โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เฮลโลเวิลด์

ดัชนี เฮลโลเวิลด์

ปรแกรมเฮลโลเวิลด์ เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่ทำการแสดงผลคำว่า "Hello world" หรือ "Hello, world!"(ตามหลักภาษาอังกฤษ) บนอุปกรณ์แสดงผล ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่ง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในการเขียนภาษาโปรแกรมต่างๆ เพราะฉะนั้นโดยธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว มักจะใช้ในการตรวจสอบว่าเขียนภาษาโปรแกรมได้ถูกต้องหรือระบบมีการประมวลผลที่ถูกต้อง และมักถูกใช้เป็นตัวอย่างที่ง่ายที่สุดในการแสดงวากยสัมพันธ์การเขียนโปรแกรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบน command-line interpreter (เชลล์) เพื่อทำการแสดงผลออกมา อย่างไรก็ตามโปรแกรมนี้ก็มีความซับซ้อนอย่างน่าประหลาดใจ โดยเฉพาะเมื่อต้องเขียนโปรแกรมสำหรับส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ เมื่อเขียนโปรแกรมในembedded system ช้อความจะถูกส่งมายังจอภาพผลึกเหลว ซึ่งตัวอุปกรณ์นั้นไม่ได้แสดงผลตัวอักษร แต่ตัวโปรแกรมง่ายๆ นี้ จะทำการสร้างสัญญาณ เช่นเดียวกับการเปิดLED บ้างที่เราอาจกล่าวได้ว่า "Hello world" เปรียบเสมือนการต้อนรับเราเข้าสู่โปรแกรมก็ได้ โปรแกรมเฮลโลเวิลด์โปรแกรมแรกเกิดขึ้น จากหนังสือการเขียนโปรแกรมภาษาซี แต่งโดยไบรอัน เคอร์นิงแฮน และ เดนนิส ริตชี ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) โดยตัวอย่างโปรแกรมมาจาก กระดาษจดข้อมูลของไบรอันขณะที่ทำงานที่ เบลล์แล็บ (Bell Laboratories) ปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) ตัวอย่างในหนังสือ พิมพ์ข้อความว่า "hello, world" (โดย ไม่มีตัวพิมพ์ใหญ่ และเครื่องหมายตกใจ ซึ่งได้เพิ่มมาในภายหลัง) โดยแสดงข้อความ: การเขียนคำนี้ มีการใช้งานโดยเขียนหลายแบบคือ ตัวอักษร H ใหญ่ และ h เล็ก ขณะเดียวกับ W ใหญ่ และ w เล็ก รวมถึงการเขียนเครื่องหมาย และแบบไม่มีเครื่องหมาย การเขียนชุดคำสั่งนี้ในขณะที่บางโปรแกรมสามารถใช้คำสั่งได้อย่างเรียบง่าย ในขณะที่บางโปรแกรมต้องใช้คำสั่งซับซ้อนในการแสดงผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใช้GUI โปรแกรมเฮลโลเวิลด์มีประโยชน์ในการทดสอบว่าคอมไพเลอร์และส่วนต่างๆหลักของโปรแกรมทำงานได้ การรวบรวมคำสั่ง "hello world" ในภาษาโปรแกรมต่างๆ ถูกใช้ในการช่วยเรียน และการเปรียบเทียบการใช้งานของภาษาต่าง.

8 ความสัมพันธ์: ภาษาซีภาษาซีชาร์ปภาษาโปรแกรมเชิงความลับภาษาเบรนฟักภาษาเพิร์ลภาษาเอดาวิชวลเบสิกดอตเน็ตเฮลโลเวิลด์

ภาษาซี

ษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมและมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์ ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์) และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อม..

ใหม่!!: เฮลโลเวิลด์และภาษาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซีชาร์ป

ษาซีชาร์ป (C♯ Programming Language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบหลายโมเดล ที่ใช้ระบบชนิดข้อมูลแบบรัดกุม (strong typing) และสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงกระบวนการ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (แบบคลาส) และการเขียนโปรแกรมเชิงส่วนประกอบ พัฒนาเริ่มแรกโดยบริษัทไมโครซอฟท์เพื่อทำงานบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดยมีแอนเดอร์ เฮลส์เบิร์ก (Anders Hejlsberg) เป็นหัวหน้าโครงการ และมีรากฐานมาจากภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอื่นๆ (โดยเฉพาะภาษาเดลไฟและจาวา) โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสมัยใหม่ที่ไม่ซับซ้อน ใช้งานได้ทั่วไป (general-purpose) และเป็นเชิงวัตถุเป็นหลัก ปัจจุบันภาษาซีซาร์ปมีการรับรองให้เป็นมาตรฐานโดยเอ็กมาอินเตอร์เนชันแนล (Ecma International) และองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยารมาตรฐาน (ISO) และมีรุ่นล่าสุดคือ C♯ 5.0 ที่ออกมาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม..

ใหม่!!: เฮลโลเวิลด์และภาษาซีชาร์ป · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปรแกรมเชิงความลับ

ษาโปรแกรมเชิงความลับ (esoteric programming language; esolang) เป็นภาษาโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาโดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ใช้งานจริง แต่เป็นการสร้างเพื่อความขำขัน เพื่อพิสูจน์แนวคิด หรือไม่ก็เพื่อทดสอบขีดจำกัดของการออกแบบภาษาคอมพิวเตอร์ คำว่าเชิงความลับ (esoteric) เป็นการระบุเพื่อแยกแยะกลุ่มภาษานี้กับภาษาโปรแกรมทั่วไปที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานจริง.

ใหม่!!: เฮลโลเวิลด์และภาษาโปรแกรมเชิงความลับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบรนฟัก

ษาเบรนฟัก คือภาษาโปรแกรมเชิงความลับที่มีจุดเด่นในเรื่องการทำซอร์สโค้ดและคอมไพเลอร์ให้เล็กที่สุด ออกแบบขึ้นเพื่อท้าทายและสร้างความสับสนให้โปรแกรมเมอร์ แต่ไม่เหมาะสำหรับใช้งานในทางปฏิบัติ ชื่อของภาษาเบรนฟักในภาษาอังกฤษมักจะถูกปิดบังให้เป็น brainf*ck หรือ brainfsck เพื่อหลีกเลี่ยงคำว่า fuck ที่มักถือกันว่าเป็นคำหยาบ และจะไม่มีการเน้นอักษรตัวใหญ่ที่ตัว b เมื่อไม่ใช่ต้นประโยค ถึงแม้จะเป็นชื่อเฉพาะก็ตาม.

ใหม่!!: เฮลโลเวิลด์และภาษาเบรนฟัก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเพิร์ล

right ภาษาเพิร์ล (Perl) (ย่อมาจาก Practical Extraction and Report Language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก พัฒนาโดยนายแลร์รี วอลล์ (Larry Wall) ในปี ค.ศ. 1987 เพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ภาษาเพิร์ล นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โครงสร้างของภาษาจึงไม่ซับซ้อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาซี นอกจากนี้เพิร์ลยังได้แนวคิดบางอย่างมาจากเชลล์สคริปต์, ภาษา AWK, sed และ Lisp ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ 5.18.0.

ใหม่!!: เฮลโลเวิลด์และภาษาเพิร์ล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเอดา

ษาเอดา (Ada) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งที่เรียกว่า procedural programming language ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2513 ชื่อของโปรแกรมตั้งตามชื่อของผู้บุกเบิกเรื่องคอมพิวเตอร์ คือ ออกกุสตา เอดา ไบรอน เคาน์เตสแห่งเลิฟเลซ (Augusta Ada Byron, Countess of Lovelace).

ใหม่!!: เฮลโลเวิลด์และภาษาเอดา · ดูเพิ่มเติม »

วิชวลเบสิกดอตเน็ต

ลโก้ของภาษาจาวา วิชวลเบสิกดอตเน็ต (Visual Basic.NET) หรือ VB.NET เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุทำงานบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก ซึ่งสามารถถือเป็นวิวัฒนาการจากภาษาวิชวลเบสิก แต่เนื่องจากว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากถึงขั้นที่ไม่เข้ากันได้กับรุ่นเก่าจึงทำให้เกิดการโต้เถียงเป็นอย่างมากในกลุ่มผู้พัฒนากันเอง.

ใหม่!!: เฮลโลเวิลด์และวิชวลเบสิกดอตเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

เฮลโลเวิลด์

ปรแกรมเฮลโลเวิลด์ เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่ทำการแสดงผลคำว่า "Hello world" หรือ "Hello, world!"(ตามหลักภาษาอังกฤษ) บนอุปกรณ์แสดงผล ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่ง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในการเขียนภาษาโปรแกรมต่างๆ เพราะฉะนั้นโดยธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว มักจะใช้ในการตรวจสอบว่าเขียนภาษาโปรแกรมได้ถูกต้องหรือระบบมีการประมวลผลที่ถูกต้อง และมักถูกใช้เป็นตัวอย่างที่ง่ายที่สุดในการแสดงวากยสัมพันธ์การเขียนโปรแกรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบน command-line interpreter (เชลล์) เพื่อทำการแสดงผลออกมา อย่างไรก็ตามโปรแกรมนี้ก็มีความซับซ้อนอย่างน่าประหลาดใจ โดยเฉพาะเมื่อต้องเขียนโปรแกรมสำหรับส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ เมื่อเขียนโปรแกรมในembedded system ช้อความจะถูกส่งมายังจอภาพผลึกเหลว ซึ่งตัวอุปกรณ์นั้นไม่ได้แสดงผลตัวอักษร แต่ตัวโปรแกรมง่ายๆ นี้ จะทำการสร้างสัญญาณ เช่นเดียวกับการเปิดLED บ้างที่เราอาจกล่าวได้ว่า "Hello world" เปรียบเสมือนการต้อนรับเราเข้าสู่โปรแกรมก็ได้ โปรแกรมเฮลโลเวิลด์โปรแกรมแรกเกิดขึ้น จากหนังสือการเขียนโปรแกรมภาษาซี แต่งโดยไบรอัน เคอร์นิงแฮน และ เดนนิส ริตชี ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) โดยตัวอย่างโปรแกรมมาจาก กระดาษจดข้อมูลของไบรอันขณะที่ทำงานที่ เบลล์แล็บ (Bell Laboratories) ปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) ตัวอย่างในหนังสือ พิมพ์ข้อความว่า "hello, world" (โดย ไม่มีตัวพิมพ์ใหญ่ และเครื่องหมายตกใจ ซึ่งได้เพิ่มมาในภายหลัง) โดยแสดงข้อความ: การเขียนคำนี้ มีการใช้งานโดยเขียนหลายแบบคือ ตัวอักษร H ใหญ่ และ h เล็ก ขณะเดียวกับ W ใหญ่ และ w เล็ก รวมถึงการเขียนเครื่องหมาย และแบบไม่มีเครื่องหมาย การเขียนชุดคำสั่งนี้ในขณะที่บางโปรแกรมสามารถใช้คำสั่งได้อย่างเรียบง่าย ในขณะที่บางโปรแกรมต้องใช้คำสั่งซับซ้อนในการแสดงผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใช้GUI โปรแกรมเฮลโลเวิลด์มีประโยชน์ในการทดสอบว่าคอมไพเลอร์และส่วนต่างๆหลักของโปรแกรมทำงานได้ การรวบรวมคำสั่ง "hello world" ในภาษาโปรแกรมต่างๆ ถูกใช้ในการช่วยเรียน และการเปรียบเทียบการใช้งานของภาษาต่าง.

ใหม่!!: เฮลโลเวิลด์และเฮลโลเวิลด์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hello WorldHello World!Hello world

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »