สารบัญ
14 ความสัมพันธ์: การรับรู้รสระบบรู้กลิ่นหน่วยรับกลิ่นหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีนตัวกระตุ้นต่อมรับกลิ่นป่องรู้กลิ่นแบบสิ่งเร้าโกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)เซลล์พยุงเซลล์รอบโกลเมอรูลัสเซลล์รับกลิ่นเนื้อเยื่อบุผิวTufted cell
การรับรู้รส
ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.
ดู เยื่อบุผิวรับกลิ่นและการรับรู้รส
ระบบรู้กลิ่น
ระบบรู้กลิ่น หรือ ระบบรับกลิ่น (olfactory system) เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกที่ใช้เพื่อรับกลิ่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลานโดยมากจะมีทั้งระบบรับกลิ่นหลัก (main olfactory system) และระบบรับกลิ่นเสริม (accessory olfactory system) ระบบหลักจะรับกลิ่นจากอากาศ ส่วนระบบเสริมจะรับกลิ่นที่เป็นน้ำ ประสาทสัมผัสเกี่ยวกับกลิ่นและรสชาติ บ่อยครั้งเรียกรวมกันว่าระบบรับรู้สารเคมี (chemosensory system) เพราะทั้งสองให้ข้อมูลแก่สมองเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งเร้าผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) กลิ่นช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและแหล่งอาหาร เกี่ยวกับความสุขหรืออันตรายที่อาจได้จากอาหาร เกี่ยวกับอันตรายที่สารอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อมอาจมี ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ผู้อื่น และสัตว์ชนิดอื่น ๆ กลิ่นมีผลทางสรีรภาพโดยเริ่มกระบวนการย่อยอาหารและการใช้พลังงาน มีบทบาทในการสืบพันธุ์ การป้องกันตัว และพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหาร ในสัตว์บางชนิด มีบทบาทสำคัญทางสังคมเพราะตรวจจับฟีโรโมนซึ่งมีผลทางสรีรภาพและพฤติกรรม ในทางวิวัฒนาการแล้ว ระบบรับกลิ่นเป็นประสาทสัมผัสที่เก่าแก่ที่สุด แม้จะเป็นระบบที่เข้าใจน้อยที่สุดในบรรดาประสาทสัมผัสทั้งหมด ระบบรับกลิ่นจะอาศัยหน่วยรับกลิ่น (olfactory receptor) ซึ่งเป็นโปรตีนหน่วยรับความรู้สึกแบบ G protein coupled receptor (GPCR) และอาศัยกระบวนการส่งสัญญาณทางเคมีที่เกิดตามลำดับภายในเซลล์ซึ่งเรียกว่า second messenger system เพื่อถ่ายโอนข้อมูลกลิ่นเป็นกระแสประสาท หน่วยรับกลิ่นจะแสดงออกอยู่ที่เซลล์ประสาทรับกลิ่นในเยื่อรับกลิ่นในโพรงจมูก เมื่อหน่วยรับกลิ่นต่าง ๆ ทำงานในระดับที่สมควร เซลล์ประสาทก็จะสร้างศักยะงานส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบประสาทกลางเริ่มตั้งแต่ป่องรับกลิ่น ซึ่งก็จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเป็นต้นของสัตว์ นักเคมีเกี่ยวกับกลิ่นก็ประเมินว่า มนุษย์อาจสามารถแยกแยะกลิ่นระเหยได้ถึง 10,000 รูปแบบ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับของหอมอาจแยกแยะกลิ่นได้ถึง 5,000 ชนิด และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับไวน์อาจแยกแยะส่วนผสมได้ถึง 100 อย่าง โดยสามารถรู้กลิ่นต่าง ๆ ในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ กัน เช่น สามารถรู้สารกลิ่นหลักของพริกชี้ฟ้า คือ 2-isobutyl-3-methoxypyrazine ในอากาศที่มีความเข้มข้น 0.01 นาโนโมล ซึ่งประมาณเท่ากับ 1 โมเลกุลต่อ 1,000 ล้านโมเลกุลของอากาศ สามารถรู้กลิ่นเอทานอลที่ความเข้มข้น 2 มิลลิโมล และสามารถรู้กลิ่นโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกันเล็กน้อยในระดับโมเลกุล เช่น กลิ่นของ D-carvone จะต่างจากของ L-carvone โดยมีกลิ่นเหมือนกับเทียนตากบและมินต์ตามลำดับ ถึงกระนั้น การได้กลิ่นก็พิจารณาว่าเป็นประสาทสัมผัสที่แย่ที่สุดอย่างหนึ่งในมนุษย์ โดยมีสัตว์อื่น ๆ ที่รู้กลิ่นได้ดีกว่า เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกินกว่าครึ่ง ซึ่งอาจเป็นเพราะมนุษย์มีประเภทหน่วยรับกลิ่นที่น้อยกว่า และมีเขตในสมองส่วนหน้าที่อุทิศให้กับการแปลผลข้อมูลกลิ่นที่เล็กกว่าโดยเปรียบเที.
ดู เยื่อบุผิวรับกลิ่นและระบบรู้กลิ่น
หน่วยรับกลิ่น
รงสร้างของ rhodopsin ซึ่งเป็น G protein-coupled receptor ที่หน่วยรับกลิ่นจะมีโครงสร้างคล้าย ๆ doi.
ดู เยื่อบุผิวรับกลิ่นและหน่วยรับกลิ่น
หน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน
รงสร้างแบบ α-helix โดยมีโดเมนข้ามเยื่อหุ้มเซลล์ 7 โดเมนของ G protein-coupled receptor หน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน (G protein-coupled receptors ตัวย่อ GPCRs) ที่มีชื่ออื่น ๆ อีกว่า seven-(pass)-transmembrane domain receptors, 7TM receptors, heptahelical receptors, serpentine receptor, และ G protein-linked receptors (GPLR), เป็นกลุ่ม (family) โปรตีนหน่วยรับ (receptor) กลุ่มใหญ่ ที่ตรวจจับโมเลกุลนอกเซลล์ แล้วจุดชนวนวิถีการถ่ายโอนสัญญาณ (signal transduction) ภายในเซลล์ ซึ่งในที่สุดมีผลเป็นการตอบสนองของเซลล์ เป็นหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน (G protein) ที่เรียกว่า seven-transmembrane receptor เพราะมีโครงสร้างที่ข้ามผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ถึง 7 ครั้ง GPCRs จะพบแต่ในยูแคริโอตรวมทั้งยีสต์, choanoflagellate, และสัตว์ ลิแกนด์ที่จับและเริ่มการทำงานของหน่วยรับเช่นนี้รวมทั้งสารประกอบไวแสง กลิ่น ฟีโรโมน ฮอร์โมน และสารสื่อประสาท โดยมีขนาดต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่โมเลกุลเล็ก ๆ จนถึงเพปไทด์และโปรตีนขนาดใหญ่ GPCRs มีบทบาทในโรคหลายอย่าง และเป็นเป้าหมายการออกฤทธิ์ของยาปัจจุบันประมาณ 34% มีวิถีการถ่ายโอนสัญญาณสองอย่างเกี่ยวกับ GPCRs คือ.
ดู เยื่อบุผิวรับกลิ่นและหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน
ตัวกระตุ้น
ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.
ดู เยื่อบุผิวรับกลิ่นและตัวกระตุ้น
ต่อมรับกลิ่น
ต่อมรับกลิ่น หรือ ต่อมของโบว์แมน (Olfactory gland, Bowman's gland) อยู่ที่เยื่อเมือกรับกลิ่น (olfactory mucosa) ใต้เยื่อบุผิวรับกลิ่นภายในชั้น lamina propria ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ยังมีเซลล์สร้างเส้นใย (fibroblast) เส้นเลือด และมัดแอกซอนเล็ก ๆ จากเซลล์ประสาทรับกลิ่นด้วย ต่อมประกอบด้วยกระเปาะ acinus ภายในชั้น lamina propria และท่อหลั่งซึ่งวิ่งไปออกที่เยื่อรับกลิ่น งานศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแสดงว่า ต่อมมีเซลล์ที่มีถุงหลั่งขนาดใหญ่ ต่อมจะหลั่งโปรตีนกลุ่ม mucin คือ MUC5AC (UniProtKB: P98088) ที่สร้างวุ้น และอาจหลั่งโปรตีนเช่น lysozyme, amylase, และอิมมูโนโกลบูลินเอ (IgA) คล้ายกับต่อมหลั่งน้ำใส (serous gland) องค์ประกอบของสารคัดหลั่งจากต่อมยังไม่ชัดเจน แต่ก็มีหลักฐานว่ามันผลิตโปรตีนที่จับกับโมเลกุลกลิ่นด้ว.
ดู เยื่อบุผิวรับกลิ่นและต่อมรับกลิ่น
ป่องรู้กลิ่น
granule cell #granule cell --> ป่องรู้กลิ่น หรือ ป่องรับกลิ่น (olfactory bulb, bulbus olfactorius, ตัวย่อ OB) เป็นโครงสร้างทางประสาทแบบเป็นชั้น ๆ ที่สมองส่วนหน้าของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (โดยในมนุษย์จะอยู่ที่ด้านหน้าส่วนล่าง) ซึ่งมีบทบาทในการได้กลิ่น ป่องรับกลิ่นรับข้อมูลขาเข้ามาจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นที่เยื่อรับกลิ่นซึ่งบุโพรงจมูกเป็นบางส่วน แล้วส่งข้อมูลขาออกผ่านลำเส้นใยประสาท lateral olfactory tract ไปยังเปลือกสมองส่วนการรู้กลิ่น แม้การแปลผลกลิ่นอย่างแม่นยำของป่องรู้กลิ่นจะยังไม่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่ามันทำหน้าที่เป็นตัวกรอง/ฟิลเตอร์ ที่อาจมีบทบาทต่าง ๆ รวมทั้ง แยกแยะกลิ่น, เพิ่มความไวการตรวจจับกลิ่น, กรองกลิ่นพื้นหลังเพื่อเพิ่มสัญญาณกลิ่นที่เลือก, และอำนวยให้สมองระดับสูงควบคุมระดับสัญญาณจากป่องรับกลิ่นตามสภาวะทางสรีรภาพของสัตว.
ดู เยื่อบุผิวรับกลิ่นและป่องรู้กลิ่น
แบบสิ่งเร้า
แบบสิ่งเร้า หรือ แบบความรู้สึก (Stimulus modality, sensory modality) เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของสิ่งเร้า หรือเป็นสิ่งที่เรารับรู้เนื่องจากสิ่งเร้า ยกตัวอย่างเช่น เราจะรู้สึกร้อนหรือเย็นหลังจากมีการเร้าตัวรับอุณหภูมิของระบบรับความรู้สึกทางกาย เช่น ด้วยวัตถุที่ร้อน แบบสิ่งเร้าบางอย่างรวมทั้งแสง เสียง อุณหภูมิ รสชาติ แรงดัน กลิ่น และสัมผัส ประเภทและตำแหน่งของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่ทำงานเนื่องจากสิ่งเร้า จะเป็นตัวกำหนดการเข้ารหัสความรู้สึก แบบความรู้สึกต่าง ๆ อาจทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มความชัดเจนของสิ่งเร้าเมื่อจำเป็น.
ดู เยื่อบุผิวรับกลิ่นและแบบสิ่งเร้า
โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)
กลเมอรูลัส (glomerulus พหูพจน์ glomeruli) เป็นโครงสร้างนิวโรพิลรูปกลมในป่องรับกลิ่นของสมอง เป็นที่เกิดไซแนปส์ระหว่างปลายฆานประสาท (olfactory nerve) และเดนไดรต์ของเซลล์ไมทรัล, ของเซลล์ประสาทรอบโกลเมอรูลัส (periglomerular cell), และของ tufted cell โกลเมอรูลัสแต่ละอันจะล้อมรอบไปด้วยเซลล์ประสาทใกล้ ๆ รวมทั้งเซลล์ประสาทรอบโกลเมอรูลัส, เซลล์แอกซอนสั้น (short axon), tufted cell ส่วนนอก, และเซลล์เกลีย โกลเมอรูลัสทั้งหมดจะอยู่ใกล้ส่วนผิวของป่องรับกลิ่น แต่ป่องรับกลิ่นก็ยังรวมส่วนหนึ่งของ anterior olfactory nucleus ซึ่งก็ส่งแอกซอนไปทาง olfactory tract ด้วย โกลเมอรูลัสเป็นส่วนแรกที่ประมวลผลข้อมูลกลิ่นที่มาจากจมูกผ่านการเชื่อมต่อของไซแนปส์ ประกอบด้วยแอกซอนที่รวมตัวกันจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นเป็นพัน ๆ ตัว และประกอบด้วยเดนไดรต์จากเซลล์ไมทรัล, tufted cell, กับเซลล์อื่น ๆ ที่อยู่รอบ ๆ โกลเมอรูลัสรวมทั้ง tufted cell ส่วนนอก, เซลล์ประสาทรอบโกลเมอรูลัส, short axon cell, และแอสโทรไซต์ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โกลเมอรูลัสปกติจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 50-120 ไมโครเมตร (100-200) และมีจำนวนระหว่าง 1,100-2,400 อันขึ้นอยู่กับสปีชีส์ โดยมนุษย์มี 1,100-1,200 อัน จำนวนโกลเมอรูลัสในมนุษย์จะลดลงตามอายุ มนุษย์อายุมากกว่า 80 ปีเกือบจะไม่มีเลย โกลเมอรูลัสแต่ละอันอาจแบ่งเป็นสองเขต คือเขตประสาทรับกลิ่น (olfactory nerve zone) และเขตที่ไม่ใช่เซลล์ประสาทรับลิ่น (non-olfactory nerve zone) เขตประสาทรับกลิ่นมีทั้งเส้นประสาทส่วนก่อนปลายและส่วนปลาย เป็นที่ที่เซลล์ประสาทรับกลิ่นสร้างไซแนปส์เพื่อเชื่อมกับเซลล์เป้าหมาย เขตที่ไม่ใช่เซลล์ประสาทรับกลิ่นประกอบด้วยการเชื่อมต่อทำงานประสานกันระหว่างเดนไดรต์-เดนไดรต์ของเซลล์ประสาทในป่องรับกลิ่นต่าง.
ดู เยื่อบุผิวรับกลิ่นและโกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)
เซลล์พยุง
มโครกราฟที่เน้นสีเซลล์พยุงในพาราแกงกริโอมา (paraganglioma) แต้มสีด้วยเทคนิค S100 immunostain เซลล์พยุง (sustentacular cell) เป็นเซลล์ชนิดหนึ่งที่โดยหลักทำหน้าที่พยุงโครงสร้าง เช่น Sertoli cell ในอัณฑะ ซึ่งอยู่ตามผนังของหลอดสร้างอสุจิ (seminiferous tubule) ที่ช่วยส่งสารอาหารให้ตัวอสุจิด้วย อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือเซลล์พยุงที่อยู่ในเยื่อบุผิวรับกลิ่น แม้อวัยวะของคอร์ติในหูชั้นในและตุ่มรับรสก็มีเซลล์พยุงด้วย เซลล์พยุงอีกประเภทหนึ่งพบในเซลล์โกลมัสของ carotid body และ aortic body พยาธิสภาพก็สามารถมีเซลล์พยุงได้เหมือนกัน เช่น เนื้องอกคาร์ซินอยด์ประมาณ 40% จะมีเซลล์พยุงกระจายไปทั่ว ซึ่งสามารถป้ายสีด้วยเทคนิค S100 immunostain.
ดู เยื่อบุผิวรับกลิ่นและเซลล์พยุง
เซลล์รอบโกลเมอรูลัส
ซลล์รอบโกลเมอรูลัส (Periglomerular cell) เป็นเซลล์ประสาทในป่องรับกลิ่นของสมอง ซึ่งเมื่อร่วมกับ granule cell จะเป็นตัวอำนวยการยับยั้งจากเซลล์ด้านข้าง (lateral inhibition) ของข้อมูลกลิ่นที่ป่องรับกลิ่นได้รับ ประมวลผล และส่งต่อ เป็นเซลล์ที่มีเดนไดรต์อยู่ในโกลเมอรูลัสของป่องรับกลิ่น ซึ่งรับข้อมูลจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นที่เยื่อรับกลิ่นในโพรงจมูก เป็นเซลล์ที่มีไซแนปส์แบบยับยั้ง (inhibitory) กับเซลล์ไมทรัล และ tufted cell โดยมีทั้งแบบใช้สารสื่อประสาทกาบาและโดพามีน เซลล์รอบโกลเมอรูลัสเป็น interneuron ที่หนาแน่นทีสุดในชั้นโกลเมอรูลัสของป่องรับกลิ่น เป็นเซลล์ขนาด 6-8 ไมโครเมตรที่ล้อมและกำหนดขอบเขตโกลเมอรูลัส ปกติจะมีเดนไดรต์อยู่ที่โกลเมอรูลัสอันเดียว แม้จะมีข้อยกเว้นคือโกลเมอรูลัสหลายอันอาจได้เดนไดรต์จากเซลล์ตัวเดียว ซึ่งอาจจะยื่นออกไปไกลเป็นระยะ 3-6 โกลเมอรูลั.
ดู เยื่อบุผิวรับกลิ่นและเซลล์รอบโกลเมอรูลัส
เซลล์รับกลิ่น
แผนภาพของเซลล์ประสาทรับกลิ่น เซลล์ประสาทรับกลิ่น (olfactory receptor neuron ตัวย่อ ORN, olfactory sensory neuron ตัวย่อ OSN) เป็นเซลล์ที่ถ่ายโอนกลิ่นเป็นกระแสประสาทภายในระบบรับกลิ่น เป็นเซลล์ที่อยู่ภายในเยื่อรับกลิ่นที่บุบางส่วนของโพรงจมูก (ประมาณ 5 ซม2 ในมนุษย์) บริเวณยอดเซลล์จะมีเส้นขนเล็ก ๆ (olfactory cilia) ที่ทำหน้าที่จับโมเลกุลกลิ่นจากสิ่งแวดล้อมที่เข้ามาภายในรูจมูก เซลล์จะถ่ายโอนกลิ่นเป็นกระแสประสาทแล้วส่งผ่านเส้นประสาทรับกลิ่น (olfactory nerve) ซึ่งวิ่งผ่านรูในกระดูก cribriform plate เหนือโพรงจมูกขึ้นไปยังป่องรับกลิ่นในสมอง การรับกลิ่นของมนุษย์จะไม่พัฒนาเทียบเท่ากับสัตว์บางชนิดเช่นสุนัข ซึ่งมีประสาทรับกลิ่นที่ดีเยี่ยม.
ดู เยื่อบุผิวรับกลิ่นและเซลล์รับกลิ่น
เนื้อเยื่อบุผิว
นื้อเยื่อบุผิว (Epithelium) เป็นเนื้อเยื่อพื้นฐานหนึ่งในสี่ชนิดของสัตว์ ร่วมกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อประสาท เนื้อเยื่อบุผิวบุโพรงและพื้นผิวของโครงสร้างทั่วร่างกาย และยังเกิดเป็นต่อมจำนวนมาก หน้าที่ของเซลล์บุผิวรวมไปถึงการหลั่ง การเลือกดูดซึม การป้องกัน การขนส่งระหว่างเซลล์และการตรวจจับการรู้สึก ชั้นเนื้อเยื่อบุผิวนั้นไร้หลอดเลือด ฉะนั้น เนื้อเยื่อบุผิวจึงได้รับอาหารผ่านการแพร่ของสสารจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ข้างใต้ ผ่านเยื่อฐาน เนื้อเยื่อบุผิวสามารถจัดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อได้.
ดู เยื่อบุผิวรับกลิ่นและเนื้อเยื่อบุผิว
Tufted cell
Tufted cell เป็นเซลล์ประสาทสามกลุ่มในป่องรับกลิ่น คือ ส่วนนอก (external) ส่วนกลาง (middle) และส่วนลึก (deep) ส่วนนอกอยู่ที่โกลเมอรูลัสของป่องรับกลิ่นและเชื่อมต่อกับเซลล์อื่น ๆ ภายในป่อง ส่วนกลางและส่วนลึกอยู่ในชั้น external plexiform ของป่อง โดยมีการจัดระเบียบและการส่งแอกซอนไปยังเขตสมองที่สูงกว่าคล้ายกับของเซลล์ไมทรัล เซลล์ได้รับข้อมูลแบบเร้าจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นในเยื่อรับกลิ่นที่บุบางส่วนของโพรงจมูก เซลล์ส่วนกลางและส่วนลึกเป็น projection neuron ของป่องรับกลิ่นเหมือนกับเซลล์ไมทรัล และเป็นตัวส่งข้อมูลจากโกลเมอรูลัสไปยังส่วนต่อ ๆ ไปของสมอง ข้อมูลที่ส่งอาจปรับให้ชัดหรือกรองผ่านกระบวนการที่เรียกว่า lateral inhibition (การยับยั้งจากเซลล์ข้าง ๆ) ซึ่ง internueron ในป่องรับกลิ่นที่เรียกว่า เซลล์รอบโกลเมอรูลัส (periglomerular cell) และ granule cell เป็นตัวอำนวย ดังนั้น projection neuron เหล่านี้จริง ๆ จึงส่งข้อมูลกลิ่นที่ปรับให้ชัดขึ้นไปยังส่วนลึกขึ้น ๆ ในสมอง.
ดู เยื่อบุผิวรับกลิ่นและTufted cell
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Nasal mucosaOlfactory epitheliumOlfactory musaเยื่อรับกลิ่นเนื้อเยื่อบุผิวรับกลิ่น