โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอช. จี. เวลส์

ดัชนี เอช. จี. เวลส์

อร์เบิร์ต จอร์จ เวลส์ หรือ เอ.

21 ความสัมพันธ์: บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์พระเจ้าอโศกมหาราชกระสวยแซงเวลาการเดินทางข้ามเวลามกุฎสาธารณรัฐมาร์ธา เบียทริซ พอตเตอร์ เวบบ์มนุษย์ล่องหนรายชื่อนักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยลูเชียนศิลปะอัศจรรย์สิ่งมีชีวิตนอกโลกจรวดดาวอังคารดิสนีย์แลนด์พาร์ก (ปารีส)แรงต้านแรงโน้มถ่วงโลกตะวันตกเดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์สเปอร์ซิวัล โลเวลล์13 สิงหาคม21 กันยายน

บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์

ันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ หรือ ไซไฟเป็นนิยายที่เสนอมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบต่อบุคคลหรือสังคม จากวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีในจินตนาการ.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอโศกมหาราช

ระเจ้าอโศกมหาราช (अशोकः; พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) เป็นจักรพรรดิอินเดียโบราณแห่ง ราชวงศ์โมริยะ หรือเมารยะผู้ปกครอง อนุทวีปอินเดีย เกือบทั้งหมดพระองค์เป็นราชนัดดา (หลาน) ของผู้ก่อตั้งราชวงศ์เมารยะคือ พระเจ้าจันทรคุปต์ ผู้สร้างหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียโบราณและจันทรคุปต์สละทั้งหมดแล้วบวชเป็นนักบวชเชน พระเจ้าอโศกเป็นหนึ่งในจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดียพระองค์ขยายจักรวรรดิของพระเจ้าจันทรคุปต์และครอบครองเหนือดินแดนตั้งแต่ทางทิศตะวันตกคือพื้นที่ ประเทศอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันขยายออกไปทางทิศตะวันออกถึงบังกลาเทศ เป็นพื้นที่ครอบคลุมอนุทวีปของชาวอินเดียทั้งหมดยกเว้นพื้นที่ที่เป็น รัฐทมิฬนาฑู ในปัจจุบัน คาร์นาตากาและรัฐเกรละ เมืองหลวงของจักรวรรดิคือเมืองปาฏลีบุตร (ในแคว้นมคธปัจจุบันนี้คือเมืองปัฏนะ)พร้อมด้วยเมืองหลวงต่างจังหวัดคือเมือง ตักศิลา และเมืองอุชเชน หรือ อุชเชนี ในครั้งพุทธกาล ประมาณ..

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และพระเจ้าอโศกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

กระสวยแซงเวลา

กระสวยแซงเวลา (อังกฤษ: The Time Machine) เป็นภาพยนตร์ไซไฟสัญชาติอเมริกา สร้างขึ้นเมื่อปี ..

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และกระสวยแซงเวลา · ดูเพิ่มเติม »

การเดินทางข้ามเวลา

การเดินทางข้ามเวลา (time travel) เป็นแนวคิดเรื่องการเคลื่อนที่ (ที่มักจะทำให้เกิดขึ้นโดยฝีมือของมนุษย์) ระหว่างจุด 2 จุดที่มีความแตกต่างกันในห้วงเวลา หรือ ระหว่างห้วงเวลาหนึ่งไปยังอีกห้วงเวลาหนึ่ง ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับการเคลื่อนที่ระหว่างจุด 2 จุดที่มีความแตกต่างกันในพื้นที่ หรือ ปริภูมิ (space) ในลักษณะย้อนสู่อดีตหรือมุ่งสู่อนาคต โดยไม่จำต้องประเชิญห้วงเวลาที่คั่นระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดหมายปลายทาง ซึ่งอาจอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า "จักรกลข้ามเวลา" (time machine) Brave New Words: The Oxford Dictionary of Science Fiction by Jeff Prucher (2007),.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และการเดินทางข้ามเวลา · ดูเพิ่มเติม »

มกุฎสาธารณรัฐ

มกุฎสาธารณรัฐ คือรูปแบบของราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งบทบาทของพระมหากษัตริย์เป็นในทางพิธีการ และพระราชอำนาจทุกอย่างถูกจำกัดโดยขนบธรรมเนียมและโดยกฎหมายในลักษณะที่พระองค์มีพระราชวินิจฉัยเหนือประเด็นทางการเมืองและกฎหมายเพียงเล็กน้อยหรืออาจไม่มีเลยก็ได้ โดยวาทกรรมนี้ถูกใช้อธิบายการปกครองในหลายรัฐ เช่น ราชอาณาจักรนอร์เวย์ หรือบางประเทศในอาณาจักรในเครือจักรภพ วาทกรรมนี้ยังสามารถใช้หมายถึงประเทศที่ปกครองแบบราชาธิปไตยอย่างเป็นทางการ แต่ประชาชนถือสิทธิ์ในการปกครองด้วยความเป็นพลเมืองเหนือประเด็นต่างๆ ของชาติ ซึ่งอาจจะถูกนำไปใช้กับประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่ซึ่งพระประมุขมีพระราชอำนาจส่วนพระองค์ต่อการเมืองเพียงเล็กน้อย หรือไม่ว่าพระราชอำนาจตกเป็นของหน่วยงานรัฐก็ตาม.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และมกุฎสาธารณรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ธา เบียทริซ พอตเตอร์ เวบบ์

มาร์ทา เบียทริซ พอตเตอร์ เวบบ์ มาร์ธา เบียทริซ พอตเตอร์ เวบบ์ (พ.ศ. 2401 - พ.ศ. 2486) เป็นนักสังคมนิยม นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ทั้งยังได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นนักปฏิรูปด้วย และเป็นสมาชิกคนสำคัญของสมาคมเฟเบียน (Fabian Society) ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงคุ้มครองผลประโยชน์ให้กับชนชั้นกรรมาชีพโดยตรง.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และมาร์ธา เบียทริซ พอตเตอร์ เวบบ์ · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์ล่องหน

The Invisible Man ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ปี 1897 มนุษย์ล่องหน (The Invisible Man) เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่เขียนโดย เอช.จี. เวลส์ นักเขียนชาวอังกฤษ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1897 ลงเป็นตอนในนิตยสาร Pearson's Magazine และรวมเล่มในปีเดียวกัน นวนิยายกล่าวถึงนักวิทยาศาสตร์ชื่อ กริฟฟิน ซึ่งตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าร่างกายมนุษย์มีดรรชนีหักเห เท่ากับอากาศ ร่างกายจะไม่ดูดซับแสงหรือสะท้อนแสง และทำให้มองไม่เห็น กริฟฟินได้ทำการทดลองด้วยตัวเอง ประสบความสำเร็จและทำให้ตนเองกลายเป็นมนุษย์ล่องหน แต่ไม่สามารถทำให้ร่างกายตัวเองกลับมามีดรรชนีหักเหเท่าเดิมได้ นอกจากนี้กระบวนการเคมีที่เกิดขึ้นยังมีผลกระทบต่ออารมณ์และสภาพจิตใจของกริฟฟิน กริฟฟินใช้แถบผ้าพันปกปิดร่างกาย สวมแว่นดำและหมวกปกคลุม หลบไปทำการทดลองในเมืองเล็กๆ และขอความช่วยเหลือจากเพื่อนเก่าชื่อ ดร.เคมป์ ในขณะที่ชาวเมืองเริ่มรู้สึกผิดปกติกับการมาของชายลึกลับที่ใช้ผ้าพันทั้งตัว เกิดอาชญากรรมแปลก แต่ตำรวจไม่สามารถจับใครได้ ในที่สุดกริฟฟินก็สามารถกลับมามีร่างกายเป็นปกติได้ แต่เป็นในขณะที่เขากำลังจะตาย เพราะถูกตำรวจจั.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และมนุษย์ล่องหน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อนักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์

้างล่างนี้เป็นการรวบรวมรายชื่อของนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ไทยและต่างชาติ โดยเรียงลำดับตามตัวอักษรในภาษาไทย (รายชื่อภาษาอังกฤษในวงเล็บเป็นลิงก์ไปอ่านบทความในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ).

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และรายชื่อนักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ลูเชียน

ลูเชียนแห่งซามอซาทา (Lucian of Samosata; Λουκιανὸς ὁ Σαμοσατεύς, Lucianus Samosatensis; ค.ศ. 125 – หลัง ค.ศ. 180) เป็นนักพูดชาวอัสซีเรีย และนักเขียนเรื่องเสียดสีซึ่งเขียนเป็นภาษากรีก มีชื่อเสียงจากความหลักแหลมในการเปรียบเปรยและเสียดสี ลูเชียนนับเป็นหนึ่งในนักเขียนนวนิยายยุคแรกๆ ของอารยธรรมตะวันตก ในเรื่อง A True Story เขาเขียนบทบรรยายร้อยแก้วเป็นการสนทนาในจินตนาการจากเรื่องเล่าแฟนตาซีของโฮเมอร์ ใน โอดิสซีย์ และเทพนิยายอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงในยุคสมัยของเขา เขาเขียนเรื่องราว "ทันสมัย" เช่นการเดินทางไปดวงจันทร์และดาวศุกร์ ชีวิตจากต่างดาว และสงครามระหว่างดาว ตั้งแต่เมื่อพันปีก่อนยุคของจูลส์ เวิร์น และ เอช. จี. เวลส์ เสียอีก นิยายของเขานับได้ว่าเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ยุคแรกๆ ของโลก แม้จะไม่ใช่เรื่องแรกที่สุดก็ตาม.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และลูเชียน · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะอัศจรรย์

“Mermaid Syndrom”, ค.ศ. 2006 ศิลปะอัศจรรย์ หรือ อัศจรรย์ศิลป์ (Fantastic art) คือประเภทของงานศิลปะ ขอบข่ายของศิลปะอัศจรรย์ได้รับการนิยามอย่างเคร่งครัดโดยนักวิชาการมาตั้งแต่สมัยของชูลส์ แวร์นและเอช. จี. เวลส์ ก่อนหน้าและระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ก็ได้มีขบวนการศิลปินไซ-ไฟ/แฟนตาซีที่ครอบคลุมงานประเภทศิลปินภาพประกอบศิลปะและหนังสือคอมมิค บทเขียนรวมเกี่ยวกับงานศิลปะประเภทนี้เห็นได้ชัดในหนังสือ “Infinite Worlds: The Fantastic Visions of Science Fiction Art” โดยศิลปินอเมริกันวินเซนต์ ดิ เฟทโดยมีนักเขียนอเมริกันเรย์ แบรดเบอร์รีเป็นผู้เขียนบทนำ ศิลปะอัศจรรย์เดิมจำกัดอยู่เฉพาะแต่งานจิตรกรรมและภาพประกอบ แต่ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมาก็ขยายไปรวมภาพถ่าย ศิลปะอัศจรรย์มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับแฟนตาซี, แฟนตาซีเชิงวิทยาศาสตร์ (ประเภทย่อยของไซ-ไฟที่เกี่ยวกับความลี้ลับของมนุษย์ต่างดาวและศาสนาของมนุษย์ต่างดาว), จินตนาการ, และภาวะกึ่งฝัน, วิลักษณ์, มโนทัศน์อันเหนือจริงSchurian, Walter (2005) Beyond Mere Understanding.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และศิลปะอัศจรรย์ · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตนอกโลก

นหุ่นยนต์รถสำรวจคิวริออซิตี้โรเวอร์) มนุษย์ต่างดาวในจินตนาการของคนส่วนใหญ่ มนุษย์ต่างดาว (alien) เป็นสิ่งที่เชื่อว่าอาจมีอยู่จริงแต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ ลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่นอกโลก ซึ่งในความคิดของคนส่วนใหญ่ มักจะวาดภาพ มนุษย์ต่างดาว ลักษณะคล้ายคนแต่ ตัวเขียว หัวโต ตาโต เคยมาเยือนโลกโดยมากับ จานบิน สิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrial life) (จากคำภาษาละติน: extra และ terrestris) ถูกกำหนดให้เป็นชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากโลก มันมักจะหมายถึง สิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือเรียกเพียงว่า มนุษย์ต่างดาว (หรือมนุษย์ต่างดาวในอวกาศเพื่อให้แตกต่างจากคำจำกัดความอื่น ๆ ของมนุษย์ต่างภิภพหรือมนุษย์ต่างดาว) รูปแบบชีวิตเหล่านี้ตามสมมติฐานของชีวิตช่วงระยะเริ่มจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียขั้นพื้นฐานเหมือนสิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายไปไกลจนถึงขั้นที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเกินกว่าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์ ความเป็นไปได้ว่ายังอาจจะมีไวรัส (viruses) ที่มีการดำรงชีวิตอยู่แบบสิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrially) ได้รับการเสนอขึ้น การพัฒนาและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับชีวิตต่างดาวที่เป็นที่รู้จักกันในนามของวิชาที่เรียกว่า "ชีววิทยานอกโลก" หรือ "ชีวดาราศาสตร์" ("exobiology" or "astrobiology") แม้ว่าวิชาชีวดาราศาสตร์จะยังคงพิจารณาถึงชีวิตที่เกิดขึ้นที่เป็นขั้นพื้นฐานบนโลกที่ใช้ในบริบททางดาราศาสตร์อยู่ก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าชีวิตนอกโลกเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานโดยตรงในการดำรงอยู่ของมัน นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ได้มีการค้นหาอย่างต่อเนื่องสำหรับสัญญาณของชีวิตนอกโลก, จากวิทยุที่ใช้ในการตรวจจับสัญญาณต่างดาวที่มีความเป็นไปได้, ไปจนถึงกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับเป็นสถานที่เอื้ออาศัยสำหรับสภาพชีวิตที่อาจสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้มันก็ยังมีบทบาทที่สำคัญต่องานเขียนทางด้านเกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ (science fiction) อีกด้วย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา, ผลงานทางด้านนิยายวิทยาศาสตร์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของฮอลลีวู้ด, ได้ช่วยเพิ่มทวีความสนใจให้มากขึ้นของประชาชนในความเป็นไปได้เกี่ยวกับชีวิตนอกโลก บางส่วนสนับสนุนให้ใช้วิธีการเชิงรุกสำหรับในความพยายามและได้รับการติดต่อกับสิ่งมีชีวิตจากห้วงอวกาศ, ในขณะที่อีกบางส่วน ยืนยันว่ามันก็อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เราชาวโลกเราได้สำหรับในการที่จะกระตือรือร้นเรียกร้องความสนใจจากมนุษย์ต่างดาว ในอดีตที่ผ่านมา, ความขัดแย้งกันระหว่างวัฒนธรรมที่เจริญและคนพื้นเมืองนั้นก็ยังไม่ได้เป็นไปด้วยดี.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และสิ่งมีชีวิตนอกโลก · ดูเพิ่มเติม »

จรวด

รวดโซยุซ-ยู (Soyuz-U) ณ ฐานปล่อยที่ 1/5 ไบโคนูร์ ไซต์1/5 (Baikonur's Site 1/5) ในคาซัคสถาน (Kazakhstan) การปล่อยจรวดแซทเทิร์น 5 อะพอลโล 15: เวลาเริ่มปล่อย T - 30 วินาที เวลาเสร็จสิ้น T + 40 วินาที จรวด หมายถึงขีปนาวุธ, ยานอวกาศ, เครื่องบิน หรือพาหนะอื่นใดที่อาศัยแรงผลักดันของไอเสียที่มีต่อตัวจรวดในการพุ่งไปข้างหน้า โดยใช้การเผาผลาญเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์จรวด ในจรวดทุกชนิดไอเสียจะเกิดขึ้นทั้งหมดจากเชื้อเพลิงขับดันที่บรรทุกไปด้วยภายในจรวดก่อนที่จะถูกใช้งาน chapter 1 จรวดเคมีสร้างพลังงานจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงจรวด ผลจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงและตัวอ๊อกซิไดซ์ภายในห้องเผาไหม้จะทำให้เกิดก๊าซร้อนที่มีอุณหภูมิสูงมากและขยายตัวออกไปทางหัวฉีดทำให้ก๊าซเคลื่อนที่ด้วยความเร่งในระดับไฮเปอร์โซนิก ซึ่งทำให้เกิดแรงผลักมหาศาลต่อตัวจรวดตามกฎข้อที่สามของนิวตัน (แรงกิริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยา)โดยในทางทหารและสันทนาการมีประวัติของการใช้จรวดเป็นอาวุธและเครื่องมือในช่วงเวลานั้น จรวดได้ถูกใช้สำหรับงานทางทหารและสันทนาการ ย้อนกลับไปอย่างน้อยศตวรรษที่ 13 ในประเทศจีน (China) "Rockets in Ancient Times (100 B.C. to 17th Century)" ในทางทหาร, วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมได้ใช้จรวดเป็นอาวุธและเครื่องมือแต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายจนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 20, เมื่อวิทยาการที่เกี่ยวกับจรวดได้ถือกำเนิดขึ้น เป็นการเปิดประตูสู่ยุคอวกาศ,กับการที่มนุษย์กำลังจะไปเหยียบดวงจันทร์ จรวดได้ถูกใช้สำหรับทำดอกไม้ไฟและอาวุธ, เก้าอี้ดีดตัวสำหรับนักบินและพาหนะสำหรับนำส่งดาวเทียม, นักบินอวกาศ และการสำรวจดาวเคราะห์ต่าง ๆ ในขณะที่จรวดที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนั้นจะใช้สำหรับการขับเคลื่อนด้วยอัตราเร็วที่ต่ำ ๆ, นักวิทยาศาสตร์จะเปรียบเทียบหาจรวดที่มีแรงขับเคลื่อนในระบบอื่น ๆ, ที่มีน้ำหนักเบากว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่า, ทำให้สามารถสร้างความเร่งในการเคลื่อนที่ของจรวดได้มากขึ้น และสามารถทำให้เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วที่สูงอย่างยิ่งด้วยประสิทธิภาพที่เหมาะสม จรวดเคมีเป็นชนิดของจรวดที่พบมากที่สุดและพวกมันมักจะสร้างไอเสียโดยการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจรวด จรวดเคมีต้องการที่เก็บพลังงานเชื้อเพลิงที่มีขนาดใหญ่โตมากในรูปแบบที่พร้อมจะปลดปล่อยตัวเองออกมาได้อย่างง่ายดาย และมีอันตรายมาก อย่างไรก็ตาม, จะต้องทำด้วยการออกแบบอย่างรอบคอบ, การทดสอบ, การก่อสร้าง, และใช้ความเสี่ยงอันตรายให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และจรวด · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอังคาร

วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และดาวอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

ดิสนีย์แลนด์พาร์ก (ปารีส)

นีย์แลนด์พาร์ก (Disneyland Park) ชื่อเดิม ยูโรดิสนีย์ (Euro Disney) เป็นสวนสนุกที่ดิสนีย์แลนด์ปารีส ในเมือง Marne-la-Vallée ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เปิดบริการเมื่อ 12 เมษายน..

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และดิสนีย์แลนด์พาร์ก (ปารีส) · ดูเพิ่มเติม »

แรงต้านแรงโน้มถ่วง

แรงต้านแรงโน้มถ่วง (anti-gravity) คือแนวความคิดของการสร้างสถานที่หรือวัตถุที่เป็นอิสระจากแรงโน้มถ่วง มันไม่ได้หมายถึงการไม่มีของน้ำหนักภายใต้แรงโน้มถ่วงที่ประสบกับเหตุการณ์ในการตกอย่างอิสระหรือในวงโคจร หรือความสมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงกับแรงอื่น ๆ บางชนิด เช่น เช่นแรงยกทางแม่เหล็กไฟฟ้าหรือทางอากาศพลศาสตร์ แรงต้านแรงโน้มถ่วงเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในนิยายวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการขับเคลื่อนยานอวกาศ ตัวอย่างแรก ๆ คือ สารสกัดกั้นแรงโน้มถ่วง "คาโวฮีเต" (Cavorite) ในนิยายวิทยาศาสตร์ของเอช. จี. เวลส์ (H. G. Wells) เรื่อง มนุษย์คนแรกบนดวงจันทร์ (The First Men in the Moon) ในกฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตัน, แรงโน้มถ่วงเป็นแรงภายนอกที่ส่งผ่านโดยวิธีการที่ไม่มีใครทราบ ในศตวรรษที่ 20, แบบจำลองของนิวตันก็ถูกแทนที่ด้วยสัมพัทธภาพทั่วไปที่แรงโน้มถ่วงไม่ได้เป็นแรง แต่เป็นผลมาจากรูปทรงทางเรขาคณิตของกาล-อวกาศ ภายใต้หลักสัมพัทธภาพทั่วไปนั้น แรงต้านแรงโน้มถ่วงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ยกเว้นเสียแต่ว่าจะเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ได้ถูกสร้างขึ้นมา ฟิสิกส์ควอนตัมได้ตั้งสมมติฐานการดำรงอยู่ของ กราวิตอน (graviton), กลุ่มของอนุภาคมูลฐานที่ปราศจากมวลซึ่งเป็นสื่อส่งผ่านแรง, และความเป็นไปได้ของการสร้างหรือการทำลายเหล่านี้ก็ไม่มีความชัดเจน "แรงต้านแรงโน้มถ่วง" มักจะถูกนำมาใช้เรียกขานเพื่อกล่าวถึงอุปกรณ์ที่ดูราวกับว่าพวกมันย้อนกลับแรงโน้มถ่วงได้แม้ว่าพวกมันจะถูกดำเนินการผ่านวิธีการอื่น ๆ ก็ตาม, ตัวอย่างเช่น เครื่องยก (lifter) ซึ่งบินอยู่ในอากาศได้โดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และแรงต้านแรงโน้มถ่วง · ดูเพิ่มเติม »

โลกตะวันตก

ลกตะวันตก (Western world และอาจเรียก The West หรือ Occident) เป็นคำซึ่งใช้กล่าวถึงประเทศได้หลายประเทศ โดยประเทศที่หมายถึงอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของการใช้คำศัพท์ นอกจากนี้เป็นคำซึ่งมีคำจำกัดความอยู่มากมาย, Our Tradition; James Kurth; accessed 30 August 2011 แนวคิดส่วนของโลกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกมีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีกโรมันในยุโรปและการกำเนิดของศาสนาคริสต์Cambridge University Historical Series, An Essay on Western Civilization in Its Economic Aspects, p.40: Hebraism, like Hellenism, has been an all-important factor in the development of Western Civilization; Judaism, as the precursor of Christianity, has indirectly had had much to do with shaping the ideals and morality of western nations since the christian era.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และโลกตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์ส

กนวนิยายฉบับตีพิมพ์ ค.ศ. 1906 ในภาษาฝรั่งเศส เดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์ส เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่เขียนโดย เอช.จี. เวลส์ นักเขียนชาวอังกฤษ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1898 เนื่อเรื่องบรรยายถึงเหตุการณ์ที่มนุษย์ต่างดาวจากดาวอังคาร ส่งยานอวกาศเข้ามาโจมตีกรุงลอนดอน เป็นนวนิยายเรื่องแรกที่กล่าวถึงการรุกรานโลกจากต่างดาว พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ ฉบับวันที่ 31 ตุลาคม 1938 นวนิยายถูกนำมาดัดแปลงเป็นละครวิทยุ ความยาว 60 นาที โดย ออร์สัน เวลส์ ออกอากาศทางเครือข่ายซีบีเอส ของสหรัฐอเมริกา เมื่อคืนวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1938 เนื่องในวันฮาโลวีน ส่งผลให้เกิดความโกลาหลในหลายรัฐทางตะวันออก ผู้ฟังรายการที่ไม่ได้ฟังประกาศจากสถานีตอนต้นของรายการ ว่าเป็นเรื่องแต่ง ต่างเข้าใจว่ามีมนุษย์ต่างดาวโจมตีโลกจริงๆ และออกจากบ้านเพื่อหนีตายด้วยความตื่นตระหนก เนื่องจากในขณะนั้นเกิดความตึงเครียดว่าจะเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง มีผู้วิจัยว่า จากจำนวนผู้ฟัง 6 ล้านคน มี 1.7 ล้านคน คิดว่าเป็นเหตุการณ์จริง ในจำนวนนี้ 1.2 ล้าน เกิดความตื่นตระหนกHand, Richard J. (2006).

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และเดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์ส · ดูเพิ่มเติม »

เปอร์ซิวัล โลเวลล์

เปอร์ซิวัล โลเวลล์ กำลังสังเกตการณ์ดาวอังคารที่หอดูดาวของเขาเอง เปอร์ซิวัล โลเวลล์ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ (Percival Lowell; ค.ศ. 1855 - 1916) นักธุรกิจผู้มั่งคั่ง ได้หลงเสน่ห์ของดาวอังคาร เขาจึงสร้างหอดูดาวของตนเองที่เมืองแฟล็กสตาฟฟ์ รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาดาวอังคารโดยเฉพาะ โลเวลล์เชื่อว่า เขาเห็นระบบของเส้นที่ลากโยงไปมาจำนวนมากบนผิวของดาวอังคาร และคิดว่าเป็นคลองขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นมาสำหรับส่งน้ำ โดยชาวดาวอังคารผู้มีความรู้ความสามารถ คนทั่วไปเห็นด้วยกับความคิดของโลเวลล์ เป็นเวลานับแรมปีที่ผู้คนคิดว่าบนดาวอังคารอาจมีคนอยู่ ใน ค.ศ. 1897 เอช.จี. เวลส์ ได้เขียนนวนิยายเรื่อง วอร์ออฟเดอะเวิลด์ส (War of the Worlds) โดยมีเค้าโครงเรื่องตามความเชื่อของโลเวลล์ ทุกวันนี้เรารู้ว่าเส้นสายต่าง ๆ ที่โลเวลล์เห็นบนดาวอังคารนั้นไม่มีอยู่จริง หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2398 หมวดหมู่:นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน หมวดหมู่:การสำรวจอวกาศ หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐแอริโซนา หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐแมสซาชูเซตส์.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และเปอร์ซิวัล โลเวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

13 สิงหาคม

วันที่ 13 สิงหาคม เป็นวันที่ 225 ของปี (วันที่ 226 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 140 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และ13 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

21 กันยายน

วันที่ 21 กันยายน เป็นวันที่ 264 ของปี (วันที่ 265 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 101 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เอช. จี. เวลส์และ21 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

H. G. WellsHG Wellsเอช. จี. เวลส์ (H. G. Wells)เอช.จี. เวลส์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »