โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์

ดัชนี เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์

ปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ (Peter Paul Rubens,; 28 มิถุนายน พ.ศ. 2120 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2183) เป็นจิตรกรชาวเฟลมิชที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีผลงานในรูปแบบศิลปะบาโรก.

62 ความสัมพันธ์: บานพับภาพฟร็องซัว บูเชพระราชวังลุกซ็องบูร์พระราชวังไวต์ฮอลพระคัมภีร์คนยากพระเจ้าพระบิดาพระเจ้าววาดือสวัฟที่ 4 วาซาพุตโตการอัญเชิญพระศพลงจากกางเขนการาวัจโจการข่มขืนสตรีชาวซาบีนการประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิสภาพเหมือนตนเองมรณกรรมของพระนางพรหมจารี (การาวัจโจ)มหาวิหารตูร์แนยกกางเขน (รือเบินส์)ยัน เบรอเคิล (ผู้พ่อ)ยาโกบ ยอร์ดานส์รายชื่อภาพเขียนที่มีราคาสูงที่สุดรายชื่อภาพเขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชีรายชื่อจิตรกรวังดยุกแห่งมานตัววังเบลนิมวังเชอนงโซวัตสันและปลาฉลามวินเชนโซที่ 1 กอนซากาวีนัสหลับ (จอร์โจเน)ศิลปะดัตช์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในฝรั่งเศสสถาปัตยกรรมบาโรกหอศิลป์บอร์เกเซอบันดันเชียอัลเทอพีนาโคเทคอันโตน ฟัน ไดก์อาดัม เอลสไฮเมอร์ฮิปพอคราทีสจอร์จ วิลเลิร์ส ดยุกที่ 1 แห่งบักกิงแฮมจิตรกรชั้นครูจิตรกรรมบาโรกจิตรกรรมบาโรกแบบเฟลมิชจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีจิตรกรรมสีน้ำมันจิตรกรรมแผงจิตรกรรมเฟลมิชทิเชียนดาฟิด เตอเนียร์ส (ผู้ลูก)ซาลอมง เดอ บร็อสซาโลมอนซีโมนเปโตร...ประเทศเบลเยียมปีเตอร์นักบุญถือศีรษะแม่พระแห่งลูกประคำ (การาวัจโจ)โอตโต ฟัน เฟนโคเฟิร์ต ฟลิงก์เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดาเมดีชีเออแฌน เดอลาครัวเด็กหญิงกำพร้าในสุสานเคราร์ด ฟัน โฮนต์ฮอสต์28 มิถุนายน ขยายดัชนี (12 มากกว่า) »

บานพับภาพ

แซนไทน์ คริสต์ศตวรรษที่ 10 บานพับภาพ (triptych หรือ polytych) คือจิตรกรรมที่วาดหรือแกะบนแผ่นไม้แบ่งเป็นบาน ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสองบาน สามบาน หรือมากกว่านั้นก็ได้ ที่เชื่อมด้วยกันและพับได้.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และบานพับภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซัว บูเช

ฟร็องซัว บูเช (François Boucher; 29 กันยายน ค.ศ. 1703 - 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1770) เป็นจิตรกรสมัยโรโคโคคนสำคัญชาวฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้มีชื่อเสียงในงานเขียนที่เป็นอุดมคติและอวบอิ่ม (voluptuous) ของภาพประเภทคลาสสิก อุปมานิทัศน์ และท้องทุ่ง (pastoral) นอกจากนั้นบูเชก็ยังเขียนภาพเหมือนหลายภาพของมาดาม เดอ ปงปาดูร.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และฟร็องซัว บูเช · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังลุกซ็องบูร์

ระราชวังลุกซ็องบูร์ (Palais du Luxembourg; Luxembourg Palace) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสวนลุกซ็องบูร์ในกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส ในปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการของวุฒิสภา (French Senate) สวนลุกซ็องบูร์มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 25 เฮ็คตาร์ที่เป็นลานหญ้าและทางเดินกรวดที่มีรูปปั้นตั้งอยู่เป็นระยะ ๆ สลับกับอ่างน้ำ.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และพระราชวังลุกซ็องบูร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังไวต์ฮอล

ระราชวังไวต์ฮอล (Palace of Whitehall) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ในลอนดอนในสหราชอาณาจักร ที่ประทับหลักของพระมหากษัตริย์อังกฤษในลอนดอนระหว่าง ค.ศ. 1530 - ค.ศ. 1698 ยกเว้นเมื่อตึกเลี้ยงรับรอง (Banqueting House) ที่สร้างโดยอินิโก โจนส์ (Inigo Jones) ในปี ค.ศ. 1622 เกิดเพลิงไหม้ ก่อนที่ไฟจะไหม่พระราชวังไวต์ฮอลเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปที่ประกอบด้วยห้องทั้งหมดกว่า 1,500 ห้อง ชื่อของวังใช้เป็นชื่อถนนที่เป็นที่ตั้งของพระราชวังที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานบริหารต่างๆ ของรัฐบาลอังกฤษ.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และพระราชวังไวต์ฮอล · ดูเพิ่มเติม »

พระคัมภีร์คนยาก

หน้าต่าง “พระคัมภีร์คนยาก” ที่ มหาวิหารแคนเทอร์เบอรีจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่อาจจะสร้างจากชิ้นส่วนของบานหน้าต่างเดิมสองบาน รายละเอียดจากหน้าต่างสองหน้าต่างจากมหาวิหารแคนเทอร์เบอรีที่เป็นเรื่องสองเรื่องที่ต่างกัน แต่ตัวแบบสองตัวในภาพทางด้านซ้ายเป็นตัวเดียวกัน และเสา โต๊ะ เชิงเทียน และหนังสือ ภาพซ้ายสร้างในสมัยกลาง และภาพขวาในสมัยวิกตอเรีย พระคัมภีร์คนยาก (Poor Man's Bible) คำว่า “พระคัมภีร์คนยาก” ในปัจจุบันหมายถึงงานศิลปะภายในคริสต์ศาสนสถานที่อาจจะเป็นงานชิ้นเดียวหรืองานชุดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนสาระของคัมภีร์ไบเบิลต่อประชากรส่วนใหญ่ที่ไร้การศึกษา ศิลปะ “พระคัมภีร์คนยาก” อาจจะเป็นงานประติมากรรม งานแกะสลัก จิตรกรรม งานโมเสก หรือหน้าต่างประดับกระจกสี ในโบสถ์บางแห่งหน้าต่างบานเดียวก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “พระคัมภีร์คนยาก” ขณะที่ในโบสถ์อื่นทั้งโบสถ์อาจจะตกแต่งด้วยบทบรรยายพระคัมภีร์ไบเบิลอันซับซ้อนภายใต้หัวใจของเรื่องที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และพระคัมภีร์คนยาก · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าพระบิดา

วาดพระเจ้าพระบิดาโดย Julius Schnorr ค.ศ. 1860 พระเจ้าพระบิดา (God the Father) เป็นคำที่ใช้เรียกพระเจ้าในศาสนาคริสต์ ศาสนายูดาห์เรียกพระเจ้าว่าพระบิดาเพราะเชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นผู้สร้าง ผู้บัญญัติธรรม และผู้ปกป้อง ส่วนทางศาสนาคริสต์เรียกพระเจ้าว่าพระบิดาตามเหตุผลเดียวกับศาสนายูดาห์ แต่ก็เป็นเพราะความสัมพันธ์ระหว่างพระบิดาและพระเยซูซึ่งเป็นพระบุตรของพระองค์ด้วย คำว่า พระบิดา บ่งบอกว่าพระองค์เป็นผู้ทรงสรรพานุภาพ เป็นผู้ปกป้องดูแล เป็นสัพพัญญู และทรงอยู่ทุกหนแห่ง ซึ่งเกินกว่าการที่มนุษย์ธรรมดาจะเข้าใจได้ เช่น นักบุญทอมัส อไควนัส นักปราชญ์แห่งคริสตจักรคนสำคัญเขียนสรุปไว้ว่าท่านเองก็ยังไม่เข้าใจพระบิดาเล.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และพระเจ้าพระบิดา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าววาดือสวัฟที่ 4 วาซา

ระเจ้าววาดือสวัฟที่ 4 วาซา (Władysław IV Waza; r; Vladislaus IV Vasa or Ladislaus IV Vasa; Vladislovas Vaza) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งโปแลนด์และแกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนียจากราชวงศ์วาซา ระหว่าง..

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และพระเจ้าววาดือสวัฟที่ 4 วาซา · ดูเพิ่มเติม »

พุตโต

“พุตโต” ถือหอยสำหรับจ้วงน้ำที่ใช้ในพิธีบัพติศมาบนฉากประดับแท่นบูชานักบุญยอห์นแบปติสต์ที่อารามออทโทบอยเรินในเยอรมนี “พุตโตกับวีนัส” (ราว ค.ศ. 1750) โดยฟร็องซัว บูเช (François Boucher) เปมเทพ หรือ พุตโต หรือ พุตตี (Putto หรือ putti (พหูพจน์)) เป็นประติมากรรมรูปเด็กอ้วนยุ้ยและส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเด็กผู้ชาย, เปลือย ใช้ในการตกแต่งและพบบ่อยในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และศิลปะบาโรกในเยอรมนี พุตโตมาจากศิลปะโบราณแต่มาพบใหม่เมื่อต้นสมัยศิลปะควอตโตรเช็นโต (Quattrocento) และมักจะเรียกสับสนกับเครูบ (Cherub หรือ cherubim).

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และพุตโต · ดูเพิ่มเติม »

การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน

“ชะลอร่างจากกางเขน” โดย รอสโซ ฟิโอเร็นทิโน (Rosso Fiorentino) ค.ศ. 1521 ที่มหาวิหารโวลเทอรรา ในประเทศอิตาลี “ชะลอร่างจากกางเขน” โดยโรเจียร์ แวน เดอ เวย์เด็น ประมาณปี ค.ศ. 1435 สีน้ำมันบนไม้โอ้ค, 220 x 262 เซนติเมตร ที่พิพิธภัณฑ์ปราโด, มาดริด “ชะลอร่างจากกางเขน” ไม้แกะทาสีที่มหาวิหารโวลเทอรรา ในประเทศอิตาลี การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน (Descent from the Cross/Deposition from the Cross หรือ Deposition; Αποκαθελωσις, “Apokathelosis”) เป็นฉากที่สร้างในศิลปะเช่นจิตรกรรม หรือ ประติมากรรม เนื้อความมาจากพระวรสารนักบุญจอห์นซึ่งบรรยายการอัญเชิญพระศพพระเยซูลงจากกางเขนหลังจากที่มีการตรึงพระเยซูที่กางเขนแล้ว โดยโยเซฟแห่งอาริมาเธียและนิโคเดมัส (Nicodemus) (ยอห์น).

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และการอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

การาวัจโจ

ูรายชื่องานที่ รายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจ; มีเกลันเจโล เมรีซี ดา การาวัจโจ (Michelangelo Merisi da Caravaggio ค.ศ. 1571 - 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1610) เป็นจิตรกรสมัยบาโรกคนสำค้ญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้มีผลงานส่วนใหญ่ที่ โรม เนเปิลส์ ซิซิลี และประเทศมอลตา ระหว่างปี..

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และการาวัจโจ · ดูเพิ่มเติม »

การข่มขืนสตรีชาวซาบีน

“การข่มขืนสตรีชาวซาบีน” โดยจามโบโลนยา ภาพแกะเดียวกับประติมากรรมที่ลอจเจียเดอิลันซิในฟลอเรนซ์ “การข่มขืนสตรีชาวซาบีน” โดยโยฮันน์ ไฮน์ริค เชินเฟลด์ (Johann Heinrich Schönfeld) การข่มขืนสตรีชาวซาบีน (The Rape of the Sabine Women) เป็นส่วนหนึ่งของตำนานประวัติศาสตร์โรมที่กล่าวว่าชาวโรมันรุ่นแรกไปเอาภรรยามาจากซาบีนที่อยู่ไม่ไกลนัก (ในบริบทนี้ “การข่มขืน” หมายถึง “การลักพา” หรือ “Rape” ที่มีรากมาจากคำว่า “raptio” ไม่ใช่ในความหมายของการข่มขืนที่เข้าใจกันในสมัยปัจจุบัน) จากคำบอกเล่าของนักประวัติศาสตร์โรมันไททัส ลิวิอัส และพลูทาร์ค (ในหนังสือ “Parallel Lives” II, 15 และ 19) หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่นิยมกันในการสร้างงานศิลปะในยุคเรอเนสซองซ์และต่อมา ซึ่งเป็นการใช้หัวเรื่องในการสื่อความหมายที่ส่งเสริมให้เกิดแรงบันดาลใจในทางความกล้าหาญของชาวโรมันโบราณและสำหรับศิลปินก็เป็นโอกาสที่จะสร้างภาพที่ประกอบด้วยคนหลายคนที่รวมทั้งร่างสตรีที่กำลังต่อสู้ดิ้นรน หัวเรื่องในทำนองเดียวกันจากสมัยโรมันโบราณก็ได้แก่ยุทธการระหว่างลาพิธและเซนทอร์ (Lapith) และหัวเรื่อง สงครามอะเมซอน (Amazonomachy) ซึ่งเป็นยุทธการระหว่างเธเซียสและนักรบอะเมซอน หรือเทียบได้กับตำนานคริสต์ศาสนาในหัวข้อการสังหารเด็กบริสุทธิ์ (Massacre of the Innocents).

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และการข่มขืนสตรีชาวซาบีน · ดูเพิ่มเติม »

การประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)

นายช่างโบฮีเมีย ราวปี ค.ศ. 1350 แสดงให้เห็นอิทธิพลของไบเซนไทน์แบบอิตาลีในราชสำนักของจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การประสูติของพระเยซู (Nativity หรือ Nativity of Jesus) เป็นหัวเรื่องที่วาดกันบ่อยที่สุดหัวข้อหนึ่งในศิลปะศาสนาคริสต์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 องค์ประกอบของศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อฉลองวันคริสต์มาสตามข้อมูลในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกา และต่อมาก็มีการเพิ่มเรื่องราวจากข้อเขียนอื่น ๆ หรือเรื่องเล่าต่างๆ ศิลปะคริสต์ศาสนามักจะมีรูปเคารพของพระนางมารีย์พรหมจารีและพระกุมารเยซู งานศิลปะแบบนี้จะเรียกว่า “แม่พระและพระกุมาร” หรือ “พระนางพรหมจารีและพระกุมาร” แต่รูปนี้จะไม่รวมอยู่ในชุด “การประสูติของพระเยซู” ฉากการประสูติของพระเยซูจะมีคำบรรยายอย่างชัดเจนจากหลักฐานหลายแห่ง การกำเนิดของพระเยซูเป็นฉากที่ใช้ในการสร้างศิลปะหลายแบบทั้งทางจักษุศิลป์และประติมากรรม และศิลปะแบบอื่นๆ ในรูปของจักษุศิลป์ก็อาจจะเป็น ไอคอน, จิตรกรรมฝาผนัง, บานพับภาพ, ภาพเขียนสีน้ำมัน, หนังสือวิจิตร และ หน้าต่างประดับกระจกสี บางครั้งการแสดงภาพก็อาจจะผสมระหว่างจักษุศิลป์และประติมากรรม ที่ตั้งของภาพหรืองานศิลปะก็อาจจะเป็น ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) ศิลปะแบบอื่นๆ ก็อาจจะเป็นจุลจิตรกรรม งานแกะงาช้าง การแกะภาพบนโลงหิน การสลักบนหน้าบันเหนือประตูทางเข้าโบสถ์ หรือคานเหนือประตู หรืออาจจะเป็นรูปปั้นแบบลอยตัว รูปปั้นแบบลอยตัวของ “การประสูติของพระเยซู” มักจะทำเป็น “Creche” หรือ “Presepe” ซึ่งเรียกว่า “ฉากพระเยซูประสูติ” (Nativity scene) ซึ่งอาจจะใช้ตั้งตรงมุมใดมุมหนึ่งของโบสถ์ หน้าหรือในสถานที่สาธารณะ, บ้าน หรือกลางแจ้งเป็นการชั่วคราว ขนาดของกลุ่มรูปปั้นก็มีตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ไปจนขนาดเท่าคนจริง ที่มาของการสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” อาจจะมาจากการแสดงกลุ่มรูปปั้น ที่เรียกว่า “Tableau vivant” ที่กรุงโรม ซึ่งนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมีบทบาททำให้เป็นที่นิยมกันมากขึ้น การสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” ก็ยังเป็นที่นิยมกันถึงปัจจุบันนี้ โดยบางครั้งฉากเล็กอาจจะทำจากกระเบื้องพอร์ซิเลน (Porcelain), พลาสเตอร์, พลาสติก หรือ กระดาษ เพื่อใช้ตั้งภายในที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และการประสูติของพระเยซู (ศิลปะ) · ดูเพิ่มเติม »

ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส

ระราชินีมารี เดอ เมดีซิส (Marie de' Medici cycle) เป็นภาพเขียนชุดจำนวนยี่สิบสี่ภาพที่เขียนโดยเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ จิตรกรคนสำคัญของสมัยบาโรกแบบเฟลมิช ที่ว่าจ้างโดยพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส พระอัครมเหสีในพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส สำหรับตั้งแสดงที่พระราชวังลุกซ็องบูร์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รือเบินส์ได้รับการจ้างในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1621 หลังจากที่มีการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับข้อตกลงภายในสัญญาเมื่อต้นปี ค.ศ. 1622 แล้ว สัญญาก็ระบุว่าโครงการเขียนภาพจะต้องเสร็จภายในสองปีเพื่อให้ทันเวลากับการเสกสมรสของพระราชธิดาเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียกับพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ภาพเขียนยี่สิบเอ็ดภาพเป็นภาพการต่อสู้และการได้รับชัยชนะต่าง ๆ ในชีวิตของพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส อีกสามภาพเป็นภาพเหมือนของพระองค์เองและพระราชบิดามารดาBelkin, pp.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนตนเอง

หมือนตนเองของอัลเบรชท์ ดือเรอร์, ค.ศ. 1493. สีน้ำมันเดิมบนหนัง, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, ปารีส ภาพนี้เป็นภาพเหมือนตนเองอย่างเป็นทางการภาพแรก ๆ ดือเรอร์แต่งตัวแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จระดับสากล ภาพเหมือนตนเอง (Self-portrait) คือภาพเหมือนของศิลปินเองผู้อาจจะวาด เขียนด้วยสี ถ่ายภาพ หรือแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริง ๆ หรือวาดเป็นบุคคลหัวใจของภาพมาจนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในกลางคริสต์ทศวรรษ1400 กระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำการเขียนภาพเหมือนบนจิตรกรรมแผง จิตรกร ประติมากร และช่างแกะพิมพ์มีการทำกันมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ "ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)" ที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ ของปี..

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และภาพเหมือนตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

มรณกรรมของพระนางพรหมจารี (การาวัจโจ)

ูบทความหลักที่ แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ มรณกรรมของพระนางพรหมจารี (Death of the Virgin) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยการาวัจโจจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ปารีสในประเทศฝรั่งเศส ภาพ “มรณกรรมของพระนางพรหมจารี” เขียนราวระหว่างปี ค.ศ. 1604 ถึงปี ค.ศ. 1606 เป็นภาพที่การาวัจโจได้รับจ้างให้เขียนโดยเลร์ซิโอ อัลเบร์ติ (Laerzio Alberti) ทนายความของพระสันตะปาปาสำหรับชาเปลส่วนตัวภายในซันตามาเรียเดลลาสกาลาซึ่งเป็นโบสถ์คณะคาร์เมไลท์ใหม่ที่ ทรัสเตเวเร (Trastevere) ในกรุงโรม “Renaissance” เป็นภาพที่ก่อให้เกิดการต่อต้านอย่างรุนแรงเมื่อเขียนเสร็จและถูกปฏิเสธจากนักบวชไม่ให้ตั้งในชาเปลที่ตั้งใจไว้ แต่ต่อมาปีเตอร์ พอล รูเบนส์ก็แนะนำให้ชาร์ลส์ที่ 1 ดยุกแห่งมานทัวซื้อโดยสรรเสริญว่าเป็นงานเขียนที่ดีที่สุดในสมัยนั้น หลังจากนั้นภาพเขียนถูกขายต่อให้แก่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ หลังจากพระเจ้าชาร์ลส์ถูกสำเร็จโทษภาพเขียนก็ถูกประมูลขายอีกครั้งๆ นี้ตกไปเป็นของงานสะสมหลวงของฝรั่งเศส และในที่สุดก็กลายไปเป็นของรัฐหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ในปัจจุบันภาพนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ในกรุงปารีส ก่อนที่จะออกจากโรมภาพเขียนตั้งแสดงที่วิทยาสถานนักบุญลูการาวสองอาทิตย์ แต่ขณะนั้นการาวัจโจก็หนีออกจากโรมไปแล้วหลังจากที่ฆ่ารานุชโช โตมัสโซนีในการดวลดาบหลังจากเกมเทนนิสหลังจากที่เกิดการวิวาท ภาพเขียนทำให้นึกถึงภาพ “ชะลอร่างจากกางเขน” ในนครรัฐวาติกันในด้านความครอบคลุม, ความสุขุม และความมีลักษณะเหมือนจริงที่คล้ายภาพถ่าย ขนาดตัวแบบในภาพเกือบเท่าคนจริง ล้อมรอบพระแม่มารีย์เป็นผู้กำลังโทมนัสที่รวมทั้งมารีย์ชาวมักดาลาและอัครทูตและกลุ่มคนถัดออกไป การาวัจโจแสดงความโศรกเศร้าของผู้ที่อยู่ในภาพไม่ใช่ด้วยการแสดงหน้าที่บ่งอารมณ์แต่โดยการซ่อนใบหน้า การาวัจโจผู้มีความสามารถในการใช้สีมืดบนผืนผ้าใบไม่สนใจในลักษณะการเขียนแบบแมนเนอริสม์ที่มักจะแสดงอารมณ์ต่างๆ กันไปในภาพเขียน การแสดงความเศร้าของการาวัจโจเป็นการแสดงความเศร้าที่ลึกและเงียบไม่โวยวายด้วยคนร้องไห้ การสะอื้นเกิดจากความเงียบใบหน้าที่ไม่ปรากฏของผู้มีอารมณ์ ความศักดิ์สิทธิ์ของพระแม่มารีย์แสดงโดยรัศมีบางๆ ราวเส้นด้ายเหนือพระเศียร ม่านสีแดงผืนใหญ่ที่ขึงหัอยบนส่วนบนของภาพเป็นโมทีฟที่มักจะใช้ในภาพเกี่ยวกับความตาย ภาพนี้เขียนเสร็จเมื่อทฤษฎีความเชื่อเกี่ยวกับแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์หรือการขึ้นสวรรค์ของพระแม่มารียังไม่เป็นที่ตกลงกันอย่างเป็นทางการโดยพระสันตะปาปา แต่ความคิดเรื่องนี้ก็เริ่มมีรากฐานมาเป็นเวลาสองสามร้อยปีแล้วจนกระทั่งการออกธรรมนูญเรื่องแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ (Munificentissimus Deus) ในปี ค.ศ. 1950 ที่กล่าวถึงการขึ้นสวรรค์ของ “ร่างและวิญญาณ” ของพระแม่มารี ธรรมนูญเลี่ยงการประกาศว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากมรณกรรมตามที่เข้าใจกันตามปกติ ในเมื่อพันธสัญญาใหม่มิได้กล่าวถึงหัวข้อนี้แต่อย่างใด การจากของพระแม่มารีย์จากโลกนี้จึงเป็นเรื่องของทฤษฎีความเชื่อเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิกเท่านั้น แม้ว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทฤษฎีโดยทั่วไปของโรมันคาทอลิกเชื่อว่าพระแม่มารีย์ถูกนำขึ้นสวรรค์ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งจะเป็นเห็นได้จากภาพเขียนร่วมสมัยในหัวข้อนั้นเป็นจำนวนมากมาย บางความเชื่อก็ว่าพระเจ้าทรงนำร่างพระแม่มารีย์ขึ้นสวรรค์เมื่อเพิ่งสิ้นพระชนม์ใหม่ๆ แต่โดยทั่วไปแล้วก็หมายถึงการที่ทรงได้รับการนำขึ้นสวรรค์โดยปราศจากความเจ็บป่วยและความเจ็บปวดและร่างที่ถูกนำขึ้นไปเป็นร่างที่สมบูรณ์ด้วยพลานามัยก่อนที่จะ “ถึงแก่มรณกรรม” แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือการแสดงภาพมรณกรรมในยุคกลางจะเป็นจริงมากกว่ายุคเรอเนซองหรือบาโรกต่อมาเช่นในภาพ “มรณกรรมของพระนางพรหมจารี” โดยดุชโช ที่เขียนราวปี ค.ศ. 1308 “มรณกรรมของพระนางพรหมจารี” โดยดุชโช ราว ค.ศ. 1308 ภาพเขียนของการาวัจโจเป็นงานศิลปะชิ้นเอกชิ้นสุดท้ายของโรมันคาทอลิกที่แสดงมรณกรรมจริง ๆ ของพระแม่มารีย์ แต่ภาพนี้เท้าของพระแม่มารีย์บวมและในภาพไม่มีเครูบที่นำพระองค์ขึ้นสู่สวรรค์เช่นในภาพ “แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์” โดย อันนิบาเล คารัคชี ที่เขียนก่อนหน้านั้นเพียงน้อยกว่าสิบปีสำหรับชาเปลในซันตามาเรียเดลโปโปโล ภาพของคารัคชีไม่ได้เขียนภาพการถึงแก่มรณกรรมแต่เป็นภาพ “แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์” หรือการลอยขึ้นไปบนสวรรค์ ร่างเหมือนกับภาพเรอเนซองหรือบาโรกภาพอื่นๆ ที่ดูอ่อนกว่าสตรีที่มีอายุราวห้าสิบปีหรือกว่านั้นเมื่อถึงแก่มรณกรรม ผู้ร่วมสมัยกล่าวหาการาวัจโจว่าใช้โสเภณีเป็นแบบสำหรับพระแม่มารีย์ เมื่อเขียนเสร็จภาพเขียนถูกปฏิเสธไม่ให้ตั้งในวัดโดยนักบวชผู้กล่าวหาว่าเป็นภาพที่ไม่เหมาะกับการตั้งในชาเปล จูลีโอ มันชีนี (Giulio Mancini) ผู้ร่วมสมัยของการาวัจโจ บันทึกว่าสาเหตุที่ถูกปฏิเสธเป็นเพราะคาราวัจโจใช้โสเภณีมีชื่อเป็นแบบสำหรับพระแม่มารี; แต่โจวันนี บากลีโอเน (Giovanni Baglione) ผู้ร่วมสมัยอีกคนหนึ่งกล่าวว่าเป็นเพราะการาวัจโจแสดงช่วงขาที่ออกจะเปิดเผยของพระแม่มารีย์ — ทั้งสองกรณีต่างก็อ้างมาตรฐานของสังคมในขณะนั้น แต่นักวิชาการคาราวัจโจ จอห์น แกชตั้งข้อเสนอว่าปัญหาของนักบวชคาร์เมไลท์อาจจะไม่ใช่ความพอใจหรือไม่พอใจในความสวยงามของภาพ แต่ข้อขัดแย้งมีรากฐานมาจากความแตกต่างทางมุมมองของปรัชญาศาสนา ที่นักบวชคาร์เมไลท์มีความเห็นว่าภาพของการาวัจโจละเลยความเชื่อในเรื่องแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ ที่ว่าพระแม่มารีย์มิได้ถึงแก่มรณกรรมอย่างธรรมดาแต่ถูก “นำ” (Assume) ขึ้นสวรรค์ ภาพเขียนที่นำมาแทนเป็นงานเขียนของผู้ติดตามของการาวัจโจเอง คาร์โล ซาราเชนิ (Carlo Saraceni) ซึ่งเป็นภาพพระแม่มารีย์ที่มิได้นอนเสียชีวิตเช่นในภาพของการาวัจโจแต่นั่งอยู่ แต่ภาพนี้ก็ยังถูกปฏิเสธ และในที่สุดก็แทนด้วยภาพที่พระแม่มารีย์ที่มิได้นอนหรือนั่งเสียชีวิตแต่ขึ้นสวรรค์พร้อมกับหมู่ทูตสวรรค์ แต่จะอย่างไรก็ตามการปฏิเสธก็ไม่ได้หมายความว่างานของคาราวัจโจไม่เป็นที่นิยม ไม่นานหลังจากที่ถูกปฏิเสธดยุกแห่งมานทัวก็ซื้อภาพตามคำแนะนำของปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และต่อมาพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษก็ทรงซื้อต่อ ก่อนที่จะตกไปเป็นของงานสะสมของหลวงในฝรั่งเศสในปี..

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และมรณกรรมของพระนางพรหมจารี (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารตูร์แน

มหาวิหารตูร์แน หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งตูร์แน (Cathédrale Notre-Dame de Tournai; Onze-Lieve-Vrouw van Doornik) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลตูร์แน (Diocese of Tournai) ตั้งอยู่ที่เมืองตูร์แน มณฑลแอโน เขตวัลลูน ในประเทศเบลเยียม โดยสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่พระนางมารีย์พรหมจารี มหาวิหารแห่งนี้ถือเป็นมหาวิหารแห่งเดียวในประเทศเบลเยียมซึ่งตั้งใจสร้างเพื่อมีฐานะเป็นอาสนวิหาร (Cathedral) ซึ่งจัดเป็นผลงานชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมกอทิกแบบตูร์แน (Gothique tournaisien) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างโรมาเนสก์กับกอทิกที่พบได้มากในภูมิภาคแถบนี้ มหาวิหารตูร์แนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานสำคัญของภูมิภาควัลลูน (Patrimoine immobilier classé de la Région wallonne) เมื่อปี ค.ศ. 1936 และต่อมาได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก เมื่อปีค.ศ. 2000.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และมหาวิหารตูร์แน · ดูเพิ่มเติม »

ยกกางเขน (รือเบินส์)

"ยกกางเขน" กลางบานพับภาพ ยกกางเขน (Kruisoprichting; The Elevation of the Cross) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เป็นส่วนหนึ่งของบานพับภาพที่เขียนโดยเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ จิตรกรสมัยบาโรกชาวดัตช์ ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในมหาวิหารแอนต์เวิร์ป ในเมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม รือเบินส์เขียนภาพ "ยกกางเขน" ราวระหว่างปี ค.ศ. 1610 ถึงปี ค.ศ. 1611 หลังจากกลับมายังฟลานเดอส์จากอิตาลี เป็นงานที่แสดงอิทธิพลของจิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและบาโรกของอิตาลี เช่น การาวัจโจ, ตินโตเรตโต และมีเกลันเจโลอย่างเห็นได้ชัด แผงกลางแสดงแรงดึงระหว่างกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของทุกคนที่พยายามยกกางเขนที่หนักด้วยน้ำหนักของพระเยซูที่ทรงถูกตรึงอยู่บนกางเขน อิทธิพลของลักษณะการเขียนแบบทัศนมิติของมีเกลันเจโลเห็นได้อย่างชัดเจนจากความบิดเบี้ยวของร่างแต่ละร่างที่ต่างก็ใช้ความพยายามอย่างหนักในการยกกางเขนให้ตั้งขึ้น ร่างของพระเยซูแผ่ทแยงอย่างเต็มที่อยู่กลางภาพคล้ายกับการวางภาพ "ชะลอร่างจากกางเขน" โดยการาวัจโจ ที่ทั้งการยกลงและยกขึ้นปรากฏในชั่วขณะเดียวกัน รือเบินส์ใช้สีที่เต็มไปด้วยพลังและค่าต่างแสงอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นลักษณะการเขียนที่ค่อยอ่อนลงต่อมา ในปัจจุบันภาพเขียนนี้ตั้งอยู่ภายในมหาวิหารแอนต์เวิร์ปในเมืองแอนต์เวิร์ปพร้อมกับงานเขียนอื่นของรือเบินส์ ระหว่างการยึดครองของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 พระองค์ก็ทรงนำภาพเขียนภาพนี้และภาพ "ชะลอร่างจากกางเขน" ของรือเบินส์ไปยังปารีส จนกระทั่งในปลายคริสต์ทศวรรษ 1800 ทางมหาวิหารจึงได้ภาพเขียนคืน.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และยกกางเขน (รือเบินส์) · ดูเพิ่มเติม »

ยัน เบรอเคิล (ผู้พ่อ)

ัน เบรอเคิล (ผู้พ่อ) (Jan Brueghel de Oude; ค.ศ. 1568 - 13 มกราคม ค.ศ. 1625) เป็นจิตรกรชาวเฟลมิชของสมัยบาโรกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพจิตรกรรมประวัติศาสตร์ ศิลปะคริสเตียน จิตรกรรมภูมิทัศน์ ภาพชีวิตประจำวัน และจิตรกรรมภาพนิ่ง.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และยัน เบรอเคิล (ผู้พ่อ) · ดูเพิ่มเติม »

ยาโกบ ยอร์ดานส์

กบ ยอร์ดานส์ (Jacob Jordaens; 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1593 - 18 ตุลาคม ค.ศ. 1678) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยบาโรกแบบเฟลมิช คริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพประวัติศาสตร์ คริสต์ศาสนา ภาพเหมือน และการออกแบบพรมทอแขวนผนัง ยาโกบ ยอร์ดานส์, เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ และอันโตนี ฟัน ไดก์ เป็นจิตรกรสามคนที่นำความมีหน้ามีตามาสู่ตระกูลการเขียนภาพแบบแอนต์เวิร์ป (Antwerp school) ยอร์ดานส์เป็นจิตรกรในหมู่น้อยที่มิได้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อศึกษาการเขียนภาพแบบอิตาลี และความก้าวหน้าทางอาชีพของยอร์ดานส์ก็มิได้มีอยู่ความสนใจในราชสำนักหรือความก้าวหน้าในราชสำนักd'Hulst, pp.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และยาโกบ ยอร์ดานส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาพเขียนที่มีราคาสูงที่สุด

"โมนาลิซา"ราคาประเมิน 22,337,782,886 บาท ใน ค.ศ. 2006 รายชื่อภาพเขียนที่มีราคาสูงที่สุด เป็นรายชื่อของภาพเขียนที่ทราบกันว่ามีการซื้อขายจิตรกรรมกันในราคาที่สูงที่สุดตามที่บันทึกเป็นหลักฐาน การขายครั้งแรกในรายการเป็นการขายภาพ "ทานตะวันสิบห้าดอกในแจกัน" โดยฟินเซนต์ ฟัน โคค ในปี..

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และรายชื่อภาพเขียนที่มีราคาสูงที่สุด · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาพเขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี

ูบทความหลักที่ เลโอนาร์โด ดา วินชี รายชื่อภาพเขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี เป็นรายการภาพเขียนสีน้ำมันและจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี มีภาพเขียนทั้งหมดด้วยกันสิบห้าชิ้นที่ระบุว่าเป็นงานเขียนของเลโอนาร์โด ดา วินชีซึ่งรวมทั้ง จิตรกรรมแผง, จิตรกรรมฝาผนัง, ภาพร่าง, และงานที่ยังอยู่ในระหว่างการตระเตรียม ภาพเขียนหกภาพยังไม่เป็นที่ตกลงกันแน่นอนว่าเขียนโดยเลโอนาร์โดหรือไม่ สี่ภาพเพิ่งได้รับการยืนยันว่าเลโอนาร์โดเป็นผู้เขียนและอีกสองภาพหายไป ในบรรดาภาพเขียนทั้งหมดไม่มีภาพใดที่เลโอนาร์โด ดา วินชีลงชื่อ ฉะนั้นการที่จะบ่งว่าเป็นงานเขียนของเลโอนาร์โดหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับการศึกษาและการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญ การที่เลโอนาร์โด มีผลงานเพียงไม่กี่ชิ้นก็อาจจะเป็นเพราะเป็นผู้มีความสนใจในสิ่งรอบตัวต่าง ๆ และความชอบทดสอบสิ่งใหม่ ๆ นอกจากนั้นยังชอบผัดวันประกันพรุ่ง แต่กระนั้นงานของเลโอนาร์โดก็เป็นงานที่มีความสำคัญเป็นอันมากในทางศิลปะและมีอิทธิพลต่อจิตรกรอื่น.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และรายชื่อภาพเขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อจิตรกร

รายชื่อจิตรกร.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และรายชื่อจิตรกร · ดูเพิ่มเติม »

วังดยุกแห่งมานตัว

วังดยุกแห่งมานตัว (Ducal palace, Palazzo Ducale di Mantova) เป็นกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นวังที่พำนักของดยุกแห่งมานตัวตั้งอยู่ที่มานตัวในประเทศอิตาลี วังดยุกสร้างราวระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ส่วนใหญ่สำหรับตระกูลกอนซากาเพื่อใช้เป็นที่พำนักในเมืองหลวงของอาณาจักรดยุก สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในกลุ่มเชื่อมต่อกันโดยซุ้มระเบียง ลานภายใน และสวน และมีห้องทั้งหมดด้วยกัน 500 ห้องในเนื้อที่ทั้งหมดราว 34,000 ตารางเมตร สิ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดของวังคืองานจิตรกรรมฝาผนังตกแต่งห้องเจ้าสาว (ห้องสมรส) ที่เขียนโดยอันเดรีย มานเทน.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และวังดยุกแห่งมานตัว · ดูเพิ่มเติม »

วังเบลนิม

วังเบลนิม (Blenheim Palace) หรือ คฤหาสน์เบลนิม เป็นคฤหาสน์ที่สร้างอย่างวังตั้งอยู่ที่เมืองเล็กๆ ชื่อวู้ดสต็อคในมลฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ สร้างโดยซาราห์ เชอร์ชิลผู้เป็นภรรยาของจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ และเป็นพระสหายสนิทของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ระหว่างปี ค.ศ. 1705 ถึง ค.ศ. 1722 วังเบลนิมเป็นสถาปัตยกรรมแบบวัง โดยมี เซอร์จอห์น แวนบรูห์เป็นสถาปนิก วังเบลนิมเป็นคฤหาสน์ที่มิได้เป็นของราชวงศ์ แต่ก็ใช้คำนำหน้าว่า “วัง” ซึ่งเป็นแห่งเดียวในอังกฤษเพราะความยิ่งใหญ่ของสิ่งก่อสร้าง จุดประสงค์ของการก่อสร้างเมื่อเริ่มแรกเพื่อเป็นของขวัญสำหรับจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระเพื่อเป็นการตอบแทนในการนำกองทัพอังกฤษรบชนะฝรั่งเศสและบาวาเรีย แต่ต่อมาเบลนิมกลายเป็นปัญหาในการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งเป็นผลทำให้ดยุกและดัชเชสแห่งมาร์ลบะระสิ้นอำนาจ รวมทั้งการเสียชื่อเสียงของสถาปนิกจอห์น แวนบรูห์ ตัววังสร้างเป็นแบบบาโรก ปฏิกิริยาหรือคุณค่าของสิ่งก่อสร้างจนบัดนี้ก็ยังไม่เป็นที่เห็นพ้องกันได้ เช่นเดียวกับในสมัยเมื่อเริ่มสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1720 ตัวสิ่งก่อสร้างเป็นลักษณะที่ผสมระหว่างที่อยู่อาศัย, ที่เก็บศพ และ อนุสาวรีย์ นอกจากนั้นสิ่งที่น่าสนใจคือเป็นที่เกิดของวินสตัน เชอร์ชิลอดีตนายกรัฐมนตรีคนสำคัญของอังกฤษ คำจารึกเหนือประตูใหญ่ทางตะวันออกบอกประวัติของสิ่งก่อสร้าง: แต่ตามความเป็นจริงแล้วความสำเร็จของการสร้างเบลนิมเป็นผลจากความทะเยอทะยานของซาราห์ เชอร์ชิลเป็นส่วนใหญ่ หลังจากสร้างเสร็จเบลนิมก็กลายเป็นที่พำนักของตระกูลเชอร์ชิลมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาได้ราว 300 ปี ในระหว่างนั้นตัววังและอุทยานก็ได้รับการเปลื่ยนแปลงมาโดยตลอด เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตระกูลมาร์ลบะระก็ประสบปัญหาทางการเงินจนต้องขายทรัพย์สมบัติสำคัญๆ ไปบ้าง แต่การแต่งงานกับสตรีชาวอเมริกันก็ช่วยนำเงินมาบำรุงรักษาเบลนิมให้ยังอยู่ในสภาพดังเช่นเมื่อเริ่มสร้าง.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และวังเบลนิม · ดูเพิ่มเติม »

วังเชอนงโซ

วังเชอนงโซ (Château de Chenonceau) ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเชอนงโซ (Chenonceaux) ในจังหวัดแอ็งเดรลัวร์ แคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส วังเดิมสร้างบนโรงป่นแป้งเก่าบนฝั่งแม่น้ำแชร์ และสร้างมาก่อนหน้าที่จะมีหลักฐานทางเอกสารเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 วังปัจจุบันออกแบบโดยฟีลีแบร์ เดอ ลอร์ม (Philibert De l'Orme) สถาปนิกเรอเนซองซ.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และวังเชอนงโซ · ดูเพิ่มเติม »

วัตสันและปลาฉลาม

วัตสันและปลาฉลาม (Watson and the Shark) ที่เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอห์น ซิงเกิลทัน โคพลีย์จิตรกรชาวอเมริกัน เป็นภาพของการช่วยเหลือบรุค วัตสันผู้เป็นพ่อค้าบริติชและอดีตนายกเทศมนตรีของนครลอนดอนจากการถูกโจมตีโดยปลาฉลามที่ฮาวานาในคิวบา ภาพต้นฉบับสามภาพโดยโคพลีย์เป็นของ หอศิลป์แห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี.ในสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และวัตสันและปลาฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

วินเชนโซที่ 1 กอนซากา

วินเช็นโซที่ 1 กอนซากา (Vincenzo I Gonzaga) (21 กันยายน ค.ศ. 1562 - 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1612) วินเช็นโซดำรงตำแหน่งเป็นดยุคแห่งมานทัวระหว่างปี ค.ศ. 1587 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1612 วินเช็นโซเป็นบุตรของกูกลิเอลโมที่ 1 กอนซากาและอาร์คดัชเชสเอเลเนอร์แห่งออสเตรีย วินเช็นโซเป็นผู้อุปถัมภ์คนสำคัญทางศิลปะและวิทยาศาสตร์และมีบทบาทในการทำให้มานทัวกลายเป็นศูนย์กลางสำคัญทางวัฒนธรรม และเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปินสำคัญๆ เช่นคีตกวีคลอดิโอ มอนเตแวร์ดิ (Claudio Monteverdi) และจิตรกรเฟล็มมิชปีเตอร์ พอล รูเบน.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และวินเชนโซที่ 1 กอนซากา · ดูเพิ่มเติม »

วีนัสหลับ (จอร์โจเน)

วีนัสหลับ หรือ วีนัสแห่งเดรสเดน (Sleeping Venus หรือ Dresden Venus, I tre filosofi) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอร์โจเนจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอจิตรกรรมชั้นครูแห่งเดรสเดนในประเทศเยอรมนี ภาพ “วีนัสหลับ” เขียนเสร็จราวระหว่างปี ค.ศ. 1510 ภาพ “วีนัสหลับ” เป็นภาพที่มีอิทธิพลต่องานเขียนอื่นๆ หลายชิ้น ในปัจจุบันเชื่อกันว่าทิเชียนเป็นผู้เขียนฉากหลังที่เป็นภูมิทัศน์ ที่มาเขียนหลังจากที่จอร์โจเนเสียชีวิตไปแล้ว ตามที่วาซาริตั้งข้อสังเกต ภาพ “วีนัสหลับ” เป็นงานหนึ่งในงานเขียนสุดท้ายของจอร์โจเนที่เป็นภาพสตรีเปลือย ที่ดูเหมือนร่างจะมีส่วนโค้งเว้าตามแนวเนินในฉากหลัง ดูเหมือนว่าจอร์โจเนจะเขียนรายละเอียดของแสงเงาของฉากหลังอย่างบรรจง การเลือกเขียนสตรีเปลือยเป็นแนวการเขียนที่เป็นการปฏิวัติทางศิลปะและเป็นจุดที่ผู้เชี่ยวชาญบางท่านถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของศิลปะยุคใหม่ จอร์โจเนมาเสียชีวิตเสียก่อนที่ภาพเขียนนี้จะเขียนเสร็จ ซึ่งทำให้เชื่อกันว่าทิเชียนมาเขียนภูมิทัศน์และท้องฟ้าในฉากหลัง ที่ทิเชียนนำมาเขียนต่อมาในภาพ “วีนัสแห่งเออร์บิโน” ความยั่วยวนของวีนัสในภาพนี้อยู่ที่การวางท่าและตำแหน่งของมือซ้ายที่วางระหว่างต้นขา ผ้าปูเขียนเป็นสีเงินและเป็นเงาเหมือนผ้าซาตินซึ่งเป็นสีเย็นแทนที่จะเป็นสีร้อนของผ้าลินนินที่นิยมเขียนกัน ลักษณะของผ้าดูแข็งเมื่อเทียบกับที่พบในภาพเขียนของทิเชียนหรือเดียโก เบลัซเกซ ภูมิทัศน์โค้งตามส่วนโค้งของร่างของวีนัสที่เป็นการสะท้อนให้เห็นความคิดของความเกี่ยวข้องระหว่างร่างกายของมนุษย์ว่าเป็นสิ่งธรรมชาติที่เป็นสิ่งที่มีชีวิตและเจริญเติบโตได้ มีผู้อ้างว่าการวางท่าของวีนัสมีลักษณะคล้ายกับภาพพิมพ์แกะไม้ The pose of the figure has been connected with a figure in one of the ภาพพิมพ์แกะไม้ประกอบของหนังสือ “Hypnerotomachia Poliphili” (โพลิฟิลิตามความรักในฝัน) ที่พิมพ์ในปี..

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และวีนัสหลับ (จอร์โจเน) · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะดัตช์

ลปะดัตช์ (Dutch art) เป็นการบรรยายประวัติศาสตร์ทัศนศิลป์ของเนเธอร์แลนด์หลังจากสหพันธ์จังหวัดแยกจากฟลานเดอส์มาเป็นสาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ที่รวมทั้งงานเขียนของสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก, ยุคทองของเนเธอร์แลนด์, จิตรกรรมยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้น และจิตรกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และศิลปะดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในฝรั่งเศส

มัยฟื้นฟูศิลปวิทยาฝรั่งเศส (French Renaissance) หมายถึงการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมและศิลปะ ระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 จนถึง ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่เป็นส่วนหนึ่งของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรป ที่นักประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าเริ่มต้นขึ้นในอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 14 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของฝรั่งเศสตามปกติแล้วถือว่าเริ่มขึ้น ตั้งแต่การรุกรานของฝรั่งเศสเข้าไปในอิตาลีในปี..

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมบาโรก

วิหารซุพเพอร์กา (Basilica di Superga) ใกล้เมืองตูริน ประเทศอิตาลี โดย ฟิลิโป คูวารา (Filippo Juvarra) วิการตกแต่งภายในของวัดวีส์ ประเทศเยอรมนี ที่แสดงถึงความแยกไม่ออกระหว่างประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมบาโรก (ภาษาอังกฤษ: Baroque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ประเทศอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งถึงความหรูหราโอ่อ่าและความมีอำนาจของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครอง และจะเน้นเรื่องแสง สี เงา และคุณค่าของประติมากรรม ขณะที่สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบันคาทอลิกต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และสถาปัตยกรรมบาโรก · ดูเพิ่มเติม »

หอศิลป์บอร์เกเซ

หอศิลป์บอร์เกเซ (Galleria Borghese; Borghese Gallery) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ตั้งอยู่ที่กรุงโรมในประเทศอิตาลี ที่ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1903 หอศิลป์บอร์เกเซตั้งอยู่ในสิ่งก่อสร้างที่เดิมเป็น “วิลลาบอร์เกเซพินชิอานา” ที่เดิมเป็นส่วนสำคัญของสวนแต่ในปัจจุบันสวนแยกเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากเป็นสวนวิลลาบอร์เกเซ (Villa Borghese gardens) หอศิลป์บอร์เกเซเป็นที่ตั้งแสดงศิลปะของงานสะสมบอร์เกเซ ที่รวมทั้งจิตรกรรม, ประติมากรรม และศิลปะโบราณที่เริ่มสะสมโดยคาร์ดินัลสคิปิโอเน บอร์เกเซ (Scipione Borghese) หลานของสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 5 คฤหาสน์สร้างโดยสถาปนิกฟลามินิโอ พอนซิโอ (Flaminio Ponzio) จากร่างที่เขียนโดยสคิปิโอเนเอง ผู้ที่ใช้เป็นคฤหาสน์นอกเมืองสำหรับจัดงานเลี้ยง สคิปิโอเน บอร์เกเซเป็นผู้อุปถัมภ์คนแรกๆ ของจานโลเรนโซ แบร์นินี และเป็นผู้ชอบสะสมงานของคาราวัจโจ ที่ประกอบด้วย “เด็กชายกับตะกร้าผลไม้”, “นักบุญเจอโรมเขียนหนังสือ”, “บัคคัสไม่สบาย” และอื่นๆ ภาพเขียนอื่นๆ ที่สำคัญก็ได้แก่ “วีนัสและเจ้าสาว” โดยทิเชียน, “ชะลอร่างจากกางเขน” โดยราฟาเอล และงานของปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และเฟเดอริโค บารอชชิ (Federico Barocci).

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และหอศิลป์บอร์เกเซ · ดูเพิ่มเติม »

อบันดันเชีย

ทพีอบันดันเชีย (Abundantia) เป็นเทพีในตำนานเทพปกรณัมโรมันแห่งโชคลาภ ความอุดมสมบูรณ์ และความมั่งมี ในตำนานเทพเจ้าโรมันอบันดันเชียหรือที่รู้จักกันในชื่อ “อันโนนา” ถือว่าเป็นเทพีชั้นรองและเป็นผู้พิทักษ์กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์ ที่ทำให้เป็นผู้แจกจ่ายอาหารและเงินทอง ที่มาของกรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์ของกรีกและโรมันคล้ายคลึงกันที่เทพซูสทรงหักเขาแพะโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งทำให้ทรงสัญญาว่ากรวยหรือเขานี้จะหลั่งไหลด้วยพืชพันธ์ผลไม้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และให้เทพีอบันดันเชียเป็นผู้รักษ.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และอบันดันเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อัลเทอพีนาโคเทค

อัลเทอพีนาโคเทค (Alte Pinakothek, "พิพิธภัณฑ์ศิลปะเก่า") เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ตั้งอยู่ที่คุนสท์อาเรอาล เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี "อัลเทอพีนาโคเทค" ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1836 พิพิธภัณฑ์เดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก่าที่สุดแห่งหนึ่งในโลกที่เป็นหนึ่งในสามพิพิธภัณฑ์ของกลุ่มพีนาโคเทค (Pinakothek) ได้แก่ "น็อยเออพีนาโคเทค" (Neue Pinakothek, "พิพิธภัณฑ์ศิลปะใหม่") ที่แสดงงานสะสมงานที่สร้างตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และ "พีนาโคเทคเดอร์โมแดร์เนอ" (Pinakothek der Moderne, "พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่") ที่แสดงงานสะสมศิลปะสมัยใหม่ ทั้งสามพิพิธภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของ "คุนสท์อาเรอาล" (Kunstareal) หรือบริเวณพิพิธภัณฑ์ของมิวนิก.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และอัลเทอพีนาโคเทค · ดูเพิ่มเติม »

อันโตน ฟัน ไดก์

"ภาพเหมือนกับดอกทานตะวัน" แสดงให้เห็นเหรียญที่พระเจ้าชาลส์ที่ 1 พระราชทานเมื่อ ค.ศ. 1633 ดอกทานตะวันอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน หรือการอุปถัมภ์หลวงSo Ellis Waterhouse (as refs below). But Levey (refs below) suggests that either van Dyck is the sun to which the sun-flower (of popular acclaim?) turns its face, or that it is the face of the King, on the medal he holds, as presented by van Dyck to the world ภาพเหมือนของครอบครัวโลเมลลี (Lomelli family) ค.ศ. 1623 ภาพเหมือนของลอร์ดจอห์น สจวต และน้องชายลอร์ดเบอร์นาร์ด สจวต--ลักษณะที่ผู้เป็นแบบมีเป็นความกันเองมากขึ้นที่ฟัน ไดก์มาวิวัฒนาการในอังกฤษ, ประมาณ ค.ศ. 1638 พระเจ้าชาลส์ที่ 1 (ราว ค.ศ. 1635) อันโตน ฟัน ไดก์ (Antoon van Dyck, Antoon van Dijck) หรือ แอนโทนี แวน ไดก์ (Anthony van Dyck; 22 มีนาคม ค.ศ. 1599 – 9 ธันวาคม ค.ศ. 1641) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวเฟลมมิชซึ่งมาเป็นจิตรกรคนสำคัญประจำราชสำนักพระเจ้าชาลส์ที่ 1ที่อังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพสีน้ำมัน โดยเฉพาะภาพเหมือน ภาพเขียนที่มีชื่อเสียงของฟัน ไดก์เป็นภาพเหมือนของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 และครอบครัวซึ่งวางท่าลักษณะสบายแต่สง่าแบบที่กลายมาเป็นแบบที่ใช้ในการเขียนภาพเหมือนต่อมาในอังกฤษเป็นเวลาราว 150 ปี นอกจากภาพเหมือนแล้ว ฟัน ไดก์ยังเขียนภาพจากพระคัมภีร์และตำนานเทพ และเป็นจิตรกรคนสำคัญผู้ริเริ่มใช้สีน้ำและกลวิธีพิมพ์กัดกรด (etching).

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และอันโตน ฟัน ไดก์ · ดูเพิ่มเติม »

อาดัม เอลสไฮเมอร์

อาดัม เอลสไฮเมอร์ (Adam Elsheimer) (18 มีนาคม ค.ศ. 1578 - 11 ธันวาคม ค.ศ. 1610) เป็นจิตรกรชาวเยอรมันที่ทำงานในกรุงโรม เอลสไฮเมอร์เสียชีวิตเมื่ออายุได้เพียง 32 ปีแต่ก็เป็นจิตรกรผู้มีอิทธิพลในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพประวัติศาสตร์, จิตรกรรมภูมิทัศน์ และจิตรกรรมตู้ เอลสไฮเมอร์มีอิทธิพลต่อจิตรกรคนอื่นๆ เช่นปีเตอร์ พอล รูเบนส์, แรมบรังด์ และดาวิด เทนิเยร์ส (ผู้ลูก) เอลสไฮเมอร์เขียนภาพเพียงไม่กี่ภาพและมักจะเป็นภาพเล็กที่เขียนบนแผ่นทองแดง และเป็นผู้คิดค้นวิธีใช้แสงต่างๆ และการเขียนจิตรกรรมภูมิทัศน.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และอาดัม เอลสไฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปพอคราทีส

ปพอคราทีส บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก ฮิปพอคราทีส (Hippocrates; Ἱπποκράτης; Hippokrátēs; ประมาณ พ.ศ. 83-166) เป็นแพทย์ชาวกรีกโบราณ ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก" และต้นตอของ "คำสัตย์สาบานฮิปพอคราทีส (Hippocrates oath) ในจรรยาบรรณแพทย์ เกิดที่เกาะโคส ประเทศกรีซ ฮิปพอคราทีสได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงในวงการแพทย์รุ่นโบราณว่าเป็นผู้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับวิชาการแพทย์ไว้มากกว่า 70 ชิ้นงาน โดยเฉพาะเรื่อง "ฮิปพอคราทีสคอร์ปัส" (Hippogrates corpus) แต่ในภายหลังก็เป็นที่ทราบกันว่าใน 70 เรื่องนี้มีไม่กี่ชิ้นที่เขียนโดยฮิปพอคราทีสเอง แต่เชื่อว่าชิ้นงานทั้งหลายดังกล่าวเกิดจากการสะสมตำราและเอกสารในห้องสมุดของโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งในสมัยนั้นซึ่งได้มาจากหลายแหล่ง เขียนโดยหลายคนที่มีความเห็นต่าง ๆ กัน แต่นำมารวมผิด ๆ ถูก ๆ ภายใต้ชื่อฮิปพอคราทีส ฮิปพอคราทีสได้ทำคุณประโยชน์ทางการแพทย์ไว้อย่างใหญ่หลวงโดยการรักษาคนไข้อย่างมีแบบแผน ผิดกับแพทย์ทั่วไปในสมัยนั้นที่ตั้งตนเป็นผู้มีคาถาอาคมเป็นผู้วิเศษที่เชื่อว่าการเจ็บป่วยเป็นการถูกลงโทษโดยพระเจ้าต้องรักษาด้วยพิธีกรรม แต่ฮิปพอคราทีสกลับเห็นว่าเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ ฮิปพอคราทีสเป็นคนแรกที่ทำระเบียนบันทึกอาการและประวัติของคนไข้ วางกฎเกณฑ์วิธีการปฏิบัติตนของแพทย์กับคนไข้ ซึ่งยังคงถือปฏิบัติกันอยู่ถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดีความสำเร็จของผู้เขียนรวมนิพนธ์ฮิปพอคราทีส ผู้ปฏิบัติวิชาแพทย์แบบฮิปพอคราทีส และผลงานของฮิปพอคราทีสเองถูกหลอมรวมกันไปอย่างแยกไม่ออก ทำให้มีข้อมูลตกทอดมาถึงปัจจุบันน้อยมากว่าสิ่งใดกันแน่ที่ฮิปพอคราทีสเป็นผู้คิด เขียน และทำจริงๆ แม้กระนั้นฮิปพอคราทีสก็ได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่างของการแพทย์ในยุคโบราณ โดยเฉพาะการเป็นผู้ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมากในการศึกษาวิชาแพทย์ทางคลินิกอย่างเป็นระบบ รวบรวมวิชาแพทย์ของคำสอนการแพทย์ในอดีตเอาไว้ และสั่งสอนเวชปฏิบัติแก่แพทย์ผ่านคำปฏิญาณฮิปพอคราทีส รวมนิพนธ์ และงานชิ้นอื่น.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และฮิปพอคราทีส · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ วิลเลิร์ส ดยุกที่ 1 แห่งบักกิงแฮม

อร์จ วิลเลิร์ส ดยุกที่ 1 แห่งบักกิงแฮม (George Villiers, 1st Duke of Buckingham) (28 สิงหาคม ค.ศ. 1592 - (23 สิงหาคม ค.ศ. 1628) เป็นข้าราชสำนักคนโปรดและบางหลักฐานก็อ้างว่าเป็นคนรักของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และจอร์จ วิลเลิร์ส ดยุกที่ 1 แห่งบักกิงแฮม · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรชั้นครู

วีนัสหลับ” (ราว ค.ศ. 1510) โดย จอร์โจเนที่หอจิตรกรชั้นครูแห่งเดรสเดน จิตรกรรมที่เขียน ราว ค.ศ. 1440 ที่ไม่ทราบนามจิตรกรที่ได้รับการระบุว่าเป็นงาน “ไม่ทราบนามครูบา” จิตรกรชั้นครู (Old Master) เป็นคำที่ใช้เรียกภาพเขียนที่เป็นงานเขียนของจิตรกรที่ถือกันว่าเป็นจิตรกรชั้นครู ผู้มีงานเขียนก่อราวปี..

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และจิตรกรชั้นครู · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมบาโรก

“ยาม” โดย แรมบรังด์ ราว ค.ศ. 1642 เป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมแบบบาโรก จิตรกรรมบาโรก (Baroque painting) เป็นจิตรกรรมที่เกี่ยวข้องกับขบวนการศิลปะบาโรก ซึ่งเป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับระบบสัมบูรณนิยมทางการเมือง (absolutism), การปฏิรูปศาสนาซ้อน (Counter Reformation) และการฟื้นฟูโรมันคาทอลิก, from Encyclopædia Britannica Online, latest edition, full-article.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และจิตรกรรมบาโรก · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมบาโรกแบบเฟลมิช

"ยกร่างพระเยซู" โดยปีเตอร์ พอล รูเบนส์ ราว ค.ศ. 1610–1611 จิตรกรรมบาโรกแบบเฟลมิช (Flemish Baroque painting) เป็นศิลปะที่รุ่งเรืองในบริเวณเนเธอร์แลนด์ใต้ ระหว่างราว..

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และจิตรกรรมบาโรกแบบเฟลมิช · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

การแต่งงานของเวอร์จินแมรี” ภาพ “พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (Italian Renaissance painting) คือสมัยประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมที่เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เกิดขึ้นในบริเวณของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นแบ่งการปกครองเป็นอาณาบริเวณต่างๆ จิตรกรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับราชสำนักหรือสำนัก หรือเมือง แต่ก็มีโอกาสได้ท่องเที่ยวอย่างกว้างไกลไปทั่วอิตาลี และมักจะได้รับฐานะเป็นทูตในการเผยแพร่อิทธิพลความคิดทั้งทางศิลปะและปรัชญา เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและโดยเฉพาะในสาขาจิตรกรรมก็คือเมืองฟลอเรนซ์ที่อ่านประกอบได้ในบทความ “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา”, ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และ “สถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา” จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีแบ่งเป็นสี่สมัย.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสีน้ำมัน

"โมนาลิซา" โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ราว ค.ศ. 1503-1506 จิตรกรรมสีน้ำมัน หรือ ภาพเขียนสีน้ำมัน (oil painting) คือการเขียนภาพโดยใช้สีฝุ่นที่ผสมกับน้ำมันแห้ง (drying oil) — โดยเฉพาะในตอนต้นของยุโรปสมัยใหม่, น้ำมันลินสีด (linseed oil) ตามปกติแล้วก็จะต้มน้ำมันเช่นลินสีดกับยางสนหรือยางสนหอม (frankincense) ส่วนผสมนี้เรียกว่า "น้ำมันเคลือบ" (varnish) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพเขียนมีความหนาและเป็นเงา น้ำมันอื่นที่ใช้ก็มีน้ำมันเม็ดฝิ่น, น้ำมันวอลนัต, และน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันแต่ละอย่างก็มีคุณภาพต่าง ๆ กัน เช่นอาจจะทำให้สืเหลืองน้อยลง หรือใช้เวลาแห้งไม่เท่ากัน บางครั้งก็จะเห็นความแตกต่างจากเงาของภาพเขียนแล้วแต่ชนิดของน้ำมัน จิตรกรจะใช้น้ำมันหลายชนิดในภาพเขียนเดียวกันเพื่อให้ได้ลักษณะของภาพเขียนออกมาตามที่ต้องการ การแสดงออกของสีก็จะต่างกันตามแต่วัสดุที่ใช้เขียน.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และจิตรกรรมสีน้ำมัน · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมแผง

"ฉากแท่นบูชาเกนต์" โดยยัน ฟัน ไอก์ และพี่ชาย, ค.ศ. 1432. ฉากแท่นบูชา (altarpiece) บนแผ่นไม้ เขียนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จิตรกรรมแผง (panel painting) คือการเขียนภาพบนแผ่นไม้ อาจจะเป็นแผ่นเดียวหรือหลายแผ่นเชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียว ซึ่งแตกต่างกับบานพับภาพที่จะแยกจากกัน (บานพับภาพ มักรวมเรียกเป็นส่วนหนึ่งของจิตรกรรมแผง) แผ่นไม้ใช้เป็นพื้นสำหรับวาดภาพจนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยผ้าใบในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นอกเหนือไปจากการวาดบนผนัง หรือบนหนังสัตว์ ซี่งวัสดุชนิดหลังนี้นิยมใช้ในการวาดหนังสือวิจิตร หรือเขียนภาพสำหรับใส่กรอ.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และจิตรกรรมแผง · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมเฟลมิช

ตรกรรมเฟลมิช (Flemish painting) รุ่งเรืองตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 บริเวณฟลานเดอส์เป็นบริเวณที่มีจิตรกรสำคัญ ๆ ทางตอนเหนือของยุโรปและเป็นที่ดึงดูดจิตรกรจากประเทศข้างเคียง จิตรกรเหล่านี้นอกจากจะมีผลงานในฟลานเดอส์แล้วยังได้รับการเชิญให้ไปเป็นช่างเขียนประจำราชสำนักและสำนักต่าง ๆ ในยุโรป.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และจิตรกรรมเฟลมิช · ดูเพิ่มเติม »

ทิเชียน

“ภาพเหมือน” (ราว ค.ศ. 1488) ภาพเหมือนดยุ๊คแห่งเวนิสมาร์คานโตนิโอ เทรวิซานิ (Marcantonio Trevisani) ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่บูดาเพช ประเทศฮังการี เทพดานาเอ” (Danaë) ภาพหนึ่งจากหลายภาพจากตำนานเทพที่ทิเชียนเขียน จ้างโดยพระเจ้าฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปนใน ค.ศ. 1554 แม้ว่าไมเคิล แอนเจโลจะติจากมุมมองของการวาดเส้นแต่ทิเชียนก็เขียนภาพนี้อีกหลายภาพให้กับผู้อุปถัมภ์อื่นๆ ทิเซียโน เวเชลลี หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ทิเชียน หรือ ทิชัน (Tiziano Vecelli หรือ Tiziano Vecellio หรือ Titian.) (ค.ศ. 1485 - 27 สิงหาคม ค.ศ. 1576) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีความสำคัญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน ทิเชียนเป็นจิตรกรผู้นำของศิลปะเรอเนซองส์ของตระกูลการเขียนแบบเวนิส ทิเชียนเกิดที่พิเว ดี คาดอเร (Pieve di Cadore) ใกล้เมืองเบลลูโน ในรัฐอาณาจักรเวนิส จึงรู้จักกันในนามว่า “ดา คอเดเร” ตามเมืองเกิดด้วย ทิเชียน เป็นจิตรกรที่มีความสามารถหลายด้าน ผู้เขียนได้ทั้งภาพเหมือนและภาพภูมิทัศน์อันเป็นสองลักษณะที่ทำให้มีชื่อเสียง และการเขียนตำนานเทพ และศิลปะคริสต์ศาสนา ถ้าทิเชียนเสียชีวิตเมื่ออายุได้เพียง 40 ปีก็ยังถือเป็นจิตรกรที่มีอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในสมัยนั้น แต่ทิเชียนก็อยู่ต่อมาอีก 50 ปีในขณะที่เปลี่ยนแปลงวิธีเขียนภาพจากเดิมไปเป็นอย่างมาก นักวิจารณ์บางคนไม่เชื่อว่างานที่สร้างเมื่อสมัยต้นและสมัยปลายของทิเชียนเป็นงานของจิตรกรคนเดียวกัน ลักษณะที่ทำให้ทราบว่าเป็นคนเดียวกันคือความสนใจอย่างลึกซึ้งในการใช้สี งานในสมัยหลังแม้จะไม่ใช้สีสดและเรืองอย่างสมัยแรก แต่ฝีแปรงที่พริ้วที่แฝงให้เห็นความที่จะเป็นสีต่างๆ เพียงเล็กน้อยเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และทิเชียน · ดูเพิ่มเติม »

ดาฟิด เตอเนียร์ส (ผู้ลูก)

ฟิด เตอเนียร์ส (ผู้ลูก) (David Teniers de Jonge) หรือ ดาฟิด เตอเนียร์สที่ 2 (David Teniers II; 15 ธันวาคม ค.ศ. 1610 - 25 เมษายน ค.ศ. 1690) เป็นจิตรกรชาวเฟลมิชผู้มีความสำคัญเกือบเทียบเท่าเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ ของสมัยบาโรกในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เตอเนียร์สมีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพชีวิตประจำวัน จิตรกรรมภูมิทัศน์ จิตรกรรมห้องแสดงภาพและงานสะสม และจิตรกรรมตู้ ดาฟิด เตอเนียร์ส (ผู้ลูก) เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1610 ที่เมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเนเธอร์แลนด์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเบลเยียม) เป็นบุตรของดาฟิด เตอเนียร์ส (ผู้พ่อ) ส่วนลูกชาย (ดาฟิด เตอเนียร์สที่ 3) และหลานของเขา (ดาฟิด เตอเนียร์สที่ 4) ต่างก็เป็นจิตรกรเช่นกัน ดาฟิดแต่งงานกับอันนา ซึ่งเป็นลูกสาวของยัน เบรอเคิล (ผู้พ่อ) และเป็นหลานของปีเตอร์ เบรอเคิล (ผู้พ่อ).

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และดาฟิด เตอเนียร์ส (ผู้ลูก) · ดูเพิ่มเติม »

ซาลอมง เดอ บร็อส

ซาลอมง เดอ บร็อส (Salomon de Brosse; ค.ศ. 1571 - 9 ธันวาคม ค.ศ. 1626) เป็นสถาปนิกของสมัยบาโรกชาวฝรั่งเศสผู้มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 17 งานชิ้นสำคัญของซาลอมง เดอ บร็อสก็ได้แก่พระราชวังลุกซ็องบูร์สำหรับสมเด็จพระราชินีนาถมารี เดอ เมดิชิที่ออกแบบตามแบบวังพิตติที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ซาลอมง เดอ บร็อสมาจากครอบครัวที่มีหน้ามีตาของอูกโนเป็นหลานทางแม่ของช่างออกแบบฌักที่ 1 อ็องดรูแอ ดูว์ แซร์โซ (Jacques I Androuet du Cerceau) และลูกของสถาปนิกฌ็อง เดอ บร็อส เดอ บร็อสก่อตั้งสำนักงานสถาปนิกในกรุงปารีสในปี..

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และซาลอมง เดอ บร็อส · ดูเพิ่มเติม »

ซาโลมอน

ซาโลมอน (ศัพท์คริสต์ศาสนา) หรือ โซโลมอน (ศัพท์ประวัติศาสตร์) (ละติน: Solomon; שְׁלֹמֹה) มาจากราก S-L-M ที่แปลว่า ความสงบ ในอิสลามว่า สุลัยมาน หรือตามฉายาคือ ซาโลมอนผู้ทรงปัญญา ชื่ออีกชื่อหนึ่งที่ใช้ในคัมภีร์ฮีบรูคือ เจดิดิอา (יְדִידְיָהּ) ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่สามแห่งอิสราเอล ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรูหมวดทานัคของศาสนายูดาห์ คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ และในคัมภีร์อัลกุรอานของศาสนาอิสลาม คัมภีร์กล่าวว่ากษัตริย์ซาโลมอนเป็นบุตรของดาวิด และกล่าวว่าเป็นกษัตริย์องค์ที่สามของสหราชอาณาจักรอิสราเอลและกษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนที่จะแยกเป็นราชอาณาจักรอิสราเอลทางเหนือและราชอาณาจักรยูดาห์ทางใต้ หลังจากการแยกตัวผู้ที่สืบเชื้อสายก็ปกครองแต่เพียงราชอาณาจักรยูดาห์เท่านั้น พระคัมภีร์กล่าวว่าพระเจ้าซาโลมอนเป็นผู้สร้างวิหารแห่งซาโลมอน ในกรุงเยรูซาเลมที่ถือกันว่าเป็นพระวิหารแห่งเยรูซาเลมหลังแรก และเป็นผู้มีความฉลาด มั่งคั่ง และอำนาจอย่างมากในยุคนั้น.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และซาโลมอน · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเปโตร

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และซีโมนเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์

ปีเตอร์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และปีเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญถือศีรษะ

นักบุญเดนิส นักบุญถือศีรษะ (Cephalophore) ในภาษาอังกฤษ "Cephalophore" มาจากภาษากรีกโบราณที่แปลว่า "ผู้ถือศีรษะ" หมายถึงนักบุญผู้ที่มักจะแสดงเป็นภาพผู้ถือศีรษะของตนเอง ที่โดยทั่วไปหมายถึงมรณสักขีในศาสนาคริสต์ที่ถูกสังหารโดยการบั่นคอ เมื่อถือศีรษะอยู่ในอ้อมแขนก็ทำให้ยากต่อจิตรกรในการพยายามวาดรัศมีที่เป็นสัญลักษณ์ว่าเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์ ศิลปินบางคนก็วาดรัศมีในบริเวณที่เคยเป็นศีรษะ หรือบางครั้งนักบุญก็จะประคองศีรษะที่มีรัศมี ที่มาของการถือศีรษะมีด้วยกันสองแหล่ง ในความเห็นเกี่ยวกับนักบุญจูเวนตินัสและแม็กซิมัส นักบุญจอห์น คริสซอสตอมกล่าวว่าศีรษะของมรณสักขีเป็นสิ่งที่ทำให้เป็นที่สยดสยองแก่ปีศาจยิ่งไปกว่าเมื่อนักบุญสามารถพูดได้ และคริสซอสตอมเปรียบเทียบต่อไประหว่างทหารที่ได้รับบาดเจ็บในสนามรบกับผู้พลีชีพที่ประคองศีรษะของตนเองและถวายแก่พระเยซู อีกแหล่งหนึ่งมาจาก “ตำนานทอง” เกี่ยวกับประวัติชีวิตของนักบุญเดนิสผู้ก่อตั้งมุขมณฑลปารีสผู้ที่กล่าวกันว่าเป็นคนคนเดียวกับดิโอนิสิอัสผู้เป็นสมาชิกสภาอาเรโอปากัส ฉะนั้นนักบุญถือศีรษะคนแรกที่มีชื่อเสียงที่สุดก็เห็นจะเป็นนักบุญเดนิสนักบุญองค์อุปถัมภ์ปารีส ที่ใน “ตำนานทอง” บรรยายว่าแม้ว่าหลังจากที่ถูกตัดหัวแล้วก็ยังคงเดินต่อไปได้อีกเจ็ดไมล์ไปยังที่ที่เสียชีวิตที่มงมาตร์ขณะที่ดำเนินการเทศนาไปด้วย แม้ว่านักบุญเดนิสจะมีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาผู้ถือศีรษะของตนเอง แต่ก็ยังมีนักบุญอื่นอีกหลายองค์ที่อีมิล นูร์รีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตำนานพื้นบ้านกล่าวว่ามีด้วยกันอย่างน้อยก็อีก 134 องค์เฉพาะในวรรณกรรมเกี่ยวกับนักบุญของฝรั่งเศสเท่านั้น การที่เรลิกของนักบุญมักจะถูกโขมยกันบ่อยครั้งในสมัยยุคกลางของยุโรป ฉะนั้นการที่นักบุญเองทำการระบุสถานที่ที่ตนต้องการที่จะฝังศพจึงอาจจะเป็นการช่วยหลีกเลี่ยง “การเคลื่อนย้ายเรลิก” (furta sacra หรือ Translation of relics) ก็เป็นได้.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และนักบุญถือศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระแห่งลูกประคำ (การาวัจโจ)

แม่พระแห่งลูกประคำ (Madonna of the Rosary) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนขึ้นโดยการาวัจโจ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลี ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลป์ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ภาพ “แม่พระแห่งลูกประคำ” ที่เขียนเสร็จราวปี ค.ศ. 1607 เป็นภาพเขียนขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยบุคคลเป็นจำนวนมากในภาพ ผู้ว่าจ้างเขียนภาพอาจเป็นเซซาเร เดสเต ดยุกแห่งโมเดนา ในปี..

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และแม่พระแห่งลูกประคำ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

โอตโต ฟัน เฟน

อตโต ฟัน เฟน (Otto van Veen) หรือ อ็อกตาวิอุส ไวนิอุส (Octavius Vaenius; ราว ค.ศ. 1556 - 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1629) เป็นจิตรกรและนักวาดลายเส้นชาวดัตช์ของยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ฟัน เฟนทำงานส่วนใหญ่ในบริเวณแอนต์เวิร์ปและบรัสเซลส์ และเป็นที่รู้จักกันว่ามีห้องเขียนภาพใหญ่โตในแอนต์เวิร์ปที่สร้างงานหนังสือประกอบภาพเอ็มเบล็ม (Emblem book) หลายเล่ม และเป็นอาจารย์ของเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ระหว่างปี..

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และโอตโต ฟัน เฟน · ดูเพิ่มเติม »

โคเฟิร์ต ฟลิงก์

ฟิร์ต ฟลิงก์ (Govert หรือ Govaert Flinck; 25 มกราคม ค.ศ. 1615 - 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1660) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ของยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โคเฟิร์ต ฟลิงก์มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมประวัติศาสตร์และภาพเหมือน.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และโคเฟิร์ต ฟลิงก์ · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดา

อร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดา (Perseus Freeing Andromeda) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ จิตรกรชาวเฟลมิชคนสำคัญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานศิลปะแห่งเบอร์ลินในประเทศเยอรมนี รือเบินส์เขียนภาพ "เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดา" เสร็จในปี..

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และเพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดา · ดูเพิ่มเติม »

เมดีชี

ตระกูลเมดีชี (Medici) เป็นตระกูลที่มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองของฟลอเรนซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมาชิกจากตระกูลนี้ 3 คนได้เป็น พระสันตะปาปา (สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10, สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7, และ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 11) และนักปกครองของฟลอเรนซ์เองโดยเฉพาะโลเรนโซ เด เมดีชี ก็เป็นผู้อุปถัมภ์งานชิ้นสำคัญๆ ในสมัยเรอเนซองส์ ต่อมาตระกูลเมดีชีก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ของฝรั่งเศสและอังกฤษ ความมีอิทธิพลของตระกูลเมดีชีสามารถทำให้ฟลอเรนซ์กลายมามีบทบาทสำคัญต่อความรุ่งเรืองของศิลปะและสถาปัตยกรรม ตระกูลเมดีชีและตระกูลสำคัญอื่นๆของประเทศอิตาลีในสมัยนั้นเช่น ตระกูลวิสคอนติ (Visconti) ตระกูลสฟอร์เซ (Sforza) ตระกูลต่างๆ จากมิลาน ตระกูลเอสเตแห่งเฟอร์รารา (Este of Ferrara) ตระกูลกอนซากาจากมานตัว (Gonzaga of Mantua) และตระกูลอื่นๆ ต่างก็มีส่วนสำคัญในความเจริญของศิลปะเรอเนซองส์ และ สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ ธนาคารเมดีชีเป็นธนาคารที่มั่งคั่งที่สุดในทวีปยุโรปและกล่าวกันว่าตระกูลเมดีชีเป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรปสมัยนั้น ซึ่งทำให้สามารถสร้างอำนาจทางการเมืองโดยเริ่มจากฟลอเรนซ์และอิตาลีจนในที่สุดก็ขยายไปทั่วยุโรป สิ่งที่ตระกูลเมดีชีเป็นต้นตำรับทางการบัญชีคือการปรับปรุงวิธีทำบัญชีโดยการลงหลักฐานที่สามารถทำให้ติดตามเงินเข้าเงินออกได้ง่ายขึ้น (double-entry bookkeeping system).

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และเมดีชี · ดูเพิ่มเติม »

เออแฌน เดอลาครัว

วาดตัวเอง พ.ศ. 2380 (ค.ศ. 1837) แฟร์ดีน็อง-วิกตอร์-เออแฌน เดอลาครัว เป็นศิลปินชาวฝรั่งเศส เขาสามารถเรียนจากงานของยุคอื่นๆ เขานับถือการใช้สีของราฟาเอล และพลังวาดภาพอย่างเต็มที่ของแรมบรังด์และรูเบนส์ การศึกษางานของปีเตอร์ พอล รูเบนส์อย่างใกล้ชิดของเขาทำให้เขาพัฒนารูปแบบภาพวาดที่ทิ้งความเข้มงวดของยุคคลาสสิก นำค่าแท้จริงของสีกลับมา เดอลาครัวมีอำนาจวาสนาจากคลาสสิก ศิลปะของเขาให้ทางเข้าตรงไปสู่สถานะทางอารมณ์ภายใน ดังนั้นมันกลายเป็นบางอย่างที่ศิลปะสมัยใหม่ (Modernism) จะเอาทิศทางมาจากมัน ศิลปะซึ่งปล่อยตัวมันเองให้เป็นอิสระอย่างเพิ่มขึ้นจากความจริงเพื่อหาค่าแท้จริงของมัน ราบเรียบ นามธรรมและเต็มไปด้วยอารมณ.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และเออแฌน เดอลาครัว · ดูเพิ่มเติม »

เด็กหญิงกำพร้าในสุสาน

็กหญิงกำพร้าในสุสาน (Orphan Girl at the Cemetery หรือ Young Orphan Girl in the Cemetery, Musée du Louvre, Louvre.fr, "c. 1824" according to this source.) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยเออแฌน เดอลาครัวซ์จิตรกรคนสำคัญชาวฝรั่งเศสของสมัยบาโรก ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีสในประเทศฝรั่งเศส แม้ว่าจะเชื่อกันว่าเป็นงานร่างสีน้ำมันสำหรับงาน “การสังหารหมู่ที่คิออส” แต่ “เด็กหญิงกำพร้าในสุสาน” เองก็ยังถือกันว่าเป็นงานชิ้นเอก บรรยากาศในภาพเป็นบรรยากาศที่แสดงถึงความกลัวที่กำจายออกมาจากภาพ ดวงตาของสตรีอันในภาพหล่อด้วยน้ำตาขณะที่แหงนมองขึ้นไปอย่างประหวั่น ฉากหลังของภาพของบรรยากาศของความเศร้าหมอง ขณะที่ท้องฟ้าเป็นท้องฟ้ายามค่ำและลานที่ปราศจากผู้คน ภาษาร่างกายและเสื้อผ้าของเด็กสาวก่อให้ความรู้สึกของความโศรกเศร้า และความหวั่นไหว ที่รวมทั้งเสื้อที่ตกลงมาจากไหล่, มือขวาวางอย่างปล่อยๆ บนตัก เงาเหนือต้นคอ, ทางด้านขวาของร่างที่มืด และเสื้อที่มีสีเย็นและอ่อน สิ่งต่างๆ เหล่านี้รวมกันเข้าแล้วเน้นความรู้สึกสูญเสีย, ของความหวังอันไม่มีวันที่จะเป็นจริงขึ้นมาได้, ความโดดเดี่ยว และ การขาดความช่วยเหลือ ขณะที่สตรีสาวมองไปยังบุคคลที่เราไม่ทราบว่าเป็นใครทางขวาของภาพ สำหรับเดอลาครัวซ์แล้ว สีเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการเขียนภาพ เพราะรสนิยมทางศิลปะและความเชื่อดังกล่าวเดอลาครัวซ์จึงไม่มีความอดทนที่จะสร้างรูปจำลองของสถาปัตยกรรมคลาสสิก เดอลาครัวซ์มีความนับถือและชื่นชมปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และ ศิลปินเวนิส เดอลาครัวซ์ใช้สีอันมีสีสันและหัวเรื่องที่เขียนที่แปลก (exotic themes) ในการเขียนภาพ ที่มีแรงบันดาลใจมาจากสถานที่ต่างๆ ที่มีผลในงานเขียนที่วาววามและเต็มไปด้วยพลัง.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และเด็กหญิงกำพร้าในสุสาน · ดูเพิ่มเติม »

เคราร์ด ฟัน โฮนต์ฮอสต์

ราร์ด หรือ แคร์ริต แฮร์มันส์โซน ฟัน โฮนต์ฮอสต์ (Gerard, Gerrit Hermanszoon van Honthorst; 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1592 - 27 เมษายน ค.ศ. 1656) เป็นจิตรกรชาวดัตช์แห่งเมืองยูเทรกต์ในสมัยยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพเหมือน ฟัน โฮนต์ฮอสต์ได้ร่ำเรียนกับอาบราฮัม บลุมาร์ต (Abraham Bloemaert) จิตรกรและช่างพิมพ์ภาพที่เปลี่ยนจากการเขียนแบบตระกูลฟรังก์เกิน (Francken) ไปเป็นการเขียนแบบกึ่งอิตาลีเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่นเดียวกับจิตรกรเนเธอร์แลนด์ในขณะนั้นที่ตื่นเต้นกับการการวิวัฒนาการทางจิตรกรรมในแบบอิตาลี ฟัน โฮนต์ฮอสต์เดินทางไปอิตาลีในปี..

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และเคราร์ด ฟัน โฮนต์ฮอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

28 มิถุนายน

วันที่ 28 มิถุนายน เป็นวันที่ 179 ของปี (วันที่ 180 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 186 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์และ28 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Peter Paul RubensPieter Paul RubensRubensปีเตอร์ พอล รูเบนส์ปีเตอร์ เปาล์ รือเบินส์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »