เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เสียงเสียดแทรก ฟัน ไม่ก้อง

ดัชนี เสียงเสียดแทรก ฟัน ไม่ก้อง

เสียงเสียดแทรก ฟัน ไม่ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาพม่า ภาษากะเหรี่ยง ฯลฯ แต่ไม่มีในภาษาไทย สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ /θ/ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ T การทับศัพท์ในภาษาไทย มักใช้ ธ, ท, ซ แทนเสียงนี้ให้กับ th ของภาษาอังกฤษ เช่น theta อาจพบเป็น เซตา, ซีตา, ธีตา ฯลฯ ในขณะที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้ใช้ ท เพียงอย่างเดียว หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ.

สารบัญ

  1. 2 ความสัมพันธ์: สัทอักษรสากลทอร์น

สัทอักษรสากล

ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2015 สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไท.

ดู เสียงเสียดแทรก ฟัน ไม่ก้องและสัทอักษรสากล

ทอร์น

ทอร์น (thorn: Þ, þ) เป็นตัวอักษรในอักษรละติน ในสมัยโบราณพบในระบบการเขียนของภาษากลุ่มเจอร์แมนิกหลายภาษา แต่ปัจจุบันมีเพียงภาษาไอซ์แลนด์เท่านั้นที่ยังใช้ตัวอักษรตัวนี้อยู่ คำที่เคยเขียนด้วยตัวอักษรตัวนี้ ในปัจจุบันจะเขียนด้วย th ตัวอักษร thorn มีที่มาจากตัวอักษร ᚦ ในอักษรรูน อักษรนี้ใช้แทนเสียงเสียดแทรก ฟัน ไม่ก้องและก้อง (เหมือน th ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแทนได้ทั้งสองเสียง) แต่ในภาษาไอซ์แลนด์จะแทนได้เฉพาะเสียงเสียดแทรก ฟัน ไม่ก้องส่วนเสียงก้องจะใช้ตัวอักษร eth (Ð, ð) แทน หมวดหมู่:อักษรละติน.

ดู เสียงเสียดแทรก ฟัน ไม่ก้องและทอร์น