โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เยาวภา บุรพลชัย

ดัชนี เยาวภา บุรพลชัย

วภา บุรพลชัย (เกิด: 6 กันยายน พ.ศ. 2527) นักกีฬาเทควันโดหญิงทีมชาติไทย เจ้าของเหรียญทองแดงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2004 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ จากการแข่งขันในรุ่น 47-51 กิโลกรัม ที่ต่อมาเยาวภาได้เปลี่ยนกีฬาอาชีพไปเป็นกีฬาฟันดาบสากล.

12 ความสัมพันธ์: บุตรี เผือดผ่องชเว ย็อง-ซ็อกพ.ศ. 2527พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจรังสิญา นิสัยสมสิงหาคม พ.ศ. 2547ประเทศไทยในโอลิมปิกประเทศไทยในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004ปิยะพงษ์ ผิวอ่อนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรีTonight's The Night คืนสำคัญ6 กันยายน

บุตรี เผือดผ่อง

ตรี เผือดผ่อง เกิดวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2533 เป็นนักกีฬาเทควันโดชาวไทย ได้รับเหรียญเงินในการแข่งขันโอลิมปิกครั้งที่ 29 รุ่น 49 กิโลกรัม มีภาพยนตร์สั้นที่กล่าวถึงบุตรี เผือดผ่อง ในปี 2552 ไม่ทราบว่าใครสร้าง แต่คาดว่าสร้างโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ บุตรี เผือดผ่อง เคยถ่ายโฆษณาของการกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งออกอากาศทางช่อง T-Sports.

ใหม่!!: เยาวภา บุรพลชัยและบุตรี เผือดผ่อง · ดูเพิ่มเติม »

ชเว ย็อง-ซ็อก

ว ย็อง-ซ็อก หรือ โค้ชเช เกิดวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2517 ที่ซองนัม ประเทศเกาหลีใต้ เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย ช่วยพัฒนากีฬาจากที่เป็นอันดับท้ายๆ ของโลกก้าวมาสู่ 1-10 ของโลก ผลงานสำคัญ คือ นำทีมนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันในเอเชียนเกมส์และโอลิมปิกเกมส์จนสร้างผลงานโดดเด่นได้รับเหรียญรางวัลมากมายอย่างต่อเนื่องรวมถึงในระดับเยาวชนโลก ทั้งเทวินทร์ หาญปราบ เหรียญเงินโอลิมปิกที่บราซิลในปี 2016, บุตรี เผือดผ่อง เหรียญเงินโอลิมปิกที่จีนในปี 2008, พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ เหรียญทองแดงโอลิมปิกที่บราซิลในปี 2016, ชนาธิป ซ้อนขำ เหรียญทองแดงโอลิมปิกที่อังกฤษในปี 2012 และเหรียญทองเอเชียนเกมส์ที่กว่างโจว ในปี 2010, เยาวภา บุรพลชัย เหรียญทองแดงโอลิมปิกที่เอเธนส์ในปี 2004, สริตา ผ่องศรี และชัชวาล ขาวละออ เหรียญทองเอเชียนเกมส์ที่กว่างโจว รวมถึงสร้างแชมป์โลกเทควันโดชาวไทยถึงสี่คน ได้แก่ รังสิญา นิสัยสม, ชัชวาล ขาวละออ, ชนาธิป ซ้อนขำ และพาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ จากผลงานในโอลิมปิก 2004 ทำให้โค้ชเชได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550 ณ กระทรวงการต่างประเทศ และโค้ชเชได้ชื่อไทยคือ "ชัยศักดิ์"และได้ใช้ชื่อนี้มาจนกระทั่งปัจจุบัน ใน..

ใหม่!!: เยาวภา บุรพลชัยและชเว ย็อง-ซ็อก · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2527

ทธศักราช 2527 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1984 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เยาวภา บุรพลชัยและพ.ศ. 2527 · ดูเพิ่มเติม »

พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ

ณิภัค วงศ์พัฒนกิจ (ชื่อเล่น: เทนนิส; เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2540) เป็นนักเทควันโดหญิงทีมชาติไทย แชมป์เทควันโดโลกปี 2015 รุ่นไม่เกิน 46 กก.หญิง ซึ่งเป็นแชมป์เทควันโดโลกคนที่ 4 ของไทย และเจ้าของเหรียญทองแรกจากกีฬาเทควันโด รุ่นเยาวชนหญิง ไม่เกิน 44 กก.

ใหม่!!: เยาวภา บุรพลชัยและพาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ · ดูเพิ่มเติม »

รังสิญา นิสัยสม

รังสิญา นิสัยสม (ชื่อเล่น: จูน) เกิดวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2537 นักเทควันโดหญิงทีมชาติไทย เป็นนักกีฬาเทควันโดจากจังหวัดชลบุรี และแชมป์เทควันโดโลก ปี 2011 รุ่นไม่เกิน 62 กก.หญิง โดยคว้าเหรียญทองประวัติศาสตร์แรกให้กับวงการเทควันโดไทย หลังจากที่ทางสมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทยรอคอยมานานถึง 32 ปีเต็ม เป็นหนึ่งในนักกีฬาเทควันโดที่เข้าร่วมการแข่งขัน "โอลิมปิกเกมส์ 2012" รุ่นไม่เกิน 57 กก.หญิง ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ.

ใหม่!!: เยาวภา บุรพลชัยและรังสิญา นิสัยสม · ดูเพิ่มเติม »

สิงหาคม พ.ศ. 2547

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เยาวภา บุรพลชัยและสิงหาคม พ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทยในโอลิมปิก

ประเทศไทยเข้าร่วมกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกในโอลิมปิกฤดูร้อน 1952 และได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมโอลิมปิกฤดูร้อนทุกครั้งตั้งแต่นั้นมา ยกเว้นในโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 ซึ่งไทยได้ร่วมการคว่ำบาตรที่นำโดยสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยยังได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งแรกในปี ค.ศ. 2002 นับตั้งแต่ประเทศไทยส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันครั้งแรก นักกีฬาไทยได้เหรียญรางวัลรวมทั้งหมด 33 เหรียญ โดยแบ่งเป็น 9 เหรียญทอง 8 เหรียญเงิน 16 เหรียญทองแดง.

ใหม่!!: เยาวภา บุรพลชัยและประเทศไทยในโอลิมปิก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทยในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004

ประเทศไทยในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ครั้งนี้ประเทศไทยประสบความสำเร็จมากที่สุดที่เคยเข้าแข่งขันม.

ใหม่!!: เยาวภา บุรพลชัยและประเทศไทยในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 · ดูเพิ่มเติม »

ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน

นาวาอากาศโท ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน เกิดวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เป็นนักฟุตบอลชาวไทย ซึ่งเล่นให้กับฟุตบอลทีมชาติไทยหลายนัด รวมถึงเป็นผู้ที่ทำประตูสูงสุดในประวัติศาสตร์ทีมชาติไทยรวมนัดที่ฟีฟ่าไม่ได้รับรอง ที่ 103 ประตู (สถิติที่ฟีฟ่ารับรองคือ 15 ประตู จากการลงสนามให้ทีมชาติ 33 นัด) นอกจากนี้ เขายังร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง "เกิดมาลุย" ใน..

ใหม่!!: เยาวภา บุรพลชัยและปิยะพงษ์ ผิวอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี

รงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี (Suankularb Wittayalai Nonthaburi School; อักษรย่อ: ส.ก.น., S.K.N.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทสหศึกษา ในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ลำดับที่สอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมสามัญศึกษา (ปัจจุบัน: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ได้รับบริจาคที่ดิน จากนายผาสุก และนางเง็ก มณีจักร สองสามีภรรยา คหบดีชาวอำเภอปากเกร็ด ที่มีความประสงค์ให้สร้างโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย บนพื้นที่ดังกล่าว จึงเกิดการประสานงานจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2521 เดิมให้ชื่อไว้ว่า “โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ๒ (ผาสุก มณีจักร)” และมอบหมายให้ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รักษาราชการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน จนถึงปลายปีถัดมา จึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียน เป็นชื่อที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และในปีเดียวกัน นางอัมพา แสนทวีสุข ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก และเลื่อนฐานะขึ้นเป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนฯ ในเวลาต่อมา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด อาคารเรียน “สธ ๑, สธ ๒ และ สธ ๓” เมื่อกลางปี พ.ศ. 2525 และปลายปี พ.ศ. 2529 ตามลำดับ รวมทั้งพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อกลางปี พ.ศ. 2555 ตลอดจนโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอาคารเรียน “สธ ๔” และอาคารหอประชุม “สิรินธราลัย” ด้วย นอกจากนี้ โรงเรียนฯ ยังได้รับรางวัลสถานศึกษาพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2532 และ 2544 และในปี พ.ศ. 2541 นักเรียนของโรงเรียนฯ ยังได้รับรางวัลเหรียญทองแดง จากการเข้าร่วมการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก ที่ประเทศอิตาลี ในฐานะผู้แทนประเทศไทย ขณะที่นักกีฬาของโรงเรียนฯ ได้รับรางวัลเหรียญทอง ในฐานะผู้แทนทีมชาติไทย จากการเข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 อีกด้วย จากเว็บไซต์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรีหนังสืออนุสรณ์ 24 ปี สวนกุหลาบนนท์ 2521-2545 30 มีนาคม พ.ศ. 2545 ซุ้มประตูทางเข้าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี (ประดับประดาด้วยไฟสวยงาม เนื่องในงาน “ราตรีกุหลาบนนท์”) ด้านหลังซุ้มประตูคือ อาคารบริหารกิจการนักเรียนและประชาสัมพันธ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ถือกำเนิดขึ้น โดยเจตจำนงของผาสุก และเง็ก มณีจักร คหบดีชาวปากเกร็ดสองสามีภรรยา ซึ่งมีบุตรชายและหลานชายเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย บริจาคที่ดินบริเวณใกล้กับถนนติวานนท์เป็นจำนวน 25 ไร่ 1 งาน 18 ตารางวา เพื่อสร้างโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อต้นปีการศึกษา 2520 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งคือ สุวรรณ จันทร์สม อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ผู้อำนวยการกองการมัธยมศึกษาในขณะนั้น, สมพงษ์ พูลสวัสดิ์ และกว้าง รอบคอบ อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา ขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนปากเกร็ด เป็นผู้ประสานงานจัดตั้ง ในระยะเริ่มแรก โรงเรียนยังไม่มีอาคารเรียนถาวร มีเพียงที่ดินซึ่งกำลังถมและปรับสภาพ จึงต้องไปอาศัยใช้โรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ เป็นสถานที่ในการรับสมัครเข้าเรียน และเมื่อกระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งโรงเรียนฯ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม..

ใหม่!!: เยาวภา บุรพลชัยและโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

Tonight's The Night คืนสำคัญ

Tonight's The Night คืนสำคัญ เป็นรายการวาไรตี้ทอล์คโชว์แบบเลทไนท์รายการแรกและรายการเดียวในประเทศไทยทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ออกอากาศเทปแรกวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559 เป็นรูปแบบรายการสดครั้งแรกในทุกค่ำคืนวันเสาร์ เวลา 23.30 - 00.30 น. ออกอากาศหลังจบรายการ ข่าว 3 มิติ สร้างโดย บริษัท เน็ก แอนด์ เดอะ ซิตี้ จำกัด (NAKE AND THE CITY CO., LTD.) โดยออกอากาศเทปสุดท้ายของรายการไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยพิธีกรเครางามแห่งสยามประเทศ เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อ.

ใหม่!!: เยาวภา บุรพลชัยและTonight's The Night คืนสำคัญ · ดูเพิ่มเติม »

6 กันยายน

วันที่ 6 กันยายน เป็นวันที่ 249 ของปี (วันที่ 250 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 116 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เยาวภา บุรพลชัยและ6 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »