โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เลข (แก้ความกำกวม)

ดัชนี เลข (แก้ความกำกวม)

ลข อาจหมายถึง.

48 ความสัมพันธ์: ชุดตัวอักษรการแทนความรู้การเข้ารหัสการเข้ารหัสทางประสาทรหัสคิวอาร์ระบบพิกัดระบบพิกัดคาร์ทีเซียนลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิงลูกบาศก์มรณะวิธีเลขสี่มุมสลิเทอร์ลิงก์สัญกรณ์วิทยาศาสตร์สัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบสื่อที่มนุษย์สามารถอ่านได้หลักกิโลเมตรอาการคันต่างที่อนันต์จำนวนจุดฐานทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์ทวิภาวะ (คณิตศาสตร์)ทเวลฟ์ขั้นตอนวิธีเชิงสัทลักษณ์ดิอะเมซิ่งเรซ 13ดิจิทัลคาสิโอค่าคงตัวตัวส่วนตัวทดตัวเลขเขมรตัวเศษตู้เย็นปริศนา (นิตยสาร)นุริคาเบะโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์โอลิมปิกฤดูร้อน 2012โดกาปองไทป์เฟซเกมวัดดวงเลขย่อเลขคณิตเลขคณิตมูลฐานเวลาเส้นเวลาของคณิตศาสตร์Standard Industrial ClassificationБ1428577 สีคอนเสิร์ตออนทัวร์

ชุดตัวอักษร

ตัวอักษร (alphabet) ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ หมายถึง เซตของอักขระและตัวเลขที่มีจำนวนสมาชิกมากกว่าศูนย์และมีจำนวนจำกัด โดยปกติแล้วชุดตัวอักษรมักเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ \Sigma.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และชุดตัวอักษร · ดูเพิ่มเติม »

การแทนความรู้

การแทนความรู้ (Knowledge representation) เป็นสาขาหลักที่สำคัญที่สุด สาขาหนึ่งของปัญญาประดิษ.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และการแทนความรู้ · ดูเพิ่มเติม »

การเข้ารหัส

การเข้ารหัส (encryption) เป็นการเปลี่ยนรูปแบบของรับบการอ่านที่เป็นภาษามนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องหรือสัญญาณอื่น โดยเกี่ยวข้องกับวิธีการทางคณิตศาสตร.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และการเข้ารหัส · ดูเพิ่มเติม »

การเข้ารหัสทางประสาท

การยิงศักยะงานเป็นขบวนหรือเป็นลำดับ ๆ ของเซลล์ประสาท การเข้ารหัสทางประสาท (Neural coding) เป็นการศึกษาทางประสาทวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองของเซลล์ประสาทเดี่ยว ๆ หรือของกลุ่มเซลล์ประสาท และความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานทางไฟฟ้าของเซลล์ประสาทในกลุ่ม โดยอาศัยทฤษฎีว่า การทำงานของเครือข่ายเซลล์ประสาทในสมองจะเป็นตัวแทนข้อมูลทางประสาทสัมผัสและข้อมูลอื่น ๆ นักวิชาการจึงเชื่อว่า เซลล์ประสาทสามารถเข้ารหัสข้อมูลเป็นทั้งแบบดิจิตัลและแบบแอนะล็อก.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และการเข้ารหัสทางประสาท · ดูเพิ่มเติม »

รหัสคิวอาร์

รหัสคิวอาร์เก็บข้อมูลยูอาร์แอลของหน้าหลักของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ผนังอาคารแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น แสดงภาพรหัสคิวอาร์สำหรับการโฆษณา รหัสคิวอาร์ (QR Code ย่อจาก Quick Response Code) หรือ คิวอาร์โค้ด เป็นเครื่องหมายการค้าของบาร์โค้ดเมทริกซ์ (หรือบาร์โค้ดสองมิติ) เดิมออกแบบสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ในญี่ปุ่น บาร์โค้ดเป็นป้ายสำหรับให้เครื่องอ่านด้วยแสงที่บรรจุข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งของที่ตัวรหัสติดอยู่ รหัสคิวอาร์มีมาตรฐานของหลักการเข้ารหัส 4 แบบ (ตัวเลข อักขระอักษรเลข ไบต์/เลขฐานสอง และคันจิ) สำหรับเก็บข้อมูลดิบ รหัสคิวอาร์ยังเป็นที่นิยมนอกเหนือจากอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากความสามารถในการอ่านเร็วและพื้นที่เก็บข้อมูลที่มากกว่าเมื่อเทียบกับบาร์โค้ดรหัสผลิตภัณฑ์สากล รหัสคิวอาร์นำมาใช้ในการตามรอยผลิตภัณฑ์ การระบุสิ่งของ การระบุเวลา การจัดการเอกสาร และการตลาดทั่วไป รหัสคิวอาร์ประกอบด้วยมอดูลสีดำ (จุดสี่เหลี่ยม) จัดวางในกริดบนพื้นหลังสีขาว ซึ่งสามารถอ่านได้ด้วยเครื่องมืออ่านภาพ (เช่น กล้องถ่ายรูป เครื่องสแกน เป็นต้น) และประมวลผลด้วยกระบวนการแก้ไขข้อผิดพลาดรี้ด-โซโลมอน จนกระทั่งภาพถูกแปลความหมายอย่างเหมาะสม และถอดออกมาจากรหัสที่นำเสนอเป็นภาพในแนวตั้งและแนวนอนจนได้ข้อมูลที่ต้องการ.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และรหัสคิวอาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบพิกัด

ระบบพิกัดคาร์ทีเซียนสองมิติ ระบบพิกัดคาร์ทีเซียนสามมิติ พิกัด หมายถึง ค่าของตัวเลขที่ใช้อธิบายตำแหน่งของจุดบนระนาบหรือปริภูมิ ตัวอย่างเช่น ระดับความสูงจากน้ำทะเลก็เป็นพิกัดอย่างหนึ่งที่อธิบายตำแหน่งของจุดเหนือระดับพื้นผิวโลก ส่วนระบบพิกัดคือวิธีการอย่างเป็นระบบที่มีการให้ค่าคู่อันดับหรือสามสิ่งอันดับแทนตำแหน่งของแต่ละจุดบนระนาบหรือปริภูมิ ซึ่งคู่อันดับหรือสามสิ่งอันดับหนึ่งชุดจะหมายถึงตำแหน่งเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น ดังตัวอย่าง สามสิ่งอันดับที่ประกอบด้วย ละติจูด ลองจิจูด และอัลติจูด (ระดับความสูง) เป็นระบบพิกัดที่ใช้ระบุตำแหน่งของจุดเหนือพื้นผิวโลก พิกัดอาจนิยามได้ในบริบททั่วไป เช่น ถ้าหากเราไม่สนใจความสูง ดังนั้นละติจูดและลองจิจูดจึงสามารถเป็นระบบพิกัดเหนือพื้นผิวโลกก็ได้ โดยสมมติให้โลกมีรูปร่างใกล้เคียงทรงกลม พิกัดเช่นนี้เป็นสิ่งสำคัญในดาราศาสตร์ ซึ่งใช้สำหรับอธิบายตำแหน่งของเทหวัตถุบนท้องฟ้าโดยไม่สนใจระยะทาง (ดูเพิ่มที่ระบบพิกัดทรงกลมฟ้า) อย่างไรก็ตาม บทความนี้จะมุ่งประเด็นไปที่ระบบพิกัดบนระนาบและปริภูมิสามมิติเท่านั้น เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจในขอบเขตของคณิตศาสตร์มูลฐาน.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และระบบพิกัด · ดูเพิ่มเติม »

ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน

ตัวอย่างระบบพิกัดคาร์ทีเซียนที่มีจุด (2,3) สีเขียว, จุด (-3,1) สีแดง, จุด (-1.5,-2.5) สีน้ำเงิน, และจุด (0,0) สีม่วงซึ่งเป็นจุดกำเนิด ในทางคณิตศาสตร์ ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน (Cartesian coordinate system) เป็นระบบที่ใช้กำหนดตำแหน่งของจุดแต่ละจุดบนระนาบโดยอ้างถึงตัวเลข 2 จำนวน ซึ่งแต่ละจำนวนเรียกว่า พิกัดเอกซ์ และ พิกัดวาย ของจุดนั้น และเพื่อที่จะกำหนดพิกัดของจุด จะต้องมีเส้นแกนสองเส้นตัดกันเป็นมุมฉากที่จุดกำเนิด ได้แก่ แกนเอกซ์ และ แกนวาย ซึ่งเส้นแกนดังกล่าวจะมีหน่วยบ่งบอกความยาวเป็นระยะ ระบบพิกัดคาร์ทีเซียนยังสามารถใช้ได้ในปริภูมิสามมิติ (ซึ่งจะมี แกนแซด และ พิกัดแซด เพิ่มเข้ามา) หรือในมิติที่สูงกว่าอีกด้ว.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และระบบพิกัดคาร์ทีเซียน · ดูเพิ่มเติม »

ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง

ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง (LaFlora, the Princess Academy) เป็นหนังสือการ์ตูนที่แทรกเรื่องราวเกี่ยวกับอารยธรรมและวัฒนธรรมนานาชาติ มี 9 ชุด คือ "ลา ฟลอร่า", "ลา ฟลอร่า ภาค ประเทศฉันสุดยอด", "ลา ฟลอร่า บอร์ดเกม","ลาฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่","ลาฟลอร่า คลับเฟสต้า","ลาฟลอร่า แอนิเมชัน","นิยาย ลาฟลอร่า","คอมมิกชันนารี ลา ฟลอร่า โรซารี่ please" และ "ลาฟลอร่า ดรีมมี่ คาเฟ่" โดยในแต่ละเล่มจะมีเนื้อหาและตัวละครที่ต่างกัน จากความนิยมอย่างแพร่หลาย และความโดดเด่นของตัวละคร ส่งผลให้ทางผู้ผลิตได้จัดทำในรูปแบบของเกมกระดานในเวลาต่อมา ปัจจุบันได้มีการจัดแปลเป็นภาษาต่างประเทศ 4 ภาษา รวมถึงจัดทำเป็นแอนิเมชัน และวรรณกรรมเยาวชน.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง · ดูเพิ่มเติม »

ลูกบาศก์มรณะ

ลูกบาศก์มรณะ (Cube) เป็นภาพยนตร์แนวไซไฟสยองขวัญ และเป็นไตรภาคที่ 1 ของภาพยนตร์ชุด ลูกบาศก์มรณะ กำกับการแสดงโดย วินเซนโซ นาตาลี (Vincenzo Natali) ออกฉายครั้งแรกในประเทศแคนาดาเมื่อ 9 กันยายน..

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และลูกบาศก์มรณะ · ดูเพิ่มเติม »

วิธีเลขสี่มุม

อักษร 法 (fǎ) แปลว่าวิธีการหรือกฎหมาย มีรหัสเป็น 34131 วิธีเลขสี่มุม (แปลเต็มว่า วิธีพิจารณาอักษรจีนด้วยตัวเลขจากสี่มุม) คือวิธีป้อนอักขระชนิดหนึ่งใช้สำหรับเข้ารหัสอักษรจีนไปเป็นการพิมพ์ด้วยพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์ โดยใช้ตัวเลขสี่ตัวแทนอักษรแต่ละตัว วิธีเลขสี่มุมรู้จักกันในชื่อ ระบบเลขสี่มุม มีการเรียงลำดับด้วยวิธีนี้เพื่อเป็นดัชนีในอักษรานุกรมบางชนิดและงานสารบรรณด้ว.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และวิธีเลขสี่มุม · ดูเพิ่มเติม »

สลิเทอร์ลิงก์

ตัวอย่างปริศนาสลิเทอร์ลิงก์ เฉลยปริศนาด้านบน สลิเทอร์ลิงก์ (Slitherlink) เป็นปริศนาตรรกะอย่างหนึ่ง คิดค้นโดย นิโคะริ (Nikoli) ผู้ผลิตนิตยสารปริศนาของประเทศญี่ปุ่น ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Puzzle Communication Nikoli เล่มที่ 26 ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2532 สำหรับชื่ออื่นๆ ที่เป็นที่รู้จักในต่างประเทศได้แก่ Fences, Takegaki, Loop the Loop, Ouroboros และ Dotty Dilemma ส่วนในประเทศไทย นิตยสารในเครือ ปริศนา ของบริษัท สำนักพิมพ์อาทร จำกัด ได้เรียกชื่อเกมนี้ว่า ปริศนาผนังสร้างอาณาเขต ฮัดสัน (Hudson) เป็นผู้นำปริศนานี้ไปสร้างเป็นเกมบนเครื่องนินเทนโด ดีเอส ซึ่งใช้หน้าจอระบบสัมผัส ในชื่อ Puzzle Series Vol.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และสลิเทอร์ลิงก์ · ดูเพิ่มเติม »

สัญกรณ์วิทยาศาสตร์

ัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (scientific notation) คือรูปแบบของการเขียนตัวเลขอย่างหนึ่ง มักใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ หรือวิศวกร เพื่อให้สามารถเขียนหรือนำเสนอจำนวนที่มีขนาดใหญ่มากหรือเล็กมาก และใช้คำนวณต่อได้ง่ายขึ้น แนวความคิดพื้นฐานของสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ โดยทั่วไปจะเขียนตัวเลขให้อยู่ในพจน์ (Term) ของเลขยกกำลังฐานสิบ นั่นคือ (a คูณ 10 ยกกำลัง b) โดยที่เลขชี้กำลัง b เป็นจำนวนเต็ม และสัมประสิทธิ์ a เป็นจำนวนจริงใด ๆ ซึ่งสามารถเรียกว่า ซิกนิฟิแคนด์ (significand) หรือ แมนทิสซา (mantissa).

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบ

ัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบ คือสัญลักษณ์ที่ใช้แบ่งส่วนจำนวนเต็มออกจากเศษของจำนวนในเลขฐานสิบ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จุดทศนิยม นิยมใช้มหัพภาค (.) เป็นตัวแบ่ง สำหรับมหัพภาคที่ปรากฏในเลขฐานอื่นจะไม่เรียกว่าจุดทศนิยม แต่เรียกว่า จุดฐาน (radix point) สัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบยังหมายถึง สัญลักษณ์ที่ใช้แบ่งตัวเลขจำนวนขนาดใหญ่ออกเป็นกลุ่มที่เรียกว่า สัญลักษณ์แบ่งหลักพัน หรือ เครื่องหมายคั่นหลักพัน นิยมใช้จุลภาค เป็นตัวแบ่งที่ทุกๆ หลักพัน แต่ในบางประเทศอาจมีการสลับการใช้งานมหัพภาคกับจุลภาค หรือแบ่งตรงหลักอื่นที่ไม่ใช่หลักพัน.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และสัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบ · ดูเพิ่มเติม »

สื่อที่มนุษย์สามารถอ่านได้

รหัสแท่งอันแสดงข้อมูลที่ทั้งมนุษย์และเครื่องสามารถอ่านได้ สื่อหรือรูปแบบที่มนุษย์สามารถอ่านได้ หมายถึงตัวแทนของข้อมูลหรือสารสนเทศที่มนุษย์สามารถอ่านได้โดยธรรมชาติ ในทางคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ มนุษย์สามารถอ่านได้ มักจะเข้ารหัสเป็นข้อความแอสกีหรือยูนิโคด (เป็นตัวหนังสือ) มากกว่าที่จะแสดงแทนด้วยเลขฐานสอง ข้อมูลแทบจะทั้งหมดสามารถแจงส่วนได้ด้วยเครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์ ที่ติดตั้งหรือสร้างชุดคำสั่งที่เหมาะสม ซึ่งเหตุผลต่าง ๆ ที่เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์เลือกรูปแบบเลขฐานสองเหนือกว่ารูปแบบข้อความ มุ่งไปที่ปัญหาต่าง ๆ ของพื้นที่ว่างของหน่วยเก็บ เนื่องจากการแทนเลขฐานสองตามปกติจะใช้พื้นที่เพียงไม่กี่ไบต์ และประสิทธิภาพของการเข้าถึง (อินพุตและเอาต์พุต) โดยไม่ต้องผ่านการแปลงหรือแจงส่วนซ้ำ ในบริบทส่วนใหญ่ อีกทางหนึ่งของตัวแทนที่มนุษย์สามารถอ่านได้ก็คือ สื่อหรือรูปแบบของข้อมูลที่ เครื่องสามารถอ่านได้ ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เชิงกล หรือเชิงแสง หรือคอมพิวเตอร์ อ่านข้อมูลได้เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น รหัสผลิตภัณฑ์สากล (Universal Product Code: UPC) เป็นรหัสแท่งที่มนุษย์อ่านเข้าใจได้ยาก แต่ถ้าอ่านด้วยอุปกรณ์ที่ถูกต้องจะได้ผลดีและน่าเชื่อถือมาก แต่ในขณะเดียวกันสายอักขระของตัวเลขที่ประกอบอยู่บนฉลากมีเพื่อให้มนุษย์สามารถอ่านสารสนเทศของรหัสแท่งนั้น ในบางเขตอำนาจศาล ฉลากรหัสแท่งที่ใช้ในการค้าปลีกจะต้องแสดงราคาที่มนุษย์สามารถอ่านได้บนสินค้านั้น เมื่อภาษามาร์กอัปเชิงโครงสร้างอย่างสูงและเป็นมาตรฐานเกิดขึ้น เช่นเอกซ์เอ็มแอล (XML) หน่วยเก็บข้อมูลมีราคาถูกลง และเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลเร็วขึ้นแต่ถูกลง ทำให้ความสามารถในการอ่านได้ของมนุษย์และเครื่อง เรียกได้ว่าแทบจะไม่แตกต่างกันอย่างในอดีต นอกจากนี้ ตัวแทนข้อมูลเชิงโครงสร้างสามารถบีบอัดได้อย่างมีประสิทธิผลมาก สำหรับการส่งผ่านหรือการเก็บบันทึก องค์การหลายองค์การได้กำหนดนิยามข้อมูลที่มนุษย์สามารถอ่านได้กับข้อมูลที่เครื่องสามารถอ่านได้ และวิธีการที่จะนำมาใช้ในสาขาที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร เช่น สหภาพไปรษณีย์สากล บ่อยครั้งที่ศัพท์ มนุษย์สามารถอ่านได้ นำไปใช้อธิบายถึงชื่อหรือสายอักขระขนาดสั้น ที่ง่ายต่อการเข้าใจและการจดจำมากกว่าสัญกรณ์วากยสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและขนาดยาว เช่น สายอักขระยูอาร์แอล (URL).

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และสื่อที่มนุษย์สามารถอ่านได้ · ดูเพิ่มเติม »

หลักกิโลเมตร

หลักไมล์ในเมืองโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ หลักกิโลเมตร หรือ หลักไมล์ เป็นเครื่องหมายอย่างหนึ่งที่กำกับด้วยตัวอักษรและตัวเลข ส่วนมากจะเป็นเสาหินหรือเสาปูนเตี้ยๆ แล้วจารึกหรือเขียนตัวอักษรด้วยสี ติดตั้งไว้เป็นระยะๆ เท่ากัน (ทุก 1 กิโลเมตรหรือ 1 ไมล์) ตลอดเส้นทางที่ริมถนนหรือระยะโดยเฉลี่ยตรงกลางถนน จุดประสงค์ของการสร้างหลักกิโลเมตรเพื่อเป็นการบอกผู้เดินทางว่า ได้เดินทางมาเป็นระยะทางเท่าใดแล้ว หรืออีกไกลเท่าไรกว่าจะถึงจุดหมาย สำหรับการเลือกใช้หลักกิโลเมตรหรือหลักไมล์ ขึ้นอยู่กับว่าในประเทศนั้นนิยมการวัดความยาวในระบบอังกฤษหรือระบบเมตริก.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และหลักกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

อาการคันต่างที่

อาการคันต่างที่ (Referred itch, mitempfindungen) เป็นปรากฏการณ์ที่การเร้าร่างกายที่ส่วนหนึ่งกลับรู้สึกคันหรือระคายที่อีกส่วนหนึ่ง อาการนี้ไม่ค่อยมีอันตราย แต่อาจน่ารำคาญ โดยคนที่สุขภาพดีก็มีอาการได้เหมือนกัน สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดอาการเริ่มตั้งแต่แรงกดที่ผิวหนัง การขูด การทำให้ระคาย จนไปถึงการดึงขน แต่ความคันต่างที่ไม่ควรเจ็บ มันมักจะเป็นความเหน็บชาที่น่ารำคาญซึ่งอาจทำให้รู้สึกว่าควรเกา ทั้งสิ่งเร้าและความคันต่างที่ จะเกิดในร่างกายซีกเดียวกัน (ipsilateral) และเพราะการเกาหรือการกดส่วนที่คันต่างที่ไม่ได้ทำให้บริเวณที่เร้าตอนแรกคัน ความสัมพันธ์ระหว่างบริเวณที่เร้าและบริเวณที่คันต่างที่จึงเป็นไปในทางเดียว (unidirectional) ความคันจะเกิดเองและอาจหยุดแม้จะเร้าอีกที่หนึ่งต่อไปเรื่อย ๆ อาการคันต่างที่มีสองอย่าง คือ แบบปกติ และแบบได้ทีหลัง (เพราะโรค) อาการธรรมดามักจะพบตั้งแต่วัยเด็กต้น ๆ และจะคงยืนเกือบตลอดหรือไม่ก็ตลอดชีวิต ส่วนอาการที่ได้ทีหลังเป็นผลจากความเสียหายต่อระบบประสาทส่วนกลาง และจะคงยืนเพียงแค่ระยะหนึ่ง อาการจะต่างกันระหว่างบุคคล แต่โดยทั่วไปจะไม่เกิดที่ฝ่าเท้า ฝ่ามือ และใบหน้า ปัจจัยทางพันธุกรรมดูจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ก็มีงานศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ ซึ่งแสดงว่ามีชายคนหนึ่งที่ลูก ๆ ของเขาก็เป็นด้วย กลไกทางสรีรภาพที่เป็นเหตุยังไม่ชัดเจน และก็ยังไม่มีทฤษฎีใดที่ได้การยอมรับอย่างทั่วไป งานวิจัยและข้อมูลเกี่ยวกับอาการจะค่อนข้างจำกัดและเก่า งานวิจัยในเรื่องนี้โดยมากได้ทำในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และงานที่ตีพิมพ์ล่าสุดเกิดเมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 มีงานศึกษาจำนวนหนึ่งที่ทำในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 อย่างไรก็ดี จะต้องรวบรวมและไขข้อมูลเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ความเข้าใจที่สมบูรณ.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และอาการคันต่างที่ · ดูเพิ่มเติม »

อนันต์

ัญลักษณ์อนันต์ในรูปแบบต่าง ๆ อนันต์ (infinity; ใช้สัญลักษณ์ ∞) เป็นแนวคิดในทางคณิตศาสตร์และปรัชญาที่อ้างถึงจำนวนที่ไม่มีขอบเขตหรือไม่มีที่สิ้นสุด ในประวัติศาสตร์ ผู้คนต่างพัฒนาแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของอนันต์ ในทางคณิตศาสตร์ มีการจำกัดความของคำว่าอนันต์ในทฤษฎีเซต ภาษาอังกฤษของอนันต์ที่ว่า Infinity มาจากคำในภาษาละติน infinitas ซึ่งแปลว่า "ไม่มีที่สิ้นสุด" ในทางคณิตศาสตร์ เนื้อหาที่เกี่ยวกับอนันต์จะถือว่าอนันต์เป็นตัวเลข เช่น ใช้ในการนับปริมาณ เป็นต้นว่า "จำนวนพจน์เป็นอนันต์" แต่อนันต์ไม่ใช่ตัวเลขชนิดเดียวกับจำนวนจริง เกออร์ก คันทอร์ นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันได้จัดระเบียบแนวคิดที่เกี่ยวกับอนันต์และเซตอนันต์ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 เขายังได้ค้นพบว่าอนันต์มีการนับปริมาณแตกต่างกัน แนวคิดดังกล่าวถูกเรียกว่าภาวะเชิงการนับ เช่น เซตของจำนวนเต็มเป็นเซตอนันต์ที่นับได้ แต่เซตของจำนวนจริงเป็นเซตอนันต์ที่นับไม่ได้.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และอนันต์ · ดูเพิ่มเติม »

จำนวน

ำนวน (number) คือวัตถุนามธรรมที่ใช้สำหรับอธิบายปริมาณ จำนวนมีหลายแบบ จำนวนที่เป็นที่คุ้นเคยก็คือ.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และจำนวน · ดูเพิ่มเติม »

จุดฐาน

ในทางคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ จุดฐาน (radix point, radix character) คือสัญลักษณ์ที่ใช้ในการแทนจำนวนเพื่อแบ่งส่วนที่เป็นจำนวนเต็ม (ทางซ้ายของจุดฐาน) ออกจากจำนวนเศษ (ทางขวาของจุดฐาน) คำว่าจุดฐานนี้ใช้กับฐานเลขทุกระบบ ในเลขฐานสิบ จุดฐานนี้จะเรียกว่าจุดทศนิยม เช่นเดียวกับเลขฐานสอง จุดฐานนี้จะเรียกว่าจุดทวินิยม ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ รวมทั้งประเทศไทย จุดฐานมักเขียนแทนด้วยมหัพภาค (.) วางไว้ที่เส้นบรรทัด หรือวางไว้ตรงกลางระหว่างเส้นบรรทัดกับเส้นความสูงของตัวเลข แต่ในภูมิภาคอื่นอาจใช้จุลภาค แทนมหัพภาคโดยปกติ (ดูที่ สัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม).

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และจุดฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์

ในทฤษฎีความน่าจะเป็น สถิติ การอนุมาน และ ปัญญาประดิษฐ์ บางครั้งจะพบคำว่า แบบเบย์ (Bayesian) มาขยายชื่อทฤษฎีหรือโมเดลต่างๆ โดยทุกครั้งที่พบคำขยายนี้หมายความว่าได้มีการนำปรัชญาหรือหลักการของ ทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์ (บางท่านเรียก การอนุมานแบบเบย์ หรือ สถิติแบบเบย์) มาใช้กับสาขาความรู้นั้นๆ ถ้าจะกล่าวอย่างไม่เป็นทางการ, ทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์แปลความหมายของคำว่า ความน่าจะเป็น เป็น ความเชื่อมั่นส่วนบุคคลในเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ซึ่งต่างจากทฤษฎีความน่าจะเป็นของคอลโมโกรอฟ (ที่มักถูกเรียกว่าทฤษฎีความน่าจะเป็นเชิงความถี่) ที่มักแปลความหมายของความน่าจะเป็น (โดยต้องแปลควบคู่ไปกับการทดลองเสมอ) ดังนี้ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ A คือ อัตราส่วนของจำนวนครั้งของเหตุการณ์ A ที่ทดลองสำเร็จเทียบกับจำนวนครั้งที่ทดลองทั้งหมด จุดแตกต่างสำคัญระหว่างทฤษฎีทั้งสองประเภทมีดังนี้.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวิภาวะ (คณิตศาสตร์)

ทวิภาวะ (Principle of Duality) คำว่า Duality หมายความว่า 'การอยู่กันเป็นคู่' หรือทางคณิตศาสตร์แปลว่า 'ทวิภาวะ'ใน Digital Logic ใช้แทนการเท่ากันของนิพจน์ การเท่ากันของนิพจน์ที่กลับนิพจน์โดยจะสลับเครื่องหมายและตัวเลข แต่ค่าเดิมจะไม่เปลี่ยนแปลงโดยที.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และทวิภาวะ (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ทเวลฟ์

ทเวลฟ์ (Twelve; トゥエルヴ) เป็นตัวละครจากเกมสตรีทไฟท์เตอร์ ปรากฏตัวครั้งแรกในภาค 3 rd Strike เป็นตัวละครที่มีสถานะเป็นมนุษย์ทดลองผู้มีร่างกายยืดหยุ่น สามารถเนรมิตร่างกายเป็นอาวุธได้สารพัดรูปแบบ สามารถล่องหนหายตัวได้ และนอกจากนี้ ยังสามารถเหาะเหินไปในอากาศด้วยการดัดแปลงร่างกายที่พิสดารได้อีกด้วย ให้เสียงพากษ์โดยลอว์เรนซ์ เบย์น.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และทเวลฟ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีเชิงสัทลักษณ์

ั้นตอนวิธีเชิงสัทลักษณ์ (phonetic algorithm) คือขั้นตอนวิธีสำหรับการกำหนดดัชนีของคำต่างๆ โดยใช้การออกเสียงเป็นเกณฑ์ ขั้นตอนวิธีเชิงสัทลักษณ์ส่วนใหญ่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับภาษาอังกฤษ ดังนั้นการใช้กฎเกณฑ์ดังกล่าวกับคำในภาษาอื่นอาจไม่ให้ผลลัพธ์ที่มีความหมาย ขั้นตอนวิธีเหล่านั้นมีความซับซ้อนด้วยกฎและข้อยกเว้นหลายประการ เนื่องจากการสะกดคำ และการออกเสียงในภาษาอังกฤษถูกทำให้ยุ่งยากด้วยการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์และคำที่ยืมมาจากภาษาอื่นหลายภาษ.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และขั้นตอนวิธีเชิงสัทลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ 13

อะเมซิ่ง เรซ 13 (The Amazing Race 13) เป็นฤดูกาลที่ 13 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส สำหรับฤดูกาลที่ 13 นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ของผังรายการโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกาประจำปี ค.ศ. 2008-09 โดยเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2551 (ณ เวลา 20 นาฬิกา ตามเวลามาตรฐานตะวันออก และเวลามาตรฐานแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกา ทางช่องซีบีเอส) และตอนสุดท้ายออกอากาศในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (ซึ่งในประเทศไทยเริ่มออกอากาศในวันที่ 29 กันยายน ทางช่อง เอเอ็กซ์เอ็น ณ เวลา 21 นาฬิกา และสิ้นสุดการออกอากาศในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551).

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และดิอะเมซิ่งเรซ 13 · ดูเพิ่มเติม »

ดิจิทัล

ทัล (digital), เฉพาะชื่อเฉพาะอาจสะกดเป็น ดิจิทอล หรือ ดิจิตอล) หรือในศัพท์บัญญัติว่า เชิงเลข ในทฤษฎีข้อมูลหรือระบบข้อมูล เป็นวิธีแทนความหมายของข้อมูลหรือชิ้นงานต่างๆในรูปแบบของตัวเลข โดยเฉพาะเลขฐานสอง ที่ไม่ต่อเนื่องกัน ซึ่งต่างจากระบบแอนะล็อกที่ใช้ค่าต่อเนื่องหรือสัญญาณแอนะล็อกซึ่งเป็นค่าต่อเนื่อง หรือแทนความหมายของข้อมูลโดยการใช้ฟังชั่นที่ต่อเนื่อง ถึงแม้ว่า การแทนความหมายเป็นดิจิทัลจะไม่ต่อเนื่อง ข้อมูลที่ถูกแปลความหมายนั้นสามารถเป็นได้ทั้งไม่ต่อเนื่อง (เช่นตัวเลขหรือตัวหนังสือ) หรือต่อเนื่อง (เช่นเสียง,ภาพและการวัดอื่นๆ) คำว่าดิจิทัลที่มาจากแหล่งเดียวกันกับคำว่า digit และ digitus (ภาษาละตินแปลว่านิ้ว) เพราะนิ้วมือมักจะใช้สำหรับการนับที่ไม่ต่อเนื่อง นักคณิตศาสตร์ จอร์จ CStibitz ของห้องปฏิบัติการโทรศัพท์เบลล์ ใช้คำว่าดิจิทัลในการอ้างอิงถึงพัลส์ไฟฟ้าเร็วที่ปล่อยออกมาจากอุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อเล็งและยิงปืนต่อต้านอากาศยานในปี 1942 มันเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในการระบบคำนวณและระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้อมูลในโลกแห่งความเป็นจริงจะถูกแปลงเป็นรูปแบบตัวเลขฐานสองเช่นในเสียงออดิโอดิจิทัลและการถ่ายภาพดิจิทัล.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และดิจิทัล · ดูเพิ่มเติม »

คาสิโอ

ริษัท คาสิโอ คอมพิวเตอร์ จำกัด เป็นบริษัทที่ผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงโตเกียว ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 คาสิโอมีชื่อเสียงในด้านการผลิตเครื่องคิดเลข เครื่องเสียง พีดีเอ กล้องถ่ายรูป เครื่องดนตรี และนาฬิกาข้อมือ เมื่อปี ค.ศ. 1957 คาสิโอเป็นรายแรกของโลกที่ผลิตและจำหน่ายเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดกะทัดรั.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และคาสิโอ · ดูเพิ่มเติม »

ค่าคงตัว

งตัว หรือ ค่าคงที่ ในทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หมายถึง ค่าค่าหนึ่งของตัวเลขซึ่งกำหนดตายตัวไว้ หรืออาจเป็นค่าที่ไม่ระบุตัวเลข ค่าคงตัวมีความหมายตรงข้ามกับตัวแปรซึ่งสามารถแปรผันค่าได้.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และค่าคงตัว · ดูเพิ่มเติม »

ตัวส่วน

ตัวส่วน (denominator) หมายถึงตัวเลขที่อยู่ด้านล่างของเศษส่วน เป็นตัวบ่งบอกว่ามีจำนวนส่วนที่เท่ากันทั้งหมดอยู่เท่าไร ตัวอย่างเช่นเศษส่วน ตัวเลข 3 คือตัวส่วน ในภาษาอังกฤษมีการใช้จำนวนเชิงอันดับที่แทนชื่อของเศษส่วนเช่น half, third, quarter (forth), fifth, sixth,... แทนตัวส่วนใน,,,,,...

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และตัวส่วน · ดูเพิ่มเติม »

ตัวทด

ในเลขคณิตมูลฐาน ตัวทด หรือ เลขทด คือตัวเลขที่ถูกส่งมาจากตัวเลขหลักหนึ่ง ไปยังตัวเลขหลักอื่นที่มีนัยสำคัญมากกว่า ในระหว่างขั้นตอนวิธีของการคำนวณ การกระทำที่ให้เกิดตัวทดเรียกว่า การทด ตัวทดเป็นสิ่งที่ช่วยคำนวณคณิตศาสตร์มาแต่ดั้งเดิม เพื่อเน้นให้เห็นถึงวิธีการหาคำตอบที่ถูกต้อง เมื่อคำนวณจนชำนาญแล้วตัวทดก็มักจะถูกละเลยไปเพราะสามารถคิดได้ในใจ และตัวทดก็ไม่ได้ปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของผลลั.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และตัวทด · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเลขเขมร

ลขเขมร เป็นระบบการเขียนตัวเลขที่ใช้ในหมู่ชาวกัมพูชา และใช้ร่วมกับระบบการเขียนอักษรเขมร โดยมีรูปตัวเลขที่พัฒนามาจากระบบตัวเลขของอินเดีย และมีลักษณะคล้ายกับเลขไทย สำหรับระบบการนับนั้น ในภาษาเขมรมีเลขฐานเพียง 5 ตัว คือ มวย (1), ปี (2), เบ็ย (3), บวน (4), และ ปรำ (5) เมื่อจะนับหก ก็นำคำว่าหนึ่งมาบวก เป็น ปรำมวย (ห้าหนึ่ง), ปรำปี (ห้าสอง), ปรำเบ็ย (ห้าสาม), ปรำบวน (ห้าสี่) และ ด็อป (10) ทำให้ 6 - 9 ไม่สามารถเปรียบเทียบกับภาษาอื่นได้ สำหรับจำนวน 30 - 9,999,999 นั้น นิยมใช้คำไทยมาเรียก;หมายเหตุ *.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และตัวเลขเขมร · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเศษ

ตัวเศษ (numerator) หมายถึงตัวเลขที่อยู่ด้านบนของเศษส่วน เป็นตัวบ่งบอกว่ามีจำนวนส่วนที่เท่ากันอยู่เท่าไรในส่วนรวมทั้งหมด เช่นในเศษส่วน ตัวเลข 3 คือตัวเศษ หมายความว่ามีวัตถุ 3 ส่วนจากทั้งหมด 4 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนมีขนาดเท่าๆ กันคือ.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และตัวเศษ · ดูเพิ่มเติม »

ตู้เย็น

ตู้เย็นตามบ้านทั่วไป ตู้เย็น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำความเย็นโดยประกอบด้วยสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนฉนวนป้องกันความร้อน (ป้องกันไม่ให้ความร้อนไหลเข้ามา) และ ส่วนทำความเย็น (ปั๊มที่นำความร้อนออกไปสู่ภายนอกซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า) คนส่วนใหญ่ใช้ตู้เย็นเก็บอาหาร เพื่อป้องกันการเน่าเสีย เนื่องจากแบคทีเรียเติบโตช้ากว่าในอุณหภูมิต่ำ ตู้เย็นมีหลายประเภทตั้งแต่แบบที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็ง (ช่องธรรมดา) แบบที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย (ช่องแช่แข็ง, ช่องฟรีซ) ก่อนที่จะมีตู้เย็นประเทศในเขตหนาวใช้กล่องน้ำแข็ง (icebox) ในการรักษาอาหาร ช่องแช่แข็งของตู้เย็นที่ขายอยู่ทั่วไปมีอุณหภูมิประมาณ -18 °C (ประมาณ 0 °F) สำหรับตู้เย็นที่ใช้ในบ้านมักมีช่องธรรมดาและช่องแช่แข็งรวมกัน และมักใช้เครื่องทำความเย็นร่วมกัน (บางครั้งก็แยกกัน) ตู้เย็นรุ่นใหม่ ๆ มักมีเครื่องทำน้ำแข็งติดตั้งมาพร้อมกัน ตู้เย็นขนาดใหญ่รวมทั้งเครื่องทำน้ำแข็งขนาดใหญ่ในโรงงานมักใช้แก๊สแอมโมเนียซึ่งเป็นอันตรายในการทำการทำความเย็น ทำให้ไม่ปลอดภัยในการใช้ในบ้านเรือน ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1930s ที่สหรัฐอเมริกาได้สังเคราะห์สารเคมีราคาถูก ไม่เป็นพิษ ไม่ติดไฟ เช่น แก๊สฟรีออน.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และตู้เย็น · ดูเพิ่มเติม »

ปริศนา (นิตยสาร)

นิตยสารในเครือปริศนา ปริศนา เป็นนิตยสารรายปักษ์และรายเดือน จัดพิมพ์โดยบริษัท สำนักพิมพ์อาทร จำกัด ในเล่มบรรจุเกมปริศนาที่หลากหลาย พร้อมเฉลยท้ายเล่ม เพื่อให้ผู้อ่านได้ไขปัญหาและพัฒนาความคิดเชิงตรรกะ หรือสะสมเป็นงานอดิเรก นอกจากนั้นยังมีปริศนาชิงรางวัลที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละครั้ง.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และปริศนา (นิตยสาร) · ดูเพิ่มเติม »

นุริคาเบะ

นุริคาเบะ เป็นเกมปริศนา (Puzzle) แบบ Binary Puzzle (เกมปริศนาที่ใช้วิธีการใช้สีขาวและดำถมลงบนตารางขนาดต่างๆ เช่น 3x3, 5x5) โดยรูปแบบของปริศนาจะเริ่มโดยมีชุดตัวเลขจำนวนหนึ่งบนตารางขนาดต่างๆ ชื่อของเกม มาจากนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่น หมายถึง กำแพงที่มองไม่เห็นที่ปิดกั้นไม่ให้คนเดินผ่านไปมา หรือก็คือสีขาวแทนกำแพง สีดำแทนทางเดินนั่นเอง.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และนุริคาเบะ · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์

รงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ เป็นโรงเรียนสหศึกษา ในความดูแลของคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร เขตมิสซังกรุงเทพฯ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนในระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีกำเนิดมาจาก โรงเรียนแม่พระสกลสงเคราะห์ ที่บาทหลวงบรัวซาร์ อธิการโบสถ์วัดพระแม่สกลสงเคราะห์องค์แรกจัดตั้งขึ้น เมื่อปี ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467) ต่อมา คุณพ่อตาปี อธิการโบสถ์องค์ถัดมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อโรงเรียนที่ใช้มาจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

โอลิมปิกฤดูร้อน 2012

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 27 ประจำปี..

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 · ดูเพิ่มเติม »

โดกาปอง

กาปอง (Dokapon; เป็นเกมภาษาแบบเล่นกระดาน ซึ่งใช้ผู้เล่น 3 ถึง 4 คนของการเล่นเกมนี้ และเป็นเกมที่เรียกความสนุกสนานและเสียงหัวเราะให้ผู้เล่นในโลกแห่งแฟนตาซี ที่ชิงความเป็นหนึ่งในการครอบครองสมบัติ ด้วยการออกผจญภัยปราบศัตรูต่าง ๆ ในเกม พร้อมทั้งเล่นร่วมกับผู้เล่นคนอื่น ๆ ที่ร่วมผจญภัยอีกด้วย โดกาปอง ถูกผลิดเป็นครั้งแรกโดยบริษัท แอสมิค-เอส และบริษัท สตริง (Sting) ประเทศญี่ปุ่น ลักษณะส่วนใหญ่ของเกมนี้มักจะเน้นไปที่วัยเด็กเป็นหลัก เพราะลักษณะรูปภาพจะเน้นออกไปทางสีสันที่น่ารัก.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และโดกาปอง · ดูเพิ่มเติม »

ไทป์เฟซ

ตัวอย่างการทดสอบการพิมพ์ไทป์เฟซด้วยขนาดและภาษาต่างๆ ไทป์เฟซ หรือ ฟอนต์ หรือในชื่อไทยว่า ชุดแบบอักษร (typeface หรือ font) คือชุดของรูปอักขระ (glyph) ที่ได้รับการออกแบบไว้อย่างเป็นเอกภาพด้วยรูปแบบเฉพาะตัว ไทป์เฟซอาจประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และอาจรวมไปถึงอักษรภาพ (ideogram) เช่นอักษรจีนหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือทางเทคน.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และไทป์เฟซ · ดูเพิ่มเติม »

เกมวัดดวง

กมวัดดวง เป็นรายการเกมโชว์ที่มีเนื้อหาคือ เป็นเกมการแข่งขันที่นำเอาโชคชะตาของผู้เข้าแข่งขันมาทำเป็นเกม ซึ่งทางรายการจะหาผู้ที่ดวงดีที่สุด จากผู้เข้าแข่งทั้งหมดในสัปดาห์นั้น ลักษณะเกมนั้นจะเป็นการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ ในแต่ละรอบ ทางรายการจะกำหนดกติกาเอาไว้ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่กำหนดว่าผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะ เข้ารอบ หรือ ตกรอบ โดยกติกาเหล่านี้จะไม่ตัดสินผู้เข้าแข่งขันด้วยความสามารถส่วนตัวใด ๆ เลย จะขึ้นอยู่กับ ดวง เพียงอย่างเดียวเท่านั้น และจะใช้หลักความน่าจะเป็น โดยมีคำขวัญว่า "คุณไม่ต้องพกอะไรนอกจากดวงเพียงอย่างเดียว" เกมวัดดวง ในระยะแรกผลิตรายการโดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม ทีวี จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 23.05 - 23.55 น. ต่อมาย้ายวันและเวลาออกอากาศเป็น วันเสาร์ เวลา 12.55 - 13.50 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ดำเนินรายการโดย ดีเจไก่ สมพล ปิยะพงศ์สิริ, ดีเจโจ้ อัครพล ธนะวิทวิลาศ และในปีพ.ศ. 2552 ได้เพิ่ม อ้อม พิยดา อัครเศรณีเข้ามาเป็นพิธีกร อย่างไรก็ตามเนื่องจากการปรับผังรายการของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในปีพ.ศ. 2554 ทำให้รายการ เกมวัดดวง ต้องยุติการออกอากาศลง หลังจากออกอากาศมายาวนานกว่า 8 ปี โดยเทปสุดท้ายของรายการ ออกอากาศในวันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และมีการเพิ่มเวลาออกอากาศจากทางสถานีเดียวกันในวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยใช้ชื่อรายการว่า เกมวัดดวง ฮอลิเดย์ หลังจากที่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีช่องรายการฟรีทีวีทางช่องทางดิจิทัลทีวี บริษัท เนค แอนด์ เดอะ ซิตี้ จำกัด จึงเสนอให้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล​ จำกัด จัดทำรายการเกมวัดดวงขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยปรับพิธีกรใหม่ คือ เกตุเสพสวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และ พัฒนศักดิ์ เรืองจำเนียร โดยช่วงแรกก่อนกลับมาออกอากาศ รายการได้เปิดการเฟ้นหาคนดวงดีทั่วประเทศในรูปแบบของการแข่งขันแบบซีซัน จากนั้นจึงกลับมาออกอากาศเป็นรายตอนตามปกติ โดยที่รายการเกมวัดดวง เริ่มกลับมาออกอากาศอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน..

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และเกมวัดดวง · ดูเพิ่มเติม »

เลขย่อ

ลขย่อ (numeronym) คือคำที่มีตัวเลขซึ่งถูกใช้ในการย่อ การออกเสียงตัวอักษรและตัวเลขอาจอ่านคล้ายกับคำเต็ม ตัวอย่างเช่น K9 ใช้แทน canine (อ่านว่า เค + ไนน์) หรือเช่นในภาษาฝรั่งเศส K7 ใช้แทน cassette (อ่านว่า กา + เซท) เป็นต้น อีกรูปแบบหนึ่งคือ ตัวอักษรที่อยู่ตรงกลางระหว่างอักษรขึ้นต้นและลงท้าย ถูกแทนที่ด้วยตัวเลขอันแสดงถึงจำนวนตัวอักษรที่ซ่อนไว้ เช่น i18n หมายถึง internationalization บางครั้งอักษรตัวสุดท้ายจะถูกนับและซ่อนไว้ด้วย จากข้อมูลของเทกซ์ เทกซิน เลขย่อประเภทนี้ตัวแรกของโลกคือ S12n ซึ่งเป็นชื่อบัญชีอีเมลที่ผู้ดูแลระบบออกให้กับพนักงานของ ดิจิตอล อีควิปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น (DEC) ที่ชื่อ Jan Scherpenhuizen เพราะว่านามสกุลของเขายาวเกินไปสำหรับชื่อบัญชี เพื่อนร่วมงานมักจะอ่านชื่อของเขาไม่ได้จึงเรียกเขาว่า S12n ไปอย่างนั้น และการใช้งานเช่นนี้กลายเป็นวัฒนธรรมในองค์กรของ DEC ตัวเลขอาจใช้กำกับเพื่อแสดงจำนวนอักษรที่ซ้ำก่อนหรือหลังอักษรตัวอื่น เลขย่อประเภทนี้ใช้แทนชื่อหรือวลีที่มีอักษรขึ้นต้นเดียวกันหลายครั้งอาทิ W3 ใช้แทน World Wide Web และ W3C ใช้แทน World Wide Web Consortium เป็นต้น กรณีที่พบได้น้อยกว่าคือ เลขย่อที่ประกอบด้วยตัวเลขเพียงอย่างเดียว เช่น 212 หมายถึง ชาวนิวยอร์ก, 4-1-1 หมายถึง ข้อมูลสารสนเทศ, 9-1-1 หมายถึง ช่วยเหลือ และ 101 หมายถึง การแนะนำเบื้องต้นสำหรับวิชาหนึ่ง ๆ คำประเภทนี้มีมานานแล้วหลายทศวรรษ รวมไปถึงรหัส 10 (10-code) ที่มีการใช้งานเมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง แนวคิดการประกอบกับตัวเลขเป็นคำสามารถพบได้ในลีท ซึ่งบ่อยครั้งตัวเลขถูกแทนที่ให้กับอักษรที่คล้ายกันตามอักขรวิธี ตัวอย่างเช่น H4CK3D มีความหมายเหมือนกับ HACKED แอน เอ.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และเลขย่อ · ดูเพิ่มเติม »

เลขคณิต

เลขคณิต (arithmetics) ในความหมายทั่วไปคือสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นหนึ่งในจุดเริ่มของคณิตศาสตร์ด้วย เลขคณิตสนใจคุณสมบัติพื้นฐานของ การดำเนินการ บางประเภทกับตัวเลข ส่วนความหมายที่ใช้โดยนักคณิตศาสตร์นั้น คำว่า เลขคณิต มักถูกใช้ในความหมายเดียวกันกับทฤษฎีจำนวน หมวดหมู่:การศึกษาคณิตศาสตร์.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และเลขคณิต · ดูเพิ่มเติม »

เลขคณิตมูลฐาน

เลขคณิตมูลฐาน (Elementary arithmetic) คือแขนงความรู้ของคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่สุด ประกอบด้วยการดำเนินการของการบวก การลบ การคูณ และการหาร บุคคลส่วนมากได้เรียนรู้เลขคณิตมูลฐานมาจากโรงเรียนประถมศึกษา เลขคณิตมูลฐานจะเริ่มต้นที่จำนวนธรรมชาติและเลขอารบิกที่ใช้แทนจำนวนนั้น และจำเป็นต้องจดจำตารางการบวกและตารางการคูณ (สูตรคูณ) เพื่อที่จะบวกและคูณตัวเลขในหลักใดๆ จนกระทั่งสามารถบวกและคูณเลขได้ในใจ ส่วนการลบและการหารนั้นจะใช้ขั้นตอนวิธีอย่างอื่นในการเรียนการสอน จากนั้นจึงขยายขอบเขตไปบนเศษส่วน ทศนิยม และจำนวนลบ ซึ่งสามารถนำเสนอได้บนเส้นจำนวน ทุกวันนี้ผู้คนต่างก็ใช้เครื่องคิดเลขหรือคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณเลขคณิตมูลฐาน ซึ่งก่อนหน้านั้นมีการใช้เครื่องมืออย่างอื่นช่วยคำนวณเช่น สไลด์รูล ตารางลอการิทึม โนโมแกรม หรือเครื่องคิดเลขเชิงกลอื่นๆ รวมทั้งลูกคิด หมวดหมู่:การศึกษาคณิตศาสตร์.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และเลขคณิตมูลฐาน · ดูเพิ่มเติม »

เวลา

ำหรับนวนิยายซีไรต์ดูที่ เวลา (นวนิยาย) นาฬิกาพก เครื่องมือที่ใช้ในการรักษาเวลา เวลา ในมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานหนึ่งของจักรวาล ให้เหตุการณ์ต่าง ๆ ดำเนินอยู่ในนั้น ซึ่งเป็นแนวคิดของไอแซก นิวตัน อีกมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นสิ่งสมมุติเช่นเดียวกับพื้นที่ (สเปซ) และตัวเลข มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นลำดับ แต่ไม่ได้หมายความว่าเวลากับเหตุการณ์เหล่านั้นจะรวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นแนวคิดของอิมมานูเอล คานต์ และกอตฟรีด ไลบ์นิซ บางที มุมมองทั้งสองเกี่ยวกับเวลาก็ยังน่าสับสนอยู่ จึงมีการนิยามโดยการปฏิบัติ ความหมายของการดำเนินงาน หรือ(operational definition) ซึ่งมักใช้การเคลื่อนที่หรือการเปลี่ยนแปลงแบบเป็นคาบของวัตถุเป็นตัววัดเวลา เช่น ดิถี (ข้างขึ้นข้างแรม) ของดวงจันทร์ การแกว่งของลูกตุ้ม การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เวลา เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และศิลปศาสตร์ แต่ละสาขาก็มีมุมมองต่าง ๆ กันไป เช่น ในวิชาเศรษฐศาสตร์ อาจมองว่า "เวลาเป็นเงินทอง" ("Time is money.") เป็นต้น.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และเวลา · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของคณิตศาสตร์

้นเวลาของคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ (timeline of mathematics).

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และเส้นเวลาของคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

Standard Industrial Classification

Standard Industrial Classification (ย่อว่า SIC) คือระบบจำแนกประเภทอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกา โดยใช้ตัวเลข 4 ตัวเป็นตัวกำหนด เริ่มใช้เมื่อ ค.ศ. 1937 ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย North American Industry Classification System (NAICS) ซึ่งใช้ตัวเลข 6 หลักตั้งแต่ ค.ศ. 1997 แต่หน่วยงานภาครัฐบางหน่วยงานก็ยังใช้รหัสเดิมอยู่ เช่น U.S. Securities and Exchange Commission (SEC) มีคำกล่าวจาก Investopedia.com ว่า รหัสกลุ่มนี้เคยใช้เพื่อการโฆษณาในเรื่องที่ช่วยทำให้การสื่อสารภาคธุรกิจและระหว่างประเทศดียิ่งขึ้น รหัส SIC คือรายชื่อของธุรกิจที่เป็นระบบการรวบรวม การวิเคราะห์ และการกู้ข้อมูล โดยเป็นการให้ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ครบถ้วน เพื่อระบุบริษัทเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมใด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเห็นบริษัทที่มีรหัส 3721 หมายถึงบริษัทนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเครื่องบิน เป็นต้น.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และStandard Industrial Classification · ดูเพิ่มเติม »

Б

Be (Б, б) เป็นอักษรตัวที่ 2 ในอักษรซีริลลิก ออกเสียงเป็น // เหมือนกับ b ในภาษาอังกฤษหรือ บ ในภาษาไทย ในภาษารัสเซียบางครั้งอักษรตัวนี้อ่านเป็น // ที่ไร้เสียงที่ตำแหน่งสุดท้ายของคำหรือพยัญชนะที่ไม่ออกเสียง หรืออ่านเป็น // ที่หน้าเสียงสระซึ่งเลื่อนไปทางเพดานแข็งในช่องปาก ตัวอักษรนี้มีลักษณะคล้ายเลข 6 และไม่ควรจำสับสนกับ Ve (В, в) ที่ซึ่งมีรูปร่างเหมือนอักษรละติน B อักษรทั้งสองนี้ต่างก็มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก บีตา เหมือนกัน เมื่อตัวอักษรนี้ถูกเขียนด้วยลายมือ อักษร б ตัวเล็กจะดูคล้ายกับอักษรกรีก เดลตา ตัวเล็ก (δ) ชื่อเดิมของตัวอักษรนี้คือ bukū และไม่มีค่าทางตัวเลข เนื่องจากอักษร В ได้รับการนับเลขซีริลลิกจากอักษรกรีกไปแล้ว ดังนั้นอักษร Б จึงไม่มีค่าใ.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และБ · ดูเพิ่มเติม »

142857

142857 คือชุดตัวเลขหกหลักในทศนิยมซ้ำของ นั่นคือ 0.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และ142857 · ดูเพิ่มเติม »

7 สีคอนเสิร์ตออนทัวร์

7 สีคอนเสิร์ตออนทัวร์ เป็นรายการพิเศษทางโทรทัศน์ ที่ดำเนินการถ่ายทอดสด บางส่วนของการแสดงดนตรี (คอนเสิร์ต) ซึ่งสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 จัดขึ้นโดยสัญจรไปตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ อย่างไม่เป็นประจำทุกสัปดาห์ อันสืบเนื่องจากรายการ 7 สีคอนเสิร์ต ที่ถ่ายทอดสดการแสดงทั้งหมด ซึ่งจัดขึ้นในสถานที่ประจำทุกวันเสาร์ ระหว่างเวลาประมาณ 12:00-13:00 น. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จนถึงปี พ.ศ. 2558 เป็นระยะเวลารวม 29 ปี 2 เดือนเศษ, 20 มีนาคม 2558, ประชาชาติธุรกิจออนไลน.

ใหม่!!: เลข (แก้ความกำกวม)และ7 สีคอนเสิร์ตออนทัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ตัวเลขเลข

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »