โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เห็ดฟาง

ดัชนี เห็ดฟาง

ห็ดฟาง เป็นเห็ดรับประทานได้ชนิดหนึ่ง มีการเพาะปลูกในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้เป็นส่วนผสมในการประกอบอาหารเอเชียอย่างแพร่หลาย ชื่อเรียกของมันแม้แตกต่างกันไปในหลายประเทศ แต่ก็ยังมีความหมายว่า เห็ดฟาง เหมือนกัน เห็ดฟางมักพบได้ในรูปแบบสด แต่ก็สามารถพบรูปแบบบรรจุกระป๋องหรืออบแห้งจำหน่ายนอกฤดูเก็บเกี่ยวด้วย ลักษณะดอกเห็ดอ่อนเป็นรูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยมมุมป้าน เมื่อเจริญขึ้นจะปริแตกคงเหลือเยื่อหุ้มรูปถ้วยอยู่ที่โคน ผิวนอกของเยื่อหุ้มส่วนมากจะเปลี่ยนเป็นสีขาวหม่นหรือสีเนื้อ หมวกเห็ดรูปไข่ เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 4–10 เซนติเมตร กลางหมวกมีขนละเอียดสีน้ำตาลดำหรือสีน้ำตาลแดง ครีบสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน ไม่ยึดติดกับก้าน สั้นยาวไม่เท่ากัน ก้านยาว 4–10 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5–1 เซนติเมตร ผิวสีขาวนวลมีขนสีขาว เนื้อเป็นเส้นหยาบสีขาวรวมกันแน่น ตรงกลางก้านกลวง สปอร์รูปรี สีชมพู ขนาด 5–6 × 7–9 ไมโครเมตร ผิวเรียบ เห็ดฟางตามธรรมชาติเจริญเติบโตบนกองฟางข้าวเป็นกลุ่ม 2–6 ดอก และจะถูกเก็บเกี่ยวในระยะที่ยังเจริญไม่เต็มที่ คือยังเป็นตุ่มกลม ๆ ก่อนที่หมวกเห็ดจะผุดออกมา ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4–5 วัน เจริญได้ผลดีที่สุดในภูมิอากาศเขตร้อนที่มีฝนตกชุก เห็ดชนิดนี้ไม่เคยปรากฏประวัติการเพาะปลูกมาก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 เห็ดฟางมีลักษณะคล้ายกับเห็ดอีกชนิดหนึ่งมากคือ เห็ดระโงกหิน (death cap) ซึ่งเป็นเห็ดพิษ สามารถจำแนกได้ด้วยสีสปอร์ของมัน สปอร์ของเห็ดฟางเป็นสีชมพูอ่อน แต่สปอร์ของเห็ดระโงกหินเป็นสีขาว คนจำนวนมากไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงนี้ เก็บเห็ดระโงกหินที่ขึ้นอยู่ทั่วไปไปรับประทาน โดยเข้าใจว่าเป็นเห็ดฟาง ทำให้เสียชีวิตเป็นอันมาก.

5 ความสัมพันธ์: รายชื่อเห็ดสาคู (ปาล์ม)อำเภอทุ่งเสลี่ยมจอกหูหนูเห็ดระโงกหิน

รายชื่อเห็ด

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เห็ดฟางและรายชื่อเห็ด · ดูเพิ่มเติม »

สาคู (ปาล์ม)

การเก็บเกี่ยวแป้งสาคูจากต้น การกรองแป้งสาคู ปาล์มสาคู เป็นพืชจำพวกปาล์มชนิดหนึ่ง ซึ่งมีแป้งในลำต้นและนำมาผลิตเป็นสาคู ภาษามลายูเรียก sagu เป็นที่พบตามที่ชื้นแฉะ ถิ่นกำเนิดอยู่ที่นิวกินีและหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย และบริเวณใกล้เคียง Germplasm Resources Information Network: กระจายพันธุ์ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ปาปัวนิวกินี และตอนใต้ของไทย ต้นสาคูที่อายุ 9 ปี ขึ้นไปจะสะสมแป้งในลำต้นมาก เมื่อโค่นต้นจะจะลอกเอาแป้งที่มีลักษณะข้นเหนียวมาทำอาหารได้ เป็นอาหารที่ใช้ในยามขาดแคลนข้าว ในเกาะบอร์เนียว โดยนำแป้งไปใส่ถุงเสื่อแขวนไว้ให้ลอดช่องออกมาเป็นเม็ดๆ นำไปตากแห้ง แล้วจึงนำไปทำอาหาร เมื่อเริ่มมีพ่อค้าจากจีนและตะวันตกเข้ามาค้าขายในบริเวณหมู่เกาะโมลุกกะ เมื่อได้ชิมอาหารที่ปรุงจากสาคูและมีความชื่นชอบ ทำให้แป้งสาคูกลายเป็นสินค้า ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยเม็ดสาคูที่ทำจากแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคูบริสุทธิ์มีอะไมโลส 27% อะไมโลเพกติน 73% แป้งจากปาล์มสาคูเป็นอาหารหลักในนิวกินี ส่วนในอินโดนีเซียและมาเลเซียใช้ทำเค้กและคุกกี้ เส้นก๋วยเตี๋ยวและขนมแห้งต่างๆ ในสหรัฐใช้ทำคัสตาร์ด ในทางอุตสาหกรรมใช้รักษารูปทรงในการผลิตกระดาษและเส้นใย ผสมในการผลิตไม้อัด ลำต้นอ่อนไส้กลวง และเศษน้ำที่เหลือจากการผลิตแป้งใช้เป็นอาหารสัตว์ เปลือกลำต้นใช้เป็นวัสดุก่อสร้างและเชื้อเพลิง ก้านใบใช้ทำฝาผนัง เพดาน และรั้ว ใบอ่อนใช้สานตะกร้า ยอดอ่อนรับประทานเป็นผัก หนอนของด้วงสาคูนำมารับประทานได้ ในหมู่เกาะโมลุกกะนิยมนำเห็ดฟางที่ขึ้นอยู่ในกากที่เหลือจากการผลิตแป้งมารับประทาน ใบสาคูนำมาเย็บเป็นตับใช้มุงหลังคาและฝาบ้าน ก้านใบนำมาลอกเปลือกนอกออก นำไปจักสานเป็นชะลอมหรือแผงวางของได้ ผลของต้นสาคูรับประทาน ในภาคใต้ของไทยนิยมนำต้นสาคูไปสับใช้เป็นอาหารสัตว์ ไม่ได้นำไปทำแป้งสาคูแล้ว.

ใหม่!!: เห็ดฟางและสาคู (ปาล์ม) · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอทุ่งเสลี่ยม

ทุ่งเสลี่ยม (40px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย เป็นประตูสู่อารยธรรมล้านนา ศิลปะล้านนา "ทุ่งเสลี่ยม" เป็นภาษาล้านนา หมายถึง ทุ่ง.

ใหม่!!: เห็ดฟางและอำเภอทุ่งเสลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

จอกหูหนู

อกหูหนู Roxb.

ใหม่!!: เห็ดฟางและจอกหูหนู · ดูเพิ่มเติม »

เห็ดระโงกหิน

ห็ดระโงกหิน (death cap) เป็นเห็ดราที่มีพิษถึงตายในไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา เห็ดระโงกหินกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในทวีปยุโรป มีความสัมพันธ์แบบสมชีพกับพืชใบกว้างหลายชนิด ในบางกรณี เห็ดระโงกหินถูกนำไปยังบริเวณใหม่โดยการปลูกต้นโอ๊ก เกาลัดและสนเขาที่ไม่ใช่ชนิดในท้องถิ่น ดอกเห็ดขนาดใหญ่ปรากฏในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง หมวกมักมีสีออกเขียว โดยมีลายและครีบเห็ดสีขาว เห็ดระโงกหินเป็นเห็ดพิษที่คล้ายเห็ดชนิดที่กินได้หลายชนิด (ที่โดดเด่นที่สุดคือ เห็ดซีซาร์และเห็ดฟาง) ที่มนุษย์บริโภคทั่วไป จึงเพิ่มความเสี่ยงการได้รับสารพิษโดยบังเอิญ เห็ดระโงกหินเป็นหนึ่งในเห็ดที่มีพิษร้ายแรงที่สุดเท่าที่ทราบ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่จากการได้รับพิษเห็ดBenjamin, p.200.

ใหม่!!: เห็ดฟางและเห็ดระโงกหิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Volvariella volvacea

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »