สารบัญ
10 ความสัมพันธ์: กรดมาลิกกรดซอร์บิกกรดไซคลามิกซีอาแซนทินแอซีซัลเฟมโพแทสเซียมโทโคฟีรอลโซเดียมไบคาร์บอเนตโซเดียมไซคลาเมตไขคาร์นอบาเมธีนามีน
กรดมาลิก
กรดมาลิก (malic acid) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ C4H6O5 เป็นกรดไดคาร์บอกซิลิกที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดผลิตได้ กรดมาลิกมีสองแบบคือแบบ L และแบบ D มีเฉพาะแบบ L ที่พบในธรรมชาติ เกลือและเอสเทอร์ของกรดมาลิกเรียกว่า มาเลต มาเลตมีความสำคัญในปฏิกิริยาการตรึงคาร์บอน C4 เป็นแหล่งคาร์บอนไดออกไซด์ในวัฏจักรแคลวินและแอนไอออนของมาเลตเป็นสารมัธยันตร์ในวัฏจักรกรดซิตริก คาร์ล วิลเฮล์ม เชเลอ นักเคมีชาวเยอรมัน/สวีเดนสกัดกรดมาลิกจากน้ำแอปเปิลเป็นครั้งแรกในปี..
กรดซอร์บิก
กรดซอร์บิก (sorbic acid) หรือ 2,4-กรดเฮกซะไดอีโนอิก (2,4-hexadienoic acid) เป็นสารประกอบอินทรีย์ในธรรมชาติ มีสูตรเคมีคือ C6H8O2 เป็นของแข็งไม่มีสี ละลายในน้ำและระเหิดได้เร็ว.
กรดไซคลามิก
กรดไซคลามิก (cyclamic acid) หรือ กรดไซโคลเฮกซิลซัลเฟมิก (cyclohexylsulfamic acid) เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมีคือ C6H13NO3S มีเลขอีคือ E952 ลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการผลิตสีและพลาสติก รวมถึงเป็นตัวทำปฏิกิริยาในห้องปฏิบัติการ เกลือโซเดียมหรือเกลือแคลเซียมของกรดไซคลามิกใช้เป็นวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลที่เรียกว่า "ไซคลาเมต".
ซีอาแซนทิน
ซีอาแซนทิน (zeaxanthin) เป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์และแซนโทฟิลล์ที่พบในธรรมชาติ พบมากที่ใบพืชโดยทำหน้าที่ปรับพลังงานแสงและเป็นสารระงับพลังงานส่วนเกินจากการสังเคราะห์ด้วยแสง (non-photochemical quenching) สัตว์รับซีอาแซนทินจากการรับประทานพืช คำว่า "zeaxanthin" มาจากชื่อวิทยาศาสตร์ของข้าวโพด (Zea mays) และคำในภาษากรีก ξανθός (xanthos) ที่แปลว่าเหลือง ซีอาแซนทินมีสูตรเคมีคือ C40H56O2 เช่นเดียวกับลูทีน แต่ต่างกันตรงตำแหน่งพันธะคู่ของวงแหวนสุดท้าย ทำให้ลูทีนมีตำแหน่งไครัล 3 ตำแหน่ง ในขณะที่ซีอาแซนทินมี 2 ตำแหน่ง ซีอาแซนทินและลูทีนเป็นสารแคโรทีนอยด์สองชนิดที่พบมากในจอตา โดยซีอาแซนทินพบมากที่ส่วน macula ส่วนลูทีนพบมากที่ขอบจอตา ซีอาแซนทินช่วยกรองแสงและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดโอกาสการเกิดจอตาเสื่อมและต้อกระจก แหล่งที่พบซีอาแซนทินมากคือสาหร่าย Spirulina จึงนิยมนำมาผลิตเป็นอาหารเสริม นอกจากนี้ยังพบในไข่ ปวยเล้ง ผักกาดหอม บรอกโคลี กีวีฟรุต หญ้าฝรั่นและเก๋ากี่ เมื่อใช้ซีอาแซนทินเป็นวัตถุเจือปนอาหาร จะมีเลขอีคือ E161h.
แอซีซัลเฟมโพแทสเซียม
แอซีซัลเฟมโพแทสเซียม (acesulfame potassium) หรือ แอซีซัลเฟมเค (acesulfame K) (K เป็นสัญลักษณ์ธาตุโพแทสเซียม) เป็นวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว มีสูตรเคมีคือ C4H4KNO4S มีเลขอีคือ E950 ค้นพบในปี..
ดู เลขอีและแอซีซัลเฟมโพแทสเซียม
โทโคฟีรอล
ทโคฟีรอล (tocopherol; ย่อ TCP) เป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารฟีนอลหมู่เมทิล หลายชนิดเกี่ยวข้องกับวิตามินอี แอลฟา-โทโคฟีรอล (α-tocopherol) พบมากในอาหารยุโรป โดยเฉพาะในน้ำมันมะกอกและน้ำมันดอกทานตะวัน ในขณะที่แกมมา-โทโคฟีรอล (γ-tocopherol) พบมากในอาหารอเมริกัน โดยเฉพาะในน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันข้าว.
โซเดียมไบคาร์บอเนต
ซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate; ชื่อตาม IUPAC: โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต) หรือ โซดาทำขนม (baking soda) เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมีคือ NaHCO3 มีเลขอีคือ E500 ลักษณะเป็นผงสีขาว มีรสเค็มคล้ายโซเดียมคาร์บอเนต มีการใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตมีมาสมัยนกฮูกที่ชื่อชวินได้กินสารXอุฟุฟวยเข้าไปจนตัวระเบิด ในรูปของเนตรอน (natron).
โซเดียมไซคลาเมต
ซเดียมไซคลาเมต (sodium cyclamate) หรือ ไซคลาเมต เป็นวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีสูตรเคมีคือ C6H12NNaO3S มีเลขอีคือ E952 ไซคลาเมตเป็นเกลือโซเดียมหรือเกลือแคลเซียมของกรดไซคลามิกที่เตรียมได้จากปฏิกิริยาซัลเฟชันของไซโคลเฮกซิลเอมีน หรือให้ไซโคลเฮกซิลเอมีนทำปฏิกิริยากับกรดซัลเฟมิกหรือซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ โซเดียมไซคลาเมตมีความหวานกว่าซูโครส (น้ำตาลทราย) 30-50 เท่า ถูกค้นพบในปี..
ไขคาร์นอบา
ร์นอบา ปาล์มคาร์นอบา (''Copernicia prunifera'') ไขคาร์นอบา (Carnauba wax) เป็นไขที่ได้จากใบของปาล์มคาร์นอบา (Copernicia prunifera) ซึ่งขึ้นเฉพาะทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล มีลักษณะเป็นเกล็ดสีเหลืองน้ำตาล คาร์นอบาเป็นไขจากธรรมชาติที่แข็งที่สุด ประกอบไปด้วยกรดไขมันกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ มีจุดหลอมเหลวระหว่าง 82–86 °C ไม่ละลายในน้ำและเอทานอล มีเลขอีคือ E903 ไขคาร์นอบามีคุณสมบัติเป็นสารเคลือบเงา ใช้ในงานเคลือบสีรถยนต์ ผสมในน้ำยาขัดรองเท้า และในอุตสาหกรรมอาหาร นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติรักษาความชุ่มชื้นและไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย จึงใช้ผสมในเครื่องสำอาง.
เมธีนามีน
มธีนามีน หรือ เฮกซะเมทิลีนเตตรามีน (Methenamine หรือ Hexamethylenetetramine) เป็นสารประกอบอินทรีย์เฮเทอโรไซคลิก มีสูตรโครงสร้างคือ (CH2)6N4 ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายได้ดีในน้ำและตัวทำละลายอินทรีย์ที่มีขั้ว โครงสร้างโมเลกุลมีลักษณะคล้ายกรงเหมือนกับอะดาแมนแทน เมธีนามีนถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการสังเคราะห์สารประกอบเคมีอื่น เช่น พลาสติก ยา สารเติมแต่งยาง สารนี้มีจุดระเหิด ณ สภาวะสุญญากาศที่ 280 องศาเซลเซียส เมธีนามีนเป็นสารที่ได้จากการเกิดปฏิกิริยาระหว่างงฟอร์มาลดีไฮด์กับแอมโมเนีย ถูกค้นพบโดยอเล็กซานเดอร์ บัทเลรอฟ เมื่อ..
หรือที่รู้จักกันในชื่อ หมายเลข E