โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอเชียนเกมส์ 1970

ดัชนี เอเชียนเกมส์ 1970

อเชียนเกมส์ 1970 เป็นการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 6 ตามกำหนดเดิม เกาหลีรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน จนกระทั่งปี 2512 ซึ่งเหลือเวลาอีก 1 ปี จะถึงกำหนดการแข่งขัน เกาหลีเจ้าภาพเกิดเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดสงครามระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ทำให้ไม่สามารถจะเป็นเจ้าภาพได้จึงขอถอนตัวแต่เพื่อมิให้การแข่งขันครั้งนี้ต้องยกเลิกไป เกาหลีจึงยินดีหาเงินให้กับประเทศที่จะรับเป็นเจ้าภาพเป็นเงินทั้งสิ้น 8 ล้านบาท คณะกรรมการบริหารสหพันธ์เอเชี่ยนเกมส์จึงได้เปิดประชุมอย่างเร่งด่วน ครั้งแรกในที่ประชุมมีมติให้ญี่ปุ่นรับจัดแทนเกาหลี แต่ญี่ปุ่นปฏิเสธเพราะกำลังจัดงานเอ็กซ์โป 1970 อยู่ แต่ยินดีที่จะช่วยสมทบทุนแก่ประเทศที่จะรับเป็นเจ้าภาพแทน.

29 ความสัมพันธ์: บรรเทา ศรีสุขชี ยง-จูฟุตบอลทีมชาติอิรักฟุตบอลทีมชาติไทยกรีฑาสถานแห่งชาติการเล่นกีฬาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4มวยสากลสมัครเล่นในเอเชียนเกมส์ริคาร์โด ฟอร์ตาเลซาวอลเลย์บอลชายทีมชาติฟิลิปปินส์วอลเลย์บอลชายทีมชาติญี่ปุ่นวอลเลย์บอลชายทีมชาติอินเดียวอลเลย์บอลชายทีมชาติเกาหลีใต้วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติฟิลิปปินส์วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่นวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติอิหร่านวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้วอลเลย์บอลในเอเชียนเกมส์ 1970วีนมอง (นักมวยสากล)สหพันธ์เอเชียนเกมส์สุรพงษ์ ศรีภิรมย์ประเทศจีนในเอเชียนเกมส์ประเทศไทยในเอเชียนเกมส์โทรทัศน์ในประเทศไทยเอเชียนบีชเกมส์ 2014เอเชียนเกมส์เอเชียนเกมส์ 1966เอเชียนเกมส์ 1974เอเชียนเกมส์ 1998

บรรเทา ศรีสุข

รรเทา ศรีสุข (Bantow Srisook) เกิดวันที่ 30 สิงหาคม..

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และบรรเทา ศรีสุข · ดูเพิ่มเติม »

ชี ยง-จู

ี ยง-จู (Jee Yong-Ju, อักษรฮันกึล: 지용주, อักษรฮันจา: 地龍珠) เกิดเมื่อ 19 ธันวาคม..

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และชี ยง-จู · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอลทีมชาติอิรัก

ฟุตบอลทีมชาติอิรัก (منتخب العراق لكرة القدم) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของสาธารณรัฐอิรัก อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสมาคมฟุตบอลอิรัก (IFA) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1948 และได้เข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกของฟีฟ่า ในปี 1950 จากนั้นได้เข้าเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) ในปี 1970 และเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก (WAFF) ในปี 2000 ทีมชาติอิรักถือว่าเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จอย่างมากชาติหนึ่งในกลุ่มประเทศแถบอาหรับ เคยเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก 4 ครั้ง (1980,1984,1988,2004) โดยผลงานดีที่สุดของทีมชาติอิรักในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกคือการคว้าอันดับ 4 ในโอลิมปิก 2004 ที่ประเทศกรีซ และเคยผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 1 ครั้ง ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1986 ที่ประเทศเม็กซิโก สำหรับผลงานในระดับทวีปเอเชียนั้นทีมชาติอิรักเคยได้เหรียญทองในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 1982 ที่กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย และสามารถสร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์เอเชียนคัพ ซึ่งเป็นรายการใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียได้ 1 สมัย ในปี 2007 ส่วนในการแข่งขันในระดับภูมิภาค ทีมชาติอิรักเคยชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชียตะวันตก ในปี 2002 รวมถึงคว้าแชมป์ฟุตบอลรายการ อาหรับ เนชันส์คัพ ได้ถึง 4 สมัย (ปี 1964,1966,1984,1988) นอกจากนี้ทีมชาติอิรักยังเคยได้รับเลือกจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) ให้เป็นทีมชาติยอดเยี่ยมประจำทวีปเอเชียถึง 2 ครั้ง (ปี 2003 และ 2007) โดยเป็นชาติเดียวในเอเชียตะวันตกที่เคยได้รับรางวัลนี้.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และฟุตบอลทีมชาติอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอลทีมชาติไทย

ฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ และอยู่ภายใต้การบริหารของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยทีมมีประวัติของความสำเร็จในการแข่งขันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือชนะเลิศอาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 5 สมัย และชนะเลิศซีเกมส์ 10 สมัย โดยทีมชาติไทยยังสามารถคว้าอันดับ 3 ในเอเชียนคัพ 1972 และเข้าร่วมการแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2 ครั้ง และในเอเชียนเกมส์ 4 ครั้ง โดยอันดับโลกฟีฟ่าที่ทีมชาติไทยทำอันดับได้ดีที่สุด คือ อันดับที่ 42 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 ปัจจุบันทีมชาติไทยอยู่อันดับที่ 122 ของโลก อันดับที่ 23 ของเอเชีย และอยู่ในอันดับที่ 3 ของอาเซียน จากการจัดอันดับโดยฟีฟ่า (12 เมษายน พ.ศ. 2561).

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และฟุตบอลทีมชาติไทย · ดูเพิ่มเติม »

กรีฑาสถานแห่งชาติ

กรีฑาสถานแห่งชาติ (The National Stadium of Thailand) เป็นสนามกีฬาแห่งชาติของประเทศไทย อยู่ในความดูแลของกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยส่งคืนสถานที่บางส่วนแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา และใช้อาคารสถานที่ในส่วนที่ยังเช่าอยู่ เพื่อเป็นที่ทำการของกรมฯ ตลอดจนสมาคมหรือองค์กร ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา และนันทนาการต่างๆ กรีฑาสถานแห่งชาติ ตั้งอยู่ภายในที่ทำการของกรมพลศึกษา เลขที่ 154 ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และกรีฑาสถานแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

การเล่นกีฬาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล่นเรือใบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดการเล่นกีฬามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โปรดกีฬาหลายประเภท เช่น สกีน้ำแข็ง, ยิงปืน, กอล์ฟเล็ก, การแข่งขันรถเล็ก, เทนนิส, แบดมินตัน, เครื่องร่อน โดยทรงเล่นกีฬาเหล่านี้มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยทรงศึกษาข้อมูลของกีฬาแต่ละประเภทอย่างละเอียด และทรงฝึกฝนจนปฏิบัติได้ดี นับเป็นแบบอย่างที่ดีของนักกีฬา น่าสังเกตว่ากีฬาที่โปรด มักเป็นกีฬาที่ไม่ได้ใช้แต่พละกำลังเพียงอย่างเดียว คือ ต้องอาศัย ความรู้รอบตัวและเทคนิคไหวพริบ ผนวกกับความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในกีฬานั้น ๆ ซึ่งทรงพอพระทัยกับการเผชิญความท้าทายในเกมกีฬาเป็นอย่างมาก เช่น เทนนิส, เรือใบ เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเคารพกฎกติกาของการกีฬาที่ทรงเล่น และมักจะทรงเน้นย้ำให้นักกีฬาทั้งหลายมีวินัยตลอดเวลา ทรงให้ความสำคัญต่อการฝึกซ้อมเป็นอันมาก ทรงสนพระทัยกีฬาที่มีโอกาสได้ฝึกซ้อม ด้วยทรงเห็นว่าการจะเป็นนักกีฬาที่ดีนั้น ต้องให้ความสนใจในการฝึกซ้อม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และปรับปรุงตนเอง มีประสบการณ์เพิ่มขึ้นถ้านักกีฬาคนใดไม่ฝึกซ้อมก็จะเป็นนักกีฬาที่ดีไม่ได้ แต่ด้วยพระราชภารกิจ อันมากมายของพระองค์ กีฬาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนั้น ส่วนมากจะทรงเป็นระยะๆ บางช่วง ด้วยไม่สะดวกที่จะทรงฝึกซ้อมเป็นประจำ นอกจากกีฬาแข่งขันแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังสนพระทัยในการออกกำลังพระวรกายเพื่อสุขภาพอีกด้วย เช่น วิ่งเหยาะ และเดินเร็ว การออกกำลังพระวรกายสม่ำเสมออย่างถูกหลักวิชาการ คือ มีการบันทึกพระชีพจร ความดันพระโลหิตทั้งก่อนและหลังการทรงออกกำลังพระวรกาย รวมทั้งทรงกระตุ้นให้เกิดความอบอุ่นแก่พระวรกายก่อนเริ่ม และผ่อนคลายความตึงเครียดของพระกล้ามเนื้อ หลังจากการออกกำลังพระวรกาย โดยทรงปฏิบัติเช่นนี้เป็นกิจวัตร เป็นแบบฉบับของนักกีฬาที่ดี ถึงแม้ในช่วงแปรพระราชฐานไปในที่ต่าง ๆ ในเวลากลางวันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะอุทิศเวลาเพื่อราษฎรของพระองค์ กว่าจะเสร็จสิ้นพระวรกายด้วยการทรงพระดำเนินแล้ว เป็นระยะทางนับเป็นหลายร้อยเมตร เพื่อให้พระวรกายของพระองค์แข็งแรง พร้อมที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปในที่ต่าง ๆ เพื่อเยี่ยมเยียนราษฎรของพระองค์ได้เสมอ โดยพระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับการกีฬาไว้ว่า "การกีฬามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับชีวิตของแต่ละคนและชีวิตบ้านเมือง" พระราชดำรัสนี้แสดงให้เห็นถึงพระราชปณิธานในเรื่องการส่งเสริมการกีฬาว่าเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาบุคคลและประเทศชาติ จึงทรงส่งเสริมกีฬาทุกประเภท พร้อมทั้งทรงกีฬามากมายหลายประเภทเช่นกัน.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และการเล่นกีฬาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

กีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4

กีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 หรือ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 4 เป็นการแข่งขันกีฬาหลายชนิดระดับประเทศของประเทศไทย การแข่งขันครั้งนี้จัดที่จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 – 7 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

มวยสากลสมัครเล่นในเอเชียนเกมส์

มวยสากลสมัครเล่น เป็นกีฬาที่จัดการแข่งขันใน กีฬาเอเชียนเกมส์ มาทุกครั้งนับตั้งแต่เริ่มบรรจุแข่งขันใน พ.ศ. 2497.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และมวยสากลสมัครเล่นในเอเชียนเกมส์ · ดูเพิ่มเติม »

ริคาร์โด ฟอร์ตาเลซา

ริคาร์โด เมนโดซา ฟอร์ตาเลซา (Ricardo Mendoza Fortaleza) เกิดเมื่อ 18 เมษายน..

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และริคาร์โด ฟอร์ตาเลซา · ดูเพิ่มเติม »

วอลเลย์บอลชายทีมชาติฟิลิปปินส์

วอลเลย์บอลชายทีมชาติฟิลิปปินส์ (Philippines men's national volleyball team) ทีมนี้ได้รับการบริหารโดยสหพันธ์วอลเลย์บอลฟิลิปปินส์ เป็นทีมชาติวอลเลย์บอลของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาต.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และวอลเลย์บอลชายทีมชาติฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

วอลเลย์บอลชายทีมชาติญี่ปุ่น

วอลเลย์บอลชายทีมชาติญี่ปุ่น (バレーボール全日本男子; Japan men's national volleyball team) เป็นทีมชาติวอลเลย์บอลของประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และวอลเลย์บอลชายทีมชาติญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

วอลเลย์บอลชายทีมชาติอินเดีย

วอลเลย์บอลชายทีมชาติอินเดีย (भारत में पुरुषों की राष्ट्रीय वालीबाल टीम) เป็นตัวแทนของประเทศอินเดีย ทีมนี้ได้รับการบริหารโดยสหพันธ์วอลเลย์บอลอินเดีย และเป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาต.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และวอลเลย์บอลชายทีมชาติอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

วอลเลย์บอลชายทีมชาติเกาหลีใต้

นักวอลเลย์บอลชายเกาหลีใต้ชุดชิงแชมป์โลก 2014 วอลเลย์บอลชายทีมชาติเกาหลีใต้ (대한민국 배구 국가대표팀) เป็นตัวแทนของประเทศเกาหลีใต้ในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาติรวมถึงนัดกระชับมิตร ทีมนี้เคยได้อันดับที่ 5 ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1984 ที่ ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นอันดับที่ดีที่สุดของทีม.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และวอลเลย์บอลชายทีมชาติเกาหลีใต้ · ดูเพิ่มเติม »

วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติฟิลิปปินส์

วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติฟิลิปปินส์ (Philippines women's national volleyball team) ทีมนี้ได้รับการบริหารโดยสหพันธ์วอลเลย์บอลฟิลิปปินส์ เป็นทีมชาติวอลเลย์บอลของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาต.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น

มาชิกวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น (バレーボール全日本女子; Japan women's national volleyball team หรือ All-Japan women's volleyball team) เป็นทีมชาติวอลเลย์บอลของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอันดับ 5 ของโลก โดยสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และมีหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนปัจจุบันคือคุมิ นากาดะ หนึ่งในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของทีมคือชนะการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 ที่กรุงโตเกียว โดยทีมชาติญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะทีมชาติสหภาพโซเวียตและได้รับรางวัลเหรียญทอง ทีมชาติญี่ปุ่นได้รับเลือกให้เข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 จากการเป็นฝ่ายชนะรอบคัดเลือกทีมโอลิมปิกหญิง ตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 16 พฤษภาคม ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ทีมดังกล่าวได้อันดับห้าจากการแข่งขัน และในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2013 ทีมชาติญี่ปุ่นได้พบกับทีมชาติไทย ในรอบชิงชนะเลิศ โดยเป็นฝ่ายแพ้ให้กับทีมชาติไทยที่ 3-0 เซต.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติอิหร่าน

วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติอิหร่าน (تیم ملی والیبال زنان ایران) เป็นทีมชาติวอลเลย์บอลของประเทศอิหร่าน.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้

ัง ฮโย-จิน หนึ่งในสมาชิกวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ (대한민국 여자 배구 국가대표팀) เป็นตัวแทนของประเทศเกาหลีใต้ในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาติรวมถึงนัดกระชับมิตร ทีมนี้เป็นหนึ่งในทีมระดับแถวหน้าของโลกในช่วงยุคทศวรรษที่ 1970, 1990 และยังคงเป็นหนึ่งในทีมวอลเลย์บอลหญิงที่ดีที่สุดของเอเชีย รวมถึงเคยได้รับรางวัลเหรียญทองแดงจากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 ที่มอนทรีออล ประเทศแคนาดา, อันดับสี่จากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1972 ที่มิวนิก ประเทศเยอรมนี และโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2013 ทีมชาติเกาหลีใต้ได้เข้าชิงอันดับ 3 กับทีมชาติจีน.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ · ดูเพิ่มเติม »

วอลเลย์บอลในเอเชียนเกมส์ 1970

การแข่งขันวอลเลย์บอลในเอเชียนเกมส์ 1970 จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร, ประเทศไท.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และวอลเลย์บอลในเอเชียนเกมส์ 1970 · ดูเพิ่มเติม »

วีนมอง (นักมวยสากล)

วีนมอง (ဝင်းမောင်, Win Maung) เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นชาวพม่า เกิดเมื่อ 1 กุมภาพัน..

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และวีนมอง (นักมวยสากล) · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์เอเชียนเกมส์

หพันธ์กีฬาเอเชียนเกมส์ (The Asian Games Federation; ชื่อย่อ: AGF) เป็นองค์กรบริหารจัดการแข่งขันกีฬาระดับทวีปเอเชีย ระหว่างวันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ถึงวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ซึ่งแทนที่ด้วยสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย โดยทั้งก่อตั้งขึ้นและปิดตัวลงในกรุงนิวเดลีของอินเดียเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และสหพันธ์เอเชียนเกมส์ · ดูเพิ่มเติม »

สุรพงษ์ ศรีภิรมย์

รพงษ์ ศรีภิรมย์ (Surapong Sripirom) เกิดวันที่ 31 มีนาคม..

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และสุรพงษ์ ศรีภิรมย์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีนในเอเชียนเกมส์

รณรัฐประชาชนจีน ได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งแรกในเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 7 ณ กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับเหรียญรางวัลครั้งแรกนับตั้งแต่เข้าร่วม โดยได้อันดับ 3 ในเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 7 อันดับ 2 ในเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 8 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และอันดับ 1 ในเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 9 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก และได้มา 9 ครั้งติดต่อกัน จนถึงเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 17 ณ เมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และประเทศจีนในเอเชียนเกมส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทยในเอเชียนเกมส์

ประเทศไทย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ตั้งแต่ ครั้งแรกที่เอเชี่ยนเกมส์จัดขึ้น ใน เอเชียนเกมส์ 1951 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย โดยเข้าร่วมการแข่งขันทุกครั้ง ซึ่งไทยได้รับเหรียญรางวัลครั้งแรก ในการแข่งขันครั้งที่ 3 เอเชียนเกมส์ 1958 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และได้รับเหรียญทองครั้งแรก ในการแข่งขันครั้งที่ 4 เอเชียนเกมส์ 1962 ณ จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และประเทศไทยในเอเชียนเกมส์ · ดูเพิ่มเติม »

โทรทัศน์ในประเทศไทย

ทรทัศน์ในประเทศไทย ออกอากาศทางภาคพื้นดินเป็นช่องทางหลัก โดยแพร่ภาพผ่านคลื่นวิทยุ ซึ่งระยะแรกที่ออกอากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เริ่มใช้ย่านความถี่สูงมาก (Very High Frequency; VHF) ซึ่งประกอบด้วย ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 2-4 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 5-12 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2538 จึงเริ่มใช้ย่านความถี่สูงยิ่ง (Ultra High Frequency; UHF) คือช่องสัญญาณที่ 26-60 (ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 26-34 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 35-60) ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มออกอากาศ จนถึง พ.ศ. 2517 ใช้ระบบสัญญาณแอนะล็อก ในการส่งแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที (National Television System Committee; NTSC) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย คณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Committee; FCC ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเต็มเป็น Federal Communications Commission) ต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 จึงเริ่มนำระบบการส่งแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที (Phase Alternating Line; PAL) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยคลื่นวิทยุ (Consultative Committee on International Radio; CCIR ปัจจุบันคือ ภาควิทยุคมนาคมโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ International Telecommunication Union Radiocommunication Sector; ITU-R) เข้ามาใช้ในประเทศไทย และเริ่มออกอากาศด้วยภาพสี ภายใต้ระบบดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีบริการโทรทัศน์แห่งชาติ ภายใต้กำกับของกรมประชาสัมพันธ์ เริ่มจากส่วนภูมิภาคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 และเริ่มดำเนินการในส่วนกลางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน จากนั้นก็เริ่มนำระบบดิจิทัล เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตรายการ และควบคุมการออกอากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 และนำมาใช้กับกระบวนการส่งแพร่ภาพ ผ่านโครงข่ายอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน โดยจะยุติการออกอากาศด้วยสัญญาณแอนะล็อก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ส่วนระบบการออกอากาศด้วยช่องทางอื่น ซึ่งนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย ประกอบด้วย บริการกระจายสัญญาณแบบหลายจุดหลายช่อง (Multichannel multipoint distribution service; MMDS) ระหว่างปี พ.ศ. 2532-2556, ผ่านคลื่นวิทยุไมโครเวฟ ระหว่างปี..

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และโทรทัศน์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียนบีชเกมส์ 2014

อเชียนบีชเกมส์ 2014 (2014 Asian Beach Games) เป็นการแข่งขัน เอเชียนบีชเกมส์ ครั้งที่ 4 จะมีการจัดขึ้นที่เกาะภูเก็ต ประเทศไทย ซึ่งการแข่งขันได้กำหนดไว้ที่เกาะโบราไค จังหวัดอักลัน ประเทศฟิลิปปินส์ แต่ได้รับผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงเจ้าภาพจากทาง OCA ซึ่งไปซ้อนในปีเดียวกันกับเอเชียนเกมส์ 2014 การแข่งขันในครั้งนี้จะเป็นครั้งที่เจ็ดสำหรับประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันระดับเอเชีย ภายหลังจากที่กรุงเทพ ได้จัดมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ไปแล้วสี่ครั้ง (ค.ศ. 1966, 1970, 1978 และ 1998), เอเชียนอินดอร์เกมส์หนึ่งครั้ง (ค.ศ. 2005) และเอเชียนมาร์เชียลอาร์ตสเกมส์หนึ่งครั้ง (ค.ศ. 2009) อย่างไรก็ตาม มหกรรมกีฬานี้จะถือเป็นรายการแรกที่ไม่ได้จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และเอเชียนบีชเกมส์ 2014 · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียนเกมส์

อเชียนเกมส์ (Asian Games; ชื่อย่อ: Asiad) เป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุกสี่ปี เริ่มกำหนดการแข่งขันโดย สหพันธ์เอเชียนเกมส์ (The Asian Games Federation; AGF) ตั้งแต่การแข่งขันครั้งแรกถึงครั้งที่ 8 และตั้งแต่เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 9 เป็นต้นมา บริหารจัดการแข่งขันโดย สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia; OCA) ภายใต้การรับรองโดย คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee; IOC) และยังถือได้ว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากกีฬาโอลิมปิกด้วย ในประวัติศาสตร์ของเอเชียนเกมส์ มีชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขันแล้ว 9 ประเทศ โดยมี 46 ประเทศเข้าร่วม ยกเว้นอิสราเอลซึ่งถูกกีดกันออกจากเอเชียนเกมส์ หลังจากที่เข้าร่วมเป็นคราวสุดท้ายใน เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 7 ที่ประเทศอิหร่าน สำหรับเอเชียนเกมส์ครั้งหลังสุดได้จัดขึ้นที่นครอินช็อนของเกาหลีใต้ระหว่างวันที่ 19 กันยายน-4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) และการแข่งขันครั้งต่อไป จะจัดขึ้นที่กรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018).

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และเอเชียนเกมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียนเกมส์ 1966

อเชียนเกมส์ 1966 การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 5 จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 9 – 20 ธันวาคม 2509 กีฬาที่แข่งขันมี 14 ชนิด คือ กรีฑา แบดมินตัน บาสเก็ตบอล มวย จักรยาน ฟุตบอล ฮอกกี้ ยิงปืน ว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิส ยกน้ำหนัก วอลเลย์บอล มวยปล้ำ และมีการสาธิตกีฬาซอร์ฟบอล ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันมี 19 ประเทศ รวมส่งนักกีฬาทั้งหมด 1,945 คน เป็นชาย 1,569 คน หญิง 376 คน.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และเอเชียนเกมส์ 1966 · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียนเกมส์ 1974

อเชียนเกมส์ 1974 เป็นการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 7 จัดขึ้นที่กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่านระหว่างวันที่ 1 – 16 กันยายน 2517 ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้เกือบต้องล้มคว่ำลงกลางคันเนื่องจากอิหร่านและญี่ปุ่นได้นำข้อเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสหพันธ์เอเชี่ยนเกมส์ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 – 18 กันยายน 2516 ให้ที่ประชุมพิจารณารับเอาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกแต่มีเงื่อนไขว่า สหพันธ์ฯ ต้องขับจีนชาติออกจากการเป็นสมาชิก ผลปรากฏว่ากรรมการบริหาร 4 คน ได้เดินออกจากที่ประชุม ในที่สุดจากการวิ่งเต้นของอิหร่านและญี่ปุ่นจึงทำให้การรับรองสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์ฯ ก็ผ่านไปด้วยดี ดังนั้น การแข่งขันครั้งที่ 7 จึงมีประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน 19 ประเทศ มีนักกีฬาเข้าแข่งขันทั้งหมด 16 ชนิด คือ กรีฑา แบดมินต้น บาสเกตบอล มวย จักรยาน ฟุตบอล ฟันดาบ ยิมนาสติคส์ ฮอกกี้ ลอนเทนนิส ยิงปืน ว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิส วอลเลย์บอล ยกน้ำหนัก และมวยปล้ำ.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และเอเชียนเกมส์ 1974 · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียนเกมส์ 1998

อเชียนเกมส์ 1998 เป็นการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541 มีประเทศเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 41 ประเทศ และมีกีฬาแข่งขันทั้งหมด 36 ชนิด โดยสนามแข่งขันที่ใช้เป็นหลัก คือ ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต ศูนย์กีฬาหัวหมาก การกีฬาแห่งประเทศไทย และ ศูนย์กีฬาเมืองทองธานี มาสคอตของการแข่งขันครั้งนี้ คือ ช้าง ไชโย และมีคำขวัญว่า Friendship beyond Frontiers หรือ มิตรภาพไร้พรมแดน.

ใหม่!!: เอเชียนเกมส์ 1970และเอเชียนเกมส์ 1998 · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »