โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เป็ดแมลลาร์ด

ดัชนี เป็ดแมลลาร์ด

ป็ดแมลลาร์ด หรือ เป็ดหัวเขียว (mallard, wild duck) เป็นสัตว์ปีกจำพวกเป็ดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) เป็ดแมลลาร์ดมีลักษณะเหมือนเป็ดทั่วไป แต่มีลักษณะเด่น คือ ตัวผู้บริเวณหัวและคอสีเขียวเข้ม มีแถบสีขาวรอบคอ อกสีน้ำตาลแกมน้ำตาลแดงเข้ม ลำตัวด้านบนสีเทาแกมน้ำตาลอ่อน ตะโพกและขนคลุมโคนขนหางด้านบนเป็นสีดำ ขนหางสีออกขาว ท้องมีสีจางกว่าลำตัวด้านบน ปากสีเหลืองแกมเขียว ขาสีส้ม ขาของตัวเมียเป็นลายสีน้ำตาล มีแถบคาดตาสีดำ ปีกมีแววขนปีกสีน้ำเงิน ปากสีออกน้ำตาลมักมีขอบสีเหลืองหรือสีส้ม ขนหางสีจางกว่าขนคลุมโคนขนหางด้านบน กินทั้งได้พืชและสัตว์ มีความยาวเมื่อโตเต็มที่จากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 50-60 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป, ตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย ส่วนในนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย มีผู้นำเข้าไปเผยแพร่จากประเทศอังกฤษ ส่วนในประเทศไทยถือเป็นนกอพยพ แต่ไม่พบรายงานการวางไข่ของเป็ดชนิดนี้ มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีจำนวนสมาชิกประมาณ 50-60 ตัว ตามแหล่งน้ำทั่วไป และอาจจะรวมฝูงเข้ากับนกชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน หากินในเวลากลางคืน ส่วนในเวลากลางวันจะว่ายน้ำพักผ่อนในแหล่งน้ำตื้น อาจกินสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เข้าไปด้วย มีนิสัยตื่นตกใจง่าย มีความตื่นตัวระแวดระวังภัยสูง สามารถบินขึ้นจากน้ำได้อย่างรวดเร็ว เป็ดแมลลาร์ด ถือเป็นต้นสายพันธุ์ของเป็ดที่เลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์อย่างในปัจจุบันนี้ และมีบางส่วนเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม และถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

9 ความสัมพันธ์: ชนิดใกล้สูญพันธุ์การเกิดสปีชีส์รายชื่อนกที่พบในประเทศไทยวงศ์ย่อยนกเป็ดน้ำวงศ์นกเป็ดน้ำอาหารไอนุเป็ดเป็ดบ้านGene flow

ชนิดใกล้สูญพันธุ์

ันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ คือสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ วลีนี้ถูกใช้เรียกอย่างคลุมเครือถึงสปีชีส์ที่มีคำอธิบายเป็นดังข้างต้น แต่สำหรับนักชีววิทยาอนุรักษ์จะหมายถึงสปีชีส์ที่อยู่ในกลุ่มใกล้การสูญพันธุ์ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งเป็นสถานะการอนุรักษ์ที่มีความร้ายแรงเป็นลำดับที่สอง รองจากกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ ปัจจุบันมีสัตว์และพืช 3079 และ 2655 ชนิดตามลำดับที่จัดอยู่ในกลุ่มใกล้สูญพันธุ์ เทียบกับในปี..

ใหม่!!: เป็ดแมลลาร์ดและชนิดใกล้สูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การเกิดสปีชีส์

การเกิดสปีชีส์ หรือ การเกิดชนิด (Speciation) เป็นกระบวนการทางวิวัฒนาการที่กลุ่มประชากรสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการเป็นสปีชีส์ต่าง ๆ กัน นักชีววิทยาชาวอเมริกันออเรเตอร์ เอฟ คุ๊ก (Orator F. Cook) ได้บัญญัติคำภาษาอังกฤษว่า speciation ในปี 1906 โดยหมายการแยกสายพันธุ์แบบ cladogenesis (วิวัฒนาการแบบแยกสาย) ไม่ใช่ anagenesis (วิวัฒนาการแบบสายตรง) หรือ phyletic evolution ซึ่งเป็นวิวัฒนาการแบบในสายพันธุ์ ชาลส์ ดาร์วินเป็นบุคคลแรกที่กล่าวถึงบทบาทของการคัดเลือกโดยธรรมชาติต่อการเกิดสปีชีส์ใหม่ในหนังสือปี 1859 ของเขา คือ กำเนิดสปีชีส์ (The Origin of Species) เขายังได้ระบุการคัดเลือกทางเพศ (sexual selection) ว่าเป็นกลไกหนึ่งที่เป็นไปได้ แต่ก็พบปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับมัน มีการเกิดสปีชีส์ตามภูมิภาค 4 ประเภทในธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับระดับที่กลุ่มประชากรที่กำลังเกิดสปีชีส์อยู่แยกจากกัน คือ การเกิดสปีชีส์ต่างบริเวณ (allopatric speciation), การเกิดสปีชีส์รอบบริเวณ (peripatric speciation), การเกิดสปีชีส์ข้างบริเวณ (parapatric speciation), และการเกิดสปีชีส์ร่วมบริเวณ (sympatric speciation) การเกิดสปีชีส์สามารถทำขึ้นได้ผ่านการทดลองทางสัตวบาล ทางเกษตรกรรม และทางห้องปฏิบัติการ ยังไม่ชัดเจนว่า การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจงมีบทบาทสำคัญหรือไม่ในกระบวนการเกิดสปีชี.

ใหม่!!: เป็ดแมลลาร์ดและการเกิดสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อนกที่พบในประเทศไทย

นกกระจอกบ้านนกประจำถิ่นที่พบเห็นได้ง่ายมาก มีนกทั้งสิ้น 982 ชนิดที่มีบันทึกว่าพบในธรรมชาติของประเทศไทย มี 3 ชนิดเป็นนกถิ่นเดียว หนึ่งชนิดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่นำเข้ามาโดยมนุษย์ และ 45 ชนิดพบเห็นได้ยาก 7 ชนิดในรายชื่อทั้งหมดสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้วในประเทศไทยซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในบทความนี้ และ 49 ชนิดที่ถูกคุกคามทั่วโลก เรียงลำดับวงศ์และชนิดตาม เคลเมนต์ (2000) และเพิ่มชนิดตาม ร็อบสัน (2004) และหมอบุญส่ง ชื่อในภาษาไทยอ้างอิงตามหนังสือคู่มือดูนกของหมอบุญส่ง เลขะกุล ในปี..

ใหม่!!: เป็ดแมลลาร์ดและรายชื่อนกที่พบในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยนกเป็ดน้ำ

วงศ์ย่อยนกเป็ดน้ำ (Teal, Dabbling duck) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์ปีกจำพวกเป็ด หรือนกเป็ดน้ำวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่ Anatidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anatinae หรือจัดอยู่ในเผ่า Anatini เป็ดที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้มีลักษณะไม่ต่างอะไรกับสมาชิกที่อยู่ในวงศ์ใหญ่ คือ มีจะงอยปากแบนและตรงปลายปากงุม ตีนมีพังผืด นิ้วเรียว นิ้วหลังคอนขางเล็กและเปนนิ้วตางระดับ บินไดเกง สวนใหญเปนนกอพยพยายถิ่น นอกจากนี้แล้วยังสามารถที่จะว่ายน้ำหรือดำน้ำได้อีกด้วยตีนที่เป็นพังผื.

ใหม่!!: เป็ดแมลลาร์ดและวงศ์ย่อยนกเป็ดน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกเป็ดน้ำ

วงศ์นกเป็ดน้ำ (Duck, Goose, Swan, Teal) เป็นวงศ์ของสัตว์ปีก ในอันดับ Anseriformes ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anatidae ลักษณะทั่วไปของนกในวงศ์นี้ คือ เป็นนกน้ำลำตัวป้อม มีลักษณะเด่นคึอ ปากแบนใหญ่ หางสั้น มีแผ่นพังผืดยึดนิ้วเท้า จึงช่วยให้ว่ายน้ำได้ดี มีลำคอเรียวยาว เมื่อเวลาว่ายน้ำจะโค้งเป็นรูปตัวเอส ขนเคลือบด้วยไขมันกันน้ำได้เป็นอย่างดี โดยน้ำไม่สามารถเข้าไปในชั้นขนได้ ตัวเมียมีลายสีน้ำตาลไม่ค่อยสวยงาม ต่างจากตัวผู้ที่มีสีสดใสกว่าชอบลอยตัวรวมกันเป็นฝูงในแหล่งน้ำ ทั้งในแหล่งน้ำจืดและแหล่งน้ำกร่อย หาอาหารโดยใช้ปากไชจิกพืชน้ำ จับกินสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ตามผิวน้ำ หรืออาจจะดำลงไปจับใต้น้ำ ส่วนใหญ่ทำรังตามริมน้ำด้วยพืชน้ำ บางชนิดทำรังในโพรงไม้หรือซอกกำแพง และมีพฤติกรรมจับคู่อยู่เพียงตัวเดียวไปตลอด จะเปลี่ยนคู่ก็ต่อเมื่อคู่นั้นได้ตายลง มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถบินได้ และบินได้ในระยะไกล ๆ หลายชนิดเป็นนกอพยพที่จะอพยพกันเป็นฝูงตามฤดูกาล โดยมากจะเป็นไปในฤดูหนาวที่อุณหภูมิลดต่ำลง มักจะบินอพยพจากซีกโลกทางเหนือลงสู่ซีกโลกทางใต้ ซึ่งอุณหภูมิอุ่นกว่า จากนั้นเมื่อถึงฤดูร้อนก็จะอพยพกลับไป และแพร่พันธุ์วางไข่ โดยนกที่อยู่ในวงศ์นี้ เป็นนกที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เป็ด, หงส์ และห่าน ชนิดต่าง ๆ ด้วยว่าเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินและบริโภคเนื้อและไข่เป็นอาหาร สามารถแบ่งออกได้เป็นราว 146 ชนิด ใน 40 สกุล จึงสามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก 5 วงศ์ (ดูในตาราง) โดยที่พบในประเทศไทยราว 25 ชนิด เช่น เป็ดก่า (Asarcornis scutulata), เป็ดแดง (Dendrocygna javanica), เป็ดคับแค (Nettapus coromandelianus) และเป็ดหงส์ (Sarkidiornis melanotos) เป็นต้น.

ใหม่!!: เป็ดแมลลาร์ดและวงศ์นกเป็ดน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

อาหารไอนุ

อาหารไอนุ ประกอบด้วยซุปเนื้อกวางและผักภูเขา, ตับปลาแซลมอน และข้าวหุงกับธัญพืช อาหารไอนุ เป็นอาหารประจำของชาวไอนุในประเทศญี่ปุ่น อันมีเอกลักษณ์เฉพาะต่างจากอาหารญี่ปุ่นของชาวญี่ปุ่น รวมถึงชาวยะมะโตะซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศ อาหารดิบอย่างซะชิมิไม่มีอยู่ในสำรับอาหารไอนุ อาหารส่วนใหญ่จะผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ เป็นต้นว่า ต้ม, ย่าง หรือการหมักซึ่งเป็นวิธีถนอมอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์ ปัจจุบันมีชาวไอนุตั้งถิ่นฐานบนเกาะฮกไกโดทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด และยังมีชาวไอนุอาศัยกระจายบริเวณหมู่เกาะคูริล, ทางตอนใต้ของเกาะซาฮาลิน และทางตอนบนของเกาะฮนชู ร้านอาหารไอนุมีน้อยและหายากมาก ในญี่ปุ่นมีร้านอาหารไอนุ เช่น ร้านอะชิริโคตันนะกะโนะชิมะ (Ashiri Kotan Nakanoshima) ในเมืองซัปโปะโระ, ร้านโปรอนโน (Poron'no) และร้านมะรุกิบุเนะ (Marukibune) ในเมืองอะกังของจังหวัดฮกไก.

ใหม่!!: เป็ดแมลลาร์ดและอาหารไอนุ · ดูเพิ่มเติม »

เป็ด

ป็ด เป็นสัตว์ปีกในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) ปากแบน ตีนแบน ระหว่างนิ้วมีพังผืดยึดติดกันเพื่อสะดวกในการว่ายน้ำ ตัวมีหลายสี เช่น น้ำตาล ขาว เขียว ชมพู ม่วง ขนาดเล็กกว่าห่าน ว่ายน้ำเก่ง กินปลา พืชน้ำและสัตว์เล็กๆ มีต้นตระกูลมาจากเป็ดแมลลาร์ด (Anas platyrhynchos) เป็ดเป็นนกน้ำที่มีขนาดเล็กกว่าหงส์และห่าน และสามารถพบได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม เป็ดมีแหล่งอาหารที่หลากหลาย เช่น หญ้า เมล็ดข้าว พืชน้ำ ปลา แมลง การเลี้ยงเป็ดมี 2 ประเภท คือ การเลี้ยงเพื่อเป็นแหล่งอาหารและการเลี้ยงเป็ดสวยงาม การเลี้ยงเป็ดเพื่อใช้เป็นอาหาร (ทั้งเนื้อและไข่) ซึ่งมีเป็นอยู่ไม่กี่พันธุ์ อาหารที่ทำจากเป็ดเช่นเป็ดปักกิ่ง การเลี้ยงเป็ดเพื่อความสวยงามพบได้น้อย เนื่องจากราคาค่อนข้างแพง หายาก ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นจึงพบได้ในสวนสัตว์ หรือได้รับเลี้ยงดูโดยคนมีฐาน.

ใหม่!!: เป็ดแมลลาร์ดและเป็ด · ดูเพิ่มเติม »

เป็ดบ้าน

ป็ดบ้าน เป็นเป็ดสายพันธุ์ที่เป็นสัตว์เชื่อง เหมาะสำหรับนำมาเลี้ยงภายในบ้าน มักนำมาทำเป็นอาหาร และสามารถนำขนมาทำเครื่องประดับได้ เป็ดหลายตัวยังคงถูกเลี้ยงไว้เพื่อการแสดงอีกด้วย เป็ดบ้านส่วนใหญ่นั้นสืบเชื้อสายมาจากเป็ดแมลลาร์ด (Anas platyrhynchos) และมักอาศัยอยู่ห่างจากเป็ดเทศ (Cairina moschata).

ใหม่!!: เป็ดแมลลาร์ดและเป็ดบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

Gene flow

ในสาขาพันธุศาสตร์ประชากร gene flow (การไหลของยีน, การโอนยีน) หรือ gene migration เป็นการโอนความแตกต่างของยีน (genetic variation) ของประชากรกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง ถ้าอัตราการโอนยีนสูงพอ กลุ่มประชากรทั้งสองก็จะพิจารณาว่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) ที่เหมือนกัน และดังนั้น จึงเท่ากับเป็นกลุ่มเดียวกัน มีการแสดงแล้วว่า ต้องมี "ผู้อพยพหนึ่งหน่วยต่อหนึ่งรุ่น" เป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มประชากรเบนออกจากกันทางพันธุกรรมเนื่องจากการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (genetic drift) กระบวนการนี้เป็นกลไกสำคัญเพื่อโอนความหลากหลายของยีนในระหว่างกลุ่มประชากรต่าง ๆ หน่วยที่ "อพยพ" เข้ามาหรือออกจากกลุ่มประชากรอาจเปลี่ยน ความถี่อัลลีล (allele frequency, สัดส่วนของสมาชิกกลุ่มประชากรที่มีรูปแบบหนึ่งเฉพาะของยีน) ซึ่งก็จะเปลี่ยนการแจกแจงความหลากหลายของยีนระหว่างกลุ่มประชากร "การอพยพ" อาจเพิ่มรูปแบบยีนใหม่ ๆ ให้กับสปีชีส์หรือประชากรกลุ่ม ๆ หนึ่ง อัตราการโอนที่สูงสามารถลดความแตกต่างของยีนระหว่างสองกลุ่มและเพิ่มภาวะเอกพันธุ์ เพราะเหตุนี้ การโอนยีนจึงเชื่อว่าจำกัด การเกิดสปีชีสใหม่ (speciation) เพราะรวมยีนของกลุ่มต่าง ๆ และดังนั้น จึงป้องกันพัฒนาการความแตกต่างที่อาจนำไปสู่การเกิดสปีชีสใหม่ '''gene flow''' ก็คือการโอนอัลลีลจากประชากรกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่งผ่าน "การอพยพ" ของสิ่งมีชีวิตแต่ละหน่วย มีปัจจัยต่าง ๆ ต่ออัตราการโอนยีนข้ามกลุ่มประชากร อัตราคาดว่าจะต่ำในสปีชีส์ที่กระจายแพร่พันธุ์หรือเคลื่อนที่ไปได้ในระดับต่ำ ที่อยู่ในที่อยู่ซึ่งแบ่งออกจากกัน ที่มีกลุ่มประชากรต่าง ๆ อยู่ห่างกัน และมีกลุ่มประชากรเล็ก การเคลื่อนที่ได้มีบทบาทสำคัญต่ออัตราการโอนยีน เพราะสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ได้มีโอกาสอพยพไปที่อื่นสูงกว่า แม้สัตว์มักจะเคลื่อนที่ได้มากกว่าพืช แต่พาหะที่เป็นสัตว์หรือลมก็อาจจะขนละอองเรณูและเมล็ดพืชไปได้ไกล ๆ เหมือนกัน เมื่อระยะแพร่กระจายพันธุ์ลดลง การโอนยีนก็จะถูกขัดขวาง การผสมพันธุ์ในสายพันธุ์ (inbreeding) วัดโดย สัมประสิทธิ์การผสมพันธุ์ในสายพันธุ์ (inbreeding coefficient ตัวย่อ F) ก็จะเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มประชากรบนเกาะจำนวนมากมีอัตราการโอนยีนที่ต่ำ เพราะอยู่ในภูมิภาคแยกต่างหากและมีขนาดประชากรเล็ก ตัวอย่างโดยเฉพาะอย่างหนึ่งก็คือ จิงโจ้สกุล Petrogale lateralis (Black-footed Rock-wallaby) ที่มีกลุ่มซึ่งผสมพันธุ์ภายในสายพันธุ์บนเกาะต่าง ๆ แยกต่างหาก ๆ นอกชายฝั่งของออสเตรเลีย นี่เนื่องจากไปมาหาสู่กันไม่ได้ การโอนยีนจึงเป็นไปไม่ได้ และทำให้ต้องผสมพันธุ์กันในสายพัน.

ใหม่!!: เป็ดแมลลาร์ดและGene flow · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Anas oustaletiAnas platyrhynchosเป็ดมัลลาร์ดเป็ดหัวเขียว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »