; 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1593 - 18 ตุลาคม ค.ศ. 1678) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยบาโรกแบบเฟลมิช คริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพประวัติศาสตร์ คริสต์ศาสนา ภาพเหมือน และการออกแบบพรมทอแขวนผนัง ยาโกบ ยอร์ดานส์, เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ และอันโตนี ฟัน ไดก์ เป็นจิตรกรสามคนที่นำความมีหน้ามีตามาสู่ตระกูลการเขียนภาพแบบแอนต์เวิร์ป (Antwerp school) ยอร์ดานส์เป็นจิตรกรในหมู่น้อยที่มิได้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อศึกษาการเขียนภาพแบบอิตาลี และความก้าวหน้าทางอาชีพของยอร์ดานส์ก็มิได้มีอยู่ความสนใจในราชสำนักหรือความก้าวหน้าในราชสำนักd'Hulst, pp.
รายชื่อตัวละครในค่ายฮาล์ฟบลัด
ทความนี้คือการรวบรวมรายชื่อตัวละครที่มีอยู่ในค่ายฮาล์ฟบลัด (ซึ่งอ้างอิงจากนวนิยายชุดเพอร์ซีย์ แจ็กสัน และนวนิยายชุดวีรบุรุษแห่งโอลิมปัส).
ดู เฮอร์มีสและรายชื่อตัวละครในค่ายฮาล์ฟบลัด
รายชื่อตัวละครในนักเตะแข้งสายฟ้า
ตัวละครในเรื่องอินาสึมะอีเลฟเวน ได้ปรากฏอยู่ในวิดีโอเกมและภาพยนตร์อะนิเมะจึงได้รวบรวมตัวละครต่าง ๆ ในแต่ละภาคทั้ง อินาสึมะอีเลฟเวน, อินาสึมะอีเลฟเวน 2 เคียวอิ โนะ ชินเรียคุฉะ, อินาสึมะอีเลฟเวน 3 เซไคเอะ โนะ โชวเซน!!, ภาพยนตร์อะนิเมะ และหนังสือการ์ตูน.
ดู เฮอร์มีสและรายชื่อตัวละครในนักเตะแข้งสายฟ้า
ลุค แคสเทลลัน
ลุค แคสเทลลัน (Luke Castellan) เป็นตัวละครหลักจากหนังสือวรรณกรรมเยาวชนชุดเพอร์ซีย์ แจ็กสัน โดย ริก ไรออร์ดัน แสดงโดย เจค อาเบล ลุคเป็นบุตรของเฮอร์มีส เพราะความคิดต่างของเขา จึงทำให้ไปเข้าพวกกับฝ่ายเทพไททัน ในอดีตเคยเป็นมิตรที่ดีของแอนนาเบ็ธและธาเลีย หมวดหมู่:ตัวละครในเพอร์ซีย์ แจ็กสัน en:List of Camp Half-Blood characters#Grover Underwood.
ศิลปะเกี่ยวกับความตาย
ลปะเกี่ยวกับความตาย (Funerary art) คือประเภทของงานศิลปะที่เป็นรูปแบบหรือตั้งอยู่กับร่างของผู้ตาย ที่เก็บศพเป็นคำกว้างๆ ที่สใช้สำหรับบรรจุผู้ตาย ขณะที่สมบัติสุสานคือสิ่งของที่ฝังหรือตั้งไว้กับผู้ตาย—ที่นอกไปจากร่างของผู้ตาย—ที่ได้รับการวางไว้กับผู้ตาย สิ่งของต่างๆ ที่ฝังไปกับผู้ตายอาจจะรวมทั้งสิ่งของส่วนตัว หรือวัตถุหรือสิ่งของที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับทำการฝัง หรือวัตถุหรือสิ่งของขนาดย่อที่เชื่อกันว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ตายในโลกใหม่ ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆ ในอดีตมักจะมาจากวัตถุที่ฝังไว้กับผู้ตายเหล่านี้ ศิลปะเกี่ยวกับความตายอาจจะมีวัตถุประสงค์หลายประการที่นอกไปจากเพื่อความมีสุนทรีย์ในการแสดงถึงความเชื่อหรืออารมณ์เกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย ศิลปะเกี่ยวกับความตายอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีการฝังศพ, เป็นสิ่งของที่ผู้ตายจะนำไปใช้ได้ในโลกหน้า และ เป็นวัตถุเพื่อการเฉลิมฉลองชีวิตและความสำเร็จของผู้ตาย หรือ เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยในประเพณีการสักการะบรรพบุรุษ (ancestor veneration) นอกจากนั้นศิลปะเกี่ยวกับความตายก็อาจจะเป็นเครื่องเตือนถึงความไม่เที่ยงแท้ของสังขารของมนุษย์, เครื่องแสดงถึงคุณค่าและบทบาทของวัฒนธรรม และเป็นการเอาใจวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้กลับมาหลอกหลอนผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ วัฒนธรรมหลายวัฒนธรรมมีบุคลาธิษฐานยมทูต เช่นเทพเฮอร์มีสของกรีก หรือเทพชารุน ผู้เป็นผู้นำทางวิญญาณไปยังโลกสำหรับผู้ตาย ศิลปะเกี่ยวกับความตายมีมาตั้งแต่สมัยมนุษย์นีอันเดอร์ธอลกว่า 100,000 ปีมาแล้ว และดำเนินในทุกชาติทุกวัฒนธรรมต่อมา—ยกเว้นวัฒนธรรมฮินดูที่มีข้อมูลเพียงเล็กน้อยที่เป็นข้อยกเว้น งานศิลปะอันมีชื่อเสียงในวัฒนธรรมยุคโบราณในอดีต—ตั้งแต่พีระมิดอียิปต์ และสมบัติฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ไปจนถึง สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ล้อมรอบฮวงซุ้ยของจักรพรรดิจีนฉินสื่อหวงแห่งราชวงศ์ฉิน, the ที่เก็บศพฮาลิคาร์นาสซัส, เรือฝังที่ซัททันฮู และ ทัชมาฮาล—เป็นที่เก็บศพหรือที่พบสิ่งของที่ฝังไปกับผู้ตายเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่แล้วศิลปะเกี่ยวกับความตายมักจะสร้างขึ้นโดยผู้อุปถัมภ์ศิลปินผู้มีฐานะดี ส่วนการฝังศพหรือทำศพของผู้มีฐานะยากจนก็อาจจะเพียงแต่เป็นภาพที่เขียนหยาบๆ ง่ายๆ และสิ่งของติดตัวที่เป็นสมบัติเมื่อมีชีวิตอยู.
ดู เฮอร์มีสและศิลปะเกี่ยวกับความตาย
สงครามกรุงทรอย
"การเผากรุงทรอย" (1759/62) โดย Johann Georg Trautmann สงครามกรุงทรอย (Trojan War) เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ (Ἀχαιοί) (ชาวกรีก) กับชาวกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงพระนางเฮเลนมาจากพระสวามี คือพระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายชิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ส่วนอื่นของสงครามมีการอธิบายในโคลงวัฏมหากาพย์ (Epic Cycle) ได้แก่ ไซเพรีย, เอธิออพิส, อีเลียดน้อย, อีลิอูเพอร์ซิส, นอสตอย, และ เทเลโกนี ซึ่งปัจจุบันเหลือรอดมาเพียงบางส่วน ฯ การศึกแห่งกรุงทรอยเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่ กวีและนักประพันธ์โศกนาฏกรรมกรีก เช่น เอสคิลัส (Aeschylus) โซโฟคลีส (Sophocles) และ ยูริพิดีส (Euripides) นำมาใช้ประพันธ์บทละคร นอกจากนี้กวีชาวโรมัน โดยเฉพาะเวอร์จิลและโอวิด ก็ดึงเอาเหตุการณ์จากสงครามทรอยมาเป็นพื้นเรื่อง หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานประพันธ์ของตนเช่นกัน สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทพีอะธีนา เฮราและแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิลสีทอง ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ "ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผู้ตัดสินว่าแอโฟรไดที "ผู้งามที่สุด" ควรได้รับแอปเปิลไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดทีเสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัส ตกหลุมรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย อกาเมมนอน พระเจ้ากรุงไมซีนี และพระเชษฐาของพระเจ้าเมเนเลอัส พระสวามีของเฮเลน นำกองทัพชาวอะคีอันส์ไปยังกรุงทรอยและล้อมกรุงไว้สิบปี หลังสิ้นวีรบุรุษไปมากมาย รวมทั้งอคิลลีสและอาแจ็กซ์ของฝ่ายอะคีอันส์ และเฮกเตอร์และปารีสของฝ่ายทรอย กรุงทรอยก็เสียด้วยอุบายม้าโทรจัน ฝ่ายอะคีอันส์สังหารชาวกรุงทรอย (ยกเว้นหญิงและเด็กบางส่วนที่ไว้ชีวิตหรือขายเป็นทาส) และทำลายวิหาร ทำให้เทพเจ้าพิโรธ ชาวอะคีอันส์ส่วนน้อยที่กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยและหลายคนตั้งนิคมในชายฝั่งอันห่างไกล ภายหลังชาวโรมันสืบเชื้อสายของพวกตนไปถึงเอเนียส หนึ่งในชาวกรุงทรอย ผู้กล่าวกันว่านำชาวกรุงทรอยที่เหลือรอดไปยังประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ก่อนคริสตกาล และเชื่อว่ากรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับช่องแคบดาร์ดาเนลส์ เมื่อล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิทานปรำปราที่แต่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแฟรงก์ คัลเวิร์ท ผู้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง โดยตั้งอยู่ที่ฮิสซาร์ริคประเทศตุรกี และชไลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของคัลเวิร์ท คำถามที่ว่ามีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เบื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายความว่า เรื่องเล่าของโฮเมอร์เป็นการผสมนิทการล้อมและการออกเดินทางต่าง ๆ ของชาวกรีกไมซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทธิ์ก็ตาม ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยู่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย 7เอ.
สงครามมหาเทพประจัญบาน
งครามมหาเทพประจัญบาน (Clash of the Titans) เป็นภาพยนตร์อเมริกันในปี 2010 แนวแอคชั่น กำกับโดย หลุยส์ เลเทอร์ริเออร์ ภาพยนตร์เรื่องนี้เรีเมคจากภาพยนตร์เรื่อง Clash of the Titans นำแสดงโดย แซม เวิร์ธธิงตัน, เจมม่า อาร์เทอร์ตัน, แมดส์ มิคเคลสัน, อเล็กซา ดาวาโลส, เรล์ฟ ไฟนส์, เลียม นีสัน.
ดู เฮอร์มีสและสงครามมหาเทพประจัญบาน
อะธีนา
ในศาสนาและเทพปกรณัมกรีก อะธีนา (Athena) หรือ อะธีนี (Athene) หรือ แพลลัสอธีนา/อะธีนี (Pallas Athena/Athene) เป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งปัญญา ความกล้า แรงบันดาลใจ อารยธรรม กฎหมายและความยุติธรรม การสงครามโดยชอบ คณิตศาสตร์ ความแข็งแกร่ง ยุทธศาสตร์ ศิลปะ งานฝีมือและทักษะ ภาคโรมัน คือ มิเนอร์วา มีการพรรณนาอะธีนาว่าทรงเป็นพระสหายร่วมทางผู้เฉลียวฉลาดของวีรบุรุษและเทพเจ้าอุปถัมภ์การผจญภัยของวีรบุรุษ พระนางทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์ผู้อุปถัมภ์กรุงเอเธนส์ ชาวเอเธนส์ตั้งวิหารพาร์เธนอนบนอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ (อะธีนาพาร์ธีนอส) เพื่อถวายเกียรติแด่พระนางDeacy, Susan, and Alexandra Villing.
อีเลียด
ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.
ฮิฟีสตัส
ฟีสตัส (Ἥφαιστος) (Hephaestus) เป็นเทพเจ้าแห่งช่างตีเหล็ก (blacksmith) ช่างฝีมือ ช่างศิลป์ ประติมากร โลหะ โลหะวิทยา (metallurgy) ไฟและภูเขาไฟWalter Burkert, Greek Religion 1985: III.2.ii; see coverage of Lemnos-based traditions and legends at Mythic Lemnos) ภาคโรมัน คือ วัลแคน ในเทพปกรณัมกรีก ฮีฟีสตัสเป็นพระโอรสของซูสกับพระนางฮีรา หรือบางตำราก็ว่าท่านเกิดมาแต่เฉพาะเทวีฮีรา และมีแอฟโฟรไดทีเป็นชายา ฮิฟีสตัสเป็นเทพช่างตีเหล็ก ทรงประดิษฐ์อาวุธทั้งหมดของพระเจ้าบนโอลิมปัส พระองค์เป็นช่างตีเหล็กของเหล่าทวยเทพ และทรงได้รับการบูชาในศูนย์การผลิตและอุตสาหกรรมของกรีซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเอเธนส์ ลัทธิบูชาฮีฟีสตัสมีศูนย์กลางในเลมนอส ฮิฟีสตัสมีลักษณะเด่นคือเป็นเทพพิการ มีขาไม่สมประกอบ มีกริยาอาการเหมือนคนทุพพลภาพ และถือเครื่องมือช่างตลอดเวลา ท่านจึงได้รับฉายาเรียกหลายอย่างที่แสดงถึงลักษณะทางกายภาพ เช่น.
ธีบส์ (กรีซ)
ีบส์ (Thebes.; Θῆβαι,Thēbai,: (แธไบ)) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใน บีโอเชีย (Boeotia) ตอนกลางของกรีซ ธีบส์เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในเทพปกรณัมกรีก โดยเป็นสถานที่ของตำนานเกี่ยวกับวีรบุรุษและเทพเจ้าสำคัญๆของกรีซ เช่น แคดมอส อีดิปัส ไดโอไนซัส ฯลฯ การขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่รอบๆธีบส์ เผยให้เห็นการตั้งรกรากของอารยธรรมไมซีนี และการขุดค้นยังพบอาวุธ ศิลปะงาช้าง รวมทั้งแผ่นจารึกดินเหนียวไลเนียร์บี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่นี้ในยุคสำริด ธีบส์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในท้องที่บีโอเชียสมัยโบราณ และเป็นผู้นำของสหพันธรัฐบีโอเชีย (Boeotian confederacy) ในสมัยอาร์เคอิก และสมัยคลาสสิคของกรีซ ธีบส์เคยเป็นเมืองคู่แข่งที่สำคัญของเอเธนส์โบราณ และเคยเข้าเป็นพันธมิตรกับเปอร์เซีย ในตอนที่เปอร์เซียภายใต้กษัตริย์เซิร์กซีสยกทัพเข้ารุกรานกรีซ ช่วงปีที่ 480 ก่อน..
ดาวพุธ
วพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้คือยานมาริเนอร์ 10เมื่อปี พ.ศ.
คทาอัสคลิปิอุส
ทา หรือไม้เท้าของอัสคลิปิอุสที่มีงูพันรอบ คทาอัสคลิปิอุส (Rod of Asclepius) หรือไม้เท้าของอัสคลิปิอุส เป็นคทาของเทพอัสคลิปิอุส ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์และการรักษาในตำนานเทพปกรณัมกรีก คทาอัสคลิปิอุสถูกใช้เป็นสัญญลักษณ์ที่แสดงถึงการแพทย์และการรักษามาจนปัจจุบัน แต่ยังมีการใช้สับสนกันระหว่างคทาของอัสคาปิอุสและคทาของเฮอร์มีส ที่ชื่อว่า คาดูเซียส ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก อัสคลิปิอุส ซึ่งมีสถานะครึ่งเทพครึ่งมนุษย์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์และการรักษา จะมีคทาประจำตัวอันหนึ่ง มีลักษณะเป็นแท่งและมักจะมีงูหนึ่งตัวพันเกลียวรอบคทาเป็นสัญญลักษณ์ แต่ในบางครั้งอาจจะพบว่างูไม่ได้พันเกลียวรอบ แต่มักจะอยู่ในบริเวณไกล้เคียง อัสคลิปิอุส ร่ำเรียนวิชาการรักษามาจากไครอน ซึ่งเป็นเซนทอร์ที่ชุบเลี้ยงอัสคลิปิอุสมาตั้งแต่ยังเป็นทารก จนได้กลายมาเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงของกรีก อัสคลิปิอุสได้ใช้สัญญลักษณ์คทาที่มีงูพันเกลียวรอบแทนการแพทย์และการรักษา สมัยกรีกโบราณมีสถานที่ที่เป็นศาสนสถานสำหรับรักษาโรค (Healing temple) มีชื่อเรียกตามเทพอัสคลิปิอุสว่า อัสคลิเปียน (Asclepioen) ในตำนานกรีกโบราณมีเหตุการณ์ที่กล่าวถึงอัสคลิปิอุสที่สำคัญ คือเมื่อฮิปพอคราทีส บิดาแห่งการแพทย์แผนตะวันตกจะกล่าวคำสัตย์สาบาน (Hippocrates oath) ได้กล่าวการสาบานตนด้วยประโยคว่า รูปปั้นของอัสคลิปิอุส ที่คทามีงูพันเกลียว งูที่พันรอบคทาของอัสคลิปิอุส ได้ถูกตีความว่าอย่างหลากหลาย มาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณที่มีการใช้สัญญลักษณ์งูพันรอบคทาของอัสคลิปิอุส การลอกคราบของงู เป็นสัญญลักษณ์ของการฟื้นฟูหรือการกำเนิดใหม่ หรือถูกตีความว่าเป็นเหมือนการรักษาของแพทย์ที่ต้องทำงานที่คาบเกี่ยวกันระหว่างความเป็นและความตาย ความคลุมเครือของงูยังแสดงถึงความขัดแย้งในปัจจุบันของการใช้ยา ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยถ้าใช้เหมาะสมและอาจจะให้โทษเมื่อใช้ไม่เหมาะสม ซึ่งไกล้เคียงกับคำในภาษากรีกว่า Pharmakon ที่หมายถึง ยา (medicine) หรือ ยาพิษ (poison) หรือแม้กระทั่งพิษของงูที่ใช้ในการรักษา ที่อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ระวัง ยังมีข้อถกเถียงกันอย่างแพร่หลายว่า สัญญลักษณ์ที่แสดงถึงการแพทย์ที่เชื่อว่าเป็นคทาอัสคลิปิอุสนั้น ความจริงแล้วเป็นพยาธิที่ชื่อว่า Dracunculus medinensis ซึ่งมักจะชอนไชตามผิวหนังของผู้ป่วยในสมัยโบราณ แพทย์จะรักษาโดยการกรีดผิวหนัง เมื่อพยาธิออกมานอกผิวหนังแพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่เป็นแท่งเพื่อพันตัวพยาธิออกมาจนหมด โดยลักษณะที่พยาธิพันบนแท่งนั้น เหมือนกันกับสัญญลักษณ์งูพันเกลียวบนคทาของอัสคลิปิอุส ปัจจุบันคทาอัสคลิปิอุสถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งสัญญลักษณ์ขององค์กรนานาชาติเกี่ยวกับการแพทย์ เช่น องค์การอนามัยโลก สมาคมแพทย์อเมริกัน สมาคมแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร สมาคมแพทย์ออสเตรเลี.
คทางูไขว้
ทางูไขว้ คทางูไขว้ (caduceus, คะดูเซียส; κηρύκειον "ไม้เท้าผู้แจ้งข่าว") คือคทาสั้นที่มีงูสองตัวพันกันเป็นเกลียวขึ้นมา บางครั้งก็จะมีปีกอยู่ข้างบนด้วย ผู้ใช้คทางูไขว้คนแรกคือเทพีไอริสผู้เป็นผู้สื่อสารของเทพเฮรา ต่อมาคทานี้เรียกว่า “คทาเฮอร์มีส” (wand of Hermes) ผู้ที่เป็นผู้ถือคทาต่อมาในตำนานเทพหลังจากนั้นเป็นเวลานาน ในปลายสมัยกรีกโรมันโบราณ (classical antiquity) คทางูไขว้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของสัญลักษณ์ของโหราศาสตร์แทนดาวพุธ และเป็นวัตถุสัญลักษณ์แทนพระเจ้าเฮอร์มีสของกรีก (หรือเมอร์คิวรีของโรมัน) บางครั้งคทางูไขว้ก็ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางการแพทย์ เช่น ในประเทศไทยหรือในทวีปอเมริกาเหนือ บางครั้งสัญลักษณ์นี้ใช้สับสนกับสัญลักษณ์การแพทย์สมัยโบราณซึ่งเป็นคทางูเดี่ยว (rod of Asclepius) เท่านั้นที่มีงูเพียงตัวเดียวและไม่มีปีก.
ซูส
ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.
ประติมากรรมเฉพาะหัว
ัณฑ์กลิพโทเท็ค, มิวนิค ประติมากรรมเฉพาะหัว (Herma หรือ herm หรือ herme) คือประติมากรรมเฉพาะส่วนหัว แต่บางครั้งก็อาจจะมีลำตัว ที่จะตั้งอยู่บนแท่งหินสี่เหลี่ยมเกลี้ยงๆ ที่บางครั้งตรงระดับที่เหมาะสมตอนล่างก็อาจจะแกะสลักเป็นอวัยวะเพศชายก็ได้ ลักษณะประติมากรรมชนิดนี้เริ่มทำกันในกรีกโบราณและนำมาประยุกต์ใช้โดยโรมัน และมารื้อฟื้นกันอีกครั้งในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในรูปของรูปลักษณ์บนเสาเทิร์ม และ ประติมากรรมแอ็ทลาส ในสมัยกรีกโบราณประติมากรรมเฉพาะหัวใช้เป็นสิ่งป้องกันความชั่วร้ายที่มักจะตั้งตรงทางแพร่ง, พรมแดนของประเทศ หรือ เขตแดนป้องกัน ก่อนหน้าที่จะกลายมาเป็นสิ่งที่พิทักษ์พ่อค้าและนักเดินทางเฮอร์มีสเป็นเทพเจ้าที่เป็นสัญลักษณ์ทางเพศที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์, การมีโชค, เส้นทาง และ เขตแดน ชื่อของเทพเฮอร์มีสมาจากคำว่า “herma” (พหูพจน์ “hermai”) ที่หมายถึงเสาสี่เหลี่ยมที่ทำด้วยหิน, ดินเหนียว หรือ สัมริด ที่มีประติมากรรมครึ่งตัวของหัวของเฮอร์มีสที่มักจะมีหนวด อยู่บนหัวเสาและอวัยวะเพศชายที่ฐาน เสาเฮอร์มาใช้เป็นเครื่องหมายบนถนน หรือ เขตแดน ในเอเธนส์ก็จะมีการตั้งประติมากรรมเฉพาะหัวไว้หน้าบ้านเพื่อขจัดภัยที่จะเข้ามาในบ้านและนำความโชคดีมาให้เจ้าของ อวัยวะเพศชายบนเสาก็จะได้รับการถู การรดด้วยน้ำมันมะกอกเพื่อให้โชคดี.
ดู เฮอร์มีสและประติมากรรมเฉพาะหัว
แกนีมีด (เทพปกรณัม)
ทพซูสแปลงร่างเป็นเหยี่ยว ลักพาตัวแกนีมีด วาดโดยปีเตอร์ พอล รูเบนส์ ปี 1611 แกนีมีด (Γανυμήδης, ''Ganymēdēs''.) ในตำนานเทพปกรณัมกรีก เป็นเจ้าชายแห่งเมืองทรอย และ เป็นบุตรชายคนเล็กของกษัตริย์ทรอส แห่งดาร์ดาเนีย, มีพี่ชายสองคนคือ อิลัส (Ilus) ซึ่งในอนาคตอิลัสจะเป็นผู้ก่อตั้งเมืองอิลิออส หรือ อิลิออน ซึ่งต่อมาเรียกกันในนามเมืองทรอยนั่นเอง (กรีก : Ἴλιον, Ilion หรือἼλιος, Ilios; และ Τροία, Troia; ละติน :Trōia และ Īlium) และ อัสซาราคัส (Assaracus), โฮเมอร์ได้พรรณาเกี่ยวกับแกนิมีดเอาไว้ว่า เป็นผู้ที่มีรูปโฉมงดงามที่สุดในเหล่ามนุษย์ทั้งปวง, แกนิมีดถูกลักพาตัวไปโดย เทพซูสที่จำแลงร่างกลายเป็นอินทรีย์ยักษ์ โฉบเอาตัวแกนิมีดจากภูเขาไอดาในแคว้นไฟรเจีย ไปเป็นผู้รับใช้ บนเขาโอลิมปัส ทำหน้าที่เป็นผู้ถวายพระสุธารส (cupbearer) แทนที่เทพีเฮบี เทพีแห่งความเยาว์วัย ธิดาของซูสและฮีรา ชื่อ แกนีมีด ถูกนำมาใช้เป็นชื่อดวงจันทร์ดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี ที่ค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.
ดู เฮอร์มีสและแกนีมีด (เทพปกรณัม)
แอรีส
แอรีส (Ares; Ἄρης อาแรส) ทรงเป็นเทพแห่งสงครามของกรีก ทรงเป็นหนึ่งในสิบสองพระเจ้าโอลิมปัส และพระโอรสของซูสและฮีรา ในวรรณกรรมกรีก เป็นสัญลักษณ์ของแง่มุมกายภาพหรือความรุนแรงและไม่สงบของสงคราม ขัดกับอะธีนา ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งปัญญา รวมทั้งยุทธศาสตร์การทหารและตำแหน่งอำนาจแม่ทัพ ชาวกรีกมีความรู้สึกไม่ชัดเจนต่อแอรีส เนื่องจากเทพแอรีสเป็นสัญลักษณะของความพ่ายแพ้เช่นเดียวกับความสามารถในสงครามแม้พระองค์จะทรงมีความกล้าทางกายซึ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในสงคราม แต่เป็นพลังที่อันตราย "ท่วมท้น ละโมบในการยุทธ์ ทำลายล้างและฆ่าคน"Burkert, Greek Religion, p.
แอโฟรไดที
แอโฟรไดที (Aphrodite,; Ἀφροδίτη) เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ความงาม สุขารมณ์และการให้กำเนิด ภาคโรมัน คือ วีนัส มีนิยายว่าด้วยกำเนิดของพระนางมากกว่าหนึ่งเรื่อง เฉกเช่นพระเจ้ากรีกโบราณหลายพระองค์ เทออกอเนียของฮีซิอัดระบุว่า พระองค์ประสูติเมื่อโครนัสตัดอวัยวะเพศของยูเรนัสแล้วโยนลงทะเล จากนั้นพระองค์กำเนิดขึ้นจากฟองสมุทร (aphros) ด้วยพระสิริโฉมงดงามของพระองค์ พระเจ้าองค์อื่นจึงเกรงว่าการชิงพระนางจะขัดขวางสันติภาพในหมู่พวกตนและนำไปสู่สงคราม ฉะนั้นซูสจึงเสกสมรสพระนางกับฮิฟีสตัส ซึ่งด้วยความอัปลักษณ์และผิดรูปของพระองค์ ไม่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม แอโฟรไดทีมีชู้รักมากมาย ทั้งพระเจ้า เช่น แอรีส และมนุษย์ เช่น แองไคซีส (Anchises) พระองค์มีบทบาทในตำนานเอียรอสและไซคี ภายหลังเป็นทั้งชู้รักของอโดนิส (Adonis) และผู้ทดแทนมารดาของพระองค์ กล่าวกันว่าเทพชั้นรองจำนวนมากเป็นโอรสธิดาของแอโฟรไดที แอโฟรไดทียังรู้จักกันในพระนามไคธีเรีย (นายหญิงแห่งไคธีรา) และไซปริส (นายหญิงแห่งไซปรัส) ซึ่งตั้งตามชื่อแหล่งลัทธิสองแห่ง ไคธีราและไซปรัส ซึ่งอ้างว่าเป็นที่ประสูติของพระนาง กล่าวกันว่าเมอร์เทิล (myrtle) นกพิราบ นกกระจอก ม้าและหงส์ศักดิ์สิทธิ์ต่อพระนาง ชาวกรีกโบราณระบุพระองค์แอโฟรไดทีกับเทพีแฮธอร์ของอียิปต์โบราณ.
แทนาทอส
แทนาทอส (Thanatos, กรีกโบราณ: θάνατος แปลว่า ความตาย) หรือ ออร์คัส (Orcus) ในภาษาลาตินที่ชาวโรมันเรียก เป็นเทพองค์หนึ่งในตำนานเทพของกรีก เป็นเทพแห่งความความตาย เป็นผู้ที่สามารถควบคุมความตายของสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลก เป็นบุตรชายของนิกซ์ (Nyx) เทพีแห่งราตรี และ อีราบัส (Erabus) เทพแห่งความมืด เป็นน้องชายฝาแฝดของฮิปนอส (Hypnos) เทพแห่งนิทรา โดยทั้งคู่อาศัยอยู่ยังขุมนรก เป็นเทพผู้ช่วยของฮาเดส (Hades) จ้าวแห่งนรก แทนาทอสนั้นจะรับวิญญาณของผู้ที่ตายอย่างสงบไปยังยมโลกด้วยตนเอง แต่จะให้เหล่าเคอร์ซึ่งเป็นพี่สาวจับวิญญาณที่ตายอย่างทารุณไปก่อน รูปลักษณ์ของทั้งฮิปนอสและแทนาทอส มักเป็นรูปชายหนุ่มเปลือยกาย หน้าตาเหมือนกัน ทั้งคู่จะมีปีกอยู่ที่ศีรษะคนละข้างสลับกัน มือหนึ่งของแทนาทอสมักถือผีเสื้อหรือมาลัยดอกไม้ โดยบทบาทของแทนาทอสในเทพนิยาย แทนาทอสจะเป็นผู้รับวิญญาณมนุษย์ไปยังยมโลก แต่ในบางตำนานจะยกบทบาทนี้ให้เฮอร์มีส (Hermes) เทพแห่งการสื่อสาร ปรากฏตอนนึงความว่า ได้ถูกกษัตริย์ซีซิสฟัส (Sisyphus) หลอกล่อจนหลงกลแล้วถูกจับขัง ทำให้ไม่มีคนตาย จนกระทั่งเอรีส (Ares) เทพแห่งสงครามหงุดหงิดที่ไม่มีคนตายในการสู้รบ จึงได้ใช้กำลังปลดปล่อยแทนาทอสและพาซีซิสฟัสไปยังยมโลก เนื่องจากเป็นเทพแห่งความตาย ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนหวาดกลัว และแม้แต่เหล่าเทพก็ยังรังเกียจแทนาทอส จึงนับว่า แทนาทอสเป็นปีศาจตนหนึ่งก็ว่าได้ โดยแทนาทอสเองก็เกลียดชังมนุษย์และเทพเจ้าอื่น ๆ เช่นเดียวกัน แทนาทอสนั้นเคยต่อสู้กับวีรบุรุษ เฮราคลีส โดยเฮราคลีสนั้นต้องการช่วยเหลือราชินีอัลเคสทิส (Alkestis) ซึ่งยอมสละชีวิตตนเพื่อให้พระสวามี แอดมีตอส (Admetos) มีพระชนม์ชีพยืนยาว เมื่อเฮราคลีสสามารถล้มแทนาทอสได้จึงเท่ากับเป็นผู้มีชัยเหนือความตาย แทนาทอสจึงยอมให้อัลเคสทิสมีชีวิตต่อไป.
โรงฝึก (กรีซโบราณ)
รงฝึกปอมเปอี จากด้านบนกำแพงสนาม โรงฝึก (Gymnasium) ในสมัยกรีซโบราณ ทำหน้าที่เป็นสถานฝึกซ้อมสำหรับบรรดาผู้เข้าแข่งขันในเกมสาธารณะ ทั้งยังเป็นสถานที่สำหรับการสังสรรค์และแลกเปลี่ยนทางความคิด คำนี้มีที่มาจากคำในภาษากรีก gymnos หมายถึง เปลือย เพราะการแข่งขันกรีฑาจะทำโดยไม่สวมเสื้อผ้า ทั้งนี้เป็นการชื่นชมต่อสรีระของร่างกายบุรุษและเป็นการบูชาต่อเทพเจ้า ทั้งโรงฝึก (gymnasium) และโรงมวยปล้ำ (palaestra) ถือว่าอยู่ในความคุ้มครองและอารักขาของเทพเฮราคลีส เฮอร์มีส และในเอเธนส์รวมถึงธีซู.
ดู เฮอร์มีสและโรงฝึก (กรีซโบราณ)
โอดิสเซียส
อดิสเซียส หรือ โอดิสซูส (Ὀδυσσεὺς, โอ-ดุส-เซวส์) นอกจากนี้ยังรู้จักกันในชื่อภาษาละตินว่า ยูลิสซิส (Ulysses) เป็นตัวเอกในมหากาพย์เร่ืองโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ และยังมีบทบาทสำคัญในการสู้รบที่กรุงทรอย ซึ่งถ่ายทอดผ่านมหากาพย์อีเลียดของกวีคนเดียวกันอีกด้วย โอดิสเซียสเป็นบุตรของลาเออร์ทีส (Laërtes) กับแอนติคลีอา ต่อมาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ของเมืองอิธาคาสืบต่อจากบิดา โดยมีภรรยาคือเพเนโลพี (Penelope) และมีบุตรคือเทเลมาคัส (Telemachus) โอดิสเซียสมีชื่อเสียงเลื่องลือในด้านสติปัญญา และไหวพริบที่ว่องไว ปรับตัวได้ทุกสถานการณ์ จึงได้รับฉายาเช่น polytropos- "many turns", "ผู้มีรอบมาก" หรือ polymētis - "ผู้มีแผนมาก", ผู้มีปัญญามาก แม้โอดิสเซียสจะมีบทบาทในมหากาพย์หลายเรื่อง โดยเฉพาะวัฏมหากาพย์ที่เกี่ยวกับกรุงทรอย แต่เขาเป็นที่รู้จักมากที่สุดใน nostos หรือ การเดินทางกลับบ้านของตน ที่กินเวลาถึงสิบปีหลังเสร็จสิ้นสงครามเมืองทรอ.
ไพลยาดีส
วาดหญิงสาวเจ็ดพี่น้องไพลยาดีส ไพลยาดีส (Pleiades; Πλειάδες /pleiˈades/) เป็นชื่อเรียกหญิงสาวเจ็ดคนที่เป็นบริวารของเทพีอาร์เทมีสในตำนานเทพเจ้ากรีก พวกนางเป็นบุตรีทั้งเจ็ดของเทพไททันแอตลัสกับนางอัปสรทะเลไพลยานี จึงเป็นพี่น้องกันกับกลุ่มไฮยาดีส ไฮแอส และคาลิปโซ เมื่อรวมกลุ่มกับพวกไฮยาดีสมักเรียกรวมว่า Atlantides, Dodonides, หรือ Nysiades และยังได้เป็นอาจารย์พี่เลี้ยงผู้ดูแลแบคคัสด้วย ชื่อของหญิงสาวพี่น้องทั้งเจ็ด เรียงตามลำดับอาวุโสเป็นดังนี้ มายา (มีบุตรกับเทพซูสชื่อ เฮอร์มีส) อิเลกตรา ไทยิตตา อัลไซโอนี เซลีโน (มีบุตรกับโพไซดอนชื่อ ไลคัส และ ยูรีไฟลัส) แอสไตโรพี และไมโรพี น้องสุดท้อง ซึ่งถูกพรานโอไรออนติดตามเกี้ยว.
ไดอะไนซัส
อะไนซัส (Dionysus, /daɪ.əˈnaɪsəs/; Διόνυσος, Dionysos) เป็นเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยวองุ่น การทำไวน์และไวน์ ความบ้าคลั่งทางพิธีกรรมและปีติศานติ์ในเทพปกรณัมกรีก พระนามของพระองค์ในแผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บี แสดงว่าชาวกรีกไมซีเนียนอาจมีการบูชาพระองค์ตั้งแต่ประมาณ 1500–1100 ปีก่อน..
เพอร์ซีย์ แจ็กสัน
ือชุดนวนิยายแฟนตาซี ประพันธ์โดย ริก ไรออร์แดน ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเด็กชายชื่อว่า เพอร์ซีย์ แจ็กสัน หนังสือในชุดเพอร์ซีย์ แจ็กสันและเหล่าเทพโอลิมเปียน ประกอบไปด้วยหนังสือจำนวน 5 เล่ม โดยหนังสือเล่มแรกในชุดนี้ คือ เพอร์ซีย์ แจ็กสัน กับสายฟ้าที่หายไป วางจำหน่ายในฉบับภาษาอังกฤษที่สหรัฐอเมริกาเมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ.
ดู เฮอร์มีสและเพอร์ซีย์ แจ็กสัน
เพอร์โซนา 3
ปกของเพอร์โซนา 3 ฉบับภาษาญี่ปุ่น เพอร์โซนา 3 เป็นเกมเล่นตามบทบาทสำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 เพอร์โซนา 3 เป็นภาคหนึ่งในชุด เพอร์โซนา ซึ่งเป็นชุดย่อยของเมกามิเทนเซย์ พัฒนาโดยบริษัทแอตลัส ออกวางจำหน่ายในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.
เมอร์คิวรี (เทพปกรณัม)
มอร์คิวรีสลักโดยประติมากรเฟล็มมิชอาร์ทัส เควลลินัส (Artus Quellinus) ที่บอกได้ว่าเป็นเมอร์คิวรีจากหมวก กระเป๋าหูรูด คทางูเดี่ยว รองเท้าปีก ไก่ และแพะ เทพเมอร์คิวรี (Mercury, Mercurius) เป็นเทพในตำนานเทพปกรณัมโรมันที่เทียบเท่ากับเทพเฮอร์มีสในตำนานเทพปกรณัมกรีก เทพเมอร์คิวรีเป็นเทพผู้สื่อสาร และเทพแห่งการค้าขายและผลกำไร เมอร์คิวรีเป็นลูกของเทพีมาเอีย (Maia) หรือที่รู้จักกันว่าอ็อฟสและเทพจูปิเตอร์ ชื่อ “เมอร์คิวรี” เกี่ยวกับคำภาษาละตินว่า “merx” ที่เป็นรากของคำว่า “merchandise” (สินค้า) หรือ “merchant” (พ่อค้า) หรือ “commerce” (การค้า) ที่มาของเมอร์คิวรีดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับเทพเทิร์มส (Turms) ของอีทรัสคันที่มาจากเทพเฮอร์มีสของกรีก.
ดู เฮอร์มีสและเมอร์คิวรี (เทพปกรณัม)
เอียรอส
เอียรอส หรือ เอรอส (Eros /ˈɪərɒs/ หรือ /ˈɛrɒs/; Ἔρως, "ความปรารถนา") ในเทพปกรณัมกรีก เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ภาคโรมัน คือ คิวปิด บางตำนานถือว่าพระองค์เป็นปฐมเทพ ขณะที่บางตำนานว่าพระองค์เป็นพระโอรสของแอโฟรไดที หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก.
เอเร็ค เร็กซ์
อเร็ค เร็กซ์ เป็นผลงานเขียนของ "แคซา คิงสลีย์" นักเขียนชาวอเมริกัน พิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์ Firelight Press ในปี 2549 มีหนังสือในชุดทั้งหมด 8 เล่ม ปัจจุบันวางจำหน่ายแล้ว 4 เล่ม คือ "ดวงตาแห่งมังกร" "อสุรกายแห่งดินแดนนิรเทศ" "ค้นหาความจริงอันยิ่งใหญ่" และ "เผชิญเจ้าแห่งการลงทัณฑ์" โดยสำนักพิมพ์อิ่มอ่าน แปลโดย "หิมาลายา" (เล่มหนึ่ง) และ "นาราดา" (ตั้งแต่เล่มสอง) การจัดจำหน่ายเล่มสามนั้นต้องเลื่อนกำหนดมาเป็นกลางปี 2552 หลังจากเกิดปัญหาล่าช้า หนังสือเล่มนี้ควรจะออกจำหน่ายเมื่อปีก่อน (พ.ศ.
เฮสเตีย
ในศาสนากรีกโบราณ เฮสเตีย (Hestia; Ἑστία, "เตาอิฐ" หรือ "บริเวณข้างเตาไฟ") ทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งเตาอิฐ สถาปัตยกรรมกรีกโบราณ และการจัดระเบียบกิจกรรมในบ้าน ครอบครัวและรัฐที่ถูกต้อง ในเทพปกรณัมกรีก พระนางเป็นธิดาของโครนัสและเรีย เฮสเตียทรงได้รับของบูชาที่ทุกการบวงสรวงในครัวเรือน ในที่สาธารณะ เตาอิฐของพริทเนียม (prytaneum) เป็นเสมือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการของพระนาง เมื่อมีการก่อตั้งอาณานิคมใหม่ เพลิงจากเตาอิฐสาธารณะของเฮสเตียในนครแม่จะถูกนำไปยังนิคมใหม่ด้วย พระนางประทับนั่งบนบัลลังก์ไม้เรียบ ๆ โดยมีเบาะขนแกะสีขาว และไม่ทรงเลือกสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ภาคโรมันของพระนาง คือ เวสตาLarousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p.
เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์
อร์ไมโอนี่ จีน เกรนเจอร์ (เกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2522) เป็นตัวละครในหนังสือวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ของเจ. เค.
ดู เฮอร์มีสและเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์
เฮอร์เมทิคา
อร์เมทิคาเป็นวรรณคดีโบราณของอียิปต์ เชื่อกันว่าเขียนขึ้นโดยเทพเจ้าธอธซึ่งเป็นเทพเจ้าที่ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ไฮโรกลิฟ ชาวกรีกเชื่อว่าเทพเจ้าองค์นี้เป็นองค์เดียวกับเทพเฮอร์มีสของตน จึงเรียกงานเขียนของเทพธอธว่าเฮอร์เมท.
เทวสภาโอลิมปัส
ในเทพปกรณัมกรีก เทวสภาโอลิมปัสเป็นพระเจ้าหลักของกรีก โดยมากพิจารณาว่ามีซูส ฮีรา โพไซดอน ดิมีเทอร์ อะธีนา อะพอลโล อาร์ทิมิส แอรีส แอโฟรไดที ฮิฟีสตัส เฮอร์มีส และเฮสเตียหรือไดอะไนซัส บางครั้งรวมเฮดีสและเพอร์เซฟะนีเป็นส่วนหนึ่งของสิบสองเทพโอลิมปัสด้วย แต่โดยทั่วไปไม่นับเฮดีส เพราะพระองค์ประทับอย่างถาวรในโลกบาดาลและไม่เคยเสด็จเยือนยอดเขาโอลิมปัส บางครั้งนับรวมเฮราคลีสและอัสคลิปิอุสเช่นกัน.
เนโบ
นโบ (נבו) หรือ นาบู เป็นเทพเจ้าแห่งปัญญาของชาวบาบิโลนและอัสซีเรีย ได้รับการนับถือโดยชาวบาบิโลนในฐานะโอรสแห่งเทพมาร์ดุกและนีสซาบา ทั้งนี้ ในฐานะเทพแห่งปัญญา เนโบอาจเทียบเท่าได้กับเทพเฮอร์มีสของกรีก และเทพเมอร์คิวรีของโรมัน นอกจากนี้ในโหราศาสตร์ของบาบิโลน เนโบถือเป็นตัวแทนของดาว.
เนเมซิส
นเมซิส ฝีมือTattarescu Gheorghe เนเมซิส (Nemesis) เป็นเทพีแห่งการล้างแค้น ความผิด และกรรมชั่ว ความผิดทั้งหลายสมควรต้องได้รับโทษตอบแทน จึงจะชอบด้วยความยุติธรรม ชาวกรีกและโรมันคิดเช่นนี้ และเห็นว่าความพยาบาทหรือการล้างแค้นอันชอบธรรมก็เป็นกิจที่เทพเจ้าพึงบำเพ็ญต่อมนุษย์เช่นกัน เขาจึงแต่งตั้งเทพีแห่งความพยาบาทหรือการสนองกรรมขึ้นโดยมีนามว่า "เนเมซิส" เนเมซิสเป็นเทพีสาวที่ออกมาลงโทษคนที่ทำผิดศีลธรรมทำกรรมชั่ว คนที่หยิ่งผยอง หรือคนที่ปฏิเสธพรของเทพเจ้า หรือไม่ก็คนที่เห็นแก่ตัวไม่ยอมเอื้อเฟื้อแก่คนอื่น แต่จะให้ผลตอบแทนที่ดีแก่คนดีและผู้ทรงคุณธรรมทั่วไป และคนที่ต้องการล้างแค้นจึงจะมาให้เทพีเทเมซิสช่วยล้างแค้นให้ด้วย เนเมซิสเป็นลูกสาวของ นิกซ์ (Nyx) เทพีแห่งรัตติกาล หรือราตรีเขาว่ากันว่าบิดาของเธอคือ โอเชียนัส (Oceanus) เนเมซิสนั้นได้ชื่อว่าสวยพอ ๆ กับ อโฟรไดท์ (Aphrodite) เทพีแห่งความงามและความรัก ความสวยของเธอไปเข้าตาของจอมเทพซุส (Zeus) เข้า แต่เนเมซิสไม่อยากจะไปยุ่งเกี่ยวกับซุส เธอก็เลยแปลงร่างหนีทุกครั้งที่เธอเห็น ซุสเข้ามาใกล้ บางตำราก็บอกว่าสุดท้ายเธอแปลงร่างเป็นห่าน แต่ซุส รู้ทันแปลงร่างเป็นหงส์และจับคู่กับเธอ เนเมซิสวางไข่ไว้ในกอหญ้า 1 ฟอง คนเลี้ยงแกะมาพบไข่ฟองนี้เข้าจึงนำไปถวายพระนางลีดา (Leda) พระองค์เก็บไข่ฟองนั้นเอาไว้ในกล่อง และเมื่อเด็กน้อยฟักออกมาจากไข่ นางลีดาก็ให้ชื่อว่า"เฮเลน"และเลี้ยงดูเด็กคนนั้นเหมือนเป็นบุตรีของตนเอง หนูน้อยเฮเลนคนนี้เมื่อโตขึ้นมาก็คือแม่สาวที่ทำให้เกิดสงครามกรุงทรอย (Trojan War) ขึ้น บางตำรากล่าวว่า ซุสหลงรักเนเมซิส แต่เมื่อเนเมซิสไม่ยอม พระองค์ก็เลยไปขอความช่วยเหลือจากอโฟรไดท์ ให้อโฟรไดท์แปลงร่างเป็นนกอินทรีเข้าโจมตีตัวเองที่แปลงร่างเป็นหงส์ หงส์ปลอมก็ทำเป็นบินร่อแร่มาหา เนเมซิสใจดีอุ้มหงส์เจ้าเล่ห์เอาไว้ พอเนเมซิสหลับ ซุสในร่างหงส์ก็มีความสัมพันธ์กับเธอ พอเนเมซิสคลอดก็คลอดลูกออกมาเป็นไข่ เทพเฮอร์มีส (Hermes) ก็รีบมาเอาไข่นั้นไปที่เมืองสปาร์ตา (Sparta) แล้วโยนไข่ฟองนั้นไปที่ตักของพระนางลีดา แล้วเฮเลน ก็กระโดดออกมาจากไข่ใบนั้นนั่นเอง (แต่ส่วนใหญ่กล่าวว่าเฮเลนเป็นพระธิดาของพระนางลีดาเอง) แต่บางตำรากล่าวถึงเนเมซิสแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง คือบอกว่า รูปลักษณะของเทพีองค์นี้เป็นหญิงที่มีหน้าตาแสดงความเหี้ยมเกรียม ถืองาและล้อเกวียณ บางทีก็มีปีกด้วย แสดงว่าองค์เทพีเนเมซิสจะตามตอบแทนผู้ทำความผิดไปทั่วทุกหนทุกแห่งอย่างไม่ลดละ ไม่ว่าจะเป็นทางน้ำหรือบก ดังที่งาและล้อเกวียณเป็นเครื่องหมายแสดงอยู่ ที่กรุงโรมมีรูปอนุสาวรีย์ของเทพีเนเมซิสประดิษฐานอยู่ในรัฐสภาทีเดียว เมื่อจะประกาศเมื่อจะประกาศศึกต่อศัตรู จะมีพิธีบวงสรวงพระนางก่อน เพื่อให้เป็นที่ปรากฏว่า พวกเขาทำศึกโดยเหตุผลอันชอบธรรมที่สุดเสมอ.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Hermesเทพเฮอร์มีส