เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เอเชียนเกมส์ 1974

ดัชนี เอเชียนเกมส์ 1974

อเชียนเกมส์ 1974 เป็นการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 7 จัดขึ้นที่กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่านระหว่างวันที่ 1 – 16 กันยายน 2517 ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้เกือบต้องล้มคว่ำลงกลางคันเนื่องจากอิหร่านและญี่ปุ่นได้นำข้อเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสหพันธ์เอเชี่ยนเกมส์ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 – 18 กันยายน 2516 ให้ที่ประชุมพิจารณารับเอาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกแต่มีเงื่อนไขว่า สหพันธ์ฯ ต้องขับจีนชาติออกจากการเป็นสมาชิก ผลปรากฏว่ากรรมการบริหาร 4 คน ได้เดินออกจากที่ประชุม ในที่สุดจากการวิ่งเต้นของอิหร่านและญี่ปุ่นจึงทำให้การรับรองสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์ฯ ก็ผ่านไปด้วยดี ดังนั้น การแข่งขันครั้งที่ 7 จึงมีประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน 19 ประเทศ มีนักกีฬาเข้าแข่งขันทั้งหมด 16 ชนิด คือ กรีฑา แบดมินต้น บาสเกตบอล มวย จักรยาน ฟุตบอล ฟันดาบ ยิมนาสติคส์ ฮอกกี้ ลอนเทนนิส ยิงปืน ว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิส วอลเลย์บอล ยกน้ำหนัก และมวยปล้ำ.

สารบัญ

  1. 26 ความสัมพันธ์: ฟุตบอลทีมชาติอิรักฟุตบอลทีมชาติไทยพัก ชัน-ฮีมวยสากลสมัครเล่นในเอเชียนเกมส์วอลเลย์บอลชายทีมชาติฟิลิปปินส์วอลเลย์บอลชายทีมชาติญี่ปุ่นวอลเลย์บอลชายทีมชาติอินเดียวอลเลย์บอลชายทีมชาติจีนวอลเลย์บอลชายทีมชาติเกาหลีใต้วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติฟิลิปปินส์วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่นวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติอิหร่านวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีนวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้วอลเลย์บอลในเอเชียนเกมส์ 1974สหพันธ์เอเชียนเกมส์สุทธิพงษ์ สันติเทวกุลสนามกีฬาอะซาดีฮิโตะชิ อิชิงะกิคิม อู-กิลประเทศจีนในเอเชียนเกมส์ประเทศไทยในเอเชียนเกมส์เริงยศ ศรีวรพงษ์พันธ์เอเชียนเกมส์เอเชียนเกมส์ 1970เอเชียนเกมส์ 1978

ฟุตบอลทีมชาติอิรัก

ฟุตบอลทีมชาติอิรัก (منتخب العراق لكرة القدم) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของสาธารณรัฐอิรัก อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสมาคมฟุตบอลอิรัก (IFA) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1948 และได้เข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกของฟีฟ่า ในปี 1950 จากนั้นได้เข้าเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) ในปี 1970 และเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก (WAFF) ในปี 2000 ทีมชาติอิรักถือว่าเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จอย่างมากชาติหนึ่งในกลุ่มประเทศแถบอาหรับ เคยเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก 4 ครั้ง (1980,1984,1988,2004) โดยผลงานดีที่สุดของทีมชาติอิรักในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกคือการคว้าอันดับ 4 ในโอลิมปิก 2004 ที่ประเทศกรีซ และเคยผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 1 ครั้ง ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1986 ที่ประเทศเม็กซิโก สำหรับผลงานในระดับทวีปเอเชียนั้นทีมชาติอิรักเคยได้เหรียญทองในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 1982 ที่กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย และสามารถสร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์เอเชียนคัพ ซึ่งเป็นรายการใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียได้ 1 สมัย ในปี 2007 ส่วนในการแข่งขันในระดับภูมิภาค ทีมชาติอิรักเคยชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชียตะวันตก ในปี 2002 รวมถึงคว้าแชมป์ฟุตบอลรายการ อาหรับ เนชันส์คัพ ได้ถึง 4 สมัย (ปี 1964,1966,1984,1988) นอกจากนี้ทีมชาติอิรักยังเคยได้รับเลือกจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) ให้เป็นทีมชาติยอดเยี่ยมประจำทวีปเอเชียถึง 2 ครั้ง (ปี 2003 และ 2007) โดยเป็นชาติเดียวในเอเชียตะวันตกที่เคยได้รับรางวัลนี้.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และฟุตบอลทีมชาติอิรัก

ฟุตบอลทีมชาติไทย

ฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ และอยู่ภายใต้การบริหารของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยทีมมีประวัติของความสำเร็จในการแข่งขันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือชนะเลิศอาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 5 สมัย และชนะเลิศซีเกมส์ 10 สมัย โดยทีมชาติไทยยังสามารถคว้าอันดับ 3 ในเอเชียนคัพ 1972 และเข้าร่วมการแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2 ครั้ง และในเอเชียนเกมส์ 4 ครั้ง โดยอันดับโลกฟีฟ่าที่ทีมชาติไทยทำอันดับได้ดีที่สุด คือ อันดับที่ 42 ในเดือนกันยายน พ.ศ.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และฟุตบอลทีมชาติไทย

พัก ชัน-ฮี

ัก ชัน-ฮี (Park Chan-hee) นักมวยสากลชาวเกาหลีใต้ เกิดเมื่อ 23 มีนาคม..

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และพัก ชัน-ฮี

มวยสากลสมัครเล่นในเอเชียนเกมส์

มวยสากลสมัครเล่น เป็นกีฬาที่จัดการแข่งขันใน กีฬาเอเชียนเกมส์ มาทุกครั้งนับตั้งแต่เริ่มบรรจุแข่งขันใน พ.ศ.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และมวยสากลสมัครเล่นในเอเชียนเกมส์

วอลเลย์บอลชายทีมชาติฟิลิปปินส์

วอลเลย์บอลชายทีมชาติฟิลิปปินส์ (Philippines men's national volleyball team) ทีมนี้ได้รับการบริหารโดยสหพันธ์วอลเลย์บอลฟิลิปปินส์ เป็นทีมชาติวอลเลย์บอลของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาต.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และวอลเลย์บอลชายทีมชาติฟิลิปปินส์

วอลเลย์บอลชายทีมชาติญี่ปุ่น

วอลเลย์บอลชายทีมชาติญี่ปุ่น (バレーボール全日本男子; Japan men's national volleyball team) เป็นทีมชาติวอลเลย์บอลของประเทศญี่ปุ่น.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และวอลเลย์บอลชายทีมชาติญี่ปุ่น

วอลเลย์บอลชายทีมชาติอินเดีย

วอลเลย์บอลชายทีมชาติอินเดีย (भारत में पुरुषों की राष्ट्रीय वालीबाल टीम) เป็นตัวแทนของประเทศอินเดีย ทีมนี้ได้รับการบริหารโดยสหพันธ์วอลเลย์บอลอินเดีย และเป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาต.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และวอลเลย์บอลชายทีมชาติอินเดีย

วอลเลย์บอลชายทีมชาติจีน

วอลเลย์บอลชายทีมชาติจีน (中国国家男子排球队) เป็นตัวแทนของประเทศจีนในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาติรวมถึงนัดกระชับมิตร ทีมนี้เคยได้อันดับ 8 ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1984 ที่ ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และอันดับ 5 ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ทีมวอลเลย์บอลประเทศชั้นนำในทวีปเอเชีย ได้แก่ อิหร่าน, จีน, เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และวอลเลย์บอลชายทีมชาติจีน

วอลเลย์บอลชายทีมชาติเกาหลีใต้

นักวอลเลย์บอลชายเกาหลีใต้ชุดชิงแชมป์โลก 2014 วอลเลย์บอลชายทีมชาติเกาหลีใต้ (대한민국 배구 국가대표팀) เป็นตัวแทนของประเทศเกาหลีใต้ในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาติรวมถึงนัดกระชับมิตร ทีมนี้เคยได้อันดับที่ 5 ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1984 ที่ ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นอันดับที่ดีที่สุดของทีม.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และวอลเลย์บอลชายทีมชาติเกาหลีใต้

วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติฟิลิปปินส์

วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติฟิลิปปินส์ (Philippines women's national volleyball team) ทีมนี้ได้รับการบริหารโดยสหพันธ์วอลเลย์บอลฟิลิปปินส์ เป็นทีมชาติวอลเลย์บอลของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาต.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติฟิลิปปินส์

วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น

มาชิกวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น (バレーボール全日本女子; Japan women's national volleyball team หรือ All-Japan women's volleyball team) เป็นทีมชาติวอลเลย์บอลของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอันดับ 5 ของโลก โดยสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และมีหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนปัจจุบันคือคุมิ นากาดะ หนึ่งในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของทีมคือชนะการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 ที่กรุงโตเกียว โดยทีมชาติญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะทีมชาติสหภาพโซเวียตและได้รับรางวัลเหรียญทอง ทีมชาติญี่ปุ่นได้รับเลือกให้เข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 จากการเป็นฝ่ายชนะรอบคัดเลือกทีมโอลิมปิกหญิง ตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 16 พฤษภาคม ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ทีมดังกล่าวได้อันดับห้าจากการแข่งขัน และในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2013 ทีมชาติญี่ปุ่นได้พบกับทีมชาติไทย ในรอบชิงชนะเลิศ โดยเป็นฝ่ายแพ้ให้กับทีมชาติไทยที่ 3-0 เซต.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น

วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติอิหร่าน

วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติอิหร่าน (تیم ملی والیبال زنان ایران) เป็นทีมชาติวอลเลย์บอลของประเทศอิหร่าน.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติอิหร่าน

วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีน

มาชิกวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีน วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีน (中國國家女子排球隊) เป็นตัวแทนของประเทศจีนในการแข่งขันวอลเลย์บอลนานาชาติรวมถึงนัดกระชับมิตร ทีมนี้จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในทีมวอลเลย์บอลหญิงระดับแถวหน้าของโลก โดยเป็นฝ่ายชนะการแข่งขันโอลิมปิกถึง 2 สมัย (ค.ศ.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีน

วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้

ัง ฮโย-จิน หนึ่งในสมาชิกวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ (대한민국 여자 배구 국가대표팀) เป็นตัวแทนของประเทศเกาหลีใต้ในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาติรวมถึงนัดกระชับมิตร ทีมนี้เป็นหนึ่งในทีมระดับแถวหน้าของโลกในช่วงยุคทศวรรษที่ 1970, 1990 และยังคงเป็นหนึ่งในทีมวอลเลย์บอลหญิงที่ดีที่สุดของเอเชีย รวมถึงเคยได้รับรางวัลเหรียญทองแดงจากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 ที่มอนทรีออล ประเทศแคนาดา, อันดับสี่จากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1972 ที่มิวนิก ประเทศเยอรมนี และโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2013 ทีมชาติเกาหลีใต้ได้เข้าชิงอันดับ 3 กับทีมชาติจีน.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้

วอลเลย์บอลในเอเชียนเกมส์ 1974

การแข่งขันวอลเลย์บอลในเอเชียนเกมส์ 1974 จัดขึ้นที่ เตหะราน, ประเทศอิหร่าน ทุกแมตช์จะแข่งขันในอัรยาเมหร์สปอร์ตคอมเพล็กซ.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และวอลเลย์บอลในเอเชียนเกมส์ 1974

สหพันธ์เอเชียนเกมส์

หพันธ์กีฬาเอเชียนเกมส์ (The Asian Games Federation; ชื่อย่อ: AGF) เป็นองค์กรบริหารจัดการแข่งขันกีฬาระดับทวีปเอเชีย ระหว่างวันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และสหพันธ์เอเชียนเกมส์

สุทธิพงษ์ สันติเทวกุล

รืออากาศเอก สุทธิพงษ์ สันติเทวกุล (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 —) เป็นนักกีฬาฟันดาบสากลชาวไทย เขาเข้าร่วมแข่งขันทั้งประเภทบุคคลและประเภททีม ในรายการเอเป้และเซเบอร์ ที่โอลิมปิกฤดูร้อน 1976 ซึ่งเรืออากาศเอกสุทธิพงษ์เป็นผู้ที่ วีระเดช โคธนี่ ให้ความเคารพนับถือ และได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นผู้ที่รักกีฬาอย่างแท้จริง รวมทั้งเป็นผู้ทาบทามให้วีระเดชมาช่วยทีมชาติไทยอีกคร.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และสุทธิพงษ์ สันติเทวกุล

สนามกีฬาอะซาดี

นามกีฬาอะซาดี (Azadi Stadium; เปอร์เซีย: ورزشگاه آزادی‎) สนามกีฬาแห่งชาติ และสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติอิหร่าน และเป็นสนามเหย้าของทีมเอสเตกัล และ ทีมเปอร์เซโปลิส ในลีกสูงสุดของอิหร่าน โดยใช้มาตั้งแต่ปี..

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และสนามกีฬาอะซาดี

ฮิโตะชิ อิชิงะกิ

ตะชิ อิชิงะกิ (Hitoshi Ishigaki; ภาษาญี่ปุ่น: 石垣 仁) เกิดเมื่อ 25 กันยายน..

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และฮิโตะชิ อิชิงะกิ

คิม อู-กิล

ม อู-กิล (김우길, Kim U-gil) เกิดเมื่อ 17 ตุลาคม..

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และคิม อู-กิล

ประเทศจีนในเอเชียนเกมส์

รณรัฐประชาชนจีน ได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งแรกในเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 7 ณ กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับเหรียญรางวัลครั้งแรกนับตั้งแต่เข้าร่วม โดยได้อันดับ 3 ในเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 7 อันดับ 2 ในเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 8 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และอันดับ 1 ในเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 9 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก และได้มา 9 ครั้งติดต่อกัน จนถึงเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 17 ณ เมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และประเทศจีนในเอเชียนเกมส์

ประเทศไทยในเอเชียนเกมส์

ประเทศไทย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ตั้งแต่ ครั้งแรกที่เอเชี่ยนเกมส์จัดขึ้น ใน เอเชียนเกมส์ 1951 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย โดยเข้าร่วมการแข่งขันทุกครั้ง ซึ่งไทยได้รับเหรียญรางวัลครั้งแรก ในการแข่งขันครั้งที่ 3 เอเชียนเกมส์ 1958 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และได้รับเหรียญทองครั้งแรก ในการแข่งขันครั้งที่ 4 เอเชียนเกมส์ 1962 ณ จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซี.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และประเทศไทยในเอเชียนเกมส์

เริงยศ ศรีวรพงษ์พันธ์

ริงยศ ศรีวรพงษ์พันธ์ (2 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 —) เป็นนักกีฬาฟันดาบสากลชาวไทย ผู้ซึ่งเข้าร่วมแข่งขันในเอเป้ประเภททีม รวมถึงเซเบอร์ทั้งในประเภทบุคคลและทีมในโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 ร่วมกับนักฟันดาบสากลทีมชาติไทย ซึ่งได้แก่ ทวีวัฒน์ หุราพันธ์, สุทธิพงษ์ สันติเทวกุล, สมชัย ตรังเจริญงาม และ เสน่ห์ เชาว์สุรินทร์ เริงยศ ศรีวรพงษ์พันธ์ เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ 32 และยังเป็นตัวแทนทีมชาติไทยร่วมกับเรืออากาศเอกสุทธิพงษ์ สันติเทวกุล ในการเข้าแข่งขันฟันดาบสากลในเอเชียนเกมส์ 1974 โดยเริงยศมีตำแหน่งเป็นประธานชมรมฟันดาบพระเกี้ยวในขณะนั้น นอกจากนี้ เขายังมีบทบาทในฐานะเป็นผู้ถ่ายทอดศิลปะการซ่อมดาบเอเป้ รวมถึงเทคนิคการเดินสายไฟฟ้าที่ดาบ และแม้กระทั่งการดัดมุมดาบ การตัดหางใบดาบ ตลอดจนทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการกีฬาฟันดาบสากลในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และเริงยศ ศรีวรพงษ์พันธ์

เอเชียนเกมส์

อเชียนเกมส์ (Asian Games; ชื่อย่อ: Asiad) เป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุกสี่ปี เริ่มกำหนดการแข่งขันโดย สหพันธ์เอเชียนเกมส์ (The Asian Games Federation; AGF) ตั้งแต่การแข่งขันครั้งแรกถึงครั้งที่ 8 และตั้งแต่เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 9 เป็นต้นมา บริหารจัดการแข่งขันโดย สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia; OCA) ภายใต้การรับรองโดย คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee; IOC) และยังถือได้ว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากกีฬาโอลิมปิกด้วย ในประวัติศาสตร์ของเอเชียนเกมส์ มีชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขันแล้ว 9 ประเทศ โดยมี 46 ประเทศเข้าร่วม ยกเว้นอิสราเอลซึ่งถูกกีดกันออกจากเอเชียนเกมส์ หลังจากที่เข้าร่วมเป็นคราวสุดท้ายใน เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 7 ที่ประเทศอิหร่าน สำหรับเอเชียนเกมส์ครั้งหลังสุดได้จัดขึ้นที่นครอินช็อนของเกาหลีใต้ระหว่างวันที่ 19 กันยายน-4 ตุลาคม พ.ศ.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และเอเชียนเกมส์

เอเชียนเกมส์ 1970

อเชียนเกมส์ 1970 เป็นการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 6 ตามกำหนดเดิม เกาหลีรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน จนกระทั่งปี 2512 ซึ่งเหลือเวลาอีก 1 ปี จะถึงกำหนดการแข่งขัน เกาหลีเจ้าภาพเกิดเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดสงครามระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ทำให้ไม่สามารถจะเป็นเจ้าภาพได้จึงขอถอนตัวแต่เพื่อมิให้การแข่งขันครั้งนี้ต้องยกเลิกไป เกาหลีจึงยินดีหาเงินให้กับประเทศที่จะรับเป็นเจ้าภาพเป็นเงินทั้งสิ้น 8 ล้านบาท คณะกรรมการบริหารสหพันธ์เอเชี่ยนเกมส์จึงได้เปิดประชุมอย่างเร่งด่วน ครั้งแรกในที่ประชุมมีมติให้ญี่ปุ่นรับจัดแทนเกาหลี แต่ญี่ปุ่นปฏิเสธเพราะกำลังจัดงานเอ็กซ์โป 1970 อยู่ แต่ยินดีที่จะช่วยสมทบทุนแก่ประเทศที่จะรับเป็นเจ้าภาพแทน.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และเอเชียนเกมส์ 1970

เอเชียนเกมส์ 1978

อเชียนเกมส์ 1978 เป็นการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 8 ประเทศไทยจำต้องเป็นเจ้าภาพอีกวาระหนึ่งเพราะปากีสถานซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมมนตรีสหพันธ์ฯ ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันครั้งนี้ได้แจ้งไปยังสหพันธ์ว่าไม่สามารถจัดการแข่งขันได้ เนื่องจากปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจภายในประเทศและภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นเหตุให้ขาดดุลทางการเงิน นายอาลี ภูตโต นายกรัฐมนตรีปากีสถานในขณะนั้น ได้สั่งระงับการเป็นเจ้าภาพจัด การแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 8 ผลจากการที่ปากีสถานขอคืนความเป็นเจ้าภาพจึงได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสหพันธ์เอเชี่ยนเกมส์ขึ้นในระหว่างการแข่งขันโอลิมปิคครั้งที่ 21 ณ ประเทศแคนาดา เพื่อหาประเทศเจ้าภาพแทนปากีสถานและที่ประชุมได้มีมติขอร้องให้ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพอีกครั้ง โดยสมาชิกสหพันธ์เอเชี่ยนเกมส์จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งสิ้นสำหรับการเป็นเจ้าภาพ ยกเว้นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งนักกีฬาไทยเข้าร่วมแข่งขัน ประเทศไทยจึงรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 8 ระหว่างวันที่ 9 – 20 ธันวาคม พ.ศ.

ดู เอเชียนเกมส์ 1974และเอเชียนเกมส์ 1978