โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เส้นทางการค้า

ดัชนี เส้นทางการค้า

้นทางการค้า (trade route) คือเส้นทางที่ในเครือข่ายที่บ่งว่าเป็นเส้นทางและจุดหยุดพักที่ใช้ในการขนส่งสินค้าไปยังตลาดที่อยู่ในดินแดนที่ไกลออกไปจากต้นแหล่งที่ผลิตสินค้ามาก เส้นทางการค้าแต่ละเส้นทางก็จะประกอบด้วยถนนสายหลัก (Arterial road) ที่อาจจะมีเครือข่ายย่อยๆ ที่ใช้เป็นเส้นทางการค้าและการคมนาคมมาบรรจบ ในประวัติศาสตร์ช่วงตั้งแต่ปี 1532 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง..

19 ความสัมพันธ์: ชาวไวกิงการค้าระหว่างโรมันกับอินเดียการค้าเสรีการค้าเครื่องเทศยุคแห่งการสำรวจสมัยสจวตสถานีการค้าสถานีคาราวานจักรวรรดิโปรตุเกสถนนกษัตริย์คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสต้นสมัยกลางป้อมริบาตน้ำตาลเส้นทางการค้าระหว่างวารันเจียนและกรีกเส้นทางสายวัวเส้นทางสายอำพันเส้นทางสายเกลือเส้นทางสายเปอร์เซีย

ชาวไวกิง

แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานสแกนดิเนเวียของชาวไวกิง สีแดงเข้ม-ระว่าง ค.ศ.701-800, สีแดง-ระหว่าง ค.ศ. 801-900, สีส้มเข้ม-ระว่าง ค.ศ. 901-1000, และสีเหลือง-ระว่าง ค.ศ. 1001-1100, บริเวณสีเขียวแสดงพื้นที่ที่มักถูกโจมตีโดยพวกไวกิงบ่อยแต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานมาก ไวกิง (Vikings) ในความหมายหลักหมายถึงชนเผ่านักรบ นักการค้า และนักตั้งถิ่นฐานจากนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก ซึ่งบุกรบชนะ ยึดครอง และตั้งอาณานิคมอาณาเขตในส่วนใหญ่ของอังกฤษ นอร์ม็องดี และรัสเซียเมื่อระหว่างประมาณ..

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและชาวไวกิง · ดูเพิ่มเติม »

การค้าระหว่างโรมันกับอินเดีย

“เส้นทางการค้าระหว่างโรมันกับอินเดีย” ตาม “บันทึกเส้นทางการเดินเรือในทะเลอีริทเธรียน” จากคริสต์ศตวรรษที่ 1 การค้าระหว่างโรมันกับอินเดีย (Roman trade with India) เป็นการติดต่อค้าขายโดยการขนส่งสินค้าข้ามอานาโตเลียและเปอร์เซียที่พอจะมีบ้างเมื่อเทียบกับเวลาต่อมาที่ใช้เส้นทางสายใต้ผ่านทางทะเลแดงโดยการใช้ลมมรสุม การค้าขายเริ่มขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 หลังจากรัชสมัยของออกัสตัสเมื่อโรมันพิชิตอียิปต์ได้จากราชวงศ์ทอเลมีShaw, Ian (2003).

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและการค้าระหว่างโรมันกับอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

การค้าเสรี

การค้าเสรี (Free Trade) คือแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่หมายถึงการซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศโดยไม่มีการเก็บภาษีศุลกากร และการกีดกันทางการค้าอื่นๆ รวมไปถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานและทุนข้ามเขตแดนระหว่างประเทศโดยอิสระ การค้าเสรีคือสภาวะที่ไม่มีการกีดกันใดๆ โดยรัฐบาลกับการค้าระหว่างปัจเจกบุคคลหรือบริษัท ที่อยู่คนละประเทศ โดยทั่วไปแล้ว การค้าระหว่างประเทศมักถูกจำกัดด้วยภาษี, ค่าธรรมเนียมในการนำเข้าและส่งออกสินค้า, และกฎเกณฑ์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรในการนำเข้า ในทางทฤษฎีแล้วการค้าเสรีนั้นต้องการยกเลิกข้อจำกัดเหล่านี้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว ในข้อตกลงทางการค้าที่เรียกว่า "การค้าเสรี" นั้น อาจสร้างข้อกีดกันบางอย่างขึ้นมาก็ได้ นักวิจารณ์มองว่าการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของบริษัท บางกลุ่มประเทศ เช่น สหภาพยุโรป ได้เปิดให้มีการค้าเสรีรูปแบบหนึ่ง ระหว่างประเทศสมาชิก อย่างไรก็ตาม ยังมีการโต้เถียงกันอยู่ว่า การค้าเสรีนั้น จะช่วยประเทศโลกที่สามได้หรือไม่ และการค้าเสรีนั้น เป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาจริงหรือไม.

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและการค้าเสรี · ดูเพิ่มเติม »

การค้าเครื่องเทศ

วามสำคัญทางเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมและเส้นทางเครื่องเทศของเส้นทางการค้าไปยังตะวันออกมาถูกปิดโดยจักรวรรดิออตโตมัน ราว ค.ศ. 1453 เมื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์และคอนสแตนติโนเปิลล่ม ซึ่งเป็นชนวนที่ทำให้เกิดการแข่งขันกันสำรวจหาเส้นทางการค้าไปยังตะวันออกใหม่ที่เริ่มด้วยการพยายามหาเส้นทางรอบแอฟริกาที่ในที่สุดก็นำไปสู่ยุคแห่งการสำรวจ ภาพแสดงเส้นทางการเดินทางของวัชกู ดา กามาไปยังอินเดีย (เส้นดำ) ผู้เดินทางรอบแอฟริกาคนแรก เส้นทางของเปรู ดา กูวิลยัง (สีส้ม) และอาฟงซู ดี ไปวา (สีน้ำเงิน) เส้นทางซ้อนกันเป็นสีเขียว การค้าเครื่องเทศ คือกิจการทางการพาณิชย์ที่มีต้นตอมาแต่ยุคโบราณที่เป็นการค้าขายสินค้าที่รวมทั้งเครื่องเทศ, สมุนไพร และฝิ่น การวิวัฒนาการของวัฒนธรรมของเอเชียบางส่วนก็มีอิทธิพลมาจากการค้าขายเครื่องเทศ จากนั้นก็ตามด้วยโลกกรีก-โรมันที่ใช้เส้นทางสายเครื่องหอม และเส้นทางสายโรมัน-อินเดียเป็นเส้นทางการค้ามายังตะวันออกFage 1975: 164 เส้นทางสายโรมัน-อินเดียวิวัฒนาการมาจากเทคนิคที่ใช้โดยมหาอำนาจทางการค้าของราชอาณาจักรอัคซูม (ราว 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช-จนถึง ค.ศ. 1000 กว่า ๆ) ที่เป็นการริเริ่มการใช้เส้นทางในทะเลแดงมาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1 อัคซูมแบ่งปันความรู้ในการใช้ลมมรสุมในการเดินเรือกับชาวโรมัน (ราว 30-10 ปีก่อนคริสตกาล) และรักษาสัมพันธ์ภาพระหว่างกันอย่างปรองดองมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 เมื่ออิสลามเรืองอำนาจขึ้น ก็ปิดเส้นทางการค้าทางทะเล และหันมาใช้ขบวนคาราวานในการขนส่งทางบกไปยังอียิปต์และซุเอซ ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดความสัมพันธ์ทางการค้าโดยตรงระหว่างยุโรปไปยังอัคซูมและอินเดีย และในที่สุดพ่อค้าอาหรับก็ยึดการขนส่งสินค้าเข้ามาอยู่ในมือของตนเอง โดยการขนส่งสินค้าเข้าทางบริเวณเลแวนต์ไปให้แก่พ่อค้าเวนิสในยุโรปยุโรป การขนส่งด้วยวิธีนี้มายุติลงเมื่อออตโตมันเติร์กมาปิดเส้นทางอีกครั้งในปี..

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและการค้าเครื่องเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคแห่งการสำรวจ

แห่งการสำรวจ หรือ ยุคแห่งการค้นพบ (Age of Exploration หรือ Age of Discovery) เป็นช่วงระยะเวลาในประวัติศาสตร์โลกที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ชาวยุโรปออกเดินทางไปสำรวจทางทะเลในโลกที่กว้างออกไปจากตัวทวีปยุโรปเองโดยมีจุดประสงค์เพื่อหาคู่ค้าขายใหม่ และโดยเฉพาะเพื่อการแสวงหาสินค้าเพื่อสนองความต้องการของตลาดตามต้องการ สินค้าที่เป็นที่ต้องการกันมากในยุโรปในขณะนั้นคือทอง เงิน และ เครื่องเทศ ยุคแห่งการสำรวจประจวบกับช่วงที่ชาวยุโรปตะวันตกเริ่มใช้เข็มทิศในการกำหนดและระบุเส้นทาง, การใช้วิธีการเดินเรือเดินทะเลแบบใหม่, การมีแผนที่ใหม่ และความก้าวหน้าทางดาราศาสตร์ ความก้าวหน้าเหล่านี้ช่วยในการแสวงหาเส้นทางการค้าขายใหม่ไปยังเอเชียโดยเลี่ยงอุปสรรคถ้าการใช้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของมหาอำนาจที่เป็นปฏิปักษ์ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่วิวัฒนาการขึ้นสำหรับการเดินทางทางทะเลคือเรือชนิดใหม่สองแบบที่ออกแบบโดยโปรตุเกส--เรือคาร์แร็ค (Carrack) และ เรือคาราเวล (Caravel) ที่วิวัฒนาการมาจากการออกแบบเรือในยุคกลางที่ใช้ในการเดินเรือในทะเลเหนือและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เรือสองชนิดนี้เป็นเรือสองชนิดแรกที่ให้ความปลอดภัยพอที่จะฝ่าคลื่นฝ่าลมในมหาสมุทรแอตแลนติกได้เมื่อเทียบกับเรือรุ่นก่อนหน้านั้นที่ใช้กันเฉพาะในบริเวณที่คลื่นลมไม่รุนแรงเทียบเท่ากับการเดินทางกลางมหาสมุทร.

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและยุคแห่งการสำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยสจวต

มัยสจวต (Stuart period) เป็นสมัยของประวัติศาสตร์อังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1603 จนถึงปี ค.ศ. 1714 ตรงกับการครองราชย์ของกษัตริย์ราชวงศ์สจวต ซึ่งเป็นระยะเวลาระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 หรือสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ และมาสิ้นสุดลงในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์เมื่อสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 1แห่งราชวงศ์ฮาโนเวอร์ขึ้นครองราชย์ สมัยสจวตเป็นสมัยที่ต่อมาจากสมัยเอลิซาเบธ และตามด้วยสมัยจาโคเบียน สมัยสจวตเป็นสมัยของความขัดแย้งภายในราชอาณาจักรและศาสน.

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและสมัยสจวต · ดูเพิ่มเติม »

สถานีการค้า

นีการค้าเป็นสถานที่หรือสิ่งก่อสร้างซึ่งมีการค้าขายสินค้าเกิดขึ้น เส้นทางซึ่งนำไปสู่สถานีการค้าหรือระหว่างสถานีการค้า รู้จักกันว่า เส้นทางการค้า สถานีการค้ายังเป็นสถานที่สำหรับผู้คนที่จะพบปะและแลกเปลี่ยนข่าวสารของโลกหรือแม้กระทั่งข่าวจากประเทศบ้านเกิดของตน (สถานีการค้าหลายแห่งบนโลกตั้งอยู่บนสถานที่ซึ่งเป็นแหล่งอพยพที่ได้รับความนิยม) ในเวลานั้นซึ่งยังไม่มีหนังสือพิมพ์ สถานีการค้าอาจกล่าวได้ว่ามีความสำคัญยิ่งต่อประวัติศาสตร์ของหน่วยเงิน ถึงแม้ว่าการแลกเปลี่ยนจะเกิดขึ้นมาเป็นเวลากว่าสหัสวรรษและยังคงดำเนินต่อไป แต่นับจากจุดเริ่มต้นของสถานีการค้า ความจำเป็นที่จะต้องมีสื่อกลางในการใช้จ่ายก็ได้เกิดขึ้น ดังนั้น เครื่อแสดงการค้าและในเวลาต่อมา เหรียญ ได้รับการผลิตจากโลหะมีค่า เช่น ทองคำ เงิน และทองแดง เพื่อที่จะใช้ซื้อและขายสินค้าแทนที่จะเป็นการแลกเปลี่ยน หลังจากการเกิดขึ้นของหน่วยเงิน ทำให้เกิดธนาคารแห่งแรก ๆ ของโลกขึ้นในเจนัวและเวนิซแทบจะในทันที.

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและสถานีการค้า · ดูเพิ่มเติม »

สถานีคาราวาน

ตัวอย่างผังของสถานีคาราวาน ซาฟาวิยะห์ (Safavid) สถานีคาราวาน (كاروانسرا kārvānsarā, ''kervansaray''., Caravanserai) มักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีอิทธิพลจากเปอร์เชียที่ก่อสร้างเป็นที่พักเล็กข้างทางที่นักเดินทางสามารถใช้สำหรับการพักผ่อนให้หายเหนื่อยจากการเดินทาง สถานีคาราวานตั้งอยู่ได้จากการคมนาคมทางการค้า การติดต่อสื่อสาร และการเดินทางของผู้คนในเครือข่ายของเส้นทางการค้า (trade routes) ที่ครอบคลุมเอเชีย, แอฟริกาเหนือ และ ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ สถานีคาราวานอาจจะเป็นที่รู้จักในภาษาไทยด้วยชื่อเรียกว่า "โรงเตี๊ยม".

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและสถานีคาราวาน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโปรตุเกส

ักรวรรดิโปรตุเกส (Portuguese Empire, Império Português) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิอาณานิคมของโลกจักรวรรดิแรกที่มีดินแดนในหลายทวีปที่รวมทั้งอเมริกาใต้, แอฟริกา, อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้การปกครอง และเป็นจักรวรรดิอาณานิคมที่รุ่งเรืองอยู่นานที่สุดในยุโรปที่รุ่งเรืองอยู่เป็นเวลาเกือบห้าร้อยปีตั้งแต่การพบบราซิลในปี ค.ศ. 1500 จนกระทั่งถึงการคืนมาเก๊าในปี ค.ศ. 1999 ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานกว่าจักรวรรดิสเปน และ จักรวรรดิฝรั่งเศส ความต้องการที่จะขยายดินแดนไปทั่วโลกของโปรตุเกสเริ่มขึ้นอย่างจริงจังเมื่อนักสำรวจเริ่มดินทางไปสำรวจทางฝั่งทะเลของแอฟริกาในปี ค.ศ. 1419 หลังจากที่ได้รับชัยชนะต่อเมืองเซวตา (Ceuta) ทางตอนเหนือของแอฟริกาในปี ค.ศ. 1415 โปรตุเกสใช้ความก้าวหน้าล่าสุดทางการเดินเรือ, การเขียนแผนที่ และเทคโนโลยีทางทะเลเช่นการใช้เรือคาราเวล (Caravel) ในการแสวงหาเส้นทางการค้าขายเครื่องเทศซึ่งเป็นสินค้าที่มีค่าที่สุดในยุคนั้น ในปี ค.ศ. 1488 บาร์ตูลูเมว ดีอัช (Bartolomeu Dias) เดินทางรอบแหลมกูดโฮปสำเร็จ และในปี ค.ศ. 1498 วาสโก ดา กามาก็เดินทางรอบอินเดีย ขณะที่การสำรวจเหล่านี้เป็นการแสดงถึงอำนาจของโปรตุเกสในต่างประเทศแต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของการสำรวจก็เพื่อเป็นการขยายเส้นทางการค้าที่เน้นการแสวงหาเส้นทางใหม่ไปยังตะวันออกไกล โดยไม่ต้องเดินทางผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่ขณะนั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลของอำนาจของฝ่ายปฏิปักษ์โดยเฉพาะจักรวรรดิออตโตมัน ความเปลี่ยนแปลงในปี ค.ศ. 1500 เกิดขึ้นเมื่อมีผู้พบฝั่งทะเลอเมริกาใต้โดยบังเอิญ และเมื่อเปดรู อัลวาเรซ กาบรัลเป็นผู้เดินทางสำรวจไปพบและยึดบราซิลเป็นอาณานิคม นโยบายที่เคยเป็นการสำรวจเพื่อการค้าจึงเริ่มเปลี่ยนไปเป็นการสำรวจเพื่อแสวงหาอาณานิคม ในช่วงเวลาหลายสิบปีต่อมานักเดินเรือชาวโปรตุเกสก็ดำเนินการสำรวจฝั่งทะเลและเกาะต่างๆ ในเอเชียตะวันออกต่อไป ก่อตั้งป้อม และ สถานีการค้า (trading post) ขึ้นตามสถานที่ต่างๆ ที่พบ ภายในปี ค.ศ. 1571 โปรตุเกสก็มีสถานีการค้าระไปตั้งแต่ลิสบอนเองไปจนถึงนะงะซะกิในญี่ปุ่น การขยายดินแดนทำให้โปรตุเกสกลายเป็นจักรวรรดิโลกที่มีความมั่งคั่งอันมหาศาล ระหว่างปี ค.ศ. 1580 ถึงปี ค.ศ. 1640 โปรตุเกสก็กลายเป็นพันธมิตรรองของสเปนของสองราชบัลลังก์ในการรวมตัวกันเป็นสหภาพไอบีเรีย (Iberian Union) แม้ว่าสองราชอาณาจักรนี้จะมีการบริหารแยกกันแต่อาณานิคมของโปรตุเกสก็กลายเป็นเป้าในการโจมตีโดยศัตรูของสเปนในยุโรปผู้มีความไม่พึงพอใจต่อความสำเร็จในอำนาจทางทะเลในต่างประเทศของจักรวรรดิในคาบสมุทรไอบีเรียที่รวมทั้งจักรวรรดิดัตช์ (ผู้ในที่สุดก็เข้าสงครามสงครามอิสรภาพต่อต้านสเปน), จักรวรรดิอังกฤษ และ จักรวรรดิฝรั่งเศส แต่โปรตุเกสเป็นประเทศเล็กและมีประชากรเพียงจำนวนไม่มากนักซึ่งทำให้ไม่สามารถป้องกันอาณานิคมในการปกครองของตนเองในดินแดนต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ซึ่งในที่สุดก็เป็นผลทำให้อำนาจของโปรตุเกสเริ่มลดถอยลง นอกจากนั้นการสูญเสียบราซิลซึ่งเป็นอาณานิคมที่ใหญ่ที่สุดและสร้างผลกำไรให้มากที่สุดแก่โปรตุเกสในปี ค.ศ. 1822 ในช่วงการปลดปล่อยอาณานิคมในอเมริกา (Decolonization of the Americas) เป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงที่ทำให้โปรตุเกสไม่อาจฟื้นตัวขึ้นได้หลังจากนั้น การล่าอาณานิคมในแอฟริกาที่เริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้โปรตุเกสพอจะได้ดินแดนมาบ้าง ดินแดนส่วนใหญ่ในแอฟริกาที่ได้มาตกอยู่ภายใต้การบริหารและอิทธิพลของโปรตุเกสเป็นเวลาหลายร้อยปี เมืองเช่นลูอันดา (Luanda) และ เบงเกลา (Benguela) และที่ตั้งถิ่นฐานต่างๆ หลายแห่งได้รับการก่อตั้งขึ้นและปกครองโดยโปรตุเกสมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง อันโตนิโอ เดอ โอลิเวรา ซาลาซาร์ (António de Oliveira Salazar) ผู้นำของโปรตุเกสก็ยังพยายามรักษาจักรวรรดิโปรตุเกสไว้โดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลงในขณะที่ประเทศต่างๆ ในยุโรปเริ่มถอนตัวจากอาณานิคมต่างๆ ในปี ค.ศ. 1961 กองกำลังจำนวนเพียงเล็กน้อยของโปรตุเกสที่ประจำอยู่ที่รัฐกัวก็ไม่สามารถต้านทานกองทหารอินเดียที่รุกเข้ามาในอาณานิคมได้ ซาลาซาร์จึงเริ่มสงครามอาณานิคมโปรตุเกสอันเป็นสงครามนองเลือดอันยาวนานเพื่อที่จะปราบปรามนักต่อต้านอาณานิคมในอาณานิคมแอฟริกา สงครามอันไม่เป็นที่นิยมมาสิ้นสุดลงเมื่อคณะรัฐบาลของซาลาซาร์ถูกโค่นอำนาจในปี ค.ศ. 1974 ที่เรียกกันว่าการปฏิวัติคาร์เนชัน (Carnation Revolution) หลังจากนั้นรัฐบาลโปรตุเกสก็เปลี่ยนนโยบายทันทีและอนุมัติอิสรภาพของประเทศต่างๆ ในอาณานิคมโปรตุเกสทั้งหมดยกเว้นมาเก๊าที่มาคืนให้แก่ประเทศจีนในปี ค.ศ. 1999 ซึ่งเท่ากับเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิโปรตุเก.

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและจักรวรรดิโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ถนนกษัตริย์

"เส้นทางสายเวียมาริส" (สีม่วง), "ถนนกษัตริย์" (สีแดง) และอื่น ๆ ราว 1300 ก่อนคริสต์ศักราช ถนนกษัตริย์ หรือ ทางส่วนพระมหากษัตริย์ (King's Highway) เป็นเส้นทางการค้าอันมีความสำคัญต่อตะวันออกกลาง เส้นทางเริ่มขึ้นที่อียิปต์ข้ามคาบสมุทรไซนายไปยัง อคาบา จากอคาบาก็เลี้ยวไปทางเหนือไปยังดามัสกัสและแม่น้ำยูเฟรตีส อาณาจักรโบราณหลายอาณาจักรรวมทั้งอีดอม, โมอับ, อัมมอน และรัฐในอราเมอันใช้เส้นทางสายนี้ในการทำการค้าขาย เส้นทางเริ่มขึ้นที่เฮลิโอโพลิสโบราณในอียิปต์ และจากที่นั่นก็ไปทางตะวันออกยังซิสมา (ปัจจุบันสุเอซ) ผ่านช่องมิทลา และป้อมอียิปต์เนเคิล และ เธเมดในทะเลทรายไซนายไปยังไอลัตและอคาบา จากที่นั่นถนนก็ขึ้นเหนือไปยังอราบาห์ ผ่านเพทรา และ มาอัน ไปยัง อดรูห์, เซลา และ ชอบัค ต่อไปยังเคอรัค และดินแดนของโมอับ ไปยัง มาดาบา, รับบาห์, อัมมอน/ฟิลาเดลเฟีย (ปัจจุบันอัมมาน), เจอราซา, โบซราห์, ดามัสกัส และ ทัดมอร์ไปสิ้นสุดลงที่ เรซาฟาบนตอนต้นของแม่น้ำยูเฟรตีส ถนนกษัตริย์กล่าวถึงใน ว่า: สงครามของอิสราเอลไลท์กับอาณาจักรในบริเวณทรานจอร์แดนระหว่างสมัยราชอาณาจักรอิสราเอล (และราชอาณาจักรยูดาห์ต่อมา) อาจจะมีสาเหตุบางส่วนมาจากความขัดแย้งในการพยายามควบคุมเส้นทาง ชาวนาบาเชียนใช้เส้นทางนี้ในการขนส่งสินค้าฟุ่มเฟือยที่รวมทั้งกำยาน และ เครื่องเทศจากทางตอนใต้ของ คาบสมุทรอาหรับ ระหว่างสมัยโรมันถนนกษัตริย์ได้รับการสร้างใหม่โดยจักรพรรดิทราจัน และเรียกว่า "ถนนทราเอียนาใหม่" (Via Traiana Nova) นอกจากทางการค้าแล้วเส้นทางสายนี้ก็ยังใช้เป็นเส้นทางสำคัญของการจาริกแสวงบุญของคริสเตียนที่มีจุดต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อคริสต์ศาสนารวมทั้งภูเขาเนโบ และ อัล-มักห์ทาสบนฝั่งแม่น้ำจอร์แดนที่เป็นสถานที่ที่เชื่อกันว่าที่ที่พระเยซูทรงรับศีลจุ่มจากนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ มุสลิมใช้เป็นเส้นทางสำคัญในการฮัจญีไปยังมักกะหฺจนกระทั่งออตโตมันเติร์กสร้างทาริค อัน-บินท์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16.

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและถนนกษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

ริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus), กริสโตบัล โกลอน (Cristóbal Colón), คริสโตโฟรุส โกลุมบุส (Christophorus Columbus) หรือ กริสตอโฟโร โกลอมโบ (Cristoforo Colombo; เกิด ค.ศ. 1451 เสียชีวิตวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1506) เป็นนักทำแผนที่ นักสำรวจ นักเดินเรือ และพ่อค้า เชื่อกันว่าน่าจะเป็นชาวสาธารณรัฐเจนัว "Christopher Columbus." Encyclopædia Britannica.

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส · ดูเพิ่มเติม »

ต้นสมัยกลาง

ักรพรรดินีธีโอโดรา พระอัครมเหสีในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในงานโมเสกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายในมหาวิหารซันวีตาเล เมืองราเวนนา หนังสือสำหรับพิธีศาสนาจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 (หอสมุดวาติกัน, Reg. Lat. 316. foll. 131v/132r) ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages) เป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุโรป เริ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณห้าร้อยปีโดยเริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 500 จนกระทั่งมาถึงราวปี ค.ศ. 1000 ต้นสมัยกลางสิ้นสุดแล้วจึงต่อด้วยสมัยกลางยุครุ่งโรจน.

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและต้นสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ป้อมริบาต

ริบาตที่โมนาสเตียร์ในตูนิเซีย ป้อมริบาต (Ribat, رباط) มาจากภาษาอาหรับว่า “رباط” ที่แปลว่า “ที่พัก” หมายถึงป้อมขนาดเล็กที่สร้างตามพรมแดนในช่วงปีแรกของการพิชิตแอฟริกาเหนือโดยอุมัยยะห์เพื่อเป็นที่พักของทหารอาสาสมัครที่เรียกว่า “murabitun” ป้อมเหล่านี้ต่อมากลายเป็นสถานที่สำหรับพิทักษ์เส้นทางการค้า และ ศูนย์กลางของประชาคมมุสลิมที่อยู่ห่างไกล ต่อมาป้อมริบาตก็กลายมาเป็นที่พักสำหรับนักเดินทางบนเส้นทางการค้า (สถานีคาราวาน) ที่พักหลบภัยสำหรับนักรหัสยิก (mystic) ในข้อหลังนี้อาจจะเป็นบ่อเกิดของลัทธิซูฟีย์ และโรงเรียนสอนศาสนาของซูฟีย์ที่แพร่ขยายไปทั่วทางตอนเหนือของแอฟริกาไปยังซาฮารา และ แอฟริกาตะวันตก.

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและป้อมริบาต · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตาล

องน้ำตาลดิบ (ไม่ขัดและไม่ฟอกขาว) น้ำตาล เป็นชื่อเรียกทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตชนิดละลายน้ำ โซ่สั้น และมีรสหวาน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหาร น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน มีน้ำตาลหลายชนิดเกิดมาจากที่มาหลายแหล่ง น้ำตาลอย่างง่ายเรียกว่าโมโนแซ็กคาไรด์และหมายรวมถึงกลูโคส (หรือ เด็กซ์โตรส) ฟรุกโตส และกาแลกโตส น้ำตาลโต๊ะหรือน้ำตาลเม็ดที่ใช้เป็นอาหารคือซูโครส เป็นไดแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง (ในร่างกาย ซูโครสจะรวมตัวกับน้ำแล้วกลายเป็นฟรุกโตสและกลูโคส) ไดแซ็กคาไรด์ชนิดอื่นยังรวมถึงมอลโตส และแลกโตสด้วย โซ่ของน้ำตาลที่ยาวกว่าเรียกว่า โอลิโกแซ็กคาไรด์ สสารอื่น ๆ ที่แตกต่างกันเชิงเคมีอาจมีรสหวาน แต่ไม่ได้จัดว่าเป็นน้ำตาล บางชนิดถูกใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลที่มีแคลอรีต่ำ เรียกว่าเป็น วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (artificial sweeteners) น้ำตาลพบได้ทั่วไปในเนื้อเยื่อของพืช แต่มีเพียงอ้อย และชูการ์บีตเท่านั้นที่พบน้ำตาลในปริมาณความเข้มข้นเพียงพอที่จะสกัดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ้อยหมายรวมถึงหญ้ายักษ์หลายสายพันธุ์ในสกุล Saccharum ที่ปลูกกันในเขตร้อนอย่างเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัยโบราณ การขยายการผลิตเกิดขึ้นในคริสศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการสร้างไร่น้ำตาลในเวสต์อินดีส และอเมริกา เป็นครั้งแรกที่คนทั่วไปได้ใช้น้ำตาลเป็นสิ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำผึ้ง ชูการ์บีต โตเป็นพืชมีรากในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าและเป็นแหล่งที่มาส่วนใหญ่ของน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 หลังจากมีวิธีสกัดน้ำตาลเกิดขึ้นหลายวิธี การผลิตและการค้าน้ำตาลเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์ มีอิทธิพลต่อการก่อตั้งอาณานิคม การมีอยู่ของทาส การเปลี่ยนผ่านไปสู่สัญญาแรงงาน การย้ายถิ่นฐาน สงครามระหว่างชาติที่ครอบครองน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 การรวมชนชาติและโครงสร้างทางการเมืองของโลกใหม่ โลกผลิตน้ำตาลประมาณ 168 ล้านตันในปี..

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางการค้าระหว่างวารันเจียนและกรีก

แผนที่แสดงเส้นทางการค้าหลักของวารันเจียนที่รวมทั้ง: เส้นทางการค้าสายโวลกา (สีแดง) และเส้นทางการค้าระหว่างวารันเจียนและกรีก (สีม่วง) เส้นทางสายอื่นที่ใช้ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8 จนถึง 11 เป็นสีส้ม เส้นทางการค้าระหว่างวารันเจียนและกรีก (Путь «из варяг в греки», Put iz varyag v greki, Trade route from the Varangians to the Greeks) เป็นเส้นทางการค้าที่เชื่อมระหว่างสแกนดิเนเวีย, เคียฟรุส และ จักรวรรดิไบแซนไทน์ เส้นทางนี้ทำให้พ่อค้าสามารถเดินทางติดต่อค้าขายโดยตรงได้กับจักรวรรดิไบแซนไทน์และทำให้เกิดการตั้งถิ่นฐานกันขึ้นในบริเวณที่ปัจจุบันคือเบลารุส รัสเซีย และยูเครน เส้นทางเริ่มต้นที่ศูนย์กลางการค้าในสแกนดิเนเวียเช่นแบร์คา, เฮเดบี และ ก็อตแลนด์ ข้ามทะเลบอลติกเข้าไปยังอ่าวฟินแลนด์ และเดินตามลำแม่น้ำเนวาไปยังทะเลสาบลาโกดา จากนั้นก็ตามขึ้นแม่น้ำโวลคอฟ (Volkhov River) ผ่านเมือง สตารายาลาโดกา (Staraya Ladoga) และ เวลิคีโนฟโกรอด (Velikiy Novgorod) ข้ามทะเลสาบอิลเมน ตามลำน้ำแม่น้ำโลวัต จากแม่น้ำโลวัตก็ต้องบรรทุกทางบกไปยังแม่น้ำนีเพอร์ไม่ไกลจากกเนซโดโว (Gnezdovo) สายที่สองเริ่มจากทะเลบอลติกไปยังแม่น้ำนีเพอร์ทางดวินาตะวันตก (Daugava) และตามแม่น้ำคาพลยา (Kasplya River) ไปยังกเนซโดโว ตามลำแม่น้ำนีเพอร์เส้นทางต้องข้ามจุดที่น้ำเชี่ยวจัดหลายจุดและผ่านเคียฟ และหลังจากเข้าสู่ทะเลดำแล้วก็เดินทางตามฝั่งตะวันตกไปยังคอนสแตนติโนเปิล.

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและเส้นทางการค้าระหว่างวารันเจียนและกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางสายวัว

้นทางการค้าสายวัว (Hærvejen.

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและเส้นทางสายวัว · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางสายอำพัน

“เส้นทางการค้าสายอำพัน” เส้นทางสายอำพัน (Amber Road) เป็นเส้นทางการค้าสายโบราณสำหรับการขนส่งอำพัน เส้นทางการค้าสายอำพันเป็นเส้นทางบกและทางน้ำที่เชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชีย และจากตอนเหนือของยุโรปไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อำพันเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการตกแต่งที่ขนส่งจากฝั่งทะเลเหนือและทะเลบอลติกข้ามแผ่นดินใหญ่ยุโรปตามลำแม่น้ำวิสทูรา (Vistula River) และ แม่น้ำนีพเพอร์ ไปยังอิตาลี, กรีซ, ทะเลดำ และอียิปต์เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้วและเป็นเวลานานหลังจากนั้น ในสมัยโรมันเส้นทางสายหลักแล่นลงมาทางใต้จากฝั่งทะเลบอลติกในภูมิภาคปรัสเซีย ฝ่าดินแดนโบอิอิ (สาธารณรัฐเช็ก และ สโลวาเกียปัจจุบัน) ไปยังตอนต้นทะเลเอเดรียติก อำพันจากฝั่งทะเลบอลติกพบในที่ฝังพระศพของฟาโรห์ตุตันคามุน และถูกส่งจากทะเลเหนือไปเครื่องสักการะยังเทวสถานอพอลโลที่เดลฟี จากทะเลดำอำพันก็ถูกส่งต่อไปยังเอเชียโดยเส้นทางสายไหมซึ่งเป็นเส้นทางการค้าสายโบราณอีกสายหนึ่ง จุดเริ่มต้นของเส้นทางอยู่ที่เมืองคอพและทรูโซในภูมิภาคปรัสเซียเดิมบนฝั่งทะเลบอลติก เส้นทางการค้าสายอำพันอาจจะมีส่วนช่วยในการสร้างความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมของยุคสัมฤทธิ์นอร์ดิก (Nordic Bronze Age) ในสแกนดิเนเวียโดยการนำอิทธิพลของเมดิเตอเรเนียนเข้ามายังประเทศต่าง ๆ ทางตอนเหนือสุดของยุโรป บางครั้งแคว้นคาลินินกราด ก็เรียกว่า “Янтарный край” หรือ “บริเวณอำพัน”.

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและเส้นทางสายอำพัน · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางสายเกลือ

ผิวถนนเส้นทางสายเกลือ เส้นทางสายเกลือ (Old Salt Route, Alte Salzstraße) เป็นเส้นทางการค้าของยุคกลางทางตอนเหนือของเยอรมนีที่ใช้ในการขนส่งเกลือและสินค้าอื่นๆ เกลือเป็นสินค้าที่มีค่าสูงในยุคกลางซึ่งทำให้บางครั้งก็เรียกกันว่า “ทองขาว” เกลือที่ขนส่งบนเส้นทางสายนี้ส่วนใหญ่มาจากเหมืองใกล้ลือเนบูร์ก (Lüneburg) ซึ่งเมืองทางเหนือตอนกลางของเยอรมนี จากนั้นก็ขนส่งไปยังลือเบค ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญของเยอรมนีบนฝั่งทะเลบอลติกSell, Nora.

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและเส้นทางสายเกลือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางสายเปอร์เซีย

้นทางสายเปอร์เซีย (Royal Road หรือ Persian Royal Road) เป็นเส้นทางโบราณที่สร้างใหม่โดยพระเจ้าดาไรอัสมหาราชแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิดเมื่อศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช จักรพรรดิดาไรอัสทรงสร้างถนนสายนี้ขึ้นเพื่อช่วยในการคมนาคมติดต่อกับบริเวณต่าง ๆ ในอาณาจักรอันใหญ่หลวงที่มีอาณาบริเวณตั้งแต่ซูซา ไปจนถึงซาร์ดิส (ตามความเห็นของโรบิน เลน ฟ็อกซ์ในบริบทนี้ “การปกครองจากศูนย์กลางเป็นจุดอ่อนของระยะเวลาและระยะทาง”) ผู้ถือข่าวสารสามารถเดินทางเป็นระยะทาง 2,699 กิโลเมตรภายในเจ็ดวัน การเดินทางจากซูซาไปถึงซาร์ดิสใช้เวลาเดินเท้า 90 วัน เฮโรโดทัส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกบันทึกไว้ว่า “ไม่มีอะไรในโลดที่เดินทางได้รวดเร็วไปกว่าบรรดาผู้ถือข่าวสารของเปอร์เซีย” และสรรเสริญต่อไปว่า “ไม่มีอะไรไม่ว่าจะเป็นหิมะ, หรือฝน, หรือความร้อน, หรือความมืดที่จะหยุดยั้งผู้ถือข่าวสารเหล่านี้จากการไปถึงจุดหมายด้วยความเร็วอย่างที่สุด” ซึ่งกลายมาเป็นแรงบันดาลใจของคำขวัญอย่างไม่เป็นทางการของบริการไปรษณีย์แห่งสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: เส้นทางการค้าและเส้นทางสายเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Trade routeTrade routesTrading routeTrading routes

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »