สารบัญ
56 ความสัมพันธ์: ชะมดเช็ดฟัวกราการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงการเดินป่าในเพชรพระอุมาญัฮกุรมโนราห์ (รำ)รักล้นดอยรายชื่อนกที่พบในประเทศไทยรายการสัตว์รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยลูกเป็ดขี้เหร่วัดท่าหลวงวงศ์ย่อยนกเป็ดน้ำวงศ์ปลาฉลามปากเป็ดวงศ์นกเป็ดน้ำสัตว์ปีกสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนหมาป่านิวกินีหลานปู่ กู้อีจู้หูฉลามหงส์หนูหินห่านอาหารเยอรมันอุทยานแห่งชาติอูเรเวราดิอะเมซิ่งเรซ 15งูเหลือมตุ่นปากเป็ดตู้เย็นปลาฉลามปากเป็ดนกฟินฟุตนกอัลบาทรอสนกน้ำลายดำนกเป็ดน้ำหางวงแหวนนากนากใหญ่ธรรมดาน้ำมันพืชไทยแกงเผ็ดแมลงปอโดนัลด์ ดั๊กไข่ (อาหาร)ไข่ยัดไส้ไข่เยี่ยวม้าไนอาซินเพียงพอนเหี้ยเอชไอวีเปอรานากันเป็ด (แก้ความกำกวม)เป็ดบ้าน... ขยายดัชนี (6 มากกว่า) »
ชะมดเช็ด
มดเช็ด หรือ ชะมดเชียง หรือ มูสัง (Indian small civet) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่ง จัดเป็นชะมดขนาดเล็ก ขาสั้น หูทั้งสองข้างอยู่ใกล้กัน เมื่อมองไกล ๆ อาจคล้ายแมว จนตามลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง และมีจุดสีดำขนาดเล็กแทรกอยู่ทั่วไปตามลำตัว มีแถบสีดำและขาวบริเวณลำคอ หางมีวงสีดำ 6-9 ปล้องพาดขวางอยู่ ทำให้มีดูมีลักษณะเป็นปล้องสีดำ ไม่มีขนแผงสันหลัง ปลายหางมีสีขาว ขาหลังมีต่อมกลิ่นที่ใช้สื่อสารระหว่างพวกเดียวกัน และจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล ViverriculaBlanford, W.
ฟัวกรา
ฟัวกรา เสิร์ฟแบบปิกนิกพร้อมขนมปัง ฟัวกรา เทียบกับตับห่านปกติ ฟัวกรา (foie gras; แปลว่า "ตับอ้วน") คือตับห่านหรือเป็ดที่ขุนให้อ้วนเป็นพิเศษ ฟัวกราได้ชื่อว่าเป็นอาหารฝรั่งเศสที่ดีที่สุดเช่นเดียวกับทรัฟเฟิล มีลักษณะนุ่มมันและมีรสชาติที่แตกต่างจากตับของเป็ดหรือห่านธรรมดา ในปี..
การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง
การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (หรือ การทำให้เชื่อง) หรือ การปรับตัวเป็นไม้เลี้ยง (domestication, domesticus) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชหรือสัตว์ กับมนุษย์ผู้มีอิทธิพลในการดูแลรักษาและการสืบพันธุ์ของพวกมัน เป็นกระบวนการที่ประชากรสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมผ่านรุ่นโดยการคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) เพื่อเน้นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยมีผลพลอยได้เป็นความเคยชินของสิ่งมีชีวิตต่อการพึ่งมนุษย์ ทำให้พวกมันสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ชาลส์ ดาร์วินเข้าใจถึงลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จำนวนไม่มากจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงต่างจากบรรพบุรุษพันธุ์ป่า เขายังเป็นบุคคลแรกที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการคัดเลือกพันธุ์แบบตั้งใจ ที่มนุษย์เลือกลักษณะสืบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยตรงเพื่อจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ กับการคัดเลือกที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ลักษณะมีวิวัฒนาการไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือตามการคัดเลือกอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงจะต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าทางพันธุกรรม และในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์ที่นักวิจัยเชื่อว่า จำเป็นในระยะต้น ๆ ของกระบวนการปรับนำมาเลี้ยง (domestication trait) และลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อ ๆ มาหลังจากที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าและพันธุ์เลี้ยงได้แยกออกจากกันแล้ว (improvement trait) คือลักษณะที่จำเป็นโดยทั่วไปมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงทั้งหมด และเป็นลักษณะที่คัดเลือกในระยะต้น ๆ ของกระบวนการ ในขณะที่ลักษณะที่พัฒนาต่อ ๆ มาจะมีอยู่ในบางพวกของสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแน่นอนในพันธุ์ (breed) ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือในกลุ่มประชากรในพื้นที่โดยเฉพาะ การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (domestication) ไม่ควรสับสนกับการทำสัตว์ให้เชื่อง (taming) เพราะว่า การทำให้เชื่องเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ป่า ให้กลัวมนุษย์น้อยลงและยอมรับการมีมนุษย์อยู่ใกล้ ๆ ได้ แต่ว่าการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นการเปลี่ยนพันธุกรรมของสัตว์พันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอย่างถาวร เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกของสัตว์ต่อมนุษย์โดยกรรมพันธุ์ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตแรกที่ปรับนำมาเลี้ยง และแพร่หลายไปทั่วทวีปยูเรเชียก่อนการสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน ก่อนการเกิดขึ้นของเกษตรกรรม และก่อนการนำสัตว์อื่น ๆ ต่อ ๆ มามาเลี้ยง ข้อมูลทั้งทางโบราณคดีและทางพันธุกรรมแสดงนัยว่า การแลกเปลี่ยนยีน (gene flow) ที่เป็นไปทั้งสองทางระหว่างสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงกับพันธุ์ป่า เช่น ลา ม้า อูฐทั้งพันธุ์โลกเก่าและโลกใหม่ แพะ แกะ และหมู เป็นเรื่องสามัญ และเพราะความสำคัญของการนำสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยงต่อมนุษย์ และคุณค่าของมันโดยเป็นแบบจำลองของกระบวนการวิวัฒนาการและของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จึงดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมทั้งโบราณคดี บรรพชีวินวิทยา มานุษยวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสาขาต่าง ๆ สุนัขและแกะเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์แรก ๆ ที่มนุษย์ปรับนำมาเลี้ยง.
ดู เป็ดและการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง
การเดินป่าในเพชรพระอุมา
การเดินป่าในเพชรพระอุมา พนมเทียนได้สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถ ทักษะและความรู้ในการเดินป่าของพรานป่าและพรานพื้นเมืองในเพชรพระอุมา ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีพภายในป่าของผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นพรานนำทางหรือพรานล่าสัตว์ รวมทั้งนักเดินป่าหรือนักท่องเที่ยวที่นิยมการเดินป่าและผจญภัยในปัจจุบัน การเดินทางเข้าป่าในแต่ละครั้งใช้ระยะเวลายาวนาน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ถึงทักษะในการล่าสัตว์ เพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับการดำรงชีพในป่า การสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัวรวมถึงทิศทางในการกำหนดจุดพักแรม ในเพชรพระอุมา พนมเทียนกำหนดให้รพินทร์ ไพรวัลย์ แงซาย พรานบุญคำ พรานจัน พรานเกิดและพรานเส่ย มีทักษะและประสบการณ์ในการเป็นพรานนำทางและพรานล่าสัตว์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะของความสำคัญในการดำรงชีพในป่า ได้แก.
ดู เป็ดและการเดินป่าในเพชรพระอุมา
ญัฮกุร
ญัฮกุร หรือเนียะกุล หรือที่คนไทยเรียกว่า "ชาวบน" ซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจนักของชาวญัฮกุร ญัฮกุรคือชุมชนที่ใช้ภาษามอญโบราณ อยู่บนภูเขาแถบแม่น้ำป่าสักในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะที่จังหวัดชัยภูมิ อยู่ในเขตอำเภอหนองบัวระเหว และอำเภอจัตุรัส กลุ่มชนดังกล่าวเรียกตนเองว่า “ญัฮกุร” (Nyah-Kur) แปลว่า “คนภูเขา” คนไทยในเมืองเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “ชาวบน” ซึ่งพูดภาษาที่คนไทยภาคต่าง ๆ ฟังไม่รู้เรื่อง.
มโนราห์ (รำ)
มโนราห์ มโนราห์ หรือ มโนห์รา หรือเรียกโดยย่อว่า โนรา เป็นชื่อศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกายเครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่นอก หรือ ปี่ใน และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้ว.
รักล้นดอย
รักล้นดอย เป็นละครโทรทัศน์แนวซิทคอมอารมณ์ดี สร้างครั้งแรกในปี..
รายชื่อนกที่พบในประเทศไทย
นกกระจอกบ้านนกประจำถิ่นที่พบเห็นได้ง่ายมาก มีนกทั้งสิ้น 982 ชนิดที่มีบันทึกว่าพบในธรรมชาติของประเทศไทย มี 3 ชนิดเป็นนกถิ่นเดียว หนึ่งชนิดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่นำเข้ามาโดยมนุษย์ และ 45 ชนิดพบเห็นได้ยาก 7 ชนิดในรายชื่อทั้งหมดสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้วในประเทศไทยซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในบทความนี้ และ 49 ชนิดที่ถูกคุกคามทั่วโลก เรียงลำดับวงศ์และชนิดตาม เคลเมนต์ (2000) และเพิ่มชนิดตาม ร็อบสัน (2004) และหมอบุญส่ง ชื่อในภาษาไทยอ้างอิงตามหนังสือคู่มือดูนกของหมอบุญส่ง เลขะกุล ในปี..
ดู เป็ดและรายชื่อนกที่พบในประเทศไทย
รายการสัตว์
รายชื่อสัตว์ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์ทุกไฟลัมและสปีชีส์ไว้ เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ สัตว์บก • สัตว์น้ำ • สัตว์ปีก • สัตว์เลื้อยคลาน • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เรียงตามลำดับตัวอักษร สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์ที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หมวดหมู่:สัตว์.
รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย
รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.
ดู เป็ดและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย
ลูกเป็ดขี้เหร่
ประกอบโดย Theo van Hoytema ปี 1893 ลูกเป็ดขี้เหร่ (Den grimme ælling; The Ugly Duckling) เป็นนิทานเรื่องสั้นของฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ..
วัดท่าหลวง
วัดท่าหลวง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มีแม่น้ำน่านไหลผ่านด้านหน้าวัด ตั้งอยู่บนถนนบุษบา ตำบลในเมือง เดิมชื่อ ตำบลท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร.
วงศ์ย่อยนกเป็ดน้ำ
วงศ์ย่อยนกเป็ดน้ำ (Teal, Dabbling duck) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์ปีกจำพวกเป็ด หรือนกเป็ดน้ำวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่ Anatidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anatinae หรือจัดอยู่ในเผ่า Anatini เป็ดที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้มีลักษณะไม่ต่างอะไรกับสมาชิกที่อยู่ในวงศ์ใหญ่ คือ มีจะงอยปากแบนและตรงปลายปากงุม ตีนมีพังผืด นิ้วเรียว นิ้วหลังคอนขางเล็กและเปนนิ้วตางระดับ บินไดเกง สวนใหญเปนนกอพยพยายถิ่น นอกจากนี้แล้วยังสามารถที่จะว่ายน้ำหรือดำน้ำได้อีกด้วยตีนที่เป็นพังผื.
วงศ์ปลาฉลามปากเป็ด
วงศ์ปลาฉลามปากเป็ด (Paddle fish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งน้ำจืดขนาดใหญ่วงศ์หนึ่ง ในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polyodontidae (มาจากภาษากรีกคำว่า "poly" หมายถึง "มาก" และ "odous" หมายถึง "ฟัน") ในอันดับปลาสเตอร์เจียน (Acipenseriformes) เป็นปลาขนาดใหญ่ ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียสตอนปลายจนถึงปัจจุบัน มีลักษณะเด่น คือ จะงอยปากแบนยาวคล้ายปากของเป็ด หรือใบพายเรือ เป็นที่มาของชื่อสามัญ ปัจจุบัน เหลือเพียง 2 ชนิด ใน 2 สกุลเท่านั้น พบในสหรัฐอเมริกา และแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีน ซึ่งเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้วในปัจจุบัน.
วงศ์นกเป็ดน้ำ
วงศ์นกเป็ดน้ำ (Duck, Goose, Swan, Teal) เป็นวงศ์ของสัตว์ปีก ในอันดับ Anseriformes ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anatidae ลักษณะทั่วไปของนกในวงศ์นี้ คือ เป็นนกน้ำลำตัวป้อม มีลักษณะเด่นคึอ ปากแบนใหญ่ หางสั้น มีแผ่นพังผืดยึดนิ้วเท้า จึงช่วยให้ว่ายน้ำได้ดี มีลำคอเรียวยาว เมื่อเวลาว่ายน้ำจะโค้งเป็นรูปตัวเอส ขนเคลือบด้วยไขมันกันน้ำได้เป็นอย่างดี โดยน้ำไม่สามารถเข้าไปในชั้นขนได้ ตัวเมียมีลายสีน้ำตาลไม่ค่อยสวยงาม ต่างจากตัวผู้ที่มีสีสดใสกว่าชอบลอยตัวรวมกันเป็นฝูงในแหล่งน้ำ ทั้งในแหล่งน้ำจืดและแหล่งน้ำกร่อย หาอาหารโดยใช้ปากไชจิกพืชน้ำ จับกินสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ตามผิวน้ำ หรืออาจจะดำลงไปจับใต้น้ำ ส่วนใหญ่ทำรังตามริมน้ำด้วยพืชน้ำ บางชนิดทำรังในโพรงไม้หรือซอกกำแพง และมีพฤติกรรมจับคู่อยู่เพียงตัวเดียวไปตลอด จะเปลี่ยนคู่ก็ต่อเมื่อคู่นั้นได้ตายลง มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถบินได้ และบินได้ในระยะไกล ๆ หลายชนิดเป็นนกอพยพที่จะอพยพกันเป็นฝูงตามฤดูกาล โดยมากจะเป็นไปในฤดูหนาวที่อุณหภูมิลดต่ำลง มักจะบินอพยพจากซีกโลกทางเหนือลงสู่ซีกโลกทางใต้ ซึ่งอุณหภูมิอุ่นกว่า จากนั้นเมื่อถึงฤดูร้อนก็จะอพยพกลับไป และแพร่พันธุ์วางไข่ โดยนกที่อยู่ในวงศ์นี้ เป็นนกที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เป็ด, หงส์ และห่าน ชนิดต่าง ๆ ด้วยว่าเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินและบริโภคเนื้อและไข่เป็นอาหาร สามารถแบ่งออกได้เป็นราว 146 ชนิด ใน 40 สกุล จึงสามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก 5 วงศ์ (ดูในตาราง) โดยที่พบในประเทศไทยราว 25 ชนิด เช่น เป็ดก่า (Asarcornis scutulata), เป็ดแดง (Dendrocygna javanica), เป็ดคับแค (Nettapus coromandelianus) และเป็ดหงส์ (Sarkidiornis melanotos) เป็นต้น.
สัตว์ปีก
ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
รานุกรมไทยสำหรับเยาวชน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสารานุกรมภาษาไทยจัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม โดยมีเนื้อหาบางส่วนเผยแพร่ในระบบออนไลน์ เป็นสารานุกรมไทยแบบเป็นชุด เน้นความรู้ที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในประเทศไทย จัดทำโดยคนไทย เพื่อให้คนไทยทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้อ่าน แต่ละเล่มรวบรวมเนื้อเรื่องจากหลากหลายสาขาวิชา เนื้อหาของเรื่องต่างๆ เรียบเรียงให้เหมาะสมกับ 3 ระดับความรู้ ให้แก่เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่สนใจทั่วไป แต่ละเรื่องเริ่มต้นด้วยเนื้อหาของระดับเด็กรุ่นเล็ก ตามด้วยเนื้อหาของรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ตามลำดับ เนื้อหาในแต่ละระดับพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดต่างกัน.
ดู เป็ดและสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
หมาป่านิวกินี
หมาป่านิวกินี (อังกฤษ: New Guinea singing dog, New Guinea highland dog; ชื่อย่อ: NGSD) หมาป่าชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับสุนัขบ้านมากที่สุด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canis lupus hallstromi ในวงศ์สุนัข (Canidae) มีรูปร่างของกะโหลกศีรษะเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีส่วนสูง 13-16.5 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 17-30 ปอนด์ มีขนสั้นและหนาแน่น มีขนสีน้ำตาลแดง ส่วนท้อง คอ หน้าอก และหางมีสีขาว มีฟันที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่าสุนัขสายพันธุ์อื่น ๆ โดยเฉพาะฟันกรามบน จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ พบว่าหมาป่านิวกินีอาศัยอยู่บนเกาะนิวกินีมาตั้งแต่ยุคหินแล้ว โดยอยู่ร่วมกับชนพื้นเมืองเช่นเดียวกับสุนัขสายพันธุ์อื่น ๆ ทั่วโลก โดนมีอุปนิสัยฉลาด และเป็นมิตรกับมนุษย์ หมาป่านิวกินี มีจุดเด่นอีกประการคือ เสียงหอนที่แหลมสูงและหอนได้ต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่าสุนัขสายพันธุ์อื่น จึงเป็นที่มาของชื่อในภาษาอังกฤษว่า "Singing Dog" (สุนัขร้องเพลง) เป็นที่รู้จักครั้งแรกของชาวโลก ในทศวรรษที่ 50 เนื่องจากชาวตะวันตกที่เดินทางไปศึกษาสัตว์ป่าที่เซาเทิร์นไฮแลนส์ บนเกาะนิวกินี และได้รับรายงานจากการที่หมาป่านิวกินีไปฆ่าเป็ดไก่ของชาวบ้าน และได้รับการอนุกรมวิธาน โดยทีแรกให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canis hallstromi แต่ได้มีการเปลี่ยนในภายหลัง โดยจัดให้เป็นชนิดย่อยว่า hallstromi ขณะที่ชื่อสกุลและชนิดใช้ว่า Canis lupus เช่นเดียวกับหมาป่าชนิดที่พบในยุโรป หมาป่านิวกินี ถูกส่งไปสหรัฐอเมริกาครั้งแรกในปี ค.ศ.
หลานปู่ กู้อีจู้
หลานปู่ กู้อีจู้ เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ที่แสดงความสามารถของ หลานปู่-ตาหลาน-ยายหลาน และ ย่าหลาน ผลิตรายการโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยมีพิธีกรคือ ปัญญา นิรันดร์กุล สร้างสรรค์และควบคุมการผลิตโดย รุ่งธรรม พุ่มสีนิล ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในยุคแรกออกอากาศทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 18.15-18.45 น.
หูฉลาม
หูฉลามปรุงเสร็จ หูฉลาม หรือ ซุปหูฉลาม หรือ ฮื่อฉี่ ในสำเนียงแต้จิ๋ว (จีนตัวเต็ม: 魚翅, จีนตัวย่อ: 鱼翅) เป็นอาหารจีนที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีอย่างหนึ่ง ประวัติของหูฉลามนั้นย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์หมิง หูฉลาม นั้นปรุงมาจากครีบส่วนต่าง ๆ ของปลาฉลาม โดยใช้วิธีการปรุงคล้ายกับกระเพาะปลา คือ มีความหนีดคาว และมีส่วนผสมอย่างอื่น เช่น เนื้อไก่, เนื้อหมู, ขาหมู, กระดูกไก่, กระดูกหมู และเครื่องยาจีนต่าง ๆ ซึ่งครีบของปลาฉลามนั้น มีลักษณะเป็นกระดูกอ่อนที่แบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือฐานครีบและก้านครีบ ซึ่งเป็นกระดูกที่มีลักษณะเป็นเส้น ๆ เพื่อช่วยให้ปลาฉลามสามารถแผ่ครีบออกได้ ซึ่งส่วนที่นำมาทำเป็นหูฉลามนั้น ก็คือ ก้านครีบ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการหลายอย่าง ตั้งแต่การแตกแห้ง ต้มจนเปื่อย และขูดหนังทิ้งจนเหลือแต่กระดูกอ่อน โดยมีความเชื่อกันว่าหูฉลามที่นำมาต้มจนเปื่อยและตุ๋นจนได้ที่จะกลายเป็นอาหารวิเศษในการบำรุงร่างกาย แต่คุณค่าในทางอาหารแล้ว หูฉลามหนึ่งชามมีค่าเท่ากับไข่เป็ดฟองเดียวเท่านั้น หูฉลาม จัดว่าเป็นอาหารที่มีราคาแพง เป็นอาหารหลักในช่วงงานเทศกาลต่าง ๆ เช่น เทศกาลตรุษจีน, งานแต่งงานในจีน, ฮ่องกง, ไต้หวัน และอีกหลายประเทศที่มีชาวจีนอาศัยอยู่ อาทิเช่น สิงคโปร์ ไทย โดยภัตตาคารแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ ขายหูฉลามในราคาจานละ 16 ดอลลาร์ จากการขายหูฉลามนั้น ทำให้ทั่วโลกมีการล่าปลาฉลามเพื่อตัดเอาครีบมาทำเป็นหูฉลามมากขึ้น รายงานของกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) ระบุว่า มีปลาฉลามจำนวนกว่า 73 ล้านตัวถูกฆ่าในทุก ๆ ปี และในปี..
หงส์
หงส์ (มักเขียนผิดเป็น หงษ์) เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในสกุล Cygnus ในวงศ์ Anatidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเป็ดและนกเป็ดน้ำ มีลักษณะทั่วไป มีขนสีขาวทั้งตัว จะงอยปากสีเหลืองส้มและมีปุ่มสีดำที่ฐานของปาก มักรวมฝูงในบึงน้ำเพื่อกินพืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในทวีปเอเชียทางตอนเหนือ, ยุโรปทางตอนเหนือ, อเมริกา และออสเตรเลีย หงส์ สามารถร่อนลงบนพื้นน้ำแข็งหรือผิวน้ำที่เยือกตัวเป็นน้ำแข็งได้ เพราะมีอุ้งตีนที่ใหญ่คล้ายใบพายซึ่งช่วยกระจายน้ำหนักได้เมื่อร่อนลง แต่จะควบคุมการร่อนได้ดีกว่าในบริเวณที่น้ำแข็งละลาย หงส์มีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก.
ดู เป็ดและหงส์
หนูหิน
หนูหิน (Laotian rock rat; ลาว: ຂະຍຸ; ข่าหนู, ขะหยุ) เป็นสัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง ที่เพิ่งได้รับการอนุกรมวิธานและค้นพบเจอเมื่อปี ค.ศ.
ห่าน
ห่าน จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก เป็นสัตว์ที่มนุษย์นิยมนำมาเลี้ยงเพื่อเฝ้าบ้าน หรือกำจัดวัชพืชในสวน และนำมาเลี้ยงเพื่อบริโภคเป็นอาหาร ห่าน จัดเป็นนกขนาดใหญ่ที่อยู่ในวงศ์ Anatidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเป็ด, หงส์ และนกเป็ดน้ำชนิดต่าง ๆ ห่านมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับหงส์ แต่หงส์มีขนาดใหญ่กว่า และมีจุดเด่น คือ ในตัวผู้เมื่อถึงวัยโตเต็มที่แล้วจะมีปุ่มเนื้อแข็งหรือโหนกบริเวณก่อนถึงจะงอยปากตอนบน เด่นเห็นได้ชัดเจน ห่าน แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล ด้วยกัน (ดูในตาราง) แต่ในส่วนในประเทศไทยที่กลายมาเป็นต้นสายพันธุ์ห่านที่เลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์อย่างในปัจจุบัน ได้แก่ ห่านเทาปากชมพู (Anser anser) และห่านเทาปากดำ (A.
ดู เป็ดและห่าน
อาหารเยอรมัน
อาหารการกินของชาวเยอรมันจะต่างกันไปตามภูมิภาค แคว้นทางใต้ เช่น บาวาเรีย (Bavaria) อาหารจะคล้ายกับประเทศเพื่อนบ้านทางตอนใต้ คือ สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย ส่วนทางตะวันตกจะกรุ่นไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมฝรั่งเศส ในขณะที่อาหารทางตะวันออกจะใกล้เคียงกับอาหารทางยุโรปตะวันออก และอาหารบริเวณชายฝั่งทางตอนเหนือจะใกล้เคียงกับอาหารแถบสแกนดิเนเวี.
อุทยานแห่งชาติอูเรเวรา
อุทยานแห่งชาติอูเรเวรา (Urewera National Park) อุทยานแห่งชาติตั้งขึ้นในปี..1954 เป็นพื้นที่ป่าที่ใหญ่ที่สุดในเกาะเหนือของนิวซีแลนด์ มีเนื้อที่ประมาณ 1995 ตารางกิโลเมตร ในป่ามีไม้เนื้อแข็ง และมีทะเลสาบไวกาเรโมอานา เป็นที่อยู่ของเป็ดและนกต่างๆ ภายในอุทยานมีสัตว์ต่างๆอีกมากมาย เช่น แมว แพะ แกะ กวาง และ หมู อูเรเวรา.
ดู เป็ดและอุทยานแห่งชาติอูเรเวรา
ดิอะเมซิ่งเรซ 15
อะเมซิ่ง เรซ 15 (The Amazing Race 15) เป็นฤดูกาลที่ 15 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส ซึ่งฤดูกาลนี้จะเริ่มฉายในวันที่ 28 กันยายน..
งูเหลือม
งูเหลือม (Reticulated python) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นงูขนาดใหญ่ ลำตัวยาวเฉลี่ยประมาณ 3.5-6 เมตร จัดเป็นงูที่ยาวที่สุดของโลกซึ่งตัวที่ยาวที่สุดยาวถึง 9.6 เมตร ถูกจับได้เมื่อปี..
ตุ่นปากเป็ด
ตุ่นปากเป็ด (Platypus, Watermole, Duckbill, Duckmole, Duck-billed platypus) เป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย แม้ว่าตุ่นปากเป็ดจะมีเพียงสปีชีส์เดียว แต่มีชื่อเรียกมากมายหลายชื่อ เช่น และมีชื่อที่ชาวอะบอริจินตั้งให้อีกหลายชื่อ ได้แก่ mallangong, boondaburra และ tambreet พบตุ่นปากเป็ดเฉพาะในแถบตะวันออกของออสเตรเลียเท่านั้น ตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับโมโนทรีมาตา (Monotremata) เช่นเดียวกับอีคิดน.
ตู้เย็น
ตู้เย็นตามบ้านทั่วไป ตู้เย็น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำความเย็นโดยประกอบด้วยสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนฉนวนป้องกันความร้อน (ป้องกันไม่ให้ความร้อนไหลเข้ามา) และ ส่วนทำความเย็น (ปั๊มที่นำความร้อนออกไปสู่ภายนอกซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า) คนส่วนใหญ่ใช้ตู้เย็นเก็บอาหาร เพื่อป้องกันการเน่าเสีย เนื่องจากแบคทีเรียเติบโตช้ากว่าในอุณหภูมิต่ำ ตู้เย็นมีหลายประเภทตั้งแต่แบบที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็ง (ช่องธรรมดา) แบบที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย (ช่องแช่แข็ง, ช่องฟรีซ) ก่อนที่จะมีตู้เย็นประเทศในเขตหนาวใช้กล่องน้ำแข็ง (icebox) ในการรักษาอาหาร ช่องแช่แข็งของตู้เย็นที่ขายอยู่ทั่วไปมีอุณหภูมิประมาณ -18 °C (ประมาณ 0 °F) สำหรับตู้เย็นที่ใช้ในบ้านมักมีช่องธรรมดาและช่องแช่แข็งรวมกัน และมักใช้เครื่องทำความเย็นร่วมกัน (บางครั้งก็แยกกัน) ตู้เย็นรุ่นใหม่ ๆ มักมีเครื่องทำน้ำแข็งติดตั้งมาพร้อมกัน ตู้เย็นขนาดใหญ่รวมทั้งเครื่องทำน้ำแข็งขนาดใหญ่ในโรงงานมักใช้แก๊สแอมโมเนียซึ่งเป็นอันตรายในการทำการทำความเย็น ทำให้ไม่ปลอดภัยในการใช้ในบ้านเรือน ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1930s ที่สหรัฐอเมริกาได้สังเคราะห์สารเคมีราคาถูก ไม่เป็นพิษ ไม่ติดไฟ เช่น แก๊สฟรีออน.
ปลาฉลามปากเป็ด
ปลาฉลามปากเป็ด (American paddlefish, Mississippi paddlefish) เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับปลาสเตอร์เจียน (Acipenseriformes).
นกฟินฟุต
นกฟินฟุต (Finfoot, Masked finfoot, Asian finfoot) เป็นนกชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Heliopais นกฟินฟุตจัดเป็นนกที่หากินในน้ำและอาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าชายเลน, ป่าพรุ ด้วยเป็นนกที่จับสัตว์น้ำ, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ กินเป็นอาหาร มีขนหนาแน่นสีน้ำตาล แลดูคล้ายเป็ด ปากแหลมสีเหลือง ส่วนหน้าสีดำคล้ายสวมหน้ากาก คอยาวเรียวเล็ก ขาสีเขียว นิ้วเท้ามีทั้งหมด 4 นิ้ว มีพังผืดเชื่อมติดกัน ปกติมักอาศัยเพียงตัวเดียว หรือเป็นคู่ นกตัวผู้กับตัวเมียคล้ายคลึงกัน แต่มีส่วนต่างกันที่สี โดยที่ตัวผู้จะมีสีที่เข้มกว่า ขณะที่ตัวเมียจะมีเส้นสีขาวผ่านจากใต้คอลงมาถึงหน้าด้านของลำคอ มีเส้นสีดำจากหลังตามาล้อมกรอบแถบสีขาว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 52-54.5 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย นกฟินฟุตเป็นนกที่มีถิ่นอาศัยในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ แต่โดยปกติแล้วไม่ใช่นกประจำถิ่นของไทย แต่จะอพยพผ่านเพื่อหากินและแพร่ขยายพันธุ์วางไข่เท่านั้น โดยจะพบในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ของภาคใต้ อาทิ เกาะตะรุเตา, ป่าพรุโต๊ะแดง, ทะเลบัน, ป่าชายเลนที่จังหวัดกระบี่ เป็นต้น และพบได้น้อยในพื้นที่ภาคกลาง จัดเป็นนกที่หายากมากชนิดหนึ่ง โดยมีสถานะใน IUCN อยู่ในสถานะสิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์ คาดว่าทั่วทั้งโลกมีจำนวนประชากรราว 2,500-9,900 ตัว ขยายพันธุ์ในช่วงฤดูฝน วางไข่ในรังครั้งละ 5-7 ฟอง ไข่มีสีขาวเจือด้วยสีเขียวจาง ๆ มีจุดกลมเล็ก ๆ สีน้ำตาลกระจายไปทั่ว รังทำมาจากกิ่งไม้หรือเศษไม้ขัดกันในพื้นที่สูงจากพื้นราว 3 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 37 เซนติเมตร ลึกประมาณ 20 เซนติเมตร จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.
นกอัลบาทรอส
นกอัลบาทรอส (Albatrosses) เป็นนกทะเลขนาดใหญ่ จัดอยู่ในวงศ์ Diomedeidae กระจายพันธุ์อยู่เป็นฝูงตามชายฝั่งทะเลและเกาะแก่งต่าง ๆ ในเขตร้อน และเขตอบอุ่นทั่วโลก (ดูในแผนที่) นกอัลบาทรอสจัดว่าเป็นนกที่บินได้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อกางปีกออก โดยอาจกว้างได้ถึง 3.5 เมตร ในกลุ่มนกอัลบาทรอสใหญ่ แม้แต่ขนาดเล็กที่สุดก็ยังกว้างได้ถึง 2 เมตร นกอัลบาทรอสจะบินอยู่ตลอดเวลา โดยสามารถบินได้ไกลถึงวันละ 15,000 กิโลเมตร เพียงเพื่อหาอาหารกลับมาเลี้ยงลูกเท่านั้น แต่เมื่อนกอัลบาทรอสอยู่บนพื้นดินแล้วกลับมีพฤติกรรมที่งุ่มง่าม เนื่องจากไม่ถนัดในการเดิน เพราะมีฝ่าตีนที่แผ่แบนเป็นพังผืดเหมือนตีนเป็ด นกอัลบาทรอสสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 60 ปีแต่ขยายพันธุ์ช้ามากจนเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ภายในศตวรรษหน้า ภัยคุกคามสำคัญของมันคือการทำประมงเบ็ดราวในแต่ละปี มีนกอัลบาทรอสกว่า 100,000 ตัวที่ตายเพราะติดสายเบ็ดที่วางไว้เป็นล้านๆ เพื่อจับปลาทูน.
นกน้ำลายดำ
นกน้ำลายดำ (loon ในอเมริกาเหนือ หรือ divers ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์) เป็นกลุ่มสายพันธุ์หนึ่งของนกน้ำที่พบได้มากในทวีปอเมริกาเหนือและตอนเหนือของทวีปยูเรเชีย นกน้ำลายดำจะมีขนาดตัวใหญ่กว่าเป็ดและเล็กกว่าหงส์เล็กน้อย ขณะบินมีการตีปีกคล้ายกับนกนางนวล มีเท้าเป็นพังผืดสำหรับการว่ายน้ำ มีท่าทางการว่ายน้ำเหมือนกับเป็ดและหงส์ กินปลาเป็นอาหารหลัก บ้างก็กินพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น กบ เขียด ไม่ก็สัตว์มีปล้องเช่นพวกกุ้ง กั้ง เป็นต้น.
นกเป็ดน้ำหางวงแหวน
นกเป็ดน้ำหางวงแหวน (Ringed teal) เป็นสัตว์ปีกจำพวกเป็ดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Callonetta มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับเป็ด แต่มีขนาดลำตัวเล็กกว่ามาก มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวค่อนข้างป้อมสั้น มีจะงอยปากสีเทาดำ เท้าสีเทาดำเป็นพังผืดเพื่อช่วยในการว่ายน้ำ ขนตามตัวจะมีสีน้ำตาลแกมน้ำตาลแดงส่วนปลายหางจะมีสีน้ำตาลแดงและล้อมรอบด้วยสีเทาดำอย่างเห็นได้ชัด ส่วนขนที่ปลายปีกจะออกสีน้ำตาลปนสีเทาดำชัดเจน มีปีกที่ค่อนข้างยาวและมีความสามารถพิเศษที่สามารถกระพือปีกได้เร็วกว่านกอื่นทั่วไป จึงบินได้สูงและเร็ว และสามารถบินต่อเนื่องได้เป็นเวลานานหลายชั่วโมงโดยไม่หยุดพัก มีการกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปอเมริกาใต้ โดยอาศัยรวมกันเป็นฝูงอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงตั้งแต่ 2 ตัว จนถึงหลายร้อยตัว เมื่อตกใจหรือบินจะบินตามติดกันเป็นฝูง ๆ ออกหากินในเวลากลางวันในละแวกใกล้เคียงที่อยู่อาศัยและกลับมานอนที่เดิมในตอนพลบค่ำ นกเป็ดน้ำหางวงแหวน ได้ชื่อว่าเป็นนกที่จับคู่ครองเพียงคู่เดียวตลอดชีวิต จึงมักใช้เป็นสัญลักษณ์ของความรักอยู่เสมอ ๆ โดยนกเป็ดน้ำหางวงแหวน ไม่ใช่นกประจำถิ่นของประเทศไทย แต่อาจพบได้ในบางฤดูกาลด้วยว่าเป็นนกอพยพ แต่ก็พบได้ในปริมาณที่น้อยมาก ตามพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ต่าง ๆ เช่น บึงบอระเพ็ด เป็นต้น ซึ่งมักมีผู้มายิงนำไปรับประทานอยู่บ่อย ๆ โดยที่ไม่ได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายไทยแต่ประการใ.
นาก
นาก (ไทยถิ่นเหนือ: บ้วน) เป็นสัตว์อยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์ใหญ่ Mustelidae อันเป็นวงศ์เดียวกับวีเซลหรือเพียงพอน แต่นากจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Lutrinae มีทั้งหมด 6 สกุล (ดูในตาราง) เป็นสัตว์บกที่สามารถว่ายน้ำและหากินในน้ำได้อย่างคล่องแคล่วมาก มีรูปร่างโดยรวมหัวสั้นและกว้างแบน หูมีขนาดเล็กซ่อนอยู่ใต้ขน นิ้วตีนทั้ง 4 ข้างมีพังผืดคล้ายตีนเป็ด ขนลำตัวสีน้ำตาลอมเทา มี 2 ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่า ขาหน้า ใช้ว่ายน้ำร่วมกับหาง มีฟันแหลมและแข็งแรง มีหนวดยาวใช้เป็นอวัยวะจับการเคลื่อนไหวของสิ่งที่อยู่ใต้น้ำและใช้เป็นประสาทสัมผัสเมื่อเวลาอยู่ในน้ำ ไล่จับปลาและสัตว์น้ำเล็ก ๆ เป็นอาหาร ในบางชนิดอาจกินสัตว์จำพวกอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ด้วย ออกหากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ขุดรูอยู่ริมตลิ่งใช้เป็นรังสำหรับอาศัยและเลี้ยงดูลูกอ่อน นากจึงเป็นสัตว์ที่มีที่อยู่ในธรรมชาติใกล้กับแหล่งน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ หลากหลายประเภท เช่น บึง, ทะเลสาบ, ลำธาร, ป่าชายเลน แม้แต่พื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ เช่น ท้องร่องในสวนผลไม้, นาข้าว หรือนากุ้ง เป็นต้น พบได้ทั่วโลก โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ นากยักษ์ (Pteronura brasiliensis) พบในลุ่มแม่น้ำอเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ บางชนิดพบในทะเล คือ นากทะเล (Enhydra lutris) ที่สามารถนอนหงายท้องบนผิวน้ำทะเลและเอาหินทุบเปลือกหอยกินเป็นอาหารได้ด้วย นากมีความสำคัญต่อมนุษย์ คือ ในอดีตมีการล่าเพื่อเอาหนังและขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ โดยเฉพาะในทวีปยุโรปมีการล่าอย่างหนัก ทำให้นากหลายชนิดเกือบสูญพันธุ์ ซึ่งเสื้อขนสัตว์ 1 ตัว ต้องใช้ขนของนากมากถึง 40 ตัว จนทำให้ใกล้สูญพันธุ์ กระทั่งในปี ค.ศ.
ดู เป็ดและนาก
นากใหญ่ธรรมดา
นากใหญ่ธรรมดา หรือ นากยุโรป (Common otter, European otter) เป็นนากชนิดที่สามารถพบได้กว้างขวางมาก มีลำตัวยาว ขนหนาและหยาบเพื่อป้องกันมิให้น้ำซึมเข้ามา ทำให้ว่ายน้ำได้คล่องแคล่ว และป้องกันอากาศเย็นได้เป็นอย่างดี สีขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน ในบางครั้งอาจเปลี่ยนหรือเห็นเป็นสีเทา บริเวณท้องมีสีขนที่อ่อนกว่า หัวแบนและกว้าง หูกลม หางเรียวยาว ขนสั้น นิ้วเท้ามีพังผืดยึดติดกัน.
น้ำมันพืชไทย
ริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) (THAI VEGETABLE OIL PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ:TVO) บริษัทดำเนินกิจการเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าหลักที่บริษัทผลิตได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน กากทานตะวัน กากถั่วเหลืองเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตอาหารสัตว์ วัตถุดิบเพื่อใช้ผสมอาหารเพื่อเลี้ยงลูกสุกรและไก่ เป็นต้น.
แกงเผ็ด
แกงเผ็ด หรืออาจเรียกว่า แกงแดง ก็ได้ เพราะพริกแกงทำจากพริกแดงเป็นหลัก โดยจะมีส่วนผสมของกะทิเป็นหลักในการแกง นิยมที่จะแกงกับเนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อเป็ดหรือกุ้ง หรือเต้าหู้สำหรับผู้เป็นมังสวิรัติและใส่หน่อไม้ มะเขือเปาะ ใบโหระพา เป็นหนึ่งในแกงยอดนิยมของคนไท.
แมลงปอ
วนหัวและตาขนาดใหญ่ของแมลงปอ การผสมพันธุ์ของแมลงปอ แมลงปอ (อังกฤษ: Dragonfly, ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงก่ำบี้) คือแมลงที่มีตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่บนบกมีปีกบินได้ แมลงปอมีการเจริญเติบโตแบบเป็นขั้นตอนประเภทไม่สมบูรณ์แบบ คือ มีระยะไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ไม่มีระยะดักแด้ โดยระยะไข่และตัวอ่อนมีชีวิตอยู่ในน้ำ ตัวอ่อนที่อยู่ในน้ำมีรูปร่างแตกต่างจากตัวเต็มวัยมาก เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะลอกคราบครั้งสุดท้าย กลายเป็นตัวเต็มวัยที่มีปีกและจะใช้ชีวิตบนบกได้ต่อไป แมลงปอจัดเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่ง โดยถือกำเนิดมาตั้งแต่ 320 ล้านปีก่อนในยุคคาร์บอนิเฟอรัส ก่อนหน้าไดโนเสาร์ และแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเลยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากขนาดลำตัวที่แมลงปอในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าแมลงปอในยุคปัจจุบันมาก โดยมีความห่างระหว่างปีกมากกว่า 70 เซนติเมตร ในอารยธรรมอียิปต์โบราณ แมลงปอปรากฏอยู่ในอักษรภาพเฮียโรกริฟฟิธในหลุมศพของฟาโรห์Sky Hunters: The World Of Dragonfly.
โดนัลด์ ดั๊ก
นัลด์ ดั๊ก โดนัลด์ ดั๊ก (Donald Duck; ออกเสียง: ดาเนิลฺด ดัก) เป็นตัวละครการ์ตูนจากบริษัท วอลต์ ดิสนีย์ โดนัลด์ ดั๊กเป็นเป็ดที่มีท่าทางเหมือนมนุษย์ ตัวสีขาวมีปาก ขาและเท้า สีเหลือง-ส้ม มักจะสวมชุดกะลาสี หมวกแค็ป และโบว์สีแดงหรือดำ แต่ไม่ใส่กางเกง (ยกเว้นถ้าไปว่ายน้ำ) โดนัลด์ ดั๊กเป็นเป็ดจอมโวย มีนิสัยขี้โมโหฉุนเฉียว ข้อมูลจากดิสนีย์ โดยเฉพาะจากภาพยนตร์สั้นเรื่อง Donald Gets Drafted ในปี 1942 โดนัลด์ ดั๊กมีชื่อเต็มว่า Donald Fauntleroy Duck วันเกิดอย่างเป็นทางการคือ 9 มิถุนายน..
ไข่ (อาหาร)
ทางซ้ายคือไข่ไก่ ซึ่งโดยทั่วไปได้ใช้ในการกินมากที่สุดโดยมนุษย์ และทางขวาคือไข่นกกระทาสองฟอง ที่สุนัขจิ้งจอกมักนำมากินเป็นอาหาร สัตว์ว่าตัวเมียหลายสปีชีส์วางไข่ รวมทั้งนก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลา และอาจเป็นอาหารที่มนุษย์ชาติรับประทานมานับสหัสวรรษ ไข่นกและสัตว์เลื้อยคลานประกอบด้วยเปลือกไข่ที่ทำหน้าที่ปกป้องอันตรายต่อไข่, ไข่ขาวและไข่แดง รวมกันอยู่ภายในเยื่อบาง ๆ หลายชั้น ไข่สัตว์ที่นิยมรับประทานกันมีไก่ เป็ด นกกระทา ปลาและคาเวียร์ แต่มนุษย์นิยมรับประทานไข่ไก่มากที่สุด และทิ้งช่วงห่างไข่สัตว์อื่นอยู่มาก ไข่แดงและไข่ทั้งฟองมีปริมาณโปรตีนและโคลีนอยู่มาก และพบใช้บ่อยในการครัว เนื่องจากโปรตีนที่มีอยู่ กระทรวงการเกษตรสหรัฐอเมริกาจึงจัดประเภทไข่ว่าเป็น เนื้อสัตว์ ในพีระมิดอาหาร อย่างไรก็ดี แม้ไข่จะมีคุณค่าทางโภชนาการ แต่ก็มีแนวโน้มก่อปัญหาสุขภาพบางอย่างเกิดขึ้นจากคุณภาพ การเก็บ และการเกิดการแพ้ในผู้ที่มีอาการแพ้ ไก่และสิ่งมีชีวิตวางไข่อื่น ๆ เก็บเลี้ยงอย่างกว้างขวางทั่วโลก และการผลิตไข่ไก่จำนวนมากเป็นอุตสาหกรรมระดับโลก มีปัญหาในอุปสงค์และความคาดหมายที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค เช่นเดียวกับการถกเถียงกันในปัจจุบันเกี่ยวกับวิธีการผลิตจำนวนมาก โดยสหภาพยุโรปวางแผนห้ามการเลี้ยงแบบแบตเตอรี (battery farming) หลัง..
ไข่ยัดไส้
ไข่ยัดไส้ ไข่ยัดไส้ เป็นอาหารคาวประเภทหนึ่งซึ่งใช้ ไข่ เป็นส่วนประกอบหลัก ทั้งนี้จะใช้ไข่ไก่ หรือไข่เป็ดก็ได้ ลักษณะของไข่ยัดไส้ ประกอบด้วยส่วนหลักสองส่วนคือ ส่วนห่อหุ้มด้านนอกที่ทำจากไข่ และไส้ใน มีรสชาติ หวาน เปรี้ยว เป็นหลักและมีรสเค็มเล็กน้อย มีสัมผัสการทานที่กรุบกรอบจากใส้ใน และนุ่มนวลจากไข่ที่หุ้มอยู่ภายนอก หมวดหมู่:อาหารประเภทไข่.
ไข่เยี่ยวม้า
ี่ยวม้าที่ถูกผ่าครึ่ง การตกแต่งไข่เยี่ยวม้าอย่างสวยงาม ไข่เยี่ยวม้า หรือ ไข่สำเภา คือ การแปรรูปไข่เพื่อการบริโภครูปแบบหนึ่งของคนจีนที่มีมาแต่โบราณกาล คนจีนเรียกว่า เหอี่ยหม่า หรือจี๋ไฮ่ โดยการใช้กรรมวิธีทำให้เป็นด่างถือว่าเป็นการถนอมอาหารรูปแบบหนึ่ง สามารถทำได้กับไข่เป็ด ไข่ไก่ และไข่นกกระทา โดยนำไข่ไปแช่หรือหมักในส่วนผสมที่มาจาก ปูนขาว, เกลือ, โซเดียมคาร์บอเนต, ใบชาดำ, ซิงก์ออกไซด์ และ น้ำ บางครั้ง ผู้ผลิตจะใส่สารประกอบของตะกั่วลงไป เพื่อควบคุมความเป็นกรดด่าง (pH) ให้คงที่ ซึ่งช่วยให้ไข่ขาวแข็งตัวอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นในไข่เยี่ยวม้า จึงอาจมีสารตะกั่วในรูปของลีดซัลไฟด์อยู่ โดยสังเกตได้จากส่วน ของไข่ขาวจะมีสีดำมาก ลักษณะขุ่น ส่วนไข่เยี่ยวม้าที่ไม่มีลีดซัลไฟด์ ไข่ขาวจะมีสีน้ำตาลคล้ำและมีลักษณะใส ซึ่งถ้าพบไข่เยี่ยวม้ามีลักษณะ ไข่ขาวขุ่นไม่ใสก็ควรจะหลีกเลี่ยงไม่รับประทาน.
ไนอาซิน
นอาซิน หรือ ไนอะซิน (niacin) หรือ กรดนิโคตินิก (nicotinic acid) หรือ วิตามินบี3 (vitamin B3) เป็นวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ ซึ่งจำเป็นใน Lipid Metabolism,Tissue respiration และ Glycogenolysis Nicotinic Acid ในปริมาณสูง ๆ จึงสามารถลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยฤทธิ์ของยาจะทำให้ระดับ Triacylglycerol ใน Plasma และ VLDL ลดลงภายใน 1-4 วัน ส่วนฤทธิ์ในการลดระดับโคเลสเตอรอลและ LDL นั้น 5-7 วันจึงจะเห็นผล และนอกจากนั้น Nicotinic Acid ยังสามารถเพิ่ม HDL อีกด้วย จากการทดลองผลการลดระดับไขมันในเลือดจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดหลังรับประทานยา 5-7 สัปดาห์ ยาส่วนเกินที่รับประทานเข้าไปจะขับออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ ซึ่งร่างกายมนุษย์มีความต้องการวิตามินชนิดนี้วันละ 13-19 มิลลิกรัม, วันที่สืบค้น 24 เมษายน 2559 จาก www.pikool.com.
เพียงพอน
ระวังสับสนกับ: พังพอน เพียงพอน (weasel, mink, ferret, ermine, polecat) คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Mustela ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงศ์ Mustelidae มีถิ่นกำเนิดกว้างขว้างทั้งในทวีปเอเชีย, แอฟริกาเหนือ, ยุโรป, อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ เพียงพอนมีรูปร่างโดยรวมเป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีความยาวตั้งแต่ 15–55 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 30–40 กรัม ไปจนถึง 1.4–3.2 กิโลกรัม เป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร มีรูปร่างเพรียวยาว ส่วนขาทั้งสี่ข้างสั้น มีนิ้วเท้า 5 นิ้ว เล็บมีความแหลมคม แต่พับเก็บเล็บไม่ได้ ปากแหลม ภายในปากมีฟันแหลมคมจำนวน 34 ซี่ ทุกชนิดจะมีต่อมกลิ่นที่ก้น ซึ่งจะผลิตสารเคมีสีเหลืองคล้ายน้ำมันที่มีกลิ่นเหม็นรุนแรง ใช้ในประกาศอาณาเขต เป็นสัตว์มีความปราดเปรียวว่องไว หากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยจะล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู, หนูผี, ตุ่น, แมลง, สัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเป็นอาหาร รวมทั้งอาจล่ากระต่ายได้ด้วย รวมทั้งล่าเป็ด, ไก่, นกกระทา ในพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ได้ด้วย ซึ่งจะใช้ลำตัวที่เพียวยาวนั้นมุดเข้าไปล่าถึงในโพรงดิน นอกจากนี้แล้ว เพียงพอนเป็นสัตว์ที่เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวผู้จะผสมกับตัวเมียหลายตัว แต่จะอยู่กับตัวเมียเพียงตัวเดียว ในบางชนิด ไข่เมื่อได้รับการปฏิสนธิแล้ว จะยังไม่ฝังตัวในผนังมดลูก แต่จะลอยอยู่อย่างนั้น ซึ่งอาจกินเวลานับ 10 เดือน จะฝังตัวเฉพาะเมื่อถึงฤดูกาลที่อาหารอุดมสมบูรณ์เท่านั้น มีระยะเวลาการตั้งท้องนานประมาณ 35–45 วัน ออกลูกครั้งละ 4–10 ตัว และอาจมากได้ถึง 13 ตัว ซึ่งจะออกลูกในโพรงของสัตว์ที่ล่าได้ ลูกที่เกิดใหม่ตาจะยังไม่ลืม จะมีขนบาง ๆ ปกคลุมลำตัวเท่านั้น จะลืมตาเมื่ออายุได้ 3–4 สัปดาห์ หรืออาจจะ 5–6 สัปดาห์ มีระยะเวลาการกินนมแม่ 5–10 สัปดาห์ และจะอาศัยอยู่กับแม่จนอายุได้ 1 ปี ในอดีต เพียงพอนมักถูกมนุษย์ล่า เพื่อนำขนและหนังไปทำเป็นเสื้อขนสัตว์ที่เรียกว่า "เสื้อขนมิงก์" ในปัจจุบัน ในบางชนิดนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง แบ่งออกได้เป็น 18 ชนิด (ดูในตาราง) ในประเทศไทยมักพบในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลนับพันเมตร พบประมาณ 3 ชนิด ได้แก่ เพียงพอนไซบีเรีย (M.
เหี้ย
หี้ย เป็นสัตว์เลื้อยคลานในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ประเทศบังกลาเทศ ศรีลังกา และอินเดีย จนถึงอินโดจีน และเกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย (แบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ 5 ชนิด ดูในตาราง) โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ.
ดู เป็ดและเหี้ย
เอชไอวี
วามหมายอื่น: อัลบั้มเพลงของ ไฮ-ร็อก ดูที่ HIV เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) ไวรัสตระกูล Retrovirus เป็นสาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในกรณีของมนุษย์ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ชื่อเดิมของไวรัสนี้ ได้แก่ human T-lymphotropic virus-III (HTLV-III), lymphadenopathy-associated virus (LAV), และ AIDS-associated retrovirus (ARV).
เปอรานากัน
ปอรานากัน (Peranakan) หรือ บาบ๋า-ย่าหยา (Baba-Nyonya, จีน: 峇峇娘惹, พินอิน: Bābā Niángrě, ฮกเกี้ยน: Bā-bā Niû-liá) คือกลุ่มลูกครึ่งมลายู-จีนที่มีวัฒนธรรมผสมผสาน และสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่ขึ้นมาโดยเป็นการนำเอาส่วนดีระหว่างจีนกับมลายูมารวมกัน โดยชื่อ "เปอรานากัน" มีความหมายว่า "เกิดที่นี่" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
เป็ด (แก้ความกำกวม)
ป็ด สามารถหมายถึง.
เป็ดบ้าน
ป็ดบ้าน เป็นเป็ดสายพันธุ์ที่เป็นสัตว์เชื่อง เหมาะสำหรับนำมาเลี้ยงภายในบ้าน มักนำมาทำเป็นอาหาร และสามารถนำขนมาทำเครื่องประดับได้ เป็ดหลายตัวยังคงถูกเลี้ยงไว้เพื่อการแสดงอีกด้วย เป็ดบ้านส่วนใหญ่นั้นสืบเชื้อสายมาจากเป็ดแมลลาร์ด (Anas platyrhynchos) และมักอาศัยอยู่ห่างจากเป็ดเทศ (Cairina moschata).
เป็ดก่า
ป็ดก่า (White-winged duck, White-winged wood duck) เป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่ง จำพวกเป็ด อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Asarcornis จัดเป็นเป็ดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเด่นคือ หัวและลำคอตอนบนสีขาว มีจุดกระดำกระด่างสีดำ โดยทั่วไปสีของลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลเหลือบเขียว มีขนเป็นปื้นขาวตรงหัวไหล่เป็นลักษณะเด่น มีรูปร่างเทอะทะ ปีกกว้าง ขาสั้น เพศผู้มีม่านตาสีสดใสเป็นสีเหลืองส้ม ในขณะที่เพศเมียมีม่านตาสีน้ำตาลเข้ม จะงอยปากสีเหลืองเข้มหรือสีส้ม มีประดำเป็นหย่อม ๆ เพศผู้ในฤดูผสมพันธุ์โคนปากจะพองโต เพศผู้มีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย น้ำหนักโดยเฉลี่ยเพศผู้ประมาณ 2,945-3,855 กรัม ขณะที่เพศเมีย 1,925-3,050 กรัม พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, เนปาล, พม่า, ไทย จนถึงหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยถือเป็นนกในวงศ์ Anatidae ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็ดก่า มีอุปนิสัยแปลกไปจากนกชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน โดยมักจะอาศัยอยู่ในป่าดิบทึบ และพบได้จนถึงในพื้นที่ ๆ มีความสูงถึง 5,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ออกหากินในเวลากลางคืนและกลับสู่ถิ่นที่อยู่ในเวลารุ่งเช้า โดยมักจะจับกิ่งไม้สูง ๆ ใช้เป็นที่หลับนอน มักจับคู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ 5-6 ตัวในแหล่งน้ำที่สงบ ปราศจากการรบกวน แม้จะมีรูปร่างเทอะทะแต่ก็สามารถบินได้ดี และบินหลบหลีกต้นไม้ต่าง ๆ ในป่าดิบได้เป็นอย่างดี ในฤดูผสมพันธุ์ เป็ดก่าจะส่งเสียงร้องขณะบิน การจับคู่ผสมพันธุ์อาจเป็นในรูปแบบผัวเดียวเมียเดียว แต่ยังไม่เป็นที่ยืนยัน วางไข่ครั้งละ 6-13 ฟอง สีของไข่เป็นสีเหลืองอมเขียว มักทำรังตามโพรง เพศเมียเท่านั้นที่กกฟักไข่ ระยะเวลาฟักประมาณ 33-35 วัน ขณะฟักไข่หรือเลี้ยงลูกอ่อนเพศผู้จะอยู่พัวพันเพียงห่าง ๆ เท่านั้น เป็ดก่า ถือเป็นเป็ดป่าที่หายากและเพาะขยายพันธุ์ได้ยากชนิดหนึ่ง มีการขยายพันธุ์ได้ด้วยฝีมือมนุษย์เพื่อการอนุรักษ์ ได้แค่ไม่กี่ครั้ง และถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.
เป็ดหางแหลม
ป็ดหางแหลม หรือ เป็ดหอม (Pintail duck, Northern pintail) เป็นนกจำพวกเป็ดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Anatidae มีคอยาวกว่าเป็ดชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน ลำตัวป้อมกลม มีปลายหางแหลมจนเห็นได้ชัดเจน อันเป็นที่มาของชื่อ ปากและขามีสีเทา ตัวผู้หัวมีสีน้ำตาลเข้ม คอด้านหน้าและอกสีขาว ลำตัวสีเทา สีข้างมีแถบสีเหลือง ขณะที่ตัวเมียมีขนปกคลุมลำตัวสีน้ำตาล และมีขนาดลำตัวเล็กกว่าตัวผู้พอสมควร มีขนาดความยาวประมาณ 56 เซนติเมตร มีพฤติกรรมตอนกลางวันมักลอยตัวรวมกับเป็ดน้ำชนิดอื่น ๆ ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หากินโดยใช้ปากไช้ตามผิวน้ำ และมุดน้ำโผล่หางแหลมชี้ขึ้นมาให้สังเกตได้ชัดเจน เป็นเป็ดที่วิ่งได้ไกลมาก และสามารถบินขึ้นจากน้ำได้เร็วและคล่องแคล่ว มีการกระจายพันธุ์กว้างไกล ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ จนถึงอเมริกากลาง, บางส่วนในแอฟริกา, ทวีปยุโรป, เอเชียเหนือ และเอเชียกลาง, ตะวันออกกลาง, อนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์ สำหรับในประเทศไทย ถือเป็นนกอพยพในช่วงฤดูหนาว และมีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.
เป็ดหงส์
ป็ดหงส์ (Knob-billed duck, Comb duck) เป็นสัตว์ปีกจำพวกเป็ดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Sarkidiornis จัดว่าเป็นเป็ดป่าขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีลำตัวประมาณ 76 เซนติเมตร มีจะงอยปากสีดำแถบบนปีกสีบรอนซ์สะดุดตา ตัวผู้มีส่วนหลังสีดำเหลือบสีเขียวแกมฟ้าและสีม่วง ส่วนหัวและลำคอสีขาว มีจุดประสีดำ แถบสีดำรอบด้านหลังคอพาดลงไปถึงด้านข้างของส่วนอก และอีกแถบหนึ่งพาดลงไปด้านข้างของส่วนหาง ขณะบินจะสังเกตเห็นแผ่นหลังส่วนล่างสีออกเทาชัดเจน ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีปุ่มเนื้อที่โคนจะงอยปากด้านบนขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก จนเห็นได้ชัดเจน ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและลำตัวสีทึมกว่า และไม่มีแถบสีดำสองแถบบนส่วนคอและที่ใกล้หาง ลูกอ่อนที่อายุน้อยลำตัวไม่ค่อยมีสีเหลือบและบริเวณแถบขาวมีสีคล้ำ มีถิ่นแพร่กระจายพันธุ์กว้างขวางมาก ตั้งแต่ ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา, บังกลาเทศ ไปทางทิศตะวันออกผ่านแคว้นอัสสัม, พม่า ถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนตอนตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้อีกด้วย มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่ในป่าดิบทึบ ชอบที่จะเกาะคอนไม้สูง ๆ อาศัยเป็นที่หลับนอน อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง ซึ่งเป็นครอบครัวประมาณ 4-10 ตัว หากินโดยการไซ้กินหัวและยอดอ่อน ตลอดจนเมล็ดของพืชน้ำ, เมล็ดข้าว, แมลงน้ำ และอาจกินสัตว์น้ำอย่างกบ, เขียด และปลาได้ด้วย มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในราวเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนกันยายน ในประเทศอินเดียมีรายงานว่าพบทำรังในรังเก่าของนกแร้ง และในรูบนกำแพงป้อมเก่า ๆ และบนหน้าผาดิน วางไข่สีครีมจาง ๆ จำนวน 7-15 ฟอง ในประเทศไทย ถือเป็นนกที่หาได้ยากมาก และใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากสูญเสียที่อยู่ในธรรมชาติ และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.
เป็ดแมลลาร์ด
ป็ดแมลลาร์ด หรือ เป็ดหัวเขียว (mallard, wild duck) เป็นสัตว์ปีกจำพวกเป็ดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) เป็ดแมลลาร์ดมีลักษณะเหมือนเป็ดทั่วไป แต่มีลักษณะเด่น คือ ตัวผู้บริเวณหัวและคอสีเขียวเข้ม มีแถบสีขาวรอบคอ อกสีน้ำตาลแกมน้ำตาลแดงเข้ม ลำตัวด้านบนสีเทาแกมน้ำตาลอ่อน ตะโพกและขนคลุมโคนขนหางด้านบนเป็นสีดำ ขนหางสีออกขาว ท้องมีสีจางกว่าลำตัวด้านบน ปากสีเหลืองแกมเขียว ขาสีส้ม ขาของตัวเมียเป็นลายสีน้ำตาล มีแถบคาดตาสีดำ ปีกมีแววขนปีกสีน้ำเงิน ปากสีออกน้ำตาลมักมีขอบสีเหลืองหรือสีส้ม ขนหางสีจางกว่าขนคลุมโคนขนหางด้านบน กินทั้งได้พืชและสัตว์ มีความยาวเมื่อโตเต็มที่จากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 50-60 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป, ตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย ส่วนในนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย มีผู้นำเข้าไปเผยแพร่จากประเทศอังกฤษ ส่วนในประเทศไทยถือเป็นนกอพยพ แต่ไม่พบรายงานการวางไข่ของเป็ดชนิดนี้ มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีจำนวนสมาชิกประมาณ 50-60 ตัว ตามแหล่งน้ำทั่วไป และอาจจะรวมฝูงเข้ากับนกชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน หากินในเวลากลางคืน ส่วนในเวลากลางวันจะว่ายน้ำพักผ่อนในแหล่งน้ำตื้น อาจกินสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เข้าไปด้วย มีนิสัยตื่นตกใจง่าย มีความตื่นตัวระแวดระวังภัยสูง สามารถบินขึ้นจากน้ำได้อย่างรวดเร็ว เป็ดแมลลาร์ด ถือเป็นต้นสายพันธุ์ของเป็ดที่เลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์อย่างในปัจจุบันนี้ และมีบางส่วนเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม และถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.
เป็ดแมนดาริน
ป็ดแมนดาริน (Mandarin duck; 鸳鸯; พินอิน: Yuānyāng; オシドリ; 원앙) เป็นนกชนิดหนึ่ง จำพวกเป็ด อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) เป็ดแมนดาริน มีสีสวยมาก โดยเฉพาะในตัวผู้ จนได้ชื่อว่าเป็นนกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามที่สุดในโลก เป็นนกที่จัดอยู่ในประเภทขนาดกลาง มีความยาวลำตัวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 48 เซนติเมตร ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะมีสีฉูดฉาดหลายสี ซึ่งแต่ละสีตัดกันเห็นเด่นชัดสวยงามมาก โดยหน้าผากและหัวเป็นสีทองแดง, สีม่วง และเขียวเหลือบเป็นมันเงา และมีขนปีกสีส้มขนาดใหญ่ดูคล้ายเป็นแผงข้างละเส้นงามสะดุดตา และจะสวยงามในฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดตัวย่อมลงมาและสีสันไม่ฉูดฉาดเท่า มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ตามหนองบึง และลำห้วยที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม เพื่ออาศัยเป็นที่หลบซ่อนตัว และจะชอบเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ โดยอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ตามแหล่งน้ำ โดยกินพืชน้ำชนิดต่าง ๆ รวมถึงสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นอาหาร พอสิ้นฤดูหนาวเมื่อพ้นฤดูผสมพันธุ์แล้ว ตัวผู้จะผลัดขนจนดูคล้ายตัวเมีย ซึ่งจะมีลายขีดสีขาวบริเวณท้องและลายขีดสีดำที่โคนปาก เป็ดแมนดาริน วางไข่ครั้งละ 9-12 ฟอง ไข่มีสีเนื้อเป็นมัน ระยะเวลาฟักไข่นาน 28-30 วัน โดยที่ตัวเมียจะเป็นผู้ฟัก กระจายพันธุ์อยู่ในภาคตะวันออกของประเทศจีนแถบลุ่มแม่น้ำอุสซูรี ไปจนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออก ได้แก่ ไต้หวัน, ญี่ปุ่น และเกาหลี รวมถึงบางส่วนในทวีปยุโรปด้วย เป็ดแมนดาริน เป็นนกที่จับคู่เพียงตัวเดียวตลอดชีวิต ดังนั้นจึงเป็นสัญลักษณ์ของความรักแท้ จนปรากฏเป็นนิทานพื้นบ้านเรื่องต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และยังเป็นสัตว์แห่งความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อของชาวจีนอีกด้วย โดยปกติแล้ว เป็ดแมนดาริน ไม่ใช่นกประจำถิ่นของประเทศไทย ในประเทศไทยจะพบก็เพียงเป็นนกอพยพหนีหนาว แต่ก็พบได้น้อยมาก ในแถบภาคเหนือและภาคกลางบางพื้นที่ ด้วยความสวยงาม เป็ดแมนดาริน จึงมักถูกจับเป็นสัตว์เลี้ยง ซึ่งในกฎหมายไทย เป็ดแมนดารินเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535.
เป็ดแดง
ป็ดแดง เป็นเป็ดขนาดเล็ก มีแหล่งขยายพันธุ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ p. 58.