เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เปลือกชั้นใน

ดัชนี เปลือกชั้นใน

ปลือกชั้นใน หรือ โฟลเอ็ม (โฟฺล-) (phloem) เป็นกลุ่มที่ลำเลียงสารอาหารที่สังเคราะห์ขึ้นที่ใบไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชจนถึงราก เซลล์ที่สำคัญมี 2 ชนิด คือ เซลล์หลอดตะแกรง (sieve tube member) เป็นเซลล์ที่เป็นแท่งยาว ยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่มีนิวเคลียส หัวและท้ายเป็นรูพรุน เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหาร และเซลล์ข้างเคียง (companion cell) เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียส อยู่ใกล้เซลล์หลอดตะแกรงและคอยควบคุมการทำงานของเซลล์หลอดตะแกรง.

สารบัญ

  1. 9 ความสัมพันธ์: กระโถนพระฤๅษีกายวิภาคศาสตร์พืชวาสคิวลาร์แคมเบียมวงศ์ชมพู่เซลล์หลอดตะแกรงเนื้อไม้เนื้อเยื่อเนื้อเยื่อท่อลำเลียงเนื้อเยื่อเจริญ

กระโถนพระฤๅษี

กระโถนพระฤๅษี เป็นพืชดอกจำพวกกาฝากหรือพืชเบียนหายาก เป็นญาติใกล้ชิดกับพืชสกุลบัวผุด พบในทางตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัยAdhikari, D., Arunachalam, A., Majumder, M., Sarmah, R.

ดู เปลือกชั้นในและกระโถนพระฤๅษี

กายวิภาคศาสตร์พืช

การวิภาคศาสตร์พืช เป็นวิชาที่ศึกษากายวิภาคศาสตร์ภายในพืช โดยดั้งเดิมรวมถึงวิชาสัณฐานวิทยาพืชซึ่งอธิบายถึงลักษณะทางกายภาพและโครงสร้างภายนอกของพืช ปัจจุบันสองวิชานี้ได้ถูกแยกออกจากกันตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ส่งผลให้วิชากายวิภาคศาสตร์พืชนี้ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างภายในของพืชเท่านั้น ปัจจุบันวิชากายวิภาคศาสตร์พืชมักศึกษาในระดับเซลล์ของพืช และรวมถึงการศึกษาเนื้อเยื่อและวิชาการใช้กล้องจุลทรรศน.

ดู เปลือกชั้นในและกายวิภาคศาสตร์พืช

วาสคิวลาร์แคมเบียม

ตัดขวางของลำต้นแสดงวาสคิวลาร์ แคมเบียม Winterborne J, 2005. ''Hydroponics - Indoor Horticulture'' http://www.hydroponicist.com วาสคิวลาร์แคมเบียม (Vascular cambium) เป็นแคมเบียมที่อยู่ในเนื้อเยื่อลำเลียง สร้างไซเลมและโฟลเอมระยะที่สองในการเติบโตในแต่ละปีของพืช เป็นเนื้อเยื่อเจริญทางด้านข้าง แคมเบียมชนิดนี้ในลำต้นเกิดได้ 2 แบบคือ ฟาสซิคิวลาร์ แคมเบียม (Fascicular cambium) เกิดจากโปรแคมเบียม และอินเตอร์ฟาสซิคิวลาร์ แคมเบียม (Interfascicular cambium) เกิดจากพาเรนไคมาที่อยู่ระหว่างเนื้อเยื่อลำเลียงชุดแรก แคมเบียมทั้งสองชนิดนี้จะเรียงต่อกันจนเป็นวงรอบลำต้น.

ดู เปลือกชั้นในและวาสคิวลาร์แคมเบียม

วงศ์ชมพู่

''Pimenta dioica'' วงศ์ชมพู่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Myrtaceae) เป็นวงศ์ของพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งมีสมาชิกที่สำคัญคือชมพู่ กานพลู ฝรั่ง และยูคาลิปตัส สมาชิกในวงศ์ทั้งหมดเป็นพืชมีเนื้อไม้ มีน้ำมันหอมระเหย มีโฟลเอมอยู่ทั้งสองด้านของไซเลม ไม่ได้อยู่ด้านนอกเหมือนพืชวงศ์อื่นๆ ใบมีสีเขียว กลีบดอกมี 5 กลี.

ดู เปลือกชั้นในและวงศ์ชมพู่

เซลล์หลอดตะแกรง

ในกายวิภาคศาสตร์พืช, เซลล์หลอดตะแกรง (sieve tube member) เป็นเซลล์ชนิดพิเศษในเปลือกชั้นในซึ่งยึดขยายขนาดออกมา ตรงปลายสุดของเซลล์หลอดตะแกรงจะเชื่อมต่อกับเซลล์หลอดตะแกรงอีกเซลล์หนึ่ง ซึ่งการเชื่อมต่อนี้เองที่ทำให้เกิดการสร้างหลอดตะแกรง หน้าที่หลักของหลอดตะแกรงคือการลำเลียงคาร์โบไฮเดรต, ซูโครสส่วนใหญ่ ลำเลียงไปในพืช (อาทิ ลำเลียงจากใบไปยังผลและราก ซึ่งแตกต่างจากท่อในระบบท่อลำเลียงน้ำซึ่งไม่มีชีวิตเมื่อพืชเจริญเติบโตเต็มที่ เซลล์หลอดตะแกรงเป็นเซลล์ที่มีชีวิต มีความแปลกตรงที่ไม่มีนิวเคลียสเมื่อเจริญเติบโตเต็มที.

ดู เปลือกชั้นในและเซลล์หลอดตะแกรง

เนื้อไม้

หน้าตัดของต้นไม้ ส่วนหมายเลข 3 คือ เนื้อไม้ (ไซเลม) เนื้อไม้ หรือ ไซเลม (xylem) เป็นเนื้อเยื่อของพืชที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆ ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่หลักในการลำเลียงน้ำ.

ดู เปลือกชั้นในและเนื้อไม้

เนื้อเยื่อ

นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้.

ดู เปลือกชั้นในและเนื้อเยื่อ

เนื้อเยื่อท่อลำเลียง

ภาพตัดขวางของก้านขึ้นฉ่าย แสดงภาพมัดท่อลำเลียง รวมถึงโฟลเอ็มและไซเล็ม เนื้อเยื่อท่อลำเลียง (vascular tissue) เป็นเนื้อเยื่อที่พบในพืชมีท่อลำเลียง ที่สำคัญได้แก่ ไซเล็มและโฟลเอ็ม ทำหน้าที่ขนส่งน้ำ สารละลายและสารอาหารภายในต้นพืช นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อเจริญสองชนิดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อท่อลำเลียงได้แก่ วาสคิวลาร์แคมเบียมและคอร์กแคมเบียม หมวดหมู่:เนื้อเยื่อ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์ของพืช หมวดหมู่:สรีรวิทยาของพืช.

ดู เปลือกชั้นในและเนื้อเยื่อท่อลำเลียง

เนื้อเยื่อเจริญ

นื้อเยื่อเจริญ (meristem) คือเนื้อเยื่อในพืชที่ประกอบไปด้วยเซลล์ที่ยังไม่ผ่านการเปลี่ยนสภาพ (เซลล์ที่สามารถแบ่งตัวได้) ซึ่งมักพบในตำแหน่งที่พืชมีการเจริญเติบโต โดยปกติแล้วเซลล์พืชที่ทำการแบ่งตัวแล้วจะไม่สามารถแบ่งตัวออกมาได้อีก เนื้อเยื่อเจริญจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการแบ่งตัวของเซลล์เนื่องจากประกอบไปด้วยเซลล์ใหม่ที่จะถูกนำไปขยายเนื้อเยื่อและนำไปสู่สร้างอวัยวะใหม่ เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับต้นพืช เซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญนั้นมีรูปแบบการทำงานที่คล้ายคลึงกับเซลล์ต้นกำเนิดที่พบในสัตว์ คือมีบางเซลล์ที่ยังไม่ผ่านการเปลี่ยนสภาพ แต่สามารถที่จะทำการแบ่งเซลล์ในภายหลังได้ และเซลล์ทั้งสองประเภทยังมีขนาดเล็กและเต็มไปด้วยโปรโตพลาสซึม ทั้งยังมีแวคิวโอลที่มีขนาดเล็กมาก ส่วนไซโทพลาสซึมนั้นไม่มีพลาสติดที่ผ่านการเปลี่ยนสภาพประกอบอยู่ด้วย (คือคลอโรพลาสหรือโครโมพลาส) แม้ว่าจะโพรพลาสติดซึ่งเป็นขั้นก่อนของพลาสติดอยู่ก็ตาม เซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญจะอัดแน่นอยู่ด้วยกันโดยไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ และจะมีผนังเซลล์ที่บางมาก การดำรงสภาพกลุ่มเซลล์เหล่านี้ต้องการสมดุลระหว่างกระบวนการที่ตรงข้ามกันสองกระบวนการคือการเริ่มสร้างอวัยวะและการแทนที่เซลล์ต้นกำเนิด เนื้อเยื่อเจริญสามารถแบ่งประเภทได้ตามตำแหน่งที่อยู่ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก.

ดู เปลือกชั้นในและเนื้อเยื่อเจริญ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ โฟลเอมโฟลเอ็ม